วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ไต้หวันกำลังจะทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น T-5 ที่สร้างเอง

Taiwan preparing to replace F-5 with Brave Eagles



Taiwan is preparing to retire its Northrop F-5E/F fleet from operational service before the end of 2023. (Taiwanese Ministry of National Defence)




The T-5 Brave Eagle is scheduled to deliver to the RoCAF by 2026. (Taiwanese Ministry of National Defence)

กองทัพอากาศไต้หวัน(RoCAF: Republic of China Air Force) กำลังเตรียมการที่จะปลดประจำการฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5 E/F Tiger II จากการปฏิบัติการภายในสิ้นปี 2023
และทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-5E/F เหล่านี้ด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Aerospace Industrial Development Corporation(AIDC) T-5 Brave Eagle(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/t-5.html)

ในแถลงการณ์บนหนังสือพิมพ์ Youth DailyNews เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2022 กระทรวงกลาโหมไต้หวันกล่าวว่า "เครื่องบินขับไล่ F-5E/F จะถูกปลดจากหน้าที่การฝึกของพวกมันเร็วๆนี้ 
มีเพียงเครื่องบินตรวจการณ์และลาดตระเวน RF-5E ที่ได้รับการดัดแปลงจากเครื่องบินขับไล่ F-5E เท่านั้นที่จะยังคงถูกใช้งานต่อไป" หนังสือไต้หวันเสริมว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น T-5 Brave Eagle จะถูกใช้สำหรับ "การฝึกนักบินและดำรงความพร้อมการป้องกันภัยทางอากาศ"

ในแถลงการณ์ต่อสื่อ T-5 Brave กระทรวงกลาโหมไต้หวันกล่าวว่ากำลังรบเครื่องบินตรวจการณ์และลาดตระเวน RF-5E จำนวน 5เครื่องของกองทัพอากาศไต้หวันจะยังคงอยู่ในประจำการ
จนกว่าไต้หวันจะได้รับกระเปาะระบบตรวจการณ์ทางอากาศหลากมิติ Collins Aerospace MS-110 multispectral airborne reconnaissance system จำนวน 6ระบบ และอากาศยานไร้คนขับ General Atomics MQ-9B UAV(Unmanned Aerial Vehicle) จำนวน 4ระบบ

กระเปาะตรวจการณ์ทางอากาศ MS-110 คาดว่าจะถูกบูรณาการกับฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V ของกองทัพอากาศไต้หวัน และจะเสริมขีดความสามารถการลาดตระเวนทางอากาศระยะไกลของกองทัพอากาศไต้หวัน 

ปัจจุบันเครื่องบินตรวจการณ์และลาดตระเวน RF-5E มีส่วนในภารกิจการฝึกการรบทั่วไปต่างๆ ในการเพิ่มเติมต่อ "การสำรวจภาคพื้นดินและการกู้ภัยพิบัติ" กระทรวงกลาโหมไต้หวันกล่าว
เครื่องบิน RF-5E  ได้ "ถ่ายภาพสถานภาพภัยพิบัติหลังเหตุแผ่นดินไหว 21 กันยายน 1999 และไต้ฝุ่น Morakot เพื่อการอ้างอิงโดยหน่วยค้นหาและกู้ภัยต่างๆ" กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสริม

T-5 Brave Eagle เป็นเครื่องบินขับไล่และฝึกขั้นก้าวหน้าและโจมตีเบา ไต้หวันได้สั่งจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-5 แล้วจำนวน 66เครื่อง AIDC ไต้หวันมีกำหนดที่จะส่งมอบเครื่องให้กองทัพอากาศไต้หวันในปี 2026
ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีเครื่องบินฝึกไอพ่น T-5 จำนวนกี่เครื่องที่เข้าประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/xt-5-yong-ying.html) กองทัพอากาศไต้หวันไม่ได้ตอบสนองต่อการร้องขอคำถามจาก Janes ณ เวลาที่บทความนี้เผยแพร่ครับ

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

อินเดียทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Brahmos-ER จากเรือพิฆาต D68 INS Imphal ลำใหม่

India test-fires extended-range BrahMos on soon-to-be-commissioned destroyer





Firing of the Brahmos-ER. (Ministry of Defence, India)







อินเดียได้ดำเนินอีกการทดสอบยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง BrahMos-ER(Extended-Range) PJ-10 รุ่นเพิ่มระยะยิง(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/su-30mki-brahmos-er.html)
จากเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Kolkata/Visakhapatnam(Project 15A/15B)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/p15b-d66-ins-visakhapatnam.html) กระทรวงกลาโหมอินเดียเปิดเผยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2023

อาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos-ER ถูกยิงจากเรือพิฆาตชั้น Visakhapatnam ลำที่สามและเป็นเรือลำที่หกในโครงการเรือพิฆาต Project 15A/15B เรือพิฆาต D68 INS Imphal เมื่อเรือเข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy)
การทดสอบยิงเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองเรือก่อนการขึ้นระวางประจำการของเรือพิฆาต D68 INS Imphal ที่มีพิธีเปิดเผยตราประจำเรือเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2023 กระทรวงกลาโหมอินเดียเสริม

อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง BrahMos PJ-10 ของอินเดียมีพื้นฐานจากอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง Yakhont(3M-55E) ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน P-800(3M-55) Oniks ของรัสเซีย
อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos ได้เข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียเป็นเวลามากกว่าทศวรรษ และรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos-ER เป็นที่เชื่อว่ามีระยะยิงไกลสุดที่เกิน 500km ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพิ่มจากรุ่นเก่ากว่าที่คาดว่ามีระยะยิงประมาณ 300km

นอกเหนือจากเรือพิฆาตชั้น Project 15A Kolkata/Project 15B Visakhapatnam อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos PJ-10 ยังถูกติดตั้งใช้จากเรือพิฆาตชั้น Rajput และเรือฟริเกตชั้น Talwar(Krivak III) Batch II ของกองทัพเรืออินเดีย
ขณะเดียวกันเรือพิฆาต INS Imphal ได้ถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออินเดียแล้วโดยอู่เรือบริษัท Mazagon Dock Shipbuilders Limited(MDL) อินเดียในนคร Mumbai ในเดือนตุลาคม 2023 และมีกำหนดจะเข้าประจำการในเดือนธันวาคม 2023 กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าว

เรือพิฆาต D68 INS Imphal มีความยาวเรือรวมที่ประมาณ 164m มีความกว้างเรือรวมที่ประมาณ 18m และมีระวางขับน้ำเต็มที่ที่ราว 7,200tonnes มีความเร็วสูงสุดที่ 32knots และมีระยะปฏิบัติการปกติที่ 4,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots
นอกเหนือจากอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ส่วนประกอบอื่นๆที่สร้างในอินเดียยังได้ถูกนำมาติดตั้งบนเรือพิฆาตชั้น Visakhapatnam รวมถึงท่อยิง torpedo และแท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำจากบริษัท Larsen & Toubro อินเดีย

และปืนเรือ 76mm Super Rapid Gun Mount จากบริษัท Bharat Heavy Electricals Limited อินเดีย(มีพื้นฐานจากปืนเรือ Leonardo 76mm Super Rapid อิตาลี) เรือพิฆาตชั้น Visakhapatnam ลำแรกเรือพิฆาต D66 INS Visakhapatnam เข้าประจำการในเดือนพฤศจิกายน 2021 
ลำที่สองเรือพิฆาต D67 INS Mormugao เข้าประจำการในเดือนธันวาคม 2022 และลำที่สี่และลำสุดท้ายเรือพิฆาต D69 INS Surat ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนพฤษภาคม 2022 และคาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2024 ครับ

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่แปดลงน้ำ FFM-8 Yubetsu

Japan’s MHI Launches ‘Yubetsu’ Eigth FFM Mogami-Class Frigate For JMSDF 



Launch of Yubetsu, the 8th Mogami-class frigate. MHI picture.




New FFM (foreground) compared to Mogami-class (background). The two models are not in the same scale.





อู่เรือของบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นในเมือง Tamano จังหวัด Okayama ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่8 เรือฟริเกต FFM-8 JS Yubetsu(ゆうべつ) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023
ยังรู้จักในชื่อเรือฟริเกต FMM เป็นเรือฟริเกตยุคอนาคตสำหรับสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) อู่เรือ Tamano นี้เดิมเป็นอู่เรือของบริษัท Mitsui E&S ญี่ปุ่น โดยบริษัท MHI ได้ซื้อมาเป็นของตนในเดือนตุลาคม 2021

เรือฟริเกต FFM-8 Yubetsu ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำ Yubetsu(湧別川, Yubetsu-gawa) ซึ่งไหลผ่านเกาะ Hokkaido ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เรือฟริเกตชั้น Mogami ทุกลำถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญในญี่ปุ่น
อู่เรือ Tamano ขณะนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนระยะการติดตั้งสิ่งอุปกรณ์ของเรือฟริเกต FFM-8 Yubetsu ก่อนหน้าการส่งมอบให้กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น และการขึ้นระวางประจำการมีกำหนดในสิ้นปีงบประมาณ 2024

เรือฟริเกตชั้น Mogami ลำแรกเรือฟริเกต FFM-1 JS Mogami ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนมีนาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/ffm-1-mogami.html) โดยอู่เรือ MHI และขึ้นระวางประจำการในเดือนเมษายน 2022
อู่เรือบริษัท Mitsui E&S Shipbuilding ญี่ปุ่นในจังหวัด Okayama ได้ปล่อยเรือลำที่สองของชั้นเรือฟริเกต FFM-2 JS Kumano เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/ffm-2-kumano.html) และขึ้นระวางประจำการในเดือนมีนาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/mogami-ffm-2-kumano.html)

เรือลำที่สามเรือฟริเกต FFM-3 JS Noshiro ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนมิถุนายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/mogami-ffm-3-noshiro.html) โดยอู่เรือ MHI เรือลำที่สี่เรือฟริเกต FFM-4 JS Mikuma และเรือลำที่ห้าเรือฟริเกต FFM-5 JS Yahagi 
ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนธันวาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/mogami-ffm-4-mikuma.html) และเดือนมิถุนายน 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/mogami-ffm-5-yahagi.html) ตามลำดับโดยอู่เรือ MHI เช่นเดียวกัน  

เรือลำที่หกเรือฟริเกต FFM-6 JS Agano ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/mogami-ffm-6-agano.html
ขณะที่เรือลำที่เจ็ดเรือฟริเกต FFM-7 JS Niyodo ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนกันยายน 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/mogami-ffm-7-niyodo.html)

เรือฟริเกตชั้น Mogami หรือ 30FFM เป็นเรือฟริเกตพหุภารกิจยุคอนาคตที่ออกแบบสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น จำนวนเรือทั้งหมด 12ลำได้รับการคาดว่าจะถูกสั่งจัดหาสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ตามมาด้วยเรือฟริเกต New FFM ใหม่ 12ลำ ซึ่งเป็นแบบปรับปรุง
สองอู่เรือที่รับผิดชอบการสร้างเรือคืออู่เรือบริษัท MHI ในจังหวัด Nagasaki และในจังหวัด Okayama(ของ Mitsui E&S เดิม)(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/mogami.html)

ตามข้อมูลจากบริษัท MHI ญี่ปุ่น เรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami มีระวางขับน้ำเต็มที่ประมาณ 5,500 tons มีความยาวเรือ 132.5m และกว้าง 16.3m ทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 30 knots
เรือฟริเกตชั้น Mogami มีกำลังพลประจำเรือค่อนข้างต่ำที่ราว 90นาย บ่งชี้ถึงการใช้ระบบอัตโนมัติประจำบนเรือระดับสูงเป็นอย่างมาก

เรือฟริเกตชั้น Mogami ติดตั้งอาวุธ ปืนเรือ BAE Systems Mk45 mod4 ขนาด 5"/62cal, ป้อมปืน Remote Weapon System ของ Japan Steel Works ขนาด .50cal, แท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launch System) 16ท่อยิง, 
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Raytheon SeaRAM 1แท่นยิง, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 17(SSM-2) แท่นยิง 8นัด, และทุ่นระเบิดสำหรับสงครามทุ่นระเบิด

รวมถึง Radar ตรวจการณ์หลายรูปแบบการทำงาน Mitsubishi Electric OPY-2, กล้อง EO/IR(Electro-Optic/Infrared) แบบ Mitsubishi Electric OAX-3, Sonar ต่อต้านทุ่นระเบิด Hitachi OQQ-11,
sonar ลากท้าย VDS/TASS(Variable Depth Sonar/Towed Array Sonar System) แบบ NEC OQQ-25, ยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV(Unmanned Underwater Vehicle) แบบ MHI OZZ-5 และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vessel) และทุ่นระเบิดสำหรับสงครามทุ่นระเบิดเชิงรุก

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเดิมมีแผนที่จะสร้างเรือฟริเกตชั้น Mogami ทั้งหมด 22ลำ ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo เร่งความพยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งกำลังรบทางเรือของญี่ปุ่นภายใต้โครงการกลาโหมระยะกลาง(MTDP: Mid-Term Defense Program) สำหรับปีงบประมาณ 2019-2023 ซึ่งได้รับการอนุมัติในเดือนธันวาคม 2018 
อย่างไรก็ตามในปลายเดือนสิงหาคม 2023 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้อธิบายเป็นครั้งแรกที่การร้องของบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2024 ที่ตนได้ตัดสินใจล่าสุดในการจัดซื้อเรือฟริเกตชั้น Mogami ทั้งหมดเพียง 12ลำ จนถึงปี 2023 โดยวางแผนที่จะสร้างเรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ 12ลำตั้งแต่ปีงบประมาณ 2024

เรือฟริเกต New FFM ใหม่จะเป็นการปรับปรุงเรือฟริเกตชั้น Mogami อย่างแท้จริง บริษัท MHI ญี่ปุ่นได้จัดแสดงแบบจำลองย่อขนาดของเรือฟริเกต New FFM ใหม่เป็นครั้งแรก ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Indo Pacific 2023 ใน Sydney ออสเตรเลีย
ตามรายงานก่อนหน้าโดย Naval News เรือฟริเกต New FFM ใหม่จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกล, ขีดความสามารการปราบเรือดำน้ำที่เพิ่มขยาย และเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติการทางทะเลที่หลากหลาย

โดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงจากเรือที่เป็นรุ่นปรับปรุงจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 12 SSM และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยิงจากเรือใหม่(A-SAM) จะติดตั้งบนเรือ FFM ชั้นใหม่ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว 
เอกสารของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่เผยแพร่ในวันที่ 31 สิงหาคม 2023 กล่าวว่า เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,500tons ขณะเดียวกันข้อเสนอของ MHI ของเรือ FFM ชั้นใหม่ ซึ่งเผยแพร่โดย ATLA เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023 ระบุว่า

เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,880tons ความยาวเรือราว 142m และกว้าง 17m เรือ FFM ชั้นใหม่จะมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30knots แม้ว่าข้อเท็จจริงเรือชั้นใหม่จะใหญ่กว่าเรือชั้น Mogami แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีกำลังพลประจำเรือเพียง 90นายเท่ากับเรือฟริเกตชั้น Mogami เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้ นักวางแผนทางเรือญี่ปุ่นน่าจะมีการนำระบบอัตโนมัติระดับสูงมาใช้บนเรือชั้นใหม่ และนำแนวคิดการจำกัดขนาดกำลังพลอย่างมากมาใช้ตลอดทั้งเรือครับ 

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โปรตุเกสลงนามสัญญากับ Damen เนเธอร์แลนด์เพื่อสร้างเรืออเนกประสงค์ PNM ใหม่

Portuguese Navy signs contract with Damen Shipyards for innovative Multi-Purpose Vessel



‘World’s first’ vessel will combine oceanic research with drone deployment capabilities. Contract for the design, construction and outfitting of a state-of-the-art Multi-Purpose Vessel. (Damen/Portuguese Navy)



กองทัพเรือโปรตุเกส(Portuguese Navy, Marinha Portuguesa) ได้ทำสัญญากับบริษัท Damen Shipyards Group เนเธอร์แลนด์สำหรับการออกแบบ, การสร้าง และการติดตั้งของเรืออเนกประสงค์(MPV: Multi-Purpose Vessel) อันล้ำสมัย
สัญญาได้รับการลงนามโดยผู้บังคับการกองเรือ(Director of Ships) พลเรือตรี Jorge Pires และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์(CCO: Chief Commercial Officer) ของ Damen Shipyards Group Jan Wim Dekker เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2023
โครงการมีขึ้นตามขั้นตอนการแข่งขันของยุโรปและได้รับงบประมาณจากแผนการอำนวยความสะดวกการกอบกู้และฟื้นตัว(RRF: Recovery and Resilience Facility) ของสหภาพยุโรป(EU: European Union)
ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดการให้ความช่วยเหลือการกอบกู้เศรษฐกิจ NextGenerationEU เพื่อจะสนับสนุนชาติสมาชิกสหภาพยุโรป EU ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

บริษัท Damen ได้พัฒนาแบบเรืออเนกประสงค์ Multi-Purpose Vessel ความยาวเรือ 107m ระวางขับน้ำราว 7,000tonne บนพื้นฐานความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของกองทัพเรือโปรตุเกส ผลลัพธ์ของการออกแบบคือระบบอเนกประสงค์อย่างแท้จริง
โดยมีภารกิจหลักของเรือรวมถึงการสำรวจทางสมุทรศาสตร์(oceanic research), การค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue) และการบรรเทาเหตุฉุกเฉิน นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัยทางทะเลและการสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ
ด้วยเหตุนี้เรืออเนกประสงค์ MPV จะสามารถวางกำลังด้วยอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle), ยานผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vehicle), ยานใต้น้ำไร้คนขับ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) และเฮลิคอปเตอร์ได้

สำหรับของเขตการปฏิบัติการสำรวจทางสมุทรศาสตร์และการเฝ้าระวัง เรืออเนกประสงค์ PNM/MPV จะติดตั้งห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และรองรับเจ้าหน้าที่ทางวิทยาศาสตร์
สำหรับในแง่การสนับสนุนทางเรือ เรืออเนกประสงค์ MPV ที่สร้างโดย Damen จะมีคุณลักษาณะการออกแบบจำนวนมากที่สามารถจะปฏิบัติการต่างๆดังกล่าวได้
นี่จะประกอบด้วยประตู ramp ท้ายเรือสำหรับยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV เช่นเดียวกับดาฟ้าบินขนาด 94mx11m และโรงเก็บอากาศยานสำหรับอากาศยานไร้คนขับ UAV

เรืออเนกประสงค์ A888 NRP Don João II ใหม่จะถูกกำหนดแบบโดยกองทัพเรือโปรตุเกสเป็นระบบทางเรือหลากหลายรูปแบบการทำงาน(Multifunctional Naval Platform, PNM: Plataforma Naval Multifuncional)
เพื่อให้ตรงกับการกำหนดแบบเรือนี้อย่างเต็มรูปแบบ Damen ได้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกองทัพเรือโปรตุเกสที่จะนำความหลากหลายแห่งอนาคตมาใช้เข้าสู่การออกแบบ นี่ประกอบด้วยดาดฟ้าบรรทุกสัมภาระขนาด 650sqm และพื้นที่สำหรับตู้สินค้าขนาด 20foot จำนวน 20ตู้ 
ระบบ Modular อย่างเช่น ตู้สถานที่พยาบาล, ตู้ปรับความดัน หรืออุปกรณ์ยานควบคุมระยะไกล(ROV: Remotely Operated Vehicle) ที่สามารถติดตั้งระบบดังกล่าวได้ตามความต้องการ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ทำความเร็วได้สูงสุด 14knots ปฏิบัติการได้นาน 45วัน ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 10knots

"เรามีความภูมิใจที่ได้รับเลือกเพื่อสร้างเรือที่น่าประทับใจนี้สำหรับกองทัพเรือโปรตุเกส เราเชื่อมั่นว่าเรือนี้จะแสดงถึงเหตุการณ์สำคัญในภาคส่วนทางเรือ เรือเป็นแบบแรกแรกในประเภทนี้ ด้วยขีดความสามารถต่างๆที่สูงที่สุดเพื่อสร้างการหยั่งรู้, การวางกำลัง และบริหารจัดการ drone ทุกประเภท
รูปแบบการทำงานอเนกประสงค์ของเรือนี้จะทำให้กองทัพเรือโปรตุเกสจะพัฒนาภารกิจที่เรียกร้องมากที่สุด และในเวลาเดียวกับความสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมวิจัยในพื้นที่ที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร
มันยังเน้นย้ำความสัมพันธ์ทางธุรกิจของ Damen กับกองทัพเรือโปรตุเกส และตัวอย่างเพิ่มเติมของความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของยุโรป" Arnout Damen ผู้อำนวยการบริหาร Damen Shipyards Group กล่าวหลังพิธีลงนามสัญญา

กองทัพเรือโปรตุเกสปัจจุบันมีเรือที่สร้างโดย Damen เนเธอร์แลนด์ 2ลำ เรือเหล่านี้คือเรือฟริเกตพหุภารกิจชั้น Bartolomeu Dias ความยาวเรือ 122m คือเรือฟริเกต F333 NRP Bartolomeu Dias และเรือฟริเกต F334 NRP D. Francisco de Almeida
เรือฟริเกตชั้น Bartolomeu Dias ทั้งสองลำเดิมเคยประจำการในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์(RNLN: Royal Netherlands Navy, Koninklijke Marine) ในฐานะเรือฟริเกตชั้น Karel Doorman 
ก่อนได้เข้ารับโครงการปรับปรุงความทันสมัยอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท Damen และกองบัญชาการยุทโธปกรณ์และสารสนเทศ(Materiel and IT Command, COMMIT: Commando Materieel en IT) กระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์ครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โอกาสของเครื่องบินขับไล่ KF-21 เกาหลีใต้กับกองทัพอากาศไทย



Korea Aerospace Industries (KAI) displayed model of its KF-21 Boramae fighter aircraft at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos/Royal Thai Air Force)

New Emblem of 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force (RTAF) was seen in 2022, shown what appear likely be silhouette of F-35 and also some similar to KF-21. (Royal Thai Air Force)




Lockheed Martin displayed models of its F-16 Block 70/72 fighter and C-130J transport aircraft in Royal Thai Air Force liveries at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)


Lockheed Martin's F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (Royal Thai Air Force/Defense Info media TH)




Saab displayed models of its Gripen E and Saab 340 Erieye AEW&C (Airborne Early Warning and Control) at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. 
MBDA model its missiles include Meteor BVRAAM (Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) on Gripen E at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)


Embaer displayed model of its C-390 Millennium transport aircraft at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)

The Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul and Mr.Sutin Klungsang the Minister of Defence of Thailand and RTAF senior officers were visit Lockheed Martin, Saab, Embraer and KAI pavilions 
during the Defense & Security 2023 show. 
Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force told media, selection committee for new fighter for F-16 replacment has established. initial types include Lockheed Martin F-16 Block 70/72, Saab Gripen E/F and KAI KF-21.

ตามที่แม้ว่ากองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B ADF Fighting Falcon ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช
แต่สหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะขายเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตนแก่ไทยด้วยเหตุผลที่กองทัพอากาศไทยยังไม่พร้อมและต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/f-35a.html)
เช่นเดียวกับรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่กระทรวงกลาโหมไทยได้ขอกองทัพอากาศไทยเลื่อนการจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ของตนไปเป็นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/f-16ab.html)

อย่างไรก็ตามในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมาได้เห็นการอุ่นเครื่องของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่
โดยผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย นาย สุทิน คลังแสง พร้อมคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศไทยและเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมไทยได้เข้าร่วมเยี่ยมชมงานแสดง Defense & Security 2023 นั้น
บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารรัฐเกาหลี ที่มาจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-kggb.html) กำลังมองที่จะนำเสนอเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae ของตนแก่กองทัพอากาศไทยที่ได้มีรายงานว่าได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่แล้ว

บริษัท KAI สาธารรัฐเกาหลีได้จัดแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KF-21 ของตนในไทยเป็นครั้งแรกในงาน Defense & Security 2022 ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-lig-nex1-kggb.html) ร่วมกับผลิตภัณฑ์อากาศยานอื่นๆของตน
เครื่องบินขับไล่ KF-21 นับเป็นเครื่องบินรบแบบที่สองที่ออกแบบพัฒนาและสร้างในสาธารณรัฐเกาหลีต่อจากเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle ที่ส่งออกได้หลายประเทศรวมถึงกองทัพอากาศไทยในชื่อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ใน ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี
เครื่องต้นแบบเครื่องแรก KF-21 หมายเลข 001 ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/kf-21-boramae.html) และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/kf-21.html

จนถึงตอนนี้ KAI ได้สร้างเครื่องต้นแบบของ KF-21 แล้วจำนวน ๖เครื่องประกอบด้วยเครื่องที่นั่งเดี่ยวหมายเลข 001, 002, 003 และ 005 และเครื่องสองที่นั่งเรียงกันหมายเลข 004 และ 006 โดยถูกใช้ในการทดสอบหลากหลายรูปแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/kf-21-006.html)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีให้รายละเอียดของโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 ว่าสายการผลิตจำนวนมากขั้นต้นจะเริ่มต้นได้ภายในปี 2024 และการพัฒนาระยะแรกจะเสร็จสิ้นในปี 2026
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) จะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ KF-21 Block I เครื่องแรกจากสายผลิตจำนวนมากในปี 2026 และครบจำนวน ๔๐เครื่องในปี 2028 และจะได้รับเครื่องบินขับไล่ KF-21 Block II อีก ๘๐เครื่องรวม ๑๒๐เครื่องภายในปี 2032

เครื่องบินขับไล่ KF-21 ยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการส่งออก โดยอินโดนีเซียได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนโครงการกับ KAI สาธารรัฐเกาหลีในชื่อเครื่องบินขับไล่ IF-X(Indonesian Fighter eXperimental) นำโดย PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอากาศยานของอินโดนีเซีย
กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มองที่ได้รับเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่จำนวนราว ๕๐เครื่อง อย่างไรก็ตามอินโดนีเซียยังคงมีการเจรจากับสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อแก้ปัญหาการค้างการชำระค่าใช้จ่ายในโครงการของตนอยู่
โปแลนด์ยังแสดงความสนใจใน KF-21 Block-II ซึ่งจะเริ่มการพัฒนาในปี 2026 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ที่จะเข้าร่วมโครงการและจัดหา KF-21 ในเดือนกันยายน 2023 ฟิลิปปินส์และเปรูยังแสดงความสนใจ KF-21 ด้วย

เครื่องบินขับไล่ KF-21 Block-I ซึ่งมีเครื่องต้นแบบแล้ว ๖เครื่องขณะที่ถูกจัดเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ โดยยังคงมีขีดความสามารถจำกัดในการรบอากาศสู่อากาศ ที่ระบบอาวุธประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ M61A2 ขนาด 20mm ความจุกระสุน ๔๘๐นัด ตำบลอาวุธใต้ปีก ๖จุดแข็ง และใต้ท้อง ๔จุดแข็งรวม ๑๐จุดแข็ง
ระบบอาวุธนำวิถีที่ทดสอยยิงไปแล้วรวมถึงการยิงปืนใหญ่อากาศ 20mm การปลดตัวอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor ที่ติดในช่องติดตั้งอาวุธกึ่งภายในลำตัว(semi-recessed) ได้ ๔นัด
และการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl AIM-2000 IRIS-T(InfraRed Imaging System-Tail control) การทดสอบต่อไปยังรวมถึงบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) ที่จะติดตั้งในใต้ช่องรับอากาศเข้าด้านขวาของเครื่อง

แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KF-21 ที่แสดงในงาน Defense & Security 2023 และงานอื่นๆก่อนหน้าจะแสดงการติดตั้งระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ซึ่งขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นจะเพิ่มมากขึ้นในรุ่น KF-21 Block II ที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ โดยมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว(internal weapons bay)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่า KF-21 ยังคงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานระบบอาวุธพื้นฐานที่มีใช้งานในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีรวมถึงลูกค้าส่งออก เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM
ตัวแทนของ KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับผู้เขียนว่า บริษัทสามารถที่เสนอขายเครื่องบินขับไล่ KF-21 แก่กองทัพอากาศไทยได้ที่ราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost) ราว $65 million(เข้าใจว่าอาจจะใช้วิธีนำเครื่องจากสายการผลิตสำหรับกองทัพเกาหลีเองมาให้เช่นเดียวกับ FA-50 ของโปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/fa-50pl-sniper-atp.html))

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นที่ปรากฎชื่อว่าน่าจะเป็นตัวเลือกในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ กองทัพอากาศไทย เครื่องบินขับไล่ KF-21 เป็นเครื่องบินแบบเดียวที่ยังคงอยู่ในสถานะกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาที่มีเฉพาะเครื่องต้นแบบอยู่
ขณะที่ตัวเลือกอื่นที่มีรายชื่อก่อนหน้าเช่นเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Eagle II ที่แม้ว่าบริษัท Boeing สหรัฐฯจะไม่เคยมาร่วมงาน Defense & Security ในไทยเลย เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน 
เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องที่พัฒนาเสร็จมีสายการผลิตพร้อมแล้ว ขณะที่ตัวเลือกอื่นๆอย่างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสก็ไม่เคยมางานในไทยเลย เครื่องบินขับไล่ J-10CE และเครื่องบินขับไล่ FC-31 จีนที่ระบบไม่เข้ากับกองทัพอากาศไทย และรัสเซียที่ถูกห้ามร่วมงานก็ระบบไม่เข้ากันเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ KF-21 ยังสามารถมองได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ก่อนโอนย้ายไปร่วมกับฝูงบิน๑๐๓ ตามที่เป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้น(FIS: Fighter Interceptor Squadron) ที่เน้นการรบอากาศสู่อากาศเป็นหลัก
ขีดความสามารถที่จำกัดในการรบอากาศสู่อากาศด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor ที่กองทัพอากาศไทยมองจะจัดหาในอนาคต และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T อาจรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้อยู่แล้ว
เช่นเดียวกับปืนใหญ่อากาศ M61A2 20mm ที่เป็นอาวุธภายในตัวของ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B อยู่แล้วด้วย ตัวแทน KAI ยังกล่าวว่าบริษัทของเขายังสามารถที่จะเสนอการปรับแต่งและถ่ายทอดวิทยาการตามความต้องการของกองทัพอากาศไทยได้เช่นเดียวกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/t-50th-sniper-atp.html)

ในงาน Defense & Security 2023 เช่นกัน บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯยังได้จัดแสดงแบบจำลองของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper ในลวดลายฝูงบินขับไล่๑๐๓ กองบิน๑ เช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules ในเครื่องหมายกองทัพอากาศไทย
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและนายทหารกองทัพอากาศไทยรวมถึงรัฐมนตรีกลาโหมและคณะยังได้รับฟังข้อมูลและทดลองเครื่องจำลองการบิน F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงมั่นใจว่าเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ของตนมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ ตามที่นักบินและช่างอากาศยานมีความคุ้นเคยง่ายต่อการเปลี่ยนแบบและใช้ระบบสนับสนุนที่มีอยู่เดิมได้เกือบทั้งหมด

เช่นเดียวกับที่การทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130J ที่มีสายการผลิตยาวนาน มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากทั่วโลก และได้ถูกพิสูจน์การใช้งานจริงมาแล้วก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุดกับกองทัพอากาศไทยเช่นกัน
สายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ณ โรงงานอากาศยาน Greenville ในมลรัฐ South Carolina กำลังผลิตทั้งเครื่องใหม่และชุดปรับปรุงเครื่องที่มีอยู่แก่ลูกค้าส่งออก ๖ประเทศทั่วโลกรวมแล้วถึง ๑๔๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/f-16v-block-70.html)
อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Lockheed Martin สหรัฐฯกล่าวกับผู้เขียนว่า โรงงาน Greenville สามารถมีแผนจะเพิ่มสายการผลิตเป็นที่ระดับ ๔เครื่องต่อเดือนขึ้นไปภายในปี 2024-2025 ซึ่งถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกจัดหา F-16C/D Block 70/72 สร้างใหม่ก็จะได้รับมอบเครื่องตรงตามกำหนดเวลา

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16V Viper เป็นการนำโครงสร้างอากาศยานเครื่องเดิมมาสร้างใหม่ที่ได้ทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกองทัพอากาศไทยไม่น่าเลือกที่จะนำ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU/ADF ของตนมาปรับปรุงเป็นมาตรฐาน F-16V ตามที่เครื่องใกล้ถึงกำหนดหมดอายุการใช้งานแล้ว
เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ General Electric F100-GE-129D เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 72 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW229EEP (บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น P&W F100-PW-220)
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะมีความคุ้นเคยกับ ย.P&W F100 แต่ Lockheed Martin กล่าวว่าตนเชื่อว่ากองทัพอากาศไทยจะเลือกจัดหา F-16 Block 70 ที่ใช้ ย.GE ที่มีราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost) ที่ราว $60 million มากกว่า F-16 Block 72 ที่ใช้ ย.P&W ราคาแพงกว่าเล็กน้อยที่ราว $63 million
(ผู้เขียนเข้าใจว่าเหตุผลที่ F-16C/D Block 72 มีราคาแพงกว่า F-16C/D Block 72 เนื่องจากสายการผลิตเครื่องสร้างใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่น Block 70 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นของ General Electric ทำให้รุ่น Block 72 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นของ Pratt & Whitney ถูกสั่งสร้างน้อยกว่าราคาจึงแพงกว่า)

ในงาน Defense & Security 2023 บริษัท Saab สวีเดนยังได้นำแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ Gripen E และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW&C(Airborne Early Warning and Control) และผลิตภัณฑ์อื่นๆของตนแก่กองทัพไทย
ตามที่ Saab สวีเดนได้เสร็จสิ้นการปรับปรุงมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 สำหรับเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี แล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-saab-accs.html)
ในส่วนของกองทัพอากาศไทย นอกจาการปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW&C บริษัท Saab ยังมุ่งหวังที่จะนำเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนสำหรับการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/fmv-gripen-e.html)

แม้ว่าจะยังคงมีลูกค้าส่งออกรายเดียวคือบราซิลที่จัดหาพร้อมการถ่ายทอดวิทยาการการผลิตในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/f-39e-gripen-e.html) Saab สวีเดนเชื่อว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของกองทัพอากาศไทย
ทั้งค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าคู่แข่ง การถ่ายทอดวิทยาการและความอ่อนตัวในการปรับแต่งระบบตามความต้องการอย่าง datalink Link-TH รวมถึงความเข้ากันได้กับระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ของกองทัพไทย
ถึงราคาเครื่องเปล่า(flyaway cost)จะสูงกว่าคู่แข่งที่ราว $85 million และอาจจะสูงถึง $120 million ใน package แบบเต็มรูปแบบ แต่เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จะเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดสำหรับกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/saab-gripen.html)

ในงาน Defense & Security 2023 บริษัท MBDA ยุโรปได้จัดแสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีของตนรวมถึง อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ASRAAM อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone
ซึ่ง Meteor นั้นกองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหามาใช้กับ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D มาตรฐาน MS20 ในอนาคต ร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T ที่ยังใช้กับ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ KAI KF-21 สาธารรัฐเกาหลีด้วย
ด้านบริษัท Embraer บราซิลก็ยังคงนำเสนอเครื่องบินลำเลียง KC-390 Millennium แก่กองทัพอากาศไทย โดยบริษัทกล่าวว่า C-390 ของตนเป็นระบบแห่งอนาคตที่ดีกว่า C-130 ซึ่งออกแบบมานานจนล้าสมัยแล้ว และนอกจากลูกค้าส่งออกในยุโรป ๕ชาติแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/kc-390.html) บริษัทกำลังจะมีลูกค้ารายแรกในเอเชีย-แปซิฟิกด้วยครับ

ปล.Academy ออกชุดแบบจำลอง KF-21 อัตราส่วน 1/72 แล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือน DAPA สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนลิขสิทธิ์ให้ แต่ดูเหมือนสินค้ายังไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทยตอนที่เขียนบทความนี้ ท่านใดสนใจโดยเฉพาะจะลองทำตัวไทยติดตามข่าวดูครับ

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

บราซิลรับมอบเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99M ที่ปรับปรุงใหม่เครื่องแรก

Brazil receives first E-99 AEW&C aircraft upgraded to FOC standard



Brazil has now received back into service all five E-99A aircraft upgraded to the E-99M standard, including the first in a full operating configuration. (Janes/Gareth Jennings)

กองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force, FAB: Força Aérea Brasileira) ได้รับมอบเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Embraer E-99A(EMB-145SA) AEW&C(Airborne Early Warning and Control) เครื่องแรกของตนกลับเข้าประจำการ
ที่จะได้รับการปรับปรุงสู่มาตรฐานความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operating Capability) บริษัท Embraer บราซิลประกาศเหตุการณ์สำคัญนี้เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2023

บริษัท Embraer กล่าวว่าเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99 เครื่องแรกที่มีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา FOC ยังเป็นเครื่องสุดท้ายของทั้งฝูงบินจำนวน 5เครื่องของกองทัพอากาศบราซิล
ที่จะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99M(modernised) เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99A จำนวน 4เครื่องก่อนหน้าได้ถูกส่งกลับไปกองทัพอากาศบราซิลขณะนี้จะได้รับการปรับปรุงสู่มาตรฐาน FOC เช่นกัน

"เครื่องบินได้รับการปรับปรุงแล้วที่จะดำเนินการทำงานแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม AEW&C เช่นเดียวกับมีส่วนร่วมในภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวนทางอากาศ" Embraer บราซิลกล่าว
การส่งมอบ E-99 เครื่องที่5 เป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับโครงการ E-99M นี่เป็นเครื่องบินเครื่องแรกที่ส่งมอบในรูปแบบ FOC ด้วยระบบต่างๆที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบสำหรับใช้งานโดยกองทัพอากาศบราซิล" 

Bosco da Costa Junior ประธานและผู้อำนวยการบริหารแผนก Embraer Defense and Security ถูกอ้างคำกล่าว "เครื่องบิน 4เครื่องที่ถูกส่งมอบก่อนหน้าจะได้รับการปรับปรุงดังกล่าว เครื่องสามารถที่จะดำเนินภารกิจทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบตามที่พวกมันถูกออกแบบไว้"
โดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสาร ERJ-145 เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99 ได้รับการพัฒนาสำหรับระบบสำหรับสถาปัตยากรรมการเฝ้าระวังของ Amazon(Vigilance of the Amazon) ของบราซิล

ในรูปแบบพื้นฐาน เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99 มีคุณสมบัติระบบภารกิจที่ประกอบด้วยรุ่นปรับปรุงของ radar ตรวจการณ์ Saab Erieye และรองรับตู้ควบคุมเจ้าหน้าปฏิบัติการ 4นาย
กองทัพอากาศบราซิลได้รับมอบเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99M เครื่องแรกที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยในเดือนพฤศจิกายน 2020 

กองทัพอากาศบราซิลได้นำเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-99A จำนวน 5เครื่องเข้าประจำการในปี 2001 Embraer บราซิลยังประสบความสำเร็จในการส่งออกให้กองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force) 4เครื่อง และเม็กซิโก 1เครื่อง 
ขณะที่กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Foece) ได้นำเครื่องบินโดยสาร ERJ-145 บราซิลเป็นพื้นฐานติดตั้งระบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ตรวจการณ์ที่อินเดียพัฒนาเองครับ

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

กองทัพไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว เสร็จสิ้นการฝึกร่วมผสม Aman Youyi 2023 ที่จีน





















Joint/Combined AMAN YOUYI Exercise, held between 13-22 November 2023, in Zhanjiang, Guangdong province, People's Republic of China is participated by the representatives 
from the People's Liberation Army, Royal Thai Armed Forces, Malaysian Armed Forces, Royal Cambodian Armed Forces, Lao People’s Army, and Vietnam People’s Army.
Adaption Training is considered an important core part of the exercise consisting of:
Exercise planning: By being briefed and developing exercise scenario, training on the use of the command and control information system of the exercise, exchanging  ideas of armed forces representatives of the six participating nations 
induced from the C2X, review of the SOP and command procedures in counterterrorism operations, and monitoring C2X planning and briefings. 
In addition, the Thai Director of the Exercise visited the ground training troops, sniper training station, VIP protection in motorcade training station, Fast-rope training station, and live fire exercise.
C2X Planning: By exchanging ideas on countering terrorism and piracy procedures, training on the use of exercise command and control information system, introducing the Royal Thai Armed Forces to other participants, 
listening to introductions of the armed Forces  five participating nations, briefing on the Exercise, situation assessment/mission analysis, planning, and C2X plan disemmination, staging a seminar on non-combatant evacuation and counterterrorism, 
and visiting the ground troops training station areas.
Land Training: including sniper training, area inspection, self-defense, VIP protection in motorcade, fast-rope training station, cordon technique, search and suppression, building assault, use of drone in suppression training, and live fire exercise. 
In this exercise, the Thai side has been tasked with teaching sniper and self-defence techniques, as well as participating in the FTX land training planning, and joining in the Art Performance activity.
Maritime Training: joining in meeting to coordinate training plan, exchanging knowledge in ship navigation, training on ship damage prevention, naval boarding party operation training, exchanging ideas on countering terrorism and piracy procedures, 
practicing first aid and lifesaving on ship, helicopter deck equipment operations training, and live fire exercise, including participating in the FTX maritime training planning and joining in the Art Performance activity.
The exercise not only enhances capabilities of the Royal Thai Armed Forces and those of the allied armed forces participating in the exercise by exchanging knowledge, expertise, and military technology, 
including enhancing the Royal Thai Armed Forces and allied personnels' experience in joint and combined operations, it also helps strengthen relations between Thai and allied armed forces personnels, 
including a good image of Thailand in the eyes of allied countries and the international community.

Public Relations Division, Office of Public Relations, Directorate of Joint Civil Affairs
19 November 2023

การฝึกร่วม/ผสม AMAN YOUYI  2023 ระหว่างวันที่ 13 - 22 พฤศจิกายน 2566 โดยมีผู้แทนกำลังพลจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน กองทัพไทย กองทัพมาเลเซีย กองทัพกัมพูชา กองทัพลาว และกองทัพเวียดนาม เข้าร่วมการฝึกฯ ณ เมืองจ้านเจียง มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
การฝึกแลกเปลี่ยน/ปรับพื้นฐาน (Adaption Training) ถือเป็นการฝึกหลักที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย 
ส่วนวางแผนการฝึก รับฟังคำชี้แจงและพัฒนาสถานการณ์ฝึก อบรมการใช้งานระบบข้อมูลการบังคับบัญชาในการฝึก ร่วมฟังการแนะนำกองทัพของชาติทั้ง  6 ชาติที่เข้าร่วมการฝึกฯ ซึ่งดำเนินการจากส่วนการฝึก C2X ทบทวน SOP และขั้นตอนการบังคับบัญชาในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย รวมทั้งติดตามการวางแผนและฟังแถลงแผนของส่วนการฝึก C2X นอกจากนี้หัวหน้าส่วนอำนวยการฝึกฝ่ายไทยได้เข้าเยี่ยมชมการฝึกของส่วนการฝึกทางบก สถานีฝึกการซุ่มยิง สถานีฝึกการอารักขาบุคคลสำคัญในขบวนยานยนต์ สถานีการฝึกขึ้นลงทางดิ่ง และการฝึกยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง อีกด้วย
ส่วนวางแผนการฝึก C2X : แลกเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในการต่อต้านการก่อการร้ายและการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด อบรมการใช้งานระบบข้อมูลการบังคับบัญชาในการฝึก แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพไทย และรับฟังการแนะนำกองทัพของ 5 ชาติ ที่เข้าร่วมการฝึก การชี้แจงสถานการณ์ฝึก การประเมินสถานการณ์/วิเคราะห์ภารกิจ วางแผน แถลงแผนของส่วนการฝึก C2X และสัมมนา เรื่อง การอพยพประชาชนและการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ตลอดจนร่วมเยี่ยมชมการฝึกของส่วนการฝึกทางบกในสถานีต่าง ๆ
ส่วนการฝึกทางบก : ฝึกการซุ่มยิง การตรวจค้นพื้นที่ การป้องกันตัว การอารักขาบุคคลสำคัญในขบวนยานยนต์ การโรยตัวด้วยเชือกลงจากที่สูงในสถานีการฝึกขึ้นลงทางดิ่ง การควบคุมปิดล้อม การค้นหาและปราบปราม และเข้าโจมตีอาคาร นอกจากนี้มีการฝึกปราบปรามด้วยการใช้อากาศยานไร้คนขับ และฝึกยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง ซึ่งการฝึกฯ ครั้งนี้ ฝ่ายไทยร่วมรับผิดชอบการสอนหัวข้อการซุ่มยิง และการป้องกันตัว อีกทั้งร่วมประชุมวางแผนการฝึก FTX ทางบก และร่วมการแสดงในกิจกรรม Art Performance
ส่วนการฝึกทางเรือ : ประชุมประสานแผนการฝึก แลกเปลี่ยนความรู้ในการนำเรือ อบรมและฝึกการป้องกันความเสียหายในเรือ ฝึกการปฏิบัติของชุดตรวจค้นเรือต้องสงสัย แลกเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในการต่อต้านการก่อการร้ายและการกระทำอันเป็นการโจรสลัด ฝึกการปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตบนเรือ ฝึกการใช้งานอุปกรณ์บนด้านฟ้า ฮ. และการรับ ฮ. ฝึกยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง รวมทั้งร่วมประชุมวางแผนการฝึก FTX ทางทะเล และร่วมกิจกรรม Art Performance 
นอกจากจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกในส่วนของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ความชำนาญ และเทคโนโลยีทางทหาร เพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับกำลังพลของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศในการปฏิบัติการร่วมและผสม แล้วยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทหารไทย และทหารมิตรประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตามิตรประเทศและประชาคมโลกต่อไป

กองประชาสัมพันธ์ สำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร
19 พฤศจิกายน 2566

กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) ร่วมกับกองทัพมาเลเซีย(MAF: Malaysian Armed Forces, ATM: Angkatan Tentera Malaysia), กองทัพกัมพูชา(RCARF: Royal Cambodian Armed Forces), กองทัพประชาชนลาว(LPA: Lao People’s Army) และกองทัพประชาชนเวียดนาม(VPA: Vietnam People's Army) 
เสร็จสิ้นการฝึกร่วมผสมรหัส AMAN YOUYI 2023(和平友谊-2023, Peace and Friendship 2023) ที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ ๑๓-๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมา

การฝึกร่วมผสม AMAN YOUYI 2023 ณ Zhanjiang, มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เน้นไปที่การต่อต้านการก่อการร้ายและการช่วยเหลือประชาชนจากเหตุต่างๆ กองทัพไทยได้จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ(SOF: Special Operation Forces)
เช่น หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ(SWCOM: Special Warfare Command) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army), หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)(RTN SEAL) และ กรมปฏิบัติการพิเศษ(SOR: Special Operations Regiment) หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน(SFC: Security Force Command) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)

นอกจากการฝึกในที่ตั้งกองบัญชาการ การฝึกภาคสนาม(FTX: Field Training Exercise) ยังรวมการฝึกภาคพื้นดินที่มีการนำระบบใหม่ที่ทันสมัยมาใช้ในการฝึกหลายแบบรวมถึงระบบระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter Unmanned Aerial System) หุ่นยนต์(Robot) ติดอาวุธ
ภาคฝึกภาคทะเลได้มีการนำกำลังจากกองทัพเรือประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) เข้าร่วมเช่นเรือพิฆาตชั้น Type 052D เรือพิฆาต DDG-162 Nanning เรือฟริเกตชั้น Type 054A เรือฟริเกต FFG-551 Bayannur และเรือคอร์เวตชั้น Type 056A เรือคอร์เวต FS-504 Suqian รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Z-9C

กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) ได้ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Kedah เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง F176 KD Selangor และกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม(VPN: Vietnam People's Navy) ส่งเรือฟริเกตชั้น Gepard เรือฟริเกต HQ-016 Quang Trung เข้าร่วมการฝึกด้วย
การฝึก AMAN YOUYI 2023 ล่าสุดที่จีนในครั้งนี้ได้เห็นกองทัพกลุ่มชาติ ASEAN มีความร่วมมือทางทหารร่วมกัน โดยยังได้เห็นชาติที่มีข้อขัดแย้งการอ้างอาณาเขตทางทะเลกับจีนคือเวียดนามและมาเลเซียเข้าร่วมการฝึกนี้ อันเป็นเครื่องหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของแต่ละชาติครับ