วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

จีนอาจจะกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินที่ออกแบบเองลำแรก

China may be building first indigenous carrier
Airbus Defence and Space imagery shows an overview of Dalian shipyard in China. Source: CNES 2015, Distribution Airbus DS / 2015 IHS
http://www.janes.com/article/54833/china-may-be-building-first-indigenous-carrier

Jane's ได้รายงานข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมของ Airbus Defence and Space เหนืออู่ต่อเรือ Dalian ของจีนเมื่อวันที่ 22 กันยายนว่า มีความเป็นไปได้ที่จีนกำลังสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ออกแบบเองอยู่
โดยบริเวณที่สงสัยว่ากำลังเป็นพื้นที่ก่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของจีนนั้นเป็นอู่แห้งซึ่งมีขนาดใหญ่พอรองรับการปรับปรุงและซ่อมแซมเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning ได้
ซึ่งเดิมทีเรือ Liaoning คือเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Admiral Kuznetsov ชื่อ Varyag ของอดีตสหภาพโซเวียตที่อยู่ในสภาพก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์
ที่ต่อมาจีนได้ซื้อต่อจากยูเครนและนำมาปรับปรุงด้วยตนเองเป็นเวลานานจนสามารถเข้าประจำการเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนได้

จากการประเมินภาพถ่ายดาวเทียมก่อนหน้านี้ในวันที่ 10 มีนาคม เปรียบเทียบกับภาพล่าสุดแสดงให้เห็นถึงสภาพการก่อสร้างตัวเรือที่มีความคืบหน้าไปมากในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
โดยภาพถ่ายดาวเทียมก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่อู่ต่อเรือ Dalian มีการปล่อยเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ออกจากอู่ และแสดงภาพเห็นถึงการนำชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างจำนวนมากในอู่แห้งเดียวกันนี้
มีการวิเคราะห์เบื้องต้นว่าจากการประเมินส่วนขนาดของหัวเรือเป็นไปได้ทีเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของจีนนี้อาจจะมีความยาวตัวเรือราว 270m เมื่อเสร็จสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามขณะนี้การก่อสร้างในส่วนของดาดฟ้าเรือด้านบนตัวเรือยังไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถจะระบุได้ชัดเจนว่านี่จะคือเรือบรรทุกเครื่องบินที่อู่ Dalian กำหนดแบบว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน 001A จริงหรือไม่ครับ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

Boeing สหรัฐฯทำการบินเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46 เที่ยวแรก

Boeing’s KC-46 Tanker Completes First Flight
The Boeing-built KC-46A Pegasus tanker takes off on its first flight, from Paine Field, Everett, Wash. to Boeing Field, Seattle.(Photo: Boeing)
http://www.defensenews.com/story/defense-news/2015/09/25/boeings-kc-46-completes-first-flight/72846164/

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Boeing KC-46A Pegasus ประสบความสำเร็จในการทำการบินเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ภายในเส้นตายสุดท้ายหลังกำหนดการณ์ล่าช้ามาหลายเดือนและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
หลังจากเลื่อนการขึ้นบินเนื่องจากสภาพอากาศ เครื่องทดสอบ KC-46A ได้ทำการบินขึ้นจากสนามบินของ Boeing ที่ Seattle มลรัฐ Washington ในช่วงบ่ายต้นๆและลงจอดในอีก 4ชั่วโมงต่อมา
ตามแถลงการณ์ของ Boeing นักบินทดสอบได้ทำการทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบควบคุมการบิน และระบบสภาพแวดล้อมของเครื่อง

"การเสริมกำลังเที่ยวบินวันนี้นั้นทำให้เรามุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเป็นไปตามแผนขั้น C ที่วางไว้ว่าจะเริ่มการทดสอบภายหลังในปีนี้
นี่คือครั้งแรกและความสุดยอดของอุตสาหกรรมการบินในการทำงานอย่างหนักจำนวนมากของทีมงานทั้งของ Boeing ผู้รับเหมารายย่อยของเรา และกองทัพอากาศสหรัฐฯ"
Tim Peters รองประธานและผู้จัดการโครงการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46 ของ Boeing กล่าวในการแถลง
ทั้งนี้การทดสอบลำดับต่อไปจะเป็นการติดตั้งระบบท่อเติมเชื่อเพลิงแบบ BOOM และกระเปาะเติมเชื้อเพลิงทางอากาศตรงปีก เพื่อทดสอบเสถีรภาพในการบิน
โดยตามแผนขั้น C เดิมที่ได้รับการอนุมัติจาก Pentagon นั้น KC-46A จะเข้าสู่สายการผลิตในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2016 และส่งมอบได้อย่างน้อย 18เครื่องในเดือนสิงหาคม 2017

อย่างไรก็ตามความล่าช้าที่เกิดขึ้นในโครงการตั้งแต่การเลื่อนการทำการบินเที่ยวแรกในปี 2014 จนถึงเดือนเมษายนปีนี้ ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯถูกกดดันจากรัฐบาลกลางให้ยุติโครงการ
ซึ่งตามสัญญาที่ลงนามไว้ Boeing จะต้องส่งมอบ KC-46A อย่างน้อย 8เครื่องภายในสายการผลิตระดับต่ำระยะที่สอง(LRIP2)ภายในปีงบประมาณ 2016
แต่ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2015 ที่สภา Congress ได้อนุมัติงบประมาณให้กองทัพอากาศสหรัฐฯสั่งจัดหา KC-46A ในสายการผลิตขั้นต้นระยะที่หนึ่ง(LRIP1)เพียง 7เครื่อง
ตามข้อมูลของพลอากาศจัตวา Duke Richardson เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ KC-46 ของโครงการสหรัฐฯ ซึ่งเคยให้ข้อมูลการระงับการทดสอบเครื่องตามขั้นตอนที่วางไว้
เนื่องจากมีการบรรทุกสารเคมีผิดประเภทสู่เครื่องระหว่างการทดสอบการเติมเชื่อเพลิงกลางอากาศนั้น การที่จะเลื่อนการอนุมัติจัดหา KC-46 เพียง 7เครื่องในปีงบประมาณ 2016 อาจะเป็นการละเมิดข้อตกลงในสัญญา
และ พลอากาศโท Arnie Bunch รองเลขานุการช่วยของโครงการจัดหากล่าวในสัปดาห์นี้ว่า กองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังมองหาความเป็นไปได้ในการต่อรองยกเว้นข้อจำกัดดังกล่าวอย่างสมดุลกับสภา Congress
ที่จะส่งผลกระทบต่อกองทัพอากาศสหรัฐฯด้านความพร้อมของกำลังรบกว่า50โครงการซึ่งรวมถึงโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 ด้วย

KC-46A Pegasus เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่พัฒนามาจากเครื่องบินโดยสาร Boeing 767 ซึ่ง Boeing
ได้รับเลือกเป็นผู้ชนะสัญญาในโครงการ KC-X เพื่อทดแทนเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ  KC-135 Stratotankers ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
ซึ่งนอกจากกองทัพอากาศสหรัฐฯแล้ว ล่าสุดกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF) ยังได้เลือก KC-46 เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศใหม่ของตนในอนาคตราวปี 2018 ซึ่งกำลังเจรจากันอยู่ด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

Hyundai เกาหลีใต้เริ่มการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กให้ลูกค้าซึ่งไม่เปิดเผย

Hyundai begins construction of mini-submarine for undisclosed customer
The HDS-400 submarine under construction by Hyundai Heavy Industries could be a permutation of the mini-submarine concept known as the KSS 500A unveiled by South Korea's Agency for Defence Development in 2011. (Mrityunjoy Mazumdar)
http://www.janes.com/article/54825/hyundai-begins-construction-of-mini-submarine-for-undisclosed-customer

Jane's ได้รายงานข้อมูลว่า Hyundai Heavy Industries สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นบริษัทอู่ต่อเรือชั้นนำรายใหญ่ที่ต่อเรือให้กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมาแล้วหลายลำ
รวมถึงเรือดำน้ำแบบ U214 ชั้น Sohn Won-il (KSS-II)ที่ได้สิทธิบัตรจาก ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนี
กำลังเริ่มทำการก่อสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(mini-submarine) เพื่อส่งออกให้ลูกค้าที่ไม่มีการเปิดเผยซึ่งอาจจะเป็นกองทัพเรือประเทศหนึ่ง
ซึ่ง HHI ได้เปิดเผยข้อมูลแบบแผนเรือดำน้ำขนาดเล็กแบบใหม่นี้ในงานแสดงยุทโธปกรณ์ DSEI 2015 ที่ London สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน ที่ผ่านมา
โดยมีการวิเคราะห์ว่าเรือดำน้ำ HDS-400 นั้นถูกออกแบบสำหรับภารกิจสนับสนุนการตรวจการณ์ชายฝั่ง และสนับสนุนปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ

"HDS-400 เป็นแบบเรือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่(สำหรับ)ประเทศที่ไม่สามารถจัดซื้อเรือดำน้ำขนาดใหญ่จากแหล่งที่เป็นที่รู้จักดีได้
ณ เวลานี้ผมสามารถยืนยันได้เพียงว่าเรือดำน้ำ HDS-400 กำลังดำเนินการก่อสร้างในอู่ของเรา"
Kim Moon-ju เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารของ HHI กล่าวซึ่งเขาปฏิเสธการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของสัญญาใดๆ ณ ขณะนี้โดยให้เหตุผลเรื่องการรักษาความลับของลูกค้า

เท่าที่มีข้อมูลขณะนี้เรือดำน้ำแบบ HDS-400 มีความยาวตัวเรือ 40m ระวางขับน้ำ 400tons ทำความเร็วได้สูงสุด 15knot แต่ไม่มีข้อมูลรายละเอียดอาวุธที่จะติดตั้งกับเรือเปิดเผยในขณะนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับเรือดำน้ำขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากันสามารถติดตั้ง Torpedo หนักสองนัด และ Torpedo เบาสี่นัด รวมถึงบรรทุกหน่วยรบพิเศษไปกับเรือได้ 14นาย รวมกับลูกเรือประจำเรือ
ซึ่ง HDS-400 เป็นเรือรุ่นที่มีขนาดเล็กลงมาจาก HDS-500RTN ซึ่งมีระวางขับน้ำ 500ton ที่เคยเสนอให้กองทัพเรือไทยในโครงการจัดหาเรือดำน้ำในปีนี้
โดยแบบเรือดำน้ำที่เป็นผลิตภัณฑ์ของ HHI อื่นก็มี HDS-1800 ขนาด 1,800tons และ HDS-3000 ขนาด 3,300tons
ซึ่ง HHI กล่าวว่าเรือดำน้ำในชุด HDS นั้นเป็นผลลัพธ์จากการสั่งสมประสบการในการสร้างและพัฒนาเรือดำน้ำของตนเองมากว่าทศวรรษครับ

รถถังหลัก T-14 ARMATA รัสเซียจะเพิ่มกำลังเครื่องยนต์เป็น 1,800แรงม้า

http://lenta.ru/news/2015/09/24/armata/

จากการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อของนาย Oleg Siyenko ผู้อำนวยการทั่วไปของ Uralvagonzavod ผู้ออกแบบและผลิตรถถังหลัก T-14 ARMATA รุ่นใหม่ของกองทัพบกรัสเซียนั้น
จะมีการพัฒนาให้ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่เพิ่มกำลังจากเดิมในรุ่นปัจจุบัน 1500HP เป็น 1800HP ซึ่งนับว่าจะเป็นรถถังหลักที่ใช้เครื่องยนต์กำลังขับสูงที่สุดแบบหนึ่งของโลก
แต่นาย Siyenko ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลรายละเอียดของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ของ ถ.หลัก T-14 ARMATA ในขณะนี้โดยกล่าวว่าการสร้างเครื่องยนต์แบบใหม่ให้เสร็จกำลังดำเนินการอยู่
ทั้งนี้ในงานแสดงอาวุธ Russia Arms Expo 2015 (RAE 2015) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการจัดแสดงรถถังหลัก T-14 ARMATA ในงาน
ได้มีหลายประเทศที่ให้ความสนใจที่จัดหารถถังหลัก T-14 ไปใช้ เช่น จีน อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ กาตาร์ รวมถึงกำลังเป็นจับตาของกลุ่มประเทศยุโรป

อย่างไรก็ตามตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมรัสเซียปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับการนำรถถังหลัก T-14 ARMATA หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบและได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ
และเปิดสายการผลิตรถสำหรับเข้าประจำการในกองทัพรัสเซียเป็นหลัก โดยคาดว่าในช่วงหลังปี 2020-2025 เป็นต้นไปกองทัพรัสเซียจะสั่งจัดหา ถ.หลัก T-14 จำนวน 2,300คัน
ซึ่งนาย Siyenko ผู้อำนวยการทั่วไปของ Uralvagonzavod กล่าวเมื่องวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมาว่า รถถังหลัก T-14 ARMATA ในสายการผลิตจำนวนมากเต็มอัตราจะมีราคาคันละ 250 million rubles
หรือเพียง $4 million ต่อคันซึ่งถูกกว่ารถถังหลักยุคที่3 ที่ประจำการในกองทัพประเทศตะวันตกทั้ง M1A2 Abrams สหรัฐฯ หรือ Leopard 2A7 เยอรมนี
ทำให้คาดว่ารัสเซียจะมีความพร้อมที่จะทำการผลิตรถถังหลัก T-14 ARMATA สำหรับการส่งออกได้ภายในช่วงหลังปี 2020 เป็นต้นไป

ล่าสุดทาง Uralvagonzavod กำลังเจรจากับอินเดียสำหรับความเป็นไปได้ในการขายรถถังหลัก T-90MS ซึ่งเป็นรถถังหลักรุ่นล่าสุดในตระกูล T-90 สำหรับการส่งออกให้กองทัพบกอินเดีย
โดยกองทัพบกอินเดียเองก็เป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่จัดหารถถังหลัก T-90S และ T-90M Bhishma ไปใช้งานแล้วมากกว่า 862คัน
ซึ่งส่วนหนึ่งอินเดียทำการประกอบเองในประเทศภายใต้สิทธิบัตรจากการจัดส่งชิ้นส่วนแบบ knocked-down จากรัสเซียในโรงงาน Heavy Vehicles Factory ที่ Avadi รัฐ Tamil Nadu
เมื่อรวมกับแผนการจัดหา ถ.หลัก T-90MS ใหม่ราว 354คัน จะทำให้กองทัพบกอินเดียจะมีรถถังหลัก T-90 ทุกรุ่นรวมถึงราว 1,640คัน
ซึ่งทาง Uralvagonzavod รัสเซียจะยังคงมีรถถังหลัก T-90MS เป็นรถถังรุ่นที่ทันสมัยที่สุดสำหรับส่งออกต่างประเทศ จนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการส่งออกของรถถังหลัก T-14 ARMATA ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

อียิปต์จะจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอเตอร์ชั้น Mistral สองลำที่เดิมเป็นของรัสเซีย พร้อมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 50เครื่อง

Official: France Announce Egypt Will Acquire the 2 Mistral Class LHDs Originally Intended for Russia
The former Russian Navy Mistral class LHD Vladivostok
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3114

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแถลงการอย่างเป็นทางการว่าประธานธิบดีฝรั่งเศส นาย Francois Hollande และประธานาธิบดีอียิปต์ Abdel Fattah Al Sissi
ได้เข้าพบกันและมีข้อตกลงร่วมในการที่ฝรั่งเศสจะขายต่อเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock)ชั้น Mistral ที่เดิมเป็นของกองทัพเรือรัสเซียทั้งสองลำ
โดยตามกำหนดการเดิมที่ฝรั่งเศสทำสัญญาไว้กับรัสเซียนั้นเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำคือ Vladivostok และ Sevastopol จะต้องส่งมอบให้กองทัพเรือรัสเซียในปี 2014 และ 2015 ตามลำดับ
แต่เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกในกลุ่มสหภาพยุโรปและ NATO กับรัสเซียที่รุนแรงขึ้นหลังจากที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea และแทรงแซงสงครามในเขต Donbass ของยูเครนตั้งแต่ปี 2014
ทำให้ฝรั่งเศสตัดสินใจยกเลิกการส่งมอบเรือ LHD ทั้งสองลำให้รัสเซียซึ่งมีการเจรจาข้อตกลงชดเชยระหว่างกันไปแล้ว ซึ่งนั่นทำฝรั่งเศสเสียผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของตนไปพอสมควร
และเป็นการทำกองทัพเรือรัสเซียจะเพิ่มขีดความสามารถในปฏิบัติยกพลขึ้นบกได้ช้าลงจนกว่าจะสามารถสร้างเรือ LHD ของตนเองใหม่ด้วย โดยคาดว่ากองทัพเรือรัสเซียมีแผนจะนำเรือ LHD ทั้งสองลำเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิค

อย่างไรก็ตามข้อตกลงในการขายเรือ LHD ชั้น Mistral สองลำให้อียิปต์ที่คาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 950 million Euros นั้นถือเป็นความสำเร็จที่ทั้งฝรั่งเศส รัสเซีย และอียิปต์ที่ได้ประโยชน์ในการหาทางออกของปัญหาร่วมกัน
โดยบริษัท DCNS ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นออกแบบและต่อเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอเตอร์ชั้น Mistral นั้นก็เพิ่งจะทำการส่งมอบเรือฟริเกตแบบ FREMM คือ FFG-1001 Tahya Misr ให้กองทัพเรืออียิปต์ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
(เดิมคือ D651 Normandie ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ตามที่เคยรายงานไป)
รวมทั้ง DCNS ยังมีสัญญาการต่อเรือคอร์เวตแบบ Gowind 2500 จำนวน 4ลำให้กองทัพเรืออียิปต์ซึ่งจะมีกำหนดส่งมอบเรือลำแรกในปี 2017 ด้วย
เมื่อรวมกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ของกองทัพอากาศอียิปต์จากฝรั่งเศสตามที่เคยรายงานไปล่าสุดก็ยิ่งเป็นกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างฝรั่งเศสและอียิปต์มากยิ่งขึ้น

Source: Egypt buys 50 Russian Alligator helicopters, deck-based version may be supplied
Ka-52 Alligator helicopter TASS/Yuri Smityuk
http://tass.ru/en/defense/823140

นอกจากนี้ตามรายงานข่าวของสื่อรัสเซียว่าอียิปต์ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 Alligator จำนวน 50เครื่องจากรัสเซีย วงเงินราว 2.3 billion Euros
สำหรับกองทัพอากาศอียิปต์ซึ่งจะส่งมอบในช่วงปี 2016-2019 นั้น มีข้อมูลว่าอียิปต์ยังมองความเป็นได้ในการจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K Katran ซึ่งเป็นรุ่นปฏิบัติการทางทะเลจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้วย
โดยเดิมทีกองทัพเรือรัสเซียได้สั่งจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K สำหรับกองบินทหารเรือเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติการร่วมกับเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำ โดยจะได้รับมอบเครื่องชุดแรกในช่วงปี 2017-2018
แต่เนื่องจากการที่ฝรั่งเศสยกเลิกการส่งมอบเรือให้รัสเซียทำให้แผนการนำ ฮ.Ka-52K เข้าประจำการบนเรือ LHD ต้องล่าช้าออกไปจนกว่ากองทัพเรือรัสเซียจะสร้างเรือ LHD ใหม่ของตนเองได้
อีกทั้งยังมีรายงานจากสื่อของรัสเซียและฝรั่งเศสด้วยว่าถ้าอียิปต์เป็นผู้จัดหาเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำแทนรัสเซียแล้ว
การถอดถอนระบบอุปกรณ์ที่เป็นระบบของรัสเซียบนเรือ LHD คือ Vladivostok และ Sevastopol นั้น รัสเซียจะทำการถอดออกเพียงบางระบบที่เป็นชั้นความลับเท่านั้น แต่จะคงบางระบบบนเรือให้อียิปต์ไปใช้ต่อ
นั่นทำให้มีความเป็นไปได้มากว่าอียิปต์จะรับมอบเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำที่เดิมเป็นของรัสเซียโดยเป็นระบบผสมทั้งของฝรั่งเศสและรัสเซีย ที่อาจจะรองรับการปฏิการของ ฮ.โจมตี Ka-52 ร่วมกับเรือได้
ซึ่งตามคุณสมบัติของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอเตอร์ชั้น Mistral นั้นสามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ 16เครื่อง เรือระบายพล 4ลำ รถหุ้มเกราะ 70คัน และทหารราบ 450นายครับ

กองทัพอากาศนอร์เวย์ทำพิธีรับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องแรก


https://forsvaret.no/aktuelt/her-er-norges-foerste-f-35

วันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา กองทัพอากาศนอร์เวย์ได้ทำพิธีรับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A AM-1 เครื่องแรก จากชุดแรกที่สั่งจัดหาขั้นต้น 4เครื่อง ที่โรงงานอากาศยานของ Lockheed Martin ใน Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ
กองทัพอากาศนอร์เวย์ได้เข้าร่วมโครงการ JSF ระดับ Tier 3 ในปี 2008 เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ F-35A Lightning II เข้าประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM จำนวน 55เครื่องที่ผ่านการปรับปรุง MLU ที่ใช้งานมานานหลายสิบปี
ซึ่ง F-35A ของกองทัพอากาศนอร์เวย์ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมจาก F-35A รุ่นมาตรฐานที่ใช้ในกองทัพอากาศสหรัฐฯ เช่น ติดร่มหน่วงเพื่อลดความเร็วระหว่างลงจอดที่ท้ายเครื่อง และปรับปรุงให้สามารถหยุดเครื่องในทางวิ่งที่น้ำแข็งจับได้ดีขึ้น
โดย F-35A ชุดแรก 4เครื่อง(AM-1, AM-2 และลำดับต่อไป)นี้จะบินไปประจำที่ฐานทัพอากาศ Luke กองทัพอากาศสหรัฐฯในมลรัฐ Arizona ที่เป็นที่ตั้งฝูงบิน F-35 นานาชาติก่อนคริสต์มาสนี้ เพื่อทำการฝึกนักบิน F-35 ชุดแรกของกองทัพอากาศนอร์เวย์
ก่อนจะเดินทางไปยังนอร์เวย์ในปี 2017 ซึ่งจะเข้าประจำการในฐานทัพอากาศ Orland ทางตอนกลางของนอร์เวย์แทนฝูงบิน F-16 เดิม ขณะที่ฐานทัพอากาศ Bodo ซึ่งเป็นที่ตั้งของ F-16 อีกฝูงนั้นกองทัพอากาศนอร์เวย์ตัดสินใจปิดฐานหลังปลด F-16
ทั้งนี้กองทัพอากาศนอร์เวย์จะเริ่มนำ F-35A เข้าประจำการภายในปี 2019 มีการสั่งจัดหาแล้ว 22เครื่อง และจนถึงปี 2025 กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์มีแผนจัดหา F-35A จำนวน 52เครื่อง วงเงิน 64 billion Norwegian krone ($7.7 billion) ครับ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ยูเครนจะส่งมอบรถถังหลัก Oplot ชุดต่อไปให้กองทัพบกไทยได้ภายในสิ้นปีนี้

Ukroboronprom to ship next batch of tanks to Thailand by year's end
The next batch of Ukrainian-made Oplot tanks is to be shipped to Thailand by the end of 2015 / Photo from UNIAN
http://www.unian.info/economics/1126701-ukroboronprom-to-ship-next-batch-of-tanks-to-thailand-by-years-end.html

สำนักข่าว UNIAN ได้รายงานว่า Ukroboronprom หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านการจัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครนจะส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดต่อไปให้กองทัพบกไทยได้ภายในสิ้นปี 2015 นี้
โดยรองผู้อำนวยการลำดับที่หนึ่งของ Ukroboronprom นาย Serhiy Pinkas กล่าวว่าจะต้องทำการส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่อีก ๕คันให้กองทัพบกไทยได้ทันภายในเส้นตายก่อนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ นี้ตามสัญญาที่ลงนามไว้กับไทย
(เข้าใจว่าทางกองทัพบกไทยต้องการรถถังหลัก Oplot-T อย่างน้อย ๑๕คัน หรือหนึ่งกองร้อยทหารม้ารถถัง ซึ่งเป็นกำลังขั้นต่ำสุดสำหรับหน่วยทหารม้ารถถังในการปฏิบัติการสนาม
สำหรับ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยที่รับมอบรถมาใช้งานให้ทันภายในเส้นตายก่อนสิ้นปีนี้
ทั้งนี้หนึ่งกองร้อยรถถัง จะประกอบด้วย สามหมวดรถถัง แต่ละหมวดมีรถถัง ๕คัน กับรถถังของผู้บังคับกองร้อยอีกหนึ่งคัน รวมเป็น ๑๖คัน)

ทั้งนี้นาย Pinkas ยังได้กล่าวถึงปัญหาความล่าช้าและยากลำบากในการสร้าง ถ.หลัก Oplot ส่งมอบให้ไทยส่วนหนึ่งว่า
"ผมไม่ได้บอกว่าการผลิตรถถังหลัก Oplot เป็นงานที่ราบลื่นและง่าย มันไกลเกินจากที่จะเป็นได้ง่าย
ผมสามารถบอกได้ว่าการปรับย้ายบุคลากรของโรงงานรถถัง Malyshev เองเป็นสัญญาณว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นที่นั่นจะดี
ตอนนี้เราได้จัดซื้อวัสดุโลหะชุดใหญ่สำหรับการสร้างรถถังใหม่จำนวนมาก สถานการณ์ในการจัดหาชิ้นส่วนประกอบก็ดีขึ้น
ในระยะสั้นความคืบหน้าอาจจะไม่เป็นไปตามที่เราต้องการจะให้สำเร็จ แต่เราขอให้รอจนถึงปลายปีนี้ และเราจะออกประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป"

กองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญาจัดหารถถังหลัก Oplot-T กับ Ukroboronprom ยูเครนซึ่งทำการผลิตที่โรงงานงานเกราะ Malyshev จำนวน ๔๙คัน วงเงิน $250 million (๗,๒๐๐ล้านบาท) เมื่อปี 2011(พ.ศ.๒๕๕๔)
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีทาง Ukroboronprom ได้ประกาศแผนที่จะเพิ่มอัตราสายการผลิตรถถังหลัก Oplot ของโรงงาน Malyshev ให้เป็น ๔๐คันในปี 2015 และเพิ่มเป็น ๑๐๐-๑๒๐คันในปี 2016
แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันยูเครนมีปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบรถให้ไทย โดยรถถังหลัก Oplot ชุดแรก ๕คันถูกขนส่งมายังไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2014(พ.ศ.๒๕๕๗) และชุดที่สองอีก ๕คันในเดือนมิถุนายน 2015 (พ.ศ.๒๕๕๘)
และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทาง Ukroboronprom ได้สั่งปลดผู้อำนวยการโรงงาน Malyshev คนก่อนออกจากตำแหน่ง เพื่อเป็นการรับผิดชอบที่ไม่สามารถดำเนินการสายการผลิต ถ.Oplot ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้
โดยทาง Ukroboronprom กล่าวว่าผู้ประกอบการภาคเอกชนในส่วนสายการผลิตรถถังนั้นมีความกังวลว่าขีดความสามารถด้านการผลิตของตนจะมีไม่เพียงพอ

ล่าสุดยูเครนได้มีการการเสนอรถถังหลัก Oplot สำหรับโครงการจัดหารถถังหลักใหม่ของกองทัพบกปากีสถาน รวมถึงข้อเสนอสิทธิบัตรในการประกอบรถในโรงงาน Heavy Industries Taxila ของปากีสถานเอง
ซึ่งก็เพิ่งมีการส่งรถถัง Oplot  ไปทดสอบในสนามจริงที่ปากีสถานมาแล้วเมื่อไม่นานมานี้(มีข้อมูบางแหล่งว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ 6TD-3 กำลัง 1500HP)
รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถและซ่อมคืนสภาพรถถังเก่าของกองทัพยูเครนเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass หลังจากสูญเสียรถถังไปจำนวนหนึ่งตั้งแต่เริ่มสงครามในปี 2014
ทั้งนี้ทางยูเครนเองต้องการจะผลิตรถถังหลัก Oplot เพื่อการส่งออกมากกว่าจะผลิตเพื่อใช้เอง เนื่องจาก ถ.หลัก Oplot มีราคาแพงเกินกว่าที่กองทัพยูเครนจะสั่งสร้างใหม่ทั้งคันเพื่อนำไปใช้ในกองทัพ
แต่ส่วนตัวแล้วคำถามก็ยังเหมือนเดิมครับว่า คือถ้าสถานะการผลิตและส่งมอบจริงยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ ยูเครนจะสามารถผลิตและส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ให้กองทัพบกไทยได้ครบตามแผนที่วางไว้ได้จริงหรือครับ?

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

Saab Kockums สวีเดนทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำแบบ A26 ลำแรก

Steel cut for first submarine [DSEi15D4]
http://www.janes.com/article/54612/steel-cut-for-first-submarine-dsei15d4

วันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท Saab Kockums สวีเดนได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของชิ้นส่วนถังความดันของตัวเรือ(pressure hull) ของเรือดำน้ำแบบ A26 ลำแรกของกองทัพเรือสวีเดนที่อู่ต่อเรือ Karlskrona ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนการก่อสร้างของโครงการ
"เราได้ละทิ้งขั้นตอนการออกแบบไว้เบื้องหลังและเริ่มการก่อสร้างเรือดำน้ำ A26 ที่จะเป็นเสาหลักของการป้องกันภัยทางทะเลในอนาคตของสวีเดน
ตอนนี้การก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว มันเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงลูกค้าที่มีความเป็นไปได้รายอื่นทั่วโลกว่า SAAB พร้อมที่จะส่งมอบพวกเธอ(เรือ)ให้(ลูกค้า)ได้อย่างดีเช่นกัน"
Gunnar Wieslander ประธานคนใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งของส่วนธุรกิจ Saab Kockums กล่าว
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Saab ได้รับสัญญาจากสำนักงานจัดหายุทธภัณฑ์ความมั่นคงสวีเดน(FMV) วงเงิน 7.6 billion Swedish Krona ($929.5 million) สำหรับการจัดหาเรือดำน้ำ A26 2ลำ ซึ่งลำแรกมีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือสวีเดนในปี 2022

เรือดำน้ำแบบ A26 มีระวางขับน้ำประมาณ 2,000tons  ได้รับการออกแบบตามแนวคิด Modular และความเหมาะสมที่เน้นขีดความสามารถสำหรับภารกิจที่หลากหลาย ทั้งการรวบรวมข่าวกรอง การตรวจการณ์  การลาดตระเวน และการปฏิบัติการพิเศษ
คุณสมบัติสำคัญของตัวเรือนั้นรวมการลดการแพร่สัญญาณให้ตรวจจับได้ต่ำมาก มีระยะเวลาดำอยู่ใต้น้ำได้นานด้วยระบบขับเคลื่อน Stirling AIP(Air Independent Propulsion) มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ระดับสูง มีความอยู่รอดขั้นเหนือระดับ
ใช้ระบบตรวจจับสถาปัตยกรรมเปิด และชุดระบบสื่อสารที่รองรับการทำสงครามแบบเครือข่าย(Network Centric Warfare)
โดยคุณสมบัติหลักสำคัญของเรือดำน้ำแบบ A26 คือช่องบรรทุกที่มีความยืดหยุ่นในส่วนหัวเรือที่เรียกว่า Multimission Portal (MMP) ที่อยู่ระหว่างคู่ของท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm ทั้ง4ท่อยิงที่หัวเรือ
ซึ่งสามารถทำการปล่อยได้ทั้งนักประดาน้ำ, ยานลำเลียงนักดำน้ำ(Swimmer Delivery Craft) และยานใต้น้ำไร้คนขับ(Unmanned Underwater Vehicles) จากท่อพิเศษนี้ครับ

BAE Systems เปิดเผยภาพจำลองและข้อมูลล่าสุดของเรือฟริเกต Type 26



A glimpse at the Royal Navy’s new frigates
http://www.royalnavy.mod.uk/news-and-latest-activity/news/2015/september/16/150916-type-26

ในงานแสดงยุทโธปกรณ์ Defence and Security Equipment International 2015 (DSEI 2015) ที่ London สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน ที่ผ่านมา
BAE Systems ได้แสดงภาพและวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลล่าสุดของเรือฟริเกตชั้น Type 26 Global Combat Ship ซึ่งจะเป็นเรือฟริเกตแบบใหม่ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy)
เพื่อทดแทนเรือฟริเกตชั้น Type 23 หรือเรือฟริเกตชั้น Duke ที่เข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษตั้งช่วงปี 1990-2002
โดย First Sea Lord Admiral Sir George Zambellas ได้กล่าวในหัวข้ออนาคตและนวัตกรรมของราชนาวีอังกฤษในงาน DSEI 2015 เกี่ยวกับเรือฟริเกต Type 26 ไว้ว่า
"เป็นกระดูกสันหลังของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ด้วยการออกแบบให้มีศักยภาพตรงความจำเป็นในการปฏิบัติการของจำนวนกองทัพเรือหลักทั่วโลก"

ขั้นตอนการประเมินโครงการเรือฟริเกต Type 26 ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2010 โดยความร่วมมือจากทีมวิศวกรจาก กองทัพเรืออังกฤษ กระทรวงกลาโหมอังกฤษ BAE Systems และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ในการทำงานพัฒนารายละเอียดความต้องการของเรือที่จะจัดหาจำนวน 13ลำขึ้นไปตามแผนปัจจุบัน ซึ่งเรือฟริเกต Type 26 ถูกออกแบบให้เป็นเรือรบผิวน้ำเอนกประสงค์ที่มีความสามารถในการทำภารกิจที่หลากหลาย
ทั้งการต่อต้านเรือดำน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่เฉพาะ(Local Area Air Defence) และปฏิบัติการทั่วไปอื่นๆ
Type 26 ถูกออกแบบตัวเรือให้เป็นแบบ Modular และใช้สถาปัตยกรรมเปิด ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้รองรับ Technology ใหม่ที่จะพัฒนาในอนาคต
ตัวเรือยาว 148m มีระวางขับน้ำประมาณ 6,500tons ใช้เครื่องยนต์แบบ Combined Diesel Electric or Gas Turbine (CODLOG) ทำความเร็วได้สูงสุด 28knots พิสัยทำการไกลสุด 7,800nm กำลังพลประจำเรือ 185นาย
อาวุธประจำเรือที่วางแผนจะติดตั้งมีเช่น ปืนใหญ่เรือ Mk45 ขนาด 5", ปืนใหญ่กล DS30M mk2 ขนาด 30mm, ระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลลำกล้องหมุน Phalanx CIWS 20mm, ปืนกลลำกล้องหมุน Minigun 7.62mm
Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Sting Ray, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ CAMM ระยะยิง 25km ในแท่นยิง 6-cell VLS 8ระบบ และเป็นไปได้ที่จะติดตั้งแท่นยิง Mk41 VLS  8-cell 3ระบบสำหรับ Tomahawk, ASROC และ LRASM

Geoff Searle ผู้อำนวยการโครงการเรือฟริเกต Type 26 ของ BAE Systems กล่าวว่า
ความต้องการสำหรับการรองรับภารกิจของเรือ Type 26 นั้นอาจจะไม่เปลี่ยนไปจากเรือฟริเกต Type 23 แต่ขีดความสามารถของเรือฟริเกต Type 26 ใหม่นั้นได้รับการขยายให้สูงมากขึ้น
ทั้งนี้เรือฟริเกต Type 23 ที่กองทัพเรืออังกฤษยังคงประจำการอยู่ 13ลำ(3ลำขายให้กองทัพเรือชิลีไปแล้วในปี 2006-2008) จะเริ่มปลดประจำการในช่วงปี 2023-2036
โดยเรือฟริเกต Type 26 ลำแรกคาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2016 และเข้าประจำการได้ในราวปี 2021-2022 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

KAI เกาหลีใต้จะส่งออกเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 ให้กองทัพอากาศไทย

T-50 Golden Eagles lining up(wikipedia.org)

KAI will export T-50s to Thailand
https://www.koreatimes.co.kr/www/news/nation/2015/09/116_187047.html

สำนักข่าว The Korea Times สาธารณรัฐเกาหลี ได้ลงข่าวว่า รัฐบาลไทยได้เลือกเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ T-50 ของ Korea Aerospace Industries (KAI) ซึ่งมีฐานผลิตใน Sacheon จังหวัด South Gyeongsang
ตามโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าใหม่ ๔เครื่อง(ระยะที่๑) ทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART วงเงินกว่า ๑แสนล้านวอน หรือ $ 110 million
หรือตามที่เคยมีข่าวออกมาว่ากองทัพอากาศไทยตั้งงบประมาณจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นไว้ที่ ๓,๗๐๐ล้านบาท($112.6687 million) สำหรับเครื่องใหม่จากโรงงาน ๔เครื่อง

ซึ่งถ้าข่าวนี้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจริงกองทัพอากาศไทยจะเป็นประเทศที่สามในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหา บ.ไอพ่นตระกูล KAI T-50 Golden Eagle เข้าประจำการ
ต่อจากกองทัพอากาศอินโดนัเซียที่จัดหารุ่นฝึก KAI T-50 จำนวน ๑๖เครื่องในปี 2011 และกองทัพฟิลิปปินส์ที่จัดหารุ่นขับไล่โจมตี KAI FA-50 ๑๒เครื่อง ในปี 2014
โดยการส่งออกในประเทศอื่นก็มีเช่นกองทัพอากาศอิรักที่จะจัดหา KAI T-50 จำนวน ๒เครื่องในปี 2013 และจะได้รับมอบในราวปี 2016
และการเจรจากับรัฐบาลและกองทัพอากาศเปรูในการจัดหา KAI FA-50 จำนวน ๒๔เครื่อง วงเงินรวมไม่ต่ำกว่า $2 billion
ปัจจุบันนับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2006 กองทัพอากาศสาธาณรัฐเกาหลีได้นำเครื่องบินไอพ่นตระกูล KAI T-50 Golden Eagle
ทั้งรุ่นฝึกนักบินขั้นก้าวหน้า T-50, รุ่นพิเศษสำหรับฝูงบินผาดแผลง Black Eagles  Black Eagles T-50B, รุ่นโจมตีเบา TA-50 และรุ่นขับไล่ FA-50
เพื่อทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่ปลดประจำการแล้วและใกล้จะปลดประจำการ ทั้งเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 เครื่องบินโจมตี A-37 และเครื่องบินขับไล่ F-5E/F แล้วไม่ต่ำกว่า ๕๐เครื่อง
และนับเป็นการจัดหายุทโธปกรณ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลีอีกโครงการ นับตั้งแต่ที่กองทัพเรือไทยลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงจาก Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME)
วงเงิน ๕แสนล้านวอน หรือตามข่าวของไทยคือ ๑๔,๖๐๐ล้านบาท เมื่อปี 2013 ซึ่งมีรายงานการทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

แน่นอนว่าถ้าข่าวนี้ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงอย่างเป็นทางการจะนับเป็นความสำเร็จอีกครั้งของ KAI T-50 ต่อตัวเลือกแบบเครื่องบินฝึกไอพ่นต่างๆ ที่เสนอต่อกองทัพอากาศไทย
ทั้ง Hongdu L-15 จีน, Alenia Aermacchi M-346 อิตาลี, Textron AirLand Scorpion สหรัฐฯ และ Yak-130 รัสเซีย


และล่าสุดมีการยืนยันจากรายงานข่าวสถานีโทรทัศน์ YTN NEWS สาธารณรัฐเกาหลีว่า
มีการทำพิธีลงนามในสัญญาซื้อขายเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระหว่างกองทัพอากาศไทย และ Korea Aerospace Industries ไปตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายนแล้ว
ตามข้อมูลที่ออกมาขณะนี้ T-50TH ที่กองทัพอากาศไทยจะจัดหาน่าจะเป็นรุ่นเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า โดยเครื่องชุดแรก ๔เครื่องมีกำหนดส่งมอบในเดือนมีนาคม 2018


และจากรายงานของสำนักข่าว ARIRANG สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษระบุว่า มีความเป็นไปได้ว่าในปีถัดไปกองทัพอากาศไทยจะจัดหา T-50TH เพิ่มอีกราว ๒๐เครื่อง
โดยจำนวนเครื่องที่กองทัพอากาศไทยอาจจะจัดหารวมเป็น ๒๔เครื่องนี้ ดูจะใกล้เคียงกับจำนวนเครื่องในฝูงบินโจมตีอย่าง บ.จ.๗ Alpha Jet ที่จัดหาจากเยอรมนีในปี พ.ศ.๒๕๔๓ จำนวน๒๕เครื่อง
(ใช้จริง๒๐เครื่อง เป็นเครื่องอะไหล่๕ สูญเสียจากอุบัติเหตุไป ๑เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๔๕ เนื่องจากสภาพอากาศเลวร้ายและนักบินเสียชีวิต)
ตรงนี้ไม่แน่ใจว่ากองทัพอากาศมีแผนจะให้ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ซึ่งคาดว่าจะเป็นฝูงที่จะรับมอบ T-50TH มาแทน L-39 ที่จะย้าย L-39 ทั้งหมดไปรวมที่ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่
โดยให้ฝูงบิน ๔๐๑ มี T-50TH รวมทั้งหมด ๒๔เครื่อง หรืออาจจะแบ่งเป็นสองฝูงบินฝึกขั้นก้าวหน้าฝูงละ ๑๒เครื่อง เช่นเปิดอัตราฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ โคราชขึ้นมาใหม่ครับ

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

เครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ทำการบินทดสอบเที่ยวแรก

First Test Flight of the L-39NG Trainer


http://www.l-39ng.cz/media/news/first-test-flight-l-39ng-trainer/

วันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา นักบินทดสอบของโรงงานอากาศยาน AERO Vodochody AEROSPACE a.s. สาธารรัฐเชค ประกอบด้วย Miroslav Schuetzner และ Vladimir Kvarda
ได้ประสบความสำเร็จในการทำการบินทดสอบเที่ยวแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG เครื่องสาธิตทาง Technology
โดย L-39NG ได้ติดตั้งเครื่องไอพ่นใหม่แบบ Williams International FJ44-4M พร้อมระบบ Avionic ที่สร้างโดย Genesys Aerosystems
และจอแสดงผลเอนกประสงค์ (MFD: Multi-Functional Display) และจอภาพตรงหน้า (HUD: Head-Up Display) ของ SPEEL Praha
นอกจากนี้ยังปรับปรุงส่วนอื่นๆของโครงสร้างตัวเครื่อง เช่น ปีกเครื่องใหม่ที่สร้างจากวัสดุผสม composite แทนที่ตำแหน่งถังเชื้อเพลิงเดิมที่ปลายปีก และถังเชื้อเพลิงในตัวเครื่องใหม่
ติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit เก้าอี้ดีดตัวแบบ Zero-Zero(ทำงานได้แม้จะจอดนิ่งบนพื้น) มีตำบลอาวุธ5ตำแหน่งเช่นเดิมคือ ใต้ปีกข้างละ2ตำบล และกลางลำตัว 1ตำบล

Ladislav Simek ประธานบริษัท AERO Vodochody ได้กล่าวสรุปภาพรวมของโครงการว่า
"การเลือกเครื่องยนต์ FJ44-4M จาก Williams International และระบบ Avionic จาก Genesys Aerosystems และ SPEEL Praha ได้รับการพิสูจน์อย่างตรงจุดแน่นอนแล้ว
เพียงหลังจากสามสัปดาห์ที่ได้รับมอบเครื่องยนต์ ตัวเครื่องก็ประสบความสำเร็จสำหรับการบินเที่ยวแรก ผมต้องขอขอบคุณหุ้นส่วนของเราทั้งหมดในโครงการนี้ที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ในเวลาที่กำหนด
ผมต้องขอขอบคุณองค์ความรู้และการทำงานอย่างหนักของเหล่าพนักงานของเรา ผู้ที่ยึดมั่นกับตารางเวลาสร้างขณะที่ต้องรักษาปริมาณงานของโครงการอื่นๆ และประสบความสำเร็จในการทำให้เครื่องเสร็จตามเส้นตายที่เราสัญญาไว้ต่อสาธารณชน
ด้วยการใช้ส่วนประกอบที่ดีที่สุดที่สามารถหาได้ซึ่งบูรณาการเข้ากับผลที่ได้จากเที่ยวบินแรกนี้ เราได้นำตนเข้าสู่ตลาดอย่างที่ไม่เคยมีอากาศยานแบบใดที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่นนี้มาก่อน"
L-39NG เครื่องต้นแบบสาธิตนี้เป็นไปตามแผนโครงการ Phase 1 ที่เป็นการดัดแปลงจากแบบแผนเครื่อง L-39 เดิม โดยใน Phase 2 จะเป็นการสร้างเครื่องประกอบขึ้นใหม่ทั้งหมด
 
AERO Vodochody ได้สร้างเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 ออกมามากกว่า 3,000เครื่องเข้าประจำการในกองทัพอากาศประเทศต่างๆทั่วโลกนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดย L-39NG เป็นแบบเครื่องบินฝึกไอพ่นล่าสุดของ L-39 สำหรับตลาดอากาศยานนานาชาติ โดยมีการปรับปรุงแบบโครงสร้างอากาศยาน เครื่องยนต์และระบบ Avionic ใหม่ตามมาตรฐาน NATO ให้รองรับความต้องการของกองทัพอากาศประเทศต่างๆได้มากขึ้น
งาน NATO Days ที่จะจัดขึ้นใน Ostrava สาธารรัฐเชค ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2015 นี่จะเป็นการเปิดตัว L-39NG ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก
และภายในปีหน้า AERO Vodochody มีแผนจะนำ L-39NG ออกจัดแสดงในงานแสดงการบินนานาชาติต่างๆทั่วโลกครับ

ปืนกล HK MG5 จะเข้าประจำการในกองทัพเยอรมนีล่าช้าเนื่องจากพบปัญหาเพิ่มเติม

Germany's new MG5 delayed by teething problems
The German Army's new MG5 machine gun has been delayed by teething problems, with the first full-production batch not expected to be delivered until 2016 now. Source: Heckler & Koch
http://www.janes.com/article/54277/germany-s-new-mg5-delayed-by-teething-problems

ปืนกลเอนกประสงค์แบบใหม่ของกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) HK MG5 จะถูกนำเข้าประจำการล่าช้าออกไปไม่ต่ำกว่าปี 2016 เนื่องจากพบปัญหาตัวปืนเพิ่มขึ้น

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้สั่งจัดหาปืนกลเอนกประสงค์ MG5 หรือเดิมคือ HK121 ขนาด 7.62x51mm NATO จากบริษัท Heckler & Koch เยอรมนีชุดแรกในเดือนมิถุนายน 2013
เพื่อทดแทนปืนกลเอนกประสงค์ Rheinmetall MG 3  ขนาด 7.62x51mm NATO ที่ประจำการในกองทัพเยอรมนีมานานกว่า 50ปี
โดยปืนกล HK MG5 ชุดแรกจำนวน 1,215กระบอก ซึ่งมีกำหนดรับมอบในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2015 จะถูกเลื่อนออกไปเป็นปี 2016
ซึ่งจากรายงานการทดสอบของกระทรวงกลาโหมเยอรมนีแถลงระบุว่าเนื่องจาก "พบความผิดปกติที่จำเป็นต้องทดสอบใหม่"

ภายใต้กรอบข้อตกลงในปี 2013 เยอรมนีจะจัดหาปืนกล MG5 อย่างน้อย 7,114กระบอก และอาจจะเพิ่มเป็น 12,733กระบอก วงเงิน 118-240 million Euros
โดยตามข้อตกลงเดียวกันปืนกล MG5 จำนวน 65กระบอกถูกสั่งจัดหาเพื่อการทดสอบภายใต้สายการผลิตขั้นต้นระดับต่ำวงเงิน 2.76 million Euros ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
และปืนกล MG5 ในสายการผลิตจริงชุดแรก1,215กระบอกในข้างต้นนั้นถูกสั่งจัดหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2015 วงเงิน 20.44 million Euros
ปืนกล MG5 ซึ่งมีน้ำหนักปืน 11kg ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนจากด้านซ้ายของปืนด้วยสายกระสุน มีกล่องกระสุนแบบกลองความจุ 50นัดหรือแบบกล่องความจุ 120นัด
มีราง Picatinny สำหรับติดตั้งกล้องเล็งหรืออุปกรณ์เสริม สามารถติดตั้งบนขาหยั่งและชุดไกยิงของปืนกล MG3 เดิมที่มีการปรับปรุงใหม่ได้
มีพานท้ายแบบพับปรับความยาวได้ และสามารถเปลี่ยนลำกล้องปืนใหม่ได้รวดเร็วโดยที่พลประจำปืนไม่ต้องใส่ถุงมือกันความร้อน

ปัญหาล่าสุดของปืนกลเอนกประสงค์ HK MG5 นั้นเป็นอีกข้อพิพาทหนึ่งระหว่างบริษัท Heckler & Koch กับกระทรวงกลาโหมและกองทัพเยอรมนี
เช่นเดียวกับปัญหาปืนเล็กยาวจู่โจม HK G36 ที่รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen กล่าวว่าไม่มีอนาคตอีกต่อไปและจะจัดหาปืนใหม่ในปี 2019
ซึ่งทางบริษัท Heckler & Koch ได้ออกมาตอบโต้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องทางการเมืองที่ไม่ยุติธรรม และจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมอาวุธของเยอรมนีครับ

BAE Systems เสร็จสิ้นการยิงอาวุธปล่อยนำวิธี Meteor จากเครื่องบินขับไล่ Typhoon ในโครงการปรับปรุง P2E

BAE Systems completes Meteor firings for Typhoon P2E upgrade
BAE Systems has successfully completed guided firing trials of the Meteor Beyond-Visual-Range Air-to-Air missile launched from a Eurofighter Typhoon combat aircraft, it announced on 14 September. Source: BAE Systems
http://www.janes.com/article/54194/bae-systems-completes-meteor-firings-for-typhoon-p2e-upgrade

วันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา BAE Systems ประกาศความสำเร็จในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air to Air Missile) MBDA Meteor จากเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon
โดยเครื่องทดสอบ Typhoon IPA6 ได้ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Meteor ต่อเป้าทางอากาศจริงตามสถานการณ์ที่กำหนดที่สนามฝึกยิงอาวุธ Hebrides ของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Typhoon Phase 2 Enhancements (P2E) นักบินทดสอบของ BAE Systems คือ Nat Makepeace รายงานว่าจรวดแยกตัดจากตัวเครื่องอย่างเรียบแล้วและพุ่งเข้าทำลายเป้าหมายตามข้อมูลที่ได้รับจาก data link ของเครื่อง

การทดสอบการบินในครั้งนี้ BAE Systems ได้รับการสนับสนุนจาก QinetiQ, MBDA และ Selex และจากส่วนหนึ่งขององค์การบริหาร Eurofighter และ Typhoon ของ NATO(NETMA:NATO Eurofighter and Tornado Management Agency)
เพื่อบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor กับ Typhoon อย่างสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2016 ซึ่งก่อนหน้านี้ Meteor ได้เคยทำการทดสอบยิงจากเครื่องทดสอบ Typhoon IPA1 มาแล้วในเดือนธันวาคม 2014
แต่การทดสอบยิงครั้งล่าสุดนี้เป็นการทดสอบการบูรณาการระบบกับเครื่องรุ่นมาตรฐานล่าสุดของ Typhoon และเป็นการทดสอบการเชื่อมโยงระหว่างจรวดกับระบบ Radar ของเครื่องด้วย
ตามข้อมูลที่ Jane's ได้รับจาก BAE Systems กล่าวว่าการทดสอบยิง Meteor นี้เป็นขั้นแรกของการทดสอบ 150เที่ยวบินสำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถ P2E ร่วมกับนานาประเทศที่มีฝูงบิน Typhoon
โดยเครื่องทดสอบรุ่นที่นั่งเดี่ยว IPA6 จะเข้าร่วมโครงการทดสอบกับเครื่อง Typhoon รุ่นสองที่นั่งที่ BAE Systems ยืมจากกระทรวงกลาโหมอังกฤษ(BT017)
รวมถึงการทดสอบกับเครื่องที่ประจำการในประเทศอื่นที่ประจำการเครื่องบินขับไล่ Typhoon ทั้ง เยอรมนี อิตาลี และสเปน

คาดว่าการทดสอบโครงการปรับปรุง P2E จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรวมถึงการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น Storm Shadow (ทำการยิงจากเครื่อง Typhoon ของอังกฤษและอิตาลี)
และการทดสอบการปรับปรุงขีดความสามารถส่วนติดต่อประสานของห้องนักบินใหม่(Cockpit Interface) และส่วนอื่นๆในโครงการพัฒนา P2E
โดยเมื่อการทดสอบตามโครงการเสร็จสมบูรณ์ การปรับปรุงมาตรฐาน P2E สำหรับเครื่องบินขับไล่ Typhoon จะพร้อมเข้าสู่ภาคสนามจริงภายในสิ้นปี 2017 ครับ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

สารคดีเจาะลึกรถถังหลัก T-14 ARMATA จากสถานีโทรทัศน์ ZVEZDA รัสเซีย


https://www.youtube.com/watch?v=TCGdvMkDlVc

รายการสารคดีจากสถานีโทรทัศน์ TV ZVEZDA Channel รัสเซีย ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่มา
ได้ออกอากาศรายงานพิเศษเจาะลึกรถถังหลัก T-14 ARMATA ซึ่งเป็นรถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดที่ล้ำสมัยของกองทัพรัสเซีย
โดยนอกจากจะมีการเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของ T-14 ARMATA เช่นระบบเครื่องยนต์ (แต่ยังทำการปิดบังรายละเอียดหลายส่วนในโรงงานประกอบรถอยู่)
ภาพภายในสถานีควบคุมของรถที่มีพลประจำรถสามนายประจำตำแหน่ง พลขับ พลยิง และผู้คับการรถ พร้อมการสาธิตการยิงอันล้ำยุคแล้ว
ยังมีการเปิดเผยข้อมูลและภาพรายละเอียดบางส่วนของรถรบในตระกูลนี้คือ รถรบทหารราบหนัก BMP T-15 Barbaris และรถกู้ซ่อม T-16 ด้วยครับ
(น่าเสียดายเล็กน้อยที่ขณะนี้ยังไม่มีการแปลสารคดีชุดนี้เป็นภาษาอังกฤษ แต่คาดว่าอาจจะมีในภายหลังครับ)

โมร็อกโกและพม่าสนใจจัดหารถรบทหารราบ BMP-3 จากรัสเซีย

Morocco, Myanmar to Buy Some 60 Russian BMP-3 Infantry Fighting Vehicles
http://sputniknews.com/military/20150911/1026867729.html

งานแสดงอาวุธ Russia Arms Expo 2015 (RAE 2015) ที่จัดขึ้นที่  Nizhny Tagil รัสเซีย ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายนที่ผ่านมา
สำนักข่าว RIA Novosti รัสเซียได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของบริษัท Kurganmashzavod ว่า โมร็อกโกและพม่าให้ความสนใจที่จะจัดหารถรบทหารราบ BMP-3 จากรัสเซีย
"ในวันนี้เราได้รับการร้องขอเอกสารการจัดหาจากพม่าและโมร็อกโก ผมไม่สามารถเปิดเผยจำนวนที่แน่นอนได้ แต่เรากำลังพูดถึงสองกองพันของที่ไหนสักแห่งในภูมิภาค"
ตัวแทนของบริษัท Kurganmashzavod ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถรบทหารราบ BMP-3 กล่าวต่อสื่อ

ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนของการจัดหา BMP-3 ของทั้งสองประเทศ แต่มีรายงานว่าโมร็อกโกอาจจะต้องการจัดหา BMP-3 จำนวน 60คัน และพม่าให้ความสนใจรถรุ่น BMP-3F เป็นพิเศษ
ซึ่งรถรบทหารราบ BMP-3F เป็นรุ่นที่ออกแบบสำหรับปฏิบัติยกพลขึ้นบกโดยเพิ่มขีดความสามารถของระบบการขับเคลื่อน Water jet ช่องรับอากาศและท่อไอเสียเครื่องยนต์ และการลอยตัวในน้ำ
ทำให้สามารถเคลื่อนที่ในทะเลที่มีความแรงคลื่นลมระดับ sea state 3 และสามารถทำการยิงอาวุธประจำรถได้ที่ความแรงคลื่นลมระดับ sea state 2 โดยทำความเร็วในน้ำได้สูงสุด 10km/h
ระบบอาวุธหลักของ BMP-3 คือป้อมปืนรวมที่ประกอบด้วสยปืนใหญ่รถถัง 2A70 ขนาด 100mm พร้อม Autoloader ซึ่งสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ 9M117 Bastion ได้
มีปืนใหญ่กล 2A72 ขนาด 30mm และปืนกล PKT ขนาด 7.62x54R mm เป็นปืนร่วมแกนในป้อมปืนหลัก และมีปืนกล PKT เสริมอีกสองกระบอก
BMP-3 ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล UTD-29M กำลัง 500hp ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 72km/h พิสัยปฏิบัติการ 600km มีพลประจำรถสามนาย(ผบ.รถ พลยิง พลขับ) และบรรทุกทหารราบไปกับรถได้ 7-9นาย

แม้ว่ากองทัพรัสเซียจะมีการเปิดตัวรถรบทหารราบแบบใหม่เช่น T-15 Barbaris และ Kurganets-25 ในปี 2015 นี้แล้วก็ตาม แต่สายการผลิตของรถรบทหาราบ BMP-3 เองจะมีจนถึงปี 2017
ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ลงนามสัญญาจัดหา BMP-3 จำนวนไม่ต่ำกว่า 200คันเป็นเวลา 3ปี ซึ่งจะเพิ่มจำนวน BMP-3 ในกองทัพรัสเซียเป็น 920คัน
จนกว่าที่รถรบทหารราบแบบใหม่ทั้ง T-15 Barbaris และ Kurganets-25 จะเสร็จสิ้นการทดสอบและเปิดสายการผลิตเพื่อทดแทนรถรบรุ่นเก่าเช่น MT-LB และ BMP-2 เป็นต้น
ซึ่งบริษัท Kurganmashzavod ได้ทำการผลิต BMP-3 ให้ทั้งกองทัพรัสเซียและส่งออกต่างประเทศได้มากกว่า 1,500คันแล้ว


ปัจจุบันในกลุ่มประเทศ ASEAN มีนาวิกโยธินอินโดนีเซีย(KorMar) กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI–AL) ที่จัดหารถรบทหารราบ BMP-3F จากรัสเซียมาประจำการจำนวน 54คัน
โดยอินโดนีเซียได้รับมอบ BMP-3F ชุดแรก 17คันในเดือนพฤศจิกายนปี 2010 และชุดที่สอง 37คัน ในเดือนมกราคมปี 2014


สำหรับกองทัพพม่าเองนั้นกองทัพบกพม่ามีรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก Type 63 ที่จัดหาจากจีนอยู่ประมาณ 50คัน ซึ่งที่ผ่านมามีการฝึกซ้อมรบการยกพลขึ้นบกร่วมกับเรือระบายพลของกองทัพเรือพม่าหลายครั้งมาแล้ว
การที่กองทัพพม่าอาจจะจัดหา BMP-3F มาประจำการจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรบภาคพื้นดินโดยเฉพาะปฏิบัติการยกพลขึ้นบกและการปฏิบัติการรบในเขตลำน้ำให้สูงยิ่งขึ้นครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

คูเวตจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon 28เครื่อง

Italian Air Force Eurofighter Typhoon(wikipedia.org)

Kuwait To Purchase 28 Typhoons
http://www.defensenews.com/story/breaking-news/2015/09/11/kuwait-purchase-28-typhoons/72059404/

คูเวตได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลอิตาลีแบบรัฐต่อรัฐในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 28เครื่อง โดยแบ่งเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว 22เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 6เครื่อง
โดยบริษัท Alenia Aermacchi ในเครือ Finmeccanica อิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานที่ร่วมพัฒนา บ.Typhoon นั้นจะผู้รับสัญญาหลักของโครงการจัดหาของคูเวต

ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ Typhoon ของคูเวตนั้นจะเป็นเครื่องรุ่นส่งออกแบบแรกที่ได้รับการติดตั้ง AESA radar ของ Selex ES อิตาลี-อังกฤษด้วย(น่าจะเป็น radar แบบ CAPTOR-E)
อาจรวมถึงระบบอาวุธขั้นสูงที่จะจัดหามาพร้อมกัน เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น Storm Shadow (เป็นเครื่องสร้างใหม่จากโรงงานมาตรฐานรุ่น Tranche 3)
มีการประเมินว่าวงเงินของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon ของคูเวตจะอยู่ที่ราว 7-8 billion Euros จะมีการเจรจาเสร็จสิ้นในปีนี้ และจะสามารถเริ่มส่งมอบเครื่องได้ในปี 2019 โดยนักบินคูเวตน่าจะทำการฝึกบินที่ฐานทัพอากาศ Grosseto อิตาลี
กองทัพอากาศคูเวตเป็นประเทศที่สามในตะวันกลางที่เลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon เข้าประจำการ ต่อจากกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียที่จัดหารวม 72เครื่อง และกองทัพอากาศโอมานที่สั่งจัดหา 12เครื่อง ซึ่งยังมีบาห์เรนอีกประเทศที่ให้ความสนใจ
ขณะที่อีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น กองทัพอากาศกาตาร์ และกองทัพอากาศอียิปต์ได้เลือกจัดหาเครื่องขับไล่ Dassault Rafale จากฝรั่งเศส ซึ่งได้เคยรายงานการรับมอบเครื่อง Rafale ชุดแรกของอียิปต์ไปแล้ว

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคมมีรายงานว่าคูเวตให้ความสนใจที่ต้องการจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet จากสหรัฐฯจำนวน 40เครื่อง โดยปฏิเสธข้อเสนอการจัดหาเครื่องขับไล่ Typhoon ของอังกฤษ
แต่ต่อมารัฐบาลคูเวตได้ลงนามข้อตกลงสัญญาจัดหา Typhoon กับรัฐบาลอิตาลี ทำให้มีข้อสังเกตุว่าโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Super Hornet ของคูเวตนั้นจะถูกยกเลิกไปหรือไม่
อย่างไรก็ตามโฆษกหญิงของบริษัท Boeing ได้ออกมาแถลงว่าทางบริษัทและรัฐบาลสหรัฐฯกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาข้อตกลงความเป็นไปได้ในการขาย Super Hornet ให้มิตรประเทศแถบตะวันออกกลางอยู่
โดยทาง Boeing ปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลโดยตรงว่าประเทศดังกล่าวคือคูเวตหรือไม่ รวมถึงยังไม่มีรายละเอียดความคืบหน้าของการเจรจาออกมาในขณะนี้นอกจากว่ากำลังอยู่ในขั้นการดำเนินการอยู่
แต่มีนักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่าดูเหมือนทางกองทัพอากาศคูเวตจะแยกโครงการจัดหา Typhoon กับ Super Hornet ออกจากกันเป็นสองส่วนครับ

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

SAAB สวีเดนได้รับสัญญาปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 โปแลนด์

Polish Air Force Mikoyan MiG-29(wikipedia.org)

Saab Signs Teaming Agreement With Wojskowe Zaklady Lotnicze Nr 2 S.A
http://saabgroup.com/Media/news-press/news/2015-09/saab-signs-teaming-agreement-with-wojskowe-zaklady-lotnicze-nr-2-s.a/

บริษัท SAAB สวีเดนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Wojskowe Zaklady Lotnicze Nr 2 S.A. (WZL No.2) โรงงานอุตสาหกรรมอากาศยานของโปแลนด์ใน Bydgoszcz
โดย SAAB และ WZL2 จะทำงานร่วมกันในการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ ด้วยการบูรณาการติดตั้งระบบป้องกันตนเองสงคราม Electronic ของ SAAB
ซึ่ง MiG-29 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ที่ได้รับการปรับปรุงระบบปล่อยเป้าลวง Chaff แบบ SAAB BOL ได้เคยมีการจัดแสดงในงานแสดงทางทหารที่ Bydgoszcz โปแลนด์มาแล้ว
ระบบสงคราม Electronic (EW:Electronic Warfare) ของ SAAB ถูกออกแบบให้เพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ของนักบินมากขึ้นในสมรภูมิที่เต็มไปภัยคุกคามจากข้าศึก เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จและกลับฐานได้อย่างปลอดภัย

กองทัพอากาศโปแลนด์ยังคงมี MiG-29A รุ่นที่นั่งเดี่ยว(9.12A รุ่นส่งออกในกลุ่ม Warsaw Pact ที่ลดสมรรถนะลง) และ MiG-29UB รุ่นฝึกสองที่นั่งประจำการอยู่ราว 34เครื่อง
ประจำการในฝูงบินที่1 ฐานทัพอากาศที่23 Minsk Mazowiecki และฝูงบินที่41 ฐานทัพอากาศที่22 Malbork สำหรับภารกิจป้องกันภัยทางอากาศเหนือน่านฟ้าโปแลนด์
จึงมีความจำเป็นที่ต้องการระบบสงคราม Electronic แบบใหม่ ทั้งนี้กองทัพอากาศโปแลนด์เป็นผู้ใช้ MiG-29 รายใหญ่ที่สุดใน NATO ซึ่งมีแผนจะใช้งานจนถึงราวปี 2020-2025
โดยที่ผ่านมาโปแลนด์มีขีดความสามารถในการทำการซ่อมบำรุง ปรับปรุง และคืนสภาพ MiG-29 ได้ในระดับหนึ่งโดยโรงงาน WZL No.2
หลังจากเกิดความตึงเครียดระหว่าง NATO กับรัสเซียหลังวิกฤตการณ์ในยูเครน ทำให้รัสเซียไม่จัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ MiG-29 ที่ยังคงประจำการในยุโรปตะวันออกบางประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่ม Warsaw Pact ที่ปัจจุบันเป็นสมาชิก NATO แล้ว
ทำให้ประเทศเหล่านั้่นต้องหาทางการซ่อมบำรุง MiG-29 ของตนจากแหล่งอื่นซึ่งโรงงาน WZL No.2 ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้น เช่นในกรณีของ MiG-29 กองทัพอากาศบัลแกเรีย ก่อนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทนต่อไป

"ในฐานะผู้จัดจำหน่ายระบบสงคราม Electronic ระดับนานาชาติ SAAB ตระหนักอย่างเต็มที่ถึงความสำคัญของการหาหุ้นส่วนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมผลงานของเรา
ด้วยความร่วมมือพร้อมกับ WZL2 เราสามารถใช้องค์ความรู้ของเราในการพัฒนาโครงการนี้อย่างเป็นที่น่าพอใจกับกองทัพอากาศโปแลนด์และอุตสาหกรรมของโปแลนด์"
Carl-Johan Bergholmหัวหน้าฝ่ายธุรกิจระบบสงคราม Electronic ของ SAAB กล่าว
"เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีร่วมมือของเรากับผู้จัดจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือกับกองทัพโปแลนด์คือ WZL No.2
SAAB ได้เสนอทางทางเลือกที่นำสมัยจำนวนมากเพื่อให้แน่ใจได้ว่าเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่จะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่เหนือกว่าและมีความอยู่รอดสูงได้ทุกสถานะการณ์
ระบบสงคราม Electronic เหล่านี้ได้พิสูจน์ตนเองในตลาดส่งออกและการใช้งานในหลายประเทศทั่วโลกมาแล้ว"
Jason Howard ผู้จัดการของ SAAB ในประเทศโปแลนด์กล่าว

WZL No.2 เป็นหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโปแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงในเครือ Polska Grupa Zbrojeniowa (PGZ) โปแลนด์
ที่ได้สะสมประสบการณ์การทำงานกับอากาศยานทางทหารมากว่า 65ปี เช่น เครื่องบินขับไล่ MiG-29 และเครื่องบินโจมตี Su-22 ของกองทัพอากาศโปแลนด์
ซึ่ง WZL No.2 มีข้อมูลทาง Technic ที่จำเป็นต่อการตอบสนองความร่วมมือกับ SAAB ในโครงการปรับปรุง MiG-29 ของกองทัพอากาศโปแลนด์ครับ

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

กองทัพอินเดียเดินหน้าโครงการพัฒนาปืนเล็กยาว Excalibur

Indian Army pushes ahead with Excalibur rifle programme

The Indian Army is supporting the OFB's Excalibur 5.56 mm assault rifle programme. (OFB)
http://www.janes.com/article/54148/indian-army-pushes-ahead-with-excalibur-rifle-programme

กองทัพบกอินเดียเร่งการดำเนินการพัฒนาและผลักดันโครงการปืนเล็กยาวจู่โจม Excalibur ขนาด 5.56x45mm ที่อินเดียพัฒนาและออกแบบเองในประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสูญญากาศในการปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพอินเดียได้กล่าวกับ Jane's ว่าปืนเล็กยาว Excalibur ต้นแบบ 200กระบอกซึ่งถูกสร้างที่โรงงานปืนเล็กยาว Rifle Factory Ishapur (RFI) ของโรงงานสรรพาวุธ Ordnance Factory Board (OFB) ทางตะวันออกของอินเดีย
จะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินผลและทดสอบภายในปี 2015 นี้ โดยกองทัพอินเดียมีแผนจัดหาปืนเล็กยาว Excalibur จำนวน 600,000กระบอก วงเงิน36พันล้านรูปี($541 million) หรือคิดเป็นกระบอกละ 60,000รูปี($904.62)
กองทัพบกอินเดียได้ตั้งโครงการปืนเล็กยาว Excalibur ขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังยกเลิกโครงการจัดหาปืนเล็กยาวหลายขนาดลำกล้อง(5.56x45mm และ 7.62x39mm) จำนวน 66,000กระบอกที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2011
ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นปืนเล็กยาวจากต่างประเทศสี่แบบคือ Beretta ARX-160 อิตาลี, Colt CM-901 สหรัฐฯ, CZ-805 Bren สาธารณรัฐเชค และ IWI Galil ACE อิสราเอล นั้นไม่มีปืนแบบใดที่ผ่านความต้องการของอินเดีย

http://ofbindia.gov.in/products/data/weapons/wsc/23.htm
ปืนเล็กยาว Excalibur ใหม่นี้เป็นการพัฒนาจากปืนเล็กยาวตระกูล INSAS ซึ่งเข้าประจำการในปี 1998 ที่องค์การพัฒนาและวิจัยด้านความมั่นคง DRDO (Defence Research and Development Organization) อินเดียพัฒนาเอง
โดยลำกล้องสั้นลง 4mm มีน้ำหนักเบาขึ้น(ตัวปืนเปล่า 3.81kg เมื่อบรรจุกระสุนเต็มอัตรา 4.03kg) ใช้ซองกระสุนแบบ polycarbonate ที่โปร่งใสสามารถเห็นจำนวนกระสุนได้ความจุ 20นัด หรือ 30นัด
ทำการยิงได้แบบกึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ (ขณะที่ปืนเล็กยาว INSAS ทำการยิงได้แบบกึ่งอัตโนมัติ และยิงชุดสามนัด) มีพานท้ายแบบพับได้ ขาทราย และมีราง Picatinny สำหรับติดตั้งกล้องเล็ง หรืออุปกรณ์เสริม
แม้จะเคยถูกปฏิเสธจากกองทัพบกอินเดียในปี 2010 เนื่องจากเหตุผลว่าปืนไม่มีความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติการ แต่ปืนเล็กยาว Excalibur นี้จะถูกนำมาทดแทนปืนเล็กยาวตระกูล INSAS เองในอนาคต
ตามนโยบาย Made in India ของรัฐบาลอินเดียที่จะให้กองทัพอินเดียพึ่งพาอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของตนด้วยตนเองให้มากที่สุด
ซึ่งทางผู้บัญชาการกองทัพบกอินเดีย พลเอก Dalbir Singh ได้ออกมาสนับสนุนโครงการปืนเล็กยาว Excalibur อย่างเต็มที่ รวมถึง พลโท Sanjay Kulkarni จาก Director General Infantry (DGI)
ที่คาดหวังว่าการทดสอบตัวปืนด้วยยิงเมื่อแช่น้ำแช่โคลน ความเหมาะสมด้านสรีรศาสตร์ และความเป็นมิตรกับผู้ใช้ จะมีผลรายงานออกมาชัดเจนตามมาตรฐานเอกสารการขอข้อมูล(RFI)ที่สองนายพลมีการตรวจสอบร่วมกันเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา
ทาง OFB ตั้งเป้าว่าถ้าผ่านการทดสอบและจะสามารถเปิดสายการผลิตปืนเล็กยาว Excalibur ที่ดัดแปลงจากสายการผลิตปืนเล็กยาว INSAS เดิมได้ในปี 2016

อย่างไรก็ตามกองทัพบกอินเดียยังมีความต้องการจัดหาปืนเล็กสั้นสำหรับการรบระยะประชิด(CQB:Close Quarter Battle) จำนวน 44,618กระบอก ซึ่งตั้งโครงการขึ้นมาในปี 2010
โดยแบบปืนที่เข้าแข่งขันในปี 2013 มีเช่น Beretta ARX 160, IWI Galil ACE carbine และ Colt M4
เพราะนับตั้งแต่ปลดประจำการปืนกลมือ Stirling 1A1 ขนาด 9mm ที่ได้สิทธิบัตรในการผลิตเองในอินเดียตั้งแต่ปี 2010 กองทัพบกอินเดียก็ยังไม่มีปืนใหม่มาแทนในส่วนนี้ครับ

ST Kinetics สิงคโปร์เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง Terrex 2 รุ่นใหม่

ST Kinetics unveils next-generation Terrex 2 amphibious armoured vehicle

The 30-tonne Terrex 2 is an indigenously developed 8x8 armoured vehicle developed for the domestic and international markets.
It incorporates a range of new technologies designed for improved amphibious performance as well as protection and situational awareness. Source: ST Kinetics

The Terrex 2 incorporates the best features of the current Terrex infantry carrier vehicle and the prototype vehicle that was developed to participate in the US Marine Corps' ongoing Amphibious Combat Vehicle programme.
The vehicle is seen here undergoing mobility trials at its test facility in Singapore, with its raised snorkel and specially designed radiator system on the forward section of the roof. (ST Kinetics)

The driver's console features increased digitisation, with two touch screen consoles facilitating speedy access to information and settings on the vehicle's health, driving configuration, and other critical functions.
Instead of physical gauges located out of the driver's immediate visibility, dashboard information is overlaid on the LCD display immediately underneath the viewports to improve usability and driving safety. (ST Kinetics)

http://www.janes.com/article/54107/st-kinetics-unveils-next-generation-terrex-2-amphibious-armoured-vehicle

Singapore Technologies (ST) Kinetics ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาและผลิตระบบยุทโธปกรณ์ภาคพื้นดินในเครือ ST Engineering ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทอุตสากรรมด้านความมั่นคงที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสิงคโปร์
ได้ทำการเปิดตัวรถหุ้มเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยาง 8x8 แบนใหม่ล่าสุดคือ Terrex 2 ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากรถเกราะล้อยางลำเลียงพล Terrex ICV(Infantry Carrier Vehicle) ที่มีประจำการในกองทัพสิงคโปร์
โดย ST Kinetics ยังมีความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับ Science Applications International Corporation (SAIC) ซึ่งมีที่ตั้งที่มลรัฐ Virginia สหรัฐฯ ในการเสนอรถเกราะล้อยาง Terrex 2 ให้นาวิกโยธินสหรัฐฯ
เข้าแข่งขันโครงการจัดหารถรบสะเทินน้ำสะเทินบก ACV 1.1(Amphibious Combat Vehicle Phase 1 Increment 1) ซึ่งมาแทนที่โครงการ EFV(Expeditionary Fighting Vehicle) ที่ยกเลิกไปในปี 2011

หัวหน้าฝ่ายการตลาด ST Kinetics นาย Winston Toh ได้กล่าวกับ Jane's ว่า รถเกราะ Terrex 2 เป็นการแสดงความตั้งใจของบริษัทที่นำเสนอต่อนานาชาติ
โดยรถได้ออกแบบใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เน้นการเพิ่มความอยู่รอดของกำลังพลภายในรถ เพิ่มขัดความสามารถในการบรรทุก รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนในน้ำในระดับที่สูงขึ้น
"การออกแบบล่าสุดของเราเป็นสุดยอดการออกแบบยานยนต์แห่งทศวรรษที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาระบบยานยนต์ที่ได้การป้องกันเช่นเดียวกับ รถรบทหารราบสายพาน Bionix และรถเกราะลำเลียงพลล้อยาง Terrex
ผลลัพธ์ที่ได้จากประสบการณ์ทำให้เราเข้าใจว่า เราไม่ออกแบบแค่เพียงระบบเดียว แต่เป็นระบบหนึ่งที่สามารถปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของระบบใหญ่ เป็นกองกำลังเครือข่าย"

ตามข้อมูลคุณสมบัติของรถที่ Jane's ได้รับจาก ST Kinetics รถเกราะล้อยาง Terrex 2 มีน้ำหนัก 30tons ซึ่งใหญ่กว่ารถเกราะล้อยาง Terrex รุ่นแรกที่มีน้ำหนัก 24tons จึงเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกกำลังพล อาวุธ และเกราะได้มากขึ้น
Terrex 2 มีกำลังพลประจำรถ 2นายคือ ผู้บังคับการรถ และพลขับ สามารถบรรทุกทหารราบพร้อมอุปกรณ์เต็มอัตราได้ 12นาย ในที่นั่งแบบป้องกันสะเก็ดระเบิด
รวมถึงสามารถติดตั้งกล่องบรรจุสัมภาระแบบเข้าถึงเร็วกับตัวรถสำหรับบรรทุกสิ่งอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงด้วย
การออกแบบตัวถังของรถเกราะ Terrex 2 เป็นแบบ V-over-V (VoV) ประกอบไปด้วยตัวถังทรงตัว V สองชั้นในช่วงล่างในส่วนระบบขับเคลื่อและระบบกันสะเทือน และช่วงบนในส่วนพลประจำรถและกำลังพล
ทำให้รถเกราะ Terrex 2 เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันตนเองจากแรงระเบิดของกับระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่องได้ดีขึ้น และลดอันตรายที่จะเกิดกับกำลังพลในรถได้มากขึ้น
รถเกราะ Terrex 2 ยังได้มีการปรับปรุงอุทกพลศาสตร์ของตัวรถซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของโครงการในการเคลื่อนที่แบบสะเทินน้ำ ทั้งท่อ snorkel ระบบขับเคลื่อนขณะอยู่ในน้ำ
ซึ่งทำให้รถเกราะ Terrex 2 สามารถทำความเร็วขณะเคลื่อนที่ในน้ำได้ 6knots และทนต่อระดับคลื่นลมในทะเลได้ที่ระดับ Sea State 4 ในการทดสอบในทะเลจริง
รถเกราะ Terrex 2 มีความยาวตัวรถ 8.5m กว้าง 3-4m สำหรับรูปแบบรถสะเทินน้ำสะเทินบกมาตรฐาน มีความสูงต่ำกว่า 3m และมีความสูงจากพื้นรถถึงผิวถนนที่ 400mm
ระบบเครื่องยนต์ของรถเกราะ Terrex 2 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar C9 turbocharged 6ลูกสูบ กำลัง 600hp(447kw) ร่วมกับระบบส่งกำลังอัตโนมัติอัตราส่วนกว้าง Allison 4500SP แบบ 6ระดับความเร็ว
รถเกราะ Terrex 2 สามารถเร่งความเร็วจาก 0 ไปที่ 50km/h ได้ในเวลาน้อยกว่า 15วินาที และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 90km/h
ด้านการบังคับรถและการหยั่งรู้สถานการณ์ของสถานีพลขับ รถเกราะ Terrex 2 ได้ติดตั้งกล้องกลางวัน low-lux และกล้องสร้างภาพความร้อน(IT: Thermal Imaging) 11ตัวรอบตัวรถ
อย่างไรก็ตามทาง ST Kinetics กำลังพัฒนากล้องแบบ hybrid imager ที่เรียกว่ากล้อง TI fusion ซึ่งเป็นการผสมทั้งกล้องกลางวันและกล้องสร้างภาพความร้อนในกล้องเดียว ซึ่งระบบสร้างภาพความร้อนจะแสดงเป็นภาพสีเช่นเดียวกับกล้องกลางวันได้
ส่วนของระบบอาวุธรถเกราะ Terrex 2 มีพื้นที่ส่วนหลังคารถสำหรับติดต้องระบบป้อมปืน Remote (Remote Weapon Station) สำหรับปืนกลหนัก 12.7mm หรือปืนกลร่วมแกน 7.62mm หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm แบบแตกอากาศ
รวมถึงสามารถติดตั้งป้อมปืนสำหรับปืนใหญ่กลขนาด 30mm ได้ ทาง Jane's เข้าใจว่าสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนั้นสามารถเลือกติดตั้งได้ตามความต้องการของลูกค้าด้วย

"Terrex 2 จะไม่ได้มาแทนทียานยนต์ที่มีสายการผลิตในปัจจุบัน แต่จะเป็นเติมเต็มผลงานด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของเรา ดังนั้นขณะนี้เราจึงสามารถเสนอระบบที่มีต่อความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้าได้กว้างขวางมากขึ้น" นาย Toh กล่าว
นอกจากโครงการ ACV 1.1 ของนาวิกโยธินสหรัฐฯแล้ว Jane's ยังเข้าใจว่า ST Kinetics ยังได้ร่วมมือกับ Elbit Systems สาขา Australia เสนอต่อกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียในโครงการ Land 400 ระยะที่2(Project Land 400 Phase 2)
ซึ่งเป็นโครงการจัดหาจัดหายานยนต์ลาดตระเวนใหม่จากโรงงาน 225คัน ทดแทนยานเกราะเบา ASLAV และรถสายพานลำเลียง M113AS4 ในปี 2020-2024 ด้วย
ขณะที่ทางบริษัทได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นโดยตรงเกี่ยวกับความต้องการโครงการจัดหาของกองทัพออสเตรเลียเนื่องจากข้อกำหนดในสัญญา แต่เชื่อว่ารถรบลาดตระเวนที่ Elbit Systems และ ST Kinetics เสนอจะมีพื้นฐานจากรถเกราะ Terrex 2

ทั้งนี้รถเกราะ Terrex 2 จะมีการเปิดตัวต่อสาธารณะชนอย่างเป็นทางการในงานแสดง Defence and Security Equipment International ที่ London สหราชอาณาจักร ช่วงวันที่ 15-18 กันยายน
และถัดไปที่งานแสดง Modern Day Marine ที่ฐานทัพของนาวิกโยธินใน Quantico สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

เยอรมนีจะปลดประจำการปืนเล็กยาว HK G36 ในปี 2019

German army to phase out G36 rifle from 2019
Soldiers with the G36. Photo: DPA
http://www.thelocal.de/20150908/army-rifle-to-be-scrapped-due-to-accuracy-problems

รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen ได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาว่ารัฐบาลมีแผนจะปลดประจำการปืนเล็กยาวจู่โจม HK G36 ออกจากกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr)

นาง von der Leyen ได้เริ่มประกาศมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วว่า ปืนเล็กยาว G36 ที่ออกแบบและผลิตโดย Heckler and Koch นั้นไม่มีอนาคตในกองทัพเยอรมนีอีกต่อไป
เนื่องจากพบปัญหาการสูญเสียความแม่นยำเนื่องจากลำกล้องปืนที่ร้อนจัดขณะทำการยิงต่อเนื่อง จากรายงานการใช้งานของทหารที่ประจำการในแนวหน้า
แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าปืนเล็กยาว G36 จำนวน 167,000กระบอก ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายมาตรฐานของกองทัพเยอรมนีในปัจจุบันนั้น จะถูกปลดทิ้งหรือได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม
"หลังจากใช้งานมาเกือบ 20ปีของ G36 เราต้องการปืนเล็กยาวใหม่สำหรับกองทัพ ปืนแบบใหม่นี้ควรจะต้องผ่านคุณสมบัติความต้องการของอาวุธสมัยใหม่และพัฒนาขึ้นกว่า G36 โดยจะมีการเปิดขั้นตอนกระบวนการสัญญาจัดหาอย่างโปร่งใส"
นาง von der Leyen กล่าวถึงการตัดสินใจนี้

อย่างไรก็ตามทางโฆษกของกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้กล่าวต่อสื่อว่ากองทัพเยอรมนีจะยังคงใช้ปืนเล็กยาว G36 ต่อไปจนถึงหลังปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่คาดว่าจะได้รับมอบปืนเล็กยาวแบบใหม่ชุดแรก
"มันไม่ใช่การพูดถึงกรณีปืน 167,000กระบอก จะถูกแทนที่ปืนใหม่ 167,000กระบอก ภายในวันเดียวถึงเวลาถัดไปข้างหน้า จนกระทั่งก่อนปี 2019 เมื่อ G36 ถูกระงับเราจะทดแทนมันด้วย G36 หลังจากปี 2019 เราจึงจะทดแทนมันด้วยปืนใหม่"
โฆษกของกระทรวงกลาโหมเยอรมนีกล่าว แต่เขาก็ย้ำว่าหลังจากจุดนี้ทหารในกองทัพเยอรมนีบางส่วนก็ยังยังใช้ปืนเก่าอยู่
"ในปี 2020 ทหารจะยังคงใช้ G36 อยู่" ทั้งนี้โฆษกของกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าจะทำอย่างไรต่อกับปืนเล็กยาวจู่โจมเก่าที่คงคลังอยู่เมื่อถึงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นการขายต่อหรือทำลายทิ้ง
"ผมมองอนาคตในลูกแก้วไม่ได้ แต่ผมสามารถบอกได้ว่าจากประสบการณ์นั้น ผมไม่คิดมากที่จะทำงานตามคำสั่งจนถึงจุดนี้"

สื่อเยอรมนีได้รายงานปัญหาเกี่ยวกับปืนเล็กยาวจู่โจม HK G36 ที่มีปัญหาความแม่นยำลดลงขณะทำการยิงต่อเนื่องจนลำกล้องร้อนจัดจากทหารที่ปฏิบัติการจริง จนต้องมีการทดสอบโดยหน่วยงานรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมานี้
โดยทาง Heckler and Koch ได้ร้องขอทางหน่วยต่อต้านข่าวกรองเยอรมนี (MAD: Militaerischer Abschirmdienst) ป้องกันไม่ให้มีรายงานการทดสอบออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมเยอรมนี
และก่อนหน้านี้ไม่นานเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมเยอรมนีก็ได้ประกาศจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจม G27P(HK417) 600กระบอก และปืนกล HK MG4 600กระบอกเพื่อขั้นระยะให้ทหารในแนวหน้าตามที่เคยรายงานไปครับ

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Roketsan ตุรกีลงนามสัญญาขายจรวดนำวิถีและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังให้โปแลนด์

Turk Missile-Maker To Sell Rockets, Anti-Tank Missiles To Poland
A helicopter with the aerobatic demonstration team of the Turkish Air Force and the national aerobatics team of Turkey performs on Aug. 30 during a ceremony marking the 93rd anniversary of Victory Day in Ankara.
(Photo: Murat Cetin Muhurdar/AFP)
http://www.defensenews.com/story/defense/policy-budget/industry/2015/09/07/turk-missile-maker-to-sell-rockets-anti-tank-missiles-to-poland/71846450/

Roketsan ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่พัฒนาและผลิตระบบจรวดและอาวุธปล่อยนำวิถีของตุรกี ได้ลงนามสัญญาร่วมกับบริษัท WZL1 ของโปแลนด์
ในการจัดหาระบบอาวุธสองระบบให้กองทัพโปแลนด์คือ จรวดนำวิถี Cirit และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง UMTAS

ก่อนหน้านี้ในปี 2014 Roketsan ได้ชนะสัญญาจัดหาวงเงิน $196.2 million จากสหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ ในการจัดหาจรวดนำวิถีแบบ Cirit
โดย Cirit เป็นระบบจรวดนำวิถี Laser แบบประหยัดค่าใช้จ่ายที่เป็นการนำชุดระบบนำวิถีติดตั้งกับจรวดอากาศสู่พื้นขนาด 70mm (2.75") ไม่นำวิถีตามแบบธรรมดา มีระยะยิงไกล 8km สำหรับต่อต้านเป้าหมายเกราะเบา
ซึ่ง Cirit สามารถทำการติดตั้งกับกระเปาะจรวด 70mm มาตรฐานสำหรับอากาศยานโจมตีได้หลายแบบ เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1P Cobra, AH-1W Super Cobra และ T-129 ของตุรกี
ทั้งนี้จรวดนำวิถี Cirit ยังได้ถูกเลือกโดย Airbus Helicopters ในการทดสอบติดตั้งบูรณาการระบบเข้ากับ ฮ.ลำเลียงเบาติดอาวุธแบบ H135M หรือเดิมคือ EC635 ซึ่งเป็นรุ่นใช้งานทางทหารของ ฮ.ลำเลียงเบาเอนกประสงค์ H135(EC135 เดิม)

ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ UMTAS หรือปัจจุบันได้รับการตั้งชื่อเป็น Mizrak-U นั้น ใช้ระบบนำวิถีด้วยระบบสร้างภาพ Infrared และ Laser มีทั้งรุ่นอากาศสู่พื้นและพื้นสู่พื้น ระยะยิง 8km สำหรับเป้าหมายหุ้มเกราะหนัก
Mizrak-U ได้ถูกพัฒนาและทดสอบมาต่อเนื่องหลายปี โดยถูกเลือกเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังมาตรฐานของ ฮ.โจมตี T-129 รวมถึงจะมีการทดสอบและพัฒนารุ่นสำหรับยิงจากอากาศยานไร้คนขับ ยานเกราะภาคพื้นดิน และเรือผิวน้ำอีกด้วย
ทั้งนี้ Roketsan ยังมีโครงการคู่ขนาดในการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังพิสัยกลาง Mizrak-O สำหรับทหารราบซึ่งมีระยะยิง 4km
โดย Roketsan กำลังรอการอนุมัติจากรัฐบาลตุรกีเพื่อให้ระบบอาวุธที่พัฒนาเข้าสู่การขั้นตอนการเปิดสายการผลิตครับ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

โปแลนด์อาจจะตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำร่วมกับชาติสมาชิก NATO

ORP Orzel Project 877E Kilo Polish Navy in 2010 (wikipedia.org)

Poland may buy submarines with other NATO members: minister
http://www.reuters.com/article/2015/09/06/us-poland-nato-submarine-idUSKCN0R60GH20150906

รองรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ Czeslaw Mroczek กล่าวว่า โปแลนด์อาจจะร่วมมือกับชาติสมาชิก NATO ประเทศอื่นๆ เช่น นอร์เวย์ หรือ เนเธอร์แลนด์ ในการตั้งโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำร่วมกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมโปแลนด์มีแผนจัดเรือดำน้ำใหม่ 3ลำซึ่งจะเข้าประจำการในปี 2020-2025 วงเงิน 7.5 billion Zloty($2 billion) ทดแทนเรือดำน้ำชั้น Kobben มือสองจากนอร์เวย์ 4ลำที่จะปลดในปี 2016 และเรือดำน้ำชั้น Kilo 1ลำที่จะปลดในปี 2022
โดยจะเปิดการแข่งขันแบบเรือที่เสนอภายในปีนี้ซึ่งถูกเลื่อนออกไปเมื่อโปแลนด์ตัดสินใจเปลี่ยนคุณสมบัติสัญญาที่จะให้เรือดำน้ำใหม่ติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีได้(มีข้อมูลว่าโปแลนด์สนใจอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอย่าง Tomahawk สหรัฐฯ หรือ MdCN ฝรั่งเศส)

"เรากำลังพิจารณาการได้มาซึ่งเรือดำน้ำอย่างการเข้าโครงการร่วมกันกับนอร์เวย์หรือเนเธอร์แแลนด์
จากมุมมองของกระบวนการที่เราทำอยู่ ไม่ว่าจะการดำเนินการแบบหนึ่งหรือสอง จะขึ้นอยู่กับว่าถ้าเราเลือกจัดซื้อเรือดำน้ำเพียงลำพังหรือเป็นโครงการร่วมกับสมาชิก NATO สองชาติหรือมากกว่า"
นาย Mroczek กล่าวกับสำนักข่าว PAP เขายังได้ยังได้กล่าวอีกว่าการกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นของเรือดำน้ำนั้นเสร็จสิ้นแล้ว โดยมุ่งไปที่การหาหุ้นส่วนร่วมกับสมาชิก NATO เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ตามข้อมูลของ PAP บริษัทที่คาดว่าจะสนใจส่งแบบเรือดำน้ำเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเรือดำน้ำของโปแลนด์ก็มีเช่น DCNS ฝรั่งเศส, Saab Kockums สวีเดน และ ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนี
อย่างไรก็ตามทางรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นใดๆในขณะนี้

ตามความเห็นของรองรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ในข้างต้น โฆษกกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ นาง Lisa Hartog ได้กล่าวว่า
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์กำลังเจรจากับหลายประเทศถึงความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ทางทะเลต่อการที่จะจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทนเรือดำน้ำชั้น Walrus ที่จะปลดประจำการในอนาคตไม่กี่ปีข้างหน้า
"สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในแง่รูปธรรมจะมีการตัดสินใจภายในสิ้นปีนี้" นาง Hartog กล่าวต่อ reuters
ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ นาง Marita Wangberg ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า อาจจะมีความเป็นไปได้ที่โปแลนด์จะเป็นหุ้นส่วนในการจัดหาเรือดำน้ำ
"การจัดหาในอนาคตยังไม่ได้ตัดสินใจในขณะนี้ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอน ความร่วมมือกับประเทศอื่นๆกำลังจะถูกประเมิน เช่นในกรณีของโปแลนด์ที่เป็นผู้เสนอตัวที่เกี่ยวข้อง" นาง Wangberg กล่าว

ปัจจุบันโปแลนด์กำลังดำเนินการปรับปรุงกองทัพของตนให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัสเซียผนวกรวม Crimea และการที่รัสเซียเข้าแทรกแซงสงครามในแคว้น Donbass ตั้งแต่ปี 2014
ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างกองทัพรัสเซีย และกองกำลังชาติสมาชิก NATO ในเขตยุโรปตะวันออกทวีความตึงเครียดมากขึ้น
เมื่อต้นปีที่ผ่านมาโปแลนด์ก็เพิ่มประกาศแผนที่จะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Patriot จากบริษัท Raytheon สหรัฐฯ และจัดหาเฮลิคอปเตอร์จาก Airbus Helicopters เป็นวงเงินกว่า $8 billion ครับ

สโลวาเกีย-โปแลนด์เปิดตัวระบบต้นแบบปืนใหญ่อัตตาจร Diana

MSPO 2015: Slovak-Polish Diana SPH debuts in Kielce
Konstrukta Defence completed its prototype Diana SPH a week before MSPO. Source: Remigiusz Wilk
http://www.janes.com/article/54002/mspo-2015-slovak-polish-diana-sph-debuts-in-kielce

บริษัท Konstrukta Defence สโลวาเกียได้เปิดตัวระบบต้นแบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Diana ในงานแสดงอาวุธ MSPO 2015 ที่เมือง Kielce โปแลนด์ ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายนที่ผ่านมา
โดยระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Diana นั้นเป็นหนึ่งในข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสโลวาเกียและโปแลนด์
เช่นเดียวกับรถเกราะล้อยาง Scipio ชุดแรก 31คัน ของสโลวาเกีย ซึ่งมีพื้นฐานจากรถเกราะล้อยาง Rosomak ของโปแลนด์

ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Diana ใช้ป้อมปืนใหญ่ขนาด 155mm/L55 ของสโลวาเกีย ติดตั้งบนระบบแคร่รถสายพานแบบ UPG-NG ของ Bumar-Labedy โปแลนด์
"ระบบปืนใหญ่ Diana ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาของกองทัพบกอินเดีย แต่ตอนนี้เรามีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกสามรายที่สนใจระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน
เราได้พัฒนาระบบป้อมปืนใหญ่สำหรับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง 8x8 แบบ Zuzana2 ก่อนและมีการรับรอบระบบหลังการทดสอบในปี 2014 แต่ลูกค้าต้องการระบบแร่ฐานรถสายพาน
เหตุผลหลักที่เราเลือกระบบแคร่รถของโปแลนด์ซึ่งออกแบบโดย OBRUM มาจากเรื่องการส่งกำลังบำรุง เพราะสามารถใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ส่วนใหญ่กับรถถังหลัก T-72 ซึ่งมีใช้งานในกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก"
Roman Usiak ผู้จัดการทั่วไปของ Konstrukta Defence กล่าว

ระบบต้นแบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Dianaที่เพิ่งเสร็จสิ้นก่อนงาน MSPO 2015 หนึ่งสัปดาห์นั้น ทาง Jane's เข้าใจว่าการติดตั้งป้อมปืนใหญ่เข้ากับฐานรถเป็นอย่างรวดเร็วเรียบร้อยโดยไม่มีปัญหา
เดิมทีระบบแคร่ฐานรถสายพาน UPG-NG ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab แต่ทางโปแลนด์ได้เลือกจัดหาระบบแคร่ฐานรถสายพาน K9 จากเกาหลีใต้มาใช้แทน
ซึ่งระบบแคร่รถสายพาน UPG-NG ที่ใช้กับระบบป้อมปืนใหญ่ Diana นั้นได้รับการปรับปรุงปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม แต่ยังคงใช้เครื่องยนต์ S-12U ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องยนต์ที่ใช้กับ ถ.หลัก T-72 อยู่ครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

ZMT โปแลนด์เปิดตัวปืนกลเอนกประสงค์ UKM-2000P รุ่นปรับปรุงใหม่

MSPO 2015: ZMT unveils modernised UKM-2000P machine gun
The modernised UKM-2000P general-purpose machine gun for the PAF. Source: Remigiusz Wilk
http://www.janes.com/article/54019/mspo-2015-zmt-unveils-modernised-ukm-2000p-machine-gun

งานแสดงอาวุธ MSPO 2015 ที่จัดขึ้นที่เมือง Kielce โปแลนด์ ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายนที่ผ่านมานั้น
Zaklady Mechaniczne Tarnow (ZMT) โปแลนด์ ได้เปิดตัวปืนกลเอนกประสงค์ UKM-2000P ขนาด 7.62x51mm NATO รุ่นปรับปรุงใหม่สำหรับกองทัพโปแลนด์
โดยปืนกล UKM-2000P รุ่นใหม่นี้ได้ถูกปรับให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้นและมีลักษณะเหมาะสมทางสรีรศาสตร์มากขึ้น

ตามมาตรฐานกองทัพโปแลนด์ปืนกลเอนกประสงค์ UKM-2000P จะถูกใช้เป็นอาวุธยิงสนับสนุนมาตรฐานประจำหมู่ทหารราบ(สามกระบอกต่อหนึ่งหมวดปืนเล็ก)
ทดแทนปืนกล PKM ของรัสเซียซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62x54R mm ซึ่งโปแลนด์ได้รับสิทธิบัตรในการผลิตตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
จนถึงปี 2000 จึงได้มีการพัฒนาปืนกล UKM-2000P ขึ้นมาโดยมีพื้นฐานจาก PKM โดยใช้กระสุน 7.62x51mm NATO ป้อนด้วยสายกระสุนแบบ M13
มีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน STANAG 2310 สามารถทำการยิงได้ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง -50 องศาเซลเซียส ถึง +55 องศาเซลเซียส
ทั้งนี้ปืนกล UKM-2000P รุ่นปรับปรุงล่าสุดมีการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่จากปืนกล PKM ดั้งเดิม 26ชิ้น มีร้อยละ69 ที่เป็นชิ้นส่วนใหม่
ชิ้นส่วนร้อยละ14 มาจาก UKM-2000P รุ่นเดิมที่ยังไม่ได้ปรับปรุง และชิ้นส่วนอีกร้อยละ17 สามารถสับเปลี่ยนใช้ร่วมกับปืนกล PKM ได้
ปืนกล UKM-2000P รุ่นปรับปรุงใหม่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าปืนกล UKM-2000P รุ่นดั้งเดิม(จากการทดสอบการยิงกระสุน 37,000นัด และ 53,000นัด)
สามารถยิงกระสุนกระสุน 7.62x51mm ได้ทั้งมาตรฐาน NATO และแบบที่ไม่ใช่มาตรฐาน สามารถใช้สายกระสุนได้ทุกชนิดรวมถึงสายกระสุนแบบ DM60 ของเยอรมัน
กล่องกระสุนแบบโลหะเดิมถูกเปลี่ยนเป็นกล่องกระสุนแบบผ้านิ่มความจุ 100นัด หรือ 150นัด ใช้พานท้ายแบบพับยืดหดได้แบบใหม่ซึ่งเหมาะกับทหารราบและพลร่ม
รวมถึงด้ามจับมือ ด้ามจับด้านหน้า และสายสะพายปืนที่มีความเหมาะสมด้านสรีรศาสตร์ต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

โปแลนด์ได้ใช้งบประมาณในจัดหาปืนกลเอนกประสงค์ UMP-2000P รุ่นปรับปรุงใหม่เป็นวงเงิน 24.76 million Polish zloty ($6.53 million) สำหรับปืนจำนวน 378กระบอก
(ส่งมอบ 30กระบอก ปี 2015, 138กระบอก ปี 2016, 106กระบอกปี 2017 และ 104กระบอกปี 2018)
ซึ่งกองทัพโปแลนด์เพิ่งได้รับมอบปืนต้นแบบสองกระบอกในเดือนมิถุนยายน และนำปืนชุดแรกเข้าประจำการเมื่อ 28 สิงหาคม หลังเสร็จสิ้นการการทดสอบ ใช้งบประมาณในโครงการปรับปรุงรวม 2.5 million Polish zloty($661,122.5) ครับ

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

AKOMA WARFARE ตอนอวสาน(Lunatic Akoma's Side Story Parody Crossover Akoma x สารวัตรนักเรียนเดนนรก)


ตั้งแต่เขียน Comic มาสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เคยหัดลองเลยคือ การวาดโดยลอกแบบจากเรื่องอื่นแบบช่องต่อช่อง
ทีนี้พอจะหาเรื่องที่จะนำมาหัดเป็นต้นแบบ เรื่องที่ซื้อมาล่าสุดซึ่งจบบริบูรณ์แล้วทั้งปีนี้ก็มีเรื่องเดียวด้วยสิ
แต่จะมาลอกโต้งๆตรงๆเลยมันก็จะเอามาลงเผยแพร่ไม่ได้ ก็มานึกๆดูว่าจะทำอย่างไรดี?
อ้อ! มีการ์ตูนไทยอยู่เรื่องหนึ่งที่เคยอ่านใน Exteen ที่เจ้าของผลงานเคยแนะนำ Blog ของเขาในงาน TCM Meeting เมื่อหลายปีก่อนนี่
ซึ่งเรื่องที่ว่านี้มีตัวละครเอกหลักอยู่สามตัวพอดีด้วย
จึงนำมามาสู่มหกรรมแต่งเรื่องยำใหญ่สารพัด ที่ตอนแรกว่าจะเป็นการฝึกหัดเล่นๆตามปกติ แต่ไปๆมาๆวาดออกมาเป็นเรื่องเป็นราว(เพ้อเจ้อไปเรื่อย)อย่างที่เห็น
นอกจากกิจกรรม TCM Mini Workshop 5 ที่ผมจบงานเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ทราบข่าวในวงการมากครับ
เห็นว่าเจ้าของผลงานที่ผมนำตัวละครมา Crossover นี่ก็เปิดตัวผลงานนี้กับสำนักพิมพ์หนึ่งไปแล้ว จึงไม่มีโอกาสได้ติดตามอีก
และอย่างที่ทราบว่า Blog นี้งานหลักคือเผยแพร่ข่าวสารด้าน Technology การทหาร นานๆถึงจะมีภาพวาด Comic หรือนิยายมาลง
จึงน่าเชื่อว่าคุณ Tale Glory เจ้าของผลงานต้นฉบับ หรือท่านที่เกี่ยวข้อง คงยากที่จะมีโอกาสมาเจอเรื่องที่ผมวาดนี้ (ผมไม่ใช้ Facebook)
หวังว่าคงจะไม่มีปัญหาตามมาภายหลังนะ ขอให้สนุกกับการอ่านครับ (อ่านๆไปเถอะอย่าคิดมาก)