วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

อังกฤษปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ Puma หลังประจำการมา 54ปี

UK retires Puma helicopter after 54 years of service







A pair of UK-based Pumas at the type's farewell flypast out of RAF Benson. With the helicopter also operated out of Brunei and Cyprus-based RAF Akrotiri, its retirement comes after 54 years of operational service. (Crown Copyright)







สหราชอาณาจักรได้ปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง Airbus Helicopters Puma HC2 ที่ยังมีอยู่ของตนหลังประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) มาเป็นเวลา 54ปี
การบินผ่านอำลาได้ถูกจัดขึ้นสำหรับเฮลิคอปเตอร์ Puma HC2 ณ ฐานปฏิบัติการสุดท้ายสามแห่งของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ในบรูไน, ไซปรัส และสหราชอาณาจักร ก่อนการปลดประจำการจากกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2025

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรมีเฮลิคอปเตอร์ Puma จำนวน 23เครื่อง(เฮลิคอปเตอร์ Westland Puma HC1 จำนวน 24เครื่องที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี 1971 ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเป็นมาตรฐานนี้ แต่มี 1เครื่องที่ได้สูญเสียไปในปฏิบัติการที่อัฟกานิสถาน)
เฮลิคอปเตอร์ Puma จำนวนหนึ่งที่มีที่ตั้งฐาน ณ ฐานทัพอากาศ RAF Benson ในสหราชอาณาจักรได้ถูกเก็บรักษาไว้ในคลังหลายเดือนก่อนหน้าการปลดประจำการแล้ว โดย ฮ.เครื่องอื่นๆตอนนี้มีกำหนดที่จะถูกนำไปเก็บในคลังตามไป

กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรไม่ได้กล่าวว่าตนมีความตั้งใจที่จะขายเฮลิคอปเตอร์ Puma หรือจะแยกชิ้นส่วนเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้หรือไม่ ทั้งยังไม่ได้กล่าวว่าเครื่องที่วางกำลัง ณ British Forces Brunei บรูไน
และที่ฐานทัพอากาศ RAF Akrotiri ในไซปรัสจะถูกส่งคืนเพื่อไปเก็บรักษาในคลังในสหราชอาณาจักรหรือไม่ หรือเฮลิคอปเตอร์ Puma เหล่านี้จะยังคงอยู่ในที่ตั้งนั้นก่อนที่จะถูกขายหรือแยกชิ้นส่วนหรือไม่

ก่อนหน้านี้สหราชอาณาจักรได้บริจาคเฮลิคอปเตอร์ Westland Sea King แก่ยูเครน เช่นเดียวกับที่เยอรมนีได้บริจาคเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sea King Mk 41 ของตน และนอร์เวย์ที่บริจาคชิ้นส่วนอะไหล่ของ ฮ.Sea King ที่ปลดประจำการไปแล้วของตน
และโดยที่ล่าสุดโปรตุเกสได้บริจาคเฮลิคอปเตอร์ Puma ส่วนเกินของตนแก่รัฐบาลยูเครนในนครหลวง Kyiv อาจจะเป็นไปได้ว่าเฮลิคอปเตอร์ Puma ของสหราชอาณาจักรอาจจะถูกส่งมอบให้ยูเครนด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/sea-king.html)

ความพยายามต่างๆเหล่านี้จะทำให้ยูเครนมีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงในจำนวนที่เพียงพอในการสนับสนุนกำลังรบของตน ที่จะไม่มีผลกระทบหากว่าสูญเสียการสนับสนุนใดๆจากสหรัฐฯ
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางแบบอื่นๆที่ยูเครนมีใช้งานอยู่แล้วรวมถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-8/Mi-17 ยังได้ถูกบริจาคให้ก่อนหน้าโดยชาติยุโรปเช่นโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/mi-24-mi-17.html)

ตามการทบทวนยุทธศาสตร์กลาโหม(SDR: Strategic Defence Review) ที่เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2025 สหราชอาณาจักรวางแผนที่จะปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ทางทหารที่้มีอายุการใช้งานมานานที่สุดของตนเพื่อประหยัดงบประมาณกลาโหมวงเงิน 500 million British pound sterling($632.4 million) 
นอกจากเฮลิคอปเตอร์ Puma HC2 ที่ถูกปลดประจำการไปแล้ว เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing Chinook HC6A รุ่นเก่าจำนวน 14เครื่องที่ประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 1981 เป็นเวลา 35ปีจะถูกปลดประจำการลงตามมาด้วยครับ

เครื่องบินขับไล่ F-15SG RSAF 55th Anniversary กองทัพอากาศสิงคโปร์








Mini Review: Hobby Master 1/72 Air Power series Boeing F-15SG "RSAF 55th Anniversary" (HA4537)
The F-15SG (formerly F-15T) is a variant of the F-15E, ordered by the Republic of Singapore Air Force (RSAF). F-15SGs were chosen on 6 September 2005 over the Dassault Rafale. The F-15SG remains critical to continue having air superiority aircraft over neighboring countries that deploy state of the art Russian aircraft. 
The RSAF's F-15SG is an all-weather multi-role fighter designed to achieve air superiority over the battlefield. The F-15SG is the most advanced version of the Eagle with its great speed, maneuverability, electronics and weapons.
Between June and September 2023 the Republic of Singapore Air Force (RSAF) will celebrate its 55th anniversary. At the National Day Parade the RSAF will put on an enhanced aerial display showcasing their aircraft with markings honoring their humble beginnings in 1968 until present day. 
The logo for the anniversary is the number 55 with a shape of its first aircraft; a Hawker Hunter emerging from the bottom with an F-15SG in a vertical climb representing the RSAF journey through 55 years up to today and the future.

กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้เลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle จากสหรัฐเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2025 โดยมีการเปิดตัวเครื่องแรกจากสายการผลิตเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2008 เริ่มส่งมอบในปี 2009 และได้รับมอบรวม 40เครื่องในปี 2018 เข้าประจำการในฝูงบิน142(142 Squadron) และฝูงบิน149(149 Squadron) ฝูงละ 20เครื่องในฐานทัพอากาศ Paya Lebar
ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F110-GE-129C สองเครื่องกำลังขับเครื่องละ 29,000lb กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้เฉลิมฉลองเนื่องในโอกาศครบรอบ 55ปีการก่อตั้งตั้งแต่ปี 1968 โดยการสวนสนามทางอากาศในวันชาติสิงคโปร์ 9 สิงหาคม 2023 งานวันกองทัพอากาศสิงคโปร์ 1 กันยายน 2023 จนถึงงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ 2024 ที่สิงคโปร์
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้เปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-15SG หนึ่งเครื่องของตนในลวดลายแพนหางพิเศษครบรอบ 55ปีการก่อตั้งกองทัพอากาศสิงคโปร์ ทั้งนี้กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้นำเครื่องบินขับไล่ F-15SG ของตนเข้าร่วมการฝึกและงานแสดงการบินในต่างประเทศอีกหลายงาน รวมถึงการฝึกผสม Cope Tiger 2025 และงานแสดงการบินนานาชาติ RTAF88 ของกองทัพอากาศไทยในไทยล่าสุด

Hobby Master F-15SG RSAF 55th Anniversary (HA4537) เป็นแบบจำลอง Diecast ล่าสุดที่ผู้เขียนซื้อจากร้าน 1999.co.jp ซึ่งผู้เขียนสั่งซื้อมาหลายครั้งแล้วถ้าไม่มีเข้ามาในไทย แต่ครั้งนี้เพิ่งจะมีปัญหาการสั่งซื้อจากราคาจริงรวมค่าขนส่งและภาษีที่ประมาณ ฿5,400บาท ผู้เขียนโดนตัดบัตรราคาสินค้าไปอีกราว ฿4,250! เพราะร้านคำนวณราคาใหม่และการยกเลิกธุรกรรมชั่วคราวเพื่อคืนเงินมีความล่าช้า ถ้าจะสั่งคราวหลังต้องระวัง  
ซึ่งแบบจำลอง Diecast มีก่อนหน้าคือ Hobby Master F-14D VF-31 Tomcatters (HA5202) เป็นตัวแรก(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/12-f-14-tomcat.html), Hobby Master F-35A 69-8701, JASDF, March 2020 (HA4423) เป็นตัวที่สอง(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/f-35a-302.html), Hobby Master AH-64E Apache Guardian 73117, 1st Air Cavalry, US Army, 2018 (HH1215) 
ตัวที่สาม(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/ah-64e-apache-guardian-1.html), Hobby Master Eurofighter Typhoon "Bavarian Tigers" 30+29, JG 74, Neurburg Air Base, 2013 (HA6652) ตัวที่สี่(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/eurofighter-typhoon-bavarian-tigers-74.html) และHobby Master AV-8B Harrier II Plus 1-19, Marina Militare, North Arabian Sea, 2002 "Operation Eduring Freedom" (HA2627) ตัวที่ห้า(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/av-8b-harrier-ii-plus.html)

ตัวแบบจำลองทำจากโลหะแข็งแรงมาก บรรรจุภัณฑ์ที่จัดเก็บนำตัวแบบจำลองยกยากเล็กน้อยเพราะมีการติดเทปกาวใสแปะในหลายจุด คู่มือและชิ้นส่วน parts ต่างๆครบ แต่ไม่มีคู่มือแนะนำการประกอบมาให้ ซึ่งทาง website www.hobbymaster.com.hk มีคู่มือการประกอบให้เข้าไปดูได้ อย่างไรก็ข้อบกพร่องสำคัญยังคงมีอยู่หลายจุด ตั้งแต่ขาตั้งแสดงฐาน plastic ที่ดูไม่ค่อยแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักตัวแบบจำลองได้
ห้องนักบินขาดรายละเอียดและไม่ตรงกับรุ่นจริง ยังดีที่ให้หุ่นนักบินมาครบสองนาย ช่องรับอากาศเข้า Intake ที่เลือกได้สองแบบกางขึ้นหรือหักลงที่ติดตั้งค่อนข้างยากและไม่แนบสนิทตัวแบบจำลองหลักในบางส่วน  ชุดอาวุธและอุปกรณ์ที่ให้จะมีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM 2นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder สองนัดบนถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกสองใบติดใต้ปีกคู่สองข้าง,
กระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 SNIPER กระเปาะนำร่องสร้างภาพความร้อน และชุดระบบตรวจจับ Tiger Eyes, ถังเชื้อเพลิงสำรองกลางลำตัว, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-31 ขนาด 2,000lbs กลางลำตัว และระเบิดนำวิถี laser GBU-12 ขนาด 500lbs ซึ่งให้มาหกชุด 8นัดกับตำบลอาวุธบนถังเชื้่อเพลิงแนบลำตัว CFT แต่มีนัดหนึ่งที่ติดไม่ได้แม้ว่าจะพยายามยัดและตัวระเบิดก็หลุดจากรางอาวุธง่าย รวมถึงมีจุดคราบกาวด้วยครับ

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๘-๓




The Royal Thai Air Force announced its preparation to procure one of Airbus A330 MRTT to replaced its ageing Airbus A340-500 (pictured) for fulfill its requirements of air-to-air refuelling (AAR), non-combatant evacuation operation (NEO), medical evacuation (MEDEVAC), cargo and very important person (VIP) transport roles. (Airbus)

งานแสดงการบินนานาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๘ปีกองทัพอากาศไทย ระหว่างวันที่ ๗-๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๖ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ประเทศไทย มีการจัดแสดงการบินภาคอากาศ การจัดแสดงอากาศยานภาคพื้นดิน รวมถึงงานนิทรรศการอุตสาหกรรมการบินและการป้องกันประเทศที่มีหน่วยงานรัฐและบริษัทต่างๆของไทยและต่างประเทศมาจัดแสดงได้เปิดเผยข้อมูลใหม่หลายอย่าง
เรื่องนี้ที่ผู้เขียนได้ยินตอนที่ชมส่วนจัดแสดงของบริษัท Airbus ยุโรปซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบริษัท Safran ฝรั่งเศสผู้ผลิตเครื่องยนต์และอุปกรณ์อากาศยาน ซึ่งตอนนั้นกำลังมีคณะนายทหารผู้ใหญ่มาเยี่ยมชมและรับการนำเสนอข้อมูลจากตัวแทนบริษัทพอดีว่า กองทัพอากาศไทยกำลังเตรียมจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT ซึ่งใช้ในภารกิจรับ-ส่งบุคคลสำคัญ VIP ได้
โดยข้อมูลเพิ่มเติมได้ถูกรายงานตามมาโดยสื่อไทยที่ได้ร่วมคณะผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ที่เยี่ยมชมเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและลำเลียง Airbus A330-200 MRTT ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ที้่มาจัดแสดงในงานว่าจะจัดหาภายใต้โครงการทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๙ บ.ล.๑๙ Airbus 340-500 ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ของสำนักนายกรัฐมนตรีไทย

การจัดหา Airbus A330 MRTT จำนวน ๑เครื่องวงเงิน ๑๒,๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($359,390,994) ที่คาดว่าจะมีการลงนามสัญญาในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๘ และส่งมอบในราวปี พ.ศ.๒๕๗๑-พ.ศ.๒๕๗๒(2028-2029) นอกจากจะเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบแรกของกองทัพอากาศไทยแล้ว ยังจะเป็นครั้งแรกที่มีการจัดหาเครื่องบินลำเลียง VIP ที่ทำภารกิจได้หลายๆอย่างอย่างคุ้มค่าด้วย
ตามที่เห็นได้จากหลายที่ผ่านมาที่เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๑๙ Airbus 340-500 ถูกใช้ในภารกิจอพยพคนไทยจากต่างประเทศในภัยพิบัติ สงคราม และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนาชาติต่างๆมาหลายครั้ง การมีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศในการขยายพิสัยการบินและระยะเวลาการปฏิบัติการ(time on station) แก่เครื่องบินขับไล่ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่กองทัพอากาศไทยมองจะมีมานาน
ถ้าเทียบกับคู่แข่งเช่นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-46A Pegasus สหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้มีลูกค้าส่งออกเพียงสองรายคือญี่ปุ่นและอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/ch-53k-kc-46a.html) อีกทั้งยังมีความล่าช้าในการผลิตส่งมอบให้กองทัพอากาศสหรัฐฯทดแทนเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135 ที่ใช้มานาน ทำให้ Airbus A330 MRTT มีข้อได้เปรียบกว่าอย่างมาก(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/airbus-a330-mrtt-nato.html)

ด้วยความอเนกประสงค์ในการใช้งานทั้งการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่รองรับทั้งระบบ boom ที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B และระบบ Probe-and-drogue ที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก/ข/ค Gripen C/D/E/F, การอพยพผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบออกจากพื้นที่ขัดแย้ง(NEO: Non-Combatant Evacuation Operation), การส่งกลับทางสายแพทย์(MEDEVAC: Medical Evacuation),และการขนส่งสัมภาระ 
ทำให้ Airbus A330 MRTT เป็นผู้นำของเครื่องบินประเภทนี้ในปัจจุบันจากลูกค้า ๑๕ประเทศจำนวนกว่า ๘๒เครื่อง บางประเทศเช่นกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ในชื่อเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Voyager KC3 และกองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force) ในชื่อเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ CC-330 Husky ยังถูกใช้เป็นเครื่องบินรับ-ส่ง VIP ด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๕๒(2009) กองทัพอากาศไทยได้กำหนดแบบตัวย่อของ เครื่องบินเติมเชื้อเพลิง เป็น "บ.ช." เช่นเดียวกับกำหนดแบบ เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ(AEW&C: Airborne Early Warning and Control) เป็น "บ.ค." และเครื่องบินอิเล็กทรอนิกส์(Electronic warfare) เป็น "บ.อ." แสดงถึงการกำหนดแบบการเรียกประเภทอากาศยานให้ชัดเจนและศึกษาความต้องการที่มองมานานของกองทัพอากาศไทย

ตามที่เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ SAAB 340 ERIEYE AEW, เครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๗ บ.ล.๑๗ SAAB 340B และเครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่๑๗ บ.ตล.๑๗  SAAB 340 B ELINT/COMINT ในฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่มีพื้นฐานร่วมกันบนเครื่องบินโดยสาร SAAB 340 สวีเดน แต่แยกการกำหนดแบบตามภารกิจที่แตกต่างกัน
เป็นที่เข้าใจว่าตามที่พื้นฐานเครื่องบินโดยสาร Airbus A330 ที่จะเข้าประจำการในฝูงบิน๖๐๒ กองบิน๖ ทดแทน บ.ล.๑๙ Airbus A340 เฉพาะภารกิจเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ VIP น่าจะถูกกำหนดแบบเป็น "เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒๐ บ.ล.๒๐" เมื่อเพิ่มภารกิจเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT อาจจะถูกกำหนดแบบเป็น "เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงและลำเลียงแบบที่ ๒๐ บ.ชล.๒๐"
การจัดหา Airbus A330 MRT จึงเป็นการแสดงถึงแนวคิดการจัดซื้อที่ก้าวหน้าของกองทัพอากาศไทยต่อกระแสต่อต้านจากผู้ไม่หวังดีว่ากองทัพอากาศชอบซื้อแต่เครื่องบินโดยสาร VIP จนเป็น "Airline" มากกว่า "Air Force" ทั้งยังมีประโยชน์ในการฝึกเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้บ่อยครั้งขึ้นจากเดิมที่ต้องขอการสนับสนุนจากกองทัพมิตรประเทศทั้งการฝึกในไทยและต่างประเทศ และมีความอเนกประสงค์สูงคุ้มค่าอย่างยิ่งครับ



Beechcraft AT-6TH Wolverine "41102" light attack aircrafts of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai, was displayed at Wing 6 Don Muang Royal Thai Air Force (RTAF) base, Bangkok, Thailand for Royal Thai Air Force 88th Anniversary Air Show on 7-8 March 2025. (My Own Photos)  





Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces (RTARF), General Songwit Noonpakdee and Commanders-in-chief of the Royal Thai Air Force, Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul were in rear seats of flight of three AT-6TH Wolverine ("41102", "41106" and "41107") with equipped full range of weapons on border surveillance mission to followed the security situation on the Thailand-Myanmar border on 14 March 2025. (DEFENSE INFO/Sukasom Hiranphan)

Wolverine Guardian Flight 
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดบินตรวจแนวชายแดน ร่วมกับผู้บัญชาการทหารอากาศ ด้วยเครื่องบิน AT-6 TH
วันที่ 14 มีนาคม 2568 พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน (ผอ.ศอ.ปชด.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปแผนการบิน และทำการบินตรวจแนวชายแดนร่วมกับ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ด้วยเครื่องบินโจมตีเบาแบบ AT-6TH เป็นเครื่องบินโจมตีเบาที่ใช้ในภารกิจการบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด, การควบคุมอากาศยานหน้า, การลาดตระเวนรบติดอาวุธ, การโจมตีทางอากาศ, การเฝ้าระวัง การข่าวกรอง และการลาดตระเวน (ISR),
 การบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมทั้งการบินสนับสนุนในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 
กองทัพอากาศยังได้นำเครื่องบินโจมตีเบาแบบAT-6 มาแสดงการติดตั้งระบบอาวุธโจมตีแบบเต็มรูปแบบ ทั้งตำแหน่งติดตั้งอาวุธใต้ปีก 6 ตำแหน่ง ที่สามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งระเบิดมาร์ค82 ขนาด500 ปอนด์ ,กระเปาะปืนกลอากาศ และ กระเปาะจรวดขนาด2.75 นิ่ว ซึ่งระบบของAT-6ยังสามารถรองรับการใช้อาวุธที่ทันสมัย อาทิ ระเบิดนำวิวิถีด้วยเลเซอร์ และจรวดนำวิถีโจมตีภาคพื้นดิน 
ที่กองทัพอากาศกำลังทยอยจัดหาเพื่อติดตั้งใช้งานกับเครื่องบินรบแบบนี้
สำหรับเครื่องบิน AT-6TH มีจุดเด่นเรื่องการตรวจการณ์ด้วยกล้อง EO/IR แบบ MX-15D ที่สามารถส่งภาพวีดีโอ ดาวน์ลิงค์ เพื่ออัพเดทภาพสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการตามเวลาจริง ( Real time) ไปยังหน่วยงานภาคพื้น รวมทั้งมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี หรือ Tactical Data Link ที่นอกจากจะใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างอากาศยานแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานีทางภาคพื้นได้อีกด้วย 
ซึ่งในอนาคตระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีนี้ สามารถขยายขีดความสามารถออกไปให้ครอบคลุมเชื่อมโยงกับกองกำลังทางภาคพื้นได้ จึงเห็นได้ว่า ระบบ VDO Down link และ Tactical Data Link นี้ จะช่วยให้การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างอากาศยานและภาคพื้น ทั้งในการป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ในอนาคตระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีดังกล่าว จะเป็นโครงข่ายสำคัญในการปฏิบัติงานของกองทัพไทย ตามแนวคิด “oneteamทัพไทย” ที่จะช่วยสร้างความเป็นเอกภาพและความร่วมมือระหว่างเหล่าทัพ ในการดำเนินงานด้านความมั่นคงและการช่วยเหลือประชาชน ให้เป็นไปอย่างประสานสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

การที่กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ หมู่บินจำนวน ๓เครื่อง หมายเลข "41102", "41106" และ "41107" ติดอาวุธเต็มอัตราทั้งลูกระเบิดอากาศ Mk 82 ขนาด 500lbs, อาวุธกระเปาะปืนกลอากาศ HMP-400 และกระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัด บินตรวจแนวชายแดนไทย-พม่าเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘
โดยมีพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพไทย และพลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย นั่งในที่นั่งหลังของเครื่องบินด้วยนั้น เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงว่าเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ใกล้จะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นแล้ว ตามที่ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ มีกำหนดที่จะได้รับมอบครบ ๘เครื่องที่สั่งจัดหาในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ นี้
เครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH เป็นเครื่องบินโจมตีเบาเครื่องยนต์ใบพัดที่มีความสามารถในการใช้ระบบตรวจจับรวมถึงกล้องตรวจจับและชี้เป้าและติดตามเป้าหมายด้วย laser วัดระยะแบบ WESCAM MX-15D การใช้อาวุธความแม่นยำสูงต่างๆ การป้องกันตัว มีความประหยัดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการลดมลภาวะทางเสียง สามารถใช้งานทั้งในภารกิจสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน และภารกิจที่ไม่ใช้การรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ผ่านมาแม้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่าในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังผาเมือง กองทัพภาคที่๓ กองทัพบกไทย ในบริเวณจังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ จะไม่ได้ถูกติดตามจากสื่อกระแสหลัก(และสื่อปลอม Fake News ตามช่องทางสื่อสังคม online เช่นใน Youtube TikTok และ Facebook) เท่ากับการที่กองทัพสหรัฐว้า UWSA(United Wa State Army) มาตั้งฐานประชิดชายแดนไทย
แต่สถานการณ์สงครามกลางเมืองในพม่าระหว่างกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) และกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารเผด็จการพม่าทั้งกองกำลังชาวพม่าแท้และกองกำลังกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆยังคงเป็นพื้นที่แย่งชิง(contest area) ที่มีการรบอย่างต่อเนื่องและรุนแรงในพื้นที่รัฐฉาน(Shan State) รัฐกระเหรี่ยง(Kayin State) และรัฐกะยา(Kayah State) ติดชายแดนภาคเหนือของไทย
ในหลายพื้นที่กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force) ได้ใช้อากาศยานรบของตนโจมตีกองกำลังต่อต้าน ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้ตอบโต้โดยการส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลีทำการบินสกัดกั้นควบคุมน่านฟ้า ซึ่งถ้าหากสถานการณ์รุนแรงถึงขั้นมีกองกำลังต่างชาติล้ำดินแดนเข้ามาในไทย กองทัพอากาศไทยก็พร้อมจะใช้เครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ผลักดันออกไปครับ


Mockup model of Saab Gripen E was displayed at Wing 6 Don Muang Royal Thai Air Force (RTAF) base, Bangkok, Thailand for Royal Thai Air Force 88th Anniversary Air Show on 7-8 March 2025. (My Own Photos)


The Royal Thai Air Force (RTAF) Saab Gripen D 70103 of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani at RTAF88 Air Show at Wing 6 Don Muang on 7-8 March 2025, was participated road operation on highway 4287 in Songkla Province on 27 February 2025. (My Own Photos)

ความคืบหน้าของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab Gripen E/F จำนวน ๑๒เครื่องของกองทัพอากาศไทยก็มีขึ้นให้หลังการทดสอบการปฏิบัติการบนขึ้นลงถนนทางหลวงหมายเลข 4287 ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘ และการจัดแสดง ณ งานแสดงการบินครบรอบ ๘๘ปีกองทัพอากาศไทย วันที่ ๗-๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๖
ซึ่งส่วนจัดแสดงของบริษัท Saab สวีเดน ที่ท่าอากาศยานทหารที่๒ กองบิน๖ นั้นได้นำเครื่องจำลองการบิน Gripen E Flight Simulator มาสาธิตให้ผู้เข้างานได้ทดลอง(แต่น่าเสียดายว่าผู้เขียนมีโอกาสได้ชมจากระยะห่างเพราะมีคณะนายทหารระดับสูงมาเยี่ยมชมพอดี และมีเด็กเยาวชนมารอเล่นด้วย) และการแสดงภาพวาดเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว บ.ข.๒๐ข Gripen E ในลวดลาย ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองทัพอากาศไทยด้วย 
โดยบริษัท Saab ได้ให้ข้อมูลกับสื่อต่างประเทศว่ากระบวนการจัดหาจะเป็นในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล G-to-G และการเจรจาในรายละเอียดต่างๆขณะนี้กำลังอยู่ในการดำเนินการระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยและรัฐบาลสวีเดน โดยการจัดหาระยะที่๑ วงเงินราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($539 million) จำนวน ๔เครื่องแรกคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๘ และจะส่งมอบได้ในปี พ.ศ.๒๕๗๒(2029) ครับ




The Royal Thai Air Force (RTAF), the United States Air Force (USAF) and the Republic of Singapore Air Force (RSAF) concluded the exercise Cope Tiger 2025 in Thailand during 16 to 28 March 2025. (RTAF, RSAF, and USAF)

It’s a wrap - Exercise Cope Tiger 2025 has come to a successful close!
A big ขอบคุณครับ (“khop khun khrap” - thank you) to the กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force (RTAF) for their warm hospitality and seamless coordination throughout the exercise. 
This trilateral training with the RTAF and the U.S. Pacific Air Forces (PACAF) has not only sharpened our operational skills but also deepened the bonds of friendship and mutual trust among our nations. 
The RTAF Commander-in-Chief ACM Punpakdee Pattanakul also presented the RTAF Honorary Wings to five senior RSAF officers at the RTAF Headquarters in recognition of their efforts in strengthening the bilateral defence relations between both air forces.
Congratulations to all recipients who received their wings, and to all exercise participants for a successful and fruitful exercise! 
: Nicole Fong, CPL Dilan Lau, PTE Ke-ian J Leong and the Royal Thai Air Force

กองทัพอากาศไทย, กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางอากาศรหัส Cope Tiger 2025 ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่๓๑ ที่จัดขึ้นในไทยระหว่างวันที่ ๑๖-๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๘ โดยการมีส่วนร่วมของกำลังพลมากกว่า ๑,๘๔๐นาย อากาศยาน ๘๔เครื่อง และระบบป้องกันภัยทางอากาศ ๑๙ระบบ
การฝึก Cope Tiger 2025 ได้มีขึ้นในเวลาเดียวกับที่กองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) จัดการฝึกร่วมผสมรหัส HANUMAN GUARDIAN 2025 เป็นครั้งที่๑๔ ระหว่างวันที่ ๑๐-๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ และการฝึกร่วมผสมนานาชาติ Cobra Gold 2025 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์-๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ด้วย หลังพิธีปิดการฝึก Cope Tiger 2025 ณ กองบิน๑ โคราช เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ 
กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ยังจะมีการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2025 ที่เป็นการฝึกระดับทวิภาคีที่กลับมาจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-close.html) โดยการฝึกภาคสนาม(FTX: Field Training Exercise) จะมีขึ้นในห้วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ณ กองบิน๑ จังหวัดนคราชสีมาเช่นกันครับ




The Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang arrived Myanmar on 30 March 2025 for International Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) efforts on 28 March 2025 Myanmar earthquake. (Royal Thai Air Force)
Magnitude 7.7 Sagaing Fault earthquake 2025 impact to major northern, eastern and heartland regions of Myanmar include cities in Mandalay, Naypyidaw, Sagaing, Yangon, and Shan state. The Casualties report now up to more than 2,000 and is expected to reach over 10,000.

“กลับสู่อ้อมกอดประเทศไทย”
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 พลเรือโท สุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 พร้อมด้วย นายรัศม์ ชาลีจันทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง และ หัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งผู้บังคับหน่วยกำลังในพื้นที่จังหวัดพังงา 
ร่วมเป็นสักขีพยานในการรับมอบลูกเรือประมงไทย จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายวิโรจน์ สะพานทอง ณ นคร นายสุนันท์ มงกุฏทอง นายสมปอง วิวัฒน์ และ นายถาวร พรหมนิมิตร ซึ่งได้รับการอภัยโทษ ณ จังหวัดเกาะสอง สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เรือ ส.เจริญชัย 8 ได้ถูกเรือรบของกองทัพเรือเมียนมา จับกุมพร้อมลูกเรือเมียนมาและลูกเรือประมงไทย จำนวน 4 คน ทางรัฐบาลไทย โดย กระทรวงการต่างประเทศ และ กองทัพเรือ รวมถึงส่วนราชการและหน่วยกำลังในพื้นที่จังหวัดระนอง ได้มีการประสานงานกับรัฐบาลและกองทัพเรือเมียนมามาอย่างต่อเนื่อง
 รวมทั้งได้พาญาติของลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับกุม เข้าเยี่ยม ณ เรือนจำจังหวัดเกาะสอง จำนวน 3 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศาลปกครองแห่งรัฐ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างมิตรประเทศและด้านสิทธิมนุษยธรรม ได้มีการประกาศอภัยโทษให้แก่ลูกเรือไทย ดังกล่าว 

กองทัพอากาศไทยส่งน้ำใจสู่เมียนมา
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ประเทศเมียนมา กองทัพอากาศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ผบ.ทอ. ได้สั่งการให้เร่งส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ด้วยเครื่องบิน C-130 พร้อมทีมแพทย์ นักบิน และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เร่งขนส่งทีมกู้ภัย เวชภัณฑ์ และสิ่งของจำเป็นจากกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเมียนมา
ภารกิจนี้เป็นไปตามนโยบายด้านมนุษยธรรมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือเพื่อนบ้านในยามยากลำบาก แสดงให้เห็นถึงน้ำใจและความห่วงใยของคนไทยที่มีต่อเพื่อนบ้านของเรา

C-130 เที่ยวบินด้านมนุษยธรรมลำเลียงความช่วยเหลือถึงเมียนมา เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ รัฐบาลไทย ได้มอบหมายให้ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยหลักในการจัดตั้ง "ชุดช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวเมียนมาในพื้นที่เมืองเนปิดอว์"โดยมีการปฏิบัติภารกิจหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลเมียนมา และดูแลช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจด้านการค้นหาและกู้ภัย การแพทย์ฉุกเฉิน การตั้งโรงพยาบาลสนามระดับเบื้องต้น การประเมินความเสียหาย และการสนับสนุนด้านการสื่อสารและข้อมูลข่าวสาร
กองทัพอากาศพร้อมปฏิบัติภารกิจสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในบทบาทด้านความมั่นคงเชิงมนุษยธรรม สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แน่นแฟ้น อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคต่อไป

แทบจะประจวบกับที่รัฐบาลทหารพม่าได้ปล่อยตัวลูกเรือประมงไทย ๔คนที่ถูกเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy) ใช้อาวุธยิงใส่และจับกุมตัวด้วยข้อกล่าวหาทำประมงรุกล้ำน่านน้ำพม่าในพื้นที่ชายแดนจังหวัดระนองเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ โดยมีศาลปกครองแห่งรัฐพม่าได้สั่งปล่อยตัวในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ และทัพเรือภาคที่๓ กองทัพเรือไทยรับตัวในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘
ในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่รอยเลื่อนสะกาย(Sagaing Fault) ระดับ Magnitude 7.7 ความลึก 10km ที่นอกจะแรงส่งผลถึงประเทศไทยทั้งในกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคเหนือของไทยรู้สึกได้แล้ว พื้นที่ในเขตพม่าแท้ทั้งเมือง Mandalay และนครหลวง Naypyidaw และรัฐฉานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒,๐๐๐รายแล้วขณะนี้ และคาดว่าอาจจะสูงถึงมากกว่า ๑๐,๐๐๐ราย
ไทยได้เป็นประเทศแรกๆที่ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าโดยส่งเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ พร้อมเจ้าหน้าที่่ชุดแรกไปถึงพม่าเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ โดยความช่วยเหลือจากนานาชาติยังมีจากอินเดีย, จีน, รัสเซีย, เบลารุส, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้วและมีความรับผิดชอบสูงเท่านานาอารยประเทศครับ

(แผ่นดินไหวใหญ่ปี 2025 ในพม่าทำยังสถานการณ์สงครามกลางเมืองที่มีมาตั้งแต่ปี 2021 แย่ลงไปอีก ขณะที่รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ NUG(National Unity Government) ได้ให้กองกำลังป้องกันประชาชน PDF(People's Defence Force) ในสังกัดของตนหยุดยิงกับกองทัพรัฐบาลทหารพม่าชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสให้มีความช่วยเหลือไปถึงประชาชนที่กำลังได้รับความเดือนร้อนจากเหตุแผ่นดินไหว
แต่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มก็ยังคงสู้รบกับทหารพม่าโดยใช้จังหวะที่รัฐบาลทหารพม่ากำลังเผชิญภัยพิบัติ และกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force) ก็ยังคงใช้อากาศยานรบของตนปฏิบัติการโจมตีทางอากาศใส่กองกำลังกลุ่มต่อต้านในพื้นที่ต่างๆอยู่ แม้ว่าสนามบินบางแห่งเช่นที่ นครหลวง Naypyidaw หอบังคับการบิน ATC จะถล่มมีเจ้าหน้าที่การบินพม่าเสียชีวิตหกนาย หรือท่าอากาศยาน Mandalay ที่พังพินาศก็ตาม
ซึ่งแน่นอนทหารกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มไม่ได้เกลียดชังเฉพาะทหารพม่าแต่รวมถึงรัฐบาลพลเรือนและชาวพม่าทั่วไปด้วย ถ้าการโจมตีทหารพม่าจะเป็นการซ้ำเติมให้ประชาชนพม่าแท้ในเขตใจกลางประเทศได้รับความเดือดร้อนมากขึ้นไปอีกเท่าไรก็จะยิ่งเป็นผลดีที่แสดงให้ว่ารัฐบาลทหารพม่าพึ่งพาไม่ได้และจะหันมาสนับสนุนกลุ่มต่อต้านมากขึ้น หรือถ้าไม่ทหารพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ก็โหดร้ายพอที่จะไม่สนใจประชาชนจริงๆ)








Royal Thai Navy (RTN) FFG-421 HTMS Naresuan, the Naresuan-class guided-missile frigate and SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter conducted PASSEX and farewell to Italian Navy F-597 ITS Antonio Marceglia, the Carlo Bergamini-class frigate (FREMM) at upper Gulf of Thailand on 10 March 2025, after visited RTN's 1st Naval Area Command at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base in Chonburi province, Gulf of Thailand on 6-10 March 2025. (Royal Thai Navy)

ทัพเรือภาคที่1 จัดเรือเข้าฝึก PASSEX กับเรือ ทร.อิตาลี
(10 มี.ค. 68) ทัพเรือภาคที่1 มอบหมายให้เรือหลวงนเรศวร (HTMS Naresuan) พร้อมด้วย เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ S-70B Seahawk ออกฝึก PASSEX (Passing Exercise) กับเรือ ITS ANTONIO MARCEGLIA (F597) กองทัพเรืออิตาลี ในอ่าวไทยตอนบน 
ในหัวข้อการ แปรกระบวน, โคมไฟสัญญาณ, ธงสองมือ และนำเรือแล่นขนาน เสริมขีดความสามารถและความร่วมมือทางทะเล ผลการฝึกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
หลังเสร็จสิ้นการฝึก กำลังพลทั้งสองฝ่ายกล่าวคำอำลา และร่วมโบกหมวกอำลา แสดงมิตรภาพทางทหาร พร้อมอวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

ทัพเรือภาคที่1 ส่งเรือหลวงนเรศวร(HTMS NARESUAN) พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ S-70B SEAHAWK เข้าร่วมการฝึก PASSEX (Passing Exercise) กับเรือรบกองทัพเรืออิตาลี ITS ANTINIO MARCEGLIA








Royal Thai Navy (RTN) FFG-421 HTMS Naresuan, the Naresuan-class guided-missile frigate and SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter conducted PASSEX and farewell to Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) DD-109 JS Ariake, the Murasame-class destroyer and DD-155 JS Hamagiri, the Asagiri-class destroyer at upper Gulf of Thailand on 16 March 2025, after visited RTN's 1st Naval Area Command at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base in Chonburi province, Gulf of Thailand on 12-16 March 2025. (Royal Thai Navy)

ทัพเรือภาคที่ 1 ฝึก PASSEX กับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (ญี่ปุ่น)
วันที่ 16 มีนาคม 2568 ทัพเรือภาคที่ 1 ได้จัดเรือหลวงนเรศวร (HTMS Naresuan) ได้เข้าฝึก PASSEX (Passing Exercise) กับเรือ JS ARIAKE และ JS HAMAGIRI ของกองทัพเรือญี่ปุ่น ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน จากการที่เรือดังกล่าวได้เดินทางมาแวะประเทศไทย
การฝึกประกอบด้วย การแปรกระบวน, โคมไฟสัญญาณ, ธงสองมือ และการนำเรือแล่นขนาน เพื่อเสริมขีดความสามารถและความร่วมมือทางทะเล หลังเสร็จสิ้นการฝึก กำลังพลทั้งสองฝ่ายได้ โบกหมวกอำลา แสดงมิตรภาพทางทหาร และอวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ



HTMS Chao Phraya, HTMS Kraburi, and HTMS Prachuap Khiri Khan task group departed Sattahip naval base in Chonburi province, Gulf of Thailand on 6 March 2025 for Royal Thai Naval Academy (RTNA) cadets sea training phase during 24 February to 11 April 2025. (Royal Thai Navy)





Royal Thai Navy(RTN)'s FFG-455 HTMS Chao Phraya and FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya-class frigates and OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the Krabi-class offshore patrol vessel at White Beach, Okinawa, Japan on 17 March 2025.
Royal Thai Navy (RTN) naval FFG-455 HTMS Chao Phraya and FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya-class frigates, OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the Krabi-class offshore patrol vessel and LPD-791 HTMS Angthong landing platform dock (LPD) with Royal Thai Marine Corps (RTMC) arrived Zhanjiang, China 
for China-Thailand Blue Strike 2025 joint naval training exercise, which is to be held from late March to early April.

Fair winds and following Sea
**หะเบสสมอพลันออกสันดรไป ลัดไปเกาะสีชัง จนกระทั่งกระโจมไฟ  สยามเป็นชาติของเรา อย่าให้เขามาย่ำมายี ถึงตายตายดี ตายในหน้าที่ของเรา**
**วันนี้ 6 มีนาคม 2568 พลเรือโท กรวิทย์ ฉายะระถี รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการผู้เเทน ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมคณะ กระทำพิธี ส่งหมู่เรือฝึกภาคปฏิบัติ ในทะเลต่างประเทศ ของนักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ 1 - 4 ประจำปีการศึกษา 2568 ณ ท่าเรือแหลมเทียน อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี

Last week, Fleet Activities Okinawa’s White Beach Naval Facility had the honor of welcoming a very special guest — the Royal Thai Navy! For the first time in 21 years, the Royal Thai Naval Academy Cadet Training Unit made a port visit to Okinawa, as part of a multinational engagement supported by United Nations Command–Rear.
The visiting Royal Thai Navy ships included Chao Phraya-class frigates HTMS Chao Phraya (FFG-455) and HTMS Kraburi (FFG-557), along with the Krabi-class offshore patrol vessel HTMS Prachuap Khiri Khan.
Here's a look at their arrival — ยินดีต้อนรับสู่โอกินาว่า! (Welcome to Okinawa!)


28 years Thailand-Vietnam Coordinated Patrol, 28 March to 7 April 2025.

ในห้วงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ที่ผ่านมากองทัพเรือไทยได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆกับกองทัพเรือมิตรประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การต้อนรับการมาเยือนท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ ทัพเรือภาคที่๑ ในอ่าวไทยของเรือฟริเกต F-597 ITS Antonio Marceglia กองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, Marina Militare) ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางกำลังในอินโดแปซิฟิกประจำปี 2025
และหมู่เรือกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ประกอบด้วยเรือพิฆาตชั้น Murasame เรือพิฆาต DD-109 JS Ariake และเรือพิฆาตชั้น Asagiri เรือพิฆาต DD-155 JS Hamagiri ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งในวันเดินทางกลับกองทัพเรือไทยได้นำเรือฟริเกตเรือหลวงนเรศวร และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk ทำการฝึก PASSEX ร่วม
การลาดตระเวนเวนร่วมที่ทำเป็นประจำทั้ง เรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ จากฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่๒ ลาดตระเวนร่วมกับเรือคอร์เวตชั้น Laksamana เรือคอร์เวต F136 KD Laksamana Muhammad Amin กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) ในพื้นที่พัฒนาร่วม(JDA: Joint Development Area) ฝั่งอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘

ทัพเรือภาคที่๑ ส่งเรือฟริเกต ร.ล.นเรศวร ออกเดินทางจากท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ เพื่อทำภารกิจการลาดตระเวนร่วมกองทัพเรือไทย-กองทัพเรือประชาชนเวียดนาม(VPN: Vietnam People's Navy) ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม ถึง ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ โดย ร.ล.นเรศวร จะมีการเดินทางทางเทียบท่าเรือเกาะ Phu Quoc และกำลังพลเดินทางเยือนนคร Ho Chi Minh City
การฝึกผสม Blue Strike 2025 ที่เป็นการฝึกทวิภาคีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ที่จัดขึ้นทุกสองปีโดยสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่างไทยและจีนโดยการฝึกครั้งที่๖ ในปีนี้นี้จีนเป็นเจ้าภาพโดยจัดขึ้น ณ เมือง Zhanjiang ในมณฑล Guangdong ระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึง ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ 
โดยเป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือไทยได้จัดหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือของโรงเรียนนายเรือที่ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ร.ล.เจ้าพระยา และเรือหลวงกระบุรี เดินเรือเยือน Subic ฟิลิปปินส์ และ Okinawa ญี่ปุ่น ก่อนมาสบทบกับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง พร้อมหน่วยฝึกนาวิกโยธินไทย ที่ท่าเทียบเรือ Maxie เมือง Zhanjiang

จะเห็นได้จากกิจกรรมการฝึกต่างๆข้างต้นว่านอกจากเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) กำลังเรือฟริเกตของกองทัพเรือไทยปัจจุบันล้วนมีอายุการใช้งานมานานหลายสิบปีมากขึ้น ทั้ง ร.ล.เจ้าพระยา ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ร.ล.กระบุรี ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992) และ ร.ล.นเรศวร ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๘(1995) 
แต่อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่จำนวน ๒ลำ จากความต้องการ ๔ลำที่จะถูกสร้างในประเทศไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการ ซึ่งกองทัพเรือไทยมองจะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙(2026) ซึ่งถูกเลื่อนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ นี้นมีแนวโน้มที่จะถูกรัฐบาลไทยพิจารณาให้ลดจำนวนการจัดหาเรือลงเหลือ ๑ลำ หรือเลื่อนการอนุมัติออกไปอีก
ทำให้การทดแทนเรือฟริเกตเก่าด้วยเรือฟริเกตทั้งหมด ๕ลำ(รวม ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช) ต้องล่าช้าออกไปอีกและจะลดการดึงดูดจากบริษัทผู้สร้างเรือต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทยด้วย นี่ยังรวมถึงการยังไม่ตัดสินใจในโครงการเรือดำน้ำ S26T ที่ยังค้างคาขณะที่เรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถานที่มีพื้นฐานร่วมกันปล่อยเรือลำที่สองลงน้ำไปแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/hangor-pns-shushuk.html)




Amphibious Exercise (AMPHIBEX) involved Royal Thai Marine Corps (RTMC) Royal Thai Navy (RTN); US Marine Corps (USMC), US Army and US Air Force (USAF); Republic of Korea Navy (RoKN) and Republic of Korea Marine Corps (RoKMC); and Republic of Singapore Navy (RSN) and Singapore Army 
at the Naval Training Field No. 15, in Hat Yao, Sattahip district, Chonburi province on 3 March 2025 as parts of the exercise Cobra Gold 2025 in Thailand. (Royal Thai Marine Corps/Royal Thai Navy)








Final Exercise (FINEX) involved Royal Thai Marine Corps (RTMC) Royal Thai Navy (RTN) and Royal Thai Air Force (RTAF); US Marine Corps (USMC), US Army and US Air Force (USAF); and Republic of Korea Marine Corps (RoKMC) at Naval Training Field no. 16, Ban Chanthakhlem, Chanthaburi province on 6 March 2025. (Royal Thai Marine Corps)




Combined Arms Live-Fire Exercise (CALFEX) and Cobra Gold 2025 Closing Ceremony at Tactical Training Field (Phu Lum Yai), Second Army Area Royal Thai Army (RTA), Nakhon Ratchasima province on 7 March 2025. (Royal Thai Armed Forces)

เมื่อวันที่ 6 มี.ค.68 พลเรือตรี โยธิน ธนะมูล  ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน ตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (FINEX) ในการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ ๒๕” โดยมี นาวาโท สุรัตน์  ทรงทิพย์ ผู้บังคับกองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน และกำลังพล ยุทโธปกรณ์เข้าร่วมการฝึก ฯ ณ สนามฝึก ทร. หมายเลข 16 บ.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จว.จันทบุรี 




Royal Thai Army (RTA) and US Army concluded the exercise Hanuman Guardian 2025 (HG25) in Lopburi Province, Thailand from 10-21 March 2025. (Royal Thai Army)

ในห้วงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ กองทัพไทยได้เสร็จสิ้นการฝึกผสม Cobra Gold 2025 ร่วมกับสหรัฐฯ, สาธารณรัฐเกาหลี, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งครอบคลุมการฝึกต่างๆทั้งการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก(AMPHIBEX: Amphibious Exercise) ที่เป็นครั้งแรกที่นาวิกโยธินไทยได้นำรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก Chaiseri AWAV 8x8 ที่พัฒนาสร้างในไทยเข้าร่วมการฝึก Cobra Gold
การฝึกดำเนินกลุยทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ทั้งในส่วนนาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๖ บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี และในส่วนกองทัพบกไทย ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่๒ ภูลำไย จังหวัดนครราชสีมา ที่ยังตามมาด้วยการฝึกร่วมผสม HANUMAN GUARDIAN 2025 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ
มีรายงานตามมาหลังการฝึกว่ากองทัพบกไทยมองที่จะจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 จากสหรัฐฯเพิ่มเติมจากที่เข้าประจำการใน กรมทหารราบที่๑๑๒(112th Infantry Regiment) กองพลทหารราบที่๑๑(11th Infantry Division) แล้ว ๑๓๐คัน โดยจะนำเข้าประจำการในกรมทหารราบที่๑๑๑(111th Infantry Regiment) พล.ร.๑๑ เพื่อให้มีอัตราจัดเป็นกองพลน้อยชุดรบ Stryker Brigade Combat Team(SBTC) ครบทั้งกองพลโดยสมบูรณ์ครับ