วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แผนการปรับปรุงโครงสร้างกำลังเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยใหม่ในอนาคต



จากที่เคยได้รายงานภาพและข้อมูลเบื้องต้นของการตรวจสภาพความพร้อมรบ การทดลองใช้ กรมทหารม้าผสม แบบที่๑ ที่สนามฝึกยิงปืนใหญ่ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นั้น
จากวิดิทัศน์บันทึกภาพการตรวจความพร้อมที่ลงในข้างต้นซึ่งมีความยาว ๔๖นาที ได้มีการบรรยายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนแม่บทในการพัฒนาเหล่าทหารม้ากองทัพบกประจำปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ หลายประการคือ

กองพลทหารม้าจะประกอบด้วย สามกรมดำเนินกลยุทธ หนึ่งกรมทหารปืนใหญ่ และหนึ่งกรมสนับสนุน
การจัดกรมทหารม้ามาตรฐานในปัจจุบันยังไม่มีความอ่อนตัวสอดคล้องต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน จึงให้มีปรับปรุงการจัดรูปแบบกรมทหารม้าใหม่สี่แบบคือ

กรมทหารม้าแบบที่๑ มีรูปแบบการจัดกำลังคือ สองกองพันทหารม้ารถถัง และหนึ่งกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ใช้ในการรุกตีตอบ ติดตาม และล่าทำลายข้าศึก
กรมทหารม้าแบบที่๒ มีรูปแบบการจัดกำลังคือ สองกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ  และหนึ่งกองพันทหารม้ารถถัง สำหรับการปฏิบัติการในภูมิประเทศที่ยากลำบากหรือมีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น
กรมทหารม้าแบบที่๓ มีรูปแบบการจัดกำลังคือ สามกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะล้วน เพื่อการยึดรักษาภูมิประเทศในระยะเวลาจำกัด และปฏิบัติร่วมในการเคลื่อนที่ทางอากาศเมื่อมีอากาศยานสนับสนุน
กรมทหารม้าแบบที่๔ มีรูปแบบการจัดกำลังคือ สามกองพันทหารม้าลาดตระเวนล้วน เพื่อเป็นหน่วยลาดตระเวนระวังป้องกันทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ ในการออมกำลังหลัก ทั้งการรุก ตั้งรับ หรือหน่วงเวลา

การปรับปรุงโครงสร้างอัตราการจัดหน่วยใช้กำลังหลัก

กองพลทหารม้าที่๑ ให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการภายใต้สภาพพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับภัยคุกคามในพื้นที่รับผิดชอบ(กองทัพภาคที่๓)  มีหน่วยรองประกอบไปด้วยสองกรมทหารม้าคือ

กรมทหารม้าที่๒ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๓ หรือแบบพิเศษ อยู่ระหว่างการจัดทำรูปแบบหน่วย

กรมทหารม้าที่๓ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๒
และจะจัดตั้งกรมทหารม้าแบบที่๒ขึ้นอีกหนึ่งกรม เมื่อมีงบประมาณเอื้ออำนวย

กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ มีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ กะทัดรัด อ่อนตัว มีอำนาจการยิงรุนแรง เอนกประสงค์ ประกอบด้วยสามกรมทหารม้าคือ

กรมทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๑

กรมทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๑

กรมทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๒
เป้าหมายระยะยาวจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่ และกรมสนับสนุนกองพลให้ครบอัตรา

รวมถึงการจัดกำลังกองร้อยทหารม้าอากาศให้สมบูรณ์

กองพลทหารม้าที่๓ เป็นหน่วยป้องกันเชิงรุกทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศตามพื้นที่รับผิดชอบ(กองทัพภาคที่๒) มีหน่วยรองประกอบด้วยสองกรมทหารม้าคือ

กรมทหารม้าที่๖ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๑
กรมทหารม้าที่๗ จัดเป็นกรมทหารม้าแบบที่๒
การจัดตั้งหน่วยดำเนินกลยุทธและหน่วยสนับสนุนอื่นๆของกองพล จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณเป็นหลัก

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดโครงสร้างเหล่าทหารม้ากองทัพบกใหม่นี้เบื้องต้น
พล.ม.๑ และ พล.ม.๓ จะมีขนาดกำลังเทียบเท่ากับกองพลน้อยยานเกราะมีกำลังหลักเพียงสองกรมทหารม้าไปก่อน จนกว่าจะมีงบประมาณในการจัดตั้งหน่วยขึ้นตรงต่างๆให้ครบสมบูรณ์
ส่วน พล.ม.๒ รอ. จะยังเป็นกองพลทหารม้ายานเกราะหนักตามมาตรฐานอยู่ แต่มีการโยกย้ายกำลังกองพันต่างๆเข้าบรรจุในแต่ละกรมใหม่ และจัดตั้งหน่วยสนับสนุนเพิ่มเติมตามรูปแบบอัตราจัดใหม่
นี่ยังไม่มีการกล่าวถึงหน่วยทหารม้านอกกองพล อย่าง กองพันทหารม้ารถถัง และกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน หรือกองพันทหารม้าลาดตระเวน ในกองพลทหารราบ ว่าจะเป็นอย่างไรด้วย
มองว่าการปรับโครงสร้างใหม่นี้ยังจำเป็นต้องมีการจัดหายุทโธปกรณ์เพิ่มเติม หรือการโยกย้ายสายการบังคับบัญชาหน่วยกำลังรบอีกหลายส่วน ซึ่งคงต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาพอสมควรครับ

รัสเซียจะซื้อเครื่องบินขับไล่ PAK FA T-50 ให้มากที่สุดเท่าที่จะผลิตได้ และจะเปิดสายการผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-160 ใหม่

Russia to Buy as Many T-50 PAK-FA Fighters as Manufacturers Can Produce
http://sputniknews.com/military/20150528/1022662230.html

ผู้บัญชาการกองทัพอากาศรัสเซีย พลอากาศโทพิเศษ(Colonel General เป็นยศที่อยู่ระหว่างพลโทและพลเอกของกองทัพรัสเซีย) Viktor Bondarev ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า
สายการผลิตแบบเต็มอัตราของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 PAK FA T-50 ที่จะเริ่มในปี 2017 นั้นจะมีข้อจำกัดด้านจำนวนที่จัดหาได้เพียงขีดความสามารถในการผลิตของโรงงานเท่านั้น
ตามคำสัมภาษณ์ของรองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Yuri Borisov ที่กล่ามเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ทางกระทรวงกลาโหมรัสเซียมีแผนที่จะลดจำนวนการจัดหา PAK FA T-50 เนื่องจากผลกระทบด้านเศรษกิจ
แผนขั้นต้นในการผลิตเครื่องสายการผลิตขั้นต้น 10เครื่องสำหรับการทดสอบสมรรถนะในกองทัพอากาศรัสเซียนั้น จะนำไปสู่การสั่งจัดหาเครื่องในสายการผลิตจำนวนมาก 60เครื่องต่อไป
นอกจากนี้นายพล Bondarev ยังได้กล่าวถึงการทดสอบเครื่อง PAK FA ว่ากำลังอยู่ในอยู่ในขั้นต้นโดยเครื่องแสดงสมรรถนะได้อย่างยอดเยี่ยมและระบบอาวุธภาคอากาศและภาคพื้นดินทำงานอย่างได้ดีเยี่ยม
"มัน(PAK FA T-50) ไม่ด้อยกว่าเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯอย่าง F-22 และ F-35 แน่ และจะเหนือเกินกว่าเครื่องเหล่านี้ในทุกด้านด้วย" นายพล Bondarev กล่าว
PAK FA T-50 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ซึ่งออกแบบโดย Sukhoi ซึ่งเครื่องบินต้นแบบเครื่องแรกทำการบินตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2010
นับเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก ติดตั้งระบบอุปกรณ์ ระบบตรวจจับ และระบบอาวุธขั้นก้าวหน้าระดับสูงแบบแรกของกองทัพอากาศรัสเซีย

Russian Air Force to Get at Least 50 New Strategic Tu-160 Blackjack Bombers
http://sputniknews.com/military/20150528/1022644596.html

ปัจจุบันกองทัพอากาศรัสเซียกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยขึ้น เช่น การปรับปรุงเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-160 ที่มีอยู่ 16เครื่องให้ทันสมัยขึ้น
โดยแผนการปรับปรุง Tu-160M ในขั้นแรกเป็นการปรับปรุงระบบอาวุธให้รองรับระเบิดนำวิถี laser และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น Kh-55 (NATO กำหนดรหัส AS-15 Kent) จำนวน 12นัด
ขั้นที่สองเป็นการปรับปรุงติดตั้งระบบ Radar ใหม่ ระบบนำร่องใหม่ และระบบสื่อสารใหม่ที่โรงงานอากาศยาน Kazan มีกำหนดรับมอบเครื่องสุดท้ายในปี 2019
ซึ่ง Tu-160 สามารถติดตั้งได้ทั้งอาวุธตามแบบและอาวุธนิวเคลียร์ในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวเป็นน้ำหนักรวม 40,000kg ทำความเร็วได้สูงสุด 1,800km/h พิสัยทำการไกลสุด 12,297km เมื่อไม่เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
อีกทั้งนายพล Bondarev ยังกล่าวถึงแผนการกลับมาเปิดสายการผลิต Tu-160 ใหม่อีกครั้ง คาดว่าจะมีการสั่งจัดหาให้มีจำนวนเครื่องรวมอย่างน้อยราว 50เครื่อง โดยมีการประเมินค่าใช้จ่ายโครงการแล้ว
ก่อนหน้านี้รัฐมตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu เองก็ได้กล่าวถึงแนวคิดการกลับมาเปิดสายการผลิต Tu-160 ใหม่มาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามนายพล Bondarev ไม่ได้กล่าวว่ากำหนดการเปิดสายผลิต Tu-160 ใหม่จะเริ่มขึ้นเมื่อใด
ในอนาคตกองทัพอากาศรัสเซียจะพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบใหม่คือโครงการ PAK DA ซึ่งเครื่องต้นแบบเครื่องแรกจะมีกำหนดบินขึ้นครั้งแรกในปี 2019
และจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียปี 2023 เพื่อทดแทนเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นเก่าที่ใช้งานมานานมากอย่าง Tu-22M3 และ Tu-95 โดยการเปิดสายการผลิต Tu-160 ใหม่จะไม่ขัดกับการพัฒนาและจัดหา PAK DA ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เรือพิฆาตชั้น Hobart ลำแรกของกองทัพเรือออสเตรเลียถูกปล่อยลงน้ำ โดยรัฐบาลมีการเปิดเผยปัญหาของโครงการ

First-of-class Hobart launched as government discloses further delays, costs
Guided missile destroyer Hobart at a launch ceremony on 23 May. Source: Commonwealth of Australia, Department of Defence
http://www.janes.com/article/51644/first-of-class-hobart-launched-as-government-discloses-further-delays-costs


วันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย Kevin Andrews ได้ร่วมทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตชั้น Hobart ลำแรก DDGH-39 HMAS Hobart ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่อู่ ASC ใกล้ Adelaide
โดย HMAS Hobart เป็นเรือหนึ่งในสามลำแรกของโครงการจัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ (AWD: Air Warfare Destroyer) วงเงิน A$8.5 billion($7.2 billion)
ซึ่งเรือพิฆาตชั้น Hobart นี้มีพื้นฐานจากสิทธิบัตรของเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Alvaro de Bazan กองทัพเรือเรือสเปนที่ออกแบบโดย Navantia
หลังจากปล่อยเรือลงน้ำ HMAS Hobart จะได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์ต่างๆจนครบ และมีกำหนดการณ์เข้าประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลียในราวเดือมิถุนายนปี 2017


อย่างไรก็ตามรัฐมตรีกระทรวงการคลังออสเตรเลีย Mathias Cormann ร่วมกับรัฐมนตรีกลาโหม Kevin Andrews ได้แถลงการเปิดเผยข้อมูลปัญหาความล่าช้าและค่าใช้จ่ายของโครงการว่า
โครงการจัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศนั้นจำเป็นจะต้องได้รับการจัดหางบประมาณเพิ่มเติมอีกเป็นวงเงิน A$1.2 billion($930 million) รวมทั้งการก่อสร้างและรับมอบเรือก็มีความล่าช้าจากกำหนดการณ์เดิมด้วย
คือกำหนดการรับมอบเรือลำแรก DDGH-39 HMAS Hobart จากธันวาคม 2014 เป็นมิถุนายน 2017, DDGH-41 HMAS Brisbane จากมีนาคม 2016 เป็นกันยายน 2018 และ DDGH-42 HMAS Sydney จากมิถุนายน 2017 เป็นมีนาคม 2020
ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองคนได้มีการสั่งดำเนินการให้ AWD build ซึ่งเป็นผู้รับสัญญาประสานงานโครงการ, ASC อู่ผู้สร้างเรือหลัก, BAE Systems Australia, Raytheon สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบของเรือ และ Navantia สเปนเจ้าของแบบเรือ
ได้เข้ามาร่วมหารือกันในการปรับปรุงการบริหารจัดการโครงการให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ครับ

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กองทัพเรืออินเดียเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพเรือสิงคโปร์

INS Satpura during Malabar 2012

INS Kamorta during sea trials before commissioning

Indian warships take part in naval exercise with Singapore
http://economictimes.indiatimes.com/news/defence/indian-warships-take-part-in-naval-exercise-with-singapore/articleshow/47400434.cms

หลังจากกองทัพเรืออินเดียส่งเรือฟริเกตชั้นShivalik F48 INS Satpura และเรือคอร์เวต P28 INS Kamorta เข้าร่วมงานแสดงยุทโธปกรณ์ทางทะเล IMDEX 2015 ที่สิงคโปร์
กองทัพเรืออินเดียได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมรบทางทะเลกับกองทัพเรือสิงคโปร์รหัส SIMBEX 2015 ระหว่างวันที่ 23-26 พฤษภาคมนี้
โดยกองทัพเรือทั้งสองประเทศได้เคยร่วมการฝึกซ้อมรบทางทะเลมาแล้วหลายครั้งนับตั้งแต่การฝึกปราบเรือดำน้ำในปี 1994 ซึ่งการฝึก SIMBEX เองก็เริ่มมาตั้งแต่ปี 1999
การฝึกในปีนี้กองทัพเรือสิงคโปร์ได้นำเรือดำน้่ำชั้น Archer เข้าร่วมการฝึกพร้อมกับกำลังทางอากาศของกองทัพอากาศสิงคโปร์ทั้งเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลและเครื่องบินขับไล่
และทางกองทัพเรืออินเดียเองก็ได้ส่งเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8I เข้าร่วมการฝึกด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ทางกองเรือภาคตะวันออกกองทัพเรืออินเดียจะส่งหมู่เรือภายใต้การบัญชาการของพลเรือตรี Ajendra Bahadur Singh
ที่ประกอบไปด้วยเรือพิฆาตชั้น Rajput D54 INS Ranvir และ เรือน้ำมันชั้น Deepak A57 INS Shakti
แวะเยี่ยมเยือนท่าเรือประเทศต่างๆในภูมิภาค ASEAN และใกล้เคียง ทั้ง ออสเตรเลีย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีในทางทหารกับมิตรประเทศ และเป็นการแสดงกำลังทางเรือของอินเดียในทะเลจีนใต้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นิยายภาพเรื่องสั้น สารวัตรนักเรียนเดนนรก COOKER OF FORTUNE

Comic เรื่องสั้น การ์ตูนทำอาหาร แข่งทำอาหาร ชมรมคหกรรมในโรงเรียนมัธยม ทหารทำอาหาร อะไรสักอย่าง
อ่านๆไปเถอะอย่าคิดมาก























วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีต้องการพัฒนารถถังหลักใหม่แทน Leopard 2

Marder IFV and Leopard 2 MBT in Exercise
http://www.spiegel.de/politik/deutschland/leopard-nachfolger-von-der-leyen-will-neuen-kampfpanzer-entwickeln-a-1035063.html

หนังสือพิมพ์ SPIEGEL ONLINE ได้รายงานความต้องการของรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen ว่ามีแผนในการพัฒนารถถังหลักแบบใหม่ที่จะเป็นกำลังรบหลักแทนรถถังหลัก Leopard 2 ในอนาคต
โดยรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนีต้องการจะให้มีการเริ่มการพัฒนารถถังหลักแบบใหม่สำหรับกองทัพบกเยอรมนีภายในปีนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ในยูเครนซึ่งรัสเซียมีท่าทีคุกคามยุโรปตะวันออกมากขึ้น
ตามที่เคยรายงานไปแล้วว่ากระทรวงกลาโหมเยอรมนีมีแผนจะเพิ่มกำลังรถถังหลัก Leopard 2 ของกองทัพบกเยอรมนีจาก 225คัน เป็น 328คัน
เพื่อสนับสนุนกำลังตอบโต้ของ NATO ที่ในช่วงหลังมานี้มีการฝึกซ้อมรบการเผชิญเหตุเฉพาะหน้าในกลุ่มมิตรประเทศสมาชิก NATO เขตยุโรปตะวันออกมากขึ้น
รวมไปถึงการเปิดตัวรถถังหลัก T-14 ARMATA ล่าสุดของรัสเซียที่มีการออกแบบและมีความก้าวหน้าทาง Technology ของระบบที่เหนือกว่า ถ.หลัก Leopard 2 ของเยอรมนีที่อาจจะเป็นภัยคุกคามหลักในอนาคต
ทางเยอรมนีมีแนวคิดที่จะร่วมมือกับฝรั่งเศสทางด้าน Technology เพื่อพัฒนารถถังหลักใหม่ โดยต้องการให้สามารถผลิตเพื่อเข้าประจำการได้โดยเร็ว ซึ่งทางกองทัพบกเยอรมนีมีแผนที่จะประจำการ Leopard 2 ไปจนถึงปี 2030
ซึ่งได้เคยรายงานไปแล้วว่า Krauss-Maffei Wegmann(KMW) เยอรมนีผู้ผลิต Leopard 2 ได้ประกาศร่วมทุนรวมบริษัทกับ Nexter ฝรั่งเศสผู้พัฒนารถถังหลัก Leclerc ซึ่งมีวงเงินกว่า 6.5billion Euros และพนักงานกว่า 6,000คน
การพัฒนารถถังหลักแบบใหม่แทน Leopard 2 นั้นเป็นที่ทางเลือกหลักของกองทัพบกเยอรมัน เพราะเพียงการปรับปรุงรถถังที่มีอยู่ให้ทันสมัยขึ้นไม่พอต่อการตอบสนองสถานการณ์ความมั่นคงในยุโรปที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้
จนเยอรมนีจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหมขึ้นในรอบหลายปี นับตั้งแต่การตัดลดงบประมาณและการปรับลดขนาดกองทัพลง หลังการทำลายกำแพง Berlin และรวมชาติเยอรมันซึ่งเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็นมาได้ราว 25ปีครับ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Boeing เสนอกองทัพอากาศสหรัฐฯให้ขาย A-10 แก่มิตรประเทศหลังปลดประจำการ

Boeing touts A-10s for international customers should USAF divest fleet
The USAF's plans to retire its A-10 fleet could provide opportunities for international operators to acquire the type. Source: US Air Force
http://www.janes.com/article/51570/boeing-touts-a-10s-for-international-customers-should-usaf-divest-fleet

ที่โรงงานบริการสนับสนุนการซ่อมบำรุงนานาชาติของ Boeing ใน San Antonio มลรัฐ Texas นาย Paul Cejas หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า
Boeing ได้เสนอเรื่องต่อกองทัพอากาศสหรัฐฯถึงโอกาสในการขายเครื่องบินโจมตี A-10 Thunderbolt II(หรือที่รู้จักกันในชื่อ Warthog หรือ Hog) แก่ลูกค้าต่างประเทศหลังปลดประจำการจากกองทัพ
โดยปัจจุบัน Boeing ได้เข้ามารับผิดชอบการปรับปรุงและซ่อมบำรุง A-10 แทน Fairchild Republic ซึ่งเป็นผู้ออกแบบผลิตเดิมที่ปิดกิจการและถูกขายให้กลุ่มบริษัทอื่นตั้งแต่ปี 2003
เช่นการสร้างปีกใหม่จำนวน 173 ปีก โดยอาจมีคำสั่งสร้างเพิ่มเติมอีก 69ปี สำหรับ A-10 ที่มีอยู่ในกองทัพอากาศสหรัฐฯราว 300เครื่อง ซึ่งปัจจุบัน Boeing ได้ส่งมอบไปแล้ว 105ปีก ซึ่งสัญญาจ้างมีไปถึงปี 2017

อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนที่จะปลดประจำการ A-10 ในเร็วๆนี้เพื่อนำงบประมาณและทรัพยากรไปใช้สำหรับการนำเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าประจำการแทนในอนาคต
ถ้ากองทัพอากาศสหรัฐฯเสนอเรื่องให้รัฐบาลสหรัฐฯพิจารณาอนุมัติการขาย A-10 ให้ต่างประเทศหลังการปลดประจำการจากกองทัพสหรัฐฯแล้ว
นอกจากการปรับปรุงปีกใหม่ Boeing ยังจะเสนอลูกค้าในการปรับปรุงเครื่องเพื่อคืนสภาพอายุการใช้งานและติดตั้งระบบที่ทันสมัยต่างๆจากบริษัทอื่นให้ด้วย
เช่น เครื่องยนต์ใหม่ ปรับปรุงห้องนักบินใหม่ซึ่งรวมถึงหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง(HMCS: Helmet-Mounted Cueing System) กระเปาะชี้เป้าหมาย และอื่นๆ
ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำให้เครื่องมีความสามารถสูงกว่าการปรับปรุง A-10C ของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน

แต่ทั้งนี้ Cejas ได้ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลว่าประเทศที่มีรายชื่อว่าสนใจจะจัดหา A-10 มือสองจากสหรัฐฯขณะนี้มีประเทศใดบ้าง
โดยกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กองทัพอากาศสหรัฐฯจะเป็นผู้เปิดเผยไม่ใช่ทาง Boeing ครับ

ฝรั่งเศสเพิ่มเติมงบประมาณกลาโหมโดยมองการจัดซื้อ C-130 ใหม่

C-130H-30 Hercules France Air Force

France boosts arms spending, eyes C-130 buy
http://www.defensenews.com/story/breaking-news/2015/05/20/france-budget-hercules-c130-boost-sahel-africa-inflight-refueling-tiger-helicopter-frigate/27652679/

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Francois Hollande ได้ประกาศหลังการประชุมร่วมกับสภาความมั่นคงระดับสูงถึงการเพิ่มงบประมาณกลาโหมของกองทัพฝรั่งเศสช่วงปี 2016-2019 ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 3.8 billion Euros
ในส่วนงบประมาณเพิ่มเติม 1.5 billion Euros นั้นจะถูกนำไปใช้ในการจัดหาและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของกองทัพฝรั่งเศสเพิ่มเติม
ทั้งนี้กองทัพอากาศฝรั่งเศสมีแผนใช้งบประมาณ 330 million Euros ในการจัดหาเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130 Hercules ใหม่จำนวน 4เครื่อง
โดย 2เครื่องจะถูกนำไปดัดแปลงเป็นเครื่องบิน Gunship ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-176 Griffin สำหรับการสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน เช่นภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
และอีก 2ลำจะถูกนำไปดัดแปลงเป็นเครื่องบินเติมเชื่อเพลิงทางอากาศสำหรับเฮลิคอปเตอร์
ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศฝรั่งเศสประจำการเครื่องบินลำเลียง C-130H และ C-130H-30 จำนวน 14เครื่องซึ่งจัดหามาตั้งแต่ปี 1987
การตัดสินใจจัดหา C-130 ใหม่ 4เครื่องอาจจะเป็นรุ่น C-130J หรือ C-130K ทั้งยังมีการพิจารณาจัดหาในรูปแบบการเช่า รวมถึงการจัดหากล้องมองกลางคืนประกอบการบินด้วย

กองทัพฝรั่งเศสยังมีโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอีกหลายโครงการ เช่น
การจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger เพิ่มเติม 7เครื่อง เป็นการเพิ่มยอดการจัดหากับ Airbus Helicopters 67เครื่อง
เร่งการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง NH90 6เครื่อง
รับมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Airbus A330 MRTT 3เครื่องสุดท้ายจากจำนวนจัดหา 12เครื่อง
แผนการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ที่จะรับมอบในปี 2023
การปรับปรุง Sonar ของเรือฟริเกตชั้น Lafayette
โครงการดาวเทียมสอดแนมร่วมระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมนี
ปรับปรุงเพิ่มระบบตรวจจับ electromagnetic สำหรับตรวจจับคลื่นวิทยุและ Radar ให้อากาศยานไร้คนบังคับ Reaper
จัดหากระเปาะชี้เป้า Laser แบบ Talios ของ Thales 25ระบบ ให้เครื่องบินขับไล่ Mirage และ Rafale ภายในปี 2018
รับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง multimission vessel ชั้น d'Entrecasteaux ลำที่4 ซึ่งมีฐานที่เกาะ Reunion ในมหาสมุทรอินเดีย
และว่าจ้างเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนอย่างน้อย 1,000นายสำหรับการทำป้องกันภัยทาง Cyber เป็นต้นครับ

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สโลวาเกียวางแผนจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อปรับปรุงกองทัพหลายรายการ

Polish Army KTO Rosomak

https://dennikn.sk/135679/preteky-v-zbrojeni-pokracuju-tentoraz-chceme-kupovat-transportery/

กระทรวงกลาโหมสโลวาเกียได้ประกาศแผนการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ทดแทนของเก่าและโครงการปรับปรุงยุทโธปกรณ์เดิมให้ทันสมัยขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งานหลายรายการ เช่น

รถรบทหารราบแบบล้อยาง 8x8 KTO Rosomak จากโปแลนด์เพื่อทดแทนรถรบทหารราบ BVP-1(BMP-1 รุ่นผลิตในอดีตเชคโกสโลวาเกีย) และรถเกราะสายพานลำเลียงพล OT-90(มีพื้นฐานจาก BMP-1 ผลิตในอดีตเชคโกสโลวาเกีย)
ปืนเล็กยาว CZ-805 BREN 688กระบอก จากสาธารณรัฐเชค ทดแทนปืนเล็กยาว Vz.58 ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอดีตเชคโกสโลวาเกีย
รถยนต์บรรทุก Land Rover Defender 140คัน ทดแทนรถยนต์บรรทุก UAZ
การปรับปรุงรถรบทหารราบ BVP-2(BMP-2 รุ่นผลิตในอดีตเชคโกสโลวาเกีย)ให้ทันสมัยขึ้น
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลาง UH-60M จำนวน 9เครื่อง แทน ฮ.ลำเลียง Mi-17M
เครื่องบินโดยสารขนาดเบา Let L-410 Turbolet จากสาธารณรัฐเชค 2เครื่อง
เครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง C-27J จำนวน 2เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียง An-26
แผนการจัดหา Radar ตรวจการณ์แจ้งเตือนภัยใหม่
และแผนการเช่าเครื่องบินขับไล่ Gripen ในอนาคตทดแทน MiG-29 ตามที่เคยรายงานไปก่อนหน้านี้ เป็นต้น

กองทัพสโลวาเกียกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยขึ้นตามมาตรฐาน NATO ซึ่งจำเป็นต้องปลดประจำการระบบอาวุธเก่าสมัยสงครามเย็นที่เป็นระบบของรัสเซียออกเป็นจำนวนมากครับ

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การตรวจความพร้อมรบทดลองการใช้ กรมทหารม้าแบบที่๑ เหล่าทหารม้า กองทัพบกไทย



วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ได้เดินทางไปยังสนามฝึกยิงปืนใหญ่ของศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี
เพื่อเข้าเยี่ยมการตรวจความพร้อมรบ ทดลองการใช้ "กรมทหารม้าผสมแบบที่๑" ของ กรมทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ เหล่าทหารม้า
ซึ่งนับเป็นการแสดงกำลังของหน่วยรถถังกองทัพบกไทยขนาดใหญ่ครั้งหนึ่งในรอบ ๓๐ปีนี้
(จำได้ว่าครั้งสุดท้ายที่มีการจัดกำลังรถถังขนาดใหญ่ระดับนี้คือราวปี พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งกองพันทหารม้ารถถังใน พล.ม.๒ รอ.ยังใช้ M48A5 อยู่ ซึ่งมีภาพลงในนิตยสารสมรภูมิสมัยนั้น)

โดยแผนการจัดกำลังหน่วยทหารม้าใหม่ของกองทัพบก จะมีการแบ่งรูปแบบของกรมทหารม้าออกเป็นสี่แบบคือ
กรมทหารม้าแบบที่๑ มีกำลังหลักเป็นกองพันทหารม้ารถถัง
กรมทหารม้าแบบที่๒ มีกำลังหลักเป็นกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
กรมทหารม้าแบบที่๓ มีเป็นหน่วยกองพันทหารม้ายานเกราะล้วนทั้งทางบกและทางอากาศ
และกรมทหารม้าแบบที่๔ มีเป็นหน่วยทหารม้าลาดตระเวนทั้งทางบกและทางอากาศ

ซึ่งกรมทหารม้าแบบต่างๆนี้เช่นในส่วน กรมทหารม้าแบบที่๑ ซึ่งมี ม.๔ รอ.เป็นหน่วยสาธิต จะเป็นการประกอบกำลังเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยหลักที่เป็นแกนกลางที่เตรียมพร้อมแล้ว ซึ่งมีทั้ง
กองร้อยชุดรบ รถถังหลัก M60A1 M60A3 รถสายพานลำเลียง Type 85 รถถังเบาแบบ๒๑ Scorpion รถยนต์บรรทุกติดอาวุธ HMMWV
ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Caesar ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอัตตาจร M42 กำลังม้าอากาศ เช่น ฮ.จ.๑ AH-1F และ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3
ส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนช่วยรบ ต่างๆเป็นต้นครับ

























ที่มา ฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์
https://www.facebook.com/people/ฝ่ายกิจการพลเรือน-กองพลทหารม้าที่สองรักษาพระองค์/100008821217806