วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ไทยระงับแผนจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T จีนมองเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตจีนใหม่

Thailand Shelves Attack Submarine Purchase Plans 

A scale model of the proposed S26T attack submarine developed for Thailand (Handout), Defense minister Sutin Klungsang says the deal is suspended, not cancelled. 


F261 Tughril and F262 PNS Taimur, the Type 054 A/P Frigates of Pakistan Navy

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ได้ประกาศการระงับโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) แบบ S26T จีน โดยรัฐบาลไทยยอมรับข้อเสนอของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
ที่จะเปลี่ยนเป็นการจัดซื้อเรือฟริเกตด้วยงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ วงเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($390 million) ที่ปัจจุบันจ่ายไปเพียง ๗,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($195 million)

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง กล่าวว่าเขาพร้อมที่จะอธิบายเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแผนแก่คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐของรัฐสภาไทย
อธิบายว่าความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือทางยุทธศาสตร์และการค้าระหว่างจีนและไทยเป็นปัจจัยที่มีส่วนในการตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนแผนมากกว่าที่จะยกเลิกข้อตกลง เขาอธิบายต่อการให้สัมภาษณ์สื่อตามมาในวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ว่า

การเพิ่มวงเงินงบประมาณที่จะจัดซื้อเรือฟริเกตอยู่ที่ราว ๑๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($387.4 million) โดยราคาเรือฟริเกตที่วงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($466.27 million) ที่กล่าวก่อนหน้าเป็นราคาที่กองทัพเรือไทยตั้งไว้สำหรับเรือฟริเกตจากประเทศอื่นเช่นยุโรป
การเพิ่มวงเงินที่ต้องจ่ายในการเปลี่ยนจากโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จากเดิมอีกราว ๖,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($177,079,296) เป็นเรือฟริเกตเป็นอีกราว ๖,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($190,884,567) แทนเป็น "ทางออกที่ดีที่สุด"

ระหว่างการประกาศของเขาเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T จีนได้ถูกระงับลงแล้ว รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง เน้นย้ำว่าโครงการเรือดำน้ำยังไม่ได้ถูกยกเลิก 
การกล่าวระหว่างการเยือนกองบัญชาการกองทัพเรือไทยนั้นเขากล่าวว่าโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจะกลับมาดำเนินการได้ใหม่ "เมื่อประเทศมีความพร้อม"

โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยได้หยุดชะงักลงเนื่องจากเยอรมนีปฏิเสธที่จะส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 ที่ตั้งไว้เป็นระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำ S26T
รัฐบาลเยอรมนีใน Berlin อ้างถึงการคว่ำบาตรการส่งออกอาวุธของสหภาพยุโรป(EU: European Union) ต่อจีนที่มีขึ้นตั้งแต่เหตุการณ์จลาจลจตุรัส Tiananmen ปี 1989(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)

ขณะที่ผู้บัญชาการทหารเรือไทยท่านก่อน พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ได้อนุมัติแผนที่จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 จีนเป็นทางเลือกแทนเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนี หลังจากได้รับการรับรองสมรรนะเพิ่มเติมจากจีน
แต่ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ รัฐบาลไทยชุดใหม่ไม่ได้เห็นชอบข้อเสนอที่ดำเนินการกับเครื่องยนต์ CHD620 จีนสำหรับเรือดำน้ำ S26T(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html)

รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันร้องขอให้กองทัพเรือไทยเสนอทางเลือกอื่นแทนการจัดซื้อเรือดำน้ำ กองทัพเรือไทยได้เสนอการจัดซื้อเรือฟริเกตหรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) เป็นทางเลือกแทนเรือดำน้ำ โดยรัฐบาลไทยเลือกเรือฟริเกต
กองทัพเรือไทยได้ประกาศความตั้งใจของตนที่จะจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า ๓ลำในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) โดยเลือกเรือดำน้ำ S26T ที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)

เรือดำน้ำ S26T ระวางขับน้ำ 2,550ton ความยาวเรือ 77.7m มีคุณสมบัติติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) เพิ่มเติมต่อเเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396
ทำให้เรือดำน้ำ S26T สามารถปฏิบัติการในทะเลได้นานถึง ๖๕วันโดยการผสมผสานการใช้เครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบกับระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ AIP

สัญญาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล(G-to-G: government-to-government) วงเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($390 million) สำหรับเรือดำน้ำ S26T ลำแรกได้รับการลงนามในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยการตัดเหล็กแผ่นแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และมีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) โดยสัญญาดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ นี้

เรือดำน้ำ S26T ลำแรกเดิมควรจะสร้างเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ แต่วันที่เรือดำน้ำลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทยจะสร้างเสร็จถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
โดยบริษัท China Shipbuilding and Offshore International Company(CSOC) สาธารณรัฐประชาชนจีนผู้สร้างเรือกล่าวโทษว่าความล่าช้าเป็นผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

กองทัพเรือไทยได้ร้องของบประมาณตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) สำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ สำหรับเรือดำน้ำอีก ๒ลำ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจนถึงปัจจุบันนี้(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาของไทยที่ทำหน้าที่ออกกฎหมายได้ตั้งคำถามถึงความจำเป็นของโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยตามที่ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

รุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039B Yuan จีนกำลังได้รับการสร้างสำหรับกองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ในชื่อเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน ๘ลำ ซึ่ง ๔ลำหลังกำลังสร้างในปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/hangor-pns-tasnim.html)
กองทัพเรือปากีสถานยังได้จัดหารุ่นส่งออกเรือฟริเกตชั้น Type 054A ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ในชื่อเรือฟริเกตชั้น Tughril จำนวน ๔ลำด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/type-054ap.html)