วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ F-35B สหรัฐฯปฏิบัติการบินครั้งแรกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth อังกฤษ

With historic first F-35B landings on HMS Queen Elizabeth, the UK is back in the saddle of carrier aviation




Royal Navy sailors await orders to unchain an F-35B sitting on the flight deck of the HMS Queen Elizabeth, the U.K. newest aircraft carrier conducting developmental testing off of the United States.
https://www.defensenews.com/breaking-news/2018/09/28/with-historic-first-f-35b-landings-on-hms-queen-elizabeth-the-uk-is-back-in-the-saddle-of-carrier-aviation/





วันที่ 25 กันยายน 2018 ณ มหาสมุทร Atlantic ห่างจากชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ เรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ระวางขับน้ำ 65,000tons ราคา 3 billion pound sterling ได้สร้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งใหม่
เมื่อ นาวาโท Nathan Gray ราชนาวีอังกฤษ และ นาวาอากาศตรี Andy Edgell กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(Royal Air Force) ได้นำเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ ลงจอดและบินขึ้นจากดาดฟ้าบินของเรือครั้งแรก
ทั้งสองนายเป็นนักบินของสหราชอาณาจักรชุดแรกที่ทำการลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษในรอบ 8ปี เป็นการนำกองทัพเรือสหราชอาณาจักรเริ่มต้นขั้นตอนทดลองการพัฒนาที่มีระยะเวลา 2เดือน(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35b-hms-queen-elizabeth-hms-ocean.html)

เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth ซึ่งได้รับการสั่งจัดหาในปี 2008 และเข้าประจำการเมื่อเดือนธันวาคมปี 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/hms-queen-elizabeth.html)
การลงจอดบนดาดฟ้าบินของเครื่องบินขับไล่ F-35B นับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรในกลับมามีขีดความสามารถเรือบรรทุกเครื่อง และเป็นการปฏิเสธถึงปัญหาด้านกำลังรบทางเรือที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/blog-post_22.html)
โดยการทำงานร่วมกับนักบินทดสองของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps) ที่สถานีอากาศนาวี Naval Air Station Pax River เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth จะเดินทางกลังอังกฤษในปีหน้าหลังจากที่มีการทดสอบและรับรองการฝึกนักบินใหม่บนเรือแล้ว

แต่สำหรับตอนนี้เป้าหมายคือการจำกัดการทดลองเพื่อทำความเข้าใจในค่าวงจำกัดของลมและสภาพอากาศที่จะปลอดภัยสำหรับการลงจอดของเครื่องบินขับไล่ F-35B
"สำหรับผมความสำคัญของเรื่องนี้คือเป็นอีกครั้งที่เราได้รับการจัดตั้งองค์ประกอบการบิน(flight envelope)โดยนักบินทดสอบ ซึ่งทำให้เราสามารถปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัย
จากนั้นผมสามารถเริ่มนำเหล่านักรบในแนวหน้าของผมเข้าไปในการเริ่มต้นการสร้างกำลังด้านขีดความสามารถการรบสงครามได้" พลอากาศตรี Harvey Smyth กองทัพอากาศอังกฤษให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่ขึ้นมาบนเรือ

ในสหราชอาณาจักรเหตุการณ์นี้ได้เป็นการฉลองสำหรับรัฐบาลสหราชอาณาจักร "เรือรบที่ใหญ่ที่สุดในปะวัติศาสตร์อังกฤษได้เข้าร่วมกำลังรบด้วยเครื่องบินขับไล่ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก นี่คือเครื่องหมายแห่งการกำเนิดใหม่ของอำนาจการโจมตีอย่างเด็ดขาดของเราจากทะเลทุกแห่งในโลก
ประวัติศาสตร์การลงจอดครั้งแรกบนดาดฟ้าเรือ HMS Queen Elizabeth เป็นเหตุการณ์อนุสรณ์ในความภาคภูมิใจของประวัติศาสตร์ทางทหารของประเทศเรา มันยังเป็นการแถลงการถึงการป้องปรามของอังกฤษเพื่อส่งเสริมสันติภาพและหลีกเลี่ยงสงคราม"
Gavin Williamson รัฐมนตรีกลาโหมสหราชอาณาจักรแถลง ตามที่กองทัพเรือสหรัฐฯ(U.S. Navy) และชาติพันธมิตรตะวันตกเข้าร่วมสงครามปราบปรามผู้ก่อการร้ายมานานกว่าสองทศวรรษ การถือกำเนิดใหม่ของเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษจึงถือเป็นเหตุการสำคัญที่ไม่อาจจะมองข้ามได้

เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ลำที่สอง R09 HMS Prince of Wales ซึ่งมีกำหนดจะเข้าประจำการในปี 2020 เป็นสัญญาณที่จำเป็นต่อบรรเทาสถานการณ์ความมั่นคงที่กำลังดำเนินตามแนวทาง(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/hms-prince-of-wales-f-35b.html)
"การเพิ่มขึ้นในความสำคัญของทะเล Atlantic เหนือ และ Mediterranean การมีขีดความสามารถจากเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือสหราชอาณาจักร 2ลำ เพิ่มเติมต่อเรือบรรทุกเครื่องบินฝรั่งเศส Charles de Gaulle ได้สร้างสถานการณ์ที่ว่า
เรือบรรทุกเครื่องบินของเราไม่จำเป็นต้องรับภาระการปฏิบัติการตามลำพัง และข้อเท็จจริงที่ว่าอากาศยานอย่าง F-35B เป็นการเสริมกำลังอย่างมหาศาล" Bryan McGrath อดีตผู้บังคับการเรือพิฆาตและหัวหน้าที่ปรึกษากลาโหมของ FerryBridge Group กล่าว

ปัจจุบันอังกฤษมีเครื่องบินขับไล่ F-35B ประจำการ 16เครื่องจาก 138เครื่องที่มีแผนจะจัดหาและยังคงอยู่ในแผนการวางกำลังในปี 2021(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-35b-marham.html)
ในปี 2019 เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth จะอัดแน่นไปด้วยกำลังพลประจำเรือและนาวิกโยธินมากกว่า 1,400นาย นาวาเอก Jerry Kyd ผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับการเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Ark Royal ที่ปฏิบัติการส่งเครื่องบินโจมตี Harrier ขึ้นบินครั้งสุดท้ายเมื่อ 8ปีก่อนกล่าว
เมื่อเดินทางกลับอังกฤษเรือจะได้รับการติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapons System) ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Phalanx 20mm และชุดระบบสื่อสารใหม่เพิ่มเติม ก่อนจะเดินทางไปสหรัฐฯอีกครั้งเพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติม

"เราจะกลับไปในเดือนกันยายนปีหน้าสำหรับการทดสอบการปฏิบัติการ เราจะนำเครื่องบินขับไล่ 7เครื่องไปด้วย และเราจะเข้าสู่การเริ่มต้นการนำมาปฏิบัติการของเรือ เรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเรือและอากาศยานอย่างไรร่วมกัน พิสูจน์ถึงระบบสื่อสารทั้งหมดและทุกองค์ประกอบยุคที่5" นาวาเอก Kyd กล่าว
ในปี 2020 เรือบรรทุกเครื่องบิน Queen Elizabeth และหมู่เรือคุ้มกันจะออกเดินเรื่อเพื่อรับรองการปฏิบัติการในการฝึกที่นอกชายฝั่ง Scotland โดยเครื่องบินขับไล่ F-35B ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธินสหรัฐฯ VMFA-211 จะวางกำลังปฏิบัติการบนเรือด้วย
นาวาโท Gray นักบินราชนาวีอังกฤษที่ทำการลงจอดและบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth ครั้งแรกทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ F-35B จากฝูงบินทดสอบ VX-23 ผสมกองทัพเรือสหรัฐ-นาวิกโยธินสหรัฐ จากสถานีอากาศนาวี Pax River ในมลรัฐ Maryland สหรัฐฯครับ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

Boeing-Saab สหรัฐฯ-สวีเดนชนะโครงการเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ

It’s Official: Boeing Wins T-X!

U.S. Air Force selects Boeing T-X as its new advanced pilot training aircraft.


The U.S. Air Force has selected the Boeing T-X advanced pilot training aircraft which features an all-new aircraft designed, developed and flight-tested by Boeing and Saab.
https://www.boeing.com/features/2018/09/tx-wins-09-18.page



กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force) ได้ประกาศสัญญาจัดหาแก่บริษัท Boeing สหรัฐฯเป็นผู้ชนะโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์ไอพ่น T-X ใหม่วงเงินถึง $9.2 billion
กองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X จำนวน 351เครื่อง, เครื่องฝึกจำลองการบิน(Simulator) 46ระบบ และอุปกรณ์ภาคพื้นดินประกอบที่เกี่ยวข้อง

"การประกาศในวันนี้คือจุดสูงสุดแห่งปีของมุมมองที่แน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลงของทีม Boeing สหรัฐฯ และ Saab สวีเดน มันเป็นผลลัพธ์ของการลงทุนร่วมของเราในการพัฒนาระบบที่มีศูนย์กลางบนความต้องการเฉพาะของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
เราคาดว่า T-X จะเป็นโครงการสิทธิพิเศษอย่างมากของศตวรรษนี้" Leanne Caret ประธานและผู้อำนวยการบริหารแผนก Boeing Defense, Space & Security กล่าว

เครื่องบินฝึกไอพ่นที่มีความคล้ายกับเครื่องบินขับไล่ซึ่งถูกออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษานี้เป็นรากฐานสำคัญของระบบฝึกนักบินแบบใหม่ทั้งหมดที่ยังรวมถึงห้องเรียนการฝึกและเครื่องจำลองการบิน
เครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ใหม่จะช่วยในการฝึกเหล่านักบินขับไล่และนักบินทิ้งระเบิดในอนาคตสำหรับรุ่นต่อไปที่จะมาถึง โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯมีความต้องการจัดหาสูงสุดถึง 475เครื่อง และเครื่องจำลองการบิน 120ระบบ ซึ่งร้อยละ90 จะมีการดำเนินสายการผลิตในสหรัฐฯ

โครงการเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง Northrop T-38C Talon ที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมานานกว่า 57ปี
ตามสัญญาขั้นตอนทางด้านวิศวกรรมและพัฒนาการผลิต(EMD: Engineering and Manufacturing Development) วงเงิน $813 million จะครอบคลุมการจัดหาขั้นต้นสำหรับเครื่องบินฝึก T-X ชุดแรก 5เครื่อง และเครื่องจำลองการบิน 7ระบบ

เครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-X เป็นเครื่องที่ออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้นทั้งหมด(Clean Sheet) ซึ่งเครื่องต้นแบบทำการบินครั้งแรกเมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2016 และมีการสร้างเครื่องต้นแบบเครื่องที่สองทำการบินตามมาอีกเครื่อง
โดยเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing T-X ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan General Electric Aviation GE F404, ห้องนักบิน Glass Cockpit และระบบสถาปัตยกรรมเปิด(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/t-x-boeing-saab.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/04/boeing-t-x.html)

ทีม Boeing-Saab เป็นผู้ชนะในโครงการ T-X เหนือทีม Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Korean Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี ที่เสนอ T-50A ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 Golden Eagle(http://aagth1.blogspot.com/2015/12/kai-t-50-t-x.html)
และทีม Leonardo อิตาลี และ CAE กับ Honeywell สหรัฐฯที่เสนอ T-100 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 Master(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/leonardo-t-100-t-x.html)

เครื่องบินฝึกไอพ่น T-X พร้อมเครื่องจำลองการบินชุดแรกจะถูกส่งมอบถึงฐานทัพอากาศร่วม Joint Base San Antonio-Randolph มลรัฐ Texas ในปี 2023 โดยจะมีความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ในปี 2023
การเปลี่ยนแบบจาก T-38 เป็น T-X สำหรับการฝึกศิษย์การบินจะมีในฐานทัพอากาศ Columbus ใน Mississippi, ฐานทัพอากาศ Laughlin ใน Texas, ฐานทัพอากาศ Sheppard ใน Texas และฐานทัพอากาศ Vance ใน Oklahoma ซึ่งจะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2034 ครับ

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

เวียดนามปรับปรุงปืนเล็กยาว AKM ใหม่ในชื่อ STL-1A และกองทัพบกไทยจะจัดหาปืนพก 9mm ใหม่

Vietnam has upgraded Kalashnikov AKM under the name STL-1A 
STL-A1 assault riffle, modernized AK-74/AKM assault rifle, with AK-74M muzzle break and folding stock, along with the 40mm M203 grenade launcher style. (Picture source hollilla.com)
https://www.armyrecognition.com/weapons_defence_industry_military_technology_uk/viertnam_has_upgraded_kalashnikov_akm_under_the_name_stl-1a.html

Colt M1911A1 .45ACP (11mm) pistols have been serviced in Thailand's Armed Forces since 1943. Royal Thai Army is looking for new 9x19mm Semi-Automatic Pistol.

ภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของเวียดนามได้ปรับปรุงปืนเล็กยาวจู่โจม STL-1A ซึ่งมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล Kalashnikov ขนาด 7.62x39mm รัสเซีย ตามที่แหล่งข่าวทางทหารในเวียนามกล่าวกับ TASS
ปืนเล็กยาวจู่โจม STL-1A เป็นปืนที่เวียดนามผลิตเองในประเทศซึ่งลอกแบบมาจากปืนเล็กยาว Kalashnikov AKM 7.62x39mm อันมีชื่อเสียงของรัสเซีย ที่มีใช้งานในกองทัพประชาชนเวียดนาม(People's Army of Vietnam)

ปืนเล็กยาวจู่โจม STL-1A ได้รับการติดที่ยึดสำหรับติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดใต้ลำกล้องปืน(UGL: Under-Barrel Launcher) ที่เวียดนามผลิตในประเทศโดยลอกแบบจากเครื่องยิงลูกระเบิด M203 ขนาด 40mm ที่ติดตั้งกับปืนเล็กยาวตระกูล M16 สหรัฐฯ แทน GP-25/GP-34 40mm รัสเซีย
รวมถึงปลอกกรองมือใหม่ที่ทำจาก Plastic, พานท้ายพับได้และปลอกทวีความถอยแบบใหม่ที่ดูเหมือนของปืนเล็กยาวจู่โจม AK-74M 5.45x39mm รัสเซีย และด้ามจับปืนที่เข้ากับหลักสรีระศาสตร์ แต่ยังคงใช้ซองกระสุนแบบพื้นฐานของ ปลย.AK ดั้งเดิมอยู่

"ตั้งแต่ต้นปี 2000s กองทัพประชาชนเวียดนามได้มองหาอาวุธปืนประจำกายหลักใหม่ ปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล Kalashnikov เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดตามที่มันเป็นปืนระบบทำงานด้วย gas ที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดแบบหนึ่ง และสามารถใช้ในสภาพอากาศร้อนและเปียกชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่เวียดนามได้ซื้อสิทธิบัตรการผลิตปืนเล็กยาวจู่โจม Galil 31 ACE(ACE 31 7.62X39mm) อิสราเอล ภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเวียดนามกำลังพิจารณาการปรับปรุงความทันสมัยของปืนเล็กยาวตระกูล Kalashnikov ที่มีก่อนหน้าในชื่อ AKM-VN และ STL-1A" แหล่งข่าวกล่าว

ภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเวียดนามไม่ได้เปิดเผยคุณสมบัติใดๆของปืนเล็กยาว STL-1A "เราปรับเปลี่ยนปืนเล็กยาวจู่โจม AKM โซเวียตที่มีอายุใช้งานมานานเป็น STL-1A กองทัพประชาชนเวียดนามกำลังได้รับมอบ ปลย.STL-1A" แหล่งข่าวกล่าวเสริมกับ TASS
ปืนเล็กยาว STL-1A ที่เวียดนามพัฒนาดูจะมีความคล้ายคลึงกับปืนเล็กยาวจู่โจม AK-103 7.62x39mm ของ Kalashnikov Group ผู้ผลิตอาวุธปืนรัสเซีย(ในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย Rostec) แต่ก็มีความแตกต่างในหลายจุด

มีการกล่าวถึงว่าปืนเล็กยาว STL-1A อาจจะต้องติดที่ยึดด้านข้างตัวปืนแบบเวียดนามสำหรับติดตั้งกล้องช่วยเล็ง "กล้องเล็ง Optical หรือ Red Dot พร้อมที่ติดประกบแทบจะไม่สามารถติดตั้งได้" โดยเวียดนามมีแผนที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมในรุ่นต่อไป
"รุ่นปรับปรุงความทันสมัยจะถูกกำหนดแบบเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม STL-1B จะได้รับการติดตั้งราง Picatinny RIS(MIL-STD-1913 Rail Interface System) ที่จะทำให้ผู็ใช้งานสามรถใช้กล้องเล็ง Optical และกล้องเล็งไฟฟ้าได้หลายแบบ" แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมกล่าว

กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) กำลังมองการจัดหาปืนพกกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic Pistol) ใช้กระสุนขนาด 9x19mm แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าปืนพกแบบ ๘๖ ปพ.๘๖ Colt M1911A1 .45ACP(11mm) ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน
การออกแบบปืนง่ายต่อการใช้งาน มีระยะยิงหวังผลในระยะ 50m มีระบบนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูง สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ ตัวปืนต้องมีความทนทานต่อทุกสภาพการใช้งาน และผู้ผลิตสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมบำรุงได้ไม่น้อยกว่า ๑๐ปี 

โดยปืนพกต้องมีคุณลักษณะทั่วไปดังนี้
๑.ความยาวปากลำกล้องปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9mm สามารถยิงกระสุนขนาด 9x19mm ได้ทุกชนิด
๒.ความยาวของปืนพกกึ่งอัตโนมัติทั้งกระบอกไม่มากกว่า 9 inches(228mm)
๓.ความยาวลำกล้องปืนไม่มากกว่า 5.20 inches(132mm)
๔.น้ำหนักของปืน(ไม่รวมซองกระสุน) ไม่มากกว่า 1,000g(35 ounces)
๕.ความจุของกระสุนไม่น้อยกว่า ๑๕นัด
๖.การทำงานของเครื่องลั่นไกมี ๒ชนิดคือ
   ๖.๑.ชนิดนกตีต่อท้ายเข็มแทงชนวน(Hammer Strike The Firing Pin) แบบ Double/Single Action
   ๖.๒.ชนิดเข็มแทงชนวนอัดแหนบ(Striker Fired) แบบ Double/Single Action
๗.ศูนย์หน้าและศูนย์หลังเป็นแบบจุดหรือหรือใช้แถบวัสดุเรืองแสง ซึ่งช่วยให้สามารถทำการเล็งและลั่นไกในขณะที่มีแสงน้อยหรือในความมืดได้
๘.เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติที่มีระบบนิรภัยสำหรับป้องกันอันตรายให้กับบุคคลและต่ออาวุธได้
๙.มีรางเอนกประสงค์บริเวณด้านล่างของโครงปืนส่วนล่างบริเวณใต้ปากลำกล้องปืนสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเล็งชนิดต่างๆ
๑๐.มีซองบรรจุกระสุนให้พร้อมมากับปืนไม่น้อยกว่า ๓ซอง
๑๑.มีใช้ประจำการอยู่ในกองทัพผู้ผลิต หรือในกองทัพประเทศอื่นๆ

ก่อนหน้านี้กองทัพบกไทยเคยมีการจัดหาปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9mm บางแบบมาแล้ว เช่น Jericho 9mm โครงปืนเหล็ก(Steel frame) ของบริษัท Israel Weapons Industries อิสราเอล ซึ่งเคยใช้ในการแข่งขันอาวุธ Australian Army Skill at Arms Meeting(AASAM) 2012 ที่ออสเตรเลีย
ล่าสุดกองทัพไทยยังได้มีการจัดหาปืนเล็กยาวแบบที่๓(ปลย.แบบที่๑ คือ Tavor TAR-21 ปลย.แบบที่๒ คือ ACE N-23 จาก IWI อิสราเอล) ราคากระบอกละประมาณ ๔๐,๐๐๐บาท($1,235), ปืนเล็กสั้นแบบที่๕,๖,๗ และเครื่องยิงลูกระเบิด 40mm จากบริษัท Colt สหรัฐฯ พร้อมกล้องเล็ง Red Dot กล้องเล็งกลางวันกำลังขยาย 3X จากบริษัท Aimpoint AB สวีเดนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561

Boeing สหรัฐฯกำลังสร้างลำตัวเครื่องของเฮลิคอปเตอร์ MH-139 หลังชนะโครงการทดแทน UH-1N

Boeing building fuselage for MH-139 after UH-1N replacement win
Boeing is already building the AW139 fuselage that will serve as the foundation of its MH-139, which will replace the US Air Force’s UH-1N helicopters. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/83342/boeing-building-fuselage-for-mh-139-after-uh-1n-replacement-win

บริษัท Boeing สหรัฐฯได้กำลังอยู่ระหว่างสร้างส่วนโครงสร้างลำตัวเครื่องสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป MH-139 เครื่องแรกหลังจากที่ชนะโครงการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1N ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force)
ตามที่ทาง Boeing สหรัฐฯได้รับการประกาศสัญญาโครงการเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2018 ที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-mh-139-uh-1n.html)

Rick Lemaster ผู้นำทีม Boeing UH-1N กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2018 ว่า Boeing จะทำการผลักดันโครงสร้างเครื่องของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Leonardo(AgustaWestland เดิม) AW139 อออกจากสายการผลิต
เพื่อให้ตรงความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯตามที่โครงการได้รับการเดินหน้า กรอบเค้าโครงสร้างสำหรับ ฮ.AW-139 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ฮ.MH-139 จะถูกสร้างในโปแลนด์และตุรกี

Lemaster กล่าวว่ามันสมเหตุสมผลสำหรับ Boeing ที่จะสร้างลำตัวเฮลิคอปเตอร์ในยุโรปแทนที่จะเป็นในสหรัฐฯ ตามที่บริษัท Leonardo อิตาลีมีการจัดตั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้มีประสิทธิผลสูงสุดและลดค่าใช้จ่าย
เขากล่าวว่า Boeing จะทำการติดตั้งระบบ Hydraulic, สายเชื่อเพลิง, การเดินสาย, ฐานล้อลงจอด และส่วนอื่นๆ ณ โรงงานอากาศยาน AgustaWestland ของ Leonardo ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ Philadelphia สหรัฐฯ

กองทัพอากาศสหรัฐฯได้ประกาศสัญญาวงเงิน $375 million แก่ Boeing เมื่อวันที่ 24 กันยายน เป็นส่วนแรกของสัญญาราคาคงที่วงเงิน $2.4 billion ที่เป็นไปได้
การประกาศสัญญาแรกนี้มีเพื่อสำหรับเฮลิคอปเตอร์ MH-139 ชุดแรก 4เครื่อง และรวมการบูรณาการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา(NDI: Non-Developmental Items)

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Boeing MH-139 ได้เป็นผู้ชนะเหนือบริษัท Sikorsky สหรัฐฯ ที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป HH-60U Black Hawk
และบริษัท Sierra Nevada Corp (SNC) สหรัฐฯ ซึ่งเสนอรุ่นปรับปรุงความทันสมัย Force Hawk (รุ่นA ไปรุ่น L) ที่ปรับปรุงดัดแปลงจาก UH-60L Black Hawk ที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)

วงเงินทั้งหมดของโครงการทดแทน ฮ.UH-1N สะท้อนถึงการดำเนินการทางเลือกและการส่งมอบทั้งหมดสำหรับการจัดหาและดำรงสภาพ ฮ.MH-139 จำนวน 84เครื่อง  อุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กองทัพอากาศหรัฐฯแถลง
ข้อเสนอของ Boeing อาจจะไม่ได้มีราคาต่ำสุดในการแข่งขันในโครงการตามที่ Lemaster กล่าวว่า กองทัพอากาศหรัฐฯได้ดำเนินการแข่งขันโดยเลือกจากข้อเสนอที่มีความคุ้มค่าต่อราคาสูงสุดครับ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศสหรัฐฯเลือกเฮลิคอปเตอร์ Boeing MH-139 ทดแทน UH-1N

Boeing MH-139 to Replace U.S. Air Force UH-1N Huey Fleet
Boeing will provide its MH-139 helicopter and related support to the U.S. Air Force to replace the fleet of UH-1N “Huey” helicopters used to protect America’s intercontinental ballistic missile bases. (Photo: Fred Troilo, Boeing)
http://boeing.mediaroom.com/2018-09-24-Boeing-MH-139-to-Replace-U-S-Air-Force-UH-1N-Huey-Fleet


บริษัท Boeing สหรัฐฯจะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป MH-139 และการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องแก่กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force) เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1N Twin Huey ที่ใช้การป้องกันฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile)
สัญญาโครงการวงเงิน $2.4 billion ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2018 สำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Boeing MH-139 จำนวน 84เครื่อง, อุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

"เราปลื้มปิติอย่างยิ่งสำหรับความมั่นใจของกองทัพอากาศสหรัฐฯในทีม MH-139 ของเรา MH-139 นั้นเหนือกว่าความต้องการภารกิจ มันยังเหมาะสำหรับการขนส่ง VIP และทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาและตลอดอายุการใช้งานถึง $1 billion"
David Koopersmith รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของแผนก Boeing Vertical Lift ที่รับผิดชอบด้านผลิตภัณฑ์อากาศยานปีกหมุนของบริษัทกล่าว

MH-139 มีพื้นฐานพัฒนาจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Leonardo AW139 อิตาลี(AgustaWestland ในเครือบริษัท Finmeccanica เดิม) ซึ่งได้รับการจัดหาใช้งานจากรัฐบาล, กองทัพ และบริษัทต่างๆมากกว่า 270รายทั่วโลก
รวมถึงกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่จัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ AW139 เข้าประจำการใน กองการบิน ศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก ศคย.ทบ.(กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก กบบ.ขส.ทบ เดิม) และ กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ.

บริษัท Leonardo อิตาลีจะทำการประกอบ ฮ.MH-139 ในโรงงานอากาศยานของตนทางตะวันของเฉียงเหนือของ Philadelphia โดยบริษัท Boeing สหรัฐฯจะบูรณาการติดตั้งชิ้นส่วนประกอบทางทหารเฉพาะที่โรงงานอากาศยานของตนทางใต้ของ Philadelphia
สัญญายังรวมถึงการปฏิบัติการ, การปรนนิบัติซ่อมบำรุง, ระบบการฝึก และอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับเฮลิคอปเตอร์ MH-139 ด้วย โดยการส่งมอบเครื่องชุดแรกคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2021 เพื่อการป้องกันฐานยิงขีปนาวุธในมลรัฐ Montana, North Dakota และ Wyoming

"เราภูมิใจที่จะส่งมอบให้แก่กองทัพอากาศสหรัฐฯด้วยแนวทางตลอดทั้งระบบ Ecosystem ที่มีประจำการทั้งหมด ด้วยระบบ ฮ.AW139 ที่มีชั่วโมงบินมากกว่า 2ล้านชั่วโมงบิน และการจัดตั้งห่วงโซ่อุปทาน
เรามองไปข้างหน้าเพื่อนำความชำนาญของเรามาขับเคลื่อนการลดค่าใช้จ่ายขณะที่ยังคงสนับสนุนความพร้อมของภารกิจ" Ed Dolanski ประธานแผนก U.S. Government Services, Boeing Global Services ที่รับผิดชอบการให้บริการะบบที่ประจำการในหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯกล่าว

Boeing สหรัฐฯได้เสนอเฮลิคอปเตอร์ MH-139 แก่กองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อทดแทน ฮ.UH-1N จำนวน 59เครื่องที่มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 212 ที่ประจำการมานานมากกว่า 40ปี(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/boeing-leonado-mh-139-uh-1n.html)
โดย ฮ.Boeing MH-139 ได้ทำการแข่งขันกับบริษัท Sikorsky สหรัฐฯ ที่เสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป HH-60U Black Hawk และบริษัท Sierra Nevada สหรัฐฯที่เสนอ Force Hawk ที่ปรับปรุงจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60L Black Hawk ครับ

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

อินเดียและฝรั่งเศสแถลงชี้แจงข้อตกลง offset ของเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale

Indian MoD, Dassault clarify offsets on Rafale deal
The Indian MoD and French aerospace company Dassault Aviation have issued statements detailing the offsets linked to India’s acquisition of 36 Dassault Rafale fighter aircraft (pictured). Source: Dassault
https://www.janes.com/article/83290/indian-mod-dassault-clarify-offsets-on-rafale-deal

กระทรวงกลาโหมอินเดียและบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสได้ออกแถลงการณ์แยกต่างหากชี้แจงในรายละเอียดของข้อตกลงโครงการชดเชยทางกลาโหม(offset)
ที่เชื่อมโยงกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จำนวน 36เครื่องของกองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) จากฝรั่งเศส

ในการตอบโต้ต่อข้อกล่าวหาการกระทำผิดในโครงการข้อเสนอชดเชยที่เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายค้านในอินเดียคือพรรค Indian National Congress(INC)
ทั้งกระทรวงกลาโหมอินเดียและบริษัท Dassault ฝรั่งเศสกล่าวว่ารัฐบาลอินเดียไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเลือกบริษัท Reliance Group อินเดียเป็นหุ้นส่วนโครงการ offset ของบริษัทฝรั่งเศส

พรรคฝ่ายค้าน INC อินเดียได้กล่าวหาก่อนหน้านี้ว่าโครงการ offset นั้นขาดความโปร่งใสและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องตามที่วางไว้ในแผนเค้าโครงกระบวนการจัดหากลาโหม(DPP: Defence Procurement Procedure) ปี 2016 ของอินเดีย
พรรค INC ยังได้กล่าวหาว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมแก่บริษัท Reliance เหนือ Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรมอากาศยานของอินเดีย

ในการตอบโต้ข้อกล่าวหา Dassault ฝรั่งเศสได้กล่าวในวันที่ 21 กันยายนว่า "สัญญานี้เป็นข้อตกลงรัฐบาลต่อรัฐบาล มันนำมาสำหรับสัญญาแยกต่างหากซึ่ง Dassault Aviation มุ่งมันที่จะสร้างการลงทุนทดแทน(offsets) ในอินเดียมูลค่าร้อยละ50 ของวงเงินการจัดซื้อ
สัญญาชดเชยนี้ได้ส่งมอบการปฏิบัติตามระเบียการของแผน DPP 2016 ในกรอบการทำงานนี้ Dassault Aviation ได้ตัดสินใจจะสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับ Reliance Group ของอินเดีย นี่คือการเลือกของ Dassault Aviation" บริษัทเสริม

Dassault ยังได้อธิบายต่อไปความเป็นหุ้นส่วนของตนกับ Reliance อินเดียมีผลไปสู่การจัดตั้งการลงทุนร่วมในชื่อ Dassault Reliance Aerospace Ltd(DRAL) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017
และการสร้างโรงงานอากาศยานในอินเดียเพื่อผลิตชิ้นส่วนสำหรับลูกค้าส่งออกของเครื่องขับไล่ Rafale และเครื่องบินโดยสารธุรกิจเครื่องยนต์ไอพ่น Falcon ของบริษัท Dassault

Dassault กล่าวว่านอกจาก Reliance อินเดีย ตนยังได้เป็นหุ้นส่วนกับอีกหลายบริษัทของอินเดีย เพื่ออำนวยความสะดวกในการชดเชยที่เกี่ยวข้องกับโครงการเครื่องบินขับไล่ Rafale
บริษัทอินเดียเหล่านั้นมีเช่น Mahindra, Samtel, BTSL Automotive India, Defsys Solutions, Maini Aerospace และ Kinetic India ครับ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

ภาพเฮลิคอปเตอร์ EC725 กองทัพอากาศไทยติดกล้อง EO/IR ที่ฝรั่งเศส

Airbus Helicopters H225M(EC725) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force with Electro-Optical/Infrared at nose has spotted over Marseille Provence Airport, Marignane, France: Photo Marignane by Lionel Bourdet 13 September 2018
https://www.facebook.com/1208232602621600/photos/a.1208899155888278/1662005453910977/
https://www.facebook.com/Aéroport-de-Marseille-Provence-Marignane-Spotter-1208232602621600/

ภาพถ่ายที่เผยแพร่โดยช่างภาพอากาศยานในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ได้เปิดเผยถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปพหุบทบาท Airbus Helicopters H225M หรือเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑  EC725 ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ที่สังเกตุได้ชัดเจนจากภาพที่ถ่ายเหนือสนามบิน Marseille ใน Marignane ฝรั่งเศสว่า เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 กองทัพอากาศไทยเครื่องนี้ได้รับการติดตั้งกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR) ที่ใต้หัวเครื่องแล้ว

ฮ.๑๑ EC725 ซึ่งทำสีพรางและเครื่องหมายกองทัพอากาศไทยนี้น่าจะมีหมายเลขเครื่อง 20303 ซึ่งถูกติด Sticker ทับไว้ เป็นเครื่องในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๑ ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012)
โดย ฮ.๑๑ EC725 ชุดแรก ๔เครื่อง (20301, 20302, 20303 และ 20304) ได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) หรือน่าจะเป็นหมายเลขเครื่อง 20308 ที่จัดหาในระยะที่๓ ๒เครื่อง(20307 และ 20308) ที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และรับมอบในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

ปัจจุบัน ฮ.๑๑ EC725 เข้าประจำการใน ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ แล้ว ๖เครื่อง คือโครงการจัดหาระยะที่๑ ๔เครื่องแรก และระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) และรับมอบเครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(หมายเลขเครื่อง 20305 และ 20306)
ซึ่งล่าสุดมีการสั่งจัดหาเครื่องระยะที่๔ อีก ๔เครื่อเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) รวมทั้งหมด ๑๒เครื่องที่จะมีประจำการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html)

ท่าอากาศยานนาชาติ Marseille เป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัท Airbus Helicopters สาขาฝรั่งเศส จะเห็นได้จากภาพว่า ฮ.๑๑ EC725 มีการขึ้นทะเบียนอากาศยาน F-ZWDF ที่ตัวเครื่องสำหรับการบินทดสอบภายในฝรั่งเศสโดยนักบินทดลองเครื่องของบริษัทที่ใส่ชุดนักบินสีส้ม
ตามภารกิจของเครื่องคือการค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ(CSAR:Combat Search and Rescue) ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ทั้ง ทุ่นลอยที่ฐานล้อสำหรับการลงจอดฉุกเฉินบนน้ำ(emergency flotation gear), รอกกว้านและเชือกโรยตัว(hoist and fast roping), สายยึดขนส่งสัมภาระ และไฟฉายค้นหา

กล้อง EO/IR ที่ปรากฎติดตั้งกับฮ.๑๑ EC725 กองทัพอากาศไทย เข้าใจว่าน่าจะเป็นกล้องตรวจจับแบบ Star SAFIRE III ของบริษัท FLIR Systems สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการติดตั้งกับ ฮ.H225M ของกองทัพบราซิล(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/airbus-helicopters-h225m-exocet.html)
โดยกล้อง Electro-Optical ที่ เฮลิคอปเตอร์ H225M รองรับการติดตั้งยังรวมถึง กล้อง MX-15 ของ L3 WESCAM แคนาดา ที่มีหลายประเทศจัดหาไปใช้ และกล้อง Euroflir ของ Safran Electronics & Defense ฝรั่งเศส ที่กองทัพฝรั่งเศสเองใช้งานและส่งออกอีกหลายประเทศเช่นกัน

นอกจากกองทัพอากาศไทยแล้วในกลุ่มชาติ ASEAN ที่จัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M(EC725) เข้าประจำการก็มี กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จำนวน ๑๒เครื่อง
และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จำนวน ๖เครื่อง โดยพบว่า ฮ.ของทั้งสองประเทศการติดตั้งกล้อง EO/IR ที่น่าจะเป็นแบบ FLIR Star SAFIRE III เช่นกัน รวมถึงกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ที่กำลังสั่งจัดหาจำนวน ๑๖เครื่อง

บริษัท Safran Helicopter Engines ฝรั่งเศส และบริษัท Airbus Helicopters ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ไทยในการสนับสนุนการใช้งานและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์และเครื่องยนต์ที่ประจำการในสี่เหล่าทัพของไทย(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/safran-tai.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)
ซึ่งการติดตั้งกล้อง EO/IR สำหรับ ฮ.๑๑ EC725 นี้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆของกองทัพอากาศไทยได้เป็นอย่างมาก เช่น ภารกิจค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยเรือประสบอุบัติเหตุอับปางในทะเลที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

รัสเซียทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำชั้น Lada ลำที่สองลงน้ำ B-586 Kronshtadt

Second Lada class submarine launched in St. Petersburg








Project 677 submarines of the Lada class belong with the fourth generation of diesel-electric subs
http://tass.com/defense/1022432


วันที่ 20 กันยายน 2018 เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 677 Lada ลำที่สองของชั้น B-586 Kronshtadt ได้ถูกทำปล่อยลงน้ำในพิธีที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ณ อู่ต่อเรือ Admiralty Shipyards ในมหานคร St. Petersburg ตามที่ผู้สื่อข่าวของ TASS รายงาน
"ความสำคัญของเหตุการณ์นี้คือความยากที่จะประเมินค่าสูงเกินไป เรือดำน้ำได้ถูกเริ่มสร้างในปี 2005 มันได้มีการหยุดงานสร้างและการให้เงินทุนบางช่วง แต่วันปล่อยเรือลงน้ำนั้นได้มาถึงในท้ายที่สุด" Alexander Buzakov ผู้อำนวยการบริหาร Admiralty Shipyards กล่าวในพิธี

"ความล่าช้าในงานสร้างทำให้สามารถนำประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นมาใช้สำหรับการสร้างและปฏิบัติการเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Lada ลำแรก B-585 Sankt Peterburg คุณสมบัติทั้งหมดที่ค่าของเรือดำน้ำชั้นนี้เหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าคือเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 636 Varshavyanka
เราแน่ใจว่าอนาคตของกำลังเรือดำน้ำตามแบบที่ไม่ใช้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ของกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy) ควรจะปักหมุดที่ Project 677 นั่นจะเป็นเรือดำน้ำชุดใหญ่" Buzakov เสริม

Project 677 Lada เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ายุคที่4 ของรัสเซียที่ใช้รูปแบบตัวเรือชั้นเดียว(Single Hull) มีระวางขับน้ำบนผิวน้ำ 1,750tons ขณะดำใต้น้ำประมาณ 2,700tons มีความเร็วสูงสุดขณะดำใต้น้ำ 21knots ดำได้ลึกสุด 300m ระยะเวลาปฏิบัติการสูงสุด 45วัน มีกำลังพลประจำเรือ 35นาย
ติดตั้งท่อยิง Torpedo หนักขนาด 533mm 6ท่อยิง บรรทุก Torpedo ได้สูงสุด 18นัด หรือทุ่นระเบิดได้ 44ทุ่น และสามารถติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำใต้น้ำแบบ Kalibr ได้

B-585 St. Peterburg เรือลำแรกของเรือดำน้ำชั้น Project 677 Lada มีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อปี 1997 ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2004 และส่งมอบให้กองทัพเรือรัสเซียในเดือนเมษายนปี 2010 เพื่อทดลองใช้งาน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อบกพร่องจำนวนมาทำให้กองทัพเรือรัสเซียไม่ยอมรับเรือเข้าประจำการในปี 2011 หลังการแก้ไขและเริ่มทดลองเรือใหม่มีกำหนดจะเสร็จสิ้นในปี 2019(http://aagth1.blogspot.com/2016/04/lada-2016.html, http://aagth1.blogspot.com/2016/01/lada.html)

เรือดำน้ำ B-586 Kronshtadt ได้เริ่มการสร้างในปี 2005 หลังจากปัญหาที่พบจนมีการระงับการสร้าง ได้มีคำสั่งให้กลับมาสร้างเรือใหม่ในปี 2013 โดยคาดว่ากองทัพเรือรัสเซียจะได้รับมอบเรือในปี 2019 รวมระยะเวลาการสร้างมากกว่า 13ปี
ปัจจุบันอู่เรือ Admiralty Shipyards รัสเซียกำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Lada ลำที่สามคือ B-587 Velikiye Luki ซึ่งมีพิธีวางกระดูกงูเรือครั้งแรกในปี 2006 โดยมีการวางกระดูกงูเรือใหม่ในเดือนมีนาคม 2015 และคาดว่าจะส่งมอบเรือได้ในปี 2021 ครับ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

พิธีส่งมอบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC ให้นาวิกโยธินไทยทดลองใช้










Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office was handed over ceremony of Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle prototype to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for trial evaluation, 20 September 2018

Naval Research and Development Office, Royal Thai Navy Fixed wing Unmanned Aerial Vehicle with Vertical takeoff and landing Enable Capability(FUVEC) could be adding surveillance and reconnaissance capability for amphibious operation(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html

น.อ.ปริญญาธรรม พูลพิทักษ์ธรรม รอง ผอ.สวพ.ทร. เป็นผู้แทน ผอ.สวพ.ทร. ในพิธีส่งมอบต้นแบบยานเกราะล้อยางขนาด 8 x 8 จำนวน ๑ คัน ให้กับ นย. เพื่อให้ทดลองใช้งาน ตามโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง สวพ.ทร. กับ สทป. 
สำหรับการปฏิบัติภารกิจของ นย. ในการยกพลขึ้นบก ของคลื่นระลอกที่สอง ในการเคลื่อนที่จากทะเลเข้าสู่ฝั่ง(ที่หมาย) และการตรวจการณ์ ลาดตระเวนหาข่าวของอากาศยานไร้คนขับ 
ซึ่ง พล.อ.อ.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ส่งมอบด้วยตนเอง โดยมี พล.ร.ท.ศังกร พงษ์ศิริ ผบ.นย. เป็นผู้รับมอบ และคณะผู้บังคับบัญชาของ นย. กับ สทป. ร่วมเป็นสักขีพยาน 
ในวันที่ ๒๐ ก.ย.๖๑ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
https://www.facebook.com/Nrdo2015/posts/1955197121168224

สทป. ส่งมอบต้นแบบยานเกราะล้อยาง Amphibious Armored Personnel Carriers” (AAPC) จำนวน 1 คัน และต้นแบบระบบอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กรุ่น D-Eyes Mark I จำนวน 1 ระบบ
ให้หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ นำไปทดสอบทดลองใช้งาน ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนายานเกราะล้อยางสำหรับ ปฏิบัติภารกิจหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.)
โดยได้รับเกียรติจาก พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. เป็นประธานในการส่งมอบต้นแบบดังกล่าวพร้อมคู่มือการใช้งานฯ และ พล.ร.ท.ศังกร พงษ์ศิริ ผบ.นย. เป็นผู้รับมอบ ณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
https://www.facebook.com/DTIPRThailand/posts/258948364653366

พิธีส่งมอบยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ให้กับนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยทดลองใช้งานเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น
มีขึ้นตามมาเพียงราวสองสัปดาห์หลังจากที่ได้มีการทดสอบสมรรถนะของรถ ณ หาดขลอด กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ระหว่างวันที่ ๖-๗ กันยายน ๒๕๖๑(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc.html)
เป็นก้าวสำคัญของโครงการพัฒนานับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc_14.html)

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC 8x8 ถูกออกแบบมาเพื่อการสนับสนุนการยกพลขึ้นบกในคลื่นที่สอง(Second Wave) หลังจากที่กองกำลังยกพลขึ้นบกจากคลื่นแรก(First Wave)สามารถสถาปนาที่มั่นหลังจากขึ้นสู่ฝั่งได้แล้ว
เป็นแนวคิดเดียวกับโครงการยานเกราะล้อยาง Amphibious Combat Vehicle Phase 1 Increment 1 (ACV 1.1) ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps) ที่แบบรถ SuperAV ของ BAE System-Iveco เป็นผู้ชนะ(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/bae-systems-iveco-acv-11.html)
โดยปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของนาวิกโยธินไทยยังรวมถึงการใช้อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่พัฒนาโดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. เช่น อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก D-Eyes Mark I Mini UAV และอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้นลง-ทางดิ่ง FUVEC

ก่อนหน้านี้นาวิกโยธินไทยได้มีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางที่ผลิตโดยบริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในของไทย รวมถึงรับมอบรถหุ้มเกราะล้อยางต้นแบบที่ออกแบบผลิตโดยบริษัทของไทยมาทดลองใช้งานแล้วหลายแบบ
เช่น รถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 4x4 และรถหุ้มเกราะล้อยาง PHANTOM 380-X1 Cobra 4x4 ของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) และรถเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd)(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
เป็นที่เข้าใจว่าในอนาคตยานเกราะล้อยาง AAPC จะได้รับการติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล 30mm จาก จากบริษัท Singapore Technologies Kinetics(ST Kinetics) สิงคโปร์ แทนป้อมปืนจำลอง Mock-Up ทั้งหมดเป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศไทยของกองทัพเรือไทยครับ

12ปีการปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-14 Tomcat ของกองทัพเรือสหรัฐฯ




mini review: Hobby Master 1/72 Air Power series Grumman F-14D Super Tomcat VF-31 Tomcatters BuNo 159600, Final Cruise "Christine", March 2006(HA5202)
U.S. Navy was retried last F-14 Tomcats in 22 September 2006 (My Own Photos)

วันที่ 22 กันยายน 2006 เป็นวันที่เครื่องบินขับไล่ Grumman F-14 Tomcat ชุดสุดท้ายถูกปลดประจำการจากกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) เป็นการปิดตำนานเครื่องบินขับไล่ปีกปรับมุมลู่(variable-sweep wing)ได้แบบสุดท้ายที่ประจำการในกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ
ซึ่งเครื่องบินขับไล่ F-14 นับเป็นเครื่องบินรบที่เป็นดาราประกอบฉากตัวเด่นในภาพยนตร์สงคราม Hollywood หลายเรื่องในอดีตเช่นตั้งแต่ Final Countdown(1980) ที่เครื่องบินขับไล่ F-14A ฝูงบินขับไล่นาวี VF-84 Jolly Rogers ยิง Mitsubishi A6M Zero กองทัพเรือญี่ปุ่น
และเรื่องที่ดังที่สุด Top Gun(1986) ที่นำแสดงโดย Tom Cruise ขับ F-14A ยิง MiG-28 ที่แสดงโดย F-5E ซึ่งทำให้หลังฉายในเวลานั้นยอดเด็กหนุ่มผู้สมัครเข้าเป็นนักบินนาวีสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ500 และในภาพยนตร์ต่อสู้/สงคราม/ระทึกขวัญอีกหลายๆเรื่องช่วงปี 1980s-1990s


ฝูงบินขับไล่นาวี VF-31 Tomcatters ที่มีสัญลักษณ์เป็นตัวการ์ตูนแมว Felix(เป็น Animation หนังเงียบฉายครั้งแรกปี 1919) เป็นหนึ่งในฝูงเครื่องบินขับไล่ F-14D ฝูงท้ายๆที่เปลี่ยนแบบใช้เครื่องบินขับไล่โจมตี Boeing F/A-18E Super Hornet ในปลายปี 2006(กำหนดนามฝูงใหม่เป็น VFA-31)
ฝูงบิน VF-84 ที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั้นถูกยุบฝูงไปตั้งแต่ปี 1995 โดยฝูงบินขับไล่นาวี VF-103 Jolly Rogers ได้รับชื่อเล่นนี้ต่อ และต่อมาได้เปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ F-14B เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตี F/A-18F Super Hornet ซึ่งกำหนดนามฝูงใหม่เป็น VFA-103 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005
โดย F-14D Super Tomcat เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นสุดท้ายในตระกูลซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan General Electric F110-400 เช่นเดียวกับ F-14B ที่ติด ย.GE F110 แทน ย.Pratt & Whitney TF30 ที่มีปัญหามาก ซึ่งมี F-14D เพียง 37เครื่องเท่านั้นที่ถูกผลิตใหม่ในช่วงปี 1990-1992

F-14 Tomcat ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นป้องกันกองเรือโดยมีอาวุธหลักคืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล AIM-54 Phoenix ที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายอากาศยานต่อเนื่องพร้อมกันได้ 6นัด ซึ่งปลดประจำการจากกองทัพเรือสหรัฐฯในปี 2004
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-7 Sparrow และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder โดย F-14 นั้นถูกออกแบบมาทำภารกิจอากาศสู่อากาศเป็นหลักแม้ว่าจะติดตั้งระเบิดไม่นำวิถีตระกูล Mk80 ได้ก็ตามแต่ก็ไม่นิยมให้ทำภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน
ต่อมากองทัพเรือสหรัฐฯได้ปรับปรุงขีดความสามารถการโจมตีภาคพื้นดินที่รู้จักในชื่อ F-14 Bombcat ด้วยการติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย LANTIRN และการใช้ระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล Paveway II/III และระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ได้ แต่ก็มีข้อจำกัดในจำนวนที่ติดได้จากโครงสร้างตำบลอาวุธ

ปัจจุบันกองทัพอากาศอิหร่านเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ F-14A Tomcat ซึ่งจัดหามาก่อนการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 โดยกองทัพอากาศอิหร่านประสบความสำเร็จในการใช้ F-14 ยิงอากาศยานอิรักตกเป็นจำนวนมากในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่านปี 1980-1988
จากการที่สหรัฐฯตัดความสัมพันธ์กับอิหร่านซึ่งเป็นประเทศส่งออกรายเดียวของ F-14 ทำให้สหรัฐฯไม่มีการส่งมอบอะไหล่ การสนับสนุนการซ่อมบำรุง และอาวุธแก่อิหร่าน ทำให้อิหร่านต้องพึ่งพาตนเองในการบำรุงรักษาเครื่องบินขับไล่ F-14A ของตนให้สามารถปฏิบัติการต่อไปได้
ซึ่งความสามารถทางอุตสาหกรรมความมั่นคงของอิหร่านสามารถที่จะผลิตชิ้นส่วน ปรับปรุงความทันสมัยเป็นรุ่นเครื่องบินขับไล่ F-14AM และผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศทดแทนได้เอง โดยมีแผนจะยืดอายุการใช้งานไปจนถึงปี 2030(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/fakour.html)

สำหรับผู้เขียนเอง แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ F-14D เป็นเครื่องหนึ่งที่มีความต้องการส่วนตัวจะหามาสะสมมานาน ซึ่งปัจจุบันก็มี Model Kits ของ TAMIYA F-14D 1/48 ที่เพิ่งออกมาในปี 2018 ไม่นานนี้ แต่แบบจำลองขนาด 1/48 มีขนาดใหญ่เกินไปประกอบเสร็จแล้วหาที่วางแสดงลำบาก
ประกอบกับผู้เขียนมีประสบการณ์เลวร้ายส่วนตัวที่ไม่อยากทำประกอบ Model ลงสีติดรูปลอกเองแล้ว(ปีที่แล้ว Model หลายตัวที่ต่อมาเป็นสิบๆปีวางในตู้แสดงดีๆโดนทำหักเป็นชิ้นๆแล้วถูกบอกว่า "มันหลุดแบบนี้มาตั้งแต่แรกแล้ว" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ซึ่งได้ซ่อมเท่าที่ทำได้แล้วแต่ทุกวันนี้ยังทำใจไม่ได้)
เลยมองหาการซื้อ Diecast Model ที่สร้างจากโลหะประกอบมาสำเร็จแล้ว โดยไปได้ Hobby Master F-14D VF-31 Tomcatters(HA5202) ตัวสุดท้ายของร้านซึ่งลดราคา 50% ในโอกาสร้านปิดกิจการ ซึ่งก็น่าเสียดายที่ถ้าจะซื้ออีกคงต้องสั่งจากร้านค้า Online ไม่ได้ไปจับมองของดูเองจริงๆ

แบบจำลอง F-14D ขนาด 1/72 ของ Hobby Master ฮ่องกงตัวเครื่องทำจากโลหะที่แข็งแรงมี ปีกปรับมุมลู่ได้แต่ต้องออกแรงด้วยความระมัดระวัง แพนหางแนวนอนขยับได้ มีรายละเอียดสูงทั้งลายเส้นพื้นผิว ทำสีเครื่องหมาย สายอากาศเล็กๆ กลีบใบพัดเครื่องยนต์ และกระจกหน้าสีเขียวจากจอ HUD
แต่ในบางจุดเช่น ห้องนักบินเป็นเพียงการติดรูปลอกไว้เท่านั้นซึ่งก็ไม่ตรงกับเครื่องจริง หุ่นนักบินจำลองสองตัวมีรายละเอียดค่อนข้างหยาบ ตัวเครื่องบางจุดมีตำหนิเล็กน้อยเช่นแนวประกอบตรงโคนปีกมีรอยกาวประสานแตกออกมานิดหน่อย เครื่องยนต์มีรายละเอียดความลึกความนูนน้อยไป
อาวุธที่มีมาให้ทำจาก plastic มี 2xAIM-9M,1xAIM-7M, 1xAIM-54C, 2xGBU-24 Paveway III, LANTIRN pod และรางอาวุธ แต่การติดอาวุธเข้ากับเครื่องบางชิ้นก็คับไปติดยาก บางชิ้นก็หลวมหลุดง่ายไปต้องใช้วิธียัดกระดาษชิ้นเล็กๆให้คับพอดี ซึ่ง Model ตัวนี้เป็นรุ่นที่ออกในราวปี 2016 ครับ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ EC725 เพิ่ม ๔เครื่อง

Royal Thai Air Force expands fleet with additional H225M order
New purchase brings RTAF’s H225M fleet to 12 units
https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2018/09/royal-thai-air-force-expands-fleet-with-additional-h225m-order.html


Airbus Helicopters EC725(H225M) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force with FN MAG 7.62mm machinegun for Combat Search and Rescue(CSAR) mission(https://www.facebook.com/wing2RTAF)

Royal Thai Air Force's EC725(H225M) with Emergency Floatation Gear on main landing gear and nose during Search and Rescue Mission around Phutket sea after tourist boats capsize in, July 2018(https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2112016092161303)

บริษัท Airbus Helicopters ยุโรป-ฝรั่งเศสได้การลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปพหุบทบาท H225M(เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725) เพิ่มเติมจำนวน ๔เครื่องจากกองทัพอากาศไทย(RTAF:Royal Thai Air Force)
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศไทย การจัดหาล่าสุดนี้จะทำให้ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองทัพอากาศไทยมี ฮ.๑๑ EC725 รวม ๑๒เครื่องภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)

ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เป็นพิเศษประกอบด้วย ทุ่นลอยที่ฐานล้อสำหรับการลงจอดฉุกเฉินบนน้ำ(emergency flotation gear), เชือกโรยตัว(fast roping), สายยึดขนส่งสัมภาระ, ไฟฉายค้นหา และระบบกล้อง Electro-Optical
ฮ.๑๑ EC725 ใหม่ ๔เครื่องนี้จะเข้าประจำการร่วมกับ ๖เครื่องที่ประจำการในฝูงบิน๒๐๓ แล้ว ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๑ ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) และ ระยะที่๒ ๒เครื่อง ที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014)

กองทัพอากาศไทยยังจะได้รับมอบ ฮ.๑๑ EC725 ตามโครงการจัดหาะยะที่๓  ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้รวมเป็น ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2016/10/ec725.html)
สัญญาล่าสุดยังได้ครอบคลุมการให้บริการหน่วยงานด้านการสนับสนุนทางเทคนิดและการเดินหน้าการจัดการความสมควรเดินอากาศอย่างเต็มรูปแบบจากทีมของ Airbus ในไทยและบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries)(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)

"ฮ.H225M ได้รับใช้กองทัพอากาศไทยเป็นอย่างดีตั้งแต่ที่ส่งมอบเครื่องชุดแรกในปี 2015 และเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างแท้จริงโดยการสั่งจัดหาใหม่นี้ ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นและมั่นใจอย่างต่อเนื่องในเฮลิคอปเตอร์ของเราและความมุ่งมั่นสนับสนุนต่อฝูงบินกองทัพอากาศไทย
ด้วยการได้รับการพิสูจน์ถึงความหลากหลาย, ความน่าเชื่อถือ และความทนทาน เรารู้ว่า H225M จะเดินหน้าเติมเต็มขีดความสามารถในภารกิจที่ท้าทายที่สุด กองทัพอากาศไทยสามารถวางใจศูนย์บริการลูกค้าในไทยของเราสำหรับความพร้อมในการใช้งานฝูงบินอย่างต่อเนื่อง" Philippe Monteux หัวหน้าภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิคของ Airbus Helicopters กล่าว

ด้วยคุณสมบัติเครื่องวัดประกอบการบินไฟฟ้าอันล้ำยุคและระบบนักบินกลอันเลื่องชื่อ เฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์ Turboshaft ขนาด 11tons H225M ได้มอบระยะการปฏิบัติการที่ยอดเยี่ยมและความเร็วเดินทางที่รวดเร็ว และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับทุกบทบาทภารกิจ
เฮลิคอปเตอร์ H225M เกือบ ๙๐เครื่องได้รับการเข้าประจำการแล้วในหลายประเทศทั่วโลก และมีชั่วโมงบินรวม ๑๐๐,๗๐๐ชั่วโมงแล้วในปัจจุบัน สำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัยในการรบ, การค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยต่างๆ และปฏิบัติการขนส่งกำลังพล

เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 จาก หน่วยบิน๒๐๓๗ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ จากกองบิน๗ สุราษฎร์ธานีเข้าร่วมภารกิจค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยในทะเลเหตุเรือประสบอุบัติเหตุอับปางในทะเลที่จังหวัดภูเก็ต
การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 ให้ครบตามความต้องการหนึ่งฝูงบินจำนวน ๑๖เครื่องจะสามาารถทำให้ฝูงบิน๒๐๓ สามารถปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H สหรัฐฯที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) ลงได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

กองทัพไทยจัดหายานยนต์ไร้คนขับ Cobra UGV ฝรั่งเศสสำหรับกู้ระเบิด และมองหาอากาศยานไร้คนขับ Mini UAV MALE UAV ใหม่

ECA Group supplies its COBRA UGV for Counter IED/EOD to Thai Armed Forces
ECA Group awarded a new contract with the Thai Armed Forces for the supply of several units of Cobra E.
https://www.ecagroup.com/en/business/eca-group-supplies-its-cobra-ugvs-for-counter-iedeod-to-thai-armed-forces


Army Military Intelligence, Royal Thai Army Mini UAV(Unmanned Aerial Vehicle)(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html

Elbit Systems Hermes 450 Unmanned Aerial Vehicles of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army was delivered since 2017(https://www.facebook.com/กองพันบินที่-๒๑-21st-Aviation-Battalion-860667027402830/)
http://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.html

บริษัท ECA Group ฝรั่งเศสได้รับสัญญาจัดหาจากกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) สำหรับการส่งมอบยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) แบบ Cobra MK2 E จำนวนหลายระบบ
ECA Group ฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จใหม่ในการร่วมมือหุ้นส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศไทย บริษัท Apple Scientific Co., Ltd.

กองทัพไทยได้มองหาระบบที่จะสามารถช่วยพวกเขาในการปกป้องฐานทัพ เช่นเดียวพื้นที่โดยรอบ รวมถึงประชาชนจากภัยคุกคามของระเบิดแสวงเครื่อง(IED: Improvised Explosive Device) ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
การเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด(EOD: Explosive Ordnance Disposal) ในพื้นที่อ่อนไหวเช่นฐานทัพและสถานที่สำคัญจำเป็นต้องใช้ระบบหุ่นยนต์ที่แม่นยำสามารถเข้าไปขัดขวางได้รวดเร็วโดยปราศจากการนำกำลังคนเข้าไปเสี่ยง

UGV น้ำหนักเบาได้เสนอทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเผชิญหน้าตอบโต้ภัยคุกคามเหล่านี้ ตามที่พวกมันมีขีดความสามารถในการตรวจจับและปลดชนวนถอดทำลายระเบิดแสวงเครื่องได้ในระยะเวลาสั้นที่สุดที่เป็นไปได้
การที่ ECA Group ได้รับเลือจากกองทัพไทยต้องขอบคุณสมรรถนะของ Cobra MK2 E UGV และระบบ plug and play อันเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถเสียบอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานได้ในทันที

Cobra MK2 E เป็น UGV หนัก 5kg ที่ได้รับการพิสูจน์ในสงครามแล้วที่พัฒนาโดย ECA Group ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดโดยเฉพาะ พร้อมกับน้ำหนักที่เบามากๆ และระบบควบคุม(Operator Control Unit) ที่ใช้งานง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ปฏิบัติการเดินเท้า
สถาปัตยกรรมแบบ Modular และระบบ plug and play สามารถทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้หลายชนิด ตั้งแต่ระบบค้นหาเพื่อถอดทำลาย, เครื่องยิงน้ำแรงดันสูงหลายแบบ หรือการบูรณาการติดตั้งระบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า

มากไปกว่านั้นทุกส่วนของระบบเป็นแบบพกพาได้และสามารถพร้อมใช้ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วตามที่พวกมันสามารถบรรทุกไปกับเครื่องสนามสะพายหลังและวางกำลังได้ในเวลาไม่กี่นาที
ECA Group ได้ส่งมอบยานยนต์ไร้คนขับ Cobra MK2 E จำนวน ๒ระบบให้กองทัพไทยแล้วในครึ่งแรกของปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

กองวิทยาการ กรมการทหารสื่อ กองทัพบกไทยได้ออกเอกสารคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ชั่วคราวสายสื่อสาร อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กมาก(Mini UAV) หน่วยทหารราบ สนับสนุนศูนย์การทหารราบ จำนวน ๑รายการ
รายละเอียดข้อมูลของอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กมาก(Mini UAV) 
๑.วัตถุประสงค์การใช้งาน
-ใช้ในการบินเฝ้าตรวจ ลาดตระเวนทางอากาศ ตรวจสอบและติดตามเป้าหมายโดยการส่งสัญญาณภาพในขณะบินมายังหน่วยภาคพื้นดิน
๒.คุณลักษณะในทางเทคนิค
   ๒.๑.อากาศยานไร้นักบิน
         ๒.๑.๑.ขับเคลื่อนด้วย Electric Motor
         ๒.๑.๒.นำร่องด้วย GPS หรือดีกว่า
         ๒.๑.๓.รัศมีการบินไกลสุดไม่น้อยกว่า 10km
         ๒.๑.๔.ความเร็วในการบินต่ำสุด 13.7m/s หรือน้อยกว่า
         ๒.๑.๕.ความเร็วในการบินสูงสุด 21m/s หรือมากกว่า
         ๒.๑.๖.ระยะเวลาในการบินสูงสุดไม่น้อยกว่า ๙๐นาที
         ๒.๑.๗.ระดับเพดานการบินสูงสุดไม่น้อยกว่า 5km เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
         ๒.๑.๘.สามารถทนต่อแรงลมความเร็วสูงสุด 20m/s หรือมากกว่า
         ๒.๑.๙.ใช้เวลาเตรียมการบินไม่เกิน ๕นาที
   ๒.๒.ระบบการรับส่งสัญญาณ
         ๒.๒.๑.การรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Data Link(DDL) แบบ Full Duplex
         ๒.๒.๒.ย่านความถี่ใช้งาน 2.20-2.29GHz หรือ 2.31-2.39GHz หรือย่านความถี่ L-Band หรือความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง
         ๒.๒.๓.มีการเข้ารหัสการส่งสัญญาณภาพแบบ AES 128-bits หรือดีกว่า
   ๒.๓.กล้องถ่ายภาพ
         ๒.๓.๑.เป็นกล้องภาพสีและ Infrared ในชุดเดียวกัน
         ๒.๓.๒.มีระบบรักษาเสถียรภาพแบบ Duel-axis Gyro-stabilized
         ๒.๓.๓.มีระบบติดตามเป้าหมายโดยอัตตโนมัติ(Auto-Tracking)
         ๒.๓.๔.ระบบกล้องภาพสีมีความคมชัดสูงสุด 5 megapixels(2,592x1944 pixels) หรือมากกว่า พร้อมทั้ง Zoom ได้ไม่น้อยกว่า ๔ระดับ
         ๒.๓.๕.ระบบกล้อง Infrared มีความคมชัดสูงสุด 640x480 pixels หรือมากกว่า พร้อมทั้ง Zoom ได้ไม่น้อยกว่า ๓ระดับ
         ๒.๓.๖.มี Laser illuminator สำหรับส่องเป้าหมาย
   ๒.๔.ชุดควบคุมภาคพื้นดิน
         ๒.๔.๑.สามารถแสดงภาพและข้อมูลการบินได้แบบ Real Time
         ๒.๔.๒.ผู้ใช้สามารถทำการวางแผนบินล่วงหน้า เรียกดูข้อมูลการบิน บังคับการทำงานของอากาศยานทั้งในระบบอัตโนมัติ และระบบ Manual
         ๒.๔.๓.สามารถโอนการบังคับอากาศยานจากชุดการควบคุมหนึ่งให้ไปอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกชุดควบคุมหนึ่งในขณะทำการบินได้
         ๒.๔.๔.อุปกรณ์ภาคพื้นดินชุดที่สอง(Remote Video Terminal: RVT) สามารถนำมาเป็นอุปกรณ์เพื่อรับภาพอย่างเดียวได้ ซึ่งสามารถมองเห็นภาพแบบ Real Time เช่นเดียวกับผู้บังคับอากาศยาน
         ๒.๔.๕.สามารถบันทึกภาพและข้อมูลการบินและสามารถเรียกดูย้อนหลังได้
         ๒.๔.๖.มีระบบการบินแบบอัตโนมัติ(Auto Pilot)
         ๒.๔.๗.มีระบบการลงจอดแบบอัตตโนมัติ(Auto Landing)
๓.คุณลักษณะในการออกแบบ
   ๓.๑.เป็นอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กควบคุมระยะใกล้ที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
   ๓.๒.สามารถปล่อยขึ้นจากการขว้างและสามารถลงจอดได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม
   ๓.๓.สามารถถอดประกอบตัวอากาศยานเป็นชิ้นส่วนได้
   ๓.๔.ขนาดความกว้างปีกไม่เกิน 2.8m
   ๓.๕.ขนาดความยาวลำตัวไม่รวมกล้องไม่เกิน 1.4m
   ๓.๖.น้ำหนักอากาศยานรวม Battery ไม่เกิน 6.3kg
   ๓.๗.ออกแบบให้สามารถเคลื่อนย้ายและใช้งานได้โดยผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๒คน
   ๓.๘.ใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Battery

กองวิทยาการ กรมการทหารสื่อ กองทัพบกไทยได้ออกเอกสารคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ชั่วคราวสายสื่อสาร อากาศยานไร้นักบินขนาดกลางระยะปฏิบัติการไกล(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) สนับสนุน ศูนย์การบินทหารบก ๑รายการ
รายละเอียดข้อมูลของอากาศยานไร้นักบินขนาดกลางระยะปฏิบัติการไกล(MALE UAV)
๑.วัตถุประสงค์การใช้งาน
-ใช้ในการบินเฝ้าตรวจการลาดตระเวนทางอากาศ ตรวจสอบและติดตามเป้าหมาย
๒.คุณลักษณะในทางเทคนิค
   ๒.๑.อากาศยานไร้นักบิน
         ๒.๑.๑.เครื่องยนต์
                   ๒.๑.๑.๑.ใช้เครื่องยนต์แบบ Single Rotor Wankel-Type หรือดีกว่า
                   ๒.๑.๑.๒.ให้กำลังงานได้ไม่น้อยกว่า 69HP หรือดีกว่า
                   ๒.๑.๑.๓.อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ต่ำกว่า 0.55lb/hr/bhp ที่ 70% cruise power at sea level
                   ๒.๑.๑.๔.น้ำหนักเฉพาะเครื่องยนต์ไม่เกิน 25kg
                   ๒.๑.๑.๕.มีระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ Electronic Fuel Injector(EFI) มีระบบจุดระเบิดด้วยกล่อง Engine Control Unit(ECU) ๒ชุดหรือดีกว่า 
                   ๒.๑.๑.๖.มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Alternator) ขนาดไม่น้อยกว่า 2.2kW
                   ๒.๑.๑.๗.ใช้ได้กับน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีในราชการ
         ๒.๑.๒.ระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน(Avionics System)
                   ๒.๑.๒.๑.ระบบ Avionics มี Computer ๒ชุดหรือมากกว่าสำหรับการบิน(Flight) จำนวน ๑ชุด และควบคุมภารกิจ(Mission Control) จำนวน ๑ชุด เพื่อรองรับ Payload แบบใหม่ในอนาคต โดยไม่กระทบกับระบบการบินของอากาศยาน
                   ๒.๑.๒.๒.อุปกรณ์ Avionic ที่สำคัญต้องเป็นแบบ Redundant มีหลายชุดทำงานสำรองกัน ในกรณีตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังสามารถทำงานทดแทนได้
                   ๒.๑.๒.๓.มีระบบ Navigation สำรอง เมื่อข้อมูล GPS ใช้งานไม่ได้ คือใช้ข้อมูลจากระบบ data link (Pointing Azimuth and Range) และ Dead Reckoning หรือดีกว่า
                   ๒.๑.๒.๔.มีวิทยุ VHF/UHF ติดตั้งบนอากาศยานสำหรับติดต่อหอควบคุมการบิน
                   ๒.๑.๒.๕.มีวิทยุ Tactical Multi-Band VHF/UHF 710 MB เพื่อติดต่อกับกองกำลังภาคพื้นดินในแบบ Clear และ Encrypted หรือดีกว่า
                   ๒.๑.๒.๖.อากาศยานไร้นักบินต้องติดตั้งระบบ IFF Mode 3/A และ C หรือดีกว่า
                   ๒.๑.๒.๗.มีระบบบินกลับอัตโนมัติเมื่อขาดการติดต่อกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน
   ๒.๒.กล้องตรวจการณ์ EO/IR Payload
         ๒.๒.๑.เป็นกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ประกอบไปด้วย กล้อง FLIR ทำงานในช่วง 3-5 micrometre และกล้องภาพสี ZOOM TV CCD หรือดีกว่า
         ๒.๒.๒.เป็นกล้องขนาดกะทัดรัดถอดเปลี่ยนได้ มีระบบรักษาการทรงตัว(Stabilization) หรือดีกว่า
         ๒.๒.๓.กล้องติดตั้ง Tactical Laser Marker/Pointer ที่สามารถมองเห็นได้จากกล้อง NGV ของกองกำลังภาคพื้นดินหรือดีกว่า
         ๒.๒.๔.กล้องติดตั้ง IMU แบบ On-Gimbal IMU หรือดีกว่า เพื่อให้ได้ตำแหน่งของเป้าหมายที่มีความแม่นยำสูง
         ๒.๒.๕.มีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวกล้อง(BIT)
         ๒.๒.๖.กล้องหมุนได้ต่อเนื่องในแนว Azimuth N x 360degree และก้ม-เงยได้ในแนว Elevation +10degree ถึง -89degree หรือดีกว่า
         ๒.๒.๗.ความเร็วการหมุนของกล้อง 60degree/sec (Azimuth and Elevation) หรือดีกว่า
         ๒.๒.๘.ขนาดของเป้าหมายต่ำสุดสำหรับการติดตาม คือ 3x3 pixels หรือดีกว่า
         ๒.๒.๙.Search Mode หมุนทิศทางของกล้องได้โดยการควบคุม
         ๒.๒.๑๐.Tracking Mode ติดตามเป้าหมายอยู่กับที่ หรือเป้าหมายเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ
         ๒.๒.๑๑.สามารถหมุนทิศทางของกล้องไปตำแหน่งที่กำหนดได้ล่วงหน้า
         ๒.๒.๑๒.กล้องภาพสี ZOOM TV CCD
                     ๒.๒.๑๒.๑.เป็นกล้องกลางวันภาพสีหรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๒.๒.เป็นกล้อง CCD มีความคมชัดสูงมีกำลังขยายแบบต่อเนื่องหรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๒.๓.มีความละเอียด 1280x960 pixels array หรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๒.๔.ทำงานในช่วงความยาวคลื่น 400-700 nanometre หรือดีกว่า
         ๒.๒.๑๓.กล้อง FLIR
                     ๒.๒.๑๓.๑.ทำงานในช่วงความยาวคลื่น 3-5 micrometre หรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๓.๒.มีกำลังขยายแบบต่อเนื่อง 30X (Optical) หรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๓.๓.มีความละเอียด 640x512 image samples หรือดีกว่า
                     ๒.๒.๑๓.๔.เป็นกล้องแบบ Closed cycle Sterling Cooler integral หรือดีกว่า
๓.คุณลักษณะในการออกแบบ
   ๓.๑.อากาศยาน(Air Vehicle)
         -ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 6.1m ความกว้างปีกไม่น้อกว่า 10.5m ขนาดลำตัว(Fuselsge diameter) ไม่น้อยกว่า 0.5m ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา

ก่อนหน้านี้กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)ได้จัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ MALE UAV แบบ Hermes 450 จากบริษัท Elbit Systems อิสราเอล เข้าประจำการ ณ กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑(กองบินเบา หรือ กองบินปีกติดลำตัว เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ Mini UAV แบบ RQ-11B Raven จากบริษัท AeroVironment สหรัฐฯ และการพัฒนาอากาศยานตรวจการณ์ไร้คนขับขนาดเล็ก Mini UAV โดย หน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก ซึ่งได้มีการนำระบบ UAV เหล่านี้ไปใช้งานในพื้นที่จริง เช่น ชายแดนภาคใต้แล้วครับ

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

BAE Systems อังกฤษให้รายละเอียดรถถังหลัก Challenger 2 LEP Black Night ต้นแบบใหม่

BAE Systems details Black Night demonstrator


BAE Systems has shown the Black Night, its Challenger 2 LEP technology demonstrator. Source: BAE Systems
https://www.janes.com/article/83009/bae-systems-details-black-night-demonstrator

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2018 Jane's ได้รับการพาเข้าชมและให้รายละเอียดของต้นแบบสาธิตทางเทคโนโลยี Black Night ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรในโครงการยืดอายุการใช้งานรถถังหลัก Challenger 2 Life Extension Project(LEP)
โครงการ LEP มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขระบบภารกิจที่ล้าสมัยและทำให้มั่นใจได้ว่ารถถังหลัก Challenger 2 จะยังคงถูกสนับสนุนการใช้งานจนถึงปี 2035
อย่างไรก็ตามข้อเสนอรถถังหลักต้นแบบสาธิต Challenger 2 LEP Black Night ของ BAE Systems ไม่เพียงแต่เป็นการบรรเทาความล้าสมัยเท่านั้นแต่ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขึ้นด้วย Simon Jackson ผู้นำการรณรงค์ Team Challenger 2 ของ BAE Systems อังกฤษกล่าวกับ Jane's

"BAE Systems ใกล้จะเสร็จสิ้นสัญญาขั้นตอนการประเมินของ Challenger 2 LEP กับกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร เราได้ส่งเอกสารเพื่อสนับสนุนการทบทวนการออกแบบขั้นต้นของกระทรวงกลาโหมอังกฤษ
และ Black Night จะได้รับการพัฒนาเพื่อทั้งการแจ้งถึงแนวทางการพัฒนารถถังหลัก Challenger 2 Mk 2 ของเรา และเพื่อสาธิตความสมบูรณ์ของการออกแบบเรา
ขีดความสามารถใหม่ของรถที่ได้รับการปรับปรุงจะทำให้มั่นใจได้ว่าพวกมันมีประสิทธิภาพไปจนถึงปี 2035 ด้วยศักยภาพการเติบโตคืบหน้าต่อไปนับจากวันนี้ ถ้ากระทรวงกลาโหมอังกฤษยังต้องการ" เขากล่าวต่อ

นอกเหนือจากนี้ ขั้นตอนการออกแบบได้ทำให้เกิดความมีพื้นฐานร่วมกันกับ Ajax ยานเกราะสายพานลาดตระเวนในอนาคตของกองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) ที่กำลังอยู่ภายใต้การผลิตโดยบริษัท General Dynamics Land Systems(GDLS) UK สหราชอาณาจักร
เพื่อขยายความมีพื้นฐานร่วมกันนั้น ผู้บังคับการรถของ Ajax จะสามารถปฏิบัติการในรถถังหลัก Challenger 2 Mk 2 โดยมีการปรับแต่ที่เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย
นี่จะทำให้ช่วยลดภาระในการฝึกและการสนับสนุน ที่เป็นปัญหาในกองทัพหลายๆประเทศที่ต้องเผชิญ เมื่อวางกำลังปฏิบัติการของยานเกราะหลายแบบผสมกัน

ตามข้อมูลจาก Jackson โครงการ Black Night "เป็นการสาธิตการออกแบบเพื่อแสดงว่าสิ่งใดที่ Team Challenger 2 ได้ประสบความสำเร็จในขั้นตอนการประเมิน มันยังรวมถึงการเสนอแกนหลักของระบบภารกิจขั้นก้าวหน้าเช่นเดียวกับตัวเลือกเสริมเช่นระบบต่อต้านป้องกันเชิงรุก(Active Protective Measure)"
การเพิ่มขีดความสามารถยังรวมถึง กล้อง ผบ.รถแบบอิสระ Safran Paseo ฝรั่งเศส กล้องสร้างภาพความร้อนสำหรับพลยิงของ Leonardo และกล้องเล็งมองกลางคืน Leonardo DNVS 4 อิตาลี-สหราชอาณาจักร
การขยายขีดความสามารถนี้เป็นการออกแบบเพื่อทำให้มีขีดความสามารถล่า-สังหาร(Hunter-Killer) ตลอด 24ชั่วโมง ผ่านระบบกล้องสร้างภาพความร้อนสำหรับพลยิง, ผบ.รถ และพลขับที่ติดตั้งมาครับ