วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

อาเซอร์ไบจานจะซื้อเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา M-346 อิตาลี

Azerbaijan to buy M-346 Master jet



Azerbaijan is to buy an undisclosed number of Leonardo M-346 Master trainer and light attack aircraft, according to a ‘declaration by agreement’ signed on 20 February. Source: Leonardo
https://www.janes.com/article/94472/azerbaijan-to-buy-m-346-master-jet



อาเซอร์ไบจานจะซื้อเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา M-346 Master ที่ไม่เปิดเผยจำนวน ตามที่ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานประกาศเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2020
รัฐมนตรีกลาโหมอาเซอร์ไบจาน Zakir Hasanov และผู้อำนวยการบริหารบริษัท Leonardo อิตาลี Alessandro Profumo ได้แลกเปลี่ยน 'ประกาศโดยข้อตกลง' ระหว่างกัน

การประกาศข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานและ Leonardo อิตาลีสำหรับการจัดหา "ระบบการบูรณาการสำหรับเครื่องบิน M-346"
Website ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน Ilham Aliyev ได้ประกาศการแถลงข้อตกลงดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินสัญญาและระยะเวลาส่งมอบที่ถูกเปิดเผย

ในเดือนพฤษภาคม 2017 บริษัท Leonardo อิตาลีได้นำเครื่องบินฝึกไอพ่น Alenia Aermacchi M-346 Master ของตนมาแสดงที่อาเซอร์ไบจานให้เจ้าหน้าที่ทางทหารระดับสูงของอาเซอร์ไบจานชม
กองทัพอากาศอาเซอร์ไบจาน(AzAF: Azerbaijan Air Force) และกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ(Air Defence Force) เป็นที่ทราบว่าได้มีความกดดันในความจำเป็นที่จัดหาอากาศยานเพิ่มเติม

และกองทัพอากาศอาเซอร์ไบจานยังมีความจำเป็นที่จะต้องทดแทนอากาศยานใหม่ยุคอดีตสหภาพโซเวียตของตนทั้งเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29 (NATO กำหนรหัส 'Fulcrum') ราว 12เครื่อง,
เครื่องบินโจมตี  Sukhoi Su-25 (NATO กำหนรหัส 'Frogfoot') จำนวนราว 12เครื่อง และเครื่องบินฝึกไอพ่น Aero Vodochody L-39 จำนวน 12เครื่อง

M-346 เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าที่มาพร้อมกับตำบลติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์รวม 9จุดแข็ง(4ตำบลใต้ปีกแต่ข้าง และหนึ่งตำบลใต้กลางลำตัวเครื่องสำหรับกระเปาะปืนใหญ่อากาศ)
M-346 สามารถติดตั้งลูกระเบิดอากาศ 'ธรรมดา'และ 'นำวิถี' ได้หลายแบบเช่น ลูกระเบิดทำลายไม่นำวิถี Mk 82/83/84 และระเบิดนำวิถี Laser GBU-12/16 Paveway II  และระเบิดนำวิถี Infrared Opher Mk 82 อิสราเอลครับ

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ปากีสถานจะซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีนถ้าไม่ได้รับมอบ T129 ตุรกี และ AH-1Z สหรัฐฯ

Pakistan to buy Chinese attack helicopters if Turkey and US fail to deliver






The Chinese-built Z-10 attack helicopter could be procured by Pakistan should its first two preferences of the AH-1Z and T-129 not be delivered. Source: Via CCTV
https://www.janes.com/article/94566/pakistan-to-buy-chinese-attack-helicopters-if-turkey-and-us-fail-to-deliver

ปากีสถานจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Changhe Aircraft Industries Corporation(CAIC) Z-10ME  จีน ถ้าตุรกีและสหรัฐฯล้มเหลวที่จะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Turkish Aerospace T129(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/t129-30.html)
และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper(https://aagth1.blogspot.com/2016/04/ah-1z-9-2018.html) ที่ปากีสถานสั่งจัดหาตามลำดับ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของปากีสถานกล่าวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2020

การพูดคุยในงานสัมมานาเฮลิคอปเตอร์ทางทหารนานาชาติ IQPC ใน London สหราชอาณาจักร ผู้บัญชาการกองการบินกองทัพบกปากีสถาน(Pakistan Army Aviation Corps) พลตรี Syed Najeeb Ahmed กล่าวว่า
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME จีน "ยังคงเป็นตัวเลือก" ถ้าเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ตุรกี และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z สหรัฐฯพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถที่จะจัดหาได้สำหรับหลายเหตุผลที่แตกต่างกัน

กองทัพบกปากีสถาน(Pakistan Army) มีความจำเป็นกดดันที่จะต้องแทนที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1 Cobra จำนวน 32เครื่องของตนที่มีอายุการใช้งานมานานมากกว่า 30ปี
โดยอดีตผู้บัญชาการกองการบินกองทัพบกปากีสถาน พลตรี Nasir D Shah ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า พล.ต.Ahmed กล่าวกับ Jane's และสื่อความมั่นคงอื่นในเดือนมกราคม 2018 ว่า

"เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1 ได้นำประสิทธิภาพการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดสำหรับการโจมตีของกำลังภาคพื้นดินเราในปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ(COIN: Counterinsurgency)
แต่พวกมันไม่สามารถที่จะมีประสิทธิภาพในการนำไปวางกำลังปฏิบัติการในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 8,000ft ได้" พล.ต.Shah เสริมว่ากองทัพบกปากีสถานได้เคยนำ ฮ.โจมตี AH-1F ในการโจมตีกลุ่มก่อการร้ายตามพรมแดนที่เป็นภูเขาสูงมาแล้ว

ในระยะเวลาอันใกล้กองทัพบกปากีสถานได้ชดเชยข้อจำกัดนี้บางส่วนด้วยการจัดหาเฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mil Mi-35M จำนวน 4เครื่องที่สั่งจัดหาจากรัสเซียเมื่อหลายปีก่อน และได้รับมอบในปลายปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/mi-35m-ah-1z.html)
นอกจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35M รัสเซีย กองทัพบกปากีสถานได้ประเมินเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z สหรัฐฯ, เฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ตุรกี และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีน

ในเดือนมกราคม 2016 มีการประกาศว่าบริษัท Bell สหรัฐฯได้รับสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z จำนวน 12เครื่องแก่ปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/ah-1z.html)
และในเดือนเมษายน 2017 Jane's ได้รายงานว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ชุดแรก 3เครื่องจาก 12เครื่องจะถูกส่งมอบให้ปากีสถานในกลางปี 2017 โดยการสั่งจัดหาที่สองจะมีตามมา

อย่างไรก็ตาม ฮ.โจมตี AH-1Z ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้ปากีสถาน และขณะที่ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเหตุผลของความล่าช้า เป็นที่เข้าใจกันว่านี่เป็นผลจากความตึงเครียดด้านความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถาน-สหรัฐฯในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับที่ปากีสถานลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 จำนวน 30เครื่อง ก็ได้รับผลกระทบจากการที่ระงับการส่งออกเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ LHTEC T800 แก่ตุรกีที่เป็นระบบขับเคลื่อนของ T129 จากผลจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างตุรกี-สหรัฐฯครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จีนดำเนินสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ต่อ

Shenyang resumes production of carrier-borne J-15 fighters





Images released by SAC on 21 February show a J-15 fighter aircraft in green primer, suggesting that the company has resumed production of the aircraft type. The text on the image states, among other things, ‘full resumption of production’. Source: AVIC/SAC
https://www.janes.com/article/94506/shenyang-resumes-production-of-carrier-borne-j-15-fighters

ชุดภาพที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2020 ในการประกาศของ Shenyang Aircraft Company(SAC) ในเครือ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
บ่งชี้ว่า SAC จีนผู้ผลิตได้กลับเปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ J-15 ของตนต่อแล้ว

การเผยแพร่ชุดภาพซึ่งมีขึ้นราวสามเดือนหลังที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง CV-17 Shandong(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/cv-17-shandong.html)
แสดงถึงเครื่องบินขับไล่ J-15 อย่างน้อยหนึ่งเครื่องในสีรองพื้นเขียว ทำให้มีข้อสังเกตว่าเครื่องบินเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องชุดใหม่ และช่างเทคนิคกำลังทำงานกับเครื่องบินที่ในสถานที่ที่น่าจะเป็นโรงงานอากาศยาน

แม้ว่าประกาศจะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องบินขับไล่ J-15 โดยเฉพาะ โดยที่สามารถถูกระบุแบบเครื่องบินได้จากรูปทรงและปีก Canard ที่ตัวเครื่องของมัน ชุดภาพยังมีข้อความสั้นประกอบ ซึ่งเริ่มต้นท่ามกลางสิ่งอื่นๆว่า "การเริ่มต้นใหม่อย่างเต็มอัตราของสายการผลิต"
อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าชุดภาพถูกถ่ายเมื่อไร และเครื่องบินขับไล่ J-15 ชุดใหม่จะมีความแตกต่างอย่างไรจากเครื่องที่ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ที่ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก CV-16 Liaoning

มีการกล่าวว่าช่างเทคนิคในโรงงานอากาศยานกำลังสวมหน้ากากอนามัยที่สันนิษฐานว่าเพื่อเป็นการป้องกัน Covid-19 coronavirus ค่อนข้างบ่งชี้ว่าภาพถูกถ่ายเมื่อเร็วๆนี้
ตั้งแต่ปี 2012 เครื่องบินขับไล่ J-15 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-33 รัสเซีย ได้ถูกนำเข้าประจำการเป็นเครื่องบินปีกตรึงประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบเดียวของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน

มีเครื่องบินขับไล่ J-15 เพียง 24เครื่องเท่านั้นที่ถูกส่งมอบให้กับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนในการแบ่งเป็นสองชุด ก่อนที่ปรากฎว่าสายการผลิตได้ถูกยุติในกลางปี 2017
มี J-15 อย่างน้อยสองเครื่องที่สูญเสียไป และมี J-15 อีก 2เครื่องที่ได้รับความเสียหาย นั่นหมายความว่ามี J-15 น้อยกว่า 20เครื่องที่เชื่อว่ามีความพร้อมปฏิบัติการสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนเช่นเดียวกับการฝึก

เครื่องบินขับไล่ J-15 เพิ่มเติมน่าจะเป็นไปได้มากที่จะถูกใช้ในการจัดตั้งกองบินอากาศยานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินหน่วยที่สองที่จะถูกนำมาประจำกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Shandong
มีการคาดเดาว่า SAC กำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ FC-31 หรือเครื่องบินขับไล่ J-31 เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ J-20 ของ Chengdu ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/jf-17-block-iii-j-20.html)

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยทำพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๓





Opening ceremony of Royal Thai Navy Exercise 2020 in 26 February 2020 at Royal Thai Marine Corps Headquarters, Sattahip, Chonburi province include RTMC Reconnaissance Battalion's combat teams, Sikorsky SH-60B Seahawk
and AAV7A1 Assault Amphibious Vehicle of Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division upgraded by Thailand company's Chaiseri.

Clip: พิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ63
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/206149670458607/






รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น กองทัพเรือ จัดพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2563
วันนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2563) เวลา 10.40 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองอำนวยการฝึกฯ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือให้การต้อนรับ






กองทัพเรือได้จัดให้มีการฝึกกองทัพเรือเป็นประจำทุกปี เพื่อบูรณาการการฝึกภายในกองทัพเรือด้วยการนำขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือตามสาขาต่าง ๆ การปฏิบัติและการสนับสนุนของกรมในส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 
มาทำการฝึกภายใต้สถานการณ์การฝึกเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยกองทัพเรือได้อนุมัติให้จัดการฝึกกองทัพเรือตามวงรอบการฝึกสองปี โดยปีแรกใช้สถานการณ์ฝึกต่อเนื่อง ในภาวะปกติจนถึงภาวะความขัดแย้งระดับต่ำหรือขั้นการเตรียมการก่อนเข้าสู่ภาวะสงคราม 
และปีถัดไปเป็นการฝึกสถานการณ์ภาวะความขัดแย้งระดับปานกลางถึงความขัดแย้งระดับสูง ซึ่งในปีนี้จะเป็นการฝึกในปีแรกของวงรอบการฝึกสองปี โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกเพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนทางทหาร 
เพื่อทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ และการอำนวยการยุทธ์ตามแผนยุทธการที่ใช้ในการฝึก โดยใช้แนวความคิดตามแผนป้องกันประเทศและยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ระยะ 20 ปี เป็นกรอบแนวทางสำหรับจัดทำแผนยุทธการเพื่อใช้ในการฝึก 
โดยจะมีการทดสอบการปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพเรือ และแผนเผชิญเหตุของหน่วย ในส่วนของการฝึกภาคสนาม/ทะเล จะดำเนินการแยกฝึกตามสาขาปฏิบัติการ การฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ 
และการฝึกยิงอาวุธตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ รวมถึงจะมีการฝึกปฏิบัติการร่วม ระหว่างกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศในระดับยุทธวิธี






ทั้งนี้ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบนโยบายในการฝึกโดยขอให้ทุกหน่วยยึดแนวคิด “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” อันไหนเด่นชัด ใช้งานมากต้องฝึกให้มาก หากต้องรบจริงก็เชื่อได้ว่ามีโอกาสชนะ 
โดยขอให้ยกระดับการฝึกให้สมจริง เพื่อให้กำลังพลเกิดความคุ้นชิน ซึ่งในระหว่างการฝึกย่อมมีข้อขัดข้อง เกิดปัญหาก็นำไปแก้ไข อันไหนยังเชื่อถือไม่ได้จงอย่าเอาไปใช้ในการรบ






ขั้นการฝึกที่สำคัญในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ประกอบด้วย
1.) การฝึกปัญหาที่บังคับการ ซึ่งเป็นการฝึกทดสอบกระบวนการวางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ การฝึกทดสอบการตัดสินใจ ตามกระบวนการวางแผนทางทหาร และทดสอบการอำนวยการยุทธ์ตามคำสั่งยุทธการการฝึก ทำการฝึกในระดับระดับยุทธวิธี และระดับยุทธการ 
ระหว่างวันที่ 11 - 27 มีนาคม 2563 โดยจะมีการฝึกสถานการณ์ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 23 - 27 มีนาคม 2563 และจะมีการใช้ระบบการจำลองยุทธ์ด้วยเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ NWTS มาใช้ในการฝึก
2. การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล จะเป็นการฝึกภาคปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง โดยให้ดำเนินการฝึกในลักษณะแยกฝึกตามสาขาปฏิบัติการ เพื่อทดสอบความพร้อมของหน่วยต่าง ๆ และทำการฝึกด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ 
ด้วยการสมมุติสถานการณ์เกิดพายุไต้ฝุ่นในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง สร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้จัดตั้งหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลกองทัพเรือ และหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบกกองทัพเรือ 
เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือปะชาชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้น ยังมีการฝึกในหัวข้ออื่น ๆ อาทิ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี การฝึกยิงตอร์ปิโด การฝึกจุดระเบิดทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน 
การฝึกเป็นหน่วยกรมผสมของกองพลนาวิกโยธิน การฝึกเป็นหน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี การฝึกปฏิบัติการร่วมทัพเรือภาคที่ 1 ทัพเรือภาคที่ 2 และทัพเรือภาคที่ 3 เป็นต้น




 

สำหรับการฝึกสาธิต การปฏิบัติการโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบกที่จัดขึ้นในวันนี้ ได้มีการนำนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ มาเข้าสู่กระบวนการในการสาธิต 
ซึ่งมีการสมมุติสถานการณ์ ในการส่งส่วนล่วงหน้าทำการแทรกซึมทางอากาศลงสู่พื้นที่เป้าหมายเพื่อทำการหาข่าว เฝ้าตรวจ และเตรียมพื้นที่ในการนำกำลังหลักเข้าโจมตีที่หมาย 
จากนั้น หน่วยโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบก เข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการด้วยเรือระบายพล เรือยาง รถสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อโจมตีที่หมาย โดยระหว่างการปฏิบัติการโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบกต่อที่หมายนั้น 
หน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จะทำการยิงต่อต้านการโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบก โดยกำลังที่จัดเข้าร่วมในการสาธิตในวันนี้ ประกอบด้วย 
เครื่องบินลาดตระเวนแบบดอร์เนีย เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบ S - 70 B เรือหลวงกันตัง รถสะเทินน้ำสะเทินบก ชุดลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก ชุดโดดร่ม ชุดดำน้ำทางยุทธวิธี ปืนต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/3296568437037317
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/3296860560341438

พิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๓ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เป็นการฝึกบูรณาการภายในกองทัพเรือประจำทุกปีเพื่อดำรงความพร้อมและความชำนาญในทุกภาคส่วน
โดยการสาธิตการปฏิบัติการโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบกนั้นได้มีการนำกำลังอาทิ กองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน กองพลนาวิกโยธิน พร้อมปืนเล็กสั้น HK G36C, เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ฝูงบิน๒ หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ
และรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก พล.นย.ที่ได้รับการปรับปรุงมาตรฐานใหม่เทียบเท่ารุ่น AAV7A1 RAM/RS โดยบริษัท Chaiseri ประเทศไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/aav7a1-chaiseri.html)

Clip: Royal Thai Navy's SH-60B with bambi bucket in fighting wildfire at Trat Province.
TIME LINE การทำงานของทีมดับไฟป่าเทือกเขาบรรทัด
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/3081965895156331/
Top eye view มุมมองการทำงานจาก SEA HAWK เหนือไฟป่าเทือกเขาบรรทัด
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/185880866023618/

ขณะเดียวกันกองทัพเรือไทยยังได้ส่ง ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk ติดตั้งติดตั้งอุปกรณ์ Bambi-Bucket บรรจุน้ำ 1,500liter เข้าปฏิบัติการดับไฟป่าบนเขาบรรทัดชายแดนจังหวัดตราด โดยปฏิบัติการจากชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่๓ เขาล้าน จังหวัดตราด
เป็นการตอบโต้ข้อกล่าวหาจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่กำลังโจมตีกองทัพเรือด้วยข้อมูลเท็จหลายๆประเด็น เช่นในกรณีนี้คือสร้างข่าวปลอมว่า ฮ.ปด.๑ Seahawk ทั้ง ๖เครื่องที่จัดหาในช่วงเดียวกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร ประจำการนั้นปลดประจำการไปพร้อมกับเครื่องบินขับไล่ บ.ขล.๑ AV-8S แล้ว
แต่ก็เห็นได้จากชุดภาพและวิดีทัศน์ว่า ฮ.Seahawk ยังคงทำการบินปฏิบัติการต่างๆอยู่ การโจมตีนี้ยังรวมถึงการใส่ร้ายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 กองทัพบก และเฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาภัย ฮ.ปภ.๓๒ Kamov KA-32 ที่กำลังดับไฟป่าที่นครนายกและภูกระดึงด้วยครับ

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ภาพเปิดเผยเรือดำน้ำชั้น Kilo อินเดียที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือพม่าในแม่น้ำ Yangon







Indian Navy's Sindhughosh class submarine (Project 877EKM Kilo) was spotted at Yangon river, Myanmar in 23 February 2020. it likely be former S58 INS Sindhuvir that to be deliver for Myanmar Navy.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=835327750317574&id=100015210698938

ชุดภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของพม่าช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2020 ได้เปิดเผยถึงเรือดำน้ำชั้น Sindhughosh(Project 877EKM รัสเซีย NATO กำหนดรหัสชั้น Kilo) ที่เคยประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy)
ปรากฎลอยลำในแม่น้ำ Yangon ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ Bago(Pegu) กับแม่น้ำ Myitmaka เป็นปากแม่น้ำในนคร Yangon ที่ออกไปยังอ่าว Martaban ทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในการเดินเรือทางทะเลของประเทศ

เรือดำน้ำชั้น Kilo หนึ่งลำที่พบในแม่น้ำ Yangon พม่าล่าสุดถูกระบุว่าคือเรือดำน้ำ S58 INS Sindhuvir กองทัพเรืออินเดียที่มีกำหนดจะส่งมอบให้แก่กองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy, Tatmadaw Yei)
ซึ่งผ่านการปรับปรุงคืนสภาพ(refurbished) แล้ว ตามที่ได้มีการเจรจาบรรลุข้อตกลงระหว่างอินเดียและพม่าก่อนหน้าในปี 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kilo.html)

เดิมมีการคาดการณ์ว่าเรือดำน้ำชั้น Kilo กองทัพเรืออินเดียจะมีพิธีรับมอบเรือในวันครบรอบ 72ปีการก่อตั้งกองทัพเรือพม่าเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/kilo.html)
ควบคู่กับเรืออู่ยกพลขึ้นบก (LPD: Landing Platform Dock) ลำแรกของกองทัพเรือพม่า UMS Moattama หมายเลขเรือ 1501(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/lpd-ums-moattama.html) แต่ก็ยังไม่มีการรับมอบเรือดำน้ำอย่างเป็นทางการ

การคาดการณ์ล่าสุดนั้นพิธีรับมอบและขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำชั้น Kilo อินเดียแก่กองทัพเรือพม่าอาจจะมีขึ้นที่ฐานทัพเรือ Yangon ในช่วงเดือนมีนาคมใกล้กับวันกองทัพแห่งชาติพม่า(Tatmadaw Day) ครบรอบปีที่75 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2020
โดยจากชุดภาพจะเห็นได้ว่าเรือดำน้ำชั้น Kilo ยังคงชักธงกองทัพเรืออินเดียและมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง P50 INS Sukanya ติดตามมา ซึ่งเข้าใจว่าในพิธีรับมอบเรือจะมีการชักธงนาวีอินเดียลงและส่งมอบคืนให้ตัวแทนรัฐบาลอินเดีย ก่อนที่จะชักธงกองทัพเรือพม่าและนำกำลังพลประจำเรือขึ้นเรือต่อไป

INS Sindhuvir เป็นเรือดำน้ำชั้น Sindhughosh ลำที่สี่ ที่เข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1988 มีระวางขับน้ำ 3,000tonnes ความยาวเรือ 73m ความกว้างเรือ 10m มีระยะปฏิบัติการใต้น้ำราว 400nmi ดำน้ำได้ลึกสุด 300m สามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ราว 45วัน
กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 11นาย และกลาสี 52นาย มีท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm หกท่อยิง รองรับ Torpedo หนักต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Type 53, อาวุธปล่อยนำวิถียิงจากเรือดำน้ำใต้น้ำ 3M-54E Club-S และทุ่นระเบิดแบบ DM-1

กองทัพเรือพม่ามีจุดประสงค์ในการจัดหาเรือดำน้ำมือสองจากอินเดียเพื่อใช้สำหรับการฝึกเพื่อจัดตั้งขีดความสามารถสงครามใต้น้ำของตน ซึ่งตามแผนที่วางไว้คาดว่ากองทัพเรือพม่ามีความต้องการเรือดำน้ำอย่างน้อย 4ลำ
ที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะจัดหาเรือดำน้ำชั้น Project 877 มือสองจากรัสเซียเพิ่มเติม หรืออาจจะสั่งจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น Project 636(NATO กำหนดรหัสชั้น Improved Kilo) สร้างใหม่จากรัสเซียครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)