Seagull examines offensive ASW with torpedo trials
The trials saw two torpedoes successfully launched from a Seagull USV. Source: Elbit Systems
http://www.janes.com/article/61840/seagull-examines-offensive-asw-with-torpedo-trials
บริษัท Elbit Systems อิสราเอลได้ทำการทดสอบยิง Torpedo เบาจากยานผิวน้ำไร้คนขับแบบ Seagull USV(Unmanned Surface Vessel) ในทะเลห่างจากท่าเรือเมือง Haifa อิสราเอล
การทดสอบได้มีการยิง Torpedo เบาจำนวนสองนัด อย่างไรก็ตามทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยข้อมูลกับ Jane's ว่า Torpedo ที่ใช้เป็นจะแบบอะไร เว้นแต่บอกเพียงว่าเป็นระบบที่ "มีพร้อมใช้งานในตลาด"
จุดประสงค์ของการทดสอบนี้เพียงเป็นการยืนยันและสาธิตการติดตั้งและทำการยิง Torpedo กับระบบ USV มากกว่าที่ทดสอบความสามารถในการโจมตีเป้าหมาย
"เราต้องการพิสูจน์ว่าระบบการทำงานทั้งหมดและ Torpedo นั้นสามารถทำการยิงได้จากยานผิวน้ำขนาดเล็กแบบนี้ได้" โฆษกของ Elbit กล่าว
ระหว่างการทดสอบยานผิวน้ำไร้คนขับ Seagull ได้ทำการเดินตัวเรือในทะเลที่มีความสูงคลื่นประมาณ 1m (Sea State 3) ซึ่งโฆษกของบริษัทกล่าวว่าระบบ Torpedo เบาที่ติดตั้งสามารถทำการยิงได้ในสภาพคลื่นลมแรง
รูปแบบของแท่นยิง Torpedo ที่แสดงให้เห็นในการทดสอบว่าสามารถนำมาใช้ในปฏิบัติการได้ถึงขีดสุด สังเกตว่ามันตรงกับการพิจารณาการวางกำลังหน่วยทางยุทธวิธีสำหรับ Torpedo
Seagull ถูกออกแบบมาให้เป็นยานผิวน้ำไร้คนขับพหุภารกิจซึ่งครอบคลุมหลายบทบาท โดยขั้นต้นเน้นไปที่การต่อต้านทุ่นระเบิด และสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare)
การประยุกต์ใช้ยังรวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยทางทะเล และการปกป้องกำลัง ซึ่งระบบสามารถติดตั้งแท่นยิงอาวุธ Remote Weapon Station และระบบสำหรับภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) และอื่นๆ
การทดสอบขีดความสามารถในการใช้ Torpedo และการติดตั้งระบบอื่นๆ ทางโฆษกของบริษัท Elbit ยืนยันว่ามีการจัดกำหนดการขึ้นแล้ว
โดยสำหรับปฏิบัติการสงครามปราบเรือดำน้ำนั้น Seagull USV สามารถติดตั้ง Sonar ชักหย่อนความถี่ต่ำของ L-3 Ocean Systems แบบ HELRAS ได้
ยานผิวน้ำไร้คนขับ Seagull มีความยาวตัวเรือ 12m กินน้ำลึกเพียง 0.8m และมีความกว้างตัวเรือ 3.3m ทำความเร็วได้สูงสุด 32knots
บรรทุกระบบที่ใช้งานได้หนักสูงสุด 2,500kg มีความจุเชื้อเพลิง 3,500liters ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้นานสุด 96ชั่วโมงครับ
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ภาพเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W กองทัพบกไทย-๒
First unit of this model, which will be delivered to the Royal Thai Army.
http://www.jetphotos.net/photo/8297120ภาพเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W กองทัพบกไทยที่สนามบิน San Pablo ที่ Seville สเปน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน Airbus DS (EADS CASA เดิม) เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น
จะเห็นได้จากรายละเอียดของเครื่องในภาพล่าสุดครับว่า มีการทำเครื่องหมายตรากองทัพบกที่หัวเครื่องใต้หน้าต่างห้องนักบินเพิ่มเติม
กองทัพบกไทยได้จัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ C-295W จำนวน ๑เครื่อง(มีรายงานว่าโครงการมีวงเงินที่ ๑,๒๕๐ล้านบาท)
ตามกำหนดการเข้าใจว่าน่าจะมีการส่งมอบเครื่องให้กองทัพบกไทยภายในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไปครับ
Thailand orders C295W transport aircraft
http://www.janes.com/article/61859/thailand-orders-c295w-transport-aircraft
มีรายงานเพิ่มเติมจาก Jane's บางส่วนครับว่า
เอกสารสถิติการจัดหาและส่งมอบอากาศยานของบริษัท Airbus ช่วงก่อนวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นั้นระบุว่าไทยได้มีการสั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-295W จำนวน ๑เครื่องซึ่งก็คือเครื่องของกองทัพบกไทย
โดย Jane's วิเคราะห์รายละเอียดว่ากองทัพบกไทยได้มีการสั่งจัดหา บ.ล.๒๙๕ C-295W ๑เครื่องตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) และเดิมมีกำหนดส่งมอบเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน
เข้าใจว่ามีราคาที่ $36 million(๑,๒๕๐ล้านบาท) และ C-295W ถูกเลือกโดยกองทัพบกไทยเหนือตัวเลือกอย่างเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ขนาดกลาง An-32 (NATO กำหนดรหัส "Cline") ยูเครน
Jane's เชื่อว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการเครื่องบินลำเลียง C-295W ที่จำนวนถึง ๔เครื่อง แต่ทั้งนี้การจัดหาเครื่องเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับในปีถัดๆไปข้างหน้า
ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพบกไทยมีเครื่องบินลำเลียงเบาสองเครื่องยนต์ บ.ล.๒๑๒ Airbus(CASA) C212-300 ประจำการอยู่แล้ว ๒เครื่อง โดยเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996)
ทั้งนี้กองทัพบกไทยมีขีดความสามารถด้านอากาศยานปีกตรึงที่จำกัด ปฏิบัติการขนส่งทางอากาศนอกจาก บ.ล.๒๑๒ C212 ๒เครื่องแล้ว กองทัพบกไทยยังมี บ.ท.๔๑ British Aerospace Jetstream 41 ประจำการที่ กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก ๒เครื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996)
นอกนั้นกองทัพบกไทยต้องพึ่งกำลังอากาศยานปีกหมุนเป็นหลัก ซึ่งช่วยหลายปีที่ผ่านมามีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์เพิ่มเติมในจำนวนไม่มากเช่น ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L/M Black Hawk, ฮ.ท.๗๒ Airbus Helicopters UH-72A Lakota และ ฮ.ท.๑๓๙ AgustaWestland AW139 เป็นต้น
Airbus Defence and Space ได้เปิดตัวเครื่องบินลำเลียง C-295W เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2013 ซึ่งมีปลายปีก Winglet และปรับปรุงสมรรถนะเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบินและประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น
โดยลูกค้ารายแรกๆของเครื่องบินลำเลียง C-295W รุ่นล่าสุดนี้ก็มี กองทัพเรือแม็กซิโก และกองทัพอากาศมาลีครับ
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กองทัพเรือกรีซยอมรับเรือดำน้ำ U214 สองลำสุดท้ายเข้าประจำการ
Greece accepts final Type 214 submarines into service
The Hellenic Navy officially inducted into service the last two Type 214HN submarines into service on 23 June at Skaramangas Shipyards. HS Matrozos (S-122) is pictured. Source: Hellenic Navy
http://www.janes.com/article/61762/greece-accepts-final-type-214-submarines-into-service
กองทัพเรือกรีซ(Hellenic Navy) ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าได้ยอมรับเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Type 214HN สองลำสุดท้ายเข้าประจำการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยพิธีชักธงขึ้นเสาของเรือ S-122 HS Matrozos และเรือ S-123 HS Katsonis ที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ที่ Athens ถือเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ Archimedes ของกรีซที่มีปัญหาต่อเนื่องยาวนานมามากกว่า 15ปีลง
HS Matrozos ถูกวางกระดูกงูเรือที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2003 แต่ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนกมภาพันธ์ ปี 2015 และมีความพร้อมปฏิบัติการเมื่อเดือนมีนาคม 2016
ส่วน HS Katsonis ถูกวางกระดูกงูเรือตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2004 มีกำหนดการทดสอบในทะเล(sea acceptance trials) และจะถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองเรือภายในสิ้นปีนี้
กรีซลงนามสัญญาในโครงการ Archimedes ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 สำหรับการจัดหาเรือดำน้ำ Type 214HN กับเยอรมนีขั้นต้นจำนวน 3ลำ ภายหลังเพิ่มเป็น 4ลำ
โดยเรือลำแรก S-120 HS Papanikolis ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ที่ Kiel เยอรมนี
และเรืออีกสามลำคือ S-121 HS Pipinos, S-122 HS Matrozos และ S-123 HS Katsonis ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ที่ Athens กรีซ
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ได้รับผลความเสียหายของความล่าช้าที่สำคัญจากการตรวจทานแก้ไขทางเทคนิค, การเปลี่ยนเจ้าของอู่ต่อเรือจากรัฐบาลกรีซเป็น Abu-Dhabi Mar สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ /TKMS เยอรมนี และข้อกล่าวหาที่ว่ามีการทุจริตในโครงการ
แม้ว่าโครงการจะมีปัญหา แต่ปัจจุบันกองทัพเรือกรีซมีเรือดำน้ำประจำการแล้ว 11ลำประกอบด้วย เรือดำน้ำแบบ Type 214HN ชั้น Papanikolis ทั้ง 4ลำในข้างต้น
เรือดำน้ำแบบ Type 209/1200 ชั้น Poseidon 4ลำคือ S-116 HS Poseidon, S-117 HS Amfitriti, S-118 HS Okeanos ซึ่งลำนี้ได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP และ S-119 HS Pontos
และเรือดำน้ำแบบ Type 209/1100 ชั้น Glavkos 3ลำ ซึ่งเรือลำแรกของชั้นคือ S-110 HS Glavkos ถูกปลดประจำการลงตั้งแต่ปี 2011 แล้ว โดย S-111 HS Nireus, S-112 Triton และ S-113 HS Proteus ยังคงประจำการอยู่ครับ
The Hellenic Navy officially inducted into service the last two Type 214HN submarines into service on 23 June at Skaramangas Shipyards. HS Matrozos (S-122) is pictured. Source: Hellenic Navy
http://www.janes.com/article/61762/greece-accepts-final-type-214-submarines-into-service
กองทัพเรือกรีซ(Hellenic Navy) ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่าได้ยอมรับเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Type 214HN สองลำสุดท้ายเข้าประจำการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยพิธีชักธงขึ้นเสาของเรือ S-122 HS Matrozos และเรือ S-123 HS Katsonis ที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ที่ Athens ถือเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ Archimedes ของกรีซที่มีปัญหาต่อเนื่องยาวนานมามากกว่า 15ปีลง
HS Matrozos ถูกวางกระดูกงูเรือที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2003 แต่ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนกมภาพันธ์ ปี 2015 และมีความพร้อมปฏิบัติการเมื่อเดือนมีนาคม 2016
ส่วน HS Katsonis ถูกวางกระดูกงูเรือตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2004 มีกำหนดการทดสอบในทะเล(sea acceptance trials) และจะถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองเรือภายในสิ้นปีนี้
กรีซลงนามสัญญาในโครงการ Archimedes ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 สำหรับการจัดหาเรือดำน้ำ Type 214HN กับเยอรมนีขั้นต้นจำนวน 3ลำ ภายหลังเพิ่มเป็น 4ลำ
โดยเรือลำแรก S-120 HS Papanikolis ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ที่ Kiel เยอรมนี
และเรืออีกสามลำคือ S-121 HS Pipinos, S-122 HS Matrozos และ S-123 HS Katsonis ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Skaramangas ที่ Athens กรีซ
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ได้รับผลความเสียหายของความล่าช้าที่สำคัญจากการตรวจทานแก้ไขทางเทคนิค, การเปลี่ยนเจ้าของอู่ต่อเรือจากรัฐบาลกรีซเป็น Abu-Dhabi Mar สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ /TKMS เยอรมนี และข้อกล่าวหาที่ว่ามีการทุจริตในโครงการ
แม้ว่าโครงการจะมีปัญหา แต่ปัจจุบันกองทัพเรือกรีซมีเรือดำน้ำประจำการแล้ว 11ลำประกอบด้วย เรือดำน้ำแบบ Type 214HN ชั้น Papanikolis ทั้ง 4ลำในข้างต้น
เรือดำน้ำแบบ Type 209/1200 ชั้น Poseidon 4ลำคือ S-116 HS Poseidon, S-117 HS Amfitriti, S-118 HS Okeanos ซึ่งลำนี้ได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP และ S-119 HS Pontos
และเรือดำน้ำแบบ Type 209/1100 ชั้น Glavkos 3ลำ ซึ่งเรือลำแรกของชั้นคือ S-110 HS Glavkos ถูกปลดประจำการลงตั้งแต่ปี 2011 แล้ว โดย S-111 HS Nireus, S-112 Triton และ S-113 HS Proteus ยังคงประจำการอยู่ครับ
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๙
http://www.malyshevplant.com/uk/content/kursanti-kozhedubivci-znayomstvo-z-tankami-nazhivo
โรงงาน Malyshev ยูเครนได้ตอนรับคณะเยี่ยมชมโรงงานจากวิทยาลัยจ่าอากาศ Kharkiv ซึ่งเป็นสถาบันผลิตนายทหารชั้นประทวนของกองทัพอากาศยูเครน
ในชุดภาพจะเห็นการทำงานปรับปรุงรถถังหลัก T-64 Bulat และสายการผลิตรถถังหลัก Oplot ซึ่งมี ถ.หลัก Oplot ที่ประกอบเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้วอย่างน้อย ๒คัน
ป้อมปืนที่กำลังประกอบ ๒-๓ป้อม(ป้อมหนึ่งน่าจะอยู่ในขั้นตอนเตรียมทำสีพรางทะเลทรายอาจจะเพื่อไปเสนอให้กองทัพบกปากีสถานใหม่ หรือเป็นอย่างอื่นก็ไม่ทราบ)
และมีป้อมปืนหนึ่งที่กำลังเชื่อมประกอบยังโดยไม่ได้เชื่อมแผ่นเกราะหลังคาด้านบน ซึ่งก็แสดงให้ว่าโรงงาน Malyshev กำลังผลิตรถถังหลัก Oplot อยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งของกองทัพบกไทยตามที่ได้สั่งจัดหาไปแล้ว และรถต้นแบบที่จะเสนอขายต่างประเทศครับ
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ภาพเปิดเผยเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ Type 093 จีนรุ่นใหม่ล่าสุด
Image shows new variant of China's Type 093 attack submarine
An image published on Chinese online forums shows that a new variant of China's Type 093 SSN has sail and other modifications intended to reduce drag and noise. Source: Via Top81 webpage
http://www.janes.com/article/61727/image-shows-new-variant-of-china-s-type-093-attack-submarine
ภาพล่าสุดที่เผยแพร่ใน Internet ของจีนได้ยืนยันถึงเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Type 093 SSN (NATO กำหนดรหัส "Shang") รุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)
จากภาพที่เผยแพร่ใน Online Forums จีนแสดงให้เห็นถึงเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Type 093 รุ่นใหม่ที่มีส่วนโหนก(Bump)หลังแพนครีบปีก(Sail)ที่หอเรือ(Conning Tower)
ซึ่งอาจจะมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระจายกระแสการไหลของน้ำที่เกิดขึ้นจากแพนปีกเพื่อลดแรงต้าน(Drag) และลดเสียงของเรือลง
บทความที่เผยแพร่ที่ Website Guancha.com ในวันเดียวกันได้อ้างว่าเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Type 093 รุ่นใหม่นี้ยังได้ติดตั้งระบบแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launch System)
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-18 และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดินพิสัยไกล DF-10 รุ่นยิงจากเรือดำน้ำ
อย่างไรก็ตามจากภาพที่เปิดเผยออกมาล่าสุดนี้ยังไม่มีความชัดเจนยืนยันได้เพียงพอว่า ส่วนโหนกที่เพิ่มขึ้นมาของเรือนั้นเป็นพื้นที่ติดตั้งแท่นยิง VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีจริงหรือไม่
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนแต่ทว่าที่แน่นอนคือเรือดำน้ำที่ปรากฎในภาพดังกล่าวน่าจะอยู่ในโครงการเรือดำน้ำชั้น Type 093 Shang ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
ในปี 2016 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ได้รายงานต่อสภา Congress สหรัฐฯในหัวข้อเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางทหารและความมั่นคงของจีนเมื่อไม่กี่เดือนก่อนว่า
ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกกำลังพัฒนากองเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง โดยจีนกำลังจะประเมินค่าเรือดำน้ำชั้น Type 093 Shang เข้าประจำการเพิ่มอีก 4ลำ ร่วมกับเรือที่เข้าประจำการแล้วขณะนี้ 2ลำ
"เรือดำน้ำชั้น Shang SSN จะถูกนำเข้าประจำการเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Type 091 Han ที่มีอายุใช้งานมานาน โดยเรือดำน้ำชั้น Shang รุ่นปรับปรุงได้ติดตั้งแท่นยิง VLS และอาจยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำขั้นก้าวหน้า YJ-18 ได้" ตามเอกสารกล่าว
มีบางรายงานให้ข้อมูลว่าเรือลำที่3 และลำต่อมาอีก 3ลำจะเป็นรุ่นที่ยืดความยาวตัวเรือจากเรือชั้น Shang เดิมที่เข้าประจำการแล้ว 2ลำ
โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะเพิ่มส่วนห้องพิเศษ Dry Dock Shelter สำหรับสนับสนุนปฏิบัติการของนักประดาน้ำหน่วยรบพิเศษเช่นที่เคยมีภาพเผยแพร่ออกมา แม้ว่ายังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ แต่เรือดำน้ำลำที่3รุ่นใหม่นี้มักรู้จักในชั้น Type 093A
ทั้งนี้ยังมีรายงานยืนยันด้วยว่า จีนกำลังพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน SSGN ซึ่งมักจะถูกเผยแพร่บ่อยครั้งในชื่อชั้น Type 093G ครับ
An image published on Chinese online forums shows that a new variant of China's Type 093 SSN has sail and other modifications intended to reduce drag and noise. Source: Via Top81 webpage
http://www.janes.com/article/61727/image-shows-new-variant-of-china-s-type-093-attack-submarine
ภาพล่าสุดที่เผยแพร่ใน Internet ของจีนได้ยืนยันถึงเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Type 093 SSN (NATO กำหนดรหัส "Shang") รุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)
จากภาพที่เผยแพร่ใน Online Forums จีนแสดงให้เห็นถึงเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Type 093 รุ่นใหม่ที่มีส่วนโหนก(Bump)หลังแพนครีบปีก(Sail)ที่หอเรือ(Conning Tower)
ซึ่งอาจจะมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระจายกระแสการไหลของน้ำที่เกิดขึ้นจากแพนปีกเพื่อลดแรงต้าน(Drag) และลดเสียงของเรือลง
บทความที่เผยแพร่ที่ Website Guancha.com ในวันเดียวกันได้อ้างว่าเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Type 093 รุ่นใหม่นี้ยังได้ติดตั้งระบบแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launch System)
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-18 และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดินพิสัยไกล DF-10 รุ่นยิงจากเรือดำน้ำ
อย่างไรก็ตามจากภาพที่เปิดเผยออกมาล่าสุดนี้ยังไม่มีความชัดเจนยืนยันได้เพียงพอว่า ส่วนโหนกที่เพิ่มขึ้นมาของเรือนั้นเป็นพื้นที่ติดตั้งแท่นยิง VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีจริงหรือไม่
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนแต่ทว่าที่แน่นอนคือเรือดำน้ำที่ปรากฎในภาพดังกล่าวน่าจะอยู่ในโครงการเรือดำน้ำชั้น Type 093 Shang ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
ในปี 2016 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ได้รายงานต่อสภา Congress สหรัฐฯในหัวข้อเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางทหารและความมั่นคงของจีนเมื่อไม่กี่เดือนก่อนว่า
ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกกำลังพัฒนากองเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง โดยจีนกำลังจะประเมินค่าเรือดำน้ำชั้น Type 093 Shang เข้าประจำการเพิ่มอีก 4ลำ ร่วมกับเรือที่เข้าประจำการแล้วขณะนี้ 2ลำ
"เรือดำน้ำชั้น Shang SSN จะถูกนำเข้าประจำการเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Type 091 Han ที่มีอายุใช้งานมานาน โดยเรือดำน้ำชั้น Shang รุ่นปรับปรุงได้ติดตั้งแท่นยิง VLS และอาจยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำขั้นก้าวหน้า YJ-18 ได้" ตามเอกสารกล่าว
มีบางรายงานให้ข้อมูลว่าเรือลำที่3 และลำต่อมาอีก 3ลำจะเป็นรุ่นที่ยืดความยาวตัวเรือจากเรือชั้น Shang เดิมที่เข้าประจำการแล้ว 2ลำ
โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะเพิ่มส่วนห้องพิเศษ Dry Dock Shelter สำหรับสนับสนุนปฏิบัติการของนักประดาน้ำหน่วยรบพิเศษเช่นที่เคยมีภาพเผยแพร่ออกมา แม้ว่ายังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ แต่เรือดำน้ำลำที่3รุ่นใหม่นี้มักรู้จักในชั้น Type 093A
ทั้งนี้ยังมีรายงานยืนยันด้วยว่า จีนกำลังพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน SSGN ซึ่งมักจะถูกเผยแพร่บ่อยครั้งในชื่อชั้น Type 093G ครับ
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ตุรกีจะปรับปรุงเรือดำน้ำ Agosta 90B กองทัพเรือปากีสถาน
Turkey's STM Wins Modernization Of Pakistani Agosta 90B Submarine Contract Beating DCNS
Pakistani Agosta 90B submarine (Image: Dawn)
http://www.defenseworld.net/news/16414/Turkey_s_STM_Wins_Modernization_Of_Pakistani_Agosta_90B_Submarine_Contract_Beating_DCNS
บริษัท STM ตุรกีได้รับเลือกเป็นผู้ชนะในโครงการปรับปรุงครึ่งอายุของเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B ของกองทัพเรือปากีสถาน โดย STM ตุรกีสามารถเอาชนะบริษัท DCNS ฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ออกแบบและสร้างเรือชั้นนี้ได้ นับเป็นการส่งออกด้านวิศวกรรมเรือดำน้ำครั้งแรกของตุรกีต่อปากีสถาน
สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ระหว่าง STM ตุรกีและกระทรวงการผลิตทางกลาโหมปากีสถานที่ Rawalpindi ครอบคลุมการปรับปรุงเรือดำน้ำ 3ลำ โดยมีการยืนยันการปรับปรุงแล้ว 1ลำ และจะปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 2ลำ ตามตัวเลือกพื้นฐาน
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงเรือดำน้ำ Agosta 90B ทาง STM ตุรกีได้เข้าร่วมขั้นตอนการประเมินค่ากับอู่ต่อเรือ DCNS ฝรั่งเศสซึ่งรับหน้าที่ออกแบบและดำเนินการผลิตสำหรับเรือดำน้ำดังกล่าวในข้างต้น
หลังจากขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน STM ตรุกีได้รับเลือกให้เป็นผู้รับสัญญาหลักจากปากีสถานเนื่องจากมีความเหนือกว่าคู่แข่งในทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์
โดยการปรับปรุงเรือจะดำเนินการในอู่ต่อเรือ Karachi Shipyard and Engineering Works(KSEW) ปากีสถาน ซึ่งเรือดำน้ำลำแรกจะปรับปรุงเสร็จส่งมอบได้ภายในระยะเวลา 4-5เดือน ส่วนเรือดำน้ำลำที่เหลือคาดว่าเสร็จสิ้นการปรับปรุงใน 1ปี ระหว่างที่ดำเนินการปรับปรุงเรือแต่ละลำ
STM Savunma Teknolojileri Muhendislik ve Ticaret A.S. ตุรกีถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1991 โดยคำสั่งของคณะกรรมการบริหารอุตสาหกรรมความมั่นคงของตรุกี
เพื่อดำเนินการจัดหาระบบทางวิศวกรรม, การสนับสนุนทางเทคนิค, การบริหารจัดการโครงการ, การส่งมอบวิทยาการ และการบริการสนับสนุนการจัดส่งให้กับกองทัพตุรกีและสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่ออุตสาหกรรมความมั่นคง(Undersecretariat for Defense Industries: SSM) ตุรกี
ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B หรือเรือดำน้ำชั้น Khalid ประจำการ 3ลำคือ S137 PNS Khalid ซึ่งสร้างที่ฝรั่งเศสประจำการเมื่อปี 1999 และ S138 PNS Saad และ S139 PNS Hamza ซึ่งสร้างที่อู่ต่อเรือ Karachi ปากีสถาน ประจำการเมื่อปี 2003 และปี 2008
ทั้งนี้ล่าสุดกองทัพเรือปากีสถานมีแผนจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน(รุ่นส่งออกมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A NATO กำหนดรหัส "Yuan") จำนวน 8ลำ วงเงินราว $5 billion ซึ่ง 4ลำจะดำเนินการสร้างในปากีสถาน พร้อมกับที่จะสร้างในจีน 4ลำ
อีกทั้งยังวางแผนจะเริ่มโครงการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ออกแบบและสร้างภายในปากีสถานเองช่วงราวปี 2017-2020 ด้วยครับ
Pakistani Agosta 90B submarine (Image: Dawn)
http://www.defenseworld.net/news/16414/Turkey_s_STM_Wins_Modernization_Of_Pakistani_Agosta_90B_Submarine_Contract_Beating_DCNS
บริษัท STM ตุรกีได้รับเลือกเป็นผู้ชนะในโครงการปรับปรุงครึ่งอายุของเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B ของกองทัพเรือปากีสถาน โดย STM ตุรกีสามารถเอาชนะบริษัท DCNS ฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ออกแบบและสร้างเรือชั้นนี้ได้ นับเป็นการส่งออกด้านวิศวกรรมเรือดำน้ำครั้งแรกของตุรกีต่อปากีสถาน
สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ระหว่าง STM ตุรกีและกระทรวงการผลิตทางกลาโหมปากีสถานที่ Rawalpindi ครอบคลุมการปรับปรุงเรือดำน้ำ 3ลำ โดยมีการยืนยันการปรับปรุงแล้ว 1ลำ และจะปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 2ลำ ตามตัวเลือกพื้นฐาน
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงเรือดำน้ำ Agosta 90B ทาง STM ตุรกีได้เข้าร่วมขั้นตอนการประเมินค่ากับอู่ต่อเรือ DCNS ฝรั่งเศสซึ่งรับหน้าที่ออกแบบและดำเนินการผลิตสำหรับเรือดำน้ำดังกล่าวในข้างต้น
หลังจากขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน STM ตรุกีได้รับเลือกให้เป็นผู้รับสัญญาหลักจากปากีสถานเนื่องจากมีความเหนือกว่าคู่แข่งในทางเทคนิคและเชิงพาณิชย์
โดยการปรับปรุงเรือจะดำเนินการในอู่ต่อเรือ Karachi Shipyard and Engineering Works(KSEW) ปากีสถาน ซึ่งเรือดำน้ำลำแรกจะปรับปรุงเสร็จส่งมอบได้ภายในระยะเวลา 4-5เดือน ส่วนเรือดำน้ำลำที่เหลือคาดว่าเสร็จสิ้นการปรับปรุงใน 1ปี ระหว่างที่ดำเนินการปรับปรุงเรือแต่ละลำ
STM Savunma Teknolojileri Muhendislik ve Ticaret A.S. ตุรกีถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1991 โดยคำสั่งของคณะกรรมการบริหารอุตสาหกรรมความมั่นคงของตรุกี
เพื่อดำเนินการจัดหาระบบทางวิศวกรรม, การสนับสนุนทางเทคนิค, การบริหารจัดการโครงการ, การส่งมอบวิทยาการ และการบริการสนับสนุนการจัดส่งให้กับกองทัพตุรกีและสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่ออุตสาหกรรมความมั่นคง(Undersecretariat for Defense Industries: SSM) ตุรกี
ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B หรือเรือดำน้ำชั้น Khalid ประจำการ 3ลำคือ S137 PNS Khalid ซึ่งสร้างที่ฝรั่งเศสประจำการเมื่อปี 1999 และ S138 PNS Saad และ S139 PNS Hamza ซึ่งสร้างที่อู่ต่อเรือ Karachi ปากีสถาน ประจำการเมื่อปี 2003 และปี 2008
ทั้งนี้ล่าสุดกองทัพเรือปากีสถานมีแผนจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน(รุ่นส่งออกมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A NATO กำหนดรหัส "Yuan") จำนวน 8ลำ วงเงินราว $5 billion ซึ่ง 4ลำจะดำเนินการสร้างในปากีสถาน พร้อมกับที่จะสร้างในจีน 4ลำ
อีกทั้งยังวางแผนจะเริ่มโครงการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ออกแบบและสร้างภายในปากีสถานเองช่วงราวปี 2017-2020 ด้วยครับ
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Lockheed Martin สหรัฐฯและอิสราเอลทำพิธีเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-35 เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอล
Lockheed Martin and Israel Celebrate Rollout of Israel’s First F-35 ‘Adir’
Israeli and U.S. government leaders joined Lockheed Martin (NYSE: LMT) to celebrate the rollout of the first Israeli Air Force F-35A Lightning II, marking a major production milestone for the future of Israel’s national defense.
https://www.f35.com/news/detail/lockheed-martin-and-israel-celebrate-rollout-of-israels-first-f-35-adir
ผู้นำรัฐบาลอิสราเอลและรัฐบาลสหรัฐฯได้ร่วมกับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯร่วมฉลองในพิธีเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II หรือ Adir เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอล ที่โรงงานใน Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นหลักสำคัญของสายการผลิตสำหรับความมั่นคงของชาติต่ออิสราเอล
"อิสราเอลมีความภูมิใจที่เป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ที่ได้รับมอบและปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่นี้ F-35 เป็นอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกและตัวเลือกของความเป็นผู้นำทางทหารของเราทั้งหมดนั้นอยู่ในระดับสูงสุด
มันจึงชัดเจนและเห็นได้ชัดทั้งเราและทั่วภูมิภาคนี้ว่า F-35 Adir ใหม่นี้จะสร้างการป้องปรามที่แท้จริงและเพิ่มขีดความสามารถของเราในระยะยาว" Avigdor Liberman รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลกล่าว
พลอากาศจัตวา Tal Kelman ผู้บัญชาการทหารอากาศอิสราเอลก็ได้กล่าวเช่นกันว่า
"ในฐานะนักบินที่ทำการบินมากกว่า 30ปีกับเครื่องบินที่ยอดเยี่ยมหลายแบบ ผมเคยได้รับสิทธิพิเศษในการบินกับเครื่องจำลองการบิน F-35 ที่ Fort Worth และมันเหมือนกับได้จับอนาคตไว้ในมือของผม
การผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ของวิทยาการที่ล้ำสมัย, อำนาจการสังหาร และส่วนติดต่อระหว่างเครื่องและผู้ใช้ที่น่ามหัศจรรย์ จะนำพาโลกเข้าสู่ยุคที่5"
นอกจากรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารอากาศอิสราเอลแล้วในพิธียังมีแขกผู้มีเกียรติจากรัฐบาล กองทัพ และอุตสาหกรรมความั่นคงรวมงานอีกมากกว่า 400ท่าน เช่น
ทูตสหรัฐฯประจำอิสรเอล Daniel Shapiro, Tzachi Hanegbi รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรีอิสราเอล, Heidi Grant รองเลขานุการทบวงกองทัพอากาศฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐฯ,
พลอากาศโท Chris Bogdan ผู้อำนวยการบริหารโครงการ F-35, Greg Abbott ผู้ว่าการมลรัฐ Texas และ Craig Goldman สมาชิกสภา Congress มลรัฐ Texas
"เราได้รับเกียรติในการเป็นหุ้นส่วนกับอิสราเอลและช่วยสร้างความแข็งแรงที่ลึกและยั่งยืนในความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสองประเทศ
F-35 จะช่วยให้อิสรเอลคงสัญญาณแห่งความแข็งแกร่งและความมีเสถียรภาพในภูมิภาคและสนับสนุนความปลอดภัยและมั่นคงของมาตุภูมิเพื่อคนรุ่นหลังที่จะมาถึง" Marillyn Hewson ประธานกรรมการ, ประธาน และผู้อำนวยการบริหาร Lockheed Martin กล่าวในงานพิธี
F-35 Adir ซึ่งในภาษาฮีบรูแปลว่า "ผู้ทรงฤทธา" จะเป็นส่วนสำคัญในการคงศักยภาพความเป็นผู้นำทางทหารของอิสราเอลในภูมิตะวันออกกลาง
ด้วยขีดความสามารถอันก้าวหน้าในเอาชนะภัยคุกคามที่อุบัติขึ้นใหม่ รวมถึงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีขั้นก้าวหน้า และห้วงอากาศที่มีการป้องกันอย่างหนาแน่น
F-35 ได้รวมวิทยาการ Stealth ที่สามารถถูกตรวจจับได้ต่ำที่สุดอย่างก้าวหน้า พร้อมความเร็วและความคล่องแคล่วระดับเครื่องบินขับไล่, ข้อมูลจากระบบตรวจจับประสิทธิภาพสูง การปฏิบัติการเป็นเครือข่าย และการสนับสนุนการคงสภาพขั้นสูง
อิสราเอลได้ดำเนินโครงการจัดหา F-35A CTOL(Conventional Take Off and Landing) รุ่นมาตรฐานขึ้นลงตามแบบสำหรับกองทัพอากาศ จำนวน 33เครื่องจากรัฐบาลสหรับฯในการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sales)
โครงการ F-35 ยังมีภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของอิสราเอลร่วมโครงการ เช่น Israel Aerospace Industries ที่ผลิตชิ้นส่วนปีกของ F-35A,
Elbit Systems Ltd. ที่ผลิตหมวกนักบินติดจอแสดงผล HMD(Helmet-Mounted Display) ยุคที่สาม ที่นักบิน F-35 ทุกนายทั่วโลกใช้ และ Elbit Systems-Cyclone ที่ผลิตส่วนประกอบวัสดุผสมส่วนลำตัวเครื่องของ F-35
นอกจากกองทัพอากาศสหรัฐฯที่จะนำ F-35A เข้าประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F-16 และเครื่องบินโจมตี A-10, กองทัพเรือสหรัฐฯที่จะนำ F-35C เข้าประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18 และนาวิกโยธินสหรัฐฯที่จะนำ F-35B เข้าประจำการแทนเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier
จะยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 11ประเทศทั่วโลกที่จะจัดหา F-35 ไปประจำการ คาดว่า F-35A เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอลจะบินไปลงจอดที่ฐานทัพอากาศ Nevatim ทางใต้ของอิสราเอลในราวเดือนธันวาคมนี้
ในส่วนของนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้น F-35B ได้ผ่านการรองรับสถานะความพร้อมปฏิบัติการรบชั้นต้น IOC(Initial Operational Capability) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2015
ส่วนกองทัพอากาศสหรัฐฯและกองทัพเรือสหรัฐฯจะประกาศความพร้อมปฏิบัติการรบขั้นต้นของ F-35A และ F-35C ในปี 2018 และคาดว่ากองทัพอากาศอิสราเอลจะประกาศความพร้อมปฏิบัติการรบขั้นต้นของ F-35A ในราวปี 2017
ซึ่งปัจจบันมีการส่งมอบ F-35 รุ่นต่างๆแล้วมากกว่า 170เครื่อง รวมชั่วโมงบินมากกว่า 60,000ชั่วโมงบินแล้วครับ
Israeli and U.S. government leaders joined Lockheed Martin (NYSE: LMT) to celebrate the rollout of the first Israeli Air Force F-35A Lightning II, marking a major production milestone for the future of Israel’s national defense.
https://www.f35.com/news/detail/lockheed-martin-and-israel-celebrate-rollout-of-israels-first-f-35-adir
ผู้นำรัฐบาลอิสราเอลและรัฐบาลสหรัฐฯได้ร่วมกับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯร่วมฉลองในพิธีเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II หรือ Adir เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอล ที่โรงงานใน Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นหลักสำคัญของสายการผลิตสำหรับความมั่นคงของชาติต่ออิสราเอล
"อิสราเอลมีความภูมิใจที่เป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ที่ได้รับมอบและปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่นี้ F-35 เป็นอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกและตัวเลือกของความเป็นผู้นำทางทหารของเราทั้งหมดนั้นอยู่ในระดับสูงสุด
มันจึงชัดเจนและเห็นได้ชัดทั้งเราและทั่วภูมิภาคนี้ว่า F-35 Adir ใหม่นี้จะสร้างการป้องปรามที่แท้จริงและเพิ่มขีดความสามารถของเราในระยะยาว" Avigdor Liberman รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลกล่าว
พลอากาศจัตวา Tal Kelman ผู้บัญชาการทหารอากาศอิสราเอลก็ได้กล่าวเช่นกันว่า
"ในฐานะนักบินที่ทำการบินมากกว่า 30ปีกับเครื่องบินที่ยอดเยี่ยมหลายแบบ ผมเคยได้รับสิทธิพิเศษในการบินกับเครื่องจำลองการบิน F-35 ที่ Fort Worth และมันเหมือนกับได้จับอนาคตไว้ในมือของผม
การผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ของวิทยาการที่ล้ำสมัย, อำนาจการสังหาร และส่วนติดต่อระหว่างเครื่องและผู้ใช้ที่น่ามหัศจรรย์ จะนำพาโลกเข้าสู่ยุคที่5"
นอกจากรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารอากาศอิสราเอลแล้วในพิธียังมีแขกผู้มีเกียรติจากรัฐบาล กองทัพ และอุตสาหกรรมความั่นคงรวมงานอีกมากกว่า 400ท่าน เช่น
ทูตสหรัฐฯประจำอิสรเอล Daniel Shapiro, Tzachi Hanegbi รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรีอิสราเอล, Heidi Grant รองเลขานุการทบวงกองทัพอากาศฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐฯ,
พลอากาศโท Chris Bogdan ผู้อำนวยการบริหารโครงการ F-35, Greg Abbott ผู้ว่าการมลรัฐ Texas และ Craig Goldman สมาชิกสภา Congress มลรัฐ Texas
"เราได้รับเกียรติในการเป็นหุ้นส่วนกับอิสราเอลและช่วยสร้างความแข็งแรงที่ลึกและยั่งยืนในความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสองประเทศ
F-35 จะช่วยให้อิสรเอลคงสัญญาณแห่งความแข็งแกร่งและความมีเสถียรภาพในภูมิภาคและสนับสนุนความปลอดภัยและมั่นคงของมาตุภูมิเพื่อคนรุ่นหลังที่จะมาถึง" Marillyn Hewson ประธานกรรมการ, ประธาน และผู้อำนวยการบริหาร Lockheed Martin กล่าวในงานพิธี
F-35 Adir ซึ่งในภาษาฮีบรูแปลว่า "ผู้ทรงฤทธา" จะเป็นส่วนสำคัญในการคงศักยภาพความเป็นผู้นำทางทหารของอิสราเอลในภูมิตะวันออกกลาง
ด้วยขีดความสามารถอันก้าวหน้าในเอาชนะภัยคุกคามที่อุบัติขึ้นใหม่ รวมถึงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีขั้นก้าวหน้า และห้วงอากาศที่มีการป้องกันอย่างหนาแน่น
F-35 ได้รวมวิทยาการ Stealth ที่สามารถถูกตรวจจับได้ต่ำที่สุดอย่างก้าวหน้า พร้อมความเร็วและความคล่องแคล่วระดับเครื่องบินขับไล่, ข้อมูลจากระบบตรวจจับประสิทธิภาพสูง การปฏิบัติการเป็นเครือข่าย และการสนับสนุนการคงสภาพขั้นสูง
อิสราเอลได้ดำเนินโครงการจัดหา F-35A CTOL(Conventional Take Off and Landing) รุ่นมาตรฐานขึ้นลงตามแบบสำหรับกองทัพอากาศ จำนวน 33เครื่องจากรัฐบาลสหรับฯในการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sales)
โครงการ F-35 ยังมีภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของอิสราเอลร่วมโครงการ เช่น Israel Aerospace Industries ที่ผลิตชิ้นส่วนปีกของ F-35A,
Elbit Systems Ltd. ที่ผลิตหมวกนักบินติดจอแสดงผล HMD(Helmet-Mounted Display) ยุคที่สาม ที่นักบิน F-35 ทุกนายทั่วโลกใช้ และ Elbit Systems-Cyclone ที่ผลิตส่วนประกอบวัสดุผสมส่วนลำตัวเครื่องของ F-35
นอกจากกองทัพอากาศสหรัฐฯที่จะนำ F-35A เข้าประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F-16 และเครื่องบินโจมตี A-10, กองทัพเรือสหรัฐฯที่จะนำ F-35C เข้าประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18 และนาวิกโยธินสหรัฐฯที่จะนำ F-35B เข้าประจำการแทนเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier
จะยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 11ประเทศทั่วโลกที่จะจัดหา F-35 ไปประจำการ คาดว่า F-35A เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอลจะบินไปลงจอดที่ฐานทัพอากาศ Nevatim ทางใต้ของอิสราเอลในราวเดือนธันวาคมนี้
ในส่วนของนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้น F-35B ได้ผ่านการรองรับสถานะความพร้อมปฏิบัติการรบชั้นต้น IOC(Initial Operational Capability) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2015
ส่วนกองทัพอากาศสหรัฐฯและกองทัพเรือสหรัฐฯจะประกาศความพร้อมปฏิบัติการรบขั้นต้นของ F-35A และ F-35C ในปี 2018 และคาดว่ากองทัพอากาศอิสราเอลจะประกาศความพร้อมปฏิบัติการรบขั้นต้นของ F-35A ในราวปี 2017
ซึ่งปัจจบันมีการส่งมอบ F-35 รุ่นต่างๆแล้วมากกว่า 170เครื่อง รวมชั่วโมงบินมากกว่า 60,000ชั่วโมงบินแล้วครับ
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559
การทดสอบการบินและจัดแสดงเฮลิคอปเตอร์ H145M กองทัพเรือไทยที่เยอรมนี
https://twitter.com/AirbusHC
H145M กองทัพเรือไทยสาธิตการบินในงานประชาสัมพันธ์ต่อสื่อมวลชน International Trade Media Briefing 2016 ของบริษัท Airbus Defence & Space ซึ่งมีบริษัท Airbus Helicopters อยู่ในเครือ
https://twitter.com/MILTECH1
http://www.miltechmag.com/2016/06/airbus-helicopters-h145m-multirole.html
เฮลิคอปเตอร์ H145M ติดตั้งระบบอาวุธ HForce generic weapon system ตั้งแสดงให้สื่อมวลชนชมในงานที่เยอรมนี
ประกอบด้วยกล้องตรวจการณ์ชี้เป้า Electro-Optic/Infrared/Laser แบบ L3 WESCAM MX-15
แท่นติดอาวุธปืนภายในห้องโดยสารข้างประตูซ้ายขวา(ในภาพเป็นปืนไม้จำลองสำหรับปืนกล 7.62mm เช่น FN MAG58 และปืนกลหกลำกล้องหมุน M134 Minigun 7.62mm) สายวิทยุ Rockwell Collins HF-9000
คานอาวุธและอุปกรณ์เอนกประสงค์(Multi-Purpose Pylons) สำหรับกระเปาะจรวด FZ220 หรือ FZ223 ความจุ ๗นัด และกระเปาะปืนกลหนัก FN HMP400 ขนาด .50cal (12.7x99mm) เช่นเดียวกับที่ใช้กับ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 ของกองทัพบกไทย
แต่ส่วนตัวไม่ใจว่าเป็นการติดตั้งเพื่อใช้แสดงต่อสื่อมวลชนเท่านั้น ไม่ได้เป็นระบบที่กองทัพเรือไทยจัดหามาสำหรับเฮลิคอปเตอร์ H145M ทั้ง ๕เครื่องทุกระบบทั้งหมดหรือไม่ครับ
(แต่ถ้าได้ทั้งหมดนี้จริงจะนับว่า H145M ของกองทัพเรือไทยเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีสมรรถนะเอนกประสงค์สูงสุดแบบหนึ่งในภูมิภาคนี้ครับ)
ตุรกีออกเอกสารขอข้อเสนอโครงการปรับปรุงเรือดำน้ำ U209 ชั้น Preveze
Turkey issues RfP for Preveze-class submarine modernisation
Turkey plans to modernise its four Preveze-class submarines. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/61687/turkey-issues-rfp-for-preveze-class-submarine-modernisation
ตุรกีมีแผนที่จะปรับปรุงเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Preveze(Type 209/1400) ของกองทัพเรือตุรกีตามร่างแผนการจัดหาด้านกลาโหมของประเทศ
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่ออุตสาหกรรมความมั่นคง(Undersecretariat for Defense Industries: SSM) ได้ออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal) สำหรับการทำงานโครงการปรับปรุงครึ่งอายุเรือ(Mid-Life) ซึ่งจะให้ผู้เข้าแข่งขันเสนอภายในวันที่ 22 กรกฎาคม
SSM ตุรกีได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าระบบ Electronic ที่ใช้กับเรือดำน้ำ U209/1400 ชั้น Preveze จะถูกแทนที่ด้วยระบบยุคใหม่ที่ทันสมัย ซึ่ง SSM ยังกำหนดด้วยว่าการปรับปรุงเรือดำน้ำนี้จะเป็นโครงการพัฒนาภายในประเทศ
เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Preveze ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Golcuk ตุรกีภายใต้สิทธิบัติของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือ ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ระหว่างปี 1989-1994
โดยกองทัพเรือตรุกีมีแผนที่จะประเมินการทดแทนเรือดำน้ำชั้น Preveze ด้วยเรือดำน้ำที่ออกแบบโดยตุรกีเองซึ่งมีกำหนดการสร้างในราวปี 2030s
ปัจจุบันกองทัพเรือตุรกีมีเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าแบบ Type 209 ประจำการอยู่ 3ชั้น รวม 14ลำ ประกอบด้วย เรือดำน้ำชั้น Atilay(Type 209/1200) 6ลำ ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยเรือดำน้ำแบบ Type 214 6ลำในอนาคต, เรือดำน้ำชั้น Preveze(Type 209/1400) 4ลำ และเรือดำน้ำชั้น Gur(Type 209/1400mod) 4ลำครับ
Turkey plans to modernise its four Preveze-class submarines. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/61687/turkey-issues-rfp-for-preveze-class-submarine-modernisation
ตุรกีมีแผนที่จะปรับปรุงเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Preveze(Type 209/1400) ของกองทัพเรือตุรกีตามร่างแผนการจัดหาด้านกลาโหมของประเทศ
โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่ออุตสาหกรรมความมั่นคง(Undersecretariat for Defense Industries: SSM) ได้ออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal) สำหรับการทำงานโครงการปรับปรุงครึ่งอายุเรือ(Mid-Life) ซึ่งจะให้ผู้เข้าแข่งขันเสนอภายในวันที่ 22 กรกฎาคม
SSM ตุรกีได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าระบบ Electronic ที่ใช้กับเรือดำน้ำ U209/1400 ชั้น Preveze จะถูกแทนที่ด้วยระบบยุคใหม่ที่ทันสมัย ซึ่ง SSM ยังกำหนดด้วยว่าการปรับปรุงเรือดำน้ำนี้จะเป็นโครงการพัฒนาภายในประเทศ
เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Preveze ถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Golcuk ตุรกีภายใต้สิทธิบัติของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือ ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ระหว่างปี 1989-1994
โดยกองทัพเรือตรุกีมีแผนที่จะประเมินการทดแทนเรือดำน้ำชั้น Preveze ด้วยเรือดำน้ำที่ออกแบบโดยตุรกีเองซึ่งมีกำหนดการสร้างในราวปี 2030s
ปัจจุบันกองทัพเรือตุรกีมีเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าแบบ Type 209 ประจำการอยู่ 3ชั้น รวม 14ลำ ประกอบด้วย เรือดำน้ำชั้น Atilay(Type 209/1200) 6ลำ ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยเรือดำน้ำแบบ Type 214 6ลำในอนาคต, เรือดำน้ำชั้น Preveze(Type 209/1400) 4ลำ และเรือดำน้ำชั้น Gur(Type 209/1400mod) 4ลำครับ
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559
IVECO อิตาลีเสร็จสิ้นการส่งมอบรถยนต์บรรทุก LMV ให้รัสเซีย
Iveco to complete the delivery of LMV light multirole vehicles to Russia
M65 LMV light multirole vehicle
http://www.armyrecognition.com/june_2016_global_defense_security_news_industry/iveco_to_complete_the_delivery_of_lmv_light_multirole_vehicles_to_russia_tass_32106161.html
บริษัท Iveco Defence Vehicles อิตาลีได้ยืนยันว่าบริษัทได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถยนต์บรรทุกเบาหุ้มเกราะเอนกประสงค์ 4x4 แบบ LMV ให้กองทัพบกรัสเซียแล้ว
ตามการให้ข้อมูลของหัวหน้าแผนกพัฒนา Hardware ของบริษัท Iveco นาย Claudio Catalano ต่อสำนักข่าว TASS ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13-17 มิถุนายน ที่ผ่านมา
"รถหุ้มเกราะ LMV M65 ได้ถูกส่งมอบอย่างเต็มอัตราให้รัสเซียแล้ว พวกมันกำลังอยู่ระหว่างการปรนนิบัติซ่อมบำรุงตามสัญญาที่ลงนามไว้ก่อนหน้านี้" นาย Catalano กล่าว
หัวหน้าแผนกพัฒนา Hardware ของ Iveco Defence Vehicles กล่าวเพิ่มว่าทางบริษัทอาจจะคงความร่วมมือกับรัสเซียถ้ายังคงมีเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกันอยู่
ตามรายงานก่อนหน้านี้กองทัพรัสเซียจะได้รับมอบรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ LMV M65 จำนวน 358คัน ซึ่งผลิตในรัสเซียตามสิทธิบัตรจาก Iveco ในชื่อ Rys โดยก่อนหน้านี้กองทัพรัสเซียได้รับมอบรถชุดแรก 57คันที่ผลิตที่อิตาลีเมื่อปี 2012
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ของยูเครน ทำให้สหภาพยุโรปซึ่งอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกตัดความสัมพันธ์ทางการทหารกับรัสเซีย
ซึ่งนั่นส่งผลให้ความร่วมมือระหว่าง Iveco อิตาลี และ VPK(Military Industrial Company)รัสเซีย ตามแผนเดิมที่จะมีการผลิตรถยนต์บรรทุก Rys(LMV) ถึง 1,775คันต้องติดขัดล่าช้าเป็นเวลานาน และอาจจะเหลือเพียงสิ้นสุดการจัดหาที่ 358คันด้วย
ทั้งนี้ก็มีรายงานภาพจากสื่อออกมาครับว่ากองทัพรัสเซียได้ส่งรถบรรทุกหุ้มเกราะ Rys ไปประจำการที่ Latakia ซีเรีย เพื่อคุ้มกันกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศรัสเซียที่ปฏิบัติการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลซีเรียครับ
M65 LMV light multirole vehicle
http://www.armyrecognition.com/june_2016_global_defense_security_news_industry/iveco_to_complete_the_delivery_of_lmv_light_multirole_vehicles_to_russia_tass_32106161.html
บริษัท Iveco Defence Vehicles อิตาลีได้ยืนยันว่าบริษัทได้เสร็จสิ้นการส่งมอบรถยนต์บรรทุกเบาหุ้มเกราะเอนกประสงค์ 4x4 แบบ LMV ให้กองทัพบกรัสเซียแล้ว
ตามการให้ข้อมูลของหัวหน้าแผนกพัฒนา Hardware ของบริษัท Iveco นาย Claudio Catalano ต่อสำนักข่าว TASS ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13-17 มิถุนายน ที่ผ่านมา
"รถหุ้มเกราะ LMV M65 ได้ถูกส่งมอบอย่างเต็มอัตราให้รัสเซียแล้ว พวกมันกำลังอยู่ระหว่างการปรนนิบัติซ่อมบำรุงตามสัญญาที่ลงนามไว้ก่อนหน้านี้" นาย Catalano กล่าว
หัวหน้าแผนกพัฒนา Hardware ของ Iveco Defence Vehicles กล่าวเพิ่มว่าทางบริษัทอาจจะคงความร่วมมือกับรัสเซียถ้ายังคงมีเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกันอยู่
ตามรายงานก่อนหน้านี้กองทัพรัสเซียจะได้รับมอบรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ LMV M65 จำนวน 358คัน ซึ่งผลิตในรัสเซียตามสิทธิบัตรจาก Iveco ในชื่อ Rys โดยก่อนหน้านี้กองทัพรัสเซียได้รับมอบรถชุดแรก 57คันที่ผลิตที่อิตาลีเมื่อปี 2012
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ของยูเครน ทำให้สหภาพยุโรปซึ่งอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกตัดความสัมพันธ์ทางการทหารกับรัสเซีย
ซึ่งนั่นส่งผลให้ความร่วมมือระหว่าง Iveco อิตาลี และ VPK(Military Industrial Company)รัสเซีย ตามแผนเดิมที่จะมีการผลิตรถยนต์บรรทุก Rys(LMV) ถึง 1,775คันต้องติดขัดล่าช้าเป็นเวลานาน และอาจจะเหลือเพียงสิ้นสุดการจัดหาที่ 358คันด้วย
ทั้งนี้ก็มีรายงานภาพจากสื่อออกมาครับว่ากองทัพรัสเซียได้ส่งรถบรรทุกหุ้มเกราะ Rys ไปประจำการที่ Latakia ซีเรีย เพื่อคุ้มกันกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศรัสเซียที่ปฏิบัติการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลซีเรียครับ
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
อินเดียและไทยแสวงหาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน
Model of Su-30MKI with BrahMos Anti-Ship Cruise Missile at Defense & Security 2015 (My Own Photo)
India and Thailand explore defence industry collaboration
http://www.janes.com/article/61604/india-and-thailand-explore-defence-industry-collaboration
อินเดียและไทยได้เห็นชอบข้อตกลงร่วมกันที่จะขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงด้วยมุมมองการอำนวยความสะดวกการค้าด้านความมั่นคงและและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแถลงเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายนที่ผ่านมาหลังการเจรจาที่ New Delhi อินเดีย ระหว่างนายกรัฐมนตรีอินเดีย นาย Narendra Modi ที่ต้อนรับการมาเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
แถลงการณ์ได้กล่าวว่าทั้งสองประเทศคืออินเดียและไทยจะเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อสร้าง "การเชื่อมโยง" ในส่วนการวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคง และการผลิตร่วมกัน
ความร่วมมือด้านความมั่นคงจะเป็นการขยายทั้งการแลกเปลี่ยนทางการทหารและการฝึกทางทหารเพิ่มเติมร่วมกัน, การทำงานร่วมกันในการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเล และความร่วมมือเชิงลึกในการลาดตะเวนทางทะเล
ในส่วนของผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงแถลงการณ์ได้แสดงถึงความร่วมมือกันในกรอบการทำงานสำหรับความเป็นไปได้ในการส่งออกอาวุธของอินเดีย ซึ่งนโยบาย "Make in India" ของรัฐบาลอินเดียปัจจุบันที่ต้องการจะให้กลุ่มธุรกิจของไทยเข้ามาลงทุนดำเนินการในอินเดียมากขึ้น
โดยอินเดียมีประสบการณ์ด้านการออกแบบและผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ความมั่นคงหลายประเภทด้วยตนเองและร่วมมือกับต่างประเทศในหลายระดับเป็นเวลานาน ซึ่งอินเดียสนใจที่จะเพิ่มความร่วมมือกับไทยในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงกับไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคตครับ
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กองเรือแปซิฟิกกองทัพเรือรัสเซียจะได้รับมอบเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ลำใหม่ก่อนสิ้นปีนี้
Russian Pacific Fleet to get Vladimir Monomakh nuclear sub before yearend
Lev Fedoseyev/TASS
The Project 955 nuclear-powered submarine is equipped with an escape chamber designed to accommodate the entire crew
http://tass.ru/en/defense/883289
พลเรือเอก Vladimir Korolev ผู้บัญชาการกองทัพเรือรัสเซียได้ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว TASS ว่า
เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 955 Borey คือ K-551 Vladimir Monomakh จะเสร็จสิ้นการเดินทางเพื่อเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิก กองทัพเรือรัสเซียภายในก่อนสิ้นปีนี้
"ปีนี้เรือชั้น Borey จะอยู่ที่นั่นเช่นที่เราให้สัญญาไว้" นายพลเรือ Korolev กล่าว
กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการรับมอบเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ยุคที่4 ชั้น Project 955 Borei หรือชั้น Dolgorukiy ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จเข้าประจำการแล้ว 3ลำคือ K-535 Yuriy Dolgoruky, K-550 Alexander Nevsky และ K-551 Vladimir Monomakh
โดยเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 955A Borei II ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงลำแรกคือ Knyaz Vladimir (Prince Vladimir) คาดว่าจะเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิกภายในปี 2017 และจะมีเรือชั้น Borei II มากกว่า 4ลำประจำการตามมาหลังปี 2020
ซึ่งกองทัพเรือรัสเซียต้องการคงกำลังกองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ SSBN รวม 15ลำ ในกรณีที่ต้องปลดประจำการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 667BDR Kalmar (NATO กำหนดรหัส Delta III) ลง
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปยิงจากเรือดำน้ำ SLBM(Submarine Launched Ballistic Missile) แบบ R-30 Bulava ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นระบบขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์หลักของกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์รัสเซียในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง
โดยเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 สามารถติดตั้งขีปนาวุธ Bulava ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเหลวได้ 16นัดมีระยะยิงไกลกว่า 8,000km พร้อมหัวรบย่อย MIRV(Multiple Independently targetable Reentry Vehicle) ในการส่งหัวรบนิวเคลียร์เข้าโจมตีหลายๆเป้าหมายพร้อมกัน
ทั้งนี้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 Borei ยังติดตั้ง Escape Chamber ที่หอเรือซึ่งเป็นห้องหลบหนีฉุกเฉิน ที่ออกแบบมาสำหรับให้กำลังพลประจำเรือทุกนายสามารถเข้าไปเพื่อหลบหนีออกจากตัวเรือขณะสละเรือใหญ่เมื่อดำอยู่ใต้น้ำได้อย่างปลอดภัยครับ
Lev Fedoseyev/TASS
The Project 955 nuclear-powered submarine is equipped with an escape chamber designed to accommodate the entire crew
http://tass.ru/en/defense/883289
พลเรือเอก Vladimir Korolev ผู้บัญชาการกองทัพเรือรัสเซียได้ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว TASS ว่า
เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 955 Borey คือ K-551 Vladimir Monomakh จะเสร็จสิ้นการเดินทางเพื่อเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิก กองทัพเรือรัสเซียภายในก่อนสิ้นปีนี้
"ปีนี้เรือชั้น Borey จะอยู่ที่นั่นเช่นที่เราให้สัญญาไว้" นายพลเรือ Korolev กล่าว
กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการรับมอบเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ยุคที่4 ชั้น Project 955 Borei หรือชั้น Dolgorukiy ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จเข้าประจำการแล้ว 3ลำคือ K-535 Yuriy Dolgoruky, K-550 Alexander Nevsky และ K-551 Vladimir Monomakh
โดยเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 955A Borei II ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงลำแรกคือ Knyaz Vladimir (Prince Vladimir) คาดว่าจะเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิกภายในปี 2017 และจะมีเรือชั้น Borei II มากกว่า 4ลำประจำการตามมาหลังปี 2020
ซึ่งกองทัพเรือรัสเซียต้องการคงกำลังกองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ SSBN รวม 15ลำ ในกรณีที่ต้องปลดประจำการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 667BDR Kalmar (NATO กำหนดรหัส Delta III) ลง
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปยิงจากเรือดำน้ำ SLBM(Submarine Launched Ballistic Missile) แบบ R-30 Bulava ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นระบบขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์หลักของกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์รัสเซียในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง
โดยเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 สามารถติดตั้งขีปนาวุธ Bulava ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเหลวได้ 16นัดมีระยะยิงไกลกว่า 8,000km พร้อมหัวรบย่อย MIRV(Multiple Independently targetable Reentry Vehicle) ในการส่งหัวรบนิวเคลียร์เข้าโจมตีหลายๆเป้าหมายพร้อมกัน
ทั้งนี้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Project 955 Borei ยังติดตั้ง Escape Chamber ที่หอเรือซึ่งเป็นห้องหลบหนีฉุกเฉิน ที่ออกแบบมาสำหรับให้กำลังพลประจำเรือทุกนายสามารถเข้าไปเพื่อหลบหนีออกจากตัวเรือขณะสละเรือใหญ่เมื่อดำอยู่ใต้น้ำได้อย่างปลอดภัยครับ
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559
IVECO อิตาลีเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Centauro II
Eurosatory 2016: IVECO launches Centauro II tank destroyer
CIO unveiled its new Centauro II tank destroyer at Eurosatory 2016. Source: IHS/Nick de Larrinaga
http://www.janes.com/article/61417/eurosatory-2016-iveco-launches-centauro-ii-tank-destroyer
CIO กลุ่มกิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท IVECO และ Oto Melara ในเครือบริษัท Leonardo อิตาลี (Finmeccanica เดิม ซึ่งมีหลายบริษัทในเครือ เช่น AgustaWestland, Alenia Aermacchi, Selex ES, OTO Melara และ WASS)
ได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm แบบใหม่ Centauro II 8x8 ซึ่งเป็นยานเกราะพิฆาตรถถัง(Tank Destroyer) หรือระบบปืนเคลื่อนที่(MGS: Mobile Gun System) ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส วันที่ 13-17 มิถุนายน
โดยรถเกราะล้อยาง Centauro II ถูกออกแบบมาสำหรับกองทัพบกอิตาลีซึ่งมีแผนจะจัดซื้อจำนวน 136คันเข้าประจำการในหน่วยทหารม้า 9หน่วย ทดแทนรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง B1 Centauro 105mm
จากการให้สัมภาษณ์ของนาย Roberto Cortesi ประธาน CIO ในงาน Eurosatory 2016 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา
เขากล่าวว่ารถรบใหม่นี้ได้เพิ่มสมรรถนะการเคลื่อนที่, การป้องกัน, เครือข่าย และอำนาจการยิงที่เหนือกว่ารถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Centauro รุ่นก่อนที่ใช้งานมาแล้ว 30ปี ซึ่งมีประจำการในอิตาลี, สเปน และโอมาน
Centauro II ถูกออกแบบมาสำหรับการลาดตระเวนเชิงรุกให้กับกองกำลัง ด้วยความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่วางกำลังและหลบหลีก และอำนาจการยิงที่สามารถโจมตีข้าศึกทุกประเภทได้ในระยะยิงไกลสุด
CIO นั้นได้ทำการผลิตยานเกราะมากกว่า 1,700คันตั้งแต่ยานเกราะขนาดกลางจนถึงยานเกราะขนาดหนักส่งมอบให้กองทัพบกอิตาลีมาแล้ว
โดย Centauro II ถูกออกแบบตามความต้องการของกองทัพบกอิตาลีที่ต้องการรถน้ำหนักรวมไม่เกิน 30tons อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก 24HP/ton(เทียบกับ 17HP/ton ในรุ่นแรก) ความเร็วบนถนนสูงสุดมากกว่า 100km/h พิสัยทำการ 800km และมีการป้องกันกระสุนดีกว่ารุ่นแรก
บริษัท IVECO นั้นรับผิดชอบการพัฒนาตัวถังรถและระบบขับเคลื่อนซึ่งเป็นรถหุ้มเกราะล้อยาง8x8 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 720HP ระบบส่งกำลังอัตโนมัติ ZF สามารถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 105km/h พร้อมเกราะป้องกันกระสุนและทุ่นระเบิด
บริษัท Oto Melara(Leonardo) นั้นรับผิดชอบการพัฒนาระบบป้อมปืนแบบใช้กำลังพล 3นาย ติดปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm/45caliber พร้อมระบบบรรจุกระสุนกึ่งอัตโนมัติ, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และป้อมปืน Remote แบบ Hitrole L ซึ่งสามารถเลือกติดได้ตั้งแต่ปืนกล 7.62mm, ปืนกลหนัก 12.7mm จนถึงเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm
ปืนใหญ่รถถัง 120mm/45cal นี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าปืนใหญ่รถถัง 105mm/52cal ที่ใช้ในรถเกราะล้อยาง Centauro รุ่นก่อน โดยสามารถยิงกระสุนปืนใหญ่รถถัง 120mm มาตรฐาน NATO ได้ทุกแบบรวมถึงกระสุนที่ตั้งโปรแกรมได้เช่น กระสุนระเบิดแรงสูงแตกอากาศ DM11 HE ABM(High Explosive Air Bursting Munition)
Centauro II มีระยะยิงที่ไกลกว่าและแม่นยำกว่า อีกทั้งระบบป้อมปืนติดตั้งระบบรักษาเสถียรภาพ กล้องกลางวัน กล้องสร้างภาพความร้อน และระบบ Laser วัดระยะสำหรับ ผบ.รถ และพลยิง สามารถทำการยิงขณะเคลื่อนที่ได้ซึ่ง Centauro รุ่นก่อนทำไม่ได้
โดย ปถ.120mm/45 นั้นพัฒนามาจากปืนใหญ่รถถัง 120mm/44cal ที่ใช้ในรถถังหลัก Ariete ซึ่งปรับปรุงลดแรงถีบด้วยปลอกลดความถอยที่ลดแรงถีบจาก 45tons ถ.หลัก Ariete เหลือเพียง 25tons ในรถเกราะล้อยาง Centauro II
รถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Centauro II คันต้นแบบ 1คันได้ประกอบสร้างเสร็จออกจากโรงงานของ Iveco ที่ Bolzano แล้ว
โดยรถต้นแบบดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นทดสอบการขับเคลื่อนและการยิงอย่างครอบคลุมภายในสิ้นปี 2016นี้
เมื่อถูกนำเข้าประจำการ Centauro II จะทำให้กองทัพบกอิตาลีมีขีดความสามารถที่สูงขึ้นไปอีกขั้นครับ
CIO unveiled its new Centauro II tank destroyer at Eurosatory 2016. Source: IHS/Nick de Larrinaga
http://www.janes.com/article/61417/eurosatory-2016-iveco-launches-centauro-ii-tank-destroyer
CIO กลุ่มกิจการร่วมทุนระหว่างบริษัท IVECO และ Oto Melara ในเครือบริษัท Leonardo อิตาลี (Finmeccanica เดิม ซึ่งมีหลายบริษัทในเครือ เช่น AgustaWestland, Alenia Aermacchi, Selex ES, OTO Melara และ WASS)
ได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm แบบใหม่ Centauro II 8x8 ซึ่งเป็นยานเกราะพิฆาตรถถัง(Tank Destroyer) หรือระบบปืนเคลื่อนที่(MGS: Mobile Gun System) ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส วันที่ 13-17 มิถุนายน
โดยรถเกราะล้อยาง Centauro II ถูกออกแบบมาสำหรับกองทัพบกอิตาลีซึ่งมีแผนจะจัดซื้อจำนวน 136คันเข้าประจำการในหน่วยทหารม้า 9หน่วย ทดแทนรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง B1 Centauro 105mm
จากการให้สัมภาษณ์ของนาย Roberto Cortesi ประธาน CIO ในงาน Eurosatory 2016 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา
เขากล่าวว่ารถรบใหม่นี้ได้เพิ่มสมรรถนะการเคลื่อนที่, การป้องกัน, เครือข่าย และอำนาจการยิงที่เหนือกว่ารถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Centauro รุ่นก่อนที่ใช้งานมาแล้ว 30ปี ซึ่งมีประจำการในอิตาลี, สเปน และโอมาน
Centauro II ถูกออกแบบมาสำหรับการลาดตระเวนเชิงรุกให้กับกองกำลัง ด้วยความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่วางกำลังและหลบหลีก และอำนาจการยิงที่สามารถโจมตีข้าศึกทุกประเภทได้ในระยะยิงไกลสุด
CIO นั้นได้ทำการผลิตยานเกราะมากกว่า 1,700คันตั้งแต่ยานเกราะขนาดกลางจนถึงยานเกราะขนาดหนักส่งมอบให้กองทัพบกอิตาลีมาแล้ว
โดย Centauro II ถูกออกแบบตามความต้องการของกองทัพบกอิตาลีที่ต้องการรถน้ำหนักรวมไม่เกิน 30tons อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก 24HP/ton(เทียบกับ 17HP/ton ในรุ่นแรก) ความเร็วบนถนนสูงสุดมากกว่า 100km/h พิสัยทำการ 800km และมีการป้องกันกระสุนดีกว่ารุ่นแรก
บริษัท IVECO นั้นรับผิดชอบการพัฒนาตัวถังรถและระบบขับเคลื่อนซึ่งเป็นรถหุ้มเกราะล้อยาง8x8 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 720HP ระบบส่งกำลังอัตโนมัติ ZF สามารถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 105km/h พร้อมเกราะป้องกันกระสุนและทุ่นระเบิด
บริษัท Oto Melara(Leonardo) นั้นรับผิดชอบการพัฒนาระบบป้อมปืนแบบใช้กำลังพล 3นาย ติดปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm/45caliber พร้อมระบบบรรจุกระสุนกึ่งอัตโนมัติ, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และป้อมปืน Remote แบบ Hitrole L ซึ่งสามารถเลือกติดได้ตั้งแต่ปืนกล 7.62mm, ปืนกลหนัก 12.7mm จนถึงเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm
ปืนใหญ่รถถัง 120mm/45cal นี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าปืนใหญ่รถถัง 105mm/52cal ที่ใช้ในรถเกราะล้อยาง Centauro รุ่นก่อน โดยสามารถยิงกระสุนปืนใหญ่รถถัง 120mm มาตรฐาน NATO ได้ทุกแบบรวมถึงกระสุนที่ตั้งโปรแกรมได้เช่น กระสุนระเบิดแรงสูงแตกอากาศ DM11 HE ABM(High Explosive Air Bursting Munition)
Centauro II มีระยะยิงที่ไกลกว่าและแม่นยำกว่า อีกทั้งระบบป้อมปืนติดตั้งระบบรักษาเสถียรภาพ กล้องกลางวัน กล้องสร้างภาพความร้อน และระบบ Laser วัดระยะสำหรับ ผบ.รถ และพลยิง สามารถทำการยิงขณะเคลื่อนที่ได้ซึ่ง Centauro รุ่นก่อนทำไม่ได้
โดย ปถ.120mm/45 นั้นพัฒนามาจากปืนใหญ่รถถัง 120mm/44cal ที่ใช้ในรถถังหลัก Ariete ซึ่งปรับปรุงลดแรงถีบด้วยปลอกลดความถอยที่ลดแรงถีบจาก 45tons ถ.หลัก Ariete เหลือเพียง 25tons ในรถเกราะล้อยาง Centauro II
รถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Centauro II คันต้นแบบ 1คันได้ประกอบสร้างเสร็จออกจากโรงงานของ Iveco ที่ Bolzano แล้ว
โดยรถต้นแบบดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นทดสอบการขับเคลื่อนและการยิงอย่างครอบคลุมภายในสิ้นปี 2016นี้
เมื่อถูกนำเข้าประจำการ Centauro II จะทำให้กองทัพบกอิตาลีมีขีดความสามารถที่สูงขึ้นไปอีกขั้นครับ
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
รัสเซียและพม่าลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางทหาร
Russia and Myanmar sign agreement on military cooperation
Myanmar military tanks
EPA/HEIN HTET
The document envisages cooperation in the navy sphere, military education and other promising spheres
http://tass.ru/en/defense/882419
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Anatoly Antonov กล่าวเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนว่า รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียและรัฐมนตรีกลาโหมพม่าได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารร่วมกันของทั้งสองประเทศ
"ก้าวย่างที่จริงจังมากนี้ได้มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาความร่วมมือทางการทหารร่วมกันของทั้งสองประเทศ เรากำลังจัดตั้งหลักพื้นฐานทางกฎหมายที่สามารถคาดการณ์ได้เพื่อรักษาความร่วมมือในระยะยาวระหว่างประเทศของพวกเรา
เป็นเวลาก่อนหน้านี้หลายปีมีหลายอย่างมากที่เสร็จสิ้นไปแล้วในการพัฒนาความร่วมมือทางทหารและเทคนิคทางทหาร ผมคิดว่าเอกสารของเราจะทำหน้าเพิ่มเติมแรงผลักดันในหลายด้าน" นาย Antonov กล่าว
ตามข้อมูลของรองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกรอบข้อตกลงความร่วมมือจะครอบคลุมในส่วนกองทัพเรือ, อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ, การศึกษาทางทหาร และครอบคลุมส่วนอื่นๆด้านความร่วมมือทางการทหาร
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวด้วยว่าขณะนี้ทั้งสองประเทศ "จะมีเครื่องมือเพียงพอสำหรับความเป็นไปได้ทุกอย่างที่จะเพิ่มศักยภาพความพร้อมรบของทั้งกองทัพพม่าและกองทัพรัสเซีย"
รัฐมนตรีกลาโหมพม่า Myint New ก็กล่าวกลับเช่นกันว่าทั้งสองประเทศจะร่วมความสัมพันธ์ฉันมิตรกันในระยะยาว
"เราต้องการที่สร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในอนาคต ในสถานะปัจจุบันนี้เราเข้าใกล้หัวข้อการลงนามในข้อตกลงด้วยความพร้อมเต็มอัตรา มันต้องมีการประสานงานในทุกระดับรวมถึงในรัฐสภา"
นาย Myint กล่าว รัฐมนตรีกลาโหมพม่าเน้นย้ำว่าพม่าเล็งเห็นถึงแนวโน้มที่ยอดเยี่ยมในกรอบความร่วมมือด้านกองทัพเรือกับรัสเซีย
กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงหัวข้อการแลกเปลี่ยนข้อมูลความปลอดภัยนานาชาติซึ่งรวมถึงการต่อสู้กับการก่อการร้าย,
ความร่วมมือในกรอบวัฒนธรรมและการพักผ่อนวันหยุดของเจ้าหน้าที่และครอบครัว และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติการรักษาสันติภาพครับ
Myanmar military tanks
EPA/HEIN HTET
The document envisages cooperation in the navy sphere, military education and other promising spheres
http://tass.ru/en/defense/882419
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Anatoly Antonov กล่าวเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนว่า รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียและรัฐมนตรีกลาโหมพม่าได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารร่วมกันของทั้งสองประเทศ
"ก้าวย่างที่จริงจังมากนี้ได้มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาความร่วมมือทางการทหารร่วมกันของทั้งสองประเทศ เรากำลังจัดตั้งหลักพื้นฐานทางกฎหมายที่สามารถคาดการณ์ได้เพื่อรักษาความร่วมมือในระยะยาวระหว่างประเทศของพวกเรา
เป็นเวลาก่อนหน้านี้หลายปีมีหลายอย่างมากที่เสร็จสิ้นไปแล้วในการพัฒนาความร่วมมือทางทหารและเทคนิคทางทหาร ผมคิดว่าเอกสารของเราจะทำหน้าเพิ่มเติมแรงผลักดันในหลายด้าน" นาย Antonov กล่าว
ตามข้อมูลของรองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกรอบข้อตกลงความร่วมมือจะครอบคลุมในส่วนกองทัพเรือ, อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ, การศึกษาทางทหาร และครอบคลุมส่วนอื่นๆด้านความร่วมมือทางการทหาร
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวด้วยว่าขณะนี้ทั้งสองประเทศ "จะมีเครื่องมือเพียงพอสำหรับความเป็นไปได้ทุกอย่างที่จะเพิ่มศักยภาพความพร้อมรบของทั้งกองทัพพม่าและกองทัพรัสเซีย"
รัฐมนตรีกลาโหมพม่า Myint New ก็กล่าวกลับเช่นกันว่าทั้งสองประเทศจะร่วมความสัมพันธ์ฉันมิตรกันในระยะยาว
"เราต้องการที่สร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในอนาคต ในสถานะปัจจุบันนี้เราเข้าใกล้หัวข้อการลงนามในข้อตกลงด้วยความพร้อมเต็มอัตรา มันต้องมีการประสานงานในทุกระดับรวมถึงในรัฐสภา"
นาย Myint กล่าว รัฐมนตรีกลาโหมพม่าเน้นย้ำว่าพม่าเล็งเห็นถึงแนวโน้มที่ยอดเยี่ยมในกรอบความร่วมมือด้านกองทัพเรือกับรัสเซีย
กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงหัวข้อการแลกเปลี่ยนข้อมูลความปลอดภัยนานาชาติซึ่งรวมถึงการต่อสู้กับการก่อการร้าย,
ความร่วมมือในกรอบวัฒนธรรมและการพักผ่อนวันหยุดของเจ้าหน้าที่และครอบครัว และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติการรักษาสันติภาพครับ
วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๘
http://www.malyshevplant.com/uk/content/shkolyaram-pokazali-virobnictvo
วันที่ ๑๓ มิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มนักเรียน ๒๕คนจากโรงเรียนในภาค Zachepilovsky Mykolaiv ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv ยูเครน
จากชุดภาพจะเห็นถึงการผลิตชิ้นส่วนของรถถังหลัก Oplot และการปรับปรุงถังหลัก T-64 Bulat ที่กำลังดำเนินการอยู่ในโรงงาน เช่น ชิ้นส่วนป้อมปืน รถแคร่ฐาน ป้อมปืนกลหนัก Remote ฯลฯ เป็นต้น
โดยที่มีเจ้าหน้าที่ในโรงงานให้คำแนะนำอธิบายและให้เด็กเยาวชนนักเรียนสัมผัสรถถังอย่างใกล้ชิด ก็น่าจะระบุได้ส่วนหนึ่งการผลิตและประกอบรถถังหลัก Oplot กองทัพบกไทยที่โรงงาน Malyshev กำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องและคืบหน้าไปบ้าง
โดยน่าจะมี ถ.หลัก Oplot หลายคันที่ประกอบใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีชิ้นส่วนรถอีกหลายๆชิ้นถูกผลิตแล้วที่รอการประกอบครับ
Rheinmetall เยอรมนีเปิดตัวรถรบทหารราบสายพาน Lynx
Rheinmetall undiscloses the Lynx Light Armored Infantry Fighting Vehicle at Eurosatory 2016
Rheinmetall's new LYNX Light AIFV unveiled at Eurosatory 2016
http://www.armyrecognition.com/eurosatory_2016_official_news_online_web_tv_television_defense_security_exhibition_paris_france/rheinmetall_undiscloses_the_lynx_light_armored_infantry_fighting_vehicle_at_eurosatory_2016.html
งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่จัดขึ้นที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน บริษัท Rheinmetall เยอรมนีได้เปิดตัวรถรบทหารราบสายพานแบบ Lynx ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก
โดยรถรบทหารราบ Lynx เป็นรถหุ้มเกราะสายพานที่ถูกออกแบบโดยใช้วิทยาการล่าสุดในปัจจุบันให้มีอำนาจการการยิงสูง มีการป้องกันตนเองสูง สำหรับปฏิบัติการยึดครองสนามรบสมัยใหม่ ทั้งในภารกิจรักษาสันติภาพจนถึงการรบภาวะตึงเครียดระดับสูง
Ben Hudson หัวหน้าแผนกระบบยานยนต์ของ Rheinmetall กล่าวว่า
"Lynx เป็นตระกูลรถรบแบบ Modular ขั้นก้าวหน้าใหม่ที่จะเสนอต่อลูกค้าของเราด้วยระดับสูงสุดของ ความอยู่รอด, การเคลื่อนที่, อำนาจการสังหาร และการบรรทุก ซึ่งใช้วิทยาการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วเพื่อส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าน่าสนใจแก่ลูกค้าทั่วโลกของเรา Lynx จะมอบขีดความสามารถที่จะให้ลูกค้าของเราสามารถ สู้รบ, อยู่รอด และชนะในสนามรบของวันนี้และวันพรุ่งนี้"
คุณสมบัติขีดความสามารถหลักสี่ประการของรถรบทหารราบ Lynx คือ อำนาจการยิง, การปกป้องกำลัง, การหยั่งรู้สถานการณ์ และความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
รถรบทหารราบ Lynx ติดตั้งป้อมปืนแบบ Rheinmetall LANCE ซึ่งมีระบบรักษาเสถียรภาพป้อมปืน แหล่งพลังงานภายนอก รองรับปืนใหญ่กลที่ยิงกระสุนแตกอากาศขนาด 30mm หรือ 35mm โดยสามารถทำการยิงเป้าหมายด้วยความแม่นยำสูงขณะเคลื่อนที่ได้ถึงระยะ 3,000m ขึ้นไป
มีปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm ด้านขวาของปืนใหญ่กล รวมถึงยังสามารถติดตั้งแท่นยิงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังสองท่อยิงด้านซ้ายป้อมปืน และสถานีระบบอาวุธรองซึ่งเชื่อมโยงกับกล้องเล็งหลัก
นอกจากมีขีดความสามารถของระบบควบคุมการยิงในการค้นหาและทำลายเป้าหมายแบบ Hunter-Killer แล้ว Lynx ยังมีขีดความสามารถ Killer-Killer ซึ่งให้ ผบ.รถ และพลยิง สามารถค้นหาและยิงทำลายเป้าหมายของตนเองโดยแยกจากกันเป็นอิสระด้วย
รถรบทหารราบ Lynx ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Liebherr กำลัง 635kWที่ตำแหน่งด้านหน้าของตัวรถพร้อมระบบส่งกำลังอัตโนมัติ Allison ตัวถังรถทำจากเหล็กกล้าเชื่อมทั้งคัน และติดตั้งเกราะ Modular สถาปัตยกรรมของตัวรถถูกออกแบบให้มีการป้องกันในระดับสูงสุด
โดยแผ่นเกราะป้องกันของรถสามารถป้องกันการถูกยิงจากอาวุธต่อสู้รถถัง, กระสุนขนาดกลาง, สะเก็ดระเบิดกระสุนปืนใหญ่, ระเบิดแสวงเครื่อง, และลูกระเบิดอมภัณฑ์ย่อย นอกจากนี้ยังมี ภายในตัวรถยังติดวัสดุป้องกันกันเกราะกะเทาะ(Spall Liner) เพื่อปกป้องกำลังพล,
ชุดป้องกันทุ่นระเบิดและระเบิดแสวงเครื่อง, ที่นั่งป้องกันกำลังพล และสามารถเลือกติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก Hard Kill Active Defence System เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มระดับความอยู่รอดของรถให้มากขึ้น
ทั้งผู้บังคับการรถและพลยิงสามารถเข้าถึงกล้อง SEOSS(Stabilized Electro Optical Sight System) ซึ่งเป็นระบบกล้อง Panoramic digital TV-IR ที่รวม Laser วัดระยะและระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงไว้ด้วยกัน ในสถานีรบจะแสดงผลให้กำลังพลในมุมมอง 360องศาแบบไร้รอยต่อ
ระบบหยั่งรู้สถานการณ์ SAS(Situational Awareness System) ของ Rheinmetall มีคุณสมบัติในการค้นหาและติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ เพิ่มความสามารถ Hunter-Killer และลดเวลาตอบสนองของกำลังพลให้น้อยที่สุด ภัยคุกคามที่ปรากฎขึ้นในทันทีสามารถทำการโจมตีได้อย่างรวดเร็วด้วยอาวุธหลักและอาวุธรองของรถ
ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Laser และระบบระบุตำแหน่งพลซุ่มยิงด้วยเสียง(ASLS: Acoustic Sniper Locating System) จะเป็นส่วนหนึ่งของชุดระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบและระบบ Intercom สำหรับการสื่อสารทางยุทธวิธีถูกติดตั้งอุปกรณ์ภายในรถ ผบ.รถ, พลยิง และพลขับจะมีช่องฝาปิดป้อมของตนเองซึ่งสามารถให้กำลังพลเข้าถึงและทำการตรวจการณ์จากตำแหน่งเปิดป้อมได้สะดวก
ระบบขับเคลื่อนของรถมีอัตราส่วนกำลังขับต่อน้ำหนักสูง กำลังพัฒนาเครื่องยนต์สามารถเพิ่มกำลังได้ถึง 563 kW และมากกว่า 700kW ทำความเร็วได้ 65km/h หรือ 70km/h สามารถปีนที่ลาดชันได้ 60องศา ปีนที่ลาดเอียงได้ 30องศา ข้ามคูกว้างได้ 2.5m ลุยน้ำได้ลึก 1.5m ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูงสุด 1m สายพานรถเลือกได้ทั้งแบบหุ้มยางหรือแบบโลหะเบา
รถรบทหารราบ Lynx มีสองรุ่นคือ KF31 และ KF41 (KF มาจากคำว่า Kettenfahrzeug หมายถึงรถสายพานในภาษาเยอรมัน) โดยแบบ KF31 น้ำหนักรถ 38tons จะมีกำลังพล 3+6นาย และแบบ KF41 จะใหญ่กว่าเล็กน้อยน้ำหนักรถ 44tons มีกำลังพล 3+8นาย
รถสามารถปรับเปลี่ยนเป็นรุ่นต่างๆ เช่น รถที่บังคับการ, รถลาดตระเวน, รถกู้ซ่อม และรถพยาบาล ซึ่งชิ้นส่วนหลักต่างๆส่วนใหญ่ของรถรบตระกูล Lynx สามารถใช้ร่วมกันได้ มีความง่ายในการส่งกำลังบำรุงและการฝึก
นอกจากนี้ Rheinmetall ยังเสนอการบริการของลูกค้ารถรบทหารราบ Lynx ทั่วโลกทั้งการฝึก การสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุง รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ Lynx เป็นตัวเลือกของระบบรถรบชั้นนำต่อไปในอนาคตครับ
Rheinmetall's new LYNX Light AIFV unveiled at Eurosatory 2016
http://www.armyrecognition.com/eurosatory_2016_official_news_online_web_tv_television_defense_security_exhibition_paris_france/rheinmetall_undiscloses_the_lynx_light_armored_infantry_fighting_vehicle_at_eurosatory_2016.html
งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่จัดขึ้นที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน บริษัท Rheinmetall เยอรมนีได้เปิดตัวรถรบทหารราบสายพานแบบ Lynx ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก
โดยรถรบทหารราบ Lynx เป็นรถหุ้มเกราะสายพานที่ถูกออกแบบโดยใช้วิทยาการล่าสุดในปัจจุบันให้มีอำนาจการการยิงสูง มีการป้องกันตนเองสูง สำหรับปฏิบัติการยึดครองสนามรบสมัยใหม่ ทั้งในภารกิจรักษาสันติภาพจนถึงการรบภาวะตึงเครียดระดับสูง
Ben Hudson หัวหน้าแผนกระบบยานยนต์ของ Rheinmetall กล่าวว่า
"Lynx เป็นตระกูลรถรบแบบ Modular ขั้นก้าวหน้าใหม่ที่จะเสนอต่อลูกค้าของเราด้วยระดับสูงสุดของ ความอยู่รอด, การเคลื่อนที่, อำนาจการสังหาร และการบรรทุก ซึ่งใช้วิทยาการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วเพื่อส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าน่าสนใจแก่ลูกค้าทั่วโลกของเรา Lynx จะมอบขีดความสามารถที่จะให้ลูกค้าของเราสามารถ สู้รบ, อยู่รอด และชนะในสนามรบของวันนี้และวันพรุ่งนี้"
คุณสมบัติขีดความสามารถหลักสี่ประการของรถรบทหารราบ Lynx คือ อำนาจการยิง, การปกป้องกำลัง, การหยั่งรู้สถานการณ์ และความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
รถรบทหารราบ Lynx ติดตั้งป้อมปืนแบบ Rheinmetall LANCE ซึ่งมีระบบรักษาเสถียรภาพป้อมปืน แหล่งพลังงานภายนอก รองรับปืนใหญ่กลที่ยิงกระสุนแตกอากาศขนาด 30mm หรือ 35mm โดยสามารถทำการยิงเป้าหมายด้วยความแม่นยำสูงขณะเคลื่อนที่ได้ถึงระยะ 3,000m ขึ้นไป
มีปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm ด้านขวาของปืนใหญ่กล รวมถึงยังสามารถติดตั้งแท่นยิงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังสองท่อยิงด้านซ้ายป้อมปืน และสถานีระบบอาวุธรองซึ่งเชื่อมโยงกับกล้องเล็งหลัก
นอกจากมีขีดความสามารถของระบบควบคุมการยิงในการค้นหาและทำลายเป้าหมายแบบ Hunter-Killer แล้ว Lynx ยังมีขีดความสามารถ Killer-Killer ซึ่งให้ ผบ.รถ และพลยิง สามารถค้นหาและยิงทำลายเป้าหมายของตนเองโดยแยกจากกันเป็นอิสระด้วย
รถรบทหารราบ Lynx ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Liebherr กำลัง 635kWที่ตำแหน่งด้านหน้าของตัวรถพร้อมระบบส่งกำลังอัตโนมัติ Allison ตัวถังรถทำจากเหล็กกล้าเชื่อมทั้งคัน และติดตั้งเกราะ Modular สถาปัตยกรรมของตัวรถถูกออกแบบให้มีการป้องกันในระดับสูงสุด
โดยแผ่นเกราะป้องกันของรถสามารถป้องกันการถูกยิงจากอาวุธต่อสู้รถถัง, กระสุนขนาดกลาง, สะเก็ดระเบิดกระสุนปืนใหญ่, ระเบิดแสวงเครื่อง, และลูกระเบิดอมภัณฑ์ย่อย นอกจากนี้ยังมี ภายในตัวรถยังติดวัสดุป้องกันกันเกราะกะเทาะ(Spall Liner) เพื่อปกป้องกำลังพล,
ชุดป้องกันทุ่นระเบิดและระเบิดแสวงเครื่อง, ที่นั่งป้องกันกำลังพล และสามารถเลือกติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก Hard Kill Active Defence System เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มระดับความอยู่รอดของรถให้มากขึ้น
ทั้งผู้บังคับการรถและพลยิงสามารถเข้าถึงกล้อง SEOSS(Stabilized Electro Optical Sight System) ซึ่งเป็นระบบกล้อง Panoramic digital TV-IR ที่รวม Laser วัดระยะและระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงไว้ด้วยกัน ในสถานีรบจะแสดงผลให้กำลังพลในมุมมอง 360องศาแบบไร้รอยต่อ
ระบบหยั่งรู้สถานการณ์ SAS(Situational Awareness System) ของ Rheinmetall มีคุณสมบัติในการค้นหาและติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ เพิ่มความสามารถ Hunter-Killer และลดเวลาตอบสนองของกำลังพลให้น้อยที่สุด ภัยคุกคามที่ปรากฎขึ้นในทันทีสามารถทำการโจมตีได้อย่างรวดเร็วด้วยอาวุธหลักและอาวุธรองของรถ
ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Laser และระบบระบุตำแหน่งพลซุ่มยิงด้วยเสียง(ASLS: Acoustic Sniper Locating System) จะเป็นส่วนหนึ่งของชุดระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบและระบบ Intercom สำหรับการสื่อสารทางยุทธวิธีถูกติดตั้งอุปกรณ์ภายในรถ ผบ.รถ, พลยิง และพลขับจะมีช่องฝาปิดป้อมของตนเองซึ่งสามารถให้กำลังพลเข้าถึงและทำการตรวจการณ์จากตำแหน่งเปิดป้อมได้สะดวก
ระบบขับเคลื่อนของรถมีอัตราส่วนกำลังขับต่อน้ำหนักสูง กำลังพัฒนาเครื่องยนต์สามารถเพิ่มกำลังได้ถึง 563 kW และมากกว่า 700kW ทำความเร็วได้ 65km/h หรือ 70km/h สามารถปีนที่ลาดชันได้ 60องศา ปีนที่ลาดเอียงได้ 30องศา ข้ามคูกว้างได้ 2.5m ลุยน้ำได้ลึก 1.5m ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูงสุด 1m สายพานรถเลือกได้ทั้งแบบหุ้มยางหรือแบบโลหะเบา
รถรบทหารราบ Lynx มีสองรุ่นคือ KF31 และ KF41 (KF มาจากคำว่า Kettenfahrzeug หมายถึงรถสายพานในภาษาเยอรมัน) โดยแบบ KF31 น้ำหนักรถ 38tons จะมีกำลังพล 3+6นาย และแบบ KF41 จะใหญ่กว่าเล็กน้อยน้ำหนักรถ 44tons มีกำลังพล 3+8นาย
รถสามารถปรับเปลี่ยนเป็นรุ่นต่างๆ เช่น รถที่บังคับการ, รถลาดตระเวน, รถกู้ซ่อม และรถพยาบาล ซึ่งชิ้นส่วนหลักต่างๆส่วนใหญ่ของรถรบตระกูล Lynx สามารถใช้ร่วมกันได้ มีความง่ายในการส่งกำลังบำรุงและการฝึก
นอกจากนี้ Rheinmetall ยังเสนอการบริการของลูกค้ารถรบทหารราบ Lynx ทั่วโลกทั้งการฝึก การสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุง รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ Lynx เป็นตัวเลือกของระบบรถรบชั้นนำต่อไปในอนาคตครับ
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Rheinmetall เยอรมนีเปิดตัวปืนใหญ่รถถังใหม่ขนาด 130mm
Gun for future tanks [ES2016D1]
Rheinmetall 130mm Tank Gun
http://www.janes.com/article/61205/gun-for-future-tanks-es2016d1
งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่จัดขึ้นที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายนนี้นั้น บริษัท Rheinmetall Defence เยอรมนีได้เปิดตัวการจัดแสดงปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 130mm แบบใหม่ล่าสุดที่แผนก Rheinmetall Waffe Munition พัฒนาขึ้น
ซึ่ง Rheinmetall ได้เริ่มการพัฒนาปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ตั้งแต่ปี 2015 โดยใช้ทุนภายในของบริษัทเองในการดำนินโครงการ ปืนใหญ่รถถัง 130mm ใหม่นี้ได้เสร็จสิ้นการสาธิตทางเทคนิคครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
และหลังจากการเปิดตัวในงาน Eurosatory ทาง Rheinmetall จะมีการทดสอบการยิงปืนใหญ่รถถังจากฐานยิงประจำที่ ณ สนามยิงทดสอบของบริษัทต่อไป ซึ่งผลการทดสอบประสิทธิภาพจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบจำลองของปืนกับกระสุนที่ใช้ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้
ปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 130mm มีขนาดความยาวลำกล้อง L/51 Caliber ใช้ระบบเครื่องปิดท้ายลำกล้องแบบแนวดิ่ง เพิ่มการรับแรงดันในรังเพลิงให้มากขึ้น และใช้ลำกล้องแบบชุบ Chromium ภายใน(Chrome Lined)
เมื่อรวมกับระบบรับแรงสะท้อนถอยหลังปืนจะมีน้ำหนักประมาณ 3,000kg เฉพาะตัวลำกล้องปืนอย่างเดียวหนัก 1,400kg ไม่ติดปลอกลดแรงถอย(Muzzle Brake) ปืนตัวอย่างที่จัดแสดงนั้นติดตั้งปลอกกระจายความร้อน(Thermal Sleeve) และระบบอ้างอิงปากลำกล้อง(MRS:Muzzle Reference System) ซึ่งจะถูกใช้ในการทดสอบยิงที่จะมีตามมาต่อไป
โดยระบบอ้างอิงปากลำกล้องแบบใหม่ที่ใช้นี้จะทำให้ปืนสามารถปรับศูนย์เล็ง(Boresight)ได้มากกว่าพื้นฐานปกติ และสามารถให้กำลังพลปรับศูนย์เล็งได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกจากตัวระบบ(เช่นออกจากรถถังมาปรับศูนย์ที่ตัวปืนนอกตัวรถ)
ปถ.130mm นี้จะรองรับกระสุนปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ เช่น กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว APFSDS(Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) ซึ่งใช้ปลอกกระสุนแบบกึ่งเผาไหม้ได้, ดินขับแบบใหม่ และแกนลูกดอก Tungsten ยาวขั้นก้าวหน้าแบบใหม่
รวมถึงกระสุนระเบิดแรงสูงแตกอากาศ HE ABM(High Explosive Air Bursting Munition) ซึ่งจะมีรูปแบบการตั้งชนวนหลายแบบให้เลือกตามประเภทเป้าหมายที่ใช้
โดยยกระดับจากกระสุน DM11 HE ABM ขนาด 120mm ที่มีสายการผลิตในปัจจุบันสำหรับใช้กับปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 120mm L/44 และ L/55 ที่ติดตั้งกับรถถังหลัก Leopard 2 ของเยอรมนีเองและที่ส่งออกต่างประเทศ
ปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 130mm และกระสุน 130mm APFSDS และ HE ABM แบบใหม่นี้จะเป็นกระสุนที่ไม่อ่อนไหวต่อการถูกทำให้เกิดการระเบิดอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกเรียกร้องจากการเพิ่มจำนวนของลูกค้า
โดยถูกตั้งเป้าสำหรับใช้ติดตั้งเป็นอาวุธหลักในรถถังหลักยุคอนาคต หรือระบบอาวุธยิงตรงแบบต่างๆ เช่น ยานเกราะล้อยางติดป้อมปืนใหญ่รถถัง รวมถึงติดตั้งเพื่อปรับปรุงรถถังหลักที่มีใช้งานอยู่แล้วให้มีอำนาจการยิงเพิ่มสูงยิ่งขึ้น
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับรถถังหลักปัจจุบันที่มีระบบป้องกันตนขั้นสูง อย่างรถถังหลัก T-90 รุ่นล่าสุด และรถถังหลัก T-14 Armata ของรัสเซียที่จะเข้าประจำการในอนาคตครับ
Rheinmetall 130mm Tank Gun
http://www.janes.com/article/61205/gun-for-future-tanks-es2016d1
งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่จัดขึ้นที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายนนี้นั้น บริษัท Rheinmetall Defence เยอรมนีได้เปิดตัวการจัดแสดงปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 130mm แบบใหม่ล่าสุดที่แผนก Rheinmetall Waffe Munition พัฒนาขึ้น
ซึ่ง Rheinmetall ได้เริ่มการพัฒนาปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ตั้งแต่ปี 2015 โดยใช้ทุนภายในของบริษัทเองในการดำนินโครงการ ปืนใหญ่รถถัง 130mm ใหม่นี้ได้เสร็จสิ้นการสาธิตทางเทคนิคครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
และหลังจากการเปิดตัวในงาน Eurosatory ทาง Rheinmetall จะมีการทดสอบการยิงปืนใหญ่รถถังจากฐานยิงประจำที่ ณ สนามยิงทดสอบของบริษัทต่อไป ซึ่งผลการทดสอบประสิทธิภาพจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบจำลองของปืนกับกระสุนที่ใช้ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้
ปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 130mm มีขนาดความยาวลำกล้อง L/51 Caliber ใช้ระบบเครื่องปิดท้ายลำกล้องแบบแนวดิ่ง เพิ่มการรับแรงดันในรังเพลิงให้มากขึ้น และใช้ลำกล้องแบบชุบ Chromium ภายใน(Chrome Lined)
เมื่อรวมกับระบบรับแรงสะท้อนถอยหลังปืนจะมีน้ำหนักประมาณ 3,000kg เฉพาะตัวลำกล้องปืนอย่างเดียวหนัก 1,400kg ไม่ติดปลอกลดแรงถอย(Muzzle Brake) ปืนตัวอย่างที่จัดแสดงนั้นติดตั้งปลอกกระจายความร้อน(Thermal Sleeve) และระบบอ้างอิงปากลำกล้อง(MRS:Muzzle Reference System) ซึ่งจะถูกใช้ในการทดสอบยิงที่จะมีตามมาต่อไป
โดยระบบอ้างอิงปากลำกล้องแบบใหม่ที่ใช้นี้จะทำให้ปืนสามารถปรับศูนย์เล็ง(Boresight)ได้มากกว่าพื้นฐานปกติ และสามารถให้กำลังพลปรับศูนย์เล็งได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกจากตัวระบบ(เช่นออกจากรถถังมาปรับศูนย์ที่ตัวปืนนอกตัวรถ)
ปถ.130mm นี้จะรองรับกระสุนปืนใหญ่รถถังแบบใหม่ เช่น กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว APFSDS(Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) ซึ่งใช้ปลอกกระสุนแบบกึ่งเผาไหม้ได้, ดินขับแบบใหม่ และแกนลูกดอก Tungsten ยาวขั้นก้าวหน้าแบบใหม่
รวมถึงกระสุนระเบิดแรงสูงแตกอากาศ HE ABM(High Explosive Air Bursting Munition) ซึ่งจะมีรูปแบบการตั้งชนวนหลายแบบให้เลือกตามประเภทเป้าหมายที่ใช้
โดยยกระดับจากกระสุน DM11 HE ABM ขนาด 120mm ที่มีสายการผลิตในปัจจุบันสำหรับใช้กับปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 120mm L/44 และ L/55 ที่ติดตั้งกับรถถังหลัก Leopard 2 ของเยอรมนีเองและที่ส่งออกต่างประเทศ
ปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 130mm และกระสุน 130mm APFSDS และ HE ABM แบบใหม่นี้จะเป็นกระสุนที่ไม่อ่อนไหวต่อการถูกทำให้เกิดการระเบิดอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกเรียกร้องจากการเพิ่มจำนวนของลูกค้า
โดยถูกตั้งเป้าสำหรับใช้ติดตั้งเป็นอาวุธหลักในรถถังหลักยุคอนาคต หรือระบบอาวุธยิงตรงแบบต่างๆ เช่น ยานเกราะล้อยางติดป้อมปืนใหญ่รถถัง รวมถึงติดตั้งเพื่อปรับปรุงรถถังหลักที่มีใช้งานอยู่แล้วให้มีอำนาจการยิงเพิ่มสูงยิ่งขึ้น
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับรถถังหลักปัจจุบันที่มีระบบป้องกันตนขั้นสูง อย่างรถถังหลัก T-90 รุ่นล่าสุด และรถถังหลัก T-14 Armata ของรัสเซียที่จะเข้าประจำการในอนาคตครับ
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ยูเครนปฏิรูปกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของตนโดยรวม Antonov เข้าเป็นเครือเดียวกันกับภาคส่วนต่างๆ
Antonov An-178 at ILA Berlin Air Show 2016 1-4 June
https://www.facebook.com/ukroboronpromUKROBORONPROM AIRCRAFT CLUSTER: REFORM OF THE AVIATION INDUSTRY OF UKRAINE
http://ukroboronprom.com.ua/en/en-litakobudivnyj-klaster-ukroboronpromu-reforma-aviatsijnoyi-promyslovosti-ukrayiny.html
Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจกลุ่มเครืออุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนได้ประกาศแผนปฏิรูปกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมความมั่นคงในประเทศ
โดยได้มีการจัดตั้ง Ukrainian Aircraft Corporation เครือบรรษัทอากาศยานยูเครนเป็นหน่วยงานใหม่ที่รวมบริษัทและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอากาศยานของยูเครนเข้าไว้ด้วยกัน
Ukrainian Aircraft Corporation(UAC) มีบริษัท Antonov ผู้พัฒนาและผลิตอากาศยานรายหลักของยูเครนเป็นหน่วยงานหลัก และประกอบกับภาคส่วนอื่นๆ อาทิเช่น
UKRNIIAT(Ukrainian Scientific-Research Institute of Aviation Technology) สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์เทคโลยีอากาศยานยูเครน, รัฐวิสาหกิจ Novator, โรงงานสร้างเครื่องจักร Kharkiv, สำนักออกแบบรวม Kharkiv และ โรงงาน Mayak
หลังจากกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานกลุ่มแรกเหล่านี้(หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ) จะมีการขยายเพื่อเปิดให้ผู้ประกอบอื่นๆทุกประเภท(เช่นบริษัทเอกชน)เข้าร่วมเครือบรรษัทได้
Ukroboronprom กล่าวว่าประสบการณ์ความสำเร็จในการบริหารจัดการดังกล่าวเห็นได้ในทางปฏิบัติจากบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานนานาชาติรายใหญ่ เช่น Boeing และ Airbus
กลุ่มเครืออุตสาหกรรมอากาศยานที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้จะเป็นกลไกที่ทรงพลังในการประสานงานการพัฒนา, การบูรณาการเข้าสู่ตลาดสากล, การเข้าสู่มาตรฐานนานาชาติ,
ที่จะร่วมกับหุ้นส่วนจากภาคส่วนเอกชนและโรงงานที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นของรัฐ ที่จะเร่งความเร็วกระบวนการทดแทนการนำเข้า ผลักดันการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ของเศรษฐกิจของชาติในภาพรวม
ข้อได้เปรียบหลักของการร่วมกลุ่มเครือคือ เมื่อร่วมกลุ่มกัน ผู้ประกอบการจะสามารถวางแผนสายการผลิต, การจัดซื้อ และแผนการตลาดร่วมได้
"เราจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเชิงบวกโดยการรวมโรงงานการผลิตของผู้ประกอบการเข้ารวมกับเครือบรรษัท และลดระดับจำนวนของการบริการและบริหารจัดการที่ซ้ำซ้อนกัน" Roman Romanov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Ukroboronprom กล่าว โดยเขากล่าวเพิ่มเติมว่าจะมีการเพิ่มกลุ่มรัฐวิสากิจและหน่วยงานรัฐประเภทอื่นๆเข้าเป็นกลุ่มผู้ประประกอบในเครือใหม่ต่างๆอีกครับ
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559
การสอบถามข้อมูลเปิดเผยเรือพิฆาตชั้น Type 45 กองทัพเรืออังกฤษจะแทบไม่มีความน่าเชื่อถือเลยเมื่อปฏิบัติการในเขตทะเลน้ำอุ่น
Inquiry reveals UK's Type 45 destroyers are even less reliable in warm water
HMS Daring, the first Type 45, seen as it began sea trials in 2007. Source: Royal Navy
http://www.janes.com/article/61089/inquiry-reveals-uk-s-type-45-destroyers-are-even-less-reliable-in-warm-water
เจ้าหน้าที่อาวุโสในอุตสาหกรรมความมั่นคงได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการยืนยันการสอบถามของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนว่า
ปัญหาที่พบในระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าบูรณาการ(IEP: Integrated Electric Propulsion) ที่ใช้งานเรือพิฆาตชั้น Type 45 ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) นั้น
จะทำให้เรือมีปัญหาอย่างเฉียบพลันเมื่อต้องปฏิบัติการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นเช่นในอ่าว(ทะเลเขตร้อน เช่น อ่าวเปอร์เซีย)
Tomas Leahy เจ้าหน้าที่ของบริษัท Rolls Royce ได้อ้างว่ากระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรล้มเหลวในการระบุคุณสมบัติของเรือพิฆาต Type 45 ว่าควรจะต้องสามารถปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมอบอุ่นได้
"เคยมีการกำหนดคุณสมบัติสำหรับเรือพิฆาต Type 45 ว่าเครื่องยนต์จะต้องตรงตามคุณสมบัติดังกล่าว แล้วสภาพในอ่าวนั้นสอดคล้องกับคุณสมบัตินั้นหรือไม่? ไม่พวกมันไม่
ดังนั้นอุปกรณ์ที่ต้องมีการถูกใช้งานในสภาพที่ยากลำบากมากขึ้นนั้นไกลเกินกว่าคุณสมบัติความต้องการที่ระบุไว้แต่แรก" นาย Leahy กล่าวในการซักถาม โดย John Hudson ผู้อำนวยการการจัดการบริษัท BAE Systems Maritime ก็ได้กล่าวว่า
"รายละเอียดการดำเนินการที่ถูกพิจารณาในเวลานั้น(การกำหนดคุณสมบัติของเรือพิฆาต Type 45) คือจะไม่มีการใช้ปฏิบัติการซ้ำและต่อเนื่องในอ่าว มันไม่ได้ถูกออกแบบอย่างชัดเจนหรือเป็นการเฉพาะสำหรับการปฏิบัติการในอ่าว"
นาย Hudson ยังได้กล่าวอีกว่า แม้กระนั้น BAE Systems ยังคงพยายามที่จะออกแบบเรือให้พบประสบการณ์ "การเสื่อมสภาพอย่างสวยงาม" ในประสิทธิภาพของเรือที่อุณหภูมิสูง แต่ก็เสริมว่าแน่นอนในทางตรงกันข้ามมันเคยเกิดขึ้นแล้ว
"สิ่งที่เราพบในอ่าวคือมันใช้เวลาเล็กน้อยที่เครื่องยนต์ Gas Turbine จะเข้าสู่พื้นที่การทำงานที่ต่ำกว่าย่านเหมาะสมสำหรับตัวเครื่องยนต์
นอกนั้นเรายังพบว่าในหน่วยขับเคลื่อนอย่างที่ระบบระบายความร้อนได้สร้างการควบแน่นภายในหน่วยขับเคลื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดและเกิดความล้มเหลวในระบบไฟฟ้าขึ้นได้"
นาย Hudson กล่าวว่า เมื่อระบบไฟฟ้าล้มเหลวมันจะทิ้งให้เรือพิฆาต Type 45 ไม่สามารถใช้งานทั้งระบบขับเคลื่อน, ระบบตรวจจับ หรือระบบอาวุธได้
นาย Leahy ได้ตั้งข้อสังเกตว่าปัญหานี้ควรจะเป็นประสบการณ์สำหรับเครื่องยนต์ Gas Turbine ทั้งหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะกับเครื่องยนต์ Rolls Royce WR-21 ที่ติดตั้งกับเรือพิฆาต Type 45 เท่านั้น
"มันไม่ใช่ความผิดของเครื่องยนต์ WR-21 ถึงต่อให้มันเคยเป็นเครื่องยนต์ Gas Turbine ระบบ Simple Cycle มันก็จะยังคงพบกับชะตากรรมเช่นเดียวกันในสภาพเดียวกันนี้อยู่ดี มันเป็นกฎทางฟิสิกส์" นาย Leahy กล่าว
เรือพิฆาตชั้น Type 45 หรือเรือพิฆาตชั้น Daring เป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศที่มีสมรรถนะสูงสุดและทันสมัยที่สุดที่ประจำการในกองทัพเรืออังกฤษในปัจจุบัน โดยเรือพิฆาต Type 45 ทั้ง 6ลำเข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษตั้งแต่ช่วงปี 2009-2013 ครับ
HMS Daring, the first Type 45, seen as it began sea trials in 2007. Source: Royal Navy
http://www.janes.com/article/61089/inquiry-reveals-uk-s-type-45-destroyers-are-even-less-reliable-in-warm-water
เจ้าหน้าที่อาวุโสในอุตสาหกรรมความมั่นคงได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการยืนยันการสอบถามของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนว่า
ปัญหาที่พบในระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าบูรณาการ(IEP: Integrated Electric Propulsion) ที่ใช้งานเรือพิฆาตชั้น Type 45 ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) นั้น
จะทำให้เรือมีปัญหาอย่างเฉียบพลันเมื่อต้องปฏิบัติการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นเช่นในอ่าว(ทะเลเขตร้อน เช่น อ่าวเปอร์เซีย)
Tomas Leahy เจ้าหน้าที่ของบริษัท Rolls Royce ได้อ้างว่ากระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรล้มเหลวในการระบุคุณสมบัติของเรือพิฆาต Type 45 ว่าควรจะต้องสามารถปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมอบอุ่นได้
"เคยมีการกำหนดคุณสมบัติสำหรับเรือพิฆาต Type 45 ว่าเครื่องยนต์จะต้องตรงตามคุณสมบัติดังกล่าว แล้วสภาพในอ่าวนั้นสอดคล้องกับคุณสมบัตินั้นหรือไม่? ไม่พวกมันไม่
ดังนั้นอุปกรณ์ที่ต้องมีการถูกใช้งานในสภาพที่ยากลำบากมากขึ้นนั้นไกลเกินกว่าคุณสมบัติความต้องการที่ระบุไว้แต่แรก" นาย Leahy กล่าวในการซักถาม โดย John Hudson ผู้อำนวยการการจัดการบริษัท BAE Systems Maritime ก็ได้กล่าวว่า
"รายละเอียดการดำเนินการที่ถูกพิจารณาในเวลานั้น(การกำหนดคุณสมบัติของเรือพิฆาต Type 45) คือจะไม่มีการใช้ปฏิบัติการซ้ำและต่อเนื่องในอ่าว มันไม่ได้ถูกออกแบบอย่างชัดเจนหรือเป็นการเฉพาะสำหรับการปฏิบัติการในอ่าว"
นาย Hudson ยังได้กล่าวอีกว่า แม้กระนั้น BAE Systems ยังคงพยายามที่จะออกแบบเรือให้พบประสบการณ์ "การเสื่อมสภาพอย่างสวยงาม" ในประสิทธิภาพของเรือที่อุณหภูมิสูง แต่ก็เสริมว่าแน่นอนในทางตรงกันข้ามมันเคยเกิดขึ้นแล้ว
"สิ่งที่เราพบในอ่าวคือมันใช้เวลาเล็กน้อยที่เครื่องยนต์ Gas Turbine จะเข้าสู่พื้นที่การทำงานที่ต่ำกว่าย่านเหมาะสมสำหรับตัวเครื่องยนต์
นอกนั้นเรายังพบว่าในหน่วยขับเคลื่อนอย่างที่ระบบระบายความร้อนได้สร้างการควบแน่นภายในหน่วยขับเคลื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดและเกิดความล้มเหลวในระบบไฟฟ้าขึ้นได้"
นาย Hudson กล่าวว่า เมื่อระบบไฟฟ้าล้มเหลวมันจะทิ้งให้เรือพิฆาต Type 45 ไม่สามารถใช้งานทั้งระบบขับเคลื่อน, ระบบตรวจจับ หรือระบบอาวุธได้
นาย Leahy ได้ตั้งข้อสังเกตว่าปัญหานี้ควรจะเป็นประสบการณ์สำหรับเครื่องยนต์ Gas Turbine ทั้งหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะกับเครื่องยนต์ Rolls Royce WR-21 ที่ติดตั้งกับเรือพิฆาต Type 45 เท่านั้น
"มันไม่ใช่ความผิดของเครื่องยนต์ WR-21 ถึงต่อให้มันเคยเป็นเครื่องยนต์ Gas Turbine ระบบ Simple Cycle มันก็จะยังคงพบกับชะตากรรมเช่นเดียวกันในสภาพเดียวกันนี้อยู่ดี มันเป็นกฎทางฟิสิกส์" นาย Leahy กล่าว
เรือพิฆาตชั้น Type 45 หรือเรือพิฆาตชั้น Daring เป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศที่มีสมรรถนะสูงสุดและทันสมัยที่สุดที่ประจำการในกองทัพเรืออังกฤษในปัจจุบัน โดยเรือพิฆาต Type 45 ทั้ง 6ลำเข้าประจำการในกองทัพเรืออังกฤษตั้งแต่ช่วงปี 2009-2013 ครับ
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Elbit อิสราเอลเปิดตัวหมวกพลประจำรถติดจอแสดงผล IronVision
IronVision Helmet Provides Sight Through Armored Tanks
(photo: Elbit)
http://www.defensenews.com/story/defense/land/2016/06/08/elbit-helmet-ironvision/85592560/
บริษัท Elbit Systems อิสราเอลผู้พัฒนาหมวกนักบินติดระบบจอแสดงผล HMS(Helmet Mounted System) ที่ถูกเลือกใช้งานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขับไล่หลายแบบทั่วโลก รวมถึงเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 รุ่นล่าสุด F-35 Lightning II
ได้เปิดตัวนวัตกรรมระบบหมวกสนามสำหรับพลประจำรถแบบใหม่ล่าสุดที่จะแสดงผลข้อมูลให้ผู้บังคับการรถถังสามารถมองทะลุตัวรถเพื่อตรวจการณ์สถานการณ์ภายนอกตัวรถโดยไม่ต้องนำตนเองออกมานอกตัวรถได้
ระบบหมวกพลประจำรถรบแบบนี้ถูกเรียกว่า IronVision ซึ่งพัฒนาปรับปรุงจากหมวกนักบิน HMS โดยใช้แผ่นแก้ว protective glass walls ในการแสดงผลข้อมูลต่อสายตาของพลประจำรถถังและพลประจำรถหุ้มเกราะที่สวมหมวก
โดยที่พลประจำรบสามารถปฏิบัติการดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ที่มีภัยคุกคามสูงแบบปิดป้อมรบได้ ตามที่ Boaz Cohen ผู้อำนวยการแผนกระบบภาคพื้นดินของ Elbit ให้ข้อมูล
"สงครามภาคพื้นดินได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมากๆในช่วง 15-20ปีมานี้ จากการรบในพื้นที่เปิดโล่งมาเป็นการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้างในเมืองที่สลับซับซ้อน เราเชื่อว่า IronVision จะเปลี่ยนวิถีการดำเนินกลยุทธ์ของกองกำลังภาคพื้นดินที่ต้องสู้รบในสภาพแวดล้อมใหม่นี้"
นาย Cohen กล่าวกับ Defense News ในการให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของ Elbit
นาย Cohen ให้ข้อมูลว่าระบบหมวกพลประจำรถรบนี้ได้ใช้ Technology ที่นำมาจากระบบที่พัฒนาใช้ในระบบของอากาศยาน ซึ่งทำให้ผู้สวมหมวกสามารถมอง "ทะลุผ่าน" เกราะของรถของตนเพื่อค้นหา, พิสูจน์ทราบ, ติดตาม และโจมตีกองกำลังข้าศึกและภัยคุกคามต่างๆได้
"เมื่อกำลังรบได้รับการป้องกัน พวกเขาก็ไม่จำเป็นที่ต้องยิงมากเกินไปนัก นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการรบในเขตเมือง เมื่อเราไม่ต้องการที่จะยิงไปทั่วทุกพื้นที่และฆ่าพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้อง" เขากล่าว
Elbit มีแผนที่จะทำการสาธิตระบบนี้ที่งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน ที่จะถึงนี้
ตามข้อมูลของ Elbit หมวกพลประจำรถ IronVision จะแสดงผลแบบ 360องศา แสดงผลภาพความละเอียดสูงที่ได้จากแหล่งข้อมูลระบบ Digital รอบตัวรถ
ซึ่งแสดงผลเป็นภาพสีความคมชัดสูงเต็มรูปแบบเพียงพอที่จะติดตามหน่วยรบพิเศษ Commando แต่ละนายที่กำลังคลานอยู่ห่างจากรถข้าศึกไม่กี่เมตรได้ถึงระยะ 300m ขึ้นไป
ทั้งนี้นาย Cohen ทราบดีว่าในมุมมองผู้ใช้งานมันต้องใช้เวลาสักระยะในการปรับตัวเข้ากับแนวคิดการปฏิบัติการแบบปิดป้อมรบ โดยเฉพาะเมื่อกำลังพลถูกฝึกมาหลายทศวรรษว่าการเป็นผู้นำและการหยั่งรู้สถานการณ์อย่างเต็มที่หัวของผู้บัญชาการจะต้องอยู่นอกตัวรถถัง
"ผมยอมรับว่ามันดีกว่าที่จะให้หัวคุณอยู่ข้างนอกในภารกิจรักษาสันติภาพที่คุณต้องการจะแสดงตนให้เห็น แต่เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่มีภัยคุกคามสูง คำถามคือคุณจะให้หัวคุณอยู่ข้างนอกแล้วรอดได้ไหม? ในนาทีที่พลซุ่มยิงยิงโดนผู้บังคับการรถถัง ทุกคนเข้าไปข้างใน!" เขากล่าวครับ
(photo: Elbit)
http://www.defensenews.com/story/defense/land/2016/06/08/elbit-helmet-ironvision/85592560/
บริษัท Elbit Systems อิสราเอลผู้พัฒนาหมวกนักบินติดระบบจอแสดงผล HMS(Helmet Mounted System) ที่ถูกเลือกใช้งานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขับไล่หลายแบบทั่วโลก รวมถึงเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 รุ่นล่าสุด F-35 Lightning II
ได้เปิดตัวนวัตกรรมระบบหมวกสนามสำหรับพลประจำรถแบบใหม่ล่าสุดที่จะแสดงผลข้อมูลให้ผู้บังคับการรถถังสามารถมองทะลุตัวรถเพื่อตรวจการณ์สถานการณ์ภายนอกตัวรถโดยไม่ต้องนำตนเองออกมานอกตัวรถได้
ระบบหมวกพลประจำรถรบแบบนี้ถูกเรียกว่า IronVision ซึ่งพัฒนาปรับปรุงจากหมวกนักบิน HMS โดยใช้แผ่นแก้ว protective glass walls ในการแสดงผลข้อมูลต่อสายตาของพลประจำรถถังและพลประจำรถหุ้มเกราะที่สวมหมวก
โดยที่พลประจำรบสามารถปฏิบัติการดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่ที่มีภัยคุกคามสูงแบบปิดป้อมรบได้ ตามที่ Boaz Cohen ผู้อำนวยการแผนกระบบภาคพื้นดินของ Elbit ให้ข้อมูล
"สงครามภาคพื้นดินได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมากๆในช่วง 15-20ปีมานี้ จากการรบในพื้นที่เปิดโล่งมาเป็นการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้างในเมืองที่สลับซับซ้อน เราเชื่อว่า IronVision จะเปลี่ยนวิถีการดำเนินกลยุทธ์ของกองกำลังภาคพื้นดินที่ต้องสู้รบในสภาพแวดล้อมใหม่นี้"
นาย Cohen กล่าวกับ Defense News ในการให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของ Elbit
นาย Cohen ให้ข้อมูลว่าระบบหมวกพลประจำรถรบนี้ได้ใช้ Technology ที่นำมาจากระบบที่พัฒนาใช้ในระบบของอากาศยาน ซึ่งทำให้ผู้สวมหมวกสามารถมอง "ทะลุผ่าน" เกราะของรถของตนเพื่อค้นหา, พิสูจน์ทราบ, ติดตาม และโจมตีกองกำลังข้าศึกและภัยคุกคามต่างๆได้
"เมื่อกำลังรบได้รับการป้องกัน พวกเขาก็ไม่จำเป็นที่ต้องยิงมากเกินไปนัก นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการรบในเขตเมือง เมื่อเราไม่ต้องการที่จะยิงไปทั่วทุกพื้นที่และฆ่าพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้อง" เขากล่าว
Elbit มีแผนที่จะทำการสาธิตระบบนี้ที่งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน ที่จะถึงนี้
ตามข้อมูลของ Elbit หมวกพลประจำรถ IronVision จะแสดงผลแบบ 360องศา แสดงผลภาพความละเอียดสูงที่ได้จากแหล่งข้อมูลระบบ Digital รอบตัวรถ
ซึ่งแสดงผลเป็นภาพสีความคมชัดสูงเต็มรูปแบบเพียงพอที่จะติดตามหน่วยรบพิเศษ Commando แต่ละนายที่กำลังคลานอยู่ห่างจากรถข้าศึกไม่กี่เมตรได้ถึงระยะ 300m ขึ้นไป
ทั้งนี้นาย Cohen ทราบดีว่าในมุมมองผู้ใช้งานมันต้องใช้เวลาสักระยะในการปรับตัวเข้ากับแนวคิดการปฏิบัติการแบบปิดป้อมรบ โดยเฉพาะเมื่อกำลังพลถูกฝึกมาหลายทศวรรษว่าการเป็นผู้นำและการหยั่งรู้สถานการณ์อย่างเต็มที่หัวของผู้บัญชาการจะต้องอยู่นอกตัวรถถัง
"ผมยอมรับว่ามันดีกว่าที่จะให้หัวคุณอยู่ข้างนอกในภารกิจรักษาสันติภาพที่คุณต้องการจะแสดงตนให้เห็น แต่เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่มีภัยคุกคามสูง คำถามคือคุณจะให้หัวคุณอยู่ข้างนอกแล้วรอดได้ไหม? ในนาทีที่พลซุ่มยิงยิงโดนผู้บังคับการรถถัง ทุกคนเข้าไปข้างใน!" เขากล่าวครับ
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กองทัพบกโปแลนด์จะจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจม WZ 96C Beryl หลายหมื่นกระบอก
Polish Army to procure thousands of Beryl WZ 96C automatic rifles
The new WZ 96C Beryl and Mini Beryl will standardize the Polish Armed Forces assault rifles, replacing the WZ 88, AK and AKM series, until the induction of the MSBS rifle currently under development at FB Radom (Photo: FB Radom)
http://www.armyrecognition.com/june_2016_global_defense_security_news_industry/polish_army_to_procure_thousands_of_beryl_wz_96c_automatic_rifles_40806161.html
กองทัพบกโปแลนด์จะสั่งจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล Beryl ขนาด 5.56x45 NATO ซึ่งผลิตโดยบริษัท Fabryka Broni Lucznik Radom(FB Radom) โปแลนด์จำนวนรวม 26,021กระบอก
โดยสัญญาจัดหาแบ่งเป็นปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl จำนวน 17,621กระบอก และปืนเล็กสั้น WZ 96C Mini Beryl จำนวน 8,400กระบอก วงเงินรวมราว $39.4 million
นอกจากนี้ปืนเล็กยาว WZ 96A และปืนเล็กยาว WZ 96B รุ่นเก่าที่กองทัพบกโปแลนด์จัดหามาแล้วหลายปีก่อนหน้าจะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรุ่น WZ 96C ทั้งหมด
การส่งมอบปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl จะเริ่มต้นภายในปี 2016 นี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2019 ซึ่งจะทำให้บริษัท FB Radom สามารถคงสายการผลิตปืนเล็กตระกูลนี้ไปอีกหลายปี จนกว่าปืนเล็กยาว MSBS รุ่นใหม่ที่กำลังพัฒนาอยู่จะถูกนำเข้าประจำการในกองทัพโปแลนด์
ทั้งนี้กองทัพบกโปแลนด์จะนำปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl เข้าประจำการเป็นอาวุธประจำกายของทหารทดแทนปืนรุ่นเก่าทั้งปืนเล็กยาว AK และ AKM ขนาด 7.62x39mm และ WZ 88 Tantal ขนาด 5.45x39mm ที่ยังคงประจำการอยู่จนถึงตอนนี้
ปืนเล็กยาว WZ 96 Beryl ถูกออกแบบเมื่อช่วงกลางปี 1990s โดยมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาว AK-47 รัสเซีย โดย WZ 96C เป็นปืนรุ่นที่สามซึ่่งมีคุณสมบัติส่วนต่างๆของปืนออกแบบตามปืนเล็กยาวตะวันตกรุ่นใหม่
เช่น ราง Picatinny สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมอย่างกล้องช่วยเล็งรุ่นใหม่, พานท้ายปืนแบบปรับระดับพับยืดหดได้, ปรับปรุงด้ามจับและปลอกกรองมือใหม่, ด้ามจับแนวดิ่งด้านหน้าสำหรับการรบระยะประชิด CQC และซองกระสุนพลาสติกใส เป็นต้นครับ
The new WZ 96C Beryl and Mini Beryl will standardize the Polish Armed Forces assault rifles, replacing the WZ 88, AK and AKM series, until the induction of the MSBS rifle currently under development at FB Radom (Photo: FB Radom)
http://www.armyrecognition.com/june_2016_global_defense_security_news_industry/polish_army_to_procure_thousands_of_beryl_wz_96c_automatic_rifles_40806161.html
กองทัพบกโปแลนด์จะสั่งจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล Beryl ขนาด 5.56x45 NATO ซึ่งผลิตโดยบริษัท Fabryka Broni Lucznik Radom(FB Radom) โปแลนด์จำนวนรวม 26,021กระบอก
โดยสัญญาจัดหาแบ่งเป็นปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl จำนวน 17,621กระบอก และปืนเล็กสั้น WZ 96C Mini Beryl จำนวน 8,400กระบอก วงเงินรวมราว $39.4 million
นอกจากนี้ปืนเล็กยาว WZ 96A และปืนเล็กยาว WZ 96B รุ่นเก่าที่กองทัพบกโปแลนด์จัดหามาแล้วหลายปีก่อนหน้าจะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรุ่น WZ 96C ทั้งหมด
การส่งมอบปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl จะเริ่มต้นภายในปี 2016 นี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2019 ซึ่งจะทำให้บริษัท FB Radom สามารถคงสายการผลิตปืนเล็กตระกูลนี้ไปอีกหลายปี จนกว่าปืนเล็กยาว MSBS รุ่นใหม่ที่กำลังพัฒนาอยู่จะถูกนำเข้าประจำการในกองทัพโปแลนด์
ทั้งนี้กองทัพบกโปแลนด์จะนำปืนเล็กยาว WZ 96C Beryl เข้าประจำการเป็นอาวุธประจำกายของทหารทดแทนปืนรุ่นเก่าทั้งปืนเล็กยาว AK และ AKM ขนาด 7.62x39mm และ WZ 88 Tantal ขนาด 5.45x39mm ที่ยังคงประจำการอยู่จนถึงตอนนี้
ปืนเล็กยาว WZ 96 Beryl ถูกออกแบบเมื่อช่วงกลางปี 1990s โดยมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาว AK-47 รัสเซีย โดย WZ 96C เป็นปืนรุ่นที่สามซึ่่งมีคุณสมบัติส่วนต่างๆของปืนออกแบบตามปืนเล็กยาวตะวันตกรุ่นใหม่
เช่น ราง Picatinny สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมอย่างกล้องช่วยเล็งรุ่นใหม่, พานท้ายปืนแบบปรับระดับพับยืดหดได้, ปรับปรุงด้ามจับและปลอกกรองมือใหม่, ด้ามจับแนวดิ่งด้านหน้าสำหรับการรบระยะประชิด CQC และซองกระสุนพลาสติกใส เป็นต้นครับ
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กองทัพอากาศพม่าจะให้รัสเซียซ่อมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P 4เครื่อง และพม่านำอากาศยานไร้คนขับปฏิบัติการโจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อย
Russian Helicopters to repair four Myanmarese Mi-24Ps
http://www.janes.com/article/60999/russian-helicopters-to-repair-four-myanmarese-mi-24ps
บริษัท Russian Helicopters ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Rostec รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลรัสเซียได้ลงนามสัญญาในการซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P (Mi-24P รุ่นส่งออก NATO กำหนดรหัส Hind-F) ของกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) จำนวน 4เครื่อง
ทาง Rostec รัสเซียกล่าวว่า ฮ.โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่า 1เครื่องจะดำเนินการซ่อมที่มหานคร Saint Petersburg รัสเซีย ขณะที่อีก 3เครื่องจะดำเนินการซ่อมในพม่าโดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท
โดยทางบริษัทได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าข้อตกลงเพิ่มเติมอื่นๆอาจจะใกล้บรรลุผลเมื่องานนี้ประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์
ทั้งนี้รัสเซียได้ให้ข้อมูลต่อสำนักงานกิจการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ(United Nations Office for Disarmament Affairs) ว่าได้ส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ให้พม่า 4เครื่องในปี 2010 และเพิ่มเติมอีก 4เครื่องในปี 2011
กองทัพอากาศพม่ามีความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีโดยให้ความสนใจ ฮ.โจมตี Hind ของรัสเซียมาตั้งแต่ต้นปี 2000s โดยกองทัพอากาศพม่าได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ชุดแรกจากรัสเซียในราวปี 2010-2011
มีรายงานการพบเห็นว่ากองทัพอากาศพม่าได้นำ ฮ.โจมตี Mi-35P เข้าปฏิบัติการรบจริงครั้งแรกในภารกิจโจมตีที่มั่นกองกำลังติดอาวุธคะฉิ่น KIA ในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนือติดพรมแดนจีนปี 2013 และอีกหลายๆพื้นที่สู้รบเช่นในรัฐฉาน)
จากภาพการซ้อมรบร่วมของกองทัพพม่าหรือภาพจากปฏิบัติการรบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าจะติดตั้งอาวุธโจมตีคือ ปืนใหญ่อากาศ 30mm แฝดสองที่หัวเครื่องด้านขวา และกระเปาะจรวดไม่นำวิถี S-5 57mm ที่คานอาวุธข้างลำตัวเป็นต้น
แต่ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานและภาพยืนยันออกมาว่ากองทัพอากาศพม่าได้จัดหาระบบอาวุธแบบอื่น เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถังสำหรับติดตั้งกับ ฮ.โจมตี Mi-35P Hind-F ของตนหรือไม่ครับ
Myanmar deployment of combat-capable UAVs in counter-insurgency role confirmed
http://www.janes.com/article/61022/myanmar-deployment-of-combat-capable-uavs-in-counter-insurgency-role-confirmed
สงครามภายในระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังชนกลุ่มหลายกลุ่มซึ่งยาวนานเกือบ 70ปี ถึงแม้ว่าจะมีหลายกลุ่มที่เข้าร่วมลงนามสัญญาสันติภาพและหยุดยิงกับรัฐบาลกลางพม่าบ้างแล้วก็ตาม
แต่ล่าสุดมีรายงานยืนยันว่ากองทัพพม่าได้มีการนำอากาศยานรบไร้คนขับ UCAV(Unmanned combat aerial Vehicle) เข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศ
มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าได้จัดหาอากาศยานรบไร้คนขับแบบ CH-3A (Cai Hong 3A หรือ Rainbow 3A) จากจีนอย่างน้อย 1ระบบหรือมากกว่า(บางแหล่งอ้างว่าจัดหามา 12ระบบ) ตั้งแต่ปี 2013 หรือปี 2014
โดยมีการพบเห็นอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3A กองทัพอากาศพม่านี้ทำการขึ้นบินจากฐานทัพอากาศหรือสนามบินในพม่าเช่นที่ Lashio ในรัฐฉาน หรือ Bhamo ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐคะฉิ่น และฐานทัพอากาศ Meiktila ทางตอนกลางของพม่า
ซึ่งการยืนยันภาพที่เผยแพร่ใน Internet ก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศพม่าได้วางกำลัง CH-3A UCAV ทางตอนเหนือของประเทศนั้น น่าจะถูกถ่ายโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพพม่าเองผ่านทางกล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่และเผยแพร่ทาง Facebook
อากาศยานรบไร้คนขับตระกูล Cai Hong(CH) หรือ Rainbow พัฒนาโดย China Aerospace Science and Technology Corporation (CASC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีหลายรุ่นตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
โดยอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3A นั้นมีปีกกว้าง 8m มีชั่วโมงบินสูงสุด 6ชั่วโมง เพดานบินสูงสุด 4,000m พิสัยทำการไกลสุด 960km บรรทุกได้หนักสุด 180kg
ซึ่ง CH-3A สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย Laser แบบ AR-1(HJ-10 รุ่นสำหรับติดตั้งกับ UCAV) จำนวน 2-4นัด มีหัวรบหนัก 10kg ความเร็ว 1.1mach ระยะยิง 10km ครับ
http://www.janes.com/article/60999/russian-helicopters-to-repair-four-myanmarese-mi-24ps
Mi-35P Attack Helicopter Myanmar Air Force (mmmilitary.blogspot.com)
บริษัท Russian Helicopters ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Rostec รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลรัสเซียได้ลงนามสัญญาในการซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P (Mi-24P รุ่นส่งออก NATO กำหนดรหัส Hind-F) ของกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) จำนวน 4เครื่อง
ทาง Rostec รัสเซียกล่าวว่า ฮ.โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่า 1เครื่องจะดำเนินการซ่อมที่มหานคร Saint Petersburg รัสเซีย ขณะที่อีก 3เครื่องจะดำเนินการซ่อมในพม่าโดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท
โดยทางบริษัทได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าข้อตกลงเพิ่มเติมอื่นๆอาจจะใกล้บรรลุผลเมื่องานนี้ประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์
ทั้งนี้รัสเซียได้ให้ข้อมูลต่อสำนักงานกิจการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ(United Nations Office for Disarmament Affairs) ว่าได้ส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ให้พม่า 4เครื่องในปี 2010 และเพิ่มเติมอีก 4เครื่องในปี 2011
กองทัพอากาศพม่ามีความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีโดยให้ความสนใจ ฮ.โจมตี Hind ของรัสเซียมาตั้งแต่ต้นปี 2000s โดยกองทัพอากาศพม่าได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ชุดแรกจากรัสเซียในราวปี 2010-2011
มีรายงานการพบเห็นว่ากองทัพอากาศพม่าได้นำ ฮ.โจมตี Mi-35P เข้าปฏิบัติการรบจริงครั้งแรกในภารกิจโจมตีที่มั่นกองกำลังติดอาวุธคะฉิ่น KIA ในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนือติดพรมแดนจีนปี 2013 และอีกหลายๆพื้นที่สู้รบเช่นในรัฐฉาน)
จากภาพการซ้อมรบร่วมของกองทัพพม่าหรือภาพจากปฏิบัติการรบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อย เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าจะติดตั้งอาวุธโจมตีคือ ปืนใหญ่อากาศ 30mm แฝดสองที่หัวเครื่องด้านขวา และกระเปาะจรวดไม่นำวิถี S-5 57mm ที่คานอาวุธข้างลำตัวเป็นต้น
แต่ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานและภาพยืนยันออกมาว่ากองทัพอากาศพม่าได้จัดหาระบบอาวุธแบบอื่น เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถังสำหรับติดตั้งกับ ฮ.โจมตี Mi-35P Hind-F ของตนหรือไม่ครับ
Myanmar deployment of combat-capable UAVs in counter-insurgency role confirmed
http://www.janes.com/article/61022/myanmar-deployment-of-combat-capable-uavs-in-counter-insurgency-role-confirmed
CH-3A UCAV Myanmar Air Force
http://defence.pk/threads/myanmar-acquired-ch-3a-ucavs-from-china.408227/สงครามภายในระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังชนกลุ่มหลายกลุ่มซึ่งยาวนานเกือบ 70ปี ถึงแม้ว่าจะมีหลายกลุ่มที่เข้าร่วมลงนามสัญญาสันติภาพและหยุดยิงกับรัฐบาลกลางพม่าบ้างแล้วก็ตาม
แต่ล่าสุดมีรายงานยืนยันว่ากองทัพพม่าได้มีการนำอากาศยานรบไร้คนขับ UCAV(Unmanned combat aerial Vehicle) เข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศ
มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าได้จัดหาอากาศยานรบไร้คนขับแบบ CH-3A (Cai Hong 3A หรือ Rainbow 3A) จากจีนอย่างน้อย 1ระบบหรือมากกว่า(บางแหล่งอ้างว่าจัดหามา 12ระบบ) ตั้งแต่ปี 2013 หรือปี 2014
โดยมีการพบเห็นอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3A กองทัพอากาศพม่านี้ทำการขึ้นบินจากฐานทัพอากาศหรือสนามบินในพม่าเช่นที่ Lashio ในรัฐฉาน หรือ Bhamo ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐคะฉิ่น และฐานทัพอากาศ Meiktila ทางตอนกลางของพม่า
ซึ่งการยืนยันภาพที่เผยแพร่ใน Internet ก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศพม่าได้วางกำลัง CH-3A UCAV ทางตอนเหนือของประเทศนั้น น่าจะถูกถ่ายโดยเจ้าหน้าที่ของกองทัพพม่าเองผ่านทางกล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่และเผยแพร่ทาง Facebook
อากาศยานรบไร้คนขับตระกูล Cai Hong(CH) หรือ Rainbow พัฒนาโดย China Aerospace Science and Technology Corporation (CASC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีหลายรุ่นตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
โดยอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3A นั้นมีปีกกว้าง 8m มีชั่วโมงบินสูงสุด 6ชั่วโมง เพดานบินสูงสุด 4,000m พิสัยทำการไกลสุด 960km บรรทุกได้หนักสุด 180kg
ซึ่ง CH-3A สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย Laser แบบ AR-1(HJ-10 รุ่นสำหรับติดตั้งกับ UCAV) จำนวน 2-4นัด มีหัวรบหนัก 10kg ความเร็ว 1.1mach ระยะยิง 10km ครับ
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ศาลเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะสะสางปัญหาปืนเล็กยาว Heckler & Koch G36
German court likely to clear G36
A German regional court has stated it is likely to find in favour of Heckler & Koch in its bid to prove the G36 is not deficient. Source: Bunderswehr
http://www.janes.com/article/60987/german-court-likely-to-clear-g36
ศาลเยอรมันเปิดเผยว่ามันมีแนวโน้มที่จะทำให้บริษัท Heckler & Koch (HK) มีโอกาสในการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อกลับมาพิสูจน์ว่าปืนเล็กยาว G36 ไม่ได้มีข้อบกพร่องเช่นที่ถูกอ้างโดยกระทรวงกลาโหมเยอรมนี
ศาลภูมิภาค Koblenz ได้ระบุเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า ตามความเห็นทางกฎหมายเบื้องต้นนั้น ปืนเล็กยาว HK G36 ไม่ได้มีข้อบกพร่องตามบริบทในสัญญาจัดซื้อ ในอีกความหมายหนึ่งกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้รับสิ่งที่สั่งจัดหาและไม่ได้ร้องเรียนใดๆไปก่อนหน้านี้
"ปืนเล็กยาว G36 ได้ถูกจัดหามาตั้งแต่ปี 1990s แต่มีข้อร้องเรียนออกมาในปี 2011 การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการและปัจจัยทางสภาพแวดล้อมขณะที่ถูกนำไปใช้งานที่อัฟกานิสถานไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา(โดยกระทรวงกลาโหม)เมื่อมีการสั่งจัดหาเข้าประจำการเพิ่มเติม"
ประธานผู้พิพากษา Ralf Volckmann กล่าว การตัดสินใจสุดท้ายที่กำหนดโดยศาลจะมีขึ้นในวันที่ 2 กันยายน ซึ่งจะทำให้ทั้งบริษัท HK และกระทรวงกลาโหมเยอรมนีมีโอกาสที่จะรับทราบในเรื่องนี้อีกครั้ง
ขณะเดียวกันกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้กล่าวว่ามีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมกับปืนเล็กยาว G36 เพื่อสนับสนุนมุมมองที่ว่าปืนเล็กยาวนี้ได้รับผลกระทบจากข้อบกพร่องของตัวระบบปืน
HK ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่มีข้อมูลผูกมันซึ่งจัดตั้งโดยศาลโดยรายงานเรื่องข้อบกพร่องทางเทคนิคของปืนเล็กยาว Heckler & Koch G36 ว่าไม่ได้มีอยู่ตามความเป็นจริง
การพิจารณาคดีของศาลไม่ได้ครอบคลุมถึงค่าชดเชยใดๆ อย่างไรก็ตามในอดีตทั้งกระทรวงกลาโหมเยอรมนีและ HK ได้กล่าวว่าพวกเขาจะสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงการแสงหาการชดเชยจากแหล่งอื่น
กองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) กำลังมองหาปืนเล็กยาวประจำกายแบบใหม่ทดแทนที่จะเริ่มนำเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป
โดยรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen เคยกล่าวเมื่อเดือนเมษายนปี 2015 ว่า "ปืนเล็กยาว G36 (ในสถานะปัจจจุบัน) นั้นไม่มีอนาคตในกองทัพเยอรมนีอีกต่อไป"
ความเห็นนี้มีขึ้นหลังการประเมินค่าทางเทคนิคที่รัฐบาลเยอรมนีสนับสนุนทุนให้สถาบันวิจัย Fraunhofer รายงานผลเมื่อเดือนมีนาคม 2015 ว่าปืนเล็กยาว HK G36 ล้มเหลวในการผ่านข้อกำหนดด้านความแม่นยำในการยิงจากการที่ตัวปืนเองเกิดความร้อนสูง(เช่นจากยิงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง) เช่นเดียวกับที่ปืนมีความแม่นยำลดลงเมื่อสภาพอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่จำลองเพิ่มสูงขึ้นด้วยครับ
A German regional court has stated it is likely to find in favour of Heckler & Koch in its bid to prove the G36 is not deficient. Source: Bunderswehr
http://www.janes.com/article/60987/german-court-likely-to-clear-g36
ศาลเยอรมันเปิดเผยว่ามันมีแนวโน้มที่จะทำให้บริษัท Heckler & Koch (HK) มีโอกาสในการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อกลับมาพิสูจน์ว่าปืนเล็กยาว G36 ไม่ได้มีข้อบกพร่องเช่นที่ถูกอ้างโดยกระทรวงกลาโหมเยอรมนี
ศาลภูมิภาค Koblenz ได้ระบุเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า ตามความเห็นทางกฎหมายเบื้องต้นนั้น ปืนเล็กยาว HK G36 ไม่ได้มีข้อบกพร่องตามบริบทในสัญญาจัดซื้อ ในอีกความหมายหนึ่งกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้รับสิ่งที่สั่งจัดหาและไม่ได้ร้องเรียนใดๆไปก่อนหน้านี้
"ปืนเล็กยาว G36 ได้ถูกจัดหามาตั้งแต่ปี 1990s แต่มีข้อร้องเรียนออกมาในปี 2011 การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการและปัจจัยทางสภาพแวดล้อมขณะที่ถูกนำไปใช้งานที่อัฟกานิสถานไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา(โดยกระทรวงกลาโหม)เมื่อมีการสั่งจัดหาเข้าประจำการเพิ่มเติม"
ประธานผู้พิพากษา Ralf Volckmann กล่าว การตัดสินใจสุดท้ายที่กำหนดโดยศาลจะมีขึ้นในวันที่ 2 กันยายน ซึ่งจะทำให้ทั้งบริษัท HK และกระทรวงกลาโหมเยอรมนีมีโอกาสที่จะรับทราบในเรื่องนี้อีกครั้ง
ขณะเดียวกันกระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้กล่าวว่ามีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมกับปืนเล็กยาว G36 เพื่อสนับสนุนมุมมองที่ว่าปืนเล็กยาวนี้ได้รับผลกระทบจากข้อบกพร่องของตัวระบบปืน
HK ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่มีข้อมูลผูกมันซึ่งจัดตั้งโดยศาลโดยรายงานเรื่องข้อบกพร่องทางเทคนิคของปืนเล็กยาว Heckler & Koch G36 ว่าไม่ได้มีอยู่ตามความเป็นจริง
การพิจารณาคดีของศาลไม่ได้ครอบคลุมถึงค่าชดเชยใดๆ อย่างไรก็ตามในอดีตทั้งกระทรวงกลาโหมเยอรมนีและ HK ได้กล่าวว่าพวกเขาจะสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงการแสงหาการชดเชยจากแหล่งอื่น
กองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) กำลังมองหาปืนเล็กยาวประจำกายแบบใหม่ทดแทนที่จะเริ่มนำเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป
โดยรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen เคยกล่าวเมื่อเดือนเมษายนปี 2015 ว่า "ปืนเล็กยาว G36 (ในสถานะปัจจจุบัน) นั้นไม่มีอนาคตในกองทัพเยอรมนีอีกต่อไป"
ความเห็นนี้มีขึ้นหลังการประเมินค่าทางเทคนิคที่รัฐบาลเยอรมนีสนับสนุนทุนให้สถาบันวิจัย Fraunhofer รายงานผลเมื่อเดือนมีนาคม 2015 ว่าปืนเล็กยาว HK G36 ล้มเหลวในการผ่านข้อกำหนดด้านความแม่นยำในการยิงจากการที่ตัวปืนเองเกิดความร้อนสูง(เช่นจากยิงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง) เช่นเดียวกับที่ปืนมีความแม่นยำลดลงเมื่อสภาพอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่จำลองเพิ่มสูงขึ้นด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559
สโลวาเกียเปิดตัวรถรบทหารราบล้อยาง Corsac 8x8
Slovakia unveils 8x8 Corsac infantry fighting vehicle
Slovakia's MSM Group has developed the 8x8 Corsac infantry fighting vehicle based on the Pandur II armoured personnel carrier. Source: Miroslav Gyurosi
The Corsac is fitted with the Turra 30 remote control turret armed with a 30 mm automatic gun and two 9M113 Konkurs anti-tank guided missiles. (Miroslav Gyurosi)
http://www.janes.com/article/60810/slovakia-unveils-8x8-corsac-infantry-fighting-vehicle
MSM Group สโลวาเกียเปิดตัวรถรบทหารราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle) ล้อยาง 8x8 ขนส่งทางอากาศได้แบบใหม่
รถหุ้มเกราะล้อยางต้นแบบนี้มีชื่อว่า Corsac มีพื้นฐานมาจากรถเกราะลำเลียงพลล้อยาง Pandur II ของ General Dynamics European Land System (GDELS) Steyr ออสเตรีย
การพัฒนารถต้นแบบนำโดย MSM Group ร่วมกับหุ้นส่วนรายอื่น เช่น EVPU, Konstrukta Defence และ GDELS-Steyr
โดยรถเกราะล้อยาง Corsac ถูกออกแบบให้ตรงตามความต้องการของกองทัพสโลวาเกีย และติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ Turra 30
รถรบทหารราบ Corsac 8x8 รถต้นแบบมีมิติขนาด 7.43mx2.67mx2.95m มีความสูงจากพื้นถึงตัวรถ 0.45m มีกำลังพลประจำรถ 3นายประกอบด้วย ผู้บังคับการรถ, พลขับ, พลยิง บรรทุกกำลังพลทหารราบได้ 6นาย หรือสัมภาระน้ำหนัก 9,500kg
ตัวถังรถมีเกราะป้องกันกระสุนระดับ STANAG 4569 Level 2 และป้องกันแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดได้ระดับ STANAG 4569 Level 3A/B รถมีน้ำหนักพร้อมรบ 19.8tons
เกราะป้องกันกระสุนสามารถเพิ่มเติมเป็นระดับ STANAG 4569 Level2 ถึง Level 4 ด้วยเกราะ Ceramic แบบ Applique
ชุดระบบป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ,เคมี (NBC: Nuclear, Biological, and Chemical) ประกอบด้วย ระบบกรองและปรับอากาศ FVZ-98M ระบบตรวจจับสารพิษ RAID XP และชุดกำจัดกัมมันตรังสี OS-3M
รถรบทหารราบ Corsac 8x8 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Cummins ISLe HPCR แบบมี turbo charge กำลัง 450HP ให้กำลังสูงสุด 335kW รอบเครื่อง 1,637Nm
ทำให้รถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 115km/h ที่พิสัยทำการ 650km และสามารถเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำได้ที่ความเร็ว 10km/h
ระบบอาวุธป้อมปืน Remote แบบ Turra 30 สร้างโดย EVPU สามารถเลือกติดตั้งอาวุธหลักได้เป็นปืนใหญ่กล 2A42 30mm รัสเซีย หรือ Bushmaster Mk44 30mm สหรัฐฯ อาวุธรองสามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งปืนกล 7.62mm หรือปืนกลหนัก 12.7mm
ป้อมปืน Turra 30 ยังสมารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M113 Konkurs (NATO กำหนดรหัส AT-5 Spandrel) รัสเซีย หรือสามารถเลือกติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Rafael SPIKE อิสราเอลได้ครับ
Slovakia's MSM Group has developed the 8x8 Corsac infantry fighting vehicle based on the Pandur II armoured personnel carrier. Source: Miroslav Gyurosi
The Corsac is fitted with the Turra 30 remote control turret armed with a 30 mm automatic gun and two 9M113 Konkurs anti-tank guided missiles. (Miroslav Gyurosi)
http://www.janes.com/article/60810/slovakia-unveils-8x8-corsac-infantry-fighting-vehicle
MSM Group สโลวาเกียเปิดตัวรถรบทหารราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle) ล้อยาง 8x8 ขนส่งทางอากาศได้แบบใหม่
รถหุ้มเกราะล้อยางต้นแบบนี้มีชื่อว่า Corsac มีพื้นฐานมาจากรถเกราะลำเลียงพลล้อยาง Pandur II ของ General Dynamics European Land System (GDELS) Steyr ออสเตรีย
การพัฒนารถต้นแบบนำโดย MSM Group ร่วมกับหุ้นส่วนรายอื่น เช่น EVPU, Konstrukta Defence และ GDELS-Steyr
โดยรถเกราะล้อยาง Corsac ถูกออกแบบให้ตรงตามความต้องการของกองทัพสโลวาเกีย และติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ Turra 30
รถรบทหารราบ Corsac 8x8 รถต้นแบบมีมิติขนาด 7.43mx2.67mx2.95m มีความสูงจากพื้นถึงตัวรถ 0.45m มีกำลังพลประจำรถ 3นายประกอบด้วย ผู้บังคับการรถ, พลขับ, พลยิง บรรทุกกำลังพลทหารราบได้ 6นาย หรือสัมภาระน้ำหนัก 9,500kg
ตัวถังรถมีเกราะป้องกันกระสุนระดับ STANAG 4569 Level 2 และป้องกันแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดได้ระดับ STANAG 4569 Level 3A/B รถมีน้ำหนักพร้อมรบ 19.8tons
เกราะป้องกันกระสุนสามารถเพิ่มเติมเป็นระดับ STANAG 4569 Level2 ถึง Level 4 ด้วยเกราะ Ceramic แบบ Applique
ชุดระบบป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ,เคมี (NBC: Nuclear, Biological, and Chemical) ประกอบด้วย ระบบกรองและปรับอากาศ FVZ-98M ระบบตรวจจับสารพิษ RAID XP และชุดกำจัดกัมมันตรังสี OS-3M
รถรบทหารราบ Corsac 8x8 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Cummins ISLe HPCR แบบมี turbo charge กำลัง 450HP ให้กำลังสูงสุด 335kW รอบเครื่อง 1,637Nm
ทำให้รถทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 115km/h ที่พิสัยทำการ 650km และสามารถเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำได้ที่ความเร็ว 10km/h
ระบบอาวุธป้อมปืน Remote แบบ Turra 30 สร้างโดย EVPU สามารถเลือกติดตั้งอาวุธหลักได้เป็นปืนใหญ่กล 2A42 30mm รัสเซีย หรือ Bushmaster Mk44 30mm สหรัฐฯ อาวุธรองสามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งปืนกล 7.62mm หรือปืนกลหนัก 12.7mm
ป้อมปืน Turra 30 ยังสมารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M113 Konkurs (NATO กำหนดรหัส AT-5 Spandrel) รัสเซีย หรือสามารถเลือกติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Rafael SPIKE อิสราเอลได้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กองทัพเรือฟิลิปปินส์ขึ้นระวางประจำการเรืออู่ยกพลขึ้นบก SSV ลำแรกและเรือระบายพล 3ลำ
Philippine Navy commissions first SSV, three landing craft on 118th anniversary
BRP Tarlac during its commissioning ceremony on 1 June 2016, on the occasion of the Philippine Navy's 118th anniversary. Source: Philippine Navy
http://www.janes.com/article/60942/philippine-navy-commissions-first-ssv-three-landing-craft-on-118th-anniversary
สำนักงานประชาสัมพันธ์กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนว่า กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ขึ้นระวางประจำการเรืออู่ยกพลขึ้นบก SSV(Strategic Sealift Vessel) ลำแรกแล้ว
เรือ BRP Tarlac หมายเลข 601 ได้เข้าพิธีขึ้นระวางประจำการที่ Manila เมื่อวันที่ 1มิถุนายน ที่ผ่านเนื่องในโอกาสครบรอบ 188ปี กองทัพเรือฟิลิปปินส์
โดย BRP Tarlac เป็นเรือ SSV ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ลำแรกจากสองลำที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามสัญญาจัดหากับ PT PAL อู่ต่อเรือรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียวงเงิน $92 million เมื่อเดือนมิถุนายน 2014
ตามข้อมูลจาก Jane's Fighting Ships เรือ SSV ชั้น Tarlac(ใช้แบบแผนจากเรือ LPD ชั้น Makassar กองทัพเรืออินโดนีเซีย ที่ออกแบบโดย Daesan สาธารณรัฐเกาหลี) มีความยาวตัวเรือ 123m ระวางขับน้ำเต็มที่ 11,583tons กำลังพลประจำเรือ 126นาย
สามารถบรรทุกทหารไปกับเรือได้ 500นาย พร้อมเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง 2เครื่องบนลานจอด ทำความเร็วได้สูงสุด 15knots และมีระยะเวลาปฏิบัติการ 30วัน
เรือ SSV ลำที่สองของกองทัพเรือฟิลิปปินส์นั้นกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือ PT PAL ที่ Surabaya อินโดนีเซีย โดยมีกำหนดส่งมอบช่วงกลางปี 2017
ในวันเดียวกันนั้นกองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือระบายพลใหญ่ 3ลำซึ่งเดิมคือเรือระบายพลใหญ่ชั้น Balikpapan ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่ปลดประจำการเมื่อเดือนธันวาคม 2012 และมอบให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ในเดือนมีนาคม 2016
โดย HMAS Wewak(L130), HMAS Betano(L133) และ HMAS Balikpapan(L126) ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในชื่อ BRP Waray(288), BRP Iwak(289) และ BRP Agta(290)
ก่อนหน้านั้นคือเดือนสิงหาคม 2015 เรือระบายพลใหญ่ชั้น Balikpapan ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่ปลดประจำการแล้ว 2ลำคือ HMAS Brunei(L127) และ HMAS Tarakan(L129) ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในชื่อ BRP Ivatan(298) และ BRP Batak (299)
ตามข้อมูลของกองทัพเรือฟิลิปปินส์เรือระบายพลชั้นนี้สามารถลำเลียงรถถังกลางได้ 3คันหรือเทียบเท่า มีพิสัยทำการ 3,000nmi ที่ความเร็ว 10knots
"เรือทั้งหมดที่จัดหามามานี้่ได้เพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในด้านการลำเลียงกำลังพล, ยุทโธปกรณ์ และให้ความช่วยเหลือในปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ"
ข้อความนี้มาจากส่วนหนึ่งของการแถลงการในพิธีครับ
BRP Tarlac during its commissioning ceremony on 1 June 2016, on the occasion of the Philippine Navy's 118th anniversary. Source: Philippine Navy
http://www.janes.com/article/60942/philippine-navy-commissions-first-ssv-three-landing-craft-on-118th-anniversary
สำนักงานประชาสัมพันธ์กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนว่า กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ขึ้นระวางประจำการเรืออู่ยกพลขึ้นบก SSV(Strategic Sealift Vessel) ลำแรกแล้ว
เรือ BRP Tarlac หมายเลข 601 ได้เข้าพิธีขึ้นระวางประจำการที่ Manila เมื่อวันที่ 1มิถุนายน ที่ผ่านเนื่องในโอกาสครบรอบ 188ปี กองทัพเรือฟิลิปปินส์
โดย BRP Tarlac เป็นเรือ SSV ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ลำแรกจากสองลำที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามสัญญาจัดหากับ PT PAL อู่ต่อเรือรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียวงเงิน $92 million เมื่อเดือนมิถุนายน 2014
ตามข้อมูลจาก Jane's Fighting Ships เรือ SSV ชั้น Tarlac(ใช้แบบแผนจากเรือ LPD ชั้น Makassar กองทัพเรืออินโดนีเซีย ที่ออกแบบโดย Daesan สาธารณรัฐเกาหลี) มีความยาวตัวเรือ 123m ระวางขับน้ำเต็มที่ 11,583tons กำลังพลประจำเรือ 126นาย
สามารถบรรทุกทหารไปกับเรือได้ 500นาย พร้อมเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง 2เครื่องบนลานจอด ทำความเร็วได้สูงสุด 15knots และมีระยะเวลาปฏิบัติการ 30วัน
เรือ SSV ลำที่สองของกองทัพเรือฟิลิปปินส์นั้นกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือ PT PAL ที่ Surabaya อินโดนีเซีย โดยมีกำหนดส่งมอบช่วงกลางปี 2017
ในวันเดียวกันนั้นกองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือระบายพลใหญ่ 3ลำซึ่งเดิมคือเรือระบายพลใหญ่ชั้น Balikpapan ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่ปลดประจำการเมื่อเดือนธันวาคม 2012 และมอบให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ในเดือนมีนาคม 2016
โดย HMAS Wewak(L130), HMAS Betano(L133) และ HMAS Balikpapan(L126) ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในชื่อ BRP Waray(288), BRP Iwak(289) และ BRP Agta(290)
ก่อนหน้านั้นคือเดือนสิงหาคม 2015 เรือระบายพลใหญ่ชั้น Balikpapan ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่ปลดประจำการแล้ว 2ลำคือ HMAS Brunei(L127) และ HMAS Tarakan(L129) ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในชื่อ BRP Ivatan(298) และ BRP Batak (299)
ตามข้อมูลของกองทัพเรือฟิลิปปินส์เรือระบายพลชั้นนี้สามารถลำเลียงรถถังกลางได้ 3คันหรือเทียบเท่า มีพิสัยทำการ 3,000nmi ที่ความเร็ว 10knots
"เรือทั้งหมดที่จัดหามามานี้่ได้เพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในด้านการลำเลียงกำลังพล, ยุทโธปกรณ์ และให้ความช่วยเหลือในปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ"
ข้อความนี้มาจากส่วนหนึ่งของการแถลงการในพิธีครับ
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ญี่ปุ่นและไทยมองหาโอกาสร่วมกันในข้อตกลงการจัดหายุทโธปกรณ์
Japan, Thailand eyeing arms deal
Japanese Maritime Self-Defense Force's P-1 patrol aircraft (Courtesy of Defense Ministry)
http://asia.nikkei.com/Politics-Economy/International-Relations/Japan-Thailand-eyeing-arms-deal
ญี่ปุ่นและไทยกำลังมองหาข้อตกลงร่วมซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงอย่างมีขอบเขตจำกัดร่วมกันของทั้งสองประเทศ
รัฐบาลโตเกียวญี่ปุ่นกำลังพิจารณาถึงสัญญาในการอนุมัติการส่งมอบยุทโธปกรณ์ด้านความมั่นคงให้กับไทย และข้อเรียกร้องในความร่วมมือทางวิทยาการ Technology ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ซึ่งไทยให้ความสนใจในอากาศยานสองแบบของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นคือ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกกู้ภัยทางทะเล US-2
ShinMaywa US-2(wikipedia.org)
รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการจะให้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันของไทยและญี่ปุ่นนี้เข้าไปแทรกกลางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นจากสถานการณ์ภายในของไทยและท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่อไทย
โดยเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น Gen Nakatani ได้เข้าพบ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือข้อตกลงด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ร่วมกัน
ในสัญญานั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการส่งออกยุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นคือทางไทยจะต้องให้ญี่ปุ่นยินยอมก่อนที่จะส่งมอบหรือจัดส่งอุปกรณ์หรือ Technology ใดๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ได้มีการระบุไว้ในไว้ในสัญญาครั้งแรก
รองนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เคยเข้าชมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 เมือเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งมีบริษัทด้านความมั่นคงจากญี่ปุ่นเช่น Kawasaki Heavy Industries และ NEC มาร่วมจัดแสดงในงาน
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 สร้างโดย Kawasaki ถูกออกแบบมาเป็นเพื่อภารกิจค้นหาเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำต่างๆ โดยติดตั้งระบบตรวจจับเสียงของ NEC และเครื่องยนต์ไอพ่นสมรรถนะสูงของ IHI
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 สร้างโดย ShinMaywa Industries เป็นเครื่องบินที่สามารถบินขึ้นลงในทะเลที่มีความก้าวหน้าสูง มีความเร็วต่ำและมีพิสัยการบินไกล โดยญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างการหารือข้อตกลงในการส่งออก US-2 ให้อินเดีย
(เข้าใจว่าถ้าเป็นความสนใจในการจัดหาในส่วนของ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ Kawasaki P-1 น่าจะมาแทน บ.ตผ.๒ก./ข. P-3T/UP-3T ที่ปลดประจำการไปแล้ว และ ShinMaywa US-2 น่าจะมาแทน บ.ธก.๑ CL-215 ที่มีอายุการใช้งานมานาน)
ญี่ปุ่นได้รับสัญญาการจัดหายุทโธปกรณ์จากประเทศในเอชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ฟิลิปปินส์ที่ทำสัญญาเช่าเครื่องบินฝึกใบพัด TC-90(Beechcraft King Air Model 90) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น คาดว่าจะนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยในกรณีภัยพิบัติ, การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, การตรวจการณ์และแจ้งเตือน ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเจรจาข้อตกลงลักษณะเดียวกันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย
หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายในเดือนเมษายน 2014 เพื่อทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อส่งออกและเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์กับมิตรประเทศได้มากขึ้นนั้น ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มหาแนวทางในการประชาสัมพันธ์และส่งออกยุทโธปกรณ์ของตนกับต่างประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตามในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ SEA 1000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย ที่เรือดำน้ำชั้น Soryu ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้กับเรือดำน้ำ Shortfin Barracuda Block 1A ของ DCNS ฝรั่งเศสนั้น
เจ้าหน้าระดับสูงในกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า "ความพ่ายแพ้นั้นเปิดเผยถึงการขาดประสบการณ์ทางการตลาดของเรา" ครับ
Japanese Maritime Self-Defense Force's P-1 patrol aircraft (Courtesy of Defense Ministry)
http://asia.nikkei.com/Politics-Economy/International-Relations/Japan-Thailand-eyeing-arms-deal
ญี่ปุ่นและไทยกำลังมองหาข้อตกลงร่วมซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงอย่างมีขอบเขตจำกัดร่วมกันของทั้งสองประเทศ
รัฐบาลโตเกียวญี่ปุ่นกำลังพิจารณาถึงสัญญาในการอนุมัติการส่งมอบยุทโธปกรณ์ด้านความมั่นคงให้กับไทย และข้อเรียกร้องในความร่วมมือทางวิทยาการ Technology ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ซึ่งไทยให้ความสนใจในอากาศยานสองแบบของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นคือ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกกู้ภัยทางทะเล US-2
ShinMaywa US-2(wikipedia.org)
รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการจะให้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันของไทยและญี่ปุ่นนี้เข้าไปแทรกกลางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นจากสถานการณ์ภายในของไทยและท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่อไทย
โดยเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น Gen Nakatani ได้เข้าพบ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือข้อตกลงด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ร่วมกัน
ในสัญญานั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการส่งออกยุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นคือทางไทยจะต้องให้ญี่ปุ่นยินยอมก่อนที่จะส่งมอบหรือจัดส่งอุปกรณ์หรือ Technology ใดๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ได้มีการระบุไว้ในไว้ในสัญญาครั้งแรก
รองนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เคยเข้าชมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 เมือเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งมีบริษัทด้านความมั่นคงจากญี่ปุ่นเช่น Kawasaki Heavy Industries และ NEC มาร่วมจัดแสดงในงาน
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 สร้างโดย Kawasaki ถูกออกแบบมาเป็นเพื่อภารกิจค้นหาเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำต่างๆ โดยติดตั้งระบบตรวจจับเสียงของ NEC และเครื่องยนต์ไอพ่นสมรรถนะสูงของ IHI
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 สร้างโดย ShinMaywa Industries เป็นเครื่องบินที่สามารถบินขึ้นลงในทะเลที่มีความก้าวหน้าสูง มีความเร็วต่ำและมีพิสัยการบินไกล โดยญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างการหารือข้อตกลงในการส่งออก US-2 ให้อินเดีย
(เข้าใจว่าถ้าเป็นความสนใจในการจัดหาในส่วนของ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ Kawasaki P-1 น่าจะมาแทน บ.ตผ.๒ก./ข. P-3T/UP-3T ที่ปลดประจำการไปแล้ว และ ShinMaywa US-2 น่าจะมาแทน บ.ธก.๑ CL-215 ที่มีอายุการใช้งานมานาน)
ญี่ปุ่นได้รับสัญญาการจัดหายุทโธปกรณ์จากประเทศในเอชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ฟิลิปปินส์ที่ทำสัญญาเช่าเครื่องบินฝึกใบพัด TC-90(Beechcraft King Air Model 90) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น คาดว่าจะนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยในกรณีภัยพิบัติ, การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, การตรวจการณ์และแจ้งเตือน ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเจรจาข้อตกลงลักษณะเดียวกันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย
หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายในเดือนเมษายน 2014 เพื่อทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อส่งออกและเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์กับมิตรประเทศได้มากขึ้นนั้น ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มหาแนวทางในการประชาสัมพันธ์และส่งออกยุทโธปกรณ์ของตนกับต่างประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตามในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ SEA 1000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย ที่เรือดำน้ำชั้น Soryu ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้กับเรือดำน้ำ Shortfin Barracuda Block 1A ของ DCNS ฝรั่งเศสนั้น
เจ้าหน้าระดับสูงในกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า "ความพ่ายแพ้นั้นเปิดเผยถึงการขาดประสบการณ์ทางการตลาดของเรา" ครับ
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ฝรั่งเศสส่งมอบเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral ลำแรกให้อียิปต์
France hands over first Mistral helicopter carrier to Egypt
ENS Anwar El Sadat 1020
ENS Gamal Abdel Nasser 1010
EPA/EDDY LEMAISTRE
The universal ship, originally built for Russia, has been named ENS Gamal Abdel Nasser 1010 in honor of Egypt’s second president (1954-1970)
http://tass.ru/en/defense/879684
วันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา Emmanuel Gaudez โฆษกบริษัท DCNS ฝรั่งเศสได้กล่าวกับสำนักข่าว TASS ว่า ฝรั่งเศสได้ทำการส่งมอบเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral ลำแรกจากสองลำซึ่งเดิมถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือรัสเซียให้กองทัพเรืออียิปต์ ณ เมืองท่า Saint Nazaire แล้ว
"เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้ถูกส่งมอบให้อียิปต์อย่างเป็นทางการแล้ว สัปดาห์หน้ามันจะออกจากท่าเรือและตั้งเส้นทางไปยังจุดหมายสุดท้าย" นาย Gaudez กล่าว
แต่เขาหลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยว่าอียิปต์ได้จ่ายเงินไปเท่าไรสำหรับเรือเหล่านี้ "มันยังเป็นความลับทางการค้า" นาย Gaudez กล่าว
เรือ LPD(Landing Platform Dock) ชั้น Mistral ทั้งสองลำที่ DCNS ฝรั่งเศสสร้างนี้เดิมที่ถูกสร้างเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือรัสเซียในชื่อ Vladivostok และ Sevastopol
เรือลำแรกของกองทัพเรืออียิปต์คือ ENS Gamal Abdel Nasser 1010 ได้ถูกตั้งชื่อตามประธานาธิบดีคนที่สองของอียิปต์(ดำรงตำแหน่งปี 1954-1970) ได้ถูกชักธงอียิปต์ขึ้นบนเรือ โดยขณะนี้เรือได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรืออียิปต์อย่างเป็นทางการแล้ว
ส่วนเรือลำที่สองคือ ENS Anwar El Sadat 1020 ได้ถูกตั้งชื่อตามประธานาธิบดีคนที่สามของอียิปต์(ดำรงตำแหน่งปี 1970-1981) จะถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรืออียิปต์ตามมาภายหลัง
http://tass.ru/en/infographics/7259
ฝรั่งเศสได้รับสัญญาการสร้างเรือ LPD ชั้น Mistal สองลำให้รัสเซียในฤดูร้อนปี 2011 แต่ในปี 2014 ฝรั่งเศสได้ระงับการส่งมอบเรือให้รัสเซียเพื่อตอบโต้รัสเซียที่เข้าผนวก Crimea และแทรงแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลยูเครน
ต่อมาเดือนสิงหาคม 2015 ฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงกับรัสเซียในการคืนเงิน 949 million Euro พร้อมอุปกรณ์ของรัสเซียทั้งหมดที่ติดตั้งบนเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำคืนให้รัสเซีย ทำให้ฝรั่งเศสมีอิสระที่จะดำเนินการใดๆกับเรือทั้งสองลำได้
จากนั้นไม่นานอียิปต์ได้บรรลุข้อตกลงในการซื้อเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำต่อจากฝรั่งเศส โดยมีการลงนามสัญญาที่ Cairo อียิปต์เมื่อเดือนตุลาคม 2015 วงเงินรวม $950 million Euro ซึ่งบางแหล่งข่าวอ้างว่าซาอุดิอาระเบียได้ให้เงินช่วยเหลืออียิปต์ในการซื้อเรือทั้งสองลำครับ
ENS Anwar El Sadat 1020
ENS Gamal Abdel Nasser 1010
EPA/EDDY LEMAISTRE
The universal ship, originally built for Russia, has been named ENS Gamal Abdel Nasser 1010 in honor of Egypt’s second president (1954-1970)
http://tass.ru/en/defense/879684
วันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา Emmanuel Gaudez โฆษกบริษัท DCNS ฝรั่งเศสได้กล่าวกับสำนักข่าว TASS ว่า ฝรั่งเศสได้ทำการส่งมอบเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral ลำแรกจากสองลำซึ่งเดิมถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือรัสเซียให้กองทัพเรืออียิปต์ ณ เมืองท่า Saint Nazaire แล้ว
"เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้ถูกส่งมอบให้อียิปต์อย่างเป็นทางการแล้ว สัปดาห์หน้ามันจะออกจากท่าเรือและตั้งเส้นทางไปยังจุดหมายสุดท้าย" นาย Gaudez กล่าว
แต่เขาหลีกเลี่ยงที่จะเปิดเผยว่าอียิปต์ได้จ่ายเงินไปเท่าไรสำหรับเรือเหล่านี้ "มันยังเป็นความลับทางการค้า" นาย Gaudez กล่าว
เรือ LPD(Landing Platform Dock) ชั้น Mistral ทั้งสองลำที่ DCNS ฝรั่งเศสสร้างนี้เดิมที่ถูกสร้างเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือรัสเซียในชื่อ Vladivostok และ Sevastopol
เรือลำแรกของกองทัพเรืออียิปต์คือ ENS Gamal Abdel Nasser 1010 ได้ถูกตั้งชื่อตามประธานาธิบดีคนที่สองของอียิปต์(ดำรงตำแหน่งปี 1954-1970) ได้ถูกชักธงอียิปต์ขึ้นบนเรือ โดยขณะนี้เรือได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรืออียิปต์อย่างเป็นทางการแล้ว
ส่วนเรือลำที่สองคือ ENS Anwar El Sadat 1020 ได้ถูกตั้งชื่อตามประธานาธิบดีคนที่สามของอียิปต์(ดำรงตำแหน่งปี 1970-1981) จะถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรืออียิปต์ตามมาภายหลัง
http://tass.ru/en/infographics/7259
ฝรั่งเศสได้รับสัญญาการสร้างเรือ LPD ชั้น Mistal สองลำให้รัสเซียในฤดูร้อนปี 2011 แต่ในปี 2014 ฝรั่งเศสได้ระงับการส่งมอบเรือให้รัสเซียเพื่อตอบโต้รัสเซียที่เข้าผนวก Crimea และแทรงแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลยูเครน
ต่อมาเดือนสิงหาคม 2015 ฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงกับรัสเซียในการคืนเงิน 949 million Euro พร้อมอุปกรณ์ของรัสเซียทั้งหมดที่ติดตั้งบนเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำคืนให้รัสเซีย ทำให้ฝรั่งเศสมีอิสระที่จะดำเนินการใดๆกับเรือทั้งสองลำได้
จากนั้นไม่นานอียิปต์ได้บรรลุข้อตกลงในการซื้อเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำต่อจากฝรั่งเศส โดยมีการลงนามสัญญาที่ Cairo อียิปต์เมื่อเดือนตุลาคม 2015 วงเงินรวม $950 million Euro ซึ่งบางแหล่งข่าวอ้างว่าซาอุดิอาระเบียได้ให้เงินช่วยเหลืออียิปต์ในการซื้อเรือทั้งสองลำครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)