วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

BAE Systems เป็นผู้ชนะโครงการสร้างเรือฟริเกตชั้น Hunter ใหม่ 9ลำของออสเตรเลีย

BAE Systems to build nine next-generation frigates for Australia
BAE Systems has won an AUD35 billion (USD25.9 billion) competition to provide Australia with nine next-generation ASW frigates based on the company’s Type 26 Global Combat Ship. Source: BAE Systems
http://www.janes.com/article/81406/bae-systems-to-build-nine-next-generation-frigates-for-australia


บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำยุคหน้า(ASW: Anti-Submarine Warfare) จำนวน 9ลำ วงเงิน A$35 billlion($25.9 billion)
สำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) นับเป็นโครงการจัดสร้างเรือรบที่ใหญ่สุดของออสเตรเลียในช่วงยามสงบ

การประกาศอย่างเป็นทางการถึงการเลือกแบบเรือฟริเกต Type 26 Global Combat Ship(GCS) ขนาด 6,900tons ของบริษัท BAE Systems เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Malcolm Turnbull กล่าวว่าเรือฟริเกตใหม่ที่จะรู้จักในชื่อเรือฟริเกตชั้น Hunter ที่อยู่ภายใต้โครงการ Project Sea 5000  จะทำให้ออสเตรเลีย "มีขีดความสามารถทางทะเลที่จะหนุนนำความมั่นคงของเราในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง"

"เรือชั้น Hunter จะทำให้กองทัพออสเตรเลีย(Australian Defence Force) มีระดับสูงสุดของการสังหารและการป้องปราบของเรือรบผิวน้ำหลักที่จำเป็นในช่วงเวลาความไม่แน่นอนทั่วโลก
เรือชั้นนี้จะมีขีดความสามารถการดำเนินภารกิจที่หลากหลายได้อย่างอิสระหรือเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังเฉพาะกิจ ด้วยพิสัยทำการและระยะเวลาปฏิบัติการที่เพียงพออย่างมีประสิทธิภาพต่อทั่วทั้งภูมิภาค" นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Turnbull แถลง

"เรือฟริเกตจะยังมีความยืดหยุ่นในการสนับสนุนภารกิจที่ไม่ใช่สงคราม เช่น การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ" นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเสริม
แบบเรือฟริเกตของ BAE Systems สหราชอาณาจักรได้รับเลือกจากขั้นตอนการประเมินค่าเปรียบเทียบที่ยาวนานเหนือแบบเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำจากบริษัทอื่น

ประกอบด้วยแบบเรือฟริเกตพหุภารกิจ FREMM จากบริษัท Fincantieri และแบบเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำที่พัฒนาจากเรือฟริเกตชั้น F-100 Alvaro de Bazan จาก Navantia สเปน
ซึ่งกองทัพเรือออสเตรเลียได้จัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart (AWD: Air Warfare Destroyer) ขนาด 6,350tons จำนวน 3ลำซึ่งมีพื้นฐานจากแบบเรือ F-100 สเปน(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/hobart.html)

โดยความตั้งใจที่จะทดแทนเรือรบผิวน้ำม้าใช้ของกองทัพเรือออสเตรเลียคือเรือฟริเกตชั้น Anzac จำนวน 8ลำที่มีพื้นฐานจากแบบเรือ MEKO 200 จากบริษัท Blohm+Voss เยอรมนี เรือฟริเกตชั้น Hunter ใหม่จะถูกสร้างที่อู่เรือ ASC Shipbuilding ที่ Osborne ชานเมือง Adelaide ออสเตรเลีย
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Turnbull กล่าวว่าโครงการนี้จะสร้างงานโดยตรงและทางอ้อมจำนวน 4,000อัตราในออสเตรเลีย และใช้ส่วนประกอบจากอุตสาหกรรมภายในออสเตรเลียประมาณร้อยละ65-70 ครับ

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM นอร์เวย์เข้าสู่การพัฒนาขั้นสุดท้าย

Joint Strike Missile enters final development phase
An F-16C/D Fighting Falcon from the USAF 445th Flight Test Group prepares to launch the Joint Strike Missile during FTM-2 over the Utah Test and Training Range on 29 October 2016. Source: Kongsberg
http://www.janes.com/article/81272/joint-strike-missile-enters-final-development-phase


อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Kongsberg Defence & Aerospace Joint Strike Missile(JSM) นอร์เวย์ ได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนา
ตามการสรุปผลความสำเร็จของการทดสอบการบินรับรองคุณสมบัติล่าสุดของระบบ(FTM-5) เมื่อเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมานี้

ระหว่างรอการทบทวนการออกแบบขั้นสุดท้ายในเดือนมิถุนายน การพัฒนาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM มีกำหนดที่จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2018 ตามที่ระบบจะถูกเตรียมทดสอบการบูรณาการ, ติดตั้งขณะทำการบิน และปลดจากเครื่อง
กับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของกองทัพอากาศนอร์เวย์(RNOAF: Royal Norwegian Air Force)

FTM-5 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการรณรงค์การบินทดสอบระยะเวลา 4ปีเพื่อรับรองคุณสมบัติของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM สำหรับการบูรณาการกับเครื่องบินขับไล่ F-35A กองทัพอากาศนอร์เวย์
ในการทดสอบการบิน end-to-end ครั้งแรกสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี JSM ที่ติดตั้งหัวรบจริงได้ถูกทำการยิงจากเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Fighting Falcon

เครื่องบินขับไล่ F-16C/D จากกลุ่มบินทดสอบที่445(445th Flight Test Group) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM ต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่ 'สมจริง' ณ สถานีทดสอบและฝึกการใช้อาวุธในมลรัฐ Utah สหรัฐฯ
บริษัท Kongsberg นอร์เวย์ได้ดำเนินการทดสอบการบินครั้งแรก(FTM-1) ของ JSM ในเดือนตุลาคม 2015

ในเดือนตุลาคม 2016 บริษัทได้ทดสอบการบินใช้กำลังระยะไกล(FTM-2) ของอาวุธปล่อยนำวิถีเหนือสถานีทดสอบและฝึกการใช้อาวุธ Utah แม้ว่าการบินทดสอบขั้น FTM-2 ได้ถูกดำเนินการใหม่จากความล้มเหลวในการบินทดสอบช่วงต้น
โดยในกรอบระยะเวลาช่วงเดือนพฤษภาคม/มิถุนายน 2017  บริษัท Kongsberg ได้ดำเนินการทดสอบการบินขั้น FTM-2/FTM-4 ในทั้งสองการทดสอบการบินนั้นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM  ได้ทำการบินโดยปราศจากขีดความสามารถของระบบค้นหาเป้าหมาย

ขณะที่การพัฒนา JSM ในทางเทคนิคเป็นอิสระจากการมีส่วนร่วมในโครงการ F-35 ของนอร์เวย์ ความคืบหน้าของตัวโครงการรวมถึงความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC:  Initial Operational Capability) ที่ถูกขับเคลื่อนโดยระยะเวลาของ F-35 เป็นหลัก
โดยการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM เข้ากับ F-35A ถูกกำหนดต่อการออกชุดคำสั่งรุ่น Block 4.1 ที่จะมีขึ้นตามกรอบระยะเวลาในปี 2021 ครับ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

BAE Systems ได้รับสัญญาผลิตรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 36คันแก่ไต้หวัน

BAE Systems to supply assault amphibious vehicles to Taiwan
BAE Systems has been awarded a contract to provide Taiwan with 36 AAV7A1 Assault Amphibious Vehicles (similar to this one seen here www.primeportal.net/apc/chiou_cheng_wen). Source: BAE Systems
http://www.janes.com/article/81335/bae-systems-to-supply-assault-amphibious-vehicles-to-taiwan

บริษัท BAE Systems สาขาสหรัฐฯ ได้รับสัญญาวงเงิน $83.6 million เพื่อการจัดหา "วัสดุที่จำเป็นและวิศวกรรมทางเทคนิคเพื่อสร้าง, บูรณาการ, ทดสอบ และส่งมอบ" สำหรับรถสะเทินน้ำสะเทินบกสายพาน AAV7A1(Assault Amphibious Vehicle) จำนวน 36คันแก่ไต้หวัน
ตามสัญญาที่ประกาศโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สำหรับรถสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพล, AAVP7A1 30คัน, รถที่บังคับการ AAVC7A1 4คัน และรถกู้ซ่อม AAVR7A1 2คัน

ข้อตกลงนี้ซึ่งเป็นการขายในรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ภายใต้สำนักงานตัวแทนเศรษฐกิจและวัฒนธรรม Taipei(TECRO: Taipei Economic Cultural Representative Office) FMS case TW-P-SEQ
ยังรวมถึงอุปกรณ์สนับสนนและทดสอบ, อะไหล่, เอกสารสิ่งพิมพ์, การฝึก, การบริการด้านวิศวกรรม, การส่งกำลังบำรุง และการสนับสนุนทางเทคนิคอื่นๆที่ต้องการ

งานทั้งหมดจะถูกดำเนินการใน York มลรัฐ Pennsylvania สหรัฐฯ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2020 ตามที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าวโดยเพิ่มเติมว่าสัญญานี้
"ไม่ได้เป็นการแข่งขันการจัดหาตามระเบียบข้อบังคับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลกลาง Federal Acquisition 6.302-1(a)(2)(ii) มีเพียงแหล่งที่มารับผิดชอบเพียงรายเดียวและไม่มีผู้จัดส่งหรือผู้ให้บริการอื่นที่จะตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน"

สัญญาการจัดหานี้ได้รับการอนุมัติโดยกองบัญชาการระบบนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps Systems Command) ใน Quantico มลรัฐ Virginia สหรัฐฯ
เมื่อได้ถูกส่งมอบรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 เป็นไปได้มากว่าจะถูกใช้งานโดยนาวิกโยธินไต้หวัน(ROCMC: Republic of China Marine Corps)

แต่ AAV7A1 ไม่ใช่รถสะเทินน้ำสะเทินบกใหม่แบบแรกของนาวิกโยธินไต้หวัน ในปี 2003 ไต้หวันได้ลงนามสัญญาจัดหา AAV7A1 ที่เคยประจำการในนาวิโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) จำนวน 54คัน
ซึ่งรถ AAV7A1 ชุดดังกล่าวได้เริ่มถูกนำมาทดแทนรถสะเทินน้ำสะเทินบก LVTP5 รุ่นต่างๆที่ประจำการในนาวิกโยธินไต้หวันก่อนหน้า

การประกาศสัญญาจัดหาล่าสุดนี้มีขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่ไต้หวันกล่าวว่า ตนต้อนรับความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯเพื่ออำนวยความสะดวกการขายทางทหารต่อไต้หวัน
บนพื้นฐานกรณีต่อกรณีไป ที่ตรงข้ามกับแนวทางในปัจจุบันที่เป็นการ 'รวมกลุ่ม' หลายๆข้อตกลงทางกลาโหมเข้าไว้ด้วยกัน ตามที่ Jane's รายงาน

กระทรวงกลาโหมไต้หวันใน Taipei กล่าวในรายงานความเห็นโดยสำนักข่าวกลาง Central News Agency ของรัฐบาลไต้หวันเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนว่า
การเปลี่ยนผ่านของสหรัฐฯใดๆเพื่อการอนุมัติการร้องขอการจัดซื้อแบบ FMS ในลักษณะแยกต่างหาก ควรจะเพิ่มความสามารถในการกำหนดแผนและงบประมาณด้านความต้องการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพไต้หวันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้เลือกจะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8A สหรัฐฯ

South Korea to procure MPA through Foreign Military Sales route
South Korea will fulfil its maritime patrol aircraft requirement through the US Foreign Military Sales route, proving a sales opportunity for Boeing’s P-8A Poseidon, shown here is operation with the US Navy. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/81323/south-korea-to-procure-mpa-through-foreign-military-sales-route

สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวว่าตนจะเติมเต็มความต้องการสำหรับการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่(MPA: Maritime Patrol Aircraft)
การตัดสินใจนี้สามารถทำให้ DAPA เกาหลีใต้จะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Boeing P-8A Poseidon ผ่านกลไกการจัดหาแบบ Foreign Military Sales(FMS) ของสหรัฐฯ บนพื้นฐานแหล่งที่มาเดียว

DAPA เกาหลีใต้บ่งชี้ในเอกสารที่เผยแพร่เมื่อ 26 มิถุนายนว่าได้ตัดสินใจจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Navy ) ผ่านช่องทางการจัดซื้อแบบ FMS สหรัฐฯ
ตามการประเมินค่าเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8A สหรัฐฯ และคู่แข่งขันในโครงการประกอบด้วย Saab Swordfish MPA สวีเดน และ Airbus C295 MPA สเปน

"(เกาหลีใต้) จะต้องการเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลที่ทันสมัยที่สุดเพื่อดำเนินการปฏิบัติการนำร่อง, ลาดตระเวน และการค้นหาและกู้ภัย
การตัดสินใจจะจัดหา(เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล)ผ่าน FMS เป็นการคำนึงถึงในแง่กฎหมายบัญชี เช่นเดียวกับราคา, กำหนดการ และประสิทธิภาพ" DAPA เกาหลีใต้กล่าว

ในการสนับสนุนการจัดหา DAPA ขณะนี้คาดว่ากำลังจะส่งจดหมายขอข้อเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
การขายจะกลายเป็นหัวข้อต่อสหรัฐฯในการออกจดหมายเสนอและรับรอง เช่นเดียวกับการอนุมัติการขายโดยสภา Congress สหรัฐฯ

บริษัท Boeing สหรัฐฯได้กล่าวในการแถลงว่า "Boeing เชื่อว่า P-8 เป็นเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพียงแบบเดียวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในปฏิบัติการปัจจุบันที่ตรงตามความต้องการของสาธารณรัฐเกาหลี
และสามารถเข้ากันได้กับปฏิบัติงานร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ เรามองไปข้างหน้าเพื่อการทำงานร่วมกับเกาหลีใต้และสหรัฐฯเพื่อส่งมอบขีดความสามารถที่สำคัญต่อสาธารณรัฐเกาหลี"

Jane's เข้าใจว่า DAPA เกาหลีใต้ได้มีการประเมินค่าเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลหลายแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในฐานะส่วนหนึ่งของการประเมินผลว่ามีขีดความสามารถที่จะจัดหามาได้หรือไม่ผ่านกลไก FMS ของสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติที่ความชื่นชอบจะตกเป็นของ P-8 สหรัฐฯ หรือผ่านทางการแข่งขันแบบเปิดซึ่งผู้แข่งขันที่ไม่ใช่บริษัทของสหรัฐฯจะสามารถสามารถเสนอระบบของตนได้เช่นกัน

DAPA เกาหลีใต้ไม่ได้ยืนยันขอบเขตของโครงการแต่คาดว่าน่าจะมีการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Boeing P-8A Poseidon ขั้นต้น 6เครื่องวงเงินราว $1.8 billion
โดย Boeing สหรัฐฯยังตั้งเป้าว่า P-8 ของตนจะเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ของนิวซีแลนด์ ซึ่งทั้งสองประเทศจะจัดหาเพื่อทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Lockheed P-3 Orion สหรัฐฯที่มีอายุการใช้งานมานานครับ

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กองทัพบกไทยเปิดเผยอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 UAV อิสราเอล

Thailand expands ties with Israel through UAV acquisition
The Royal Thai Army (RTA) has taken delivery of four Hermes 450 long-endurance tactical unmanned aerial vehicles (UAVs) from Israel’s Elbit Systems, further strengthening Thailand-Israel defence ties.
http://www.janes.com/article/81317/thailand-expands-ties-with-israel-through-uav-acquisition


https://www.facebook.com/กองพันบินที่-๒๑-21st-Aviation-Battalion-860667027402830/

กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้รับการส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีระยะเวลาปฏิบัติการนาน(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Hermes 450 จากบริษัท Elbit Systems อิสราเอล
เป็นการเพิ่มขยายความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ด้านกลาโหมของประเทศไทยและอิสราเอล

อากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 UAV ได้เข้าประจำการ ณ กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑(กองบินเบา หรือ กองบินปีกติดลำตัว เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี
และถูกใช้ในปฏิบัติการหลายภารกิจ เช่น การชี้เป้าหมาย, ข่าวกรอง,ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) และการทำแผนที่

ระบบ Hermes 450 UAV ยังคาดว่าจะถูกใช้ในภารกิจติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบและการลักลอบนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน
โดยอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มีเพดานบินสูงสุด 18,000feet บินได้นาน ๑๘ชั่วโมง พิสัยปฏิบัติการ 300km น้ำหนักระบบ 450kg สามารถบรรทุกอุปกรณ์ตามความต้องการภารกิจได้หนัก 150kg

การจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 UAV ของกองทัพบกไทยประกอบด้วย ตัวอากาศยาน ๔เครื่อง และประกอบด้วยสถานีระบบควบคุมภาคพื้นดินและช่องสัญญาณภาพวีดิทัศน์ระยะไกล(remote video terminals) วงเงินราว ๙๐๐ล้านบาท($30 million)
และการจัดหาได้เสร็จสิ้นโดยส่งมอบระบบให้หน่วยผู้ใช้งานในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามด้วยการสาธิตและทดลองระบบ ตามที่ Jane's เข้าใจ

กองพันบินที่๒๑ ศูนย์การบินทหารบก ยังมีอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Searcher Mk II จำนวน ๔เครื่องจากบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอล ที่ได้จัดหามาในช่วงปี 1990s วงเงินประมาณ $12 million(ราว ๓๐๐ล้านบาทในขณะนั้น)
โดยอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Searcher Mk I อิสราเอล ที่เคยประจำการใน กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย ร้อย.ป.คปม. กองพลทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ตั้งแต่ช่วงปี 1980s นั้นคาดว่าจะถูกปลดประจำการแล้ว

เป็นที่เข้าใจว่าบริษัท Elbit Systems อิสราเอลได้ส่งมอบการฝึกและการสนับสนุนแก่กองทัพบกไทยในการปฏิบัติการระบบอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 UAV
แต่เมื่อ Jane's เข้าหาเพื่อสอบถามข้อมูล บริษัท Elbit Systems ได้ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นใดๆเกี่ยวกับขอบเขตการมีส่วนร่วมของตนกับกองทัพบกไทย

Hermes 450 UAV นอกจากที่ใช้งานโดยกองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force)แล้ว ได้ประสบความสำเร็จในการจัดหาจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ บราซิล เม็กซิโก โคลอมเบีย จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน บอตสวานา และไทย
ได้รับการจัดหาเพื่อทดสอบโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และเป็นระบบพื้นฐานในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ Thales Watchkeeper WK450 ของกองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) ครับ

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บาห์เรนลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V สหรัฐฯ 16เครื่อง

Bahraini F-16V contract awarded

The F-16V seen on its 2015 maiden flight. Bahrain has plans to buy 22 such aircraft at the same time as upgrading 20 of its current older-model aircraft to the same standard. Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/81289/bahraini-f-16v-contract-awarded

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $1.12 billion สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 Fighting Falcon สำหรับกองทัพอากาศบาห์เรน(Royal Bahraini Air Force) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา
สัญญาจัดหาราคาคงที่จูงใจบริษัท(fixed-price-incentive-firm) สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 Viper จำนวน 16เครื่องจะมีการดำเนินการจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2023

สัญญาดังกล่าวมีขึ้นตามมาหลังราว 9เดือนที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติการขาย F-16V ใหม่ 22เครื่อง และปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 40 ที่มีอยู่ 20เครื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแก่บาห์เรนเมื่อเดือนกันยายน 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/f-16v.html)
สัญญาสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan General Electric F-110-GE-129 ที่ไม่เปิดเผยจำนวนซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดหา F-16V หลายรายการได้รับการลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017

ตามการอ้างอิงจากคุณสมบัติของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ AN/APG-83 SABR(Scalable Agile Beam Radar) ของบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯ
(พัฒนาจาก AESA radar แบบ AN/APG-80 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16E/F Block 60 ของกองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ UAEAF: United Arab Emirates Air Force)

รวมถึง Mission Computer ใหม่ของบริษัท Raytheon สหรัฐฯ, ระบบเครือข่าย Datalink แบบ Link 16 ห้องนักบิน Glass Cockpit รูปแบบใหม่มีจอแสดงผลสีเอนกประสงค์ 2จอ และจอแสดงผลสีขนาดใหญ่ 1จอ
ระบบสงคราม Electronic แบบขยายขีดความสามารถ(Enhanced Electronic Warfare System) และระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้น(Ground-Collision Avoidance System) โดยมีการยืดอายุโครงสร้างใช้งานได้ถึง 12,000ชั่วโมงบิน

กองทัพอากาศบาห์เรนเป็นลูกค้าเปิดตัวรายแรกสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16V รุ่นมาตรฐานใหม่ล่าสุดนี้ โดยในกรอบโครงการจัดหาของบาห์เรน ข้อเสนอสัญญาจัดหายังรวมถึงอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง การฝึก และการสนับสนุน
โดยสัญญาการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 40 ที่มีอยู่รวมถึงเครื่องฝึกจำลองการบิน, อุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง, การฝึก, การสนับสนุน,

กระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper ATP(Advanced Targeting Pod) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นในจำนวนจำกัด
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X Sidewinder, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น Radar AGM-88 HARM และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AGM-84 Harpoon

รวมถึงชุดระเบิดนำวิถีแบบต่างๆในจำนวนไม่มาก เช่น ระเบิดนำวิถี Laser GBU-24 Paveway III, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-38 JDAM(Joint Direct Attack Munition),
ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39 SDB(Small Diameter Bomb), ระเบิดนำวิถี Laser และดาวเทียม GBU-50 Enhanced Paveway II และระเบิดนำวิถีดาวเทียมและ Laser GBU-54 Laser JDAM ครับ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

นอร์เวย์ยกเลิกแผนการปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2A4

Norway cancels tank upgrade
Plans to upgrade the Norwegian Army’s Leopard 2A4 MBTs have been abandoned. Source: Norwegian MoD
http://www.janes.com/article/81277/norway-cancels-tank-upgrade

แผนการที่จะปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2A4 ของกองทัพบกนอร์เวย์(Norwegian Army, Hæren) ได้ถูกยกเลิกแล้ว ตามการเผยแพร่การประกาศแผนงบประมาณฉบับแก้ไขใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ยืนยันกับ Jane's
"ตามการพิเคราะห์ของญัตติกำลังทางบก(Land Power Proposition) ในฤดูใบไม้ร่วง 2017 ได้ตัดสินใจระงับแผนการและการอนุมัติโครงการรถถังที่มีอยู่(Project 5050) จากพื้นฐานข้อแนะนำในการประเมินกำลังแห่งชาติ(National Power Assessment)"

การลดขีดความสามารถรถถังหลักจะมีการคงเก็บรักษารถไว้จนถึงปี 2025 เมื่อมีรถถังหลักใหม่หรือแนวทางเลือกคั่นระยะที่จะได้รับการนำมาใช้
มีรถถังหลัก Leopard 2A4NO เพียง 30คันเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติการได้ จากทั้งหมด 52คันในคลังแสงของกองทัพบกนอร์เวย์

ข้อเสนอการปรับปรุงรถให้เป็นมาตรฐานรถถังหลัก Leopard 2A7V ของเยอรมนี หรือพัฒนารถรบทหารราบสายพาน CV90 สวีเดนที่มีประจำการในกองทัพบกนอร์เวย์ให้เป็นรุ่นติดปืนใหญ่รถถังได้ถูกปฏิเสธ
กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์กล่าวถึงเหตุผลนั้นว่าการปรับปรุงความทันสมัยรถถังหลัก "ไม่สามารถทำให้ขีดความสามารถที่สำคัญของรถถังตรงตามการพัฒนาของภัยคุกคามของอาวุธและแบบกระสุนสมัยใหม่ได้"

มาตรการเพื่อการบำรุงรักษารถถังหลัก Leopard 2A4 จนถึงปี 2025 "กำลังได้รับการตรวจสอบ" กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์เสริม
ขณะที่การยอมรับว่าขีดความสามารถการปฏิบัติการของกองกำลังรถถังนอร์เวย์ควรจะค่อยๆลดลงและจำนวนรถอาจจะถูกลดลงที่ละน้อย

ในปี 2001 กองทัพบกนอร์เวย์ได้จัดหารถถังหลัก Leopard 2A4NL จำนวน 52คัน ซึ่งเดิมเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพบกเนเธอร์แลนด์(Royal Netherlands Army, Koninklijke Landmacht)
โดยนอร์เวย์ได้ปรับปรุง ถ.หลัก Leopard 2A4NO ของตนติดตั้งระบบวิทยุ อุปกรณ์ภายใน และระบบอำนวยการรบใหม่

กองทัพบกนอร์เวยนำรถถังหลัก Leopard 2A4 เข้าประจำการใน กองร้อยรถถังที่2(Stridsvognseskadron 2) กองพันยานเกราะ(Panserbataljonen) และกองร้อยรถถังที่1(Stridsvogneskadron 1) กองพัน Telemark(Telemark Bataljon)
ซึ่งทั้งสองกองพันเป็นหน่วยยานเกราะเคลื่อนที่เร็วที่มีกำลังหลักเป็นรถรบทหารราบ CV9030N Mk III รุ่นปรับปรุง มีอาวุธหลักปืนใหญ่กล Bushmaster II 30mm ครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ภาพเปิดเผยความเป็นไปได้การออกแบบเรือบรรทุกเครื่องจีนลำที่สาม Type 003

Image emerges showing possible design of China’s third aircraft carrier
Computer-generated imagery emerged on 20 June showing what could be the design for the PLAN’s third aircraft carrier (centre). Source: Via China Daily
http://www.janes.com/article/81249/image-emerges-showing-possible-design-of-china-s-third-aircraft-carrier

ภาพ Computer Graphic ที่ปรากฎขึ้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้สำหรับการออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
ที่รู้จักในชื่อเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 003 ซึ่งเป็นที่เชื่อว่ากำลังอยู่ระหว่างการสร้างโดยอู่เรือ Jiangnan Changxingdao ใน Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาพที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งถูกแสดงระหว่างการประชุมของผู้บริหารระดับสูงของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมการสร้างเรือของจีน แสดงภาพจำลองเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำ
ซึ่งสองลำเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยทางวิ่ง Ski-Jump และหนึ่งลำตรงกลางภาพเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR(Catapult-Assisted Take-Off But Arrested Recovery)

ภาพดังกล่าวซึ่งเริ่มแรกถูกแสดงใน page สื่อสังคม Online WeChat ของ CSIC จีนแต่ภายหลังได้ถูกลบออกไป น่าจะตีความได้ถึงการแสดงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Liaoning สองลำ และเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่หนึ่งลำ
คือเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก Type 001 CV-16 Liaoning เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Admiral Kuznetsov รัสเซียชื่อ Varyag ที่จีนซื้อจากยูเครนในสภาพที่สร้างไม่เสร็จ และจีนนำมาสร้างใหม่จนสมบูรณ์

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง Type 002 (เดิมรู้จักในชื่อ Type 001A ชื่อเรือ CV-17 Shandong) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนสร้างเองในประเทศ ซึ่งได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลครั้งแรกที่เริ่มเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/type-002.html)
และเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สาม Type 003 ซึ่งเป็นที่คาดแล้วว่าจะมีดาดฟ้าบินแบบเรียบและติดตั้งรางดีดส่งอากาศขึ้นบินแบบแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Catapults) ค่อนข้างมากกว่าที่จะเป็นรางดีดส่งอากาศยานแบบพลังไอน้ำ

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามแสดงคุณสมบัติว่ามีราง catapult 3ระบบ และหอเรือแบบเดียวกับที่ปรากฎบนแบบจำลองเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเท่าของจีนบนบกที่ใกล้ Wuhan
แม้ว่ามันเป็นการยากที่จะทำการกำหนดจำแนกจากภาพว่าเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามนี้มีขนาดใหญ่มากกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำแรกหรือไม่

การเผยแพร่ภาพนี้มีขึ้นตามมาหลังจากที่สื่อจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 ได้อ้างถึงคำกล่าวของเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนและอุตสาหรรมความมั่นคงจีนว่า
จีนกำลังระบบรางดีดส่งอากาศยาน catapult ที่พัฒนาในประเทศใช้กับเครื่องขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ที่พัฒนาโดย Shenyang Aircraft Corporation(SAC)

ที่รางดีดส่งอากาศยาน catapult ของจีนมีความคล้ายคลึงกับรางดีดแม่เหล็กไฟฟ้า EMALS(Electromagnetic Aircraft Launch System) ของบริษัท General Atomics สหรัฐฯ
ที่ติดตั้งกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Gerald R. Ford ใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/cvn-78-uss-gerald-r-ford.html)

อย่างไรก็ตามจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการไปจากที่กองทัพเรือสหรัฐฯทำการพัฒนารางดีดส่งอากาศยาน EMALS โดยแหล่งข่าวในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนยังได้อ้างในเวลานั้นว่า
ภาคอุตสาหกรรมจีนยังได้พัฒนา "การบูรณาการระบบขับเคลื่อนใหม่" ที่น่าจะทำให้รางดีดส่งอากาศยานของจีนสามารถปฏิบัติการได้โดยที่เรือบรรทุกเครื่องบินจีนไม่ได้ติดตั้งระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อังกฤษยังไม่ตัดสินใจการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-35B ด้วยระบบตรวจจับ DAS รุ่นใหม่

UK undecided on F-35 DAS upgrade
The first four of the 48 F-35Bs that the UK has so far committed to arrived in-country earlier in June. The government has yet to decide if it will retrofit its already delivered aircraft with a new DAS system in 2023. Source: Crown Copyright
http://www.janes.com/article/81196/uk-undecided-on-f-35-das-upgrade

สหราชอาณาจักรยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตนให้ติดตั้งระบบตรวจจับ DAS(Distributed Aperture System) รุ่นใหม่ที่มีการประกาศเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
จากการตอบคำถามในสภาสามัญชน(House of Commons) สภาล่างของรัฐสภาอังกฤษ รัฐมนตรีกระทรวงการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม Guto Bebb ได้กล่าวต่อคำถามนี้ว่า

การตัดสินใจที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนระบบตรวจจับ AN/AAQ-37 DAS ของบริษัท Northrop Grumman รุ่นก่อนที่ติดตั้งกับเครื่องปัจจุบันมาเป็นระบบตรวจจับ DAS รุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยบริษัท Raytheon จะมีขึ้น
"ต่อเมื่อ(รัฐบาล)เข้าใจความหมายเกี่ยวข้องของเวลาและค่าใช้จ่าย ตามที่การปรับปรุงทั้งหมดนี่จะถูกดำเนินการในฐานะโครงการพัฒนาขีดความสามารถในอนาคต ค่าใช้จ่ายต่างๆยังไม่ได้มีการเจรจาหรือตกลง" รัฐมนตรี Bebb กล่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา

ความเห็นของรัฐมนตรีการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม Bebb มาขึ้นห้าวันหลังจากที่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯประกาศว่า เครื่องบินขับไล่ F-35 ในสายการผลิตตั้งแต่ Lot 15 ในปี 2023 จะเปลี่ยนผู้ผลิตระบบตรวจจับ DAS เพื่อ "ขยายขีดความสามารถและลดค่าใช้จ่าย"
ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการเริ่มต้นส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 Block 4(ที่ปัจจุบันรู้จักในชื่อขั้นขีดความสามารถการพัฒนาและส่งมอบต่อเนื่อง C2D2: Continuous Capability Development and Delivery) รุ่นปรับแต่งการปฏิบัติการเต็มอัตราในช่วงต้นปี 2020s

ซึ่งเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่น Block 4 จะเป็นเครื่องมาตรฐานรุ่นแรกหลังเสร็จการทดสอบรุ่นมาตรฐานในขั้นการออกแบบและพัฒนาระบบ(SDD: System Design and Development)
F-35 Block 4 จะถูกเปิดตัวในการเพิ่มขีดความสามารถตั้งแต่ปี 2020 โดยรุ่นที่ปรับแต่งแบบเต็มอัตราจะพร้อมส่งมอบได้ในปี 2023(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35.html)

ภายในปี 2023 สหราชอาณาจักรจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นขึ้นลงระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง (STOVL: Short Take-Off and Vertical Landing) จำนวน 42เครื่องจาก 48เครื่อง
โดยเครื่องบินขับไล่ F-35B ชุดแรก 4เครื่องของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ได้เดินทางถึงฐานทัพอากาศ RAF Marham ใน Norfolk เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-35b-marham.html)

เครื่องบินขับไล่ F-35B ที่จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) นี้เป็นส่วนหนึ่งของหลายโครงการร่วมกับนานาชาติที่มีการสั่งจัดหาและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 ในทุกรุ่นรวมกว่า 951เครื่องในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
การตัดสินว่าจะปรับปรุง F-35B ของอังกฤษด้วยระบบตรวจจับ DAS รุ่นใหม่หรือไม่นี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของหลายแผนการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-35 ไปสู่มาตรฐาน Block 4/C2D2 รุ่นใหม่ล่าสุดครับ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Lockheed Martin เปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-35A ตุรกี ท่ามกลางการต่อต้านจากสมาชิกสภาสหรัฐฯ

Lockheed presents F-35 to Turkey amid US lawmaker opposition
Lockheed Martin officially presented the first F-35A fighters to Turkey in a 21 June rollout ceremony in Fort Worth, Texas.
https://www.flightglobal.com/news/articles/lockheed-presents-f-35-to-turkey-amid-us-lawmaker-op-449645/


บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้เปิดตัวเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) เครื่องแรกอย่างเป็นทางการ
ในพิธีเปิดตัวที่โรงงานอากาศยานของ Lockheed Martin ที่ Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา

คาดว่าตุรกีจะยังไม่รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A เพื่อทำการบินปฏิบัติการในน่านฟ้าของตนจนกว่าจะถึงปี 2020 ตามที่นักบินของกองทัพอากาศตุรกีจะเริ่มทำการฝึกบินกับเครื่องบินใหม่นี้ที่ฐานทัพอากาศ Luke มลรัฐ Arizona ในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้
ขณะที่ช่างอากาศยานของกองทัพอากาศตุรกีได้เริ่มทำการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่ฐานทัพอากาศ Eglin มลรัฐ Florida แล้ว

พิธีเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตรุกีอย่างเป็นทางการมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่สมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร สภา Congress สหรัฐฯได้เคลื่อนไหวเพื่อที่จะระงับการส่งมอบ F-35A แก่ตุรกี
วุฒิสภาสหรัฐฯได้ผ่านรัฐบัญญัติการอนุมัติงบประมาณการป้องกันประเทศ National Defense Authorisation Act 2019 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะระงับการส่งมอบ F-35A แก่ตุรกี

การผ่านการอนุมัติงบประมาณมีขึ้นสามวันหลังจากที่กลุ่มผู้แทนราษฎรจากสองพรรคการเมืองทั้งพรรค Republicans และพรรค Democrats ยื่นจดหมายต่อรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ James Mattis เพื่อขอให้เขาระงับการส่งมอบ F-35A ให้ตุรกี
สมาชิกสภา Congress รวมถึงเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อธิบายถึงเหตุผลว่า ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan มีพฤติกรรมที่ไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรม, ลดเสรีภาพส่วนบุคคล, รวบอำนาจ และตัดสินใจยุทธศาสตร์ทางทหารที่ออกจากแนวทางผลประโยชน์ของสหรัฐฯ

ปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและสมาชิกสภา Congress คือการที่ตุรกีได้ลงนามข้อตกลงกับรัสเซียในการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ Almaz-Antey S-400 Triumf ซึ่งเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศที่ก้าวหน้าที่สุดในตลาดส่งออกอาวุธ
ซึ่งทาง Rosoboronexport หน่วยงานด้านจัดการส่งออกยุทโธปกรณ์รัสเซียกล่าวว่า S-400 สามารถต่อต้านเครื่องบินที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth ได้ถึงระยะ 150km(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/s-400.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/s-400.html)

อย่างไรก็ตามมันไม่มีการกล่าวอ้างถึงข้อขัดแย้งที่ร้าวลึกระหว่างตุรกีและสหรัฐฯในพิธีเปิดตัว โดยทั้งสองฝ่ายได้ตอกย้ำการสานต่อผลประโยชน์รวมกันในระยะยาวซึ่งรวมถึงภูมิศาสตร์ของตุรกีที่มีความสำคัญในฐานะชาติสมาชิก NATO
และภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงตุรกีกว่า 10บริษัทที่มีส่วนร่วมกับ F-35 เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน Roketsan SOM-J ที่จัดแสดงในงานพร้อมระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing JDAM สหรัฐฯ โดยตุรกีมีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 100เครื่อง

"มันมีส่วนหนึ่งซึ่งได้รับการผลิตโดยภาคอุตสาหกรรมตุรกีบน F-35 ที่ทำการบินตอนนี้ ดังนั้นเราจึงภูมิใจอย่างยิ่งที่เราได้เป็นหุ้นส่วนของโครงการนี้และเราเป็นเจ้าของระบบอาวุธนี้"
Serdar Demirel รองรัฐมนตรีทบวงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตุรกี(Undersecretariat for Defence Industries, SSM: Savunma Sanayii Müsteşarlığı) กล่าว

Demirel ยังได้สรุปการปราศัยของเขาโดยกล่าวว่าเขายินดีที่พายุฝนฟ้าคะนองที่เข้าพื้นที่ Fort Worth Texas เมื่อคืนก่อนนั้นได้ผ่านไปก่อนที่พิธีส่งมอบ F-35 จะเริ่มขึ้น
"วันนี้มันมีแสงสว่างเจิดจ้าอยู่ข้างนอก ดังนั้นผมหวังว่านี่จะเป็นสัญญาณว่าพระอาทิตย์จะฉายแสงต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงของชาติระหว่างตุรกีกับสหรัฐฯและชาติอื่นๆทุกประเทศ" Demirel กล่าวครับ

รถรบยิงสนับสนุนรถถัง BMPT Terminator รัสเซียจะใช้กระสุนแบบตั้งค่าการยิงได้

Russia’s ‘Terminator’ advanced combat vehicles to get smart shells
The ‘Terminator’ tank support combat vehicle is armed with two 30mm 2A42 guns with a combat load of 900 rounds
Valeriy Sharifulin/TASS
http://tass.com/defense/1010434

รถรบยิงสนับสนุนรถถัง BMPT Terminator ขั้นก้าวหน้าของรัสเซียที่ล่าสุดได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพรัสเซียจะมีขีดความสามารถในการยิงกระสุนปืนใหญ่กลขนาด 30mm ที่สามารถตั้งค่าการระเบิดแตกอากาศได้
ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Techmash Scientific and Production Association ผู้ผลิตเครื่องกระสุน จรวด ระเบิด และอาวุธนำวิถีของรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน

งานพัฒนากระสุนปืนใหญ่กลขนาด 30x165mm แบบใหม่ดังกล่าวนั้นอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ตามที่ Techmash รัสเซียกล่าว
เช่นเดียวกับกระสุนแบบตั้งค่าการระเบิดแตกอากาศได้ของชาติตะวันตก กระสุนแบบใหม่นี้จะถูกใช้ในการยิงทำลายกำลังพลข้าศึกในที่กำบังแข็งแรง, อาวุธปล่อยนำวิถี และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก

"ในความสนใจของกองทัพบกรัสเซีย งานพัฒนาขณะนี้ใกล้จะเสร็จสิ้นสำหรับรถรบยิงสนับสนุนรถถังเพื่อสร้างระบบกระสุน 30mm ที่ควบคุมการระเบิดแตกอากาศได้" Techmash กล่าวโดยไม่ได้ระบุถึงการออกแบบกระสุน
จนถึงขณะนี้ รถรบยิงสนับสนุน Terminator สามารถยิงกระสุนปืนใหญ่กล 30mm ที่ใช้ชนวนกระทบแตกแบบปกติทั่วไป ซึ่งจะระเบิดเมื่อกระสุนกระทบกับสิ่งกีดขวาง

กระสุนปืนใหญ่กลขนาดกลาง(30mm และ 35mm) ซึ่งตั้งค่าการระเบิดแตกอากาศได้ มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้แล้วโดยบริษัท Oerlikon สวิตเซอร์แลนด์(ปัจจุบันอยู่ในเครือ Rheinmetall เยอรมนี)
กระสุนแบบครบนัดจะระเบิดแตกสะเก็ดตามเวลาที่คำนวนการตั้งค่าไว้โดยระบบควบคุมการยิง ดังนั้นจึงสามารถทำการยิงทำลายเหนือสนามเพลาะข้าศึกเพื่อทำลายกำลังพลข้าศึกที่ซ่อนตัวในที่กำบังจากการยิงโดยตรง

กระสุน smart แบบดังกล่าวยังมีความน่าเชื่อถือในการใช้ทำลายเป้าหมายทางอากาศที่รวมถึงอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กหรืออาวุธปล่อยนำวิถี (กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ได้จัดหาปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูง Oerlikon GDF-007 35mm แฝดสอง
และ Radar ควบคุมการยิง Skyguard 3 พร้อมกระสุนแบบตั้งค่าการยิงได้แบบ AHEAD จากบริษัท Rheinmetall Defence เยอรมนี-สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสามารถทำลายเครื่องบินบังคับวิทยุที่ใช้เป็นเป้าบินอย่างรวดเร็วและแม่นยำ http://aagth1.blogspot.com/2018/06/blog-post.html)

ข้อมูลการตั้งเวลาระเบิดจะถูกป้อนเข้าสู่กระสุนโดยอุปกรณ์ตั้งค่าที่ติดตั้งที่ปลายสุดของลำกล้องปืนใหญ่กล เช่น รถรบทหารราบสายพาน Puma เยอรมนีซึ่งใช้ปืนใหญ่กล MK30-2/ABM ขนาด 30mm
กระสุนแตกอากาศขนาด 30x173mm NATO มีสะเก็ดระเบิดย่อยทรงกระบอก 162ชิ้น ที่จะพุ่งทำลายเป้าหมายด้วยพลังงานจลน์ในพื้นที่ที่ลูกกระสุนถูกยิงเหนือเป้าหมายที่ตั้งค่าเวลาระเบิดไว้(ด้วยขนาดกระสุนไม่สามารถจะบรรจุดินระเบิดกำลังสูงได้และมีจำนวนสะเก็ดระเบิดย่อยจำกัด)

รถรบยิงสนับสนุนรถถัง Terminator ติดตั้งปืนใหญ่กล 2A42 ขนาด 30x165mm สองกระบอก โดยมีกระสุนพร้อมรบ 900นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Ataka-T, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 30mm และปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm
โดยรถถูกออกแบบเพื่อการยิงสนับสนุนสำหนับหน่วยยานเกราะในการรุก โดยเฉพาะการทำลายล้างกำลังพลติดอาวุธของข้าศึกที่มีระบบอาวุธต่อสู้รถถังแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ด้วยบุุคคล

มีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน 2018 ที่ผ่านมาว่า รถรบยิงสนับสนุนรถถัง BMPT Terminator ได้ถูกยอมรับการนำเข้าประจำการในกองทัพบกรัสเซียแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/bmpt-terminator.html)
แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ TASS ก่อนหน้านี้ว่า รถรบยิงสนับสนุนรถถัง Terminator จำนวน 10คันได้ถูกส่งมอบให้กับกองทัพบกรัสเซียแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

BAE Systems-Iveco เป็นผู้ชนะโครงการยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก ACV 1.1 นาวิกโยธินสหรัฐฯ

BAE Systems wins competition for US Marine Corps’ ACV 1.1
BAE Systems, teamed with Iveco Defence Vehicles, rolled out its ACV 1.1 variant in December 2016. Source: BAE Systems
http://www.janes.com/article/81182/bae-systems-wins-competition-for-us-marine-corps-acv-1-1

นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ได้เลือกบริษัท BAE System สหราชอาณาจักรสาขาสหรัฐฯ เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหายานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก Amphibious Combat Vehicle 1.1(ACV 1.1)
เพื่อทดแทนรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1(Assault Amphibious Vehicle) ซึ่งเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1971

เจ้าหน้าที่ของนาวิกโยธินสหรัฐฯได้กล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมาว่าได้ให้สิทธิดำเนินการ "หลายทางเลือก" แก่ BAE Systems สำหรับการผลิตยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก ACV 1.1 สายการผลิตระดับต่ำ 30คันสำหรับที่จะเริ่มการส่งมอบได้ในสิ้นปี 2019
ทางเลือกเหล่านี้มีวงเงินที่ $198 million รัฐมนตรีช่วยด้านการวิจัยพัฒนาและจัดหากองทัพเรือสหรัฐฯ James ‘Hondo’ Geurts ได้ออกแผนการตัดสินใจสายการผลิตหลักขั้น Milestone C สำหรับโครงการ ACV 1.1 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา

ตามที่ได้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจาก 5รายในปี 2015 นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ออกสัญญาในขั้นการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต(EMD: Engineering and Manufacturing Development) แก่บริษัท BAE Systems และบริษัท Science Applications International Corporation(SAIC) สหรัฐฯ
โดย BAE System ได้ร่วมทีมกับบริษัท Iveco Defence Vehicles อิตาลีเสนอยานเกราะล้อยาง SuperAV ขณะที่ SAIC ร่วมทีมกับ Singapore Technologies Kinetics (ST Kinetics) สิงคโปร์เสนอยานเกราะล้อยาง Terrex 2

ซึ่งทีม BAE Systems-Iveco และทีม SAIC-ST Kinetics ได้ทำการผลิตและส่งมอบยานเกราะล้อยาง SuperAV และ Terrex 2 แบบละ 16คันสำหรับการทดสอบโดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ(http://aagth1.blogspot.com/2015/11/bae-systems-saic-acv.html)
ตามที่ John Garner ผู้บริหารโครงการสำหรับระบบอาวุธทางบกกล่าว นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ "ทำการตัดสินใจอย่างคุ้มค่าที่สุด" บนพื้นฐานจากสมรรถนะทางเทคนิคของชุดรถต้นแบบที่ทดสอบในขั้น EMD

โครงการจัดหายานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก ACV 1.1 จะทำให้นาวิกโยธินสหรัฐฯได้รับมอบ "ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล 8x8 ที่ก้าวหน้า" Garner กล่าว นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ใช้วิธีแบ่งแผนการจัดหาโครงการ ACV เป็นขั้นๆ โดย ACV Increment 1.1 มีจุดประสงค์เพื่อ
"การส่งนาวิกโยธินพร้อมรบจากยานเบาะอากาศแบบใหม่ Ship-to-Shore Connector(SSC) จากเรือยกพลขึ้นบกสู่ฝั่ง" เพื่ออำนวยความสะดวกในการรวมกลุ่มกำลังรบก่อนจะดำเนินการรุกเข้าสู่ภายในแผ่นดิน

เอกสารงบประมาณสหรัฐฯประจำปี 2019 บ่งชี้ว่าโครงการ ACV 1.1 ได้"ออกแบบเพื่อทำให้เกิดขีดความสามารถขั้นต้นของการลำเลียงพล การวางแผนการทำงานขั้นตอนตามมาจะเป็นเพื่อขยายขีดความสามารถการเป็นรถลำเลียงพล และจะพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มเติมเป็นรถที่ควบคุมและบัญชาการ และรถกู้ซ่อมทางยุทธวิธี"
นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนที่จะเริ่มการทดแทนรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 เก่าทั้งหมดด้วยยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก ACV 1.1 ภายในสิ้นปี 2020 ครับ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

GDELS ยุโรปเปิดตัวรถถัง ASCOD MMBT ASCOD IFV และยานเกราะล้อยาง PANDUR 6x6 EVO

Eurosatory 2018: GDELS unveils four new armoured vehicles
The GDELS ASCOD MMBT, armed with the Leonardo HITFACT turret sporting a 120 mm smoothbore main gun, made its debut at Eurosatory 2018. Source: IHS Markit/Patrick Allen

The latest ASCOD IFV can be fitted with a range manned and unmanned turrets, the latter including the Elbit UT30MK2 unmanned turret armed with an Orbital ATK Armament Systems 30 mm MK44 dual feed cannon and 7.62 mm co-axial machine gun. Source: Christopher F Foss
http://www.janes.com/article/81036/eurosatory-2018-gdels-unveils-four-new-armoured-vehicles


The new PANDUR 6x6 EVO at Eurosatory featured a protection package provided by IBD Deisenroth. (Photo: DPM)
http://www.monch.com/mpg/news/land/3670-euro-gdels-8.html

บริษัท General Dynamics European Land Systems(GDELS) ยุโรปได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ยานเกราะใหม่สี่แบบในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2018 ณ Paris ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน ที่ผ่านมา
เป็นการเปิดตัวรถรบหุ้มเกราะ(AFV: Amoured Fighting Vehicle) ในตระกูลยานเกราะสายพาน ASCOD Common Base Platform(CBP) สองแบบในรุ่นยิงตรงและรถรบทหาราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle) รวมกับยานเกราะล้อยางตระกูล Pandur ใหม่ และรถวางสะพานขนาดกลางใหม่

รถถังหลักขนาดกลาง ASCOD Medium Main Battle Tank(MMBT) ออสเตรีย-สเปนที่จัดแสดงติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถัง Leonardo HITFACT อิตาลี
ประกอบด้วยปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm พร้อมปืนกลร่วมแกน 7.62mm, แท่นยิงปืนกล 7.62mm และป้อมปืน Remote Weapon Station สำหรับปืนกลหนัก 12.7mm บนหลังคาป้อมปืน

ป้อมปืนใหญ่รถถัง Leonardo HITFACT ปถ.ได้รับการติดตั้งควบคู่กับระบบควบคุมการยิง Computer ทำให้ผู้บังคับการรถและพลยิงใช้งานกล้องเล็งกลางวัน/สร้างภาพความร้อบแบบรักษาการทรงตัวร่วมกับ Laser วัดระยะได้
รถถังหลักกลาง ASCOD MMBT มีน้ำหนักตัวรถที่ 42ตัน ได้ความสนใจโดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าในภาคตะวันออกไกลซึ่งมีภาพแวดล้อมภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับการนำรถถังหลักขนาดน้ำหนัก 60-70tons ไปใช้งาน

จากพูดคุยกับ Jane's เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา Manuel J Serrano ผู้อำนวยการอาวุโสสำหรับแผนกยานเกราะล้อยางของบริษัท GDELS กล่าวว่า
"เรากำลังพูดถึงรถถังเบา สิ่งนี้เป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด และดังนั้นเราได้พัฒาสิ่งนี้ซึ่งเป็นสมาชิกล่าสุดที่มีประสิทธิภาพยิ่งในตระกูล ASCOD"

Serrano เน้นย้ำเสริมว่าขีดความสามารถในการขนส่งเป็นการพิจารณาหลักในการออกแบบรถถังหลักกลาง ASCOD MMBT(รถสามารถทำการขนส่งทางอากาศโดยเครื่องบินลำเลียงหนัก Airbus A400M หรือ Boeing C-17 ได้)
พร้อมไปกับค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของ ASCOD MMBT ที่เขากล่าวว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของของรถถังหลักมาตรฐาน

รถรบทหารราบ ASCOD IFV เป็นยานเกราะสายพานตระกูล ASCOD ที่พัฒนาจากรุ่นที่มีประจำการในออสเตรียและสเปน และพัฒนาเพิ่มเติมเป็นยานเกราะสายพานตระกูล Ajax สำหรับกองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army)
ASCOD IFV สามารถติดตั้งป้อมปืนแบบมีพลประจำภายในป้อมและไม่มีพลประจำ รวมถึงป้อมปืนไร้พลประจำป้อมแบบ Elbit UT30MK2 อิสราเอลพร้อมปืนใหญ่กลป้อนกระสนุนสองทาง Orbital ATK Armament Systems MK44 30mm สหรัฐฯ และปืนกลร่วมแกน 7.62mm

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล PANDUR 6X6 EVO (APC: Armored Personnel Carrier) เป็นยานเกราะล้อยางในตระกูล Pandur รุ่นล่าสุดที่ได้รับเลือกเข้าประจำการในกองทัพบกออสเตรียจำนวน 34คัน
PANDUR 6X6 EVO APC มีพลประจำรถ 3นาย และบรรทุกทหารไปกับรถได้ 8นาย ติดตั้งป้อมปืน Remote ปืนกลหนัก 12.7mm ครับ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ F-5ST Super Tigris กองทัพอากาศไทยจะติดอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T

Thai F-5s to fight on with IRIS-T missiles
The Royal Thai Air Force is to arm its Northrop F-5 fighters with IRIS-T short-range air-to-air missiles, following the signature of a repeat order with German manufacturer Diehl Defence.
https://www.flightglobal.com/news/articles/thai-f-5s-to-fight-on-with-iris-t-missiles-449537/


Royal Thai Air Force F-5F Super Tigris Prototype Roll Out Ceremony at 211st Squadron, Win21 Ubon Ratchathani, 23 May 2018(https://www.facebook.com/ball.kittidej)

Royal Thai Air Force F-5ST Super Tigris SMART Weapons include IRIS-T, Python-5, Derby and LIZARD 3

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T กับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ข/ค Northop F-5E/F-5F Tiger II
เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายนที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยได้มีการลงนามสัญญาจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T เพิ่มเติมจากบริษัท Diehl Defence เยอรมนีที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน โดยไม่มีการเปิดเผยจำนวนและวงเงินการจัดหา

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนีได้รับการจัดหาโดยกองทัพอากาศไทยครั้งแรกสำหรับเป็นอาวุธของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่ปัจจุบันมี ๑๑เครื่อง
และรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๘เครื่อง ซึ่งได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทยที่ได้รับความร่วมมือการดำเนินงานจากสหรัฐฯ

บริษัท Diehl Defence เยอรมนีเน้นย้ำว่า "แผนการจัดหาใหม่เพื่อบูรณาการอาวุธเข้ากับ F-5 ได้ทำให้ IRIS-T เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศมาตรฐานของกองทัพอากาศไทย"
ซึ่ง IRIS-T จะถูกนำไปติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ๑๔เครื่องที่เข้ารับการปรับปรุงขีดความสามารถ F-5ST SUPER TIGRIS โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และ TAI ไทย(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)

Flight Fleets Analyzer แสดงข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทยยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว บ.ข.๑๘ข F-5E จำนวน ๓๐เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง บ.ข.๑๘/ค F-5F จำนวน ๔เครื่อง ซึ่งมีอายุการใช้งานระหว่าง ๓๐-๔๐ปี
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช, F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ และ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ รวมทั้งสามฝูงบินจำนวน ๕๓เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16ab.html)

การสั่งจัดหาจากกองทัพอากาศไทยล่าสุดนับเป็นการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T เข้ากับเครื่องบินขับไล่ F-5 ที่มีอายุการใช้งานมานานเป็นครั้งแรก โดยคาดว่าจะใช้งานร่วมกับหมวกบินติดจอแสดงผล DASH IV
การปรับปรุง F-5ST SUPER TIGRIS ยังรวมถึงขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Rafael Python-5 อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนอกระยะสายตา Rafael I-Derby และระเบิดนำวิถี Laser แบบ Elbit LIZARD 3 อิสราเอลด้วย

IRIS-T เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้นำวิถีด้วย Infrared แบบ all-aspect มีมิติขนาดและน้ำหนักเท่ากับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9L/M Sidewinder แต่ IRIS-T มีพิสัยยิงไกลสุดถึง16nmi(25km) และทำงานร่วมกับหมวกติดศูนย์เล็งได้
โดยหลังการบูรณาการระบบเข้ากับ F-5E/F กองทัพอากาศไทยมีแผนที่จะนำอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T ทดแทน AIM-9 Sidewinder อย่างเต็มอัตราในอนาคต

นอกจากเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D, F-16AM/BM EMLU และ F-5E/F Super Tigris กองทัพอากาศไทย อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T ยังถูกใช้งานกับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18, Eurofighter Typhoon และ Panavia Tornado ที่ประจำการในหลายประเทศทั่วโลก
ที่เป็นชาติยุโรปที่เป็นหุ้นส่วนโครงการพัฒนาคือเยอรมนี, อิตาลี, สเปน, นอร์เวย์, สวีเดน และกรีซ และส่งออกต่างประเทศคือ ออสเตรีย, แอฟริกาใต้ และซาอุดิอาระเบีย ตามที่ Diehl Defence กล่าวครับ

ทะยานสู่สิบล้านแล้วครับ!!!!!!!!!!

ตั้งแต่ที่ทำ Blogspot มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2013 ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2018 นี้ยอดผู้ชมก็เข้าสู่ระดับเกิน 10ล้านรายแล้ว
รวมเวลาที่ทำ Blog นี้มาก็ 4ปี 7เดือน ผู้เขียนก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมตลอดมาตั้งแต่สมัย Exteen จนถึงปัจจุบันไว้ ณ ที่นี้ครับ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ยูเครนและไทยมองแผนการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทางทหารร่วมกัน

Ukraine, Thailand look to establish joint industrial facility
Ukraine and Thailand are considering plans to expand defence industrial collaboration through a jointly run facility that could support maintenance, repair and overhaul (MRO) and possibly joint production activities.
http://www.janes.com/article/81136/ukraine-thailand-look-to-establish-joint-industrial-facility


Royal Thai Army has displayed Ukrainian BTR-3K Commader varriant of BTR-3E1 8x8 wheeled Armoured Personnel Carrier and T--84M Oplot-T Main Battle Tank
in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html

UkrOboronProm has displayed BTR-4E 8x8 Armoured Personnel Carrier for first time in Thailand at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok on 6-9 November.(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/btr-4e-oplot-t-2018.html

ยูเครนและประเทศไทยกำลังพิจารณาแผนการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงตลอดการดำเนินการจัดโรงงานอุตสาหกรรมทหารร่วมกัน
ที่สามารถจะสนับสนุนการปรนนิบัติบำรุงรักษา, ซ่อมแซม และยกเครื่องใหม่(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) และเป็นไปได้ถึงกิจการสายการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารร่วมกันภายในไทย

สภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติยูเครน(NSDCU: National Security and Defense Council of Ukraine) ได้กล่าวในการแถลงว่าข้อเสนอการจัดตั้งโรงงานซึ่งจะมีที่ตั้งในไทยเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของยานยนต์ทางทหารของยูเครนในไทย
ได้เป็นหัวข้อในการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมไทยและกระทรวงกลาโหมยูเครนที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ยูเครน

สภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติยูเครนบ่งชี้ว่าขอบเขตของความร่วมมือควรน่าจะตั้งอยู่บนหลักการที่กองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) น่าจะมีการจัดหายุทโธปกรณ์จากยูเครนเพิ่มเติม
ตามที่รองเลขาธิการสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติยูเครน Oleg Hladkovskiy กล่าวว่า "การเน้นย้ำความสำคัญ(ต่อคณะตัวแทนของไทย)ว่ายูเครนเราได้พร้อมที่เดินหน้าการส่งออกยานเกราะแก่ไทย เช่นเดียวกับการขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ทางทหาร(ที่จะจัดส่งให้กองทัพไทย)"

กองทัพบกไทย(Royal Thai Army)ได้จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แบบแรกจากยูเครนคือยานเกราะล้อยางลำเลียงพลตระกูล BTR-3E1 8x8 ชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) และชุดที่สองปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) รวมมากกว่า ๒๒๐คัน
เพื่อเข้าประจำการใน กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ เพื่อแปรสภาพให้ ร.๒ รอ. และ ร.๒๑ รอ. พล.ร.๒ รอ. เป็นหน่วยทหารราบยานเกราะทั้งกรมและทั้งกองพล

เช่นเดียวกับ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy) ที่จัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 จำนวน ๑๒คัน เข้าประจำการใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน
โดย UkrOboronProm รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนได้กล่าวว่าทำการส่งมอบยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ให้กับไทยครบทุกรุ่นที่สั่งจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐(2016-2017) แล้ว

ต่อมากองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) จากยูเครน ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) เข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ซึ่งได้รับมอบรถรวมแล้วราว ๔๓คัน
ซึ่ง UkrOboronProm ยูเครนยืนยันจะส่งมอบรถถังหลัก  Oplot-T ให้กองทัพบกไทยครบตามสัญญาที่ล่าช้ามานานในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/04/atlet.html)

แม้ว่าผลกระทบจากการที่รัสเซียผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธทำสงครามกับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนในภาค Donbass ตั้งแต่ปี 2014 จะมีผลต่อความล่าช้าในการผลิตยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 และรถถังหลัก Oplot ให้ไทยอย่างมาก
อย่างไรก็ตามยูเครนยังมองเห็นถึงโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทหารอื่นๆของตนแก่ไทย รวมถึงยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-4E 8x8 พร้อมสิทธิบัตรสายการผลิตในไทยครับ

Saab สวีเดนวางตำแหน่งเครื่องบินขับไล่ Gripen สำหรับความต้องการของฟิลิปปินส์

Saab’s Gripen positioned for Philippines fighter requirement
Saab is positioning its Gripen to meet the Philippines’ Multi-Role Fighter requirement. Source: Saab
http://www.janes.com/article/80943/saab-s-gripen-positioned-for-philippines-fighter-requirement

บริษัท Saab สวีเดนได้รุกคืบการหารือของตนร่วมกับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force) ในฐานะส่วนส่วนหนึ่งของการดำเนินการ
เพื่อให้ตรงความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงข้างหน้า

แผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่รู้จักในฟิลิปปินส์ว่าโครงการเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Multi-Role Fighter(MRF) นั้นยังไม่ได้มีการออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFI: Request for Information) อย่างเป็นทางการออกมา
แต่ Saab สวีเดนได้พร้อมในการวางตำแหน่งอย่างแข็งแรงสำหรับระบบเครื่องบินขับไล่ Gripen ของตนเพื่อให้ตรงความต้องการของฟิลิปปินส์เมื่อถึงเวลาต้องเข้าแข่งขันในโครงการ

มีรายงานล่าสุดจากฟิลิปปินส์ว่า ประธานธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte ขณะนี้ได้อนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRF ในหลักการแล้ว
เป็นที่สังเกตุว่าอาจจะเป็นการมุ่งหน้าไปตามแผนโครงการปรับปรุงความทันสมัย Second Horizon ของกองทัพฟิลิปปินส์(AFP: Armed Forces of the Philippines) ที่มีกำหนดดำเนินการในช่วงปี 2018-2023 นี้

วงเงินงบประมาณสำหรับแผนปรับปรุงความทันสมันของกองทัพฟิลิปปินส์ Second Horizon ซึ่งรวมโครงการการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRF ในฐานะหนึ่งในโครงการจัดหาสำคัญได้รับการตั้งวงเงินที่ 289 billion Philippine Peso($5.46 billion)
ความเห็นจากรายงานความคืบหน้าโครงการ MRF โฆษกของ Saab กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนว่า "มันมีการพัฒนาในเชิงบวกสำหรับเราในฟิลิปปินส์ และเราได้รับการสนับสนสนุนโดยความเคลื่อนไหวว่าตอนนี้มันถูกสร้างรอบโครงการ MRF"

โฆษกของ Saab เสริมว่า Saab ได้มีการหารือกับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์และกองทัพฟิลิปปินส์เกี่ยวกับความต้องการทางทหารในประเทศเป็นเวลาหลายปี และนั่นมันได้มีการพูดคุยกับในอดีตเกี่ยวกับความต้องการโครงการ MRF
"เราได้เคยมีการหารือรายละเอียดกับกลุ่มงานเทคนิคของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ว่าได้มีการศึกษาทางเลือกสำหรับฟิลิปปินส์และ Saab มุ่งมั่นเต็มที่จะสนับสนุนเส้นทางการจัดหาใดๆก็ตามของฟิลิปปินส์ที่จะมีขึ้นตามมาข้างหน้า"

ตามรายงานโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRF น่าจะดำเนินในฐานะความต้องการสำหรับการจัดหาสองฝูงบินมากกว่าสองชุด
แม้ว่าจำนวนเครื่องทั้งหมดที่จะมีการจัดหา และการจัดสรรวงเงินงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาจะยังไม่ได้รับการการยืนยันจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ในขณะนี้ก็ตามครับ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สหรัฐฯจะเพิ่มความสามารถอาวุธปราบเรือดำน้ำเพดานบินสูงของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8

US Navy progresses HAAWC high-altitude ASW capability for Poseidon
The LongShot kit fitted to an Mk 54 torpedo is designed to afford the Poseidon a high-altitude anti-submarine warfare capability. Boeing is to be awarded a sole-source contract for full-rate production of the Air Launch Accessory component of the system.
Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/80797/us-navy-progresses-haawc-high-altitude-asw-capability-for-poseidon

กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) กำลังผลักดันการเดินหน้าแผนการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถอาวุธสงครามปราบเรือดำน้ำเพดานบินสูง(HAAWC:  High Altitude Anti-Submarine Warfare Weapon Capability)
ของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลพหุภารกิจ Boeing P-8A Poseidon(MMA: Maritime Multimission Aircraft) แม้ว่าจะมีความเห็นในทางตรงกันข้ามจากนายทหาระดับสูงในกองทัพเรือสหรัฐฯบางนายก็ตาม

จะมีผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEM: Original Equipment Manufacture) ที่จะได้รับสัญญาจัดหาแหล่งเดียวสำหรับสายการผลิตเต็มอัตราของชุดประกอบเสริมปล่อยทางอากาศ HAAWC Air Launch Accessory(ALA)
สำหรับใช้ติดตั้งกับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Raytheon Mk 54 ที่ยิงจากเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8A Poseidon MMA จากเพดานบินระดับสูง

เอกสารการแจ้งนี้ถูกเผยแพร่โดยทบวงกองทัพเรือเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา ตามที่ในเดือนมีนาคม 2017 กลุ่มผู้บัญชาการตรวจการณ์และลาดตระเวน(CPRG: Commander Patrol and Reconnaissance Group) กองทัพเรือสหรัฐฯ
ได้ถอนการรับรองของตนของขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) เพดานบินสูง

ตามที่ได้ย้ำในการชักชวนของกองทัพเรือสหรัฐฯ "ความต้องการขีดความสามาถหลัก HAAWC คือการเพื่อพิสัยการยิงนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้าม(Stand-Off) และเพดานบินยิงอาวุธ
สำหรับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8A Poseidon ระหว่างภารกิจปราบเรือดำน้ำสำหรับการใช้งาน Torpedo เบาต่อเป้าหมายเรือดำน้ำ"

"ALA จะถูกใช้เป็นพิเศษเฉพาะกับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mk 54 MOD 0 และ MOD 1 และจะถูกนำไปติดตั้งและยิงจากห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวของ P-8A Poseidon
กองทัพเรือสหรัฐฯต้องการขีดความสามารถในการติดตั้งและทำการยิงอาวุธปราบเรือดำน้ำเพดานบินสูง HAAWC จำนวน 5นัดบน P-8A" เอกสารกล่าว

HAAWC เป็นการบูรณาการชุดเสริม ALA กับระบบนำวิถีดาวเทียม GPS และปีกร่อนแบบพับได้เข้ากับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mk 54 มาตรฐาน เพื่อทำให้ Torpedo สามารถบินไปจากจุดยิงและเพดานบินที่ตั้งค่าไว้ ก่อนจะปลดตนเองจากชุดปีกร่อน
หลังจากนั้น Torpedo จะร่วงลงสู่พื้นน้ำโดยมีร่มชูชีพหน่วงความเร็วตามมาตรฐาน และเมื่อลงใต้น้ำ Torpedo จะเริ่มต้นค้นหาและพุ่งเข้าทำลายเป้าหมายเรือดำน้ำตามที่ออกแบบไว้เช่นเดิม

ชุดเสริมปีกบิน LongShot ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถอาวุธปราบเรือดำน้ำเพดานบินสูง HAAWC สำหรับ P-8A Poseidon
โดยบริษัท Boeing สหรัฐฯซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8 จะได้รับสัญญาแหล่งเดียวสำหรับสายการผลิตเต็มอัตราของชุดประกอบเสริม ALA สำหรับระบบดังกล่าวครับ

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

KNDS ฝรั่งเศส-เยอรมนีเปิดตัวรถถังหลักใหม่ EMBT

EU tank breaks cover [ES18D5]




After being kept under wraps, the French-German KNDS Group (Krauss-Maffei Wegmann + Nexter Defense Systems) has unveiled its first joint project, the EMBT, or European Main Battle Tank.
http://www.janes.com/article/81083/eu-tank-breaks-cover-es18d5


หลักจากที่ถูกปกปิดภายใต้การหุ้มห่อ บริษัท KNDS Group ฝรั่งเศส-เยอรมนี ที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมกิจการระหว่างบริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) เยอรมนี กับบริษัท Nexter Defense Systems ฝรั่งเศส(http://aagth1.blogspot.com/2015/12/kmw-nexter.html)
ได้เปิดตัวโครงการพัฒนาร่วมครั้งแรกของตนคือรถถังหลัก EMBT หรือ European Main Battle Tank ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2018 ณ Paris ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน ที่ผ่านมา

รถถังหลัก EMBT ใหม่นี้เป็นรถต้นแบบเพื่อการสาธิตทาง Technology เป็นหลัก โดยจะมีการพัฒนาต่อไปอีก "EMBT เป็นการตอบสนองในระยะสั้นเพื่อความต้องการปฏิบัติการของตลาดสำหรับรถถังหลักที่มีความแข็งแกร่งสูง"
ถ.หลัก EMBT เป็นการนำรถแคร่ฐานของรถถังหลัก KMW Leopard 2A7 เยอรมนี มาประกอบรวมกับป้อมปืนของรถถังหลัก Nexter Leclerc ฝรั่งเศส

สองชิ้นส่วนของจากสองรถถังหลักดังกล่าวได้ถูกนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันที่โรงงานของ Nexter ใน Roanne ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ดำเนินสายการผลิตรถถังหลัก Leclerc ดั้งเดิม
จากนั้น ถ.หลัก EMBT ได้ดำเนินการทดสอบสมรรถนะการขับเคลื่อนและการยิงภายหลังที่โปรตุเกส โดยทำการยิงกระสุน 22นัด จากปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm

รถถังหลัก Leopard 2A7 เยอรมนีแบบมาตรฐานถูกติดตั้งป้อมปืนแบบมีพลประจำภายใน 3นายโดยใช้พลบรรจุกระสุนปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ Rheinmetall 120mm L/55 ด้วยมือ
ขณะที่ป้อมปืนรถถังหลัก Leclerc ฝรั่งเศสติดตั้งปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ GIAT CN120-26/52 ขนาด 120mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติที่รวดเร็ว

นั่นทำให้นอกจากป้อมปืน ถ.หลัก Leclerc จะมีพลประจำภายในป้อมเพียงสองนายแล้ว ยังมีน้ำหนักที่เบาและมีขนาดกะทัดรัดกว่า ซึ่งสามารถทำให้ลดน้ำหนักรถเมื่อนำมาประกอบกันได้ถึง 6tons
ตามข้อมูลจาก KNDS รถถังต้นแบบสาธิต EMBT นั้นเป็นการผสมผสานทักษะที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมทางกฎหมายและผู้เล่นทางอุตสาหกรรมที่จำเป็นของโครงการระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมันทั้งสองประเทศในอนาคต

สิ่งแรกที่จะตามมาภายหลังเพื่อทดแทนรถถังหลัก Leopard 2/Leclerc ซึ่งถูกเรียกว่าโครงการรถถังหลัก Main Ground Combat System นั้นมีศักยภาพที่เป็นไปได้ว่าจะเข้าประจำการในปี 2035
รถถังหลักแบบใหม่นี้จะเป็นการออกแบบที่ก้าวข้ามไปข้างหน้า เพราะว่าการออกแบบรถถังหลักทั้ง Leopard 2 และ Leclerc นั้นเป็นสิ่งที่เก่ามาหลายปีมาก และใกล้ถึงจุดที่ไม่สามารถจะทำการปรับปรุงไปได้มากไปกว่านี้ได้แล้ว

โครงการที่สองคือระบบปืนใหญ่อัตตาจรยุคอนาคตที่เรียกว่า Common Indirect Fire System โครงการนี้มีองค์ประกอบหลายส่วนด้วยกัน
ที่รวมถึงการนำมาทดแทนระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ขนาด 155mm/52cal เยอรมนี และระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง CAESAR 6x6 ขนาด 155mm/52cal ฝรั่งเศส ครับ

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กองทัพบกไทยเตรียมการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน AH-1F

Royal Thai Army prepares attack helicopter acquisition
The Royal Thai Army is looking to procure new attack helicopters, with several platforms under review including the Kamov Ka-52 from Russia. Source: Russian Helicopters
http://www.janes.com/article/81021/royal-thai-army-prepares-attack-helicopter-acquisition

กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) กำลังเตรียมการจัดตั้งโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่อย่างน้อย ๖เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ที่มีอายุการใช้งานมานาน
โดยงบประมาณสำหรับโครงการจัดหา ฮ.โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทยได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)

แผนงานดังกล่าวได้รับการยืนยันในการประชุมร่วมกับสื่อเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายนที่ผ่านมา พลตรี วีรยุทธ อินทร์วร ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ศบบ. กล่าวว่า
กองทัพบกไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบโครงการจัดหา ซึ่งขณะนี้ได้มีการประเมินค่าข้อเสนอแบบเฮลิคอปเตอร์โจมตีจากหลายประเทศ

Jane's เข้าใจว่าแบบเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่อยู่ในการพิจารณามีเช่น จากรัสเซียคือ Mil Mi-28 และ Kamov Ka-52, จากสหรัฐฯคือ Bell AH-1Z Viper และ Boeing AH-64E Apache, Airbus Helicopters Tiger ฝรั่งเศส-เยอรมนี,
Leonardo/AgustaWestland AW129 Mangusta อิตาลี(ซึ่งน่าสงสัยว่าที่จริงควรจะเป็น Turkish Aerospace Industries(TAI) T-129 ATAK ตุรกีที่เสนอให้ไทย http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html และส่งออกให้ปากีสถานมากกว่า http://aagth1.blogspot.com/2018/05/t129-30.html)

และ Z-19E Black Whirlwind ที่พัฒนา Harbin Aircraft Industry Group(HAIG) สาธารณรัฐประชาชนจีน(ซึ่งน่าสงสัยว่าทำไมจึงไม่ใช่เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีนเช่นเดียวกับที่ปากีสถานทดลองใช้ http://aagth1.blogspot.com/2017/09/mi-35m-ah-1z.html
เพราะ เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตี Z-19 ที่ประจำการในจีนและรุ่นส่งออก Z-19E นั้นไม่ติดปืนใหญ่อากาศ http://aagth1.blogspot.com/2017/05/z-19e.html และเป็น ฮ.คนละประเภทกับ ฮ.โจมตีแท้ ไม่น่าจะตรงตามความต้องการของกองทัพบกไทย)

ศูนย์การบินทหารบก ซึ่งมีที่ตั้ง ณ ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันมีเฮลิคอปเตอร์ ฮ.จ.๑ AH-1F จำนวน ๗เครื่องประจำการใน กองพันบินที่๓(กองบินปีกหมุนที่๓ เดิมที่เปลี่ยนนามหน่วยตามโครงสร้างใหม่) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
ฮ.จ.๑ AH-1F ชุดแรก ๔เครื่องเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) โดยมี ๑เครื่องสูญเสียไปจากอุบัติเหตุในปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000) ต่อมามีการจัดหา AH-1F EDA ที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) แล้วปรับปรุงสภาพใหม่อีก ๔เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012)

แต่ทว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1F ชุดแรกจำนวน ๓เครื่องซึ่งประจำการมาได้ ๒๗ปีนั้นมีกำหนดที่จะต้องปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้ ตามที่ พล.ต. วีรยุทธ อินทร์วร ผบ.ศบบ.กล่าวต่อสื่อ
ทั้งนี้โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่เป็นความต้องการที่มีมานานของกองทัพบกไทย แต่ที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นไม่สามารถที่จะดำเนินการได้เนื่องจากถูกขัดขวางจากการขาดแคลนงบประมาณที่เพียงพอเป็นเวลาหลายปี

ตามที่เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยผ่านทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ได้อนุมัติงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เป็นวงเงิน ๒๒๗,๖๗๐ล้านบาท($7.1 billion) เพิ่มขึ้นจาก งป.กลาโหมปี ๒๕๖๑(2018) เพียง ๙,๑๖๐ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ๔.๒
ซึ่ง งป.กห.ปี๒๕๖๒ นั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ๗.๖ ของงบประมาณประจำปี๒๕๖๒ และคิดเป็นเพียงร้อยละ๑.๔ ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ(1.4% per GDP) เท่านั้น ทั้งนี้การเพิ่ม งป.กลาโหมของไทยในแต่ละปีที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างเล็กน้อยเพื่อสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้นครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าแผนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมร่วมไทย-จีน สนับสนุนรถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1

Thailand, China progress plans to establish joint industrial facility
Thailand and China have advanced plans to establish a facility to support Chinese-made military vehicles in Thailand such as the VT4 MBT seen here. Source: NORINCO
http://www.janes.com/article/80945/thailand-china-progress-plans-to-establish-joint-industrial-facility

Royal Thai Army has displayed Chinese NORINCO VT4(MBT-3000) Main Battle Tank for first time in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html

China North Industries Corporation or NORINCO has showcased Model of VN1 8x8 Armoured Personnel Carrier with new Unmaned Remote Weapon Station Turret for Royal Thai Army
at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/norinco-vn1.html

ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีความคืบหน้าในแผนการจัดตั้งโรงงานภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกันในไทยซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาติ ASEAN
ที่จะมุ่งเน้นไปยังการสนับสนุนระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จีนที่ถูกใช้ปฏิบัติงานโดยกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)

สำนักข่าวของรัฐบาลไทยได้รายงานว่าโรงงานอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมไทย-จีนจะถูกจัดตั้งขึ้นภายในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้ โดยหัวข้อดังกล่าวได้มีการประชุมหารือระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army)
และผู้บัญชาการทหารบกไทย พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ระหว่างการเยือนนครหลวง Beijing จีน

รายงานข่าวยังได้เสริมว่า พล.อ.เฉลิมชัย ยังได้หารือกับหุ้นส่วนจีนสำหรับความคืบหน้าสองโครงการจัดหาหลักของกองทัพบกไทย คือการจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) และแผนการจัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 8x8
ซึ่งทั้งรถถังหลัก VT4 ชุดแรก ๒๘คันที่เข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น และกองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ กับยานเกราะล้อยาง VN1 ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดหานั้นเป็นผลิตภัณฑ์ของ China North Industries Corporation หรือ NORINCO

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท($147 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) โดยได้รับมอบเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๐(2017)(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/vt4-ah-1f.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)
ต่อมาสั่งจัดหาระยะที่๒ ๑๑คันวงเงินราว ๒,๐๐๐ล้านบาท($60 million)ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) รวม ๓๙คันวงเงิน ๗,๐๐๐ล้านบาท($218 million) และคาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้จะมีการดำเนินการสั่งจัดหาในระยะที่๓ อีกราว ๑๐คัน รวมทั้งหมด ๔๙คัน

Jane's ได้คาดว่ากองทัพบกไทยมีแผนที่จะจัดหารถถังหลักใหม่รวมทั้งหมดราว ๑๐๐คัน ซึ่งเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างอัตรากำลังเหล่าทหารม้าใหม่
โดยเฉพาะในส่วน พล.ม.๓ ซึ่งยังมีกองพันทหารม้ารถถังหน่วยขึ้นตรงในกรมทหารม้าของกองพลที่ต้องการรถถังหลักใหม่ รวมถึงการทดแทนรถถังเบา M41A3 สหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962)

กองทัพบกไทยได้เลือกยานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 8x8 ระยะที่๑ จำนวน ๓๔คันวงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm พร้อมการจัดหากระสุน
คาดว่าหน่วยที่จะได้รับมอบ VN1 น่าจะเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เพื่อทดแทนยานเกราะล้อยาง V-150 4x4 คือ กองพันทหารม้าที่๑๐ และ กองพันทหารม้าที่๗ ส่วนกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะมีการจัดหาในระยะต่อไป

Jane's เข้าใจว่าแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้อนุมัติงบประมาณในการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 แล้ว แต่ทางกองทัพบกไทยยังไม่ได้มีการลงนามสัญญาจัดหากับจีนในขณะนี้
โดยในส่วนการจัดหา ถ.หลัก VT4 จะมี ๑คันที่ศูนย์การทหารม้า และอีก ๑คันที่กรมสรรพาวุธทหารบกเพื่อใช้ในการฝึกศึกษา รวมถึงรถกู้ซ่อมอีก ๑คัน สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่นครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พิธีครบรอบ ๓๐ปี เครื่องบินขับไล่ F-16A/B กองทัพอากาศไทย










Royal Thai Air Force's Ceremony of 30th Anniversary Peace Naresuan F-16A/B Fighting Falcon, 13 June 2018




Royal Thai Air Force F-16B Block 15 OCU 10301 (Peace Naresuan I) 30th Anniversary tail




Royal Thai Air Force F-16A ADF Block 15 10209 (Peace Naresuan IV) 30th Anniversary tail



Royal Thai Air Force F-16AM EMLU 40313 (Peace Naresuan III) 30th Anniversary tail



 Royal Thai Air Force F-16A ADF Block 15 10209, F-16B Block 15 OCU 10301 and F-16AM EMLU 40313 in 30th Anniversary tails

๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ ๓๐ปี บ.ข.๑๙/ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย F-16 Fighting Falcon

งานเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16 A/B)
นับตั้งแต่ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้บรรจุเข้าประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศ ณ ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ซึ่งต่อมากองทัพอากาศ ได้จัดหา F-16A/B เพิ่มเติมเข้าประจำการยังฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ และฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ ตามลำดับ 
ซึ่งในปีนี้ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้เข้าประจำการ ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองน่าฟ้าไทยมาแล้วครบ ๓๐ ปี

กองทัพอากาศ จึงได้จัดงาน “๓๐ ปี บ.ข.๑๙/ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย” ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักบิน ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และผู้เกี่ยวข้องที่ได้ปฏิบัติงานกับ บ.ข.๑๙/ก ของทั้ง ๓ ฝูงบิน 
โดยการจัดงานได้จัดให้มีการแสดงการบินสวนสนามของ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ทั้ง ๓ ฝูงบิน รวมถึงได้เรียนเชิญอดีตผู้บังคับบัญชา และข้าราชการของทั้ง ๓ ฝูงบินมาร่วมงาน โดยมี พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธี

สำหรับ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการป้องปรามและพร้อมตอบโต้การรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศรอบข้าง 
กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยเข้าประจำการโดยมีชื่อโครงการ Peace Naresuan โดยบรรจุเข้าประจำการทั้งหมด ๓ ฝูงบิน ได้แก่ 
ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ นามเรียกขาน “LIGHTNING” เป็นฝูงบินแรก ต่อมาเข้าประจำการยังฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ นามเรียกขาน “COBRA” และประจำการยังฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ นามเรียกขาน “STARS” ตามลำดับ 
จนถึงวันนี้ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก (F-16A/B) ได้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองน่านฟ้าไทยเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2074409129255333
https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/1603975709699860
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715632661316
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715643461586
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216715656061901

สำหรับอนาคตของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก General Dynamics F-16A/B Block 15 OCU Fighting Falcon ของกองทัพอากาศไทยซึ่งมีชื่อโครงการจัดหาว่า 'Peace Naresuan' นั้น
ในส่วนของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan IV เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002) นั้น แม้ว่าจะจัดหามาหลังสุดแต่เป็นเครื่องที่เคยประจำการใน Air National Guard(ANG) กองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อน
เครื่องจึงเหลือชั่วโมงบินไม่มากต้องปลดประจำการไปก่อนเป็นฝูงแรก อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ยังไม่สามารถจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้เร็วๆนี้ กองทัพอากาศอาจจะต้องยืดระยะเวลาการประจำการออกไปสักระยะก่อนเพื่อคงความพร้อมขั้นต่ำไว้

ส่วน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan III เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ที่ผ่านการปรับปรุงความทันสมัยมาแล้วนั้น
ถ้าดูจากแนวโน้มการใช้งานตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ F-5 SUPER TIGRIS ของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ Northrop F-5E/F Tiger II ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ซึ่งมีอายุโครงสร้างที่ผ่านการปรับปรุง Falcon UP/STAR แล้วที่ ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน คาดว่าจะประจำการไปจนถึงครบรอบ ๔๕ปีหรือราว ปี พ.ศ.๒๕๘๔(2041) เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว

โดยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ซึ่งจัดหามาในโครงการ Peace Naresuan I ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) และ Peace Naresuan II พ.ศ.๒๕๓๔(1991) เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(Peace Carvin I) ในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2004)
ซึ่งผ่านการปรับปรุงอายุโครงสร้างโครงการ Falcon UP/STAR แล้วเช่นกัน คาดว่าจะประจำการไปจนถึงครบรอบ ๔๕ปีหรือราว ปี พ.ศ.๒๕๗๖(2033) เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียวเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ นั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยทำให้มีขีดความสามารถทางการรบที่ด้อยสมรรถนะกว่า F-16AM/BM EMLU ฝูง๔๐๓ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen ฝูงบิน๗๐๑ สุราษฎร์ธานี และอีกฝูงบินขับไล่ที่เหลือมากพอควร

ดังนั้นถ้ากองทัพอากาศจะยังคงประจำการ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ต่อไปถึง ๔๐-๔๕ปีในข้างต้น การพิจารณาโครงการปรับปรุงความทันสมัยอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อคำนึงถึงภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต
แม้ว่าที่ผ่านมาด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจะทำให้กองทัพอากาศเลือกปรับปรุงความทันสมัยเฉพาะฝูงบินที่มีอายุการใช้งานน้อยที่สุดมาตลอด ถ้าดูจากโครงการปรับปรุงขีดความสามารถของ F-5T Tigris เฉพาะฝูงบิน๒๑๑ ไม่รวมฝูงบิน๗๐๑ จนถึง F-16A/B ฝูงบิน๔๐๓ ก็ตาม
แต่ทว่าการที่ F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ใช้ได้เฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9M Sidewinder และระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล Paveway II เช่น GBU-12 กับ GBU-10 ร่วมกับกระเปาะชี้เป้า ATLIS II ซึ่งไม่มีระบบสร้างภาพความร้อนทำให้ใช้งานเวลากลางคืนและสภาพอากาศปิดไม่ได้ และกระเปาะนำร่อง RUBIS ซึ่งไม่มีระบบชี้เป้าหมายในตัวครับ