วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สาธารณรัฐเช็กกำหนดจะเสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG แก่เวียดนาม และยังมุ่งเน้นการขายให้ไทย

Singapore Airshow 2024: Aero set to complete VPAF L-39NG deliveries



Aero Vodochody has completed deliveries of the first batch of L-39NGs to the Vietnam People's Air Force (VPAF). The company is also focusing on selling the aircraft to Thailand. (Aero Vodochody)

Aero Vodochody shown model of its L-39NG at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photo)

บริษัท Aero Vodochody AS สาธารณรัฐเช็กได้ส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ชุดแรกของตนแก่กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(VPAF: Vietnam People's Air Force) แล้ว
โดยการส่งมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ที่เหลือแก่เวียดนามคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2024 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/l-39ng.html)

เวียดนามได้สั่งจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG จำนวน 12เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/l-39ng-12.html) Filip Gunnar Kulštrunk รองประธานบริหารและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าของ Aero Vodochody กล่าวกับ Janes ว่า
การส่งมอบได้เริ่มต้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2023 และนั่น "เครื่องบินชุดแรกขณะนี้อยู่ในเวียดนามแล้ว เรากำลังจะส่งมอบตามมาจนถึงสิ้นปีนี้ ที่สุดของปีนี้ได้รับการเติมเต็มแล้วด้วยกำหนดการส่งมอบเหล่านี้"

Kulstrunk เสนอความเห็นของเขาระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024 ณ ศูนย์จัดแสดง Changi Exhibition Centre สิงคโปร์
เครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG ใหม่จะทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39C รุ่นเก่าของกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามซึ่งถูกนำเข้าประจำการตั้งแต่ปี 1980

Kulstrunk กล่าวว่า L-39NG เป็นสิ่งที่แสดงถึง "ก้าวต่อไป" ของกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามใน "แง่ของขีดความสามารถการฝึกและอากาศยานของพวกเขา"
การขายยังสนับสนุนยุทธศาสตร์ของบริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กที่จะบรรลุผลการขาย L-39NG เพิ่มเติมทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก โดยมุ่งเน้นที่ผู้ใช้งานรายอื่นๆในอดีตของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นก่อนหน้า

การจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 เป็น "การเปลี่ยนจากการมีเพียงเครื่องบินฝึก, อากาศยาน หรือการฝึกขั้นมูลฐานหรือก้าวหน้าไปสู่การมีระบบการฝึกอย่างเต็มรูปแบบ" เขากล่าว
การขายรวมถึง "เครื่องจำลองการบิน simulator แบบครบชุด, ระบบการวางแผนภารกิจและสรุปผล, และระบบการจัดการการเรียนรู้ ซึ่งถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับศิษย์การบินแต่ละนาย..."

"ระบบนี้ชี้นำแนวทางแก่พวกเขาอย่างอัตโนมัติผ่านกระบวนการการเรียนรู้-แนวทางทั้งหมดตั้งแต่การฝึกขั้นต้นในห้องเรียนจนถึงการฝึกในเครื่องจำลองการบิน" Kulštrunk เสริม
เขายังกล่าวถึงหนึ่งในลูกค้าดั้งเดิมของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นก่อนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกคือไทย ซึ่งบริษัท Aero Vodochody ยังคงมุ่งเน้นความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ใหม่แก่ไทยอยู่

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เคยมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จำนวน ๔๐เครื่อง เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) โดยได้รับการปรับปรุงด้วยระบบมาตรฐานตะวันตกของบริษัท Elbit อิสราเอลที่ทันสมัยในยุคนั้น 
กองทัพอากาศไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงบินสุดท้ายของตนลงในสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)