DDG-80 USS Roosevelt launches a Mk 54 torpedo.(wikipedia.org)
Raytheon awarded US Navy MK 54 torpedo contract
http://raytheon.mediaroom.com/2016-08-29-Raytheon-awarded-US-Navy-MK-54-torpedo-contract
บริษัท Raytheon สหรัฐฯได้ประกาศข่าวการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ล่าสุดของตนคือสัญญาการจัดหา Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk 54 Mod 0 วงเงิน $37,723,774
ทั้งชุดลูก Torpedo, ส่วนประกอบ Torpedo, ถังเชื้อเพลิง Torpedo สำหรับการฝึก, อะไหล่, วัสดุที่เกี่ยวข้อง, การสนับสนุนทางวิศวกรรม และการซ่อมบำรุง
โดยเป็นการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sales) รวมกับที่กองทัพเรือสหรัฐฯเองสั่งจัดหากับ Raytheon วงเงิน $448,737,790 แบ่งเป็นส่วนที่กองทัพสหรัฐฯจัดหาร้อยละ๙๘ และที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดหาร้อยละ๒
SH-60B Royal Thai Navy carrying a Mark 46 lightweight torpedo(training torpedo) at Guardian Sea 2016
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1181776695207018
Mk 54 Mod 0 เป็นระบบTorpedo เบาปราบเรือดำน้ำขนาด 324mm แบบใหม่ที่กองทัพเรือสหรัฐฯนำเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2004 เพื่อทดแทนระบบเก่าอย่าง Mk 46 และ Mk 50 โดยมีการส่งออกให้หลายประเทศเช่น กองทัพเรือออสเตรเลีย และกองทัพเรืออินเดีย เป็นต้น
ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่ากองทัพเรือไทยสั่งจัดซื้อ มาจำนวนกี่นัด โดย Mk 54 สามารถทำการยิงได้แท่นยิง Torpedo เบาที่ติดตั้งบนเรือรบผิวน้ำอย่างแท่นยิงแฝดสาม Mk 32 ที่ติดบนเรือรบที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยหลายชุด
หรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอย่าง ฮ.ปด.๑ SH-60B ที่สามารถติดตั้ง Torpedo เบาแบบ Mk 46 ได้ หรือติดกับจรวด RUM-139 VL-ASROC ยิงจากแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS โดย Mk 54 Torpedo มีระยะยิงไกลสุดประมาณ 15km ที่ความเร็วสูงสุดมากกว่า 40knots ครับ
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
กองทัพเรือปากีสถานจะได้รับมอบเรือดำน้ำจีนครบ 8ลำภายในปี 2028
China to provide eight submarines to Pakistan by 2028
China has marketed the Type 039A 'Yuan' SSK for oversea as the S20 submarine. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/63293/china-to-provide-eight-submarines-to-pakistan-by-2028
หนังสือพิมพ์ The News International ได้รายงานการให้ข้อมูลของผู้อำนวยการโครงการเรือดำน้ำกองทัพเรือปากีสถาต่อคณะกรรมธิการกลาโหมของสมัชชาแห่งชาติปากีสถาน ในการเยือนกองบัญชาการกองทัพเรือปากีสถานที่ Islamabad เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า
จีนจะส่งมอบเรือดำน้ำทั้งหมด 8ลำให้กองทัพเรือปากีสถานภายในปี 2028 โดยผู้อำนวยการโครงการเรือดำน้ำปากีสถานยืนยันว่าเรือดำน้่ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างที่จีน โดยจะส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในช่วงกลางปี 2022 และปี 2023
ขณะที่เรือดำน้ำอีก 4ลำหลังจะถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works(KSEW) ในปากีสถานีเองภายใต้ข้อตกลงโครงการถ่ายทอด Technology และจะส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2028
ซึ่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนของปากีสถานยังได้รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ฝึกเรือดำน้ำที่อู่ต่อเรือ KSEW ที่ Karachi ด้วย
กองทัพเรือปากีสถานได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 8ลำ วงเงินประมาณ $5 billion
ซึ่งเรือดำน้ำ S20 นั้นเป็นรุ่นส่งออกมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A (NATO กำหนดรหัส "Yuan") ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
โดยเรือ 4ลำจะดำเนินการสร้างภายในปากีสถาน พร้อมกับที่จะสร้างในอู่ต่อเรือที่จีน 4ลำ ภายใต้โครงการความร่วมมือการถ่ายทอด Technology และการสนับสนุนระบบต่างๆ
ทั้งนี้อู่ต่อเรือ KSEW ปากีสถานนั้นเคยมีประสบการณ์ในการต่อเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B หรือเรือดำน้ำชั้น Khalid ทั้ง 3ลำ ที่ 1ลำต่อที่ฝรั่งเศส และอีก 2ลำต่อในปากีสถานมาแล้วครับ
http://www.janes.com/article/63293/china-to-provide-eight-submarines-to-pakistan-by-2028
หนังสือพิมพ์ The News International ได้รายงานการให้ข้อมูลของผู้อำนวยการโครงการเรือดำน้ำกองทัพเรือปากีสถาต่อคณะกรรมธิการกลาโหมของสมัชชาแห่งชาติปากีสถาน ในการเยือนกองบัญชาการกองทัพเรือปากีสถานที่ Islamabad เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า
จีนจะส่งมอบเรือดำน้ำทั้งหมด 8ลำให้กองทัพเรือปากีสถานภายในปี 2028 โดยผู้อำนวยการโครงการเรือดำน้ำปากีสถานยืนยันว่าเรือดำน้่ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างที่จีน โดยจะส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในช่วงกลางปี 2022 และปี 2023
ขณะที่เรือดำน้ำอีก 4ลำหลังจะถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works(KSEW) ในปากีสถานีเองภายใต้ข้อตกลงโครงการถ่ายทอด Technology และจะส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2028
ซึ่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนของปากีสถานยังได้รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ฝึกเรือดำน้ำที่อู่ต่อเรือ KSEW ที่ Karachi ด้วย
กองทัพเรือปากีสถานได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 8ลำ วงเงินประมาณ $5 billion
ซึ่งเรือดำน้ำ S20 นั้นเป็นรุ่นส่งออกมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A (NATO กำหนดรหัส "Yuan") ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
โดยเรือ 4ลำจะดำเนินการสร้างภายในปากีสถาน พร้อมกับที่จะสร้างในอู่ต่อเรือที่จีน 4ลำ ภายใต้โครงการความร่วมมือการถ่ายทอด Technology และการสนับสนุนระบบต่างๆ
ทั้งนี้อู่ต่อเรือ KSEW ปากีสถานนั้นเคยมีประสบการณ์ในการต่อเรือดำน้ำแบบ Agosta 90B หรือเรือดำน้ำชั้น Khalid ทั้ง 3ลำ ที่ 1ลำต่อที่ฝรั่งเศส และอีก 2ลำต่อในปากีสถานมาแล้วครับ
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
กองทัพบกสหรัฐฯควรจะซื้อหรือยกเลิกโครงการเครื่องยิงลูกระเบิด XM25 ที่ไม่มีการพัฒนาต่อแล้ว
DoD IG: Army should buy or cancel XM25, no more development
A soldier aims an XM25 prototype weapon during testing at the Aberdeen Test Center in Maryland. (US Army)
http://www.janes.com/article/63280/dod-ig-army-should-buy-or-cancel-xm25-no-more-development
จเรกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(US Department of Defense Inspector General) ได้แนะนำกองทัพบกสหรัฐว่าควรจะต้องเลือกระหว่างการเดินหน้าหรือยกเลิกโครงการเครื่องลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM25 Counter Defilade Target Engagement(CDTE)
ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯได้เคยนำเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM25 ชุดต้นแบบจำนวนหนึ่งไปทดลองใช้งานในอัฟกานิสถานโดยเป็นส่วนหนึ่งของ 'การประเมินผลปฏิบัติการส่วนหน้า' เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 ถึงเมษายน 2012 และอีกชุดเมื่อเดือนมกราคม 2013
ระบบอาวุธ XM25 เคยเป็นที่นิยมในหน่วยระดับหมู่เนื่องระบบการยิงของอาวุธสามารถลดระยะเวลาในการโจมตีฐานที่มั่นแนวร่วม เพราะกำลังรบไม่ต้องรอการยิงสนับสนุนเพื่อช่วยยิงคุ้มกันในการเข้าโจมตี
อย่างไรก็ตามผลจากการที่โครงการมีความล่าช้าอย่างมาก โดยจเรกลาโหมได้พิจารณาจากการฝึกที่ไม่เพียงพอซึ่งเป็นผลจากการที่ระบบทำงานผิดพลาดหลายครั้ง
ซึ่งครั้งหนึ่งทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บจากกระสุนระเบิดแตกอากาศที่พร้อมยิงในรังเพลิงเกิดจุดชนวนก่อนหลังจากกระสุนอีกนัดเกิดบรรจุเข้ารังเพลิงทั้งที่มีกระสุนในรังเพลิงก่อนแล้วทำให้มีกระสุนในรังเพลิงพร้อมกันสองนัดหรือ double fed
XM25 เป็นระบบเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติขนาด 25mm พัฒนาโดย Alliant Techsystems และ Heckler & Koch ซึ่งต่อยอดจากโครงการระบบอาวุธปืนเล็กยาวรวมกับเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM29 Objective Individual Combat Weapon(OICW) ที่ยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005
โดยเครื่องยิงลูกระเบิด XM25 สามารถทำการยิงใส่กลุ่มเป้าหมายด้วยลูกระเบิดแรงสูงแตกอากาศ(HEAB: High Explosive Airbursting) 25x40mm ที่ตั้งค่าโปรแกรมไว้ให้ระเบิดเมื่อถึงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
แต่ผลจากการตัดงบประมาณและความผิดพลาดในการทำงานของระบบทำให้โครงการมีความล่าช้าจนระบบไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติมอีก จากเดิมที่มีแผนจะนำเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในราวปี 2017 ทำให้ต้องมีการพิจารณาว่าจะเดินหน้าโครงการต่อหรือยกเลิกโครงการครับ
A soldier aims an XM25 prototype weapon during testing at the Aberdeen Test Center in Maryland. (US Army)
http://www.janes.com/article/63280/dod-ig-army-should-buy-or-cancel-xm25-no-more-development
จเรกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(US Department of Defense Inspector General) ได้แนะนำกองทัพบกสหรัฐว่าควรจะต้องเลือกระหว่างการเดินหน้าหรือยกเลิกโครงการเครื่องลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM25 Counter Defilade Target Engagement(CDTE)
ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯได้เคยนำเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM25 ชุดต้นแบบจำนวนหนึ่งไปทดลองใช้งานในอัฟกานิสถานโดยเป็นส่วนหนึ่งของ 'การประเมินผลปฏิบัติการส่วนหน้า' เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 ถึงเมษายน 2012 และอีกชุดเมื่อเดือนมกราคม 2013
ระบบอาวุธ XM25 เคยเป็นที่นิยมในหน่วยระดับหมู่เนื่องระบบการยิงของอาวุธสามารถลดระยะเวลาในการโจมตีฐานที่มั่นแนวร่วม เพราะกำลังรบไม่ต้องรอการยิงสนับสนุนเพื่อช่วยยิงคุ้มกันในการเข้าโจมตี
อย่างไรก็ตามผลจากการที่โครงการมีความล่าช้าอย่างมาก โดยจเรกลาโหมได้พิจารณาจากการฝึกที่ไม่เพียงพอซึ่งเป็นผลจากการที่ระบบทำงานผิดพลาดหลายครั้ง
ซึ่งครั้งหนึ่งทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บจากกระสุนระเบิดแตกอากาศที่พร้อมยิงในรังเพลิงเกิดจุดชนวนก่อนหลังจากกระสุนอีกนัดเกิดบรรจุเข้ารังเพลิงทั้งที่มีกระสุนในรังเพลิงก่อนแล้วทำให้มีกระสุนในรังเพลิงพร้อมกันสองนัดหรือ double fed
XM25 เป็นระบบเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติขนาด 25mm พัฒนาโดย Alliant Techsystems และ Heckler & Koch ซึ่งต่อยอดจากโครงการระบบอาวุธปืนเล็กยาวรวมกับเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ XM29 Objective Individual Combat Weapon(OICW) ที่ยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005
โดยเครื่องยิงลูกระเบิด XM25 สามารถทำการยิงใส่กลุ่มเป้าหมายด้วยลูกระเบิดแรงสูงแตกอากาศ(HEAB: High Explosive Airbursting) 25x40mm ที่ตั้งค่าโปรแกรมไว้ให้ระเบิดเมื่อถึงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
แต่ผลจากการตัดงบประมาณและความผิดพลาดในการทำงานของระบบทำให้โครงการมีความล่าช้าจนระบบไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติมอีก จากเดิมที่มีแผนจะนำเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในราวปี 2017 ทำให้ต้องมีการพิจารณาว่าจะเดินหน้าโครงการต่อหรือยกเลิกโครงการครับ
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ภาพวีดิทัศน์ใหม่เปิดเผยข้อมูลรถถังหลัก Karrar อิหร่านมากขึ้น
Iran's Karrar Main Battle Tank test firing and mobility.
ภาพวีดิทัศน์ใหม่ของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นในอิหร่านได้เผยเปิดชุดภาพเคลื่อนไหวของรถถังหลักแบบใหม่ซึ่งน่าจะเป็นรถถังหลัก Karrar ของอิหร่านมากขึ้น
โดยภาพวิดิทัศน์ใหม่ได้เพิ่มการทดสอบการเคลื่อนที่ของรถถังหลักเพิ่มเติม รวมถึงการทดสอบยิงปืนใหญ่รถถังอันเป็นระบบอาวุธหลักด้วย
แม้ว่าจะเป็นภาพความละเอียดค่อนข้างต่ำแต่ก็เห็นได้ชัดว่ารถถังหลัก Karrar นี้น่าจะมีพื้นฐานการพัฒนามาจากรถถังหลัก T-72 ที่กองทัพบกอิหร่านมีประจำการ
คือรถแคร่ฐานมีล้อกดรับสายพาน6ล้อ สถานีพลขับอยู่ตำแหน่งตรงกลางด้านหน้าของรถ ป้อมปืนเป็นแบบเชื่อมโดยมีสถานีผู้บังคับการรถและสถานีพลยิงในป้อมปืนรวม2นาย รวมมีพลประจำรถ 3นาย
ด้านหน้าและด้านข้างของรถถังหลัก Karrar ในส่วนป้อมปืนและรถแคร่ฐานติดตั้งเกราะเสริมที่น่าจะเป็นเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) ส่วนด้านท้ายรถในส่วนป้อมปืนและท่อไอเสียติดเกราะแบบตะแกรง(Slat Armor)
ซึ่งส่วนใหญ่ดูจะได้รับอิทธิพลในการออกแบบระบบหลักๆจากรถถังหลัก T-90MS ของรัสเซีย และรูปแบบรถและเกราะทรงเหลี่ยมลดการถูกตรวจจับจากรถถังเบาต้นแบบสาธิต PL-01 โปแลนด์
ระบบอาวุธของรถถังหลัก Karrar น่าจะใช้ปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ และมีปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm เช่นเดียวกับรถถังหลัก T-72 และ T-90
รวมถึงป้อมปืน Remote Weapon Station ที่จากภาพน่าจะเป็นปืนกลหนักขนาด 12.7mm หรือ 14.5mm แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกล้องเล็งและระบบควบคุมการยิงในขณะนี้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เกาหลีใต้มีความคืบหน้ามากขึ้น และการพัฒนากระเปาะ Laser ป้องกันตัวสำหรับเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯ
Korea F-35A Program Coming Together
F-35A Lightning II U.S.Air Force (Photo Credit: Courtesy of Lockheed Martin https://www.f35.com/about/variants/f35a)
http://www.defensenews.com/articles/korea-f-35-program-coming-togetherบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $7 million ในการส่งมอบฐานข้อมูล multispectral สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightening II รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take Off and Landing)จำนวน 40เครื่องของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามประกาศขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ (DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น
สัญญาจัดหานี้อยู่รูปแบบโครงการ FMS(Foreign Military Sale) โดยมีกองบัญชาการระบบอากาศนาวีสหรัฐฯ(U.S. Naval Air Systems Command) ซึ่งมีที่ตั้งในมลรัฐ Maryland เป็นผู้รับสัญญา
ตามเอกสารของ DSCA สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการอนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL จำนวน 40เครื่องวงเงิน $7.06 billion จากสหรัฐฯ เมื่อเดือนเมษายน ปี 2013
ซึ่งตามเอกสารเดิมเกาหลีใต้ได้ร้องขอการจัดซื้อ F-35A จำนวน 60เครื่องวงเงิน 10.8 billion แต่ภายหลังได้มีการลดจำนวนเครื่องลงเป็น 40เครื่องในข้างต้นเนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ
ต่อมาเดือนพฤษภาคม ปี 2013 ได้มีการอนุมัติการขายระบบอาวุธสำหรับ F-35 วงเงิน $793 million ให้เกาหลีใต้ประกอบด้วยเช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C-7 274นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X-2 154นัด,
ชุดระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-31 JDAM(Joint Directed Attack Munition) พร้อมระเบิดเจาะเกราะทำลายที่มั่นแข็งแรง BLU-109 2,000lbs 530นัด, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39/B SDB(Small Diameter Bomb) 250lbs 542นัด และระเบิดนำวิถี Laser GBU-12 500lbs 780นัด
Israel’s First F-35 Lightning II Takes Flight
https://www.f35.com/news/detail/israels-first-f-35-lightning-ii-takes-flight
First Japan Air Self Defense Force F-35A Makes First Flight
https://www.f35.com/news/detail/first-japan-air-self-defense-force-f-35a-makes-first-flight
ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศอิสราเอลได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir จำนวน 33เครื่องเมื่อเดือนตุลาคม ปี2010 โดยเครื่องแรกเปิดตัวที่โรงงานของ Lockheed Martin ใน Fort Worth มลรัฐ Texasเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมา
และกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 42เครื่องเมื่อเดือนธันวาคม ปี2011 โดยเครื่องแรกจากชุดแรกที่สั่งจัดหา 28เครื่อง ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2016 ที่ผ่านมา
คาดว่ากองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A จาก Lockheed Martin ภายในปี 2018-2021 ครับ
Northrop Grumman to develop laser pod to protect USAF fighters
While current defensive systems typically divert incoming missiles away from the target aircraft, the SHiELD pod would instead use laser technology to destroy them. Source: US Air Force
http://www.janes.com/article/63185/northrop-grumman-to-develop-laser-pod-to-protect-usaf-fighters
บริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $39.3 million ในการพัฒนาระบบป้องกันตัวเองแบบ Laser สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ
สัญญาดังกล่าวถูกตั้งขึ้นโดยห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFRL: Air Force Research Laboratory) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา
สำหรับโครงการนำระบบสาธิต Laser พลังงานสูงป้องกันตนเอง SHiELD (Self-Protect High Energy Laser Demonstrator) ไปต่อยอดเป็นป้อมปืนวิจัยในผลกระทบทางอากาศ SHiELD หรือ STRAFE(SHiELD Turret Research in Aero-Effects)
Northrop Grumman จะพัฒนาและส่งมอบระบบควบคุมลำแสงขั้นก้าวหน้าสำหรับบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุธ Laser ที่สมบูรณ์เพื่อใช้เป็นกระเปาะทางยุทธวิธีสำหรับเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯ
ตามบันทึกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯผลที่ได้จากโครงการ STRAFE จะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการรบกวนกล้อง Optic ทางอากาศในสภาวะความเร็วเหนือเสียงโดยการเก็บข้อมูลระหว่างสถานการณ์การปะทะที่จำลองขึ้น
ซึ่งคาดว่างานพัฒนานี้จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2021
จุดมุ่งหมายสำคัญของการพัฒนากระเปาะอาวุธ Laser ป้องกันตนเอง SHiELD คือการเพิ่มขีดความสามารถของกำลังเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
อย่าง Boeing F-15 Eagle และ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon ซึ่งจะยังคงประจำการต่อไปอีกหลายสิบปีให้อยู่รอดในการแข่งขันทางการรบในห้วงอากาศได้มากขึ้น
ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ยุคที่5ของกองทัพอากาศสหรัฐฯคือ Lockheed Martin F-22 Raptor และ F-35 Lightning II น่าจะไม่มีการติดตั้งกระเปาะแบบนี้เนื่องจากจะเป็นการหักล้างคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth)ของเครื่องลง
ระบบป้องกันตัวของอากาศยานรบอย่างเครื่องบินขับไล่ในปัจจุบันที่ใช้การต่อต้านระบบอาวุธปล่อยนำวิถีจะเข้าทำลายเป้าหมายโดยใช้วิธีการลวงให้อาวุธปล่อยนำวิถีออกห่างจากเป้าหมาย
เช่น การปล่อยเป้าลวงอย่าง พลุไฟ(Flare) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยความร้อน Infrared หรือกลุ่มแถบโลหะ(Chaff) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีด้วย Radar
การพัฒนากระเปาะ SHiELD ที่ใช้วิธีการยิงแสง Laser พลังงานสูงเข้าทำทำลายอาวุธปล่อยนำวิถีที่เล็งเป้ามายังอากาศยานที่ติดตั้งโดยตรงจากระยะไกลจึงเป็นแนวคิดแห่งอนาคตใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพที่สูงอย่างมากครับ
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลเพื่อเตรียมส่งมอบเข้าประจำการ
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1083831271654766/
ทดลองเรือครั้งที่ 1 "ร.ล.แหลมสิงห์"
ออกเรือแล้ว ทดลองเรือครั้งแรก ระบบขับเคลื่อน เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือ ที่ออกแบบและต่อขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง กองทัพเรือ และ มาร์ซัน ซึ่งต้องบอกได้เลยว่า เป็นเรือตรวจการณ์ปืนฝีมือคนไทย
กำหนดขึ้นระวางประจำการ ห้วงปลายเดือน ก.ย.59
"ไพรี พินาศ" พร้อม
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/videos/1095391873832039/
ร.ล. แหลมสิงห์ ออกทดลองเรือ ครั้งที่ 2 โดยเป็นการทดลองระบบขับเคลื่อน ทั้งแบบ Normal mode / Spilt Mode และ Booster mode โดยยังมีการทดลอง Crash Stop เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทดลองระบบอาวุธ ในห้วงระหว่าง 5-16 ก.ย. นี้
เรือตรวจการณ์ปืนที่ออกแบบและสร้างโดยคนไทย
23 Knots
By Admin WO634
https://www.facebook.com/NavyForLifePage
Thailand's first M58 patrol boat completes sea trials in preparation for delivery
RTN's M58 patrol boat Laemsing (561), during its launch on 25 August 2015. Source: Royal Thai Navy
http://www.janes.com/article/63267/thailand-s-first-m58-patrol-boat-completes-sea-trials-in-preparation-for-delivery
บริษัท Marsun ประเทศไทยได้ให้ข้อมูลกับ Jane's เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคมว่า ได้เสร็จสิ้นชุดการทดลองเรือในทะเลของเรือตรวจการณ์ปืนแบบ M58 patrol boat ลำแรกคือ เรือหลวงแหลมสิงห์ หมายเลข 561
ตามข้อมูลบริษัทชุดการทดลองเรือบริเวณอ่าวไทยช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้นประกอบด้วยการทดสอบความเร็วสูงสุดของเรือ(ข้อมูลเปิดเผยคือ 23knots), การตรวจสอบรัศมีวงเลี้ยวของเรือ, การทดสอบการหยุดเรือแบบ crash stop และการตรวจสอบความคงทนของเรือ เป็นต้น
ซึ่ง ร.ล.แหลมสิงห์เป็นเรือตรวจการณ์ที่ใหญ่ที่สุดที่ออกแบบโดย Marsun โดยได้มีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ และได้มีการย้ายเรือมาดำเนินการสร้างต่อ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ
ร.ล.แหลมสิงห์มีความยาวเรือ 58m ตัวเรือกว้าง 9.3m กินน้ำลึก 2.5m ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar 3516C สามเครื่อง ระวางขับน้ำ 520tons ทำความเร็วได้สูงสุด 28knots พิสัยทำการปกติ 2,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots
ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62mm ที่หัวเรือ, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm ท้ายเรือ และปืนกลหนัก M2 12.7mm ๒กระบอก ซึ่งจะมีการทดลองระบบอาวุธช่วงวันที่ ๕-๑๖ กันยายนนี้
ร.ล.แหลงสิงห์มีกำหนดทำพิธีขึ้นระวางประจำการในราวปลายเดือนกันยายนนี้ ซึ่งคาดว่าเรือจะถูกนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล, การปกป้องคุ้มครองพื้นที่การประมง และการรักษากฎหมายทางทะเลของกองทัพเรือไทยครับ
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สหรัฐฯอนุมัติการส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mark V ให้กาตาร์
US approves fast patrol boats for Qatar
One of the Kuwaiti Mk V fast patrol boats seen during trials in 2011. Source: USMI
http://www.janes.com/article/63203/us-approves-fast-patrol-boats-for-qatar
ตามประกาศขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ (DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้อนุมัติการขายเรือเร็วตรวจการณ์(Fast Patrol Boats) แบบ Mark V จำนวน 5ลำให้กาตาร์ในรูปแบบ FMS( Foreign Military Sale)
โดยมีบริษัท United States Marine Inc(USMI) สหรัฐฯเป็นผู้รับสัญญาหลัก งบประมาณการจัดหาเรือ Mk V ทั้ง 5ลำ รวมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การฝึกและการสนับสนุนรวมเป็นวงเงินประมาณ $124 million
เรือเร็วตรวจการณ์ Mk V ของกองทัพเรือกาตาร์จะติดตั้งกล้อง Infrared พร้อมระบบอาวุธปืนใหญ่กล 27mm และปืนกลหนัก M2 .50cal แต่เอกสารที่ประกาศไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
Mark V Special Operations Craft เป็นเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับสนุนปฏิบัติการของนักทำลายใต้น้ำจู่โจม(U.S.Navy SEALs) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ(United States Naval Special Warfare Command) กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM: United States Special Operations Command)
โดยเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษ Mk V เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งปัจจุบันถูกแทนที่โดยเรือเร็วตรวจการณ์ Mark VI ใหม่ตั้งแต่ปี 2015 แล้ว
มีข้อมูลว่าสหรัฐฯได้ส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V ให้กับบางประเทศเช่นในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอย่าง
กองทัพเรือคูเวตที่มีการอนุมัติการส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V จำนวน 10ลำ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2009 และกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียที่มีการอนุมัติการส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V จำนวน 30ลำ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2013 ครับ
One of the Kuwaiti Mk V fast patrol boats seen during trials in 2011. Source: USMI
http://www.janes.com/article/63203/us-approves-fast-patrol-boats-for-qatar
ตามประกาศขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ (DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้อนุมัติการขายเรือเร็วตรวจการณ์(Fast Patrol Boats) แบบ Mark V จำนวน 5ลำให้กาตาร์ในรูปแบบ FMS( Foreign Military Sale)
โดยมีบริษัท United States Marine Inc(USMI) สหรัฐฯเป็นผู้รับสัญญาหลัก งบประมาณการจัดหาเรือ Mk V ทั้ง 5ลำ รวมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การฝึกและการสนับสนุนรวมเป็นวงเงินประมาณ $124 million
เรือเร็วตรวจการณ์ Mk V ของกองทัพเรือกาตาร์จะติดตั้งกล้อง Infrared พร้อมระบบอาวุธปืนใหญ่กล 27mm และปืนกลหนัก M2 .50cal แต่เอกสารที่ประกาศไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
Mark V Special Operations Craft เป็นเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับสนุนปฏิบัติการของนักทำลายใต้น้ำจู่โจม(U.S.Navy SEALs) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ(United States Naval Special Warfare Command) กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM: United States Special Operations Command)
โดยเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษ Mk V เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งปัจจุบันถูกแทนที่โดยเรือเร็วตรวจการณ์ Mark VI ใหม่ตั้งแต่ปี 2015 แล้ว
มีข้อมูลว่าสหรัฐฯได้ส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V ให้กับบางประเทศเช่นในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอย่าง
กองทัพเรือคูเวตที่มีการอนุมัติการส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V จำนวน 10ลำ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2009 และกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียที่มีการอนุมัติการส่งออกเรือเร็วตรวจการณ์ Mk V จำนวน 30ลำ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2013 ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ลิทัวเนียจัดหารถรบทหารราบล้อยาง Boxer เยอรมนี
Lithuania signs first contract for Boxer IFV
The first photograph released of a Lithuanian Boxer 8x8 in the IFV role and fitted with an Elbit UT-30 Mk 2 turret. Source: Rheinmetall
http://www.janes.com/article/63175/lithuania-signs-first-contract-for-boxer-ifv
ลิทัวเนียได้ลงนามสัญญาจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางแบบ Boxer 8x8 MRAV(Multi-Role Armoured Vehicle) กับองค์การเพื่อความร่วมมือยุทโธปกรณ์ร่วมของยุโรป(OCCAR: Organisation for Joint Armament Cooperation) จำนวน 88คัน วงเงิน 390 million Euros
ซึ่งรถส่วนใหญ่ที่ลิทัวเนียจัดหาจะสร้างในรูปแบบรถรบทหารล้อยาง Boxer IFV(Infantry Fighting Vehicle) และมีจำนวนน้อยที่สร้างในรูปแบบรถที่บังคับการ(CP: Command Post)
โดย OCCAR จะนำสัญญาส่งให้กับ ARTEC ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจร่วมทุนที่จัดตั้งโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) และบริษัท Rheinmetall เยอรมนีผู้ผลิตรถเกราะล้อยาง Boxer ดำเนินการผลิตรถให้ลิทัวเนีย
รถเกราะล้อยาง Boxer จำนวน 88คันสำหรับลิทัวเนียนั้น 53คันจะถูกผลิตโดย KMW และอีก 35คันจะถูกผลิตโดย Rheinmetall ซึ่งจะส่งมอบได้ในปี 2017-2021 โดยรถที่ประจำการในกองทัพลิทัวเนียจะถูกเรียกว่า Vilkas(หมาป่า)
หลังจากที่มีการประเมินป้อมปืนใหญ่กล Rheinmetall Lance 30mm รถรบทหารราบ Boxer IFV ของลิทัวเนียจะติดตั้งป้อมปืนแบบ Elbit UT-30 Mk2 อิสราเอลติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Rafael Spike-LR
ทั้งนี้ลิทัวเนียเป็นลูกค้ารายแรกที่ลงนามสัญญาจัดหารถเกราะล้อยาง Boxer รุ่นรถรบทหารราบ IFV นอกเหนือจากโครงการเริ่มต้นเดิมที่เป็นโครงการร่วมระหว่างเยอรมนีที่สั่งจัดหาขั้นต้น 272คัน และเนเธอร์แลนด์ 200คัน
โดยส่วนใหญ่รถเกราะ Boxer ของเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์เป็นรถที่ถูกสร้างในรูปแบบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel Carrier) โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2015 เยอรมนีได้สั่งจัดหารถเกราะ Boxer เพิ่มอีก 131คันครับ
The first photograph released of a Lithuanian Boxer 8x8 in the IFV role and fitted with an Elbit UT-30 Mk 2 turret. Source: Rheinmetall
http://www.janes.com/article/63175/lithuania-signs-first-contract-for-boxer-ifv
ลิทัวเนียได้ลงนามสัญญาจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางแบบ Boxer 8x8 MRAV(Multi-Role Armoured Vehicle) กับองค์การเพื่อความร่วมมือยุทโธปกรณ์ร่วมของยุโรป(OCCAR: Organisation for Joint Armament Cooperation) จำนวน 88คัน วงเงิน 390 million Euros
ซึ่งรถส่วนใหญ่ที่ลิทัวเนียจัดหาจะสร้างในรูปแบบรถรบทหารล้อยาง Boxer IFV(Infantry Fighting Vehicle) และมีจำนวนน้อยที่สร้างในรูปแบบรถที่บังคับการ(CP: Command Post)
โดย OCCAR จะนำสัญญาส่งให้กับ ARTEC ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจร่วมทุนที่จัดตั้งโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) และบริษัท Rheinmetall เยอรมนีผู้ผลิตรถเกราะล้อยาง Boxer ดำเนินการผลิตรถให้ลิทัวเนีย
รถเกราะล้อยาง Boxer จำนวน 88คันสำหรับลิทัวเนียนั้น 53คันจะถูกผลิตโดย KMW และอีก 35คันจะถูกผลิตโดย Rheinmetall ซึ่งจะส่งมอบได้ในปี 2017-2021 โดยรถที่ประจำการในกองทัพลิทัวเนียจะถูกเรียกว่า Vilkas(หมาป่า)
หลังจากที่มีการประเมินป้อมปืนใหญ่กล Rheinmetall Lance 30mm รถรบทหารราบ Boxer IFV ของลิทัวเนียจะติดตั้งป้อมปืนแบบ Elbit UT-30 Mk2 อิสราเอลติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Rafael Spike-LR
ทั้งนี้ลิทัวเนียเป็นลูกค้ารายแรกที่ลงนามสัญญาจัดหารถเกราะล้อยาง Boxer รุ่นรถรบทหารราบ IFV นอกเหนือจากโครงการเริ่มต้นเดิมที่เป็นโครงการร่วมระหว่างเยอรมนีที่สั่งจัดหาขั้นต้น 272คัน และเนเธอร์แลนด์ 200คัน
โดยส่วนใหญ่รถเกราะ Boxer ของเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์เป็นรถที่ถูกสร้างในรูปแบบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel Carrier) โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2015 เยอรมนีได้สั่งจัดหารถเกราะ Boxer เพิ่มอีก 131คันครับ
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
กองทัพอากาศพม่าประจำการเครื่องบินลำเลียง Y-8F-200 และเครื่องบินฝึกใบพัด Grob G120TP ใหม่
Myanmar Air Force's Y-8F-200 and Grob G120TP commissioned ceremony 22 August 2016.
https://www.facebook.com/thayninga/
วันที่ 22 สิงหาคม 2016 ที่ผ่านมา กองทัพอากาศพม่าได้ทำพิธีรับมอบเครื่องบินลำเลียงแบบ Shaanxi Y-8F-200 จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินฝึกใบพัด Grob G120TP เยอรมนี จำนวน 10เครื่อง เข้าประจำการ ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila เมือง Mandalay
กองทัพอากาศพม่านั้นได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง Y-8D จากจีนเข้าประจำการก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 4เครื่องในช่วงปี 1990s คือหมายเลข 5815,5816,5817,5818 และ 5819
โดยเครื่องบินลำเลียง Y-8F-200 รุ่นใหม่ที่กองทัพอากาศพม่าจัดหาเพิ่มเติม 2เครื่องนี้มีความยาวตัวเครื่องเพิ่มขึ้นอีก 2.2m ทำให้บรรทุกสัมภาระได้มากขึ้น
ส่วนเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นประถม Grob G120TP นั้นกองทัพอากาศพม่าได้สั่งจัดหาจากเยอรมนีจำนวน 10เครื่อง เข้าประจำการเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2015 และจัดหาเพิ่มอีก 10เครื่องรวมเป็น 20เครื่องครับ
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อิหร่านเปิดตัวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ Bavar 373 เครื่องยนต์ไอพ่น Owj และมีแผนเจรจากับรัสเซียเพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ของ Sukhoi
Iran's Bavar 373 Anti-Aircraft Missile Defense Systems.
http://president.ir/fa/94806
Iran's first national Turbojet Engine Owj.
http://www.irna.ir/fa/Photo/3323504/
Iran plans negotiations with Russia on purchase of Sukhoi fighters
Vadim Savitsky/Russian Defense Ministry's Press Office/TASS
Iran's Ministry of Defense the country needs to strengthen its air force
http://tass.com/defense/895279
อิหร่านไม่ต้องการที่จะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศเพิ่มเติมอีก หลังจากการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ S-300 จากรัสเซียซึ่งส่งมอบแล้ว
และการนำระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศแบบ Bavar 373(Bavar ภาษาเปอร์เซีย-ฟาร์ซี แปลว่า "ศรัทธา") ที่พัฒนาเองในประเทศเข้าประจำการ
ดังนั้นกระทรวงกลาโหมอิหร่านจะให้ความสำคัญกับการเจรจากับรัสเซียในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ของ Sukhoi ตามการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehghan ต่อสื่อโทรทัศน์อิหร่านเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา
"เราไม่ต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกลอื่นอีก(เพิ่มเติมจาก S-300 และ Bavar-373) เราไม่มีแผนที่จะจัดหาระบบพวกนี้อีกต่อไป
ดังนั้นวาระการประชุมของกระทรวงกลาโหมอิหร่านจึงได้รวมการหารือร่วมกับรัสเซียในการจัดซื้อเครื่องบิน Sukhoi เราจำเป็นต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กองทัพอากาศของเรา" นายพล Hossein กล่าว
ตามข้อมูลของรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่านการทดสอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ Bavar-373 จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้
"ตามการร้องขอของประธานาธิบดีอิหร่าน (Hassan Rouhani) การทดสอบแรกจะเป็นการสกัดกั้นขีปนาวุธ ถ้าการทดสอบพิจน์ว่าประสบความสำเร็จ ระบบจะเข้าสู่สายการผลิต และการนำเข้าประจำการวางกำลังรบจะเริ่มขึ้นก่อนสิ้นปีนี้" นายพล Hossein กล่าว
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมาที่ Tehran ได้มีงานจัดการแสดงความสำเร็จของอุตสาหกรรมความมั่นคงอิหร่าน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดตัวระบบป้องกันภัยทางอากาศ Bavar 373 ต่อสาธารณชน
จากแหล่งข้อมูลของอิหร่านระบบป้องกันภัยทางอากาศ Bavar 373 เป็นระบบมีมีขีดความสามารถระดับเดียวกับระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 รัสเซีย
ซึ่งในงานดังกล่าวอิหร่านยังได้เปิดตัวเครื่องยนต์ไอพ่น Turbojet แบบ Owj(ภาษาเปอร์เซีย-ฟาร์ซี แปลว่า "จุดจอมฟ้า") ซึ่งอิหร่านพัฒนาสร้างเองในประเทศเป็นครั้งแรกอีกด้วย
อิหร่านได้ลงนามสัญญาจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันทางอากาศ S-300 จากรัสเซียในปี 2007 อย่างไรก็ตามการจัดหานี้ถูกระงับไปเนื่องจากมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2010 ที่ห้ามการส่งออกอาวุธที่ทันสมัยให้อิหร่าน
ต่อมาในเดือนเมษายนปี 2015 ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ได้ยกเลิกการระงับการส่งออกระบบ S-300 ให้อิหร่านโดยมีการเริ่มดำเนินการสัญญาจัดหาอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2015
ตามข้อมูลของ Sergei Chemezov ผู้อำนวยการบริหาร Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียสัญญาการส่งมอบระบบป้องกันทางอากาศ S-300 ให้ิอิหร่านจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin กล่าวก่อนหน้านี้ว่ารัสเซียได้ปฏิบัติตามสัญญาต่ออิหร่านแล้วร้อยละ50
ทั้งนี้่กองทัพอากาศอิหร่านนั้นมีความต้องการที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าที่ประจำการมาก่อนการปฏิวัติปี 1979 หลายแบบ โดยเฉพาะเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงทดแทน F-14A Tomcat ที่อิหร่านเป็นผู้ใช้งานรายเดียวที่ยังคงประจำการอยู่ในปัจจุบัน
โดยที่ผ่านมามีรายงานว่ากองทัพอากาศอิหร่านให้ความสนใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งแบบ Sukhoi Su-30 รัสเซียเพื่อเสริมขีดความสามารถกำลังทางอากาศของตนครับ
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ภาพวีดิทัศน์เปิดเผยรูปที่น่าจะเป็นรถถังหลัก Karrar อิหร่าน
Video Clip show unidentified Tank that be probable Iran's Karrar Main Battle Tank
วีดิทัศน์ภาพความละเอียดต่ำที่เผยแพร่ใน Youtube ข้างต้นเป็นรายการเกี่ยวกับวันแห่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมความมั่นคงอิหร่าน 21 สิงหาคม 2016 ซึ่งแสดงภาพระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่อิหร่านพัฒนาสร้างเองในประเทศหลายระบบ
แต่ภาพหนึ่งที่มีความยาวสั้นมากซึ่งถูกเผยแพร่ออกมาในวิดีทัศน์นี้นั้นแสดงภาพการทดสอบสมรรถนะการเคลื่อนที่ของรถถังหลักแบบใหม่ซึ่งไม่เคยปรากฎให้เห็นมาก่อน
โดยรถถังหลักคันดังกล่าวดูเหมือนจะมีตัวถังรถแคร่ฐานที่มีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-72 ที่กองทัพบกอิหร่านมีใช้งาน และมีป้อมปืนติดเกราะเสริมทรงหลายเหลี่ยมพร้อมปืนใหญ่รถถังแบบทรงเหลี่ยมและป้อมปืนกลหนัก Remote ซึ่งดูจะได้อิทธิพลการออกแบบจากรถถังหลัก T-90AM รัสเซีย และรถถังเบาต้นแบบสาธิต PL-01 โปแลนด์
ทำให้มีนักวิเคราะห์ทางทหารบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่ารถถังหลักใหม่ของอิหร่านที่ปรากฎภาพดังกล่าวอาจจะเป็นรถถังหลัก Karrar ที่มีการกล่าวถึงก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehgan และผู้บัญชาการทหารบกอิหร่าน พลจัตวา Ahmad Reza Pourdastan ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับข่าวที่กองทัพบกอิหร่านอาจจะจัดหารถถังหลัก T-90 จากรัสเซียว่า
อิหร่านได้มีโครงการพัฒนารถถังหลัก Karrar(ภาษาเปอร์เซีย-ฟาร์ซี แปลว่า "ผู้โจมตี") ด้วยตนเองซึ่งมีสมรรถนะเทียบเท่ารถถังหลักชั้นนำของโลกในปัจจุบัน ดังนั้นอิหร่านจึงไม่มีความสนใจที่จะจัดหารถถังหลัก T-90 จากรัสเซีย
โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่ารถถังหลัก Karrar นั้นได้มีการสร้างส่งมอบให้กองทัพอิหร่านทดสอบใช้งานแล้ว และจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้
แต่อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวรถถังหลัก Karrar ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ชัดเจนรวมถึงข้อมูลสมรรถนะและระบบอาวุธหรืออุปกรณ์ที่เป็นทางการใดๆออกมาเลยครับ
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบของ Northrop Grumman สำหรับโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯถูกเปิดเผยภาพ
Northrop T-X prototype revealed on Mojave runway
ScaledComposites Trainer-X prototype, high speed taxi test KMHV NationalAviationDay T-X Northrop WhereIsOrville
https://twitter.com/David_Kern
https://www.flightglobal.com/news/articles/northrop-t-x-prototype-revealed-on-mojave-runway-428674/
สื่อสังคม Online ได้เปิดเผยภาพถ่ายของเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบของบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯซึ่งถูกบันทึกได้ที่สนามบิน Mojave มลรัฐ California สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยมีรายงานเพิ่มเติมว่าเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบดังกล่าวได้ทำการทดสอบการวิ่งบนทางขับด้วยความเร็วสูง(High Speed Taxi)
เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบที่พบภาพนี้มีรหัสทะเบียนเครื่อง N400NT ซึ่งถูกลงทะเบียนตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2015 ถูกสร้างโดยบริษัท Scaled Composites ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ Northrop Grumman Corporation(NGC) ที่มีที่ตั้งใน Mojave
ก่อนหน้านี้ Northrop Grumman ได้เปิดเผยแบบจำลองของเครื่องบินฝึกไอพ่นโครงการ T-X แก่สื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆในการเยี่ยมชมโรงงานของบริษัทที่ Palmdale เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 โดยรายละเอียดของเครื่องถูกปกปิดมาเป็นเวลาหลายเดือน
ตามฐานข้อมูลของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA: Federal Aviation Administration) เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบของ Northrop Grumman นี้รู้จักในชื่อ Model 400 และติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F404-GE-102D กำลังขับ 17,200lbs
ก่อนหน้านี้ Northrop Grumman เคยรวมเป็นหุ้นส่วนกับ BAE Systems สหราชอาณาจักรในการนำเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk ในโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ทดแทน T-38C Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีจำนวนมากกว่า 300เครื่อง
แต่ต่อมาทาง Northrop Grumman ได้ประกาศที่จะเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้น(Clean Sheet) ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ตรงตามความต้องการที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำหนดไว้
โดยจะเห็นได้จากภาพที่ปรากฎว่าเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ Model 400 นี้เป็นเครื่องแบบใหม่ที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 และเครื่องบินขับไล่ F-20 Tigershark ที่เป็นผลงานในอดีตของ Northrop Grumman
อย่างไรก็ตามทาง Northrop Grumman ยังจะต้องทำการแข่งขันกับตัวแทนบริษัทอื่นๆในโครงการ T-X ทั้ง Lockheed Martin/Korea Aerospace Industries T-50A ที่เปิดตัวเครื่องต้นแบบสองเครื่องแล้ว, Raytheon/Leonardo(Alenia Aermacchi) T-100 ซึ่งพัฒนาจาก M-346 ที่เปิดตัวเครื่องต้นแบบแล้ว และ Boeing/SAAB ที่จะเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่
ทั้งนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯเพิ่งออกร่างเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) สำหรับบริษัทที่จะเข้าแข่งขันในโครงการ T-X เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ
ScaledComposites Trainer-X prototype, high speed taxi test KMHV NationalAviationDay T-X Northrop WhereIsOrville
https://twitter.com/David_Kern
https://www.flightglobal.com/news/articles/northrop-t-x-prototype-revealed-on-mojave-runway-428674/
สื่อสังคม Online ได้เปิดเผยภาพถ่ายของเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบของบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯซึ่งถูกบันทึกได้ที่สนามบิน Mojave มลรัฐ California สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยมีรายงานเพิ่มเติมว่าเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบดังกล่าวได้ทำการทดสอบการวิ่งบนทางขับด้วยความเร็วสูง(High Speed Taxi)
เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบที่พบภาพนี้มีรหัสทะเบียนเครื่อง N400NT ซึ่งถูกลงทะเบียนตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2015 ถูกสร้างโดยบริษัท Scaled Composites ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ Northrop Grumman Corporation(NGC) ที่มีที่ตั้งใน Mojave
ก่อนหน้านี้ Northrop Grumman ได้เปิดเผยแบบจำลองของเครื่องบินฝึกไอพ่นโครงการ T-X แก่สื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆในการเยี่ยมชมโรงงานของบริษัทที่ Palmdale เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 โดยรายละเอียดของเครื่องถูกปกปิดมาเป็นเวลาหลายเดือน
ตามฐานข้อมูลของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA: Federal Aviation Administration) เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบของ Northrop Grumman นี้รู้จักในชื่อ Model 400 และติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F404-GE-102D กำลังขับ 17,200lbs
ก่อนหน้านี้ Northrop Grumman เคยรวมเป็นหุ้นส่วนกับ BAE Systems สหราชอาณาจักรในการนำเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk ในโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ทดแทน T-38C Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีจำนวนมากกว่า 300เครื่อง
แต่ต่อมาทาง Northrop Grumman ได้ประกาศที่จะเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้น(Clean Sheet) ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ตรงตามความต้องการที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำหนดไว้
โดยจะเห็นได้จากภาพที่ปรากฎว่าเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ Model 400 นี้เป็นเครื่องแบบใหม่ที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 และเครื่องบินขับไล่ F-20 Tigershark ที่เป็นผลงานในอดีตของ Northrop Grumman
อย่างไรก็ตามทาง Northrop Grumman ยังจะต้องทำการแข่งขันกับตัวแทนบริษัทอื่นๆในโครงการ T-X ทั้ง Lockheed Martin/Korea Aerospace Industries T-50A ที่เปิดตัวเครื่องต้นแบบสองเครื่องแล้ว, Raytheon/Leonardo(Alenia Aermacchi) T-100 ซึ่งพัฒนาจาก M-346 ที่เปิดตัวเครื่องต้นแบบแล้ว และ Boeing/SAAB ที่จะเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่
ทั้งนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯเพิ่งออกร่างเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) สำหรับบริษัทที่จะเข้าแข่งขันในโครงการ T-X เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559
รัสเซียพัฒนารถสายพานลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F สำหรับทหารราบกองทัพเรือ และหวังการส่งออกรถบรรทุกหุ้มเกราะ Typhoon-K ยังต่างประเทศ
Russia develops BT-3F amphibious tracked APC for Naval Infantry
Russian Tractor Plants Concern's BT-3F amphibious tracked armoured personnel carrier (APC). Source: Nikolai Novichkov
http://www.janes.com/article/63059/russia-develops-bt-3f-amphibious-tracked-apc-for-naval-infantry
http://bmpd.livejournal.com/2073620.html
Tractor Plants Concern บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรหนักยานยนต์สายพานรัสเซียได้พัฒนารถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ BT-3F สำหรับใช้งานในหน่วยทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย(Naval Infantry)
"The Tractor Plants Concern ได้เสร็จสิ้นการออกแบบรถสายพานลำเลียง BT-3F APC(Armoured Personnel Carrier) ตามการสั่งจัดหาเพื่อสาธิตในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2016 ที่จัดขึ้นที่นอกมหานคร Moscow ในเดือนกันยายน 2016
รถรุ่นนี้ส่วนหนึ่งอาจจะถูกนำมาแทนที่รถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-80 ของทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย เราคิดว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียจะเข้ามาชมรถใหม่อย่างใกล้ชิดในงานจัดแสดง" แหล่งข่าวภายในอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ Jane's
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า รถสายพานลำเลียง BT-3F มีน้ำหนักพร้อมรบ 18.5tons ตัวรถยาว 7m กว้าง 3.3m สูง 3m กำลังพลประจำรถ 3นาย บรรทุกทหารราบได้ 14นาย
ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 500HP ทำความเร็วบนถนนได้ 70km/h ทำความเร็วขณะลอยในน้ำได้ 10km/h อัตราส่วนกำลังขับต่อน้ำหนัก 26.7hp/t พิสัยทำการ 600km
รถมีเกราะป้องกันระบบมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 4 สามารถป้องกันการยิงจากกระสุนขนาด 14.5x114mm จากปืนกลหนัก KPVT ได้ในระยะ 200m
BT-3F มีพื้นฐานจากแคร่ฐานรถรบทหารราบสายพาน BMP-3 IFV(Infantry Fighting Vehicle) ผลที่ได้คือสายการผลิตและการส่งมอบรถสายพานลำเลียง BT-3F ให้กับกองทัพรัสเซียสามารถตั้งขึ้นในเวลาอันสั้นที่สุดเท่าเป็นไปได้ รวมถึงสามารถสับเปลี่ยนระหว่าง BT-3F APC และ BMP-3 IFV ได้ในระดับสูงด้วย
BT-3F ติดตั้งป้อมปืน Remote(RCWS: Remote Controlled Weapon Station) แบบ DPV-T พร้อมปืนกล PKTM 7.62x54Rmm อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า รถสายพานลำเลียง BT-3F สามารถติดตั้งอาวุธที่พัฒนาใช้ในกองทัพรัสเซียกับป้อมปืน Remote ได้ทุกแบบ
เช่น ปืนกลหนัก 6P49 Kord 12.7x108mm และปืนกลหนัก KPVT 14.5mm เช่นเดียวกับเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ AG-17A 30mm และ AG-40 Balkan 40mm เป็นต้นครับ
Russia hopes to export Typhoon-K armored vehicle to Africa, Mid-East, Asia, Latin America
The Typhoon-K was designed for general purpose and special troops, including peacekeeping forces
Alexey Dityakin/TASS
http://tass.com/defense/894882
Russian Tractor Plants Concern's BT-3F amphibious tracked armoured personnel carrier (APC). Source: Nikolai Novichkov
http://www.janes.com/article/63059/russia-develops-bt-3f-amphibious-tracked-apc-for-naval-infantry
http://bmpd.livejournal.com/2073620.html
Tractor Plants Concern บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรหนักยานยนต์สายพานรัสเซียได้พัฒนารถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ BT-3F สำหรับใช้งานในหน่วยทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย(Naval Infantry)
"The Tractor Plants Concern ได้เสร็จสิ้นการออกแบบรถสายพานลำเลียง BT-3F APC(Armoured Personnel Carrier) ตามการสั่งจัดหาเพื่อสาธิตในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2016 ที่จัดขึ้นที่นอกมหานคร Moscow ในเดือนกันยายน 2016
รถรุ่นนี้ส่วนหนึ่งอาจจะถูกนำมาแทนที่รถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-80 ของทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย เราคิดว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียจะเข้ามาชมรถใหม่อย่างใกล้ชิดในงานจัดแสดง" แหล่งข่าวภายในอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ Jane's
แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า รถสายพานลำเลียง BT-3F มีน้ำหนักพร้อมรบ 18.5tons ตัวรถยาว 7m กว้าง 3.3m สูง 3m กำลังพลประจำรถ 3นาย บรรทุกทหารราบได้ 14นาย
ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 500HP ทำความเร็วบนถนนได้ 70km/h ทำความเร็วขณะลอยในน้ำได้ 10km/h อัตราส่วนกำลังขับต่อน้ำหนัก 26.7hp/t พิสัยทำการ 600km
รถมีเกราะป้องกันระบบมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 4 สามารถป้องกันการยิงจากกระสุนขนาด 14.5x114mm จากปืนกลหนัก KPVT ได้ในระยะ 200m
BT-3F มีพื้นฐานจากแคร่ฐานรถรบทหารราบสายพาน BMP-3 IFV(Infantry Fighting Vehicle) ผลที่ได้คือสายการผลิตและการส่งมอบรถสายพานลำเลียง BT-3F ให้กับกองทัพรัสเซียสามารถตั้งขึ้นในเวลาอันสั้นที่สุดเท่าเป็นไปได้ รวมถึงสามารถสับเปลี่ยนระหว่าง BT-3F APC และ BMP-3 IFV ได้ในระดับสูงด้วย
BT-3F ติดตั้งป้อมปืน Remote(RCWS: Remote Controlled Weapon Station) แบบ DPV-T พร้อมปืนกล PKTM 7.62x54Rmm อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า รถสายพานลำเลียง BT-3F สามารถติดตั้งอาวุธที่พัฒนาใช้ในกองทัพรัสเซียกับป้อมปืน Remote ได้ทุกแบบ
เช่น ปืนกลหนัก 6P49 Kord 12.7x108mm และปืนกลหนัก KPVT 14.5mm เช่นเดียวกับเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ AG-17A 30mm และ AG-40 Balkan 40mm เป็นต้นครับ
Russia hopes to export Typhoon-K armored vehicle to Africa, Mid-East, Asia, Latin America
The Typhoon-K was designed for general purpose and special troops, including peacekeeping forces
Alexey Dityakin/TASS
http://tass.com/defense/894882
รถบรรทุกหุ้มเกราะล้อยาง Typhoon-K (รหัสโรงงาน KAMAZ-53949) จะพร้อมที่จะส่งออกให้ลูกค้าต่างประเทศในเร็วๆนี้ ตามข้อมูลจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ Rosoboronexport รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการส่งออกอาวุธยุทธปกรณ์ของรัสเซีย
โดยมีความเห็นเพิ่มเติมจาก Anatoly Isaikin ผู้อำนวยการบริหาร Rosoboronexport และ Faiz Khafizov ผู้อำนวยการบริหาร Kamaz ผู้ผลิตรถ ที่ได้ลงนามของพวกเขาในสัญญาโครงการร่วมกัน
"โครงการถูกกำหนดไว้ในปี 2017-2018 และจะมีผลเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น Rosoboronexport การทำการตลาดโครงการและออกงานจัดแสดงต่อนานาชาติจะได้รับการปรับเปลี่ยนตาม
การนำเสนอตัวอย่างรถหุ้มเกราะ Typhoon-K รุ่น 4x4 ที่ออกแบบตามความต้องการของลูกค้าต่างประเทศจะมีการส่งมอบในสิ้นปี 2016 นี้" Rosoboronexport ประกาศในการแถลงข่าว
นาย Isaikin ยังเห็นแนวโน้มที่ดีในการทำตลาดรถหุ้มเกราะล้อยาง Typhoon-K ในแอฟริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ลาตินอเมริกา และกลุ่มประเทศเครือจักรภพรัฐอิสระ(CIS)
รถหุ้มเกราะล้อยาง Typhoon-K เป็นรถบรรทุกหุ้มเกราะที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจการใช้งานทั่วไปและกองกำลังพิเศษ ซึ่งรวมถึงภารกิจรักษาสันติภาพ
มีขีดความสามารถในการบรรทุกกำลังพลและสัมภาระ ตัวรถยังสามารถใช้ในการบรรทุกอุปกรณ์ช่างหรืออาวุธได้ตามความต้องการด้วยครับ
โดยมีความเห็นเพิ่มเติมจาก Anatoly Isaikin ผู้อำนวยการบริหาร Rosoboronexport และ Faiz Khafizov ผู้อำนวยการบริหาร Kamaz ผู้ผลิตรถ ที่ได้ลงนามของพวกเขาในสัญญาโครงการร่วมกัน
"โครงการถูกกำหนดไว้ในปี 2017-2018 และจะมีผลเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น Rosoboronexport การทำการตลาดโครงการและออกงานจัดแสดงต่อนานาชาติจะได้รับการปรับเปลี่ยนตาม
การนำเสนอตัวอย่างรถหุ้มเกราะ Typhoon-K รุ่น 4x4 ที่ออกแบบตามความต้องการของลูกค้าต่างประเทศจะมีการส่งมอบในสิ้นปี 2016 นี้" Rosoboronexport ประกาศในการแถลงข่าว
นาย Isaikin ยังเห็นแนวโน้มที่ดีในการทำตลาดรถหุ้มเกราะล้อยาง Typhoon-K ในแอฟริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ลาตินอเมริกา และกลุ่มประเทศเครือจักรภพรัฐอิสระ(CIS)
รถหุ้มเกราะล้อยาง Typhoon-K เป็นรถบรรทุกหุ้มเกราะที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภารกิจการใช้งานทั่วไปและกองกำลังพิเศษ ซึ่งรวมถึงภารกิจรักษาสันติภาพ
มีขีดความสามารถในการบรรทุกกำลังพลและสัมภาระ ตัวรถยังสามารถใช้ในการบรรทุกอุปกรณ์ช่างหรืออาวุธได้ตามความต้องการด้วยครับ
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เรือบรรทุกเครื่องบินจีนที่สร้างเองในประเทศลำแรกใกล้เสร็จสมบูรณ์ โดยมีเรือพิฆาตชั้น Type 052D กำลังสร้างอีก 3ลำ
China's first indigenous aircraft carrier nearing completion
Airbus Defence and Space imagery showing the Type 001A hull in dry dock at Dalian. The hull is largely complete, with just one aircraft elevator, superstructure, and some deck sections left to be added.
Source: CNES 2016, Distribution Airbus DS/ 2016 IHS
http://www.janes.com/article/63026/china-s-first-indigenous-aircraft-carrier-nearing-completion
ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัท Airbus Defence and Space เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดเผยโครงการสร้างเรือที่สำคัญของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy) ที่อู่ต่อเรือ Dalian
ซึ่งรวมถึงการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนสร้างเองในประเทศ และการสร้างเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี Type 052D
โดยภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในส่วนหัวเรือและส่วนประกอบภายนอกว่าการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
พื้นที่ส่วนการประกอบผลิตสองส่วนที่อยู่ติดกับอู่แห้งส่วนใหญ่ถูกนำเอาวัสดุออกไปแล้ว แสดงว่างานการสร้างตัวเรือใกล้จะสิ้นสุดแล้ว โดยยังมีการติดตั้งส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นอยู่ในขณะนี้ เช่น Lift ยกอากาศยานด้านหน้า(forward aircraft elevator)เป็นต้น
ส่วนประกอบของเรือเพิ่มเติมที่รอการติดตั้งอยู่คือในส่วนดาดฟ้ายก(superstructure) สองชิ้นส่วนที่ประกอบด้วยส่วนด้านหน้าและด้านหลังของดาดฟ้ายกสามารรถเห็นได้จากส่วนหนึ่งของพื้นที่ประกอบสร้างชิ้นส่วน
นอกเหนือจากส่วนของการเชื่อมดาดฟ้าซึ่งยังคงรอการถอนสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างภายในแล้ว ดาดฟ้าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในภายนอกอย่างสุดท้ายที่รอการติดตั้ง การปรากฎของชิ้นส่วนดาดฟ้ายกถูกตั้งข้อสังเกตุว่าการติดตั้งน่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้
ภาพถ่ายดาวเทียมจากอู่ต่อเรือ Dalian ในบริเวณอู่แห้งที่เป็นสถานที่สร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ใกล้กันยังปรากฎภาพเรือพิฆาตชั้น Type 052D 3ลำที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างตัวเรืออยู่ โดยตัวเรือลำหนึ่งยังคงอยู่อู่แห้งกับตัวเรืออีกสองลำที่จอดด้างข้างท่าเรือ
เรือลำหนึ่งเมื่อมองจากภาพถูกสร้างเสร็จแล้วและรอการทดสอบในทะเล(DDG-119 Guiyang) ส่วนเรือลำที่สองถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมากำลังทำการติดตั้งส่วนประกอบเพิ่มเติมหลายอย่าง(DDG-120 Chengdu)
เรือที่เทียบท่าทางตอนเหนือสุดของอู่ต่อเรือ ตัวเรือลำที่สองยังขาดการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับและอาวุธ โดยยังไม่เห็นได้ชัดว่าได้ติดตั้งปืนใหญ่เรือ 130mm ที่หัวเรือ และแท่นยิงแนวดิ่ง VLS และระบบตรวจจับหลายอย่างซึ่งรวมถึง Radar Type 366 ที่เหนือสะพานเดินเรือ
คาดว่าเรือพิฆาต Type 052D สามลำที่กำลังที่อู่ต่อเรือ Dalian นี้น่าจะเข้าประจำการในกองเรือทะเลเหนือหรือกองเรือทะเลตะวันออก
DDG-172 Kunming, first of Type 052D Destroyers.(wikipedia.org)
เรือพิฆาตชั้น Type 052D เป็นเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบล่าสุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยมีแผนการสร้างเรือรวมมากกว่า 12ลำขึ้นไป
โดยเรือสี่ลำแรกที่สร้างเสร็จเข้าประจำการแล้วคือ DDG-172 Kunming, DDG-173 Changsha, DDG-174 Hefei และ DDG-175 Yinchuan นั้นถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Jiangnan และเข้าประจำการในกองเรือทะเลใต้ครับ
Airbus Defence and Space imagery showing the Type 001A hull in dry dock at Dalian. The hull is largely complete, with just one aircraft elevator, superstructure, and some deck sections left to be added.
Source: CNES 2016, Distribution Airbus DS/ 2016 IHS
http://www.janes.com/article/63026/china-s-first-indigenous-aircraft-carrier-nearing-completion
ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัท Airbus Defence and Space เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดเผยโครงการสร้างเรือที่สำคัญของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy) ที่อู่ต่อเรือ Dalian
ซึ่งรวมถึงการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนสร้างเองในประเทศ และการสร้างเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี Type 052D
โดยภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในส่วนหัวเรือและส่วนประกอบภายนอกว่าการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
พื้นที่ส่วนการประกอบผลิตสองส่วนที่อยู่ติดกับอู่แห้งส่วนใหญ่ถูกนำเอาวัสดุออกไปแล้ว แสดงว่างานการสร้างตัวเรือใกล้จะสิ้นสุดแล้ว โดยยังมีการติดตั้งส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นอยู่ในขณะนี้ เช่น Lift ยกอากาศยานด้านหน้า(forward aircraft elevator)เป็นต้น
ส่วนประกอบของเรือเพิ่มเติมที่รอการติดตั้งอยู่คือในส่วนดาดฟ้ายก(superstructure) สองชิ้นส่วนที่ประกอบด้วยส่วนด้านหน้าและด้านหลังของดาดฟ้ายกสามารรถเห็นได้จากส่วนหนึ่งของพื้นที่ประกอบสร้างชิ้นส่วน
นอกเหนือจากส่วนของการเชื่อมดาดฟ้าซึ่งยังคงรอการถอนสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างภายในแล้ว ดาดฟ้าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในภายนอกอย่างสุดท้ายที่รอการติดตั้ง การปรากฎของชิ้นส่วนดาดฟ้ายกถูกตั้งข้อสังเกตุว่าการติดตั้งน่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้
ภาพถ่ายดาวเทียมจากอู่ต่อเรือ Dalian ในบริเวณอู่แห้งที่เป็นสถานที่สร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ใกล้กันยังปรากฎภาพเรือพิฆาตชั้น Type 052D 3ลำที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างตัวเรืออยู่ โดยตัวเรือลำหนึ่งยังคงอยู่อู่แห้งกับตัวเรืออีกสองลำที่จอดด้างข้างท่าเรือ
เรือลำหนึ่งเมื่อมองจากภาพถูกสร้างเสร็จแล้วและรอการทดสอบในทะเล(DDG-119 Guiyang) ส่วนเรือลำที่สองถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมากำลังทำการติดตั้งส่วนประกอบเพิ่มเติมหลายอย่าง(DDG-120 Chengdu)
เรือที่เทียบท่าทางตอนเหนือสุดของอู่ต่อเรือ ตัวเรือลำที่สองยังขาดการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับและอาวุธ โดยยังไม่เห็นได้ชัดว่าได้ติดตั้งปืนใหญ่เรือ 130mm ที่หัวเรือ และแท่นยิงแนวดิ่ง VLS และระบบตรวจจับหลายอย่างซึ่งรวมถึง Radar Type 366 ที่เหนือสะพานเดินเรือ
คาดว่าเรือพิฆาต Type 052D สามลำที่กำลังที่อู่ต่อเรือ Dalian นี้น่าจะเข้าประจำการในกองเรือทะเลเหนือหรือกองเรือทะเลตะวันออก
DDG-172 Kunming, first of Type 052D Destroyers.(wikipedia.org)
เรือพิฆาตชั้น Type 052D เป็นเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบล่าสุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยมีแผนการสร้างเรือรวมมากกว่า 12ลำขึ้นไป
โดยเรือสี่ลำแรกที่สร้างเสร็จเข้าประจำการแล้วคือ DDG-172 Kunming, DDG-173 Changsha, DDG-174 Hefei และ DDG-175 Yinchuan นั้นถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Jiangnan และเข้าประจำการในกองเรือทะเลใต้ครับ
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๑๒
http://www.segodnya.ua/regions/kharkov/zavod-im-malysheva-sekrety-i-nasledie-tankovogo-giganta-743002.html
รายงานภาพการเยี่ยมชมโรงงาน Malyshev ล่าสุดของสื่อยูเครนเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคมที่ผ่านมาในข้างต้น
แสดงภาพรถถังหลัก Oplot ที่ประกอบเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้วอย่างน้อย ๕คัน และป้อมปืนที่อยู่ระหว่างการประกอบอย่างน้อย ๑ป้อม รวมถึงการซ่อมปรับปรุงรถถังหลัก T-64 และ T-80 อีกเป็นจำนวนมากด้วย
ซึ่งตามเนื้อหาข่าวเบื้องต้นทางยูเครนยังคงมั่นใจในประสิทธิภาพของระบบรถถังหลักของตนว่ายังเหนือกว่าจีนที่พัฒนารถถังหลักได้เองแต่ต้องพึ่งวิทยาการเครื่องยนต์จากต่างประเทศ อย่างรถถังหลัก Al-Khalid ที่ส่งออกให้ปากีสถานก็ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 6TD ของยูเครน
ทั้งนี้ยังเข้าใจรถถังหลัก BM Oplot ที่ปรากฎภาพในโรงงานน่าจะเป็นรถถังหลัก Oplot-T ในสายการผลิตมาตรฐานตามความต้องการของกองทัพบกไทยอยู่
ก็หวังว่าทางยูเครนยังคงทำการผลิตรถถังหลัก Oplot ส่งมอบให้ไทยได้ครบตามสัญญาทั้งหมด ๔๙คันที่ระบุว่าภายในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖๐(2017) ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)