วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

เครื่องบินฝึกใบพัด Yak-152 รัสเซียประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรก

Russia's Yak-152 trainer completes maiden flight
The Yakovlev Yak-152 turboprop trainer aircraft made its maiden flight on 29 September at the Irkutsk Aviation Plant. (UAC)

The new trainer is expected to replace Russia's ageing Yak-52s in the basic trainer role. (UAC)
http://www.janes.com/article/64198/russia-s-yak-152-trainer-completes-maiden-flight


วันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียได้ประกาศความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกใบพัด Yakovlev Yak-152
เที่ยวบินครั้งแรกของ Yak-152 นี้ทำการบินที่โรงงานอากาศยาน Irkutsk โดยนักบินทดสอบของ Yakovlev คือ Vasily Sevastyanov ซึ่งเขากล่าวว่าการทดสอบการบินเป็นไปด้วยดีและเครื่องบินนั้นดีมาก
โดยทาง Irkut เปิดเผยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่าบริษัทได้รับการสั่งจัดหาเครื่องตัวอย่างจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียแล้ว 150เครื่องสำหรับกองทัพอากาศรัสเซีย

Yak-152 เป็นเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นประถมที่ออกแบบโดยสำนักออกแบบ Yakovlev ซึ่งส่วนหนึ่งของบริษัท Irkut Corporation รัสเซียในเครือ UAC เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกใบพัด Yak-52 ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1979 สมัยกองทัพอากาศโซเวียต
ซึ่ง Yak-152 มีพื้นฐานพัฒนามาจากเครื่องบินใบพัดสำหรับการบินผาดแผลง Yak-54 ซึ่งทาง Yakovlev รัสเซียและ Hongdu จีนได้มีความร่วมมือกันในการพัฒนาเครื่องบินฝึกใบพัด CJ-7(L-7) เข้าประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนด้วย
ทั้งนี้โครงการพัฒนาเครื่องบินฝึกขั้นประถมทดแทน Yak-52 ได้เริ่มาตั้งแต่ปี 2001 แต่มีความติดขัดมานานหลายสิบปีจนปี 2014 Irkut Corporation จึงได้รับสัญญาในการพัฒนา Yak-152 ให้สำเร็จ
ซึ่งตามกำหนดการเดิมที่เครื่องจะทำการบินคั้งแรกในปี 2015 และนำเข้าประจำการได้ในเดือนพฤศจิกายน 2016 นั้นก็แสดงถึงการยืดระยะเวลาที่ล่าช้าออกไปของโครงการครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

นาวิกโยธินอินโดนีเซียได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M ยูเครนชุดแรก 5คัน

Ukrainian BTR-4M Bucephalus for Marine Corps Indonesian Navy have Arrive
http://angkasa.co.id/info/militer/eksklusif-btr-4m-korp-marinir-tni-al-tiba-di-indonesia/


เรือขนส่งสินค้า MV Texel สัญชาติเนเธอร์แลนด์ลำเลียงรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M จำนวน 4คัน เดินทางผ่านช่องแคบ Bosphorus ตุรกีจากทะเลดำยูเครนไปอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2016
twitter.com/YorukIsik

เรือขนส่งสินค้า MV Texel ทำการลำเลียงรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซีย ที่ท่าเรือ Tanjung Priok เมือง Jakarta เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2016
http://angkasa.co.id/info/militer/btr-4m-pesanan-marinir-akhirnya-tiba-di-pelabuhan-tanjung-priok/

นาวิกโยธินกองทัพเรืออินโดนีเซีย(KorMar,TNI-AL:Korps Marinir,Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้รับมอบยุทโธปกรณ์ใหม่ล่าสุดของตน
คือรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก BTR-4M Bucephalus จากยูเครนชุดแรกจำนวน 4-5คันจากที่เคยมีรายงานว่าสั่งจัดหาจำนวน 54-55คัน
ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเข้าประจำการกองร้อยลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก กองพันลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกที่มีอยู่สองกองพัน ในสองกองทัพนาวิกโยธินทีมีที่ตั้งใน Surabaya(1st Amphibious Recon Battalion, 1st Marine Force) และ Jakatar(2nd Amphibious Recon Battalion, 2nd Marine Force)

BTR-4M Bucephalus เป็นรถรบทหารราบหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกแบบล่าสุดซึ่งออกแบบโดย KMDB ยูเครน ซึ่งออกแบบมาสำหรับความต้องการของหน่วยยกพลขึ้นบก
โดย BTR-4 8x8 เป็นรถหุ้มเกราะล้อยางที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดที่ใช้แบบแผนตามมาตรฐานกองทัพตะวันตก(ไม่ได้มีพื้นฐานจาก BTR-80 รัสเซียที่นำมาขยายแบบให้ใหญ่ขึ้นเหมือน BTR-3)
BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซียใช้เครื่องยนต์ดีเซลแบบ Deutz BF6M 1015CP เยอรมนีกำลัง 490hp พร้อมระบบส่งกำลังแบบ Allison 4600SP มี 6 gear เดินหน้าและ 1 gear ถอยหลัง ทำความเร็วบนถนนได้ 100km/h ในภูมิประเทศได้ 70km/h
และเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำได้ 10km/h ซึ่ง BTR-4M ได้เพิ่มขีดความสามารถในการลอยตัวขณะที่เคลื่อนที่ในน้ำและเพิ่มท่อ Snorkels เช่นเดียวกับรถรบทหารราบสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F รัสเซีย ที่นาวิกโยธินอินโดนีเซียมีประจำการอยู่แล้ว
BTR-4 มีพลประจำรถ 3นาย(ผบ.รถ, พลขับ และพลยิง) สามารถบรรทุกกำลังพลได้ 8นาย ซึ่งกำลังพลทุกนายมีที่นั่งประจำ มีช่องทางออกที่ประตูท้ายรถและหลังคา โดยรถมีระบบป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ, เคมี
ระบบอาวุธของ BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซียที่พบมีสองแบบคือ รุ่นรถรบทหารราบติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ BM-7 Parus ประกอบด้วยปืนใหญ่กล ZTM-1(2A72) ขนาด 30mm 300นัด, ปืนกลร่วมแกน KT-7.62(PKT) ขนาด 7.62mm 2,000นัด และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ AG-17 ขนาด 30mm 149นัด รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ Barrier ที่แท่นยิงพร้อมรบ 2นัด และจรวดสำรองอีก 2นัด รวม 4นัด ระยะยิง 4,000-5,000m
และรุ่นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลติดตั้งป้อมปืน Remote เบาติดตั้งปืนกลหนัก KT-12.7(NSVT) 12.7mm หรือปืนกล KT-7.62(PKT)

มีรายงานก่อนหน้านี้ว่ากระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้สั่งจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2014 แต่จากสถานการณ์ในยูเครนหลังรัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียทำสงครามในภาค Dobass ตั้งแต่ปี 2014 มานั้น
มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตส่งออกยุทโธปกรณ์ของยูเครนที่ต้องทำการผลิตอาวุธให้กองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนเป็นหลักก่อน ทำให้มีข่าวออกมาว่าอินโดนีเซียยกเลิกการจัดหา BTR-4 จากยูเครนไป
แต่อย่างก็ตาม KMDB ยูเครนได้ทำการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก BTR-4M ซึ่งออกแบบตามความต้องการของนาวิกโยธินอินโดนีเซียเมื่อต้นปี 2016 ซึ่งเป็นไปได้ว่า BTR-4M 5คันนี้อาจจะเป็นรถต้นแบบให้อินโดนีเซียประเมินค่าก่อนจะเริ่มสั่งจัดหาอีก 50คันที่เหลือครับ

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

ยูเครนพัฒนาระบบควบคุมการขับเคลื่อนรุ่นใหม่สำหรับรถถังหลัก Oplot

http://www.sq.com.ua/rus/news/novosti/22.09.2016/fed_razrabotal_sistemu_upravleniya_tankom/%D0%9E%D0%BF%D0%BB%D0%BE%D1%82/




Ukrainian T-84 Oplot under repair.
http://andrei-bt.livejournal.com/437908.html

โรงานสร้างเครื่องจักร Kharkov "FED" ผู้พัฒนาระบบอุปกรณ์ภายในสำหรับยานพาหนะ, รถไฟ และอากาศยานยูเครน ซึ่งเป็นรัฐวิสากิจในเครือ Ukroboronpron องค์กรด้านการจัดการอุตสาหกรรมความมั่นคงในความควบคุมของรัฐบาลยูเครน
ได้ใช้เวลาห้าปีในการพัฒนาอุปกรณ์รุ่นใหม่สองระบบสำหรับปรับปรุงสมรรถนะของรถถังหลัก Oplot คือระบบควบคุมการขับเคลื่อนและเครื่องดูดอัดอากาศของรถแบบใหม่

ตามข้อมูลของบริษัท ระบบควบคุมการขับเคลื่อนแบบใหม่สำหรับรถถังหลัก T-84 Oplot รุ่น 478DU9-T.62 นั้นจะจะทำให้การควบคุมการเคลื่อนที่ของรถขณะทำการเลี้ยวนุ่มนวลมากขึ้น
ด้วยการใช้ระบบแหล่งกำเนิดพลังงานเสริม(APU: Auxiliary power unit) ใหม่, ล้อกดสายพานรักษาระดับ, ระบบการจัดการแบบพื้นฐาน และระบบลดความเมื่อยล้าของพลขับ ทำให้รถถังหลัก Oplot มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่มากขึ้น
รวมถึงระบบเครื่องดูดอัดอากาศและกรองอากาศใหม่ซึ่งจะทำให้อากาศที่ใช้กับเครื่องยนต์และภายในตัวรถสะอาด ซึ่งระบบใหม่นี้จะถูกนำไปใช้กับรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4 Butsefal 8x8 และรถหุ้มเกราะล้อยาง Dozor 4x4 ด้วย

ปัจจุบันรถถังหลัก Oplot-T (มีพื้นฐานจาก 478DU10, T-84 Oplot-M หรือ BM Oplot) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่าที่กองทัพบกยูเครนมีใช้งานได้รับการสั่งจัดหาโดยกองทัพบกไทยจำนวน ๔๙คันวงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท ($240 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
แต่ยูเครนมีความล่าช้าในการสร้างและจัดส่งให้ไทย ซึ่งปัจจุบันเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ ได้รับมอบรถอย่างน้อยเพียง ๑๕คันเท่านั้นครับ

กองทัพรัสเซียจะได้รับมอบรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ Tigr ติดป้อมปืน Arbalet เร็วๆนี้

Tiger-M 4x4 with Arbalet-DM remote controlled weapon station at Red Square Victory Parade 9 May 2016(http://www.vitalykuzmin.net)

Russian troops to soon receive Tigr armored vehicle with Arbalet weapon station
Tigr armored vehicle
Ladislav Karpov/TASS
The vehicle with the remote controlled weapon station was demonstrated at the Army 2016 exhibition
http://tass.com/defense/902292

Army 2016: Tigr-M unmanned vehicle armed with cannon breaks cover
The unmanned Tigr-M armed with a 2A72 30 mm cannon. Source: Nikolai Novichkov
http://www.janes.com/article/63618/army-2016-tigr-m-unmanned-vehicle-armed-with-cannon-breaks-cover


Mikhail Osyko เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ให้ข้อมูลในการให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ Rossiya 24 เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมาว่า
กองทัพรัสเซียได้รับมอบรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ 4x4 แบบ Tigr ที่ติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ Arbalet-DM ในเร็วๆนี้
"รถสายการผลิตตัวอย่างจะถูกจัดส่งให้กองทัพภายในสิ้นปีนี้หรือในปีหน้า กองทัพจะได้รับและเริ่มใช้งานพวกมัน" นาย Osyko กล่าว

VPK-233114 Tigr-M ผลิตโดย Military Industrial Company หรือ VPK รัสเซีย เป็นรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะเอนกประสงค์ 4x4 ซึ่งรุ่นที่ติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ Arbalet(ภาษารัสเซียแปลว่า 'หน้าไม้') พร้อมปืนกลหนัก Kord 12.7mm นั้น
เปิดตัวครั้งแรกในพิธีสวนสนามวันประกาศชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองที่จตุรัสแดง นครหลวง Moscow เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2016 และในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2016 ที่ Kubinka ระหว่างวันที่ 6-11 กันยายน ที่ผ่านมา
ซึ่งในงาน Army 2016 นั้รยังได้มีการเปิดตัวรถเกราะล้อยาง Tigr-M รุ่นยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) ซึ่งติดตั้ง ป้อมปืน Remote พร้อมปืนใหญ่กล 2A72 ขนาด 30mm และปืนกลร่วมแกน PKTM 7.62mm ด้วยครับ

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เวียดนามได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง Guardian จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ชุดแรก


UAE's IAG Guardian 4x4 APC at Hai Phong port Vietnam.
http://www.xegiaothong.vn/dien-kien-xe-quan-su-chong-dan-vua-xuat-hien-o-viet-nam-d140433.html

บริษัท IAG(International Armored Group) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง Guardian 4x4 ชุดแรกให้กองทัพประชาชนเวียดนามหรือหน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลเวียดนาม
โดยมีภาพการขนส่งรถเกราะล้อยาง Guardian 4x4 นี้มาทางเรือขนส่งสินค้าที่ท่าเรือเมือง Hai Phong เวียดนาม แต่ทั้งนี้ยังไม่ทราบข้อมูลเพิ่มเติม


IAG Guardian 4x4 เป็นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลกันกระสุนและการโจมตีจากทุ่นระเบิด เกราะของรถกันกระสุนได้ระดับมาตรฐาน NATO STANAG II(CEN B7) ในการป้องกันกระสุนขนาด 7.62x51mm NATO(ball) กับ 7.62x39mm(AP) รัสเซีย หรือทุ่นระเบิดต่อต้านรถถังหนัก 6kg และสามารถเพิ่มเกราะเสริมได้เป็นระดับ  STANAG III ป้องกันกระสุนเจาะเกราะ 7.62x51mm NATO(AP) หรือทุ่นระเบิดต่อต้านรถถังหนัก 8kg
รถเกราะล้อยาง Guardian สามารถเลือกเครื่องยนต์ได้ระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 300hp หรือเครื่องยนต์เบนซินกำลัง 352hp พร้อมระบบส่งกำลังอัตโนมัติ 5 หรือ 6ระดับความเร็ว และล้อยางแบบ Run-Flat ให้การขับเคลื่อนบนถนนและทางวิบากในภูมิประเทศได้ดี
รถเกราะล้อยาง Guardian สามรถบรรทุกกำลังพล(รวมพลขับ)ได้ 10นาย ระบบอาวุธสามารถติดตั้งป้อมปืนแบบมีพลประจำหรือป้อมปืน Remote Weapon Station ซึ่งสามารถติดปืนกลหนักขนาด 12.7mm ได้ครับ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart ลำแรกของกองทัพเรือออสเตรเลียเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเล

First destroyer Hobart successfully completes Builder Sea Trials
http://www.ausawd.com/Article/NewsDetail.aspx?p=16&id=83


วันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมาเรือพิฆาตชั้น Hobart ลำแรกของกองทัพเรือออสเตรเลีย(Royal Australian Navy) คือ DDGH-39 HMAS Hobart ได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือโดยผู้สร้าง Air Warfare Destroyer Alliance ที่ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน ทางชายฝั่งออสเตรเลียใต้
"ขั้นแรกของการทดลองเรือในทะเลได้ดำเนินการเป็นเวลาหลายวัน ณ น่านน้ำออสเตรเลียใต้ ที่ประสบความสำเร็จในการทดสอบตัวเรือ, ระบบขับเครื่อง และระบบนำร่อง
การทดลองเรือขั้นที่ที่มีความก้าวหน้ากว่าจะเริ่มขึ้นในต้นปี 2017 ซึ่งจะเป็นการทดสอบระบบอำนวยการรบและการสื่อสารของเรือ Hobart มันเป็นปีที่สุดยอดของการออกแบบและการจัดหา, การสร้าง และการติดตั้ง, ทดสอบระบบ, การฝึก และการเปิดการใช้งานอุปกรณ์
มันทำให้ผมมีความรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมากในการมองเห็นการทำงานอย่างหนักของเราประสบผลสำเร็จในช่วงการทดลองในทะเล" Lloyd Beckett ผู้จัดการทั่วไปของ AWD Alliance กล่าว

การดำเนินการที่สำคัญยิ่งนี้ทำให้โครงการเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศและเรือพิฆาต Hobart เข้าใกล้หลักสำคัญนับตั้งแต่เรือเริ่มการสร้างในเดือนมกราคม ปี 2010, ประกอบลำตัวเรือในเดือนมีนาคม ปี 2014 และปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2015
ผู้จัดการโครงการ AWD Alliance พลเรือจัตวา Craig Bourke แสดงความพึงพอใจของเขาว่า
"การเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลโดยผู้สร้างของเรือ Hobart เป็นก้าวสำคัญในการเข้าสู่การรับมอบเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศลำแรกเพื่อการป้องกันและเป็นเรือรบที่มีขีดความสามรถสูงสุดเท่าที่เคยมีประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลีย
ทีมของ AWD Alliance ผู้สร้างเรือและบูรณาการระบบสามารถนำความภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ในการบรรลุก้าวสำคัญของกาส่งมอบเรือพิฆาติป้องกันภัยทางอากาศลำแรกของเราสู่ทะเลและประสบความสำเร็จในการทดลองระบบ"

ในอีกหลายเดือนข้างหน้าโครงการเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศกองทัพเรือออสเตรเลียจะมีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเรือลำที่สอง DDGH-41 HMAS Brisbane จะปล่อยลงน้ำในเดือนธันวาคม 2016 และเรือลำที่สาม DDGH-42 HMAS Sydney จะประกอบตัวเรือในเดือนสิงหาคม 2017
AWD Alliance ประกอบด้วย ASC ออสเตรเลียผู้สร้างเรือ, Raytheon Australia ผู้บูรณาการระบบอำนวยการรบ, กลุ่มขีดความสามารถการจัดหาและการบำรุงรักษาของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญหลักในการทดลองเรือครั้งนี้
"วันนี้คือวันที่ทุกคนที่ทำงานด้วยทักษะสูงและความเป็นมีอาชีพในอุตสาหกรรมการสร้างเรือของออสเตรเลียสามารถยืนได้เด่นและมีความภูมิใจอย่างมาก การทดลองเรือในทะเลแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของทีมผู้สร้างเรือเรา
มุ่งหน้าต่อไป แรงงานทักษะสูงของ ASC จะดำเนินงานประกอบและติดตั้งเรือพิฆาตสองลำที่เหลือ Brisbane และ Sydney การนำบทเรียนจากการสร้างเรือ Hobart ไปพร้อมกัน และการสร้างการปรับปรุงที่สำคัญต่อขีดความสามารถในการสร้างเรือของชาติเรา" Mark Lamarre ผู้อำนวยการบริหาร ASC Shipbuilding กล่าว

Michael Ward ผู้อำนวยการจัดการ Raytheon Australia ได้กล่าวถึงความสำเร็จขั้นแรกของการทดลองเรือในทะเลของเรือพิฆาต Hobart ว่า
"Raytheon Australia รับผิดชอบการออกแบบ, ส่งมอบ และบูรณาการติดตั้งระบบอำนวยการบของเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งประกอบด้วยสิบระบบย่อยหลักและอุปกรณ์ระบบการรบมากกว่า 3,500ชิ้นส่วนหลัก
ระบบอำนวยการรบที่มีความซับซ้อนนี้ทำให้เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้นนี้เป็นเรือรบที่มีความก้าวหน้าและมีอำนาจการสังหารสูงสุดเท่าที่เคยมีประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลีย
เรามองไปข้างหน้าเพื่อประสบความเร็จในการดำเนินการทดลองเรือในทะเลของเรือ Hobart ต่อไปในปีหน้า เมื่อระบบอำนวยการรบขั้นก้าวหน้าของเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศได้รับการทดสอบ"

เรือพิฆาตชั้น Hobart หรือโครงการ SEA 4000 เป็นโครงการจัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศจำนวน 3ลำของกองทัพเรือออเตรเลีย ซึ่งมีแบบเรือพื้นฐานมาจากเรือฟริเกต F100 ชั้น Alvaro de Bazan กองทัพเรือสเปนของบริษัท Navantia สเปน
เรือพิฆาตชั้น Hobart มีระวางขับน้ำ 6,250tons ตัวเรือยาว 147m ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis พร้อม Radar แบบ AN/SPY-1D มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือสำหรับ ฮ.MH-60R 1เครื่อง
ระบบอาวุธประกอบด้วยปืนใหญ่เรือ Mk45 Mod4 127mm/62cal, ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx CIWS 20mm, ปืนใหญ่กล M242 Bushmaster 25mm, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้าเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon แท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS 48ท่อยิงติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-66 SM-2 และ RIM-162 ESSM และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ MU90
ตามกำหนดการหลังการทดลองเรือในทะเลช่วงต้นปี 2017 เสร็จสิ้นแล้ว เรือพิฆาต DDGH-39 HMAS Hobart จะมีกำหนดส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลียในเดือนมิถุนายน ปี 2017 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ฝรั่งเศสจะจัดซื้อปืนเล็กยาว HK416F เยอรมนีทดแทนปืนเล็กยาว FAMAS

La DGA attribue le marché de l’Arme Individuelle Future (AIF)
http://www.defense.gouv.fr/actualites/communaute-defense/la-dga-attribue-le-marche-de-l-arme-individuelle-future-aif


Norwegian Army Heckler & Koch HK416N with an Aimpoint CompM4 red dot sight and a vertical foregrip.(wikipedia.org)

หลังจากที่มีกระแสข่าวมาได้สักระยะ เอกสารทางการของกระทรวงกลาโหมฝรั่งที่ประกาศเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมาได้เปิดเผยว่า
สำนักงานการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝรั่งเศส DGA ได้ประกาศเลือกแบบปืนเล็กยาวใหม่ในโครงการอาวุธประจำกายอนาคต(AIF:Arme individuelle future) เพื่อทดแทนปืนเล็กยาว FAMAS ที่กองทัพฝรั่งเศสใช้งานมานานหลายสิบปี
คือปืนเล็กยาว HK416F ของบริษัท Heckler & Koch GmbH เยอรมนี และบริษัท Heckler & Koch France SAS ฝรั่งเศส มูลค่าสัญญาวงเงินประมาณ 300-400 million Euro

ตามข้อมูลในเอกสารปืนเล็กยาว Heckler & Koch HK416F ใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm NATO อัตราการยิงสูงสุด 900นัดต่อนาที มีระยะยิงหวังผล 300m สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40x46mm ได้
ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพฝรั่งเศสได้จัดหาปืนเล็กยาว HK416A5 จำนวนหนึ่งใช้ในในหน่วยรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพบ้างแล้ว เช่น กองพลน้อยรบพิเศษ กองทัพบกฝรั่งเศส
โดยสัญญาจะมีการจัดส่งปืนเล็กยาว HK416F จำนวน 100,000กระบอก โดยชุดแรกจะเริ่มส่งมอบได้ในปี 2017 และทำการส่งมอบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10ปี

โครงการ Arme individuelle future ของกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเป็นการจัดหาปืนเล็กยาวประจำการแบบใหม่ทดแทนปืนเล็กยาว FAMAS(Fusil d'Assaut de la Manufacture d'Armes de Saint-Étienne) ทรง Bullpub ที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี  1970s และประจำการในกองทัพฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี 1981
นอกจากปืนเล็กยาว HK416 แล้ว DGA ฝรั่งเศสยังได้ทำการประเมินปืนเล็กยาวแบบอื่นจากบริษัทต่างๆในยุโรปคือ Beretta ARX160 อิตาลี, Sig Sauer MCX เยอรมนี-สวิสเซอร์แลนด์, HS Produkt VHS-2 โครเอเชีย และ FN Herstal SCAR เบลเยียม
การจัดหาปืนเล็กยาว HK416F นี้จึงเป็นกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงร่วมกันของฝรั่งเศสและเยอรมนี เช่นเดียวกับที่กองทัพนอร์เวย์ได้สั่งจัดหาปืนเล็กยาว HK416N จำนวน 40,000-60,000กระบอกเพื่อเป็นอาวุธประจำกายหลักสำหรับทหารของตนครับ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

อินเดียลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale 36เครื่องจากฝรั่งเศส

India finally signs deal with France for 36 Rafale fighters
India signed an IGA with France on 23 September for the purchase of 36 Dassault Rafale fighters (similar to this one) for EUR7.9 billion (USD8.82 billion). Source: Dassault
http://www.janes.com/article/64054/india-finally-signs-deal-with-france-for-36-rafale-fighters

วันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมาอินเดียได้ลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาล(IGA: Inter-Governmental Agreement)กับฝรั่งเศสในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จำนวน 36เครื่องในสภาพเครื่องอย่างเดียว(flyaway condition) วงเงิน 7.9 billion Euro($8.82 billion)
รัฐมนตรีกลาโหมอินดีย Manohar Parrik และรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส Jean-Yves Le Drian ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale สำหรับกองทัพอากาศอินเดีย ซึ่งเป็นเวลา 17เดือนหลังการประกาศการจัดหาเมื่อเดือนเมษายนปี 2015
ทำให้อินเดียเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายที่สามของเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส ต่อจากกองทัพอากาศอียิปต์ที่จัดหา 24เครื่องซึ่งบางส่วนเข้าประจำการแล้ว และกองทัพอากาศกาตาร์ที่ลงนามสั่งจัดหา 24เครื่อง

ข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศดังกล่าวยังรวมถึงข้อเสนอในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale เพิ่มเติม 18เครื่องในราคาเดียวกัน โดยคิดอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ3.5
ทางกระทรวงกลาโหมอินเดียได้กล่าวอย่างเป็นทางการว่าจะจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ15 ให้บริษัท Dassault ฝรั่งเศสผู้ผลิตเครื่อง ซึ่งการส่งมอบจะเริ่มได้ใน 36เดือน และจะครบทุกเครื่องภายใน 66เดือน
อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมอินเดียยังไม่ได้มีการลงนามสัญญาขั้นสุดท้ายกับ Dassault ซึ่งรับผิดชอบข้อเสนอร้อยละ50 จากมูลค่าสัญญารวมผ่านความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมทางทหารของอินเดีย
ข้อเสนอที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาคาดว่าจะแบ่งอัตราส่วนเป็น 30:20 ระหว่าโครงการอากาศยานและสิทธิบัตรการผลิตส่วนประกอบของเครื่องบินขับไล่ Rafale ภายในประเทศอินเดีย

ทางการกล่าวว่าข้อตกลงการจัดหา Rafale ได้รวมวงเงิน 3.4 billion Euro สำหรับตัวอากาศยานและ 710 million Euro สำหรับชุดระบบอาวุธซึ่งได้รวมอาวุธปล่อยนำวิถีของบริษัท MBDA คือ
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MICA ระยะยิง 70km, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor ระยะยิง 150km และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกล Storm Shadow/SCALP ระยะยิง 250-300km
อินเดียยังจะจ่ายอีก 1.7 billion Euro สำหรับการปรับแต่งเครื่องบินขับไล่ Rafale ทั้ง 36เครื่องให้ตรงกับ ความต้องการของกองทัพอากาศอินเดีย 14อย่าง ประกอบด้วยเช่น
การบูรณาการหมวกนักบินติดจอแสดงผล(Helmet Mounted Displays)ของอิสราเอล เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีและระบบสงคราม Electronic, Datalink และรบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) ที่อินเดียพัฒนาเอง

ตามแหล่งข้อมูลภายในกองทัพอากาศอินเดียที่ให้กับ Jane's เครื่องบินขับไล่ Rafale ของอินเดียยังจะได้รับการปรับแต่งให้สามารถใช้ระเบิดนำวิถี SPICE ของ Rafael อิสราเอล
อะไหล่อากาศยาน, โรงเก็บอากาศยาน, การบำรุงรักษา, การซ่อมแซม และการซ่อมยกเครื่อง(Overhaul) จะถูกจัดตั้งสถานที่สนับสนุนทางตะวันออกและทางเหนือของอินเดียในวงเงิน 1.8 billion Euro
ขณะที่ฐานประสิทธิภาพการส่งกำลังบำรุง(PBL: Performance-based Logistics) ตามข้อตกลงจะใช้วงเงิน 353 million Euro ครับ

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

รัสเซียอาจจะพัฒนาแนวคิดเครื่องบินลำเลียงหนักใหม่แบบเดียวกับ An-124 ยูเครนในอีกสองปีหน้า

Russia may develop concept aircraft similar to Ukraine’s An-124 in next two years
An-124 aircraft
Russian Defence Ministry's Press and Information Department/TASS
At present, Russian operators have difficulties maintaining the airworthiness of An-124-100 Ruslan aircraft
http://tass.com/defense/901569

นาย Andrei Boginsky รองรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ารัสเซียได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวในงานจัดแสดง Gidroaviasalon ว่ารัสเซียอาจจะพัฒนาแนวคิดเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ที่มีรูปแบบเดียวกับเครื่องบินลำเลียง Antonov An-124 ยูเครนในอีกสองปีข้างหน้า
"ยังไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่ชัดว่าโครงการควรจะพร้อมเมื่อไร การทำงานขั้นต้นได้ดำเนินไปกับกระทรวงกลาโหมเพราะว่าพวกเขาจะเป็นลูกค้าของเครื่องนี้ งานตอนนี้ยังอยู่ในขั้นต้น แนวคิดกำลังถูกพัฒนาอยู่ ผมคิดว่ามันต้องใช้เวลาสักสองปี"
รัฐมนตรี Boginsky กล่าวโดยเขาเสริมว่าสำนักออกแบบ Ilyushin รัสเซียได้กำลังออกแบบแนวคิดของเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ใหม่อยู่ตอนนี้

ปัจจุบันรัสเซียมีความยุ่งยากในการบำรุงรักษาความสมควรเดินอากาศ(คือความสมบูรณ์พร้อมของอากาศยานที่จะทำการบินในอากาศได้อย่างปลอดภัย)ของเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ An-124-100 Ruslan
โดยในเดือนกันยายน 2015 บริษัท Antonov ยูเครนผู้ผลิตเครื่องได้ออกจากกลุ่มทุนร่วมระหว่าง United Aircraft Corporation(UAC)รัสเซียและ Antonov จากคำสั่งของรัฐบาลยูเครน
ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังรัสเซียผนวก Crimea ในปี 2014 และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียทำสงครามกับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนในภาค Donbass ทางตะวันออกของยูเครน

บริษัท Antonov จึงไม่ได้ให้บริการบำรุงรักษาเครื่องบินลำเลียง An-124-100 Ruslan ในรัสเซีย โดย Antonov มีแผนที่จะประกาศว่าเครื่องดังกล่าวไม่ปลอดภัยที่จะทำการบินถ้ารัสเซียปฏิเสธที่ใช้บริการซ่อมบำรุงพวกมันในสถานที่ของบริษัท Antonov
ซึ่งปัจจุบันบริษัทสายการบิน Volga-Dnepr รัสเซีย และกองทัพอากาศรัสเซีย(Aerospace Force) เป็นผู้ใช้งานหลักของเครื่องบินลำเลียง An-124 Ruslan ในรัสเซีย
ขณะที่สายการบิน Antonov Airlines ยูเครนเป็นผู้ใช้งานหลักของเครื่องบินลำเลียง An-124 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงที่บรรทุกได้หนักที่สุดในโลกอันดับสองรองจาก Antonov An-225 Mriya ยูเครนที่ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วโลกอยู่ตอนนี้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

สวีเดนจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer เพิ่มจำนวนสองเท่า 48ระบบ

Sweden to double Archer artillery purchase
BAE Systems FH-77 BW L52 Archer 155 mm (6x6) self-propelled artillery (SPA) system of the Swedish Army. Source: Swedish Armed Forces
http://www.janes.com/article/63964/sweden-to-double-archer-artillery-purchase

ตามเอกสารงบประมาณรัฐของสวีเดนที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา สวีเดนจะมีการลงนามใหม่เพื่อจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง 6x6 แบบ Archer เพิ่มจำนวน 24ระบบ ซึ่งเดิมเคยเป็นระบบที่นอร์เวย์จะจัดซื้อ
รวมแล้วข้อเสนองบประมาณมีวงเงินจัดซื้อ 450 million Swedish Krona($53 million) ซึ่งเป็นวงเงินกลุ่มใหม่และเพิ่มงบประมาณอีก 99 million Swedish Krona สำหรับการปฏิบัติการนานาชาติของสวีเดน

เดิมทีนอร์เวย์และสวีเดนมีความร่วมมือมาระยะยาวในการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง FH-77 BW L52 Archer SPH(Self Propelled Howitzers)
โดยในปี 2010 ได้มีการลงนามสัญญากับบริษัท BAE Systems ในการสร้างปืนใหญ่อัตตาจร Archer จำนวน 24ระบบสำหรับแต่ละประเทศ ภายใต้การสั่งซื้อของสำนักงานจัดหายุทธภัณฑ์สวีเดน(FMV) รวมทั้งหมด 48ระบบ
อย่างไรก็ตามนอร์เวย์ได้ตัดสินใจถอนตัวจากโครงการจัดหาในเดือนธันวาคม ปี2013 ทิ้งให้ FMV สวีเดนต้องรับภาระการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร Archer ทั้ง 48ระบบ

ภายใต้แผนที่ประกาศเมื่อวันที่ 20 กันยายน นั้นระบบ Archer ส่วนเกิน 24คันสำหรับนอร์เวย์เดิมจะถูกจัดซื้อโดยสวีเดน อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกระบบจะได้เข้าประจำการในแนวหน้า โดยครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บสำรองไว้ ขณะที่อีก 12ระบบที่เหลือตั้งความหวังในการขายให้ต่างประเทศ
แถลงการของรัฐมนตรีกลาโหมสวีเดน นาย Peter Hultqvist กล่าวว่า
"ตามการจัดหานี้เราได้ความเป็นไปได้ในการเพิ่มเติมความแข็งแกร่งของกองทัพด้านขีดความสามารถด้านปืนใหญ่ ในแง่ของสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น มันมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นความสำคัญที่สุดหนึ่งเดียวระหว่างระยะเวลาการวางแผนกลาโหมในปัจจุบัน"

ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer ของกองทัพบกสวีเดนถูกนำเข้าประจำการใน กรมทหารปืนใหญ่ที่9(Artilleriregementet: A 9) ซึ่งมีที่ตั้งใน Boden ทางตอนเหนือของสวีเดน
คาดว่าการรับมอบชุดแรก 12ระบบจะทำให้มีการประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operating Capability)หนึ่งกองพันทหารปืนใหญ่ซึ่งจะดำเนินแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และการส่งมอบระบบชุดที่สองสำหรับอีกกองพันทหารปืนใหญ่จะเสร็จสิ้นภายในปี 2017 ครับ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยจัดพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์











กองทัพเรือ จัดพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์

วันนี้ (21 กันยายน 2559) เวลา 15.09 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี สุรศักดิ์ เมธยาภา ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ

กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่เข้าประจำการ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 
ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ 
ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ 

โดยกองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียด และพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท 
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบ ในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ต่อเรือ 
เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองกับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน 
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
และล่าสุด คือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง

ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือออกเป็น 2 ระยะ 
ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน 
และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว ได้นำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 
โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบได้อย่างเต็มภาคภูมิ 
แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง

ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล 
โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “เรือหลวงแหลมสิงห์” (อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี)

คุณลักษณะทั่วไปมีดังนี้
- ความยาวตลอดลำ 58 เมตร - ความกว้างกลางลำ 9.3 เมตร
- ความลึกกลางลำ 5.1 เมตร - กินน้ำลึกเต็มที่ 2.9 เมตร
- ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน

ขีดความสามารถของเรือตรวจการณ์ปืน
- ความเร็วสูงสุดที่ระวางขับน้ำสูงสุด 23 นอต
- ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล
- ความคงทนทะเลจนถึงสภาวะระดับ 4 (Sea State 4)
- มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืด เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง
- มีห้องและที่พักอาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือตามอัตรา 53 นาย

ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ (Operation Capabilities)
- ต่อต้านภัยผิวน้ำ ด้วยการซ่อนพราง การใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ และการชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำและอากาศนาวี
- การโจมตีที่หมายบนฝั่ง ด้วยอาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การป้องกันฝั่ง การสกัดกั้น และการตรวจค้นด้วยระบบตรวจการณ์ และเรือยางท้องแข็งไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB)
- การป้องกันภัยทางอากาศในลักษณะการป้องกันตนเอง ด้วยระบบควบคุมการยิง และการใช้อาวุธปืนหลัก/ปืนรองของเรือ
- การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่ง
- การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
- การสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

อาวุธประจำเรือ
- ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) จำนวน 1 กระบอก
- ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS จำนวน 1 กระบอก
- ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก

อนึ่ง ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือต่าง ๆ ไว้ดังนี้
- เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัวบุคคล บรรดาศักดิ์ หรือสกุล ของผู้ประกอบคุณประโยชน์ไว้แก่ชาติ เช่น เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน
- เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง
- เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง และเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงรัตนโกสินทร์
- เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงอุดมเดช เรือหลวงปราบปรปักษ์
- เรือเร็วโจมตี (ปืน,ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส
- เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้อิทธิฤทธิ์ในวรรณคดีในด้านการดำน้ำ เช่น เรือหลวงมัจฉานุ
- เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิรบที่สำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงบางระจัน
- เรือยกพลขึ้นบก เรือลากจูง เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น เรือหลวงอ่างทอง (เรือยกพลขึ้นบก) เรือหลวงมาตรา (เรือน้ำมัน) เรือหลวงสิมิลัน (เรือส่งกำลังบำรุง)
- เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น เรือหลวงหัวหิน
- เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งชื่อตามเรือรบในลำน้ำ สมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงทยานชล
- เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงจันทร์
- เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายและเหมาะกับหน้าที่ของเรือนั้น เช่น เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ตั้งชื่อด้วยอักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือนั้น มีหมายเลขต่อท้าย เช่น เรือ ต.991

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://th-th.facebook.com/prthainavy/posts/1277384188979601

https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1118344151536811/
ขึ้นระวางประจำการ ร.ล.แหลมสิงห์

M58 Patrol Gun Boat เรือที่ออกแบบโดยบริษัท Marsun และต่อโดย กรมอู่ทหารเรือ และบริษัทเอกชนในประเทศร่วมมือกัน จะทำพิธีรับมอบเรือ และขึ้นระวางประจำการในวันที่ 21 ก.ย.59 เวลา 1509 โดยมี พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธี

หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจรับตัวเรือ ระบบขับเคลื่อน ระบบอาวุธ และระบบต่างๆ ของเรือ พบว่าทุกระบบเป็นไปตาม Spec ที่กองทัพเรือกำหนด นั่นหมายถึงความพร้อมอีกขั้นของกองทัพเรือ 
และความพร้อมในการต่อเรือของ ทร. และ อุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศในการพึ่งพาตนเองตั้งแต่

ขั้นออกแบบเรือ สำหรับเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง

ขอบคุณ มัลติมีเดียจาก บ.มาร์ซัน ครับ

By Admin ต้นปืน 561
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/

https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/10157563423510085/
กองทัพเรือรับมอบเรือหลวงแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ในรอบเกือบ 20 ปี ThaiPBS

วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ เรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์ก็ได้มีการทำพิธีขึ้นระวางประจำการในกองทัพเรือไทยแล้วตามข้อมูลในข้างต้น เป็นการเสร็จสิ้นโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนที่ดำเนินการมาต่อเนื่อง ๑,๐๐๓วัน วงเงิน ๖๙๙,๔๕๙,๐๐๐บาท อย่างสมบูรณ์

โดยปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ปืนประจำการอยู่ ๒ชุด รวม ๙ลำ คือ
เรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.สัตหีบ ๖ลำ เข้าประจำการในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๙ ซึ่งมีสองชุดย่อยประกอบด้วย
ร.ล.สัตหีบ 521, ร.ล.คลองใหญ่ 522 และ ร.ล.ตากใบ 523 ที่ติดปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Compact และปืนใหญ่กล Breda 40/L70 ซึ่งเป็นป้อมปืนเรืออัตโนมัติ
กับ ร.ล.กันตัง 524, ร.ล.เทพา 525 และ ร.ล.ท้ายเหมือง 526 ที่ติดปืนใหญ่เรือ 76/50 และปืนใหญ่กล Bofors 40/60 ซึ่งเป็นป้อมปืนแบบใช้พลประจำปืนควบคุมด้วยมือ
เรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.หัวหิน ๓ลำ เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ประกอบด้วย ร.ล.หัวหิน 541, ร.ล.แกลง 542 และ ร.ล.ศรีราชา 543 ติดปืนใหญ่เรือ 76/50 และปืนใหญ่กล Bofors 40/60 (ป้อมปืนควบคุมด้วยมือ)
เรือตรวจการณ์ปืนเหล่านี้มีภารกิจหลักในการตรวจการณ์ลาดตนะเวนทางทะเลเพื่อรักษากฎหมายและคุ้มครองเรือประมงในยามสงบ โดยมีอายุการใช้งานระหว่าง ๓๓ปี ถึง ๑๕ปี
ซึ่งเรือที่ใช้ระบบอาวุธป้อมปืนควบคุมด้วยมือรุ่นเก่าและมีอายุการใช้งานมานานจำเป็นที่จะต้องจัดหาเรือใหม่ทดแทนราว ๓-๖ลำ

ทั้งนี้ตามรายงานที่เคยได้เสนอไปนั้นกองทัพเรืออาจจะมีแผนความต้องการเรือตรวจการณ์ปืนใหม่เพิ่มอีก ๒ลำ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการพิจารณาอนุมัติเรือ ตกป.ลำใหม่เมื่อไร และทางกองทัพเรือพอใจสมรรถนะของ ร.ล.แหลมสิงห์ หรือไม่
ตรงนี้ยังเข้าใจว่าน่าจะคงเป็นแบบเรือ M58 Patrol Gun Boat ของบริษัท Marsun อยู่และอาจจะสั่งต่อที่อู่ของบริษัท Marsun ซึ่งก็ต้องติดตามความคืบหน้าต่อไปในอนาคตครับ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ไทยและยูเครนเดินหน้าแผนโครงการสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทย

Thailand makes progress on bid to build Ukrainian BTR-3E1 APCs
Ukraine and Thailand are moving ahead with plans to collaborate on the BTR-3E1. Source: Ukrspecexport
http://www.janes.com/article/63941/thailand-makes-progress-on-bid-to-build-ukrainian-btr-3e1-apcs

ยูเครนและไทยกำลังเดินหน้าแผนความร่วมมือในการประกอบสร้างรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 ภายในประเทศไทย
โดย Jane's ได้รับข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงของไทยที่เข้าเยี่ยมสภาความมั่นคงและกลาโหมห่งชาติยูเครน(NSDCU: National Security and Defence Council of Ukraine) ได้มีการพูดคุยถึงโครงการความร่วมมือดังกล่าว
แหล่งข้อมูลในกรุงเทพฯเองก็ยืนยันข้อมูลว่าทางไทยสนใจที่จะสร้างรถหุ้มเกราะล้อยางในประเทศตามความต้องการของกองทัพบกไทย และสนับสนุนการสร้างเพื่อส่งออกให้กับประเทศในภูมิภาคนี้
โดยจะมีการจัดตั้งโรงงานภายในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ทีออกแบบผลิตโดย KMDB(Kharkov Morozov Machine Design Bureau) ยูเครน ที่สร้างส่งออกให้กองทัพบกไทยในปี ๒๕๕๑(2008) และ๒๕๕๔(2011) แล้วมากกว่า ๒๒๐คัน

ทางสภา NSDCU ยูเครนซึ่งเป็นที่ให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดียูเครน ได้กล่าวในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ต่อสื่อเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายายนที่ผ่านมาว่า
รองรัฐมนตรี Oleg Hladkovskyy ได้เข้าพบกับคณะตัวแทนของฝ่ายไทยนำโดย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมไทย เพื่อหารือการขยายความร่วมมือด้านเทคนิคการทหารระหว่างกันของทั้งสองประเทศ
สภา NSDCU ยูเครนยังกล่าวด้วยว่าจะเน้นส่วนหนึ่งไปยังการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการส่งมอบยุทโธปกรณ์ของยูเครนที่กำลังดำเนินการอยู่คือรถถังหลัก BM Oplot(Oplot-T) ที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหา ๔๙คันในปี ๒๕๕๔(2011) วงเงิน $240 million
ในส่วนสำคัญอื่นๆทางสภา NSDCU ยูเครนจะให้ความร่วมมือต่อแผนการเปิดโรงงานผลิตประกอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทยซึ่งต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากยูเครน
"ในบริบทของความร่วมมือทางยูเครนขอยืนยันว่าความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยางของไทย รวมถึง BTR-3E1 ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี" ข่าวประชาสัมพันธ์กล่าว

Jane's ได้เข้าใจจากแหล่งข้อมูลในอุตสาหกรรมความมั่นคงว่า ข้อเสนอแผนในการสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ภายในไทยนั้นมีหลายขั้นและจะเป็นสายการผลิตสำหรับหน่วยของกองทัพบกไทย
โดยขั้นแรกจะเป็นการประกอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 จากชุด Kits ที่ส่งมาจากยูเครน ตามด้วยขั้นการประกอบสร้างจากชิ้นส่วนย่อยและการประกอบย่อยที่โรงงานของกองทัพบกไทยผลิตเองในประเทศ
จนถึงขั้นสุดท้ายที่ไทยสามารถประกอบสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ได้เต็มสมบูรณ์ทั้งคันได้เองภายในประเทศครับ

กองทัพอากาศสหรัฐฯประกาศชื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ใหม่ว่า B-21 Raider

It's the Raider: Air Force Unveils Name of New B-21 Bomber
Official U.S. Air Force Artist Rendering of the Northrop Grumman B-21 Raider Long Range Strike Bomber(LRS-B).(wikipedia.org)
http://www.defensenews.com/articles/its-the-raider-air-force-unveils-name-of-new-b-21-bomber

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(United States Air Force)ประกาศชื่อสำหรับโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกล(LRS-B: Long Range Strike Bomber)แบบใหม่ของบริษัท Northrop Grumman ว่า "B-21 Raider"
การประกาศนี้มีขึ้นที่สมาคมกองทัพอากาศในการประชุม Air Space Cyber ณ National Harbor มลรัฐ Maryland โดยตั้งชื่อตามประวัติศาสตร์ปฏิบัติการ Doolittle Raid 1942
ที่ พันโท James "Jimmy" Doolittle สังกัดกองบินกองทัพบกสหรัฐฯ(United States Army Air Forces) วางแผนปฏิบัติการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด B-25 บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-8 USS Hornet กองทัพเรือสหรัฐฯโจมตีกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น วันที่ 18 เมษายน 1942

ซึ่งในงานประกาศนี้ นาวาอากาศโท Richard Cole อายุ 101ปี ผู้ซึ่งเคยเป็นนักบินผู้ช่วยของ พันโท Doolittle ในปฏิบัติการครั้งนี้ได้ร่วมพิธีกับรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ นาง Deborah Lee James ด้วย
"ผมรู้สึกถ่อมตนมากที่จะมาอยู่ที่นี่เพื่อเป็นตัวแทนของนายพล Doolittle และเหล่า Raiders ที่นำมาเป็นชื่อของ B-21 Raider และหวังว่าพวกเขาจะอยู่ที่นี่ เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง" นาวาอากาศโท Cole กล่าว
ในการแถลงกล่าวแนะนำรัฐมนตรี James ได้เรียกนาวาอากาศโท Cole ว่า "ผู้อยู่เหนือกว่าผู้อื่น"("a cut above") และ "หนึ่งในผู้คนที่เยี่ยมที่สุดในรุ่นชั่วอายุคนที่ยอดเยี่ยมที่สุด"(the Greatest Generation)
"เขาลงชื่อสำหรับตั๋วเที่ยวเดียวไปโตเกียวเมื่อเดือนเมษายนปี 1942 กับ Jimmy Doolittle รุ่นที่ยอดยี่ยมที่สุดของเรา รุ่นของผู้คนที่ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้รักษาอิสรภาพของพวกเราทั้งหมด การที่เรายังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้คือผลงานของพวกเขา" รัฐมนตรี James กล่าว

ก่อนหน้านี้ในปีนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯได้จัดประกวดให้กำลังพลตั้งชื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิด B-21
โดยนาวาอากาศโท Jaime Hernandez ผู้บังคับการฝูงบินทดสอบและประเมินค่าที่337(337th Test and Evaluation Squadron) ฐานทัพอากาศ Dyess มลรัฐฯ Texas
และพันจ่าอากาศเทคนิค(Technical Sgt.) Derek White เจ้าหน้าที่บริหารจัดการฉุกเฉิน ฝูงบินวิศวกรรมพลเรือนที่175(175th Civil Engineering Squadron) กองกำลังพิทักษ์รัฐทางอากาศ Maryland (Maryland Air National Guard) เป็นผู้ที่ชนะการส่งชื่อเข้าประกวดครับ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

เรือคอร์เวต UMS Bayinnaung กองทัพเรือพม่าเปลี่ยนปืนใหญ่เรือเป็นทรง Stealth


Myanmar Navy UMS Bayinnaung Corvette with 76mm Gun Stealth Cupola
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/posts/1200456603329826
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/posts/1208810129161140
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/

ภาพล่าสุดของเรือคอร์เวต UMS Bayinnaung หมายเลข 772 กองทัพเรือพม่าซึ่งได้เดินทางไปเยี่ยมกองทัพเรือไทยที่ภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา และเพิ่งเดินทางกลับพม่าเมื่อวันที่ 17 กันยายนนั้น
ภาพของเรือที่ปรากฎมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ปืนใหญ่เรือขนาด 76mm ที่หัวเรือซึ่งเดิมมีรูปทรงคล้ายปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 อิตาลีนั้น ได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเหลี่ยมแบบตรวจจับได้ยาก(Stealth Cupola) ไปแล้ว



Myanmar Navy UMS Bayinnaung Corvette Weapon development

UMS Bayinnaung(พระเจ้าบุเรงนอง) เป็นเรือลำที่สองของเรือคอร์เวตชั้น Anawrahta (UMS Anawrahta 771 พระเจ้าอโนรธา) นับตั้งแต่เข้าประจำการในปี 2003 ตัวเรือก็มีการเปลี่ยนแปลงระบบอาวุธมาหลายครั้งครับ
เริ่มแรกเรือติดตั้งปืน 76mm สองกระบอกที่หัวเรือและท้ายเรือตรงดาดฟ้ายกหน้าลานจอดเฮลิคอเตอร์ ซึ่งดูเหมือนจะลอกแบบปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 โดยยังไม่ทราบที่มาแน่ชัด
(บางแหล่งระบุว่ามาจากอิสราเอลหรือแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการผลิตปืนเรือรุ่นนี้ในประเทศ โดยมีจุดต่างจากของปืนเรือของอิตาลีบางจุด)
ต่อมาถอดปืน 76mm ท้ายเรือออกติดแท่นยิง C-802A จำนวน 4นัด ต่อมาย้ายแท่นยิง C-802A ไปกราบเรือซ้ายและขวาหน้าลานจอด ฮ. ซึ่งปัจจุบันดาดฟ้ายกหน้าลานจอด ฮ.ติดแท่นยิงปืนกลหนัก 14.5mm สองกระบอก


UMS Tabinshwehti 773 Stealth Corvette launching and 2nd Stealth Corvette under construction


F12 UMS Kyansittha and F14 UMS Sinbyushin Stealth Frigate

ตรงนี้เข้าใจว่าปืน 76mm ทรง Stealth นี่น่าจะเป็นรูปแบบป้อมปืนใหญ่เรือที่จะใช้กับเรือคอร์เวต UMS Tabinshwehti 773(พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้) ที่เป็นเรือคอร์เวต Stealth ใหม่ล่าสุดซึ่งมีการสร้างแล้วสองลำ
และเรือฟริเกตชั้น Kyansittha คือ F12 UMS Kyansittha(พระเจ้าจานสิตา) และ F14 UMS Sinbyushin(พระเจ้ามังระ) ที่เป็นเรือฟริเกต Stealth ที่เข้าประจำการเมื่อปี 2014 และปี 2015 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Su-33 รัสเซียได้รับการติดตั้งระบบคำนวณเป้าหมายอากาศสู่พื้นใหม่

Russian carrier-based Su-33 fighters receiving new bombing computer
The Russian Navy's Su-33 carrierborne fighter aircraft are being fitted with the SVP-24 targeting system to improve their air-to-ground capabilities. Source: Russian MoD
http://www.janes.com/article/63822/russian-carrier-based-su-33-fighters-receiving-new-bombing-computer

Su-33 cockpit show pilot's device that probably Gefest SVP-24 targeting system.

หนังสือพิมพ์ Izvestia ได้เผยแพร่ข่าวที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลในกระทรวงกลาโหมรัสเซียว่า เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Sukhoi Su-33 ได้รับการติดตั้งระบบ Computer คำนวณเป้าหมายอาวุธอากาศสู่พื้นใหม่แบบ SVP-24
SVP-24 เป็นระบบนำร่องและชี้เป้าหมายพิเศษเฉพาะซึ่งผลิตโดย Gefest and T ผู้พัฒนาระบบ Avionic รัสเซีย ซึ่งระบบ SVP-24 นี้จะทำให้เครื่องบินรบที่ติดตั้งสามารถใช้อาวุธตามแบบธรรมดาโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำใกล้เคียงกับการใช้อาวุธนำวิถี
โดยแหล่งข้อมูลรัสเซียกล่าวอ้างว่าเดิมทีนั้นเครื่องบินขับไล่ Su-33 มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นแบบพื้นฐาน เช่น ระเบิดธรรมดาเท่านั้น

ขณะนี้ Gefest and T ได้ส่งมอบ Su-33 เครื่องแรกที่ติดตั้งระบบ SVP-24 ภายใต้สัญญาที่ลงนามไว้กับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย และจะมีการติดตั้งกับ Su-33 กองทัพเรือรัสเซียเพิ่มอีก 2เครื่อง
ซึ่งทางบริษัทคาดว่าจะติดตั้งระบบ SVP-24 กับเครื่องบินขับไล่ Su-33 ทุกเครื่องในฝูงบินก่อนที่เรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov จะถูกส่งไปวางกำลังที่ทะเล Mediterranean ตะวันออก เพื่อสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในซีเรีย
ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Izvestia กำลังทางอากาศประจำเรือบรรทุกเครื่องบินรัสเซียน่าจะประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Su-33 จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ MiG-29KR ใหม่ 4เครื่อง

การทำงานของระบบ SVP-24 จะเป็นการคำนวณจุดที่ดีที่สุดสำหรับการทิ้งระเบิดโดยคำนวณจากตำแหน่งของอากาศยานและเป้าหมาย, ความเร็วลมและทิศทาง รวมถึงตัวแปรอื่นๆ
กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เคยประการว่าระบบ Computer คำนวณเป้าหมายนี้ได้เพิ่มความแม่นยำในการทิ้งระบิดทางอากาศเป็นสามเท่าเมื่อติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-24M
แหล่งข้อมูลรัสเซียยังอ้างว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งส่วนประกอบระบบ SVP-24 เข้ากับอากาศยานนั้นมีราคาถูกกว่าระบบชุดนำวิถีที่ประกอบติดตั้งกับลูกระเบิดธรรมดา อย่างระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM(Joint Direct Attack Munition) ของสหรัฐฯ

Su-25 Flight Simulator with Gefest and T SVP-24 Targeting System and Saitek X-55 Rhino H.O.T.A.S.(ล่าสุดออกรุ่นใหม่ Saitek X-56 Rhino แล้ว มีขายที่ไหนในไทยบอกด้วยครับ)

ระบบ SVP-24 มีการพัฒนาขั้นต้นในช่วงกลางปี 1990s และถูกนำเข้าประจำการโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียในปี 2008
ซึ่งระบบ SVP-24 ได้ถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-24M, เครื่องบินโจมตี Su-25SM3 และเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22M3 ของกองทัพอากาศรัสเซียบางเครื่อง
โดย Su-24M ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในซีเรียนั้นได้ใช้อาวุธโจมตีหลายแบบเช่นระเบิดธรรมดาอย่างระเบิดแรงสูง FAB-250, FAB-500 และระเบิดเจาะเกราะคอนกรีต BetAB-500 เป็นต้นครับ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

เรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์เสร็จสิ้นการทดลองระบบอาวุธในทะเล

ร.ล.แหลมสิงห์ ขอขอบคุณท่านเจ้าของรูป พ.จ.อ.สุวรรณ คำแหงวงศ์

ขอเทียบกับฟริเกตสักหน่อยครับ
ร.ล.แหลมสิงห์ แล่นเข้าฐานทัพเรือสัตหีบ หลังจากเสร็จสิ้นงานทดลองระบบประจำวัน
ขอบพระคุณภาพจาก เรือ ต.995





ทดลองเรือวันแรกจากป้อมพระจุลฯสู่สัตหีบ
credit อภิชาติ ลาพระอินทร์

https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1105590472812179
ร.ล.แหลมสิงห์ เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือ เริ่มดำเนินการตรวจรับระบบต่างๆ ในทะเล โดยเดินทางจากอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า มายัง ฐานทัพเรือสัตหีบ
ระหว่างเส้นทางได้ดำเนินการทดสอบเพื่อตรวจรับ ระบบขับเคลื่อน ระบบถือท้าย ระบบเดินเรือ ระบบสื่อสาร ระบบเรดาร์ สมอ เรือยาง เครน 
และมีการดำเนินการทำ Alignment ให้กับระบบเครื่องควบคุมการยิงแบบ Mirador ร่วมกับ ปืน 76/62 Oto Melara และ ปืน 30 MSI DS 30 MR
เรือจะดำเนินการตรวจรับระบบต่างๆ ในทะเลจนแล้วเสร็จและพร้อมขึ้นระวางประจำการในวันที่ 21 ก.ย. 59

"ไพรีพินาศ"

https://www.facebook.com/M58PGB/videos/883148491819821/
ทดลองเรือ5/9/59 cre อภิชาติ ลาพระอินทร์

https://www.facebook.com/M58PGB/videos/884067355061268/
ทดลองเรือ ความเร็ว24นอต creอภิชาติ ลาพระอินทร์ 7/9/59


ปืนเรือ...

ไม่ว่าจะเป็นปืนแบบใดๆ ก็ตามทั้งที่ใช้พลประจำปืนเป็นพลเล็งยิง หรือแบบที่มีเครื่องควบคุมการยิง นอกจากการคำนวนของเครื่องคำนวนให้ได้ค่าต่างๆ ในการยิงปืน (ค่าขีปนวิธีภายใน ค่าขีปนวิธีภายนอก) 
เพื่อให้ได้ค่าศูนย์ข้าง ศูนย์ระยะ และค่าชนวนนั้น ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งก่อนสิ่งใดจะเกิดขึ้นในการยิงปืนเรือ 
คือ การทำให้สายตาของพลเล็งยิง หรือ Director ของเครื่องควบคุมการยิงเห็นมีค่าชดเชยกันเนื่องจาก เส้นแนวเล็ง (Line of sight) และ เส้นแนวยิง (Line of fire) เป็นคนละเส้นกันนั่นเอง

ภาพ : ปืน 76/62 Oto Melara ของ ร.ล.แหลมสิงห์ ขณะติดตั้งกล้องสอบศูนย์ เพื่อทำ Alignment

https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1109780072393219/
ยิงชุด 10 นัด ระวัง ... ยิง

ร.ล.แหลมสิงห์ ออกทดลองระบบอาวุธ โดยในวันนี้เป็นการยิงทดลองอาการกลของปืน และทดสอบความมั่นคงของฐานแท่นปืน ทุกๆ กระบอกในเรือ ได้แก่ ปืน 76/62 Oto Melara ปืนกล 30 MSI DS 30 MR และปืนกล .50 นิ้ว ทั้งกราบซ้ายและกราบขวา 
ผลการทดสอบทดลอง ปืนทุกประบอกทำงานปกติ ฐานแม่นมีความมั่นคงแข็งแรง พร้อมเข้าสู่การยิงเพื่อตรวจรับระบบอาวุธต่อไป ในอีก 4-5 วันหน้า

วิดีโอ : ยิงชุด 10 นัด ที่ Rate of fire สูงสุด 80 นัด/นาที
คลิปถ่ายโดย ต้นเรือ561

https://www.facebook.com/natayot.munsuk/videos/729427557204748/
ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองยิงปืน MSI DS30MR

https://www.facebook.com/natayot.munsuk/videos/729427657204738/
ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองยิงปืนกล .50 นิ้ว

https://www.facebook.com/M58PGB/videos/886792884788715/
ทดลองเรือ creอภิชาติ ลาพระอินทร์ 12/9/59

https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1112526528785240/
ปืน 76 เตรียมรบกราบขวา!!!!

ตามกันมาอีกสำหรับการตรวจรับระบบอาวุธของ ร.ล.แหลมสิงห์ โดยในวันที่ 13 ก.ย.59 ร.ล.แหลมสิงห์ ออกเรือเพื่อตรวจรับระบบอาวุธในการยิงเป้าพื้นน้ำ โดยได้ใช้การควบคุมการยิงด้วยเครื่องควบคุมการยิงแบบ Mirador และ ควบคุมการยิงด้วย Navigation Radar ต่อเป้าลากท้าย 
หลังจากยิงอุ่นลำกล้อง 2 นัด ได้ดำเนินการยิงเพื่อแก้ค่าชุดที่ 1 เมื่อแก้กระสุนตกเรียบร้อย และยิงชุดที่ 2 กระสุนถูกเป้าลากท้ายพัง ไม่สามารถใช้เป็นเป้าหมายต่อได้ จึงได้ปรับไปยิงเป้าหมายอื่นแทนจนครบทุกแบบตามแผน

ในห้วงท้าย ได้มีการยิงแบบทำนองยุทธ์ โดยใช้ความเร็วสูงสุดของเรือ และเริ่มยิงปืนจากระยะยิงไกลสุด จนปิดระยะเข้ามายิงด้วยปืนกล 30 มม. MSI โดยในการยิงครั้งสุดท้ายนี้ 
เป็นครั้งแรกตั้งแต่ทดลองเรือที่ ดำเนินการ Operate ปืน ระบบศูนย์ยุทธการ เครื่องควบคุมการยิง ด้วยกำลังพลประจำเรือ (ชุดรับเรือ)

อนึ่งความแม่นยำของการใช้อาวุธในครั้งนี้ เป็นผลพวงจากการตรากตรำทำงานหนัก และใช้ความรู้ความสามารถของ เจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ จาก กรมสรรพาวุธทหารเรือ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ และ กำลังพลชุดรับเรือ 
ในการดำเนินการตั้งแต่การติดตั้ง ทดสอบทดลองในท่า การเชื่อมต่อระบบ การทำ allignment ให้กับระบบ จนถึงการยิงจริงในวันนี้

"Let them sink by us" Motto ของ ร.ล.แหลมสิงห์







ภาพสวยๆ จากโดรนถ่ายภาพ
ร.ล.แหลมสิงห์ ขณะทดลองหาคุณสมบัติเรือ

อีกหนึ่งลำ ที่ออกแบบและต่อขึ้นด้วยฝีมือคนไทย

By Admin ต้นปืน561

อีกหนึ่งในความภูมิใจของคนไทยในการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่"เรือหลวงแหลมสิงห์"เรือรบฝีมือคนไทย พร้อมแล้วที่จะปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล 
โดยในวันพุธที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 15.09 น. จะมีพิธีรับมอบเรืออย่างเป็นทางการ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลางตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ 
และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ 
โดย กองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท 
ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของ อู่ทหารเรือธนบุรี เป็นสถานที่ต่อเรือ 
เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของ กรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน 
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย 
และล่าสุดคือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่มีขนาดใหญ่ และสมรรถนะสูง

ในขั้นตอนของการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น 2 ระยะ 
ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน 
และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 
โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน (ถึงกลางเดือนมิถุนายน 2559) จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ 
แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง

ตามระเบียบของ กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล 
โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “เรือหลวงแหลมสิงห์” คาดว่าจะดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ประมาณเดือนมิถุนายน 2559 
มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ยาว 58 เมตร กว้าง 9.30 เมตร กินน้ำลึก 2.50 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 23 นอต (ที่ระวางขับน้ำสูงสุด) มีระยะปฏิบัติการในทะเลไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล 
มีความคงทนทะเลจนถึงสภาวะทะเลระดับ 4 (SEA STATE 4) โดยที่ตัวเรือมีความแข็งแรงเพียงพอที่สภาวะทะเลระดับ 5 (SEA STATE 5) 
มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีห้องพักและที่อาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพลประจำเรือ จำนวน 53 นาย 
ในส่วนของระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก 
ทั้งนี้ ในการออกแบบได้จัดให้มีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อาทิ อาวุธนำวิถีได้ในอนาคต

เมื่อดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ จะเข้าประจำการในกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ 
ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ 
รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง

แอ๊ดมินขอประมวลภาพการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน"เรือหลวงแหลมสิงห์"จากวันั้นจนถึงวันนี้ เรือรบโดยฝีมือคนไทย

ที่มา:ข้อมูล กรมยุทธการทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ และสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กองทัพเรือ/ภาพ กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ และบริษัท มาร์ซัน จำกัด
https://th-th.facebook.com/prthainavy/posts/1272563282795025

https://www.facebook.com/M58PGB/
https://www.facebook.com/NavyForLifePage
https://th-th.facebook.com/prthainavy

ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองแล่นเรือด้วยความเร็วสูงสุด

ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองยิงปืน OTO Melara 76/62 เป้าหมายผิวน้ำ

ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองยิงปืน OTO Melara 76/62 เป้าหมายอากาศยาน


ร.ล.แหลมสิงห์ ทดลองยิงปืน MSI DS30MR 30mm

การทดลองเรือของโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์ก็ประสบความาสำเร็จสำคัญไปอีกขั้น ในการทดลองยิงระบบอาวุธประจำเรือทั้งปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm และปืนกลหนัก M2 .50cal ณ บริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ
พิธีขึ้นระวางประจำการของ ร.ล.แหลมสิงห์ก็จะเป็นไปตามกำหนดการในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ที่จะถึงนี้ ณ ฐานทัพเรือสัตหีบครับ