วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ A140 Atlantico บราซิลเดินทางถึงฐานทัพเรือแล้ว

Brazilian Navy Helicopter Carrier Atlantico Arrived in her Homeport






The Brazilian Navy (Marinha do Brasil) new helicopter carrier Atlantico (A 140) reached Rio de Janeiro, her homeport, on August 25. Picture: Marinha do Brasil
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/august-2018-navy-naval-defense-news/6469-brazilian-navy-helicopter-carrier-atlantico-arrived-in-her-homeport.html


เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ A140 PHM Atlantico ลำใหม่ของกองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) ได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือหลัก Arsenal do Rio de Janeiro(AMRJ) บราซิลแล้วเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา
เดิมเรือลำนี้คือเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter) L12 HMS Ocean ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) มาก่อนแล้ว 20ปี

กองทัพเรือบราซิลได้ทำพิธีประจำการเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ A140 Atlantico เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2018 ณ ฐานทัพเรือ HMNB Devonport ที่ Plymouth สหราชอาณาจักร(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/a140-phm-atlantico.html)
โดยกองทัพเรือบราซิลได้จัดซื้อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean ต่อจากอังกฤษในวงเงิน 381.081 million Brazilian Real($98.76 million) ตามข้อตกลงการขายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/hms-ocean-4.html)

ชุดการจัดหาเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของบราซิลประกอบด้วย Radar ตรวจการณ์สามมิติ Artisan 3D, Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำ KH1007, ปืนใหญ่กล Remote Weapon System แบบ DS30M Mk 2 ขนาด 30mm 4กระบอก และเรือระบายพล Mk 5B จำนวน 4ลำ
อย่างไรก็ตามระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System)ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Mk 15 Block 1B Phalanx 20mm, ระบบป้องกัน Torpedo และปืนกลหกลำกล้องหมุน M134 Minigun 7.62mm ได้ถูกถอดออกจากเรือก่อนจะส่งมอบเรือให้บราซิล

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ A140 PHM Atlantico ได้ถูกนำเข้าประจำการเพื่อทดแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน A12 NAe Sao Paulo ปลดประจำการลง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/hms-ocean-2018.html)
ที่เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Foch กองทัพเรือฝรั่งเศสที่ประจำการครั้งแรกในปี 1963 ที่บราซิลจัดหามาในปี 2000 โดยมีอายุการใช้งานตัวเรือ 55ปี และปัจจุบันอยู่ในสถานะไม่ออกเรือปฏิบัติการแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/sao-paulo.html)

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ A140 Atlantico มีระวางขับน้ำ 21.578tons ความยาวตัวเรือ 203.43m และมีพิสัยทำการ 8,000nmi โดยเรือได้รับการทำงานปรนบัติซ่อมบำรุงโดยบริษัท Babcock และบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรตั้งเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว
ซึ่งกำลังพลประจำเรือบราซิลได้เสร็จสิ้นฝึกการปฏิบัติการภาคทะเลภายใต้โครงการฝึกภาคทะเลนายทหารเรือธง(FOST: Flag Officer Sea Training) ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ก่อนเดินทางออกจาก Plymouth ในวันที่ 1 สิงหาคม 2018 เพื่อกลับบราซิล

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Atlantico จะทำให้กองทัพเรือบราซิลมีขีดความสามารถที่สำคัญในภารกิจการขนส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์, การปฏิบัติการยกพลขึ้นบก, การบัญชาการและควบคุม, การบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม
เรือสามารถปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทางทะเลในภารกิจค้นหาและกู้ภัย, สงครามปราบเรือดำน้ำ, สงครามเรือผิวน้ำ, การขัดขวางทางทะเล, การขนส่งข้ามทะเล, การตรวจการณ์, การจู่โจมทางอากาศ และการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียพัฒนาเครื่องบินลำเลียง CN-235 รุ่นโจมตี Gunship

Indonesia develops gunship variant of CN-235 aircraft
An Indonesian Navy CN-235-220 maritime patrol aircraft on display at Singapore Airshow 2016. PTDI is working on a gunship variant of the aircraft. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/82627/indonesia-develops-gunship-variant-of-cn-235-aircraft

PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียได้เริ่มงานพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีเอนกประสงค์สองเครื่องยนต์ CN-235 ให้เป็นรุ่นเครื่องบินโจมตีและลำเลียง(Gunship) ทางบริษัทได้ยืนยันกับ Jane's
เครื่องบินโจมตีและลำเลียงรุ่นนี้จะมีพื้นฐานจากโครงสร้างของเครื่องบินลำเลียง CN-235-220 ที่สร้างโดย PTDI ในอินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท Airbus สาขาสเปน กำลังถูกเริ่มการพัฒนาในฐานะระบบต้นแบบสาธิต

และทาง PTDI อินโดนีเซียจะทำการตลาดเครื่องบินโจมตีและลำเลียง CN-235 Gunship แก่ลูกค้าที่มีความเป็นไปได้หลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งในตะวันออกกลาง, แอฟริกา, เอเชียกลาง และเอเชียตะวันเฉียงใต้
นอกจากกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian National Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia)เอง กลุ่มชาติ ASEAN ได้มีการจัดหา บ.ลำเลียง CN-235 แล้วหลายประเทศ เช่น บรูไน, มาเลเซีย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police)

เครื่องบินลำเลียง CN-235-220 กำลังจะได้รับการติดตั้งปืนใหญ่อากาศ DEFA 553 ขนาด 30mm ลำกล้องเดียวฝรั่งเศสที่กราบซ้ายด้านหลังของลำตัวเครื่อง
ปืนใหญ่อากาศ DEFA 30mm ดังกล่าวถูกถอดออกมาจากเครื่องบินโจมตี Douglas A-4H Skyhawk สหรัฐฯที่ปลดประจำการจากกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) แล้ว

ปืนใหญ่อากาศ DEFA 553 มีความเร็วปากกระบอกที่ 810m/s และมีอัตราการยิงได้ถึง 1,200นัด/นาที ต่อเป้าหมายทางอากาศและเป้าหมายภาคพื้นดิน รวมถึงยังมีแผนที่จะนำระบบอาวุธทำงานเข้ากับระบบกล้องชี้เป้าหมาย Electro-Optical และ Laser ชี้เป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม PTDI อินโดนีเซียยังไม่ได้ตัดสินใจในตอนนี้ว่าจะเลือกแบบของระบบดังกล่าวจากแหล่งใดที่จะนำมาติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีและลำเลียง CN-235 Gunship ต้นแบบสาธิต

ข้อแตกต่างอื่นของเครื่องบินโจมตีและลำเลียงต้นแบบสาธิต CN-235-220 Gunship ที่เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าที่ผลิตโดย PTDI อินโดนีเซียยังรวมถึงการติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ General Electric CT7-9 แทนเครื่องยนต์ใบพัด GE CT7-7 รุ่นเก่า
CN-235 Gunship ยังได้รับการถูกสร้างโดยมี Wingtip ที่ปลายปีกทั้งสองข้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบินของเครื่องให้ประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น

สำหรับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ที่ปัจจุบันได้ถูกสั่งจัดหาเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy,TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) รวม 11เครื่องนั้น
ถูกคาดว่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณาจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่จำนวน ๓เครื่องของกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการหารือ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)

แต่ด้านกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่มีโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ที่มี CN-235 เป็นหนึ่งใน 4ตัวเลือกนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
ล่าสุดมีรายงานว่ารัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ได้สั่งให้กระทรวงกลาโหมมาเลเซียยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลไปแล้วครับ(http://www.theedgemarkets.com/article/defence-ministry-cancels-maritime-patrol-aircraft-project)

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นาวิกโยธินสหรัฐฯจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ชุดใหม่ 29เครื่อง

Bell receives $510m contract for AH-1Z Viper order for Marine Corps
Bell Helicopter was awarded a $510 million contract to manufacture 29 AH-1Z Viper attack helicopters for the US Marine Corps.
https://www.flightglobal.com/news/articles/bell-receives-510m-contract-for-ah-1z-viper-order-f-451422/


บริษัท Bell สหรัฐฯได้รับการประกาศสัญญาวงเงิน $510 million เพื่อการผลิตเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper จำนวน 29เครื่องในสายการผลิต Lot 15 สำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)
สัญญาดังกล่าวยังรวมวงเงินสำหรับการจัดซื่อวัสดุและส่วนประกอบที่ดำเนินการในระยะยาวสำหรับสายการผลิต Lot 16 เพิ่มเติม 7เครื่อง ตามที่เอกสารแจ้งประกาศสัญญาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯระบุเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2018

สายการผลิต ฮ.โจมตี AH-1Z บางส่วนร้อยละ60 จะดำเนินการสร้างที่โรงงานอากาศยานใน Fort Worth มลรัฐ Texas และที่เหลืออีกร้อยละ40 จะดำเนินการสร้างที่โรงงานอากาศยานใน Amarillo มลรัฐ Texas
คาดว่าเครื่องจะสร้างเสร็จและส่งมอบได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โดยเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z ชุดสุดท้ายถูกคาดไว้ว่าจะได้รับสัญญาสำหรับส่งมอบในปี 2022 ซึ่งเครื่องในสายการผลิต Lot 15 และ Lot 16 จะเป็นการจัดหาครั้งสุดท้ายสำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯเอง

ขณะที่บริษัท Bell ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในตอนนี้ โฆษกของกองทัพเรือสหรัฐฯ Sarah Tate กล่าวว่านาวิกโยธินสหรัฐมีแผนที่ปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z โดยกำลังผลักดันแผนในส่วนระบบไฟฟ้า
เช่นเดียวกับระบบอาวุธเพิ่มเติม, อุปกรณ์ดำรงความอยู่รอดของอากาศยาน, ระบบนำร่อง, ระบบตรวจจับ, และขีดความสามารถในการมองเห็นในสภาพแวดล้อมเลวร้าย(DVE: Degraded Visual Environment)

การสั่งจัดหาล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากที่ Bell ตั้งเป้าที่จะเสร็จสิ้นการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1Y Venom ให้นาวิกโยธินสหรัฐฯภายในสิ้นปี 2018
โดย UH-1Y และ AH-1Z เป็นเฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์รุ่นล่าสุดในตระกูล Bell UH-1 Huey และ Bell AH-1 Cobra ตามลำดับ ที่มีพื้นฐานการพัตนามาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามคือ UH-1 Iroquois และ AH-1G Huey Cobra ที่เป็นรุ่นเครื่องยนต์เดี่ยว

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y และ ฮ.โจมตี AH-1Z รุ่นใหม่มีการใช้ชิ้นส่วนประกอบของเครื่องร่วมกันร้อยละ85 เช่น เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ General Electric T700-GE-401C, ชุดพวงหาง, ชุดใบพัด, ระบบส่งกำลัง, สถาปัตยกรรมระบบ Avionic, ชุดคำสั่งและระบบควบคุม
นาวิกโยธินสหรัฐฯได้สั่งจัดหา UH-1Y และ AH-1Z ตามโครงการปรับปรุง H-1 เพื่อทดแทนและปรับปรุง ฮ.ตระกูล Huey รุ่นสองเครื่องยนต์ที่ประจำอยู่ก่อนหน้าคือ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1N Twin Huey และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1W Super Cobra ตามลำดับ

นอกจากนาวิกโยธินสหรัฐฯที่เป็นผู้ใช้งานหลักแล้ว Bell สหรัฐฯยังประสบความสำเร็จในการส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z Viper แก่ต่างประเทศ
เช่นในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale แก่ปากีสถาน 12เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/mi-35m-ah-1z.html) และบาห์เรน 12เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/bell-ah-1z.html)

บริษัท Bell สหรัฐฯยังคงมองความเป็นไปได้ในการขาย AH-1Z Viper แก่ประเทศในกลุ่มเอเชียและตะวันออกกลางเพิ่มเติมเพื่อคงสายการผลิตของเครื่องไว้ เช่น กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1S
และกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ที่มีอายุการใช้งานมานาน ที่มีการตั้งโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่อย่างน้อย ๖เครื่องครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html)

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียทดสอบชุดเกราะเสริมพลังสำหรับชุดรบทหารยุคอนาคต Ratnik-3

Russia tests ‘robocop’ power armor enabling soldiers to fire machine-guns with one hand
An active powered exoskeleton with integrated electric motors and a storage battery tested in Russia will allow servicemen to accurately hit targets with a machine-gun held with one hand
Marina Lystseva/TASS
http://tass.com/defense/1018735

ชุดเกราะเสริมพลัง Powered Exoskeleton เชิงรุกที่บูรณาการด้วย Mortor ไฟฟ้าและ Battery เก็บพลังงานที่ได้รับการทดสอบในรัสเซียจะทำให้ทหารกองทัพรัสเซียสามารถยิงถูกเป้าหมายด้วยปืนกลที่ถือในมือข้างเดียวได้
หัวหน้านักออกแบบสำหรับระบบพยุงชีพ(Life Support System) ของชุดรบทหาร ณสถาบันวิจัยและพัฒนาการสร้างเครื่องจักรความแม่นยำสูง TsNiiTochMash ผู้รับสัญญาทางกลาโหม Oleg Faustov กล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา

"เราได้ดำเนินการทดลองแล้วสำหรับต้นแบบของชุดเกราะเชิงรุก Exoskeleton มันได้เพิ่มขยายขีดความสามารถทางกายภาพของกำลังพลในกองทัพอย่างแท้จริง
ยกตัวอย่าง ผู้ทดสอบสามารถที่จะยิงปืนกลได้ด้วยมือเพียงข้างเดียวและยิงถูกกลุ่มเป้าหมายด้วยความแม่นยำ" Faustov ให้คำตอบต่อคำถามของผู้สื่อข่าว

ในอนาคตอันใกล้ชุดเกราะเสริมพลัง Exosuit จะทำให้ทหารสามารถบรรทุกเครื่องสนาม อุปกรณ์ และอาวุธได้มากขึ้น เคลื่อนที่ได้ว่องไวขึ้น และบรรลุเป้าหมายการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น หัวหน้านักออกแบบ Faustov กล่าว
อย่างไรก็ตามการขาด Battery ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการยังคงเป็นปัญหาหลักในการสร้างชุดเกราะเสริมพลัง Exo(Battery ในปัจจุบันพลังงานหมดเร็วกว่าระยะเวลาปฏิบัติการที่กองทัพต้องการ) แต่การทำงานปรับแต่งได้กำลังดำเนินการคืบหน้าแล้ว

ประธานคณะกรรมมาธิการทางทหารและวิทยาศาสตร์ของกองกำลังทางบกรัสเซีย(Russian Ground Forces) Alexander Romanyuta
กล่าวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2018 ที่ Patriot Park ใน Kubinka ภาค Moscow ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018 ที่ผ่านมาว่า

ชุดเกราะเสริมพลัง Exoskeleton จะถูกนำไปเสริมเข้ากับชุดรบ 'ทหารยุคอนาคต' รุ่นที่สามแบบ Ratnik-3 ในปี 2025 มีรายงานก่อนหน้านี้ว่าชุดเกราะ Exo ต้นแบบได้ถูกสร้างจาก Titanium
ปัจจุบันชุดรบทหารยุคอนาคตรุ่นที่สอง Ratnik-2 ที่ได้ถูกแจกจ่ายให้กับกองทัพบกรัสเซีย(Russian Army) นั้นใช้ชุดเกราะ Exosuit แบบกลไกลเชิงรับโดยไม่มี Mortor ไฟฟ้า

แม้ว่าชุดเกราะเสริมพลัง Exosuit เชิงกลทางรับของชุดรบ Ratnik-2 จะไม่เพิ่มสมรรถนะทางกายภาพของทหาร แต่มันก็ช่วยให้ลดภาระในการเคลื่อไหวของทหารผู้ใช้งานเมื่อบรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์หนัก
นั่นหมายความว่าน้ำหนักจะถูกแบ่งไปตามส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆจากสายโยงบ่าสำหรับเครื่องสนามหลังที่หนักถึง 50kg ผ่านจุดติดที่เอวและส่วนประกอบของโครง Exoskeleton ตามขาไปสนับสนุนแผ่นรองรับที่รองเท้าครับ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียเปิดตัวรถรบทหารราบ T-15 ติดป้อมปืน 57mm ใหม่ และรถถังหลัก T-14 จะติดปืนใหญ่ 152mm

Russia unveils T-15 HIFV armed with 57 mm cannon

Russia unveiled its T-15 HIFV armed with a 57 mm cannon at the Army 2018 exhibition. Source: IHS Markit/Mark Cazalet
https://www.janes.com/article/82552/russia-unveils-t-15-hifv-armed-with-57-mm-cannon

Russia’s UVZ says ready to create new tank with 152-mm cannon
Russia’s UVZ says ready to create new tank with 152-mm cannon
http://tass.com/defense/1018123

First Armata tanks to arrive for Russian troops in 2018
Russia’s Defense Ministry has signed a contract for the delivery of 132 T-14 tanks and T-15 infantry fighting vehicles
http://tass.com/defense/1018239
https://saidpvo.livejournal.com

รัสเซียได้เปิดตัวรถรบทหารราบหนัก T-15 HIFV(Heavy Infantry Fighting Vehicle) รุ่นใหม่ในตระกูลรถรบสายพาน Armata ที่ติดป้อมปืน Remote ไร้พลประจำป้อมพร้อมปืนใหญ่กลขนาด 57mm
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2018 ที่ Patriot Park ใน Kubinka ภาค Moscow ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา

ป้อมปืนใหญ่กลแบบใหม่ดังกล่าวน่าจะมีพื้นฐานจากป้อมปืนแบบ AU-220M ที่มีการเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ โดยตัวปืนเองมีพื้นฐานเป็นรุ่นที่พัฒนาก้าวหน้าจากปืนใหญ่กล AZP-57 ที่ใช้กับปืนใหญ่ต่อสู้อากาศลากจูง S-60 ขนาด 57mm
ป้อมปืนติดตั้งกล้อง Panramic แบบอิสระของผู้บังคับการรถ และกล้องเล็งพลปืนแบบหมุนได้อิสระ ระบบอาวุธยังประกอบด้วยปืนกลร่วมแกน และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีด้วย laser/คลื่นวิทยุ แบบ 9M120-1 Ataka ที่ด้านขวามือของป้อมปืน 2นัด

ปืนใหญ่กล 57mm สามารถติดปลอกกระจายความร้อนได้ มีกลุ่มระบบตรวจจับหลายชนิดติดตั้งตามส่วนบนของรถแคราฐานและโดยรอบป้อมปืน โดยมีกล้องตรวจจับ optical เพื่อตรวจับภัยคุกคามเช่นการฉายแสง Laser เพิ่มเติมด้วยแผ่น Radar ตรวจับ 6 ระบบ
Radar ขนาดใหญ่ 2ระบบน่าจะเชื่อมกับระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System) Hard-Kill แบบ Afghanit ที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนหน้ารถ Radar ขนาดเล็ก 4ระบบที่เหลือน่าจะถูกใช้กับระบบ Soft-Kill APS ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ Afghanit ให้ครอบคลุมการป้องกันรถครบ 360องศา

รถรบทหารราบ T-15 เป็นรถรบหนึ่งในระบบรถสายพานตระกูล Armata ที่พัฒนาสร้างโดย Uralvagonzavod รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตและพัฒนารถถังหลักของรัสเซีย โดยเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานสวนสนามวัยชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สองที่จัตุรัสแดง Moscow 9 พฤษภาคม 2015
ที่รวมถึงรถถังหลัก T-14 ที่เป็นรถถังหลักยุคอนาคตติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm แบบไร้พลประจำป้อม โดยพลประจำรถ 3นาย(ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง) ประจำอยู่ในสถานีควบคุมหุ้มเกราะแบบ Digital เต็มรูปแบบที่ส่วนหน้าของรถแคร่ฐาน

Uralvagonzavod ซึ่งอยู่ในเครือ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียยังได้เปิดว่า ตนพร้อมที่จะพัฒนาปืนใหญ่รถถังขนาด 152mm ใหม่สำหรับรถถังหลัก T-14 Armata
"มันมีทรัยากรทางเทคนิคเพื่อะสร้างรถถังบนพื้นฐานระบบ Armata การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานคือกระทรวงกลาโหมรัสเซีย" แหล่งข่าวกล่าว

ในงาน Army 2018 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2018 กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ประกาศการลงนามสัญญาจัดหากับ Uralvagonzavod สำหรับการส่งมอบรถถังหลัก T-14 และรถรบทหารราบ T-15 รวม 132คัน
วันนี้สัญญาได้รับการลงนามสำหรับ T-14 และ T-15 จำนวน 132คัน เราจะได้รับมอบรถชุดแรก 9คันในปี 2018 นี้" Alexei Krivoruchko รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าว คาดว่ากองทัพบกรัสเซียจะได้รับมอบครบ 132คัน ภายในปี 2021 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียเปิดตัวแบบเรือบรรทุกเครื่องบินเบาและกำลังพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์

Russia's Krylov Research Center Unveils Light Aircraft Carrier Design
The light multipurpose aircraft carrier design unveiled by Krylov at Army 2018 exhibition in Moscow.

Poster showing an artist impression of the light aircraft carrier at sea

The light aircraft carrier’s air wing consists of 46 aircraft, including 12-14 Su-33 and 12-14 MiG -29K/KUB fighter jets.

Shipborne arms include four Pantsyr-ME CIWS
https://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/august-2018-navy-naval-defense-news/6451-russia-s-krylov-research-center-unveils-light-aircraft-carrier-design.html

Russia working on nuclear-powered aircraft carrier
The Russian Navy has launched work to develop a nuclear propulsion system for a next-generation aircraft carrier
http://tass.com/defense/1018538

ศูนย์วิจัยแห่งรัฐ Krylov(Krylov State Research Center, KGNTs) ได้จัดแสดงแบบจำลองของเรือบรรทุกเครื่องเบาเอนกประสงค์แบบใหม่เป็นครั้งแรก
ณ ส่วนจัดแสดงของ Krylov ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2018 ที่ Patriot Park ใน Kubinka ภาค Moscow ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018

"เรือบรรทุกเครื่องบินเบาเอนกประสงค์ถูกออกแบบมาเพื่อดำรงความคงอยู่ของกำลังรบและอาวุธของกองเรือซึ่งทำการต่อสู้กับข้าศึกในน่าน้ำทะเลสีน้ำเงิน(ทะเลลึก)และทะเลสีเขียว(ทะเลไกลฝั่ง)
โดยเติมเต็มภารกิจป้องกันในการต่อต้านอากาศยานและอาวุธปล่อยนำวิถี เช่นเดียวกับการทำลายเป้าหมายทางอากาศ, ผิวน้ำ, ใต้น้ำ และบนฝั่ง" เอกสารของ Krylov รัสเซียกล่าว

แบบเรือบรรทุกเครื่องบินเบามีระวางขับน้ำปกติที่ 37,000-40,500tons และมีระวางขับน้ำเต็มอัตราที่ 44,000tons มีความยาวเรือ 304m ความยาวแนวเหนือน้ำตามการออกแบบ 260m กว้าง 78m ความกว้างที่แนวเหรือน้ำ 38m และสูง 8.5m
มีความเร็วสูงสุด 28knots ความเร็วมัธยัสถ์ 16knots พิสัยทำการที่ความเร็วมัธยัสถ์ 8,000nmi ระยะเวลาในการปฏิบัติการโดยมีเสบียงอาหารภายในเรืออยู่ที่ 60วัน สามารถปฏิบัติการด้วยอากาศยานได้ในระดับความคงทนทะเลที่ Sea State 7

ระบบขับเคลื่อนหลักประกอบด้วยเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบสองเพลารวมกับระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าบางส่วน สามารถให้กำลังที่ 81,000kW หรือ 11,000SHP
ระบบพลังงานไฟฟ้าประจำเรือประกอบด้วยเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า สามเครื่องให้พลังงานไฟฟ้ารวม 32MW(6.3kW/50Hz)

ระบบอาวุธประจำเรือประกอบระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุนขนาด 30mm 2กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศนำวิถีด้วย Infrared 8นัด แบบ Pantsir-ME 4ระบบ
(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/pantsir-me.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/04/admiral-kuznetsov.html)
ระบบต่อต้านเรือดำน้ำ/Torpedo แบบ Paket ประกอบด้วยแท่นยิง Torpedo เบาขนาด 324mm 4ระบบ แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ 4แท่นยิง เช่นเดียวกับระบบสงคราม Electronic เชิงรุกและเชิงรับที่จะติดตั้งกับเรือ

เรือบรรทุกเครื่องบินเบาสามารถบรรทุกอากาศยานประจำเรือได้รวม 46เครื่อง ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Su-33 จำนวน 12-14เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ MiG-29K/เครื่องบินขับไล่ฝึกสองที่นั่ง MiG-29KUB จำนวน 12-14เครื่อง
เครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศติด Radar ตรวจการณ์พิสัยไกล 4เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Ka-27 Ka-29 และ Ka-31 รวม 12-14เครื่อง คลังอาวุธสำหรับอากาศยานได้ถึง 600tons และคลังเชื้อเพลิงอากาศยานได้ถึง 2,000tons

กองทัพเรือรัสเซียได้เริ่มงานการพัฒนาระบบขับเคลื่อนพลังงานนิวเคลียร์สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคหน้าและได้พร้อมดำเนินการทำงานกับโครงการเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ใหม่แล้ว
หัวหน้าฝ่ายการสร้างเรือกองทัพเรือรัสเซีย พลเรือตรี Vladimir Tryapichnikov กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ Zvezda รัสเซียเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2018

"นี่เป็นประเด็นที่ซับซ้อนมากๆ แน่นอนมันได้มีการเริ่มการทำงานในวันนี้แล้วโดยสำนักออกแบบของ United Shipbuilding Corporation(USC) มันยังได้มีการตัดสินใจโดยอู่เรือตามจัดความสามารถที่จำเป็นเพื่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าว"
พลเรือตรี Tryapichnikov ตอบต่อคำถาว่ากองทัพเรือรัสเซียจำเป็นที่จะต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์หรือไม่ สถาบันวิจัยของกองทัพเรือรัสเซียยังได้มีการทำงานในหัวข้อดังกล่าวแล้ว เขาเสริม

"วันนี้เครื่องยนต์ได้รับการเริ่มต้น(งานวิจัยในการสร้างเครื่องยนต์ได้ถูกเริ่มต้นแล้ว) และวันนี้เรากำลังทำงานอย่างแม่นยำในเรื่องดังกล่าว บางแนวคิดจะได้รับการอนุมัติในอนาคตอันใกล้ แน่นอนมันมีราคาแพงแต่เรือดังกล่าวควรจะถูกสร้างขึ้น
เรือบรรทุกเครื่องบินยุคหน้าควรจะทันสมัยและสามารถที่ประสบความสำเร็จในภารกิจที่เรือได้รับการมอบหมาย การตัดสินใจดังกล่าวจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้" พล.ร.ต.Tryapichnikov กล่าวเน้นย้ำ

ปัจจุบันกองทัพเรือรัสเซียมีเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ประจำการเพียงลำเดียวที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงเรือใหม่ คาดว่าจะกลับเข้าประจำการได้ใหม่ภายในปี 2021 นั่นหมายความว่าขณะนี้รัสเซียไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินที่พร้อมปฏิบัติการ
โดย Admiral Kuznetsov เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดกลางตามแบบที่รัสเซียกำหนดแบบเป็นเรือลาดตระเวนหนักบรรทุกอากาศยาน ซึ่งสำนักออกแบบ Nevskoye เป็นสถาบันวิจัยออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินแห่งเดียวของรัสเซีย

ก่อนหน้านี้ Krylov รัสเซียได้เคยจัดแสดงแบบจำลองเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Project 23000E Shtorm ที่มีระวางขับน้ำ 95,000-100,000tons รองรับอากาศยานประจำเรือได้รวม 80-90เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2015/05/blog-post_16.html)
ตามที่กองทัพเรือรัสเซียเคยกล่าวก่อนหน้า เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ยุคหน้าที่ควรจะมีระวางขับน้ำไม่ต่ำกว่า 70,000tons คาดว่าจะได้รับมอบภายหลังปี 2030 โดย Krylov กล่าวว่ากองทัพเรือรัสเซียควรจะมีเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างน้อย 4ลำครับ

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียเปิดตัวเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NE และ Mi-35M รุ่นปรับปรุงใหม่

Russian rotorcraft maker showcases upgraded attack helicopter at Army-2018 forum

The Mi-28N attack helicopter is designated to provide fire support for forward land troops, motorized infantry and armored units

The modernized Mi-35M attack helicopter with the Vikhr-M anti-tank missile system
https://tass.com/defense/1017999
https://saidpvo.livejournal.com

Russian Helicopters กลุ่มผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซีย(เป็นส่วนหนึ่งของ Rostec กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย) ได้จัดแสดงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28NE 'Night Hunter' รุ่นปรับปรุงใหม่
ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารนานาชาติ Army 2018 ที่ Patriot Park ใน Kubinka ภาค Moscow ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทกล่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2018

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NE รุ่นปรับปรุงใหม่ที่ตั้งประจำที่ในส่วนจัดแสดงนอกอาคารติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบใหม่ 9M123 Khrisantema-V และมีระบบนำวิถีสองช่องทาง
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นรุ่นใหม่นี้มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถเพิ่มพิสัยในการโจมตียานเกราะเป้าหมายได้ถึงระยะยิง 10km

ฮ.โจมตี Mi-28NE รุ่นใหม่ยังสามารถที่จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีด้วย Laser แบบ 9M120M Ataka ระยะยิง 8km รวมถึงความเป็นไปได้ในการสามารถติดตั้งใช้ลูกระเบิดทำลายทางอากาศได้ถึงขนาด 500kg  Russian Helicopters รัสเซียกล่าว
นอกจากนี้ "เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NE ได้มอบทางเลือกในการติดต่อสื่อสารกับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicles) และควบคุมพวกมันได้จากระยะไกล สำหรับเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีวัถุประสงค์ติดระบบสื่อสารแบบพิเศษ" ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Russian Helicopters กล่าว

เครื่องยนต์และใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ยังได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเพื่อเพิ่มความจุและเพิ่มสมรรนะของ ฮ.ในภูมิประเทศเทือกเขาสูงและเขตร้อน การปรับปรุงยังเพิ่มความเร็วเดินทางของเฮลิคอปเตอร์ และขยายขีดความสามารถของมันสำหรับการดำเนินท่าทางการบินแบบผาดแผลงด้วย
"เฮลิคอปเตอร์ได้รับการติดตั้งอาวุธแบบใหม่ที่จะเพิ่มอำนาจการยิงของมันขณะที่ขยายขอบเขตของการประยุกต์ใช้มันจะกระตุ้นให้เกิดความต้องการสำหรับพวกมันอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดระดับโลก" Anatoly Serdyukov ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมกลุ่มอากาศยานของ Rostec รัสเซียกล่าว

Andrei Boginsky ผู้อำนวยการบริหาร Russian Helicopters เคยกล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาโครงการ Mi-28 ได้รับข้อเสนอแนะโดยประสบการณ์ในการใช้ ฮ.โจมตีแบบนี้ปฏิบัติการรบจริง
"งานปรับปรุงความทันสมัยเป็นการเพิ่มขยายขีดความสามารถของ Mi-28NE เป็นอย่างมาก และเปิดโอกาสใหม่สำหรับการส่งมอบส่งออกต่างประเทศ" ผู้อำนวยการบริหาร Russian Helicopters กล่าว

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28N Night Hunter (Mi-28NE เป็นรุ่นส่งออก) ถูกออกแบบมาเพื่อมอบการยิงสนับสนุนให้กำลังรบภาคพื้นดินในการรุกหน้า ทั้งทหารราบยานยนต์ และหน่วยยานเกราะ
Mi-28N มีคุณสมบัติขยายการติดตั้งเกราะป้องกันตัว เพิ่มขีดความสามารถการอยู่รอดในการรบ และติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยทั้งอาวุธนำวิถีและอาวุธไม่นำวิถี ข้อได้เปรียบนี้ช่วยลดความเสียหายของเครื่องจากการรบ ซึ่งมาจากการใช้วัสดุและแนวทางการออกแบบที่ก้าวหน้าที่สุด

Russian Helicopters ยังได้จัดแสดงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35M รุ่นปรับปรุงใหม่ โดยความแตกต่างหลักในรุ่นล่าสุดนี้คือรองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีด้วย Laser แบบ 9K121M Vikhr-M ระยะยิง 10km ซึ่งเป็นอาวุธหลักของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52
ฮ.โจมตี Mi-35M รุ่นใหม่ยังติดตั้งกล้องตรวจการณ์ชี้เป้าหมาย Electro-Optical/Infrared(EO/IR) แบบ OPS-24N-1L(GOES-321MK) ระบบแท่นยิง Strelets สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Igla-S และระบบป้องกันตนเองสงคราม Electronic/เป้าลวง Prezident-S35

สำหรับกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่มีการจัดตั้งโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่อย่างน้อย ๖เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ที่มีอายุการใช้งานมานานนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28NE รัสเซียถูกคาดว่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งเช่นเดียวกับ Ka-52 รวมถึงการเสนอ Mi-35M(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/mi-17-ka-52-mi-35m.html) ซึ่งทั้ง Mil และ Kamov ต่างเป็นสำนักออกแบบที่อยู่ในเครือ Russian Helicopters ครับ

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่าทำการบินเครื่องบินขับไล่ Su-30SM ระหว่างเยือนรัสเซีย

Myanmar Air Force commander flies Su-30SM fighter jet during Moscow visit
The source said the general had flown as second pilot
http://tass.com/defense/1018281

Sukhoi Su-30SM Russian Aerospace Force(https://russianplanes.net/)

ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) พลอากาศเอก Maung Maung Kyaw ได้ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM รัสเซีย
ระหว่างการเยือนนครหลวง Moscow สหพันธรัฐรัสเซียล่าสุดของเขา แหล่งข่าวในภาพอุตสาหกรรมทางทหารรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2018

ตามข้อมูลจากแหล่งข่าว ผู้บัญชาการทหารอากาศพม่าได้ทำการบินเครื่องบินขับไล่ Su-30SM เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2018 ณ สนามบิน Kubinka ทางตะวันตกของ Moscow
แหล่งข่าวกล่าวว่า พล.อ.อ.Kyaw ได้การบินเครื่องบินขับไล่ Su-30SM รัสเซียในตำแหน่งนักบินที่สอง

"นายพล Kyaw ได้รับการผลัดการควบคุมเครื่องจากนักบินที่หนึ่ง ระหว่างการทำการบินพวกเขาแสดงท่าทางการบินผาดแผลงหลายท่าทาง" แหล่งข่าวกล่าว
"นักบินกองทัพอากาศรัสเซียยศเรืออากาศเอกได้ให้คะแนนระดับสูงต่อทักษะการบินของผู้บัญชาการทหารอากาศพม่า และชื่นชมในการปรับตัวเข้ากับเครื่องได้แทบจะทันที นายพล Kyaw ทำการบินได้อย่างมั่นใจและราบลื่น" แหล่งข่าวเสริม

พล.อ.อ.Maung Maung Kyaw ไม่ได้ปกปิดความปิติสุขจากการบินอากาศยาน เขาได้เห็นท้องฟ้ามาหลายต่อหลายครั้งแล้ว เขาตกลงใจที่จะทำการบินกับเครื่องรุ่นนี้ ตามแผนที่กองทัพอากาศพม่ากำลังสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30SM จำนวน 6เครื่อง
พลอากาศเอก Maung Maung Kyaw ได้เดินทางเยือนรัสเซียระหว่างวันที่ 12-18 สิงหาคม 2018 โดยในวันที่ 17 สิงหาคม 2018 เขาได้เข้าพบรองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Alexander Fomin เพื่อหารือด้านความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศ

ในเดือนมกราคม รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Fomin กล่าวว่า ระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergey Shoigu เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2018
พม่าและรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-30SM รัสเซียจำนวน 6เครื่องแก่พม่า(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html)

รัฐบาลรัสเซียไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯต่อกรณีการขายเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่าจะยิ่งทำให้สถานการณ์ความรุนแรงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าเลวร้ายขึ้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30.html)
โดยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม สำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ(OFAC: Office of Foreign Asset Controls) กระทรวงการคลังสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพพม่าและตำรวจพม่าเพิ่มเติม 4นาย และหน่วยรบคือ กองพลทหารราบเบาที่33 และกองพลทหารราบเบาที่99 กองทัพบกพม่า(Myanmar Army, Tatmadaw Kyee)

Su-30SM เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งพหุภารกิจยุคที่ 4+ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vector Control และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่หัวเครื่อง
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัด และสามารถติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Kalashnikov รัสเซียเปิดตัวปืนเล็กยาวจู่โจม AK-308 กระสุน 7.62mm NATO

Kalashnikov gunmaker unveils assault rifle chambered for NATO cartridge

The new assault rifle has a magazine for 20 rounds
http://tass.com/defense/1017934


Kalashnikov Concern introduced a new prototype automatic rifle AK-308
https://kalashnikov.media/video/weapons/kontsern-kalashnikov-predstavil-novyy-opytnyy-avtomat-ak-308

Kalashnikov Group ผู้ผลิตอาวุธปืนประจำการรัสเซียได้เปิดตัวปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่ AK-308 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62mm NATO ตามที่ฝ่ายสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท Kalashnikov Media รายงานเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา
ปืนต้นแบบของ "ปืนเล็กยาวจู่โจม Kalashnikov AK-308 7.62mm จะถูกนำไปแสดงสาธิตในงานประชุม Army 2018" Kalashnikov รัสเซียกล่าว

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และประชุมสัมมนาทางทหาร Army 2018 จัดขึ้นที่ Patriot Park, ภาค Moscow รัสเซียระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018
เป็นงานแสดงอาวุธประจำปีที่ Kalashnikov รัสเซียจะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อาวุธปืนแบบใหม่และยุทโธปกรณ์อื่นๆในเครือของตน

"อาวุธปืนถูกสร้างขึ้นโดยใช้ปืนเล็กยาวจู่โจม AK-103 เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้กระสุนขนาด 7.62x51mm NATO (.308 Winchester) โดยใช้องค์ประกอบและชิ้นส่วนของปืนเล็กยาวจู่โจม AK-12
ณ ขณะนี้กำลังมีการเตรียมการสำหรับดำเนินการทดสอบการยิงของอาวุธปืน" Kalashnikov Group กล่าว

ปืนเล็กยาวจู่โจม AK-308 ใช้ซองกระสุนความจุ 20นัด ตัวปืนมีน้ำหนักพร้อมซองกระสุนเปล่าที่ 4.3kg ตัวปืนมีความยาวโดยรวม 880-940mm สูง 272mm กว้าง 72mm
สามารถติดดาบปลายปืนได้โดยจะมีความยาวเพิ่มเป็น 1045-1105mm มีความยาวเมื่อพับพานท้ายที่ 690mm โดยสามารถปรับตำแหน่งการยืดหดได้ 4ระดับ

ปืนเล็กยาวจู่โจม AK-308 มีความยาวลำกล้อง 415mm ใช้กระสุนขนาด 7.62x51mm NATO ซึ่งเป็นกระสุนมาตรฐานของ NATO ที่ใช้ในปืนเล็กยาวรบ(Battle Rifle) ปืนซุ่มยิง และปืนกลเอนกประสงค์
AK-308 มีศูนย์เล็งคงที่(Fixed Sight) แบบพับได้ และรางติดอาวุธที่ด้านบนของปืน และด้านล่าของปลอกกรองมือสำหรับติดตั้งกล้องช่วยเล็ง และอุปกรณ์เสริมครับ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียกำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง VTOL ใหม่ตามคำแนะนำของ Putin

Russia developing vertical take-off plane on Putin’s instruction
Yak-141 plane/Boris Kavashkin/TASS
Now work is underway to develop conceptual models and prototypes, according to Deputy Prime Minister Yuri Borisov
http://tass.com/defense/1018022

รัสเซียกำลังพัฒนาเครื่องต้นแบบของเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง(Vertical Take-Off and Landing) ที่ออกแบบสร้างใหม่ทั้งหมด ตามคำแนะนำของประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ตามที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Yuri Borisov กล่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2018
"แน่นอนงานนี้ได้ถูกรวมอยู่ในโครงการยุทโธปกรณ์แห่งรัฐและกำลังได้รับการดำเนินการภายใต้คำแนะนำของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตอนนี้งานกำลังดำเนินการเข้าสู่การพัฒนาแบบจำลองแนวคิดและต้นแบบ" รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าว

งานจะมุ่งเน้นไปยังการสร้างอากาศยานแบบใหม่ทั้งหมดแต่ต้นมากกว่าที่การสร้างเครื่องบินที่มีพื้นฐานจากแบบอากาศยานที่มีอยู่แล้วในตอนนี้ Borisov เน้นย้ำ "ไม่ต้องสงสัย นี่คืออนาคตสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินทุกแบบ
และฝูงเครื่องบินแบบใหม่จะเป็นความจำเป็นและข้อกำหนดสำหรับจุดประสงค์วิทยาการที่หลากหลายนี้กำลังจะถูกนำไปใช้สำหรับการมอบขีดความสามารถการขึ้นลงระยะสั้นหรือขึ้นลงทางดิ่งง่ายๆ"

"แนวคิดงานดังกล่าวได้ดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งตั้งปีที่แล้ว(2017) กรอบระยะเวลาได้รับการกำหนดโดยวงจรวิทยาการของการสร้าง(เครื่องบิน)
โดยปกตินี่จะใช้เวลาราว 7-10ปี ถ้าเครื่องบินแบบใหม่นี้จะเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากได้" รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Borisov เสริม

ในปี 2017 รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Borisov ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียได้กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียกำลังหารือกับกลุ่มผู้ผลิตอากาศยานรัสเซีย
เกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง VTOL สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ในอนาคตของกองทัพเรือรัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vtol.html)

เครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่งแบบใหม่ที่มีการแถลงในเวลานั้นจะเป็นเครื่องที่มีการพัฒนาตามหลังเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง Yakolev Yak-141
สำนักออกแบบ Yakolev ได้พัฒนาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจความเร็วเหนือเสียงขึ้นลงทางดิ่ง Yak-141 ตั้งแต่ช่วงกลางปี 1970s โดยทำการบินครั้งแรกในปี 1987

เครื่องบินขับไล่ Yak-141 เคยถูกคาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินประจำเรือลาดตระเวนหนักบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev คือ Novorossiysk และ Baku(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Admiral Gorshkov และปรับปรุงใหม่ขายเข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียในชื่อ INS Vikramaditya)
,เรือบรรทุกเครื่องบิน Tbilisi(ปัจจุบันคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov) และเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ Ulyanovsk(สร้างไม่เสร็จและถูกยกเลิกการสร้างไปในต้นปี 1990s)

เครื่องบินขับไล่ Yak-141 ได้ทำการลงจอดทางดิ่งบนดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Gorshkov ครั้งแรกในปี 1991 ซึ่งในการบินทดสอบต่อมาเครื่องต้นแบบเครื่องหนึ่งเกิดอุบัติเหตุตกขณะทำการลงจอดบนเรือโดยนักบินทดสอบดีดตัวจากเครื่องได้อย่างปลอดภัย
แต่เนื่องจากปัญหาด้านการขาดแคลนงบประมาณโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง Yak-141 จึงถูกปิดตัวลงในปี 2003 ซึ่งนับแต่นั้นมารัสเซียไม่เคยมีการสร้างอากาศยานเครื่องยนต์ไอพ่นขึ้นลงทางดิ่งอีกเลยครับ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียจะลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-57 ภายในสิ้นฤดูร้อน และอินเดียยังเดินหน้าโครงการ FGFA

UAC, Russia’s defense ministry to sign contract for Su-57 planes by end of summer
Regular supplies will start next year, UAC CEO said
http://tass.com/defense/1017791

India, Russia continue joint development of 5th generation fighter jet
"I hope very much our talks will be ultimately crowned by the designing stage and we will develop our joint fifth generation aircraft," UAC CEO said
http://tass.com/defense/1017788

Russian fifth-generation fighter Sukhoi Su-57 prototype T-50-5R (number 055) with 101KS-N targeting pod.(www.strizhi.ru)

United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียและกระทรวงกลาโหมรัสเซียวางแผนที่จะลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 ชุดแรกภายในสิ้นฤดูร้อนนี้
โดยเป็นไปได้ว่าจะมีการลงนามสัญญาในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2018 ที่ Patriot Park, ภาค Moscow ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2018 ประธาน UAC รัสเซีย Yuri Slyusar กล่าวเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา

"ภายในสิ้นฤดูร้อน ผมคิดว่าเป็นไปได้ที่ Patriot Park เราจะลงนามสัญญาจัดหาสำหรับ (Su-57) ชุดแรกกับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย การส่งมอบตามปกติจะเริ่มต้นได้ในปีหน้า"
Slyusar กล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อ Deistvuyushchiye Litsa(นักกิจกรรมทางการเมือง) ในรายการของสถานีโทรทัศน์ Rossiya-1 รัสเซีย

Su-57 เป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นยุคที่5 ที่มีคุณสมบัติวิทยาการตรวจจับได้ยาก(Stealth) ด้วยการใช้วัสดุผสมเป็นจำนวนมาก สามารถทำความเร็วเหนือเสียงเป็นความเร็วเดินทางได้โดยไม่ต้องใช้สันดาปท้าย
ติดตั้งอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าขั้นก้าวหน้าสูงสุดในตัวเครื่องทั้ง Computer สมรรถนะสูง(ที่ถูกเรียกว่านักบินที่สองแบบสมองกล) ระบบ Radar ในส่วนต่างๆของตัวเครื่อง และนวัตกรรมอื่นๆบางส่วนโดยเฉพาะห้องติดอาวุธภายในลำตัวเครื่อง

เครื่องบินขับไล่ Su-57 นี้คาดว่าจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ในปี 2019 โดยเครื่องบินขับไล่ Su-57 ชุดแรกที่จะเป็นชุดนำร่องในการสั่งจัดหาจะมีจำนวน 12เครื่อง
Slyusar ยังกล่าวอีกว่าอินเดียไม่ได้กำลังจะถอนตัวจากโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 FGFA(Fifth Generation Fighter Aircraft) ร่วมกับรัสเซีย

"เรายังคงเดินหน้าหารือกับอินเดียในการร่วมพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ประเด็นนี้ยังไม่ถูกปิด มันมีการกล่าวว่าอินเดียกำลังจะถอนตัวจากโครงการ ไม่ พวกเขายังไม่ถอนตัว
ผมหวังเป็นอย่างมากว่าการพูดคุยของเราจะสำเร็จเสร็จสิ้นโดยขั้นตอนการออกแบบ และเราจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของเราร่วมกัน" ประธาน UAC รัสเซีย กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของสถานีโทรทัศน์ Rossiya-1

มีรายงานจากสื่อก่อนหน้านี้ว่าอินเดียมีแผนที่จะถอนตัวจากโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ร่วมกับรัสเซีย ตามที่องค์การวิจัยและพัฒนาทางกลาโหม(DRDO: Defence Research and Development Organisation) อินเดียอ้างว่า
มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาทุกๆวิทยาการที่ตรงกันอย่างอิสระโดยอินเดียเอง ซึ่งเป็นผลจากความล่าช้าและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่มีมายาวนาน(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/fgfa.html)

ข้อตกลงโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 FGFA ได้รับการลงนามร่วมระหว่างรัสเซีย-อินเดียในปี 2007 โดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียตามความต้องการทางเทคนิคของอินเดีย
โดยมีแผนที่กองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force) จะเป็นลูกค้าเปิดตัวรายแรก และภายหลังจากนั้นยังมีแผนที่จะสร้างส่งออกให้ต่างประเทศด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียกำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นยุคที่5 MiG-41

Russia’s MiG aircraft corporation working on fifth-generation fighter jet
As was reported earlier, the MiG-31 interceptor will be eventually replaced by the MiG-41 aircraft, which is also known as the PAK DP
http://tass.com/defense/1017603

One Kh-47M2 Kinzhal Air-Launched Ballistic Missile being carried by a Mikoyan MiG-31K interceptor over Moscow Victory Day Parade 2018(wikipedia.org)

บริษัท MiG Aircraft Corporation รัสเซียกำลังดำเนินงานพัฒนาเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นยุคที่5 แบบ MiG-41 ตามที่ผู้อำนวยการบริหาร MiG รัสเซีย Ilya Tarasenko กล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2018
"ไม่ นี่ไม่ใช่โครงการในจินตนาการ นี่เป็นโครงการที่มีมายาวนานของ MiG และตอนนี้เรานี่เราเรากำลังดำเนินการทำงานอย่างมุ่งมั่นภายใต้โล่ของ UAC(United Aircraft Corporation) และจะแสดงมันต่อสาธารณะในเร็วๆนี้"

ผู้อำนวยการบริหาร MiG กล่าวในการตอบคำถามเกี่ยวงานของ MiG-41 ตามที่ได้รายงานไปก่อนหน้านี้เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นพิสัยไกล MiG-31 ที่ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ปัจจุบันจะถูกทดแทนด้วย MiG-41
ซึ่งเครื่องบินขับไล่ MiG-41 เป็นที่รู้จักในชื่อโครงการเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นพิสัยไกล PAK DP(Prospective Aviation Complex of Long-Range Interception)(http://aagth1.blogspot.com/2015/08/pak-dp-mig-31.html)

ตามที่อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศรัสเซีย ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสภากลาโหมสหพันธรัฐรัสเซีย Viktor Bondarev กล่าวก่อนหน้า
งานออกแบบการพัฒนาเครื่องต้นแบบทดสอบของเครื่องบินขับไล่ PAK DP ถูกคาดว่าจะเริ่มในปี 2018 นี้

ขณะเดียวกัน Tarasenko ผู้อำนวยการบริหาร MiG กล่าวว่างานวิจัยและพัฒนา และงานต้นแบบทดสอบของเครื่องบินขับไล่อันล้ำยุคนี้ได้ถูกวางแผนที่จะเริ่มต้น "ทันทีในอนาคต"
และการส่งมอบเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น MiG-41 แก่กองทัพรัสเซียคาดว่าจะเริ่มต้นได้ในช่วงกลางปี 2020s

นอกจากนี้เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นพิสัยไกล MiG-41 ยังมีการพิจารณาทั้งรุ่นมีนักบินบังคับและรุ่นอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
โดย Tarasenko เคยกล่าวในการให้สัมภาษณ์สื่อว่า เครื่องบินขับไล่ MiG-41 จะสามารถทำการบินด้วยความเร็วสูงถึง 3.6 MACH ติดตั้งอาวุธ Laser พลังงานสูง และมีเพดานบินสูงไปถึงขอบอวกาศได้

เครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-31 (NATO กำหนดรหัส Foxhound) ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียมาตั้งแต่ปี 1980s และมีกองทัพอากาศคาซัคสถานประเทศเดียวที่มีประจำการนอกจากรัสเซีย
ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเช่นรุ่นเครื่องบินขับไล่ MiG-31K ที่สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic แบบ Kh-47M2 Kinzhal ได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรมาเนียสั่งจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร M142 HIMARS สหรัฐฯชุดแรก

First 18 HIMARS ordered for Romania
The US Army Contracting Command has awarded Lockheed Martin a USD218 million Foreign Military Sales contract for the first 18 M142 HIMARS launchers for Romania. Source: IHS Markit/Patrick Allen
https://www.janes.com/article/82300/first-18-himars-ordered-for-romania


กองบัญชาการทำสัญญากองทัพบกสหรัฐฯ(US Army Contracting Command), คลังสรรพาวุธ Redstone ในมลรัฐ Alabama ได้ประกาศสัญญาแก่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯวงเงิน $218 million ในรูปแบบการขาย Foreign Military Sales (FMS)
สำหรับการส่งมอบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง M142 HIMARS(High Mobility Artillery Rocket System) แก่โรมาเนียชุดแรก 18ระบบ ตามที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2018

สัญญายังครอบคลุมในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการฝึก, อะไหล่ และแผนการเพิ่มขยายและการดัดแปลงปรับปรุงความสามารถของผลิตภัณฑ์
Lockheed Martin สหรัฐฯจะดำเนินงานการผลิตระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร HIMARS ที่โรงงาน Grand Prairie ในมลรัฐ Texas โดยตั้งเป้าที่จะเสร็จสิ้นงานในสิ้นปี 2020

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง M142 HIMARS จำนวน 54ระบบแก่โรมาเนียเมื่อเดือนสิงหาคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/m142-himars.html)
ตามประกาศในเอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DCSA: Defense Security Cooperation Agency) ณ เวลานั้นระบุว่ามีมูลค่าที่วงเงิน $1.25 billion รวมการสนับสนุนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มเติมจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร 54ระบบ โรมาเนียยังได้ร้องขอการจัดหาหัวรบจรวดนำวิถี M31A1 GMLRS(Guided Multiple Launch Rocket Systems) 81นัด กับหัวรบจรวดนำวิถี M30A1 GMLRS 81นัด รวม 162นัด,
อาวุธปล่อยนำวิถีทางยุทธวิธี M57 ATACMS(Army Tactical Missile Systems) 54นัด, จรวดฝึก LCRP(Low Cost Reduced Range) 30นัด และระบบควบคุมการยิงแบบ AFATDS(Advanced Field Artillery Tactical Data Systems) 24ระบบ

เพิ่มจากนี้ยังรวมยานยนต์ส่งกำลังบำรุงคือ รถยนต์บรรทุกใช้งานทั่วไปหุ้มเกราะ M1151A1 HMMWV 15คัน และรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ M1151A1 พลประจำรถ 2นาย 15คัน รวม 30คัน
รถจ่ายกระสุน M1084A1P2 HIMARS RSV(Resupply Vehicles) 54คัน, M1095 MTV Cargo Trailer 54คัน และ M1089A1P2 FMTV Wreckers 10คัน

โรมาเนียนับเป็นประเทศในกลุ่มยุโรปชาติแรกที่จัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง M142 HIMARS โดยปัจจุบันยังไม่มีชาติในยุโรปประเทศใดที่มี คจลก.HIMARS เข้าประจำการ
โดยประเทศที่จัดหาระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS ใช้งานในปัจจุบันมีเช่น จอร์แดน, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ครับ

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ออสเตรเลียสั่งจัดหายานเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนี 211คัน

Australia orders 211 Boxer wheeled armoured vehicles
Australia awarded Rheinmetall an order for 211 Boxer wheeled armoured vehicles on 17 August worth a total of AUD3.3 billion (USD2.4 billion). Source: Rheinmetall
https://www.janes.com/article/82437/australia-orders-211-boxer-wheeled-armoured-vehicles



ออสเตรเลียได้ประกาศสัญญากับบริษัท Rheinmetall เยอรมนีสำหรับการสั่งจัดหายานเกราะล้อยาง Boxer 8x8 จำนวน 211คัน วงเงินรวมมูลค่า A$3.3 billion($2.4 billion)
สัญญาได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2018 ใน Canberra โดยนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Malcolm Turnbull และ Gary Stewart ผู้อำนวยการจัดการบริษัท Rheinmetall Defence Australia(RDA)

บริษัท RDA กล่าวในการแถลงเสริมว่าการส่งมอบรถรบล้อยางลาดตระเวน Boxer CRV(Combat Reconnaissance Vehicle) จะมีขึ้นในระหว่างปี 2019-2026
ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียประกาศเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2018 ว่าได้เลือกยานเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนี(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/boxer-8x8-land-400.html)

ภายใต้โครงการ Project Land 400 Phase 2 สำหรับความต้องการของกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) เพื่อการจัดหารถรบลาดตระเวน CRV ใหม่จำนวนมากกว่า 200คัน
บริษัท RDA ที่เสนอยานเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนีได้แข่งขันกับบริษัท BAE Systems Australia ซึ่งเสนอยานเกราะล้อยาง AMV35(Armoured Modular Vehicle) ร่วมกับหุ้นส่วนคือบริษัท Patria ฟินแลนด์

กองทัพออสเตรเลีย(ADF: Australian Defence Force) จะมีนำยานเกราะล้อยาง Boxer หลายรุ่นเข้าประจำการ โดยรวมรถรุ่นลาดตระเวนจำนวน 133คันจาก 211คัน
ซึ่งยานเกราะล้อยาง Boxer รุ่นลาดตระเวนจะติดตั้งป้อมปืนแบบล้ำยุค LANCE ของ Rheinmetall ที่ติดอาวุธปืนใหญ่กลขนาด 30mm

นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Turnbull กล่าวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่ายานเกราะ CVR ใหม่ ซึ่งจะทดแทนยานเกราะล้อยาง ASLAV(Australian light armoured vehicle) จำนวน 257คันของกองทัพบกออสเตรเลียที่มีอายุการใช้งานมานานจะดำเนินการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลาย
"จากการรักษาความมั่นคงในภูมิภาคและการรักษาสันติภาพจนถึงปฏิบัติการที่มีภัยคุกคามสูง" เขาเสริมว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะลงทุนจำนวนราว A$235 million เพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างของกองทัพบกออสเตรเลียใน Adelaide, Queensland และ Victoria ที่ซึ่งยานเกราะ CRV จะปฏิบัติการ

ตามที่ Jane's ได้รายงานก่อนหน้านี้ โครงการสร้านยานเกราะล้อยาง CRV ของ RDA จะมุ่งเน้นบนการพัฒนาของข้อเสนอศูนย์ยานพาหนะทหาร Military Vehicle Centre of Excellence(MILVEHCOE) ใน Brisbane รัฐ Queensland ซึ่งจะเป็นศูนย์สำหรับสายการผลิตหลักของรถ
Rheinmetall ถูกคาดว่าจะผลิตยานเกราะล้อยาง Boxer CRV ชุดแรกราว 20คันในเยอรมนีซึ่งจะส่งมอบในปี 2019 รถที่เหลือจะถูกสร้างโดยโรงงาน MILVEHCOE ในออสเตรเลียภายใต้การฝึกและถ่ายทอด Technology ครับ

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รถถังเบา Sprut-SDM1 รัสเซียใหม่สร้างความสนใจแก่ลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Russia’s new anti-tank gun evokes customers’ interest in Southeast Asia
Sprut-SD self-propelled tank destroyer
Sergei Bobylev/Russian Defense Ministry Press Office/TASS
This is a unique weapon that has no analogs in the world, Russian state arms seller Rosoboronexport's CEO said
http://tass.com/defense/1017514

Rosoboronexport หน่วยงานจัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลรัสเซียได้เริ่มการเสนอปืนใหญ่ต่อสู้รถถังอัตตาจร Sprut-SDM1 ที่ผลิตโดย Tractor Plants Group แก่ตลาดค้าอาวุธระดับนานาชาติ
โดยมีหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พร้อมแสดงความสนใจของตนในระบบอาวุธใหม่นี้ของรัสเซีย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Rosoboronexport กล่าวเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2018

"นี่เป็นอาวุธอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีแบบอื่นที่เหมือนในโลก Sprut-SDM1 เป็นรถรบสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเบาแบบเดียวในกลุ่มที่มีอำนาจการยิงในระดับเดียวกับรถถังหลัก
มันสามารถยกพลขึ้นบกได้จากเรือและปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืนบนภูมิประเทศที่รถรบแบบเดียวกันเข้าถึงไม่ได้"  Alexander Mikheyev ผู้อำนวยการบริหาร Rosoboronexport กล่าวตามการอ้างจากฝ่ายประชาสัมพันธ์

"Rosoboronexport คาดการขยายความสนใจในผลิตภัณฑ์นี้จากประเทศที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ซับซ้อนทั้งสิ่งกีดขวางจากหนองน้ำ โคลนเลน และภูเขา
โดยเฉพาะบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้แสดงความสนใจใน Sprut-SDM1" Mikheyev กล่าว

Sprut-SDM1 ถูกออกแบบมาเพื่อมอบการยิงสนับสนุนให้กำลังทหารราบ, ต่อสู้ยานเกราะ, ทำลายที่กำบังแข็งแรงและส่วนป้องกันของข้าศึก ดำเนินภารกิจการลาดตระเวนแก่กองทัพ และป้องกันพื้นที่การรบ
Sprut-SDM1 มีจุดประสงค์ในการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในหน่วยทหารราบนาวิกโยธิน, หน่วยยานเกราะ หน่วยยกพลขึ้นบก และหน่วยพลร่ม

Sprut-SDM1 เป็นยานเกราะต่อสู้รถถังที่ติดตั้งอาวุธอันทรงอานุภาพประกอบด้วยปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm ใช้กระสุนแบบเดียวกับรถถังหลัก ป้อมปืน Remote สำหรับปืนกล 7.62mm และปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm
Sprut-SDM1 ยังสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังที่ยิงจากปืนใหญ่รถถังที่ออกมาสำหรับการทำลายเป้าหมายยานเกราะที่ติดตั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armor) ในระยะไกลถึง 5km

Sprut-SDM1 ติดตั้งระบบควบคุมการยิงแบบ Digital รุ่นใหม่ที่มีความทันสมัย สามารถตรวจจับ, พิสูจน์ทราบ และทำลายเป้าหมายที่อยู่ประจำที่และกำลังเคลื่อนที่ ท่ามกลางทัศนวิสัยที่แย่โดยใช้กล้องเล็งพลยิงและผู้บังคับการรถที่มีหลายแบบ
Sprut-SDM1 สามารถเสริมเกราะการป้องกันตัวรถได้ ตัวรถมีน้ำหนักเบาและมีความสามารถในการลอยตัวเคลื่อนที่แบบสะเทินน้ำสะเทินบกเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเคลื่อนข้ามภูมิประเทศสูงได้

Sprut-SDM1 มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบในภูมิประเทศภูเขาสูงและสภาพอากาศในเขตร้อน รวมถึงสามารถทำการยิงขณะรถลอยตัวในน้ำได้ และส่งทางอากาศโดยทิ้งร่มจากเครื่องบินลำเลียงได้
Sprut-SDM1 มีพื้นฐานพัฒนาจากปืนใหญ่ต่อสู้รถถังอัตตาจร 2S25 Sprut-SD ที่เข้าประจำการในกองกำลังพลร่มรัสเซีย(Russian Airborne Troops, VDV)จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้รับการจัดหาเพิ่มเติมจากรัสเซียและยังไม่มีลูกค้าส่งออกต่างประเทศครับ

รัสเซียเปิดตัวเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-22M3M รุ่นปรับปรุงใหม่

New bomber Tupolev-22M3M presented in Kazan




The Tupolev-22M3M was equipped with the newest on-board digital radio-electronic equipment
Egor Aleev/TASS
http://tass.com/defense/1017452


เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกลติดอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นปรับปรุงใหม่ Tupolev Tu-22M3M ได้ถูกเปิดตัวจากสายการผลิต ณ โรงงานสร้างอากาศยาน S.P. Gorbunov ใน Kazan เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2018 ผู้สื่อข่าวของ TASS รายงานจากสถานที่
"Tupolev Tu-22M3M เครื่องต้นแบบทดลองได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้โครงการขนาดใหญ่สำหรับการปรับปรุงเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกลที่ PAO Tupolev กำลังทำงานในตอนนี้ ในขั้นต่อไป Tu-22M3 ชุดแรกที่อยู่ในประจำการจะได้รับการปรับปรุง"
Alexander Konyukhov ผู้อำนวยการบริหาร Tupolev กล่าวในงานพิธีเปิดตัว หลังการจัดแสดง Tu-22M3M จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบภาคพื้นดินและการบินทดสอบ

"กระทรวงกลาโหมรัสเซียจะสร้างการตัดสินใจที่จะปรับปรุงเครื่องที่ประจำการอยู่บนพื้นฐานของผลลัพธ์จากการทดสอบการรับรองร่วมกับรัฐบาล โดยส่วนใหญ่โครงการปรับปรุงจะสร้างความมั่นใจต่อปฏิบัติการของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกลในระยะยาว
และประสิทธิภาพสมรรถนะของภารกิจพวกมัน" Konyukhov กล่าว "ในขั้นตอนการปรับปรุงอย่างเต็มรูปแบบ Tu-22M3M ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าประจำเครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดที่สร้างจากชิ้นส่วนที่ผลิตในรัสเซีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องได้รับการติดตั้งอุปกรณ์นำร่อง, ระบบสื่อสาร และชี้เป้าหมายใหม่ เครื่องยนต์ใหม่และระบบควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงใหม่ และระบบสงคราม Electronic ใหม่" Tupolev กล่าว

การเปลี่ยนอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าร้อยละ80 ได้เพิ่มความแม่นยำในการนำร่องและการควบคุมเครื่องอัตโนมัติ และทำให้การซ่อมบำรุงพวกมันมีความเรียบง่ายและทำได้สะดวกขึ้น
ระบอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าที่ติดตั้งกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22M3M และเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tupolev Tu-160M เป็นแบบเดียวกันและใช้งานร่วมกันได้
"เครื่องที่ปรับปรุงยังติดตั้งระบบแสดงข้อมูลและการควบคุมใหม่พร้อมเครื่องวัด Digital ในห้องนักบิน และมีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์สำหรับสนับสนุนลูกเรือประจำเครื่อง" PAO Tupolev กล่าว

Tupolev Tu-22M3M เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดพหุบทบาทติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี โดยมีปีกแบบปรับมุมลู่ได้ ศักยภาพของเครื่องที่ได้รับการปรับปรุงแล้วยังได้ถูกเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยประสิทธิภาพการรบและรัศมีการรบได้เพิ่มสูงขึ้น
Tu-22M3M ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ชุดแรกจากจำนวน 30เครื่อง จะกลับเข้าประจำการในกองทัพในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ได้ในปี 2021 ตามที่ Yuri Slyusar ประธาน United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียกล่าว
Tu-22M3M จะสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น Kh-32 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบใหม่ และยังรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic ที่น่าจะเป็นแบบ Kinzhal ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ MiG-31K ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตุรกีร่วมมือกับอินโดนีเซียเพื่อสนับสนุนอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV

Turkey, Indonesia support UAV collaboration
Turkish Aircraft Industries (TAI) is engaging with Indonesian industry in support of a potential programme to supply its Anka UAV to the Indonesian armed forces. Source: TAI
https://www.janes.com/article/82381/turkey-indonesia-support-uav-collaboration


Turkish Aerospace ตุรกี(เดิม Turkish Aerospace Industries) ได้ขยายการมีส่วนร่วมของตนกับภาคอุตสาหกรรมการบินและความมั่นคงของอินโดนีเซีย ในการแข่งขันเพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการต่างๆ
รวมถึงโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) ของอินโดนีเซีย

Turkish Aerospace ตุรกี กล่าวในการแถลงว่าในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้น ณ Jakarta เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมาร่วมกับบริษัทอากาศยานและความมั่นคงของอินโดนีเซียนั้น
"เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในความร่วมมือต่อหลายๆโอกาสระดับทวิภาคีที่จะมีขึ้น เช่น การแข่งขันในโครงการจัดหา UAV สำหรับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย"

Turkish Aerospace ตุรกียืนยันว่าในการแข่งขันโครงการจัดหา UAV ตนได้มีการเสนออากาศยานไร้คนขับ MALE UAV แบบ Anka โดยเสริมว่าระบบ Anka UAV
"พร้อมที่จะปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานปลายทางคืออินโดนีเซีย ตามที่จะมีการบูรณาการ...กลุ่มผู้ผลิตของอินโดนีเซียเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของระบบ"

อย่างไรก็ตาม Turkish Aerospace ตุรกีกล่าวว่าโอกาสความร่วมมือจะไม่จำกัดเฉพาะกับระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV
"มันจะเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน, ระยะยาว, Win-Win ซึ่งในทุกๆฝ่ายจะหาโอกาสที่ไปสู่จุดหมายของความก้าวหน้าในธุรกิจของพวกตนในท้องถิ่นและทั่วโลกในระยะกลาง"

ก่อนหน้าในปี 2018 นี้ Arie Wibowo ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตของ PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียกล่าวกับ Jane's ว่า
PTDI อินโดนีเซีย และ TAI ตุรกีได้ใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการพัฒนา Anka UAV ให้ตรงความต้องการของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)

Wibowo กล่าวว่าโครงการควรจะสนับสนุนการถ่ายทอด Technology จากตุรกีแก่อินโดนีเซียเพื่อสนับสนุนการพัฒนาร่วมและการผลิตภายในอินโดนีเซีย
เขาเสริมว่าเมื่อกรอบความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนได้ถูกจัดตั้งขึ้น PTDI อินโดนีเซีย และ Turkish Aerospace ตุรกีจะสร้าง UAV เครื่องต้นแบบที่พร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราได้ภายใน 12เดือน

Wibowo เสริมอีกว่าเมื่อโครงการได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากกลุ่มบริษัทด้านการบินอื่นๆของอินโดนีเซียจะเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทาน
แม้ว่าขอบเขตของการเข้าร่วมดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับว่า กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะมีการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV จำนวนมากเท่าไร

ตามรายงานก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียได้สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ MALE UAV แบบ Wing Loong I จำนวน 4ระบบ จาก Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยจะเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน51(Skadron Udara 51) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ที่เป็นฝูงบิน UAV ผสมซึ่งมีอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar ของบริษัท Aeronautics อิสราเอลอยู่แล้วครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/wing-loong-i-uav-4.html)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ฟิลิปปินส์พิจารณาเงินกู้ของรัสเซียเพื่อสนับสนุนการจัดหาเรือดำน้ำชั้น Kilo

Philippines considers Russian loan to support submarine procurement
Russia has offered the Philippines a soft loan, repayable over several years, to support its potential acquisition of Kilo-class submarines. Source: IHS Markit/Patrick Allen
https://www.janes.com/article/82350/philippines-considers-russian-loan-to-support-submarine-procurement

รัสเซียได้ให้การเสนอชุดสนับสนุนทางเศรษฐกิจใหม่แก่ฟิลิปปินส์เพื่อสนับสนุนความเป็นไปได้ในการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo)
Arsenio Andolong หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา

Arsenio Andolong กล่าวว่าข้อเสนอได้ถูกเสนอต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์เมื่อเร็วๆนี้และประกอบด้วยเงินกู้ผ่อนปรนที่สามารถจะจ่ายเงินคืนได้ในช่วยระยะเวลาหลายปี
เขายังเน้นว่าการกู้ยังไม่ได้มีการเห็นชอบแต่กำลังได้รับการพิจารณาโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ตามที่มองการจะเสริมขีดความสามารถใต้น้ำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy)

"ข้อเสนอนี้ได้ถูกเสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียได้กล่าวว่าถ้าเราต้องการเงินทุน(สำหรับการจัดหาเรือดำน้ำ) เราสามารถเลือกสำหรับเงินกู้ผ่อนปรนที่จะจ่ายเงินได้เป็นเวลาหลายช่วงปี เรากำลังพิจารณาข้อเสนอ ยังไม่มีการตกลงเห็นชอบใดๆทั้งสิ้น" Andolong กล่าว
ข้อเสนอการกู้ใหม่มีขึ้นในเวลาอันสั้นหลังกองทัพเรือฟิลิปปินส์ยืนยันว่ากำลังหารือกับกองทัพเรือรัสเซียในกรอบบันทึกความเข้าใจที่มีศูนย์กลางบนการส่งมอบการฝึกและสนับสนุนเรือดำน้ำ(http://aagth1.blogspot.com/2018/08/kilo.html)

โฆษกกองทัพเรือฟิลิปปินส์ นาวาโท Jonathan Zata ยังยืนยันในความเห็นต่อสำนักข่าว Philippine News Agency เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า
ฟิลิปปินส์กำลังมองไปที่รัสเซียในฐานะ "แหล่งที่มาซึ่งเป็นไปได้" ของเรือดำน้ำ และนั่นยังคงรอข้อตกลงที่ควรจะสนับสนุนทางเทคนิคและการฝึกปฏิบัติสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์

เจ้าหน้าที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์ยังได้ถูกเชิญโดยอู่ต่อเรือของรัสเซียเพื่อสังเกตการณ์โครงการสร้างเรือดำน้ำ โฆษกกองทัพเรือฟิลิปปินส์กล่าว
โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ล่าสุดได้ถูกเร่งขึ้นโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ และกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์คาดว่าจะตัดสินการจัดหาได้ภายในปี 2019

ซึ่งน่าจะมีการจัดหาเรือดำน้ำถึง 3ลำที่ก่อนหน้านี้มีกำหนดการสำหรับช่วงปี 2023-2027 ภายใต้แผนปรับปรุงความทันสมัยกองทัพฟิลิปปินส์ third horizon
แต่ขณะนี้ได้ถูกปรับย้ายให้เร็วขึ้นเป็นช่วงปี 2018-2022 ในแผน second horizon ครับ

สรุปผลการแข่งรถถัง Tank Biathlon 2018 ของชาติ ASEAN พม่า เวียดนาม ลาว










International Army Games 2018 Tank Biathlon 2018 T-72B3 Myanmar team in First stage Individual race taked 16th place result 1hour 54minute 23second.(TV Zvezda)







International Army Games 2018 Tank Biathlon 2018 T-72B3 Vietnam team in First stage Individual race taked 17th place result 2hour 12minute 7second.(TV Zvezda)

No.3 race 1st place Armenia Team2, 2nd place Kyrgyzstan Team1, 3rd place Myanmar Team1 and 4th place Vietnam Team1

No.9 race 1st place Kyrgyzstan Team2, 2nd place Armenia Team1, 3rd place Myanmar Team2 and 4th place Vietnam Team2

No.15 race 1st place Kyrgyzstan Team3, 2nd place Armenia Team3, 3rd place Myanmar Team3 and 4th place Vietnam Team3







International Army Games 2018 Tank Biathlon 2018 T-72B3 Laos team in First stage Individual race taked 18th place result 2hour 27minute 40second.(TV Zvezda)

No.6 race of 1st place Venezuela Team1, 2nd place Mongolia Team1, 3rd place Laos Team1 and 4th place Angola Team1

No.12 race 1st place Mongolia Team2, 2nd place Venezuela Team2, 3rd place Laos Team2 and 4th place Angola Team2

No.18 race 1st place Mongolia Team3, 2nd place Venezuela Team3, 3rd place Angola Team3 and 4th place Laos Team3


ผลการแข่งขันรถถังหลักนานาชาติ Tank Biathlon 2018 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางทหารนานาชาติ Army Games 2018 ที่จัดขึ้นที่รัสเซีย โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจบลงในวันที่ 11 สิงหาคม 2018 นั้น
การแข่ง Tank Biathlon 2018 ผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือทีมรัสเซียที่ใช้รถถังหลัก T-72B3 เช่น อันดับสองคือทีมจีนที่ใช้รถถังหลัก Type 96B ของตนเอง และอันดับที่สามคือทีมเบลารุส

การแข่งขันรถถังหลักนานาชาติ Tank Biathlon 2018 ปีนี้เป็นครั้งแรกที่มีชาติ ASEAN สองประเทศเข้าร่วมการแข่งเพิ่มเติมจากทีมลาวที่เข้าร่วมการแข่งเป็นปีที่สอง คือทีมพม่า และทีมเวียดนาม
โดยทั้งทีมพม่า ทีมเวียดนาม และทีมลาว ต่างใช้รถถังหลัก T-72B3 ที่ยืมจากรัสเซียมาใช้ในการแข่งทั้งสามทีม

ผลการแข่งของรถถังสามชาติ ASEAN ในแบ่งเป็นสามทีมในสามรอบสนามแข่ง คือ พม่าและเวียดนามแข่งร่วมกับอาร์เมเนียและคีร์กีสถาน กับลาวแข่งร่วมกับเวเนซุเอลา, มองโกเลีย และแองโกลา
ผลการการแข่งเพื่อคัดเลือก 12ทีมเพื่อเข้ารอบ Semi-Final นั้น คะแนนรวมทีมพม่าได้อันดับที่16, ทีมเวียดนามได้อันดับที่17 และทีมลาวได้อันดับที่18 ไม่ผ่านคัดเลือกทั้งสามประเทศ

ทีมพม่านั้นดูจะมีความได้เปรียบตรงที่กองทัพบกพม่า(Myanmar Army) เองมีรถถังหลัก T-72S ประจำการอยู่แล้ว ขณะที่ทีมเวียดนามนั้นกองทัพประชาชนเวียดนาม(People's Army of Vietnam) กำลังอยู่ระหว่างการรอรับมอบรถถังหลัก T-90S จากรัสเซีย
และทีมลาวที่กองทัพบกประชาชนลาว(Lao People's Army)ยังไม่มีรถถังหลักตระกูล T-72 ประจำการแม้จะลงแข่งเป็นปีที่สองแล้วก็ตาม

ซึ่งผลการแข่งแม้ว่าทีมของแต่ละประเทศจะสามารถใช้ปืนใหญ่รถถัง 125mm ยิงเป้าหมายรถถังหลัก 3เป้าได้เป็นส่วนมากแต่ก็มีข้อผิดพลาดที่ทำให้บางทีมยิงเป้าไม่ถูก หรือไม่สามารถเก็บแต้มในการใช้ปืนกลหนัก 12.7mm ยิงเป้าเฮลิคอปเตอร์ หรือปืนกลร่วมแกน 7.62mm ยิงเป้าทหารราบ
ประกอบกับยังมีข้อบกพร่องในการทำความเร็วในการวิ่งของสนามที่ยังไม่เร็วมากพอที่จะแข่งกับทีมประเทศคู่แข่งที่มีความชำนาญประสบการณ์กว่า แต่สำหรับทีมพม่า ทีมเวียดนาม และทีมลาวแล้ว ประสบการณ์ในการแข่งครั้งนี้นับเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจมากครับ