Sa'ar 5 class Corvette
http://www.globes.co.il/en/article-israel-navy-awaits-gas-field-defense-vessels-1000974629
สำหรับโครงการเรือตรวจการณ์ใหม่ของกองทัพเรืออิสราเอลสำหรับภารกิจลาดตระเวนในทะเลเมดิเตอเรเนียนนั้น
กองทัพเรืออิสราเอลจำเป็นต้องรอการตัดสินใจในการเลือกแบบเรือใหม่จากกระทรวงกลาโหมไปอีกหนึ่งปี
ไม่ว่าจะเป็นผู้ประมูลจากบริษัทของเยอรมนี สหรัฐฯ เกาหลีใต้ หรืออิสราเอลเอง
กองทัพเรืออิสราเอลมีความต้องการเรือตรวจการณ์ 4ลำสำหรับการป้องกันคุ้มกันแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งเรือจำเป็นต้องมีสมรรถสูงพอในการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายที่คาดว่าจะมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำเช่นระบบ Yakhont ใช้งาน
โดยเรือจะติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Barak สำหรับการทำลายเป้าหมายภัยคุกคามทางอากาศ
ซึ่งกระทรวงกลาโหมอิสราเอลตั้งงบประมาณการจัดหาเรือที่ราว 2 Billion Israeli new shekel ($544 million)
ที่ผ่านมาอิสราเอลมีการเจรจากับรัฐบาลเยอรมนีในการแบ่งค่าใช้จ่ายในการสร้างเรือเช่นเดียวกับโครงการเรือดำน้ำชั้น Dolphin แต่ไม่ประสบผล
การแข่งขันประมูลแบบเรือจะเปิดภายในเดือนธันวาคมปี 2014 นี้และประกาศผลภายในสิ้นปี 2015 ครับ
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557
กองทัพบกเกาหลีใต้สาธิตรถถังหลัก K2 หลังเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ
http://news.naver.com/main/read.nhn?mode=LSD&mid=sec&sid1=100&oid=052&aid=0000580750
กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีสาธิตแสดงการปฏิบัติการของรถถังหลัก K2 ซึ่งเพิ่งเข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆในการซ้อมรบเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2014 ที่ผ่านมา
ถ.หลัก K2 รุ่นเข้าประจำการจริงที่แสดงสาธิตนั้นตัวรถมีการติดตั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA ที่ด้านข้างป้อมปืนและตัวบังโคลนด้านข้างสายพานด้วย
หลังจากนั้นการพัฒนา ถ.K2 Batch II จะเริ่มต้นการพัฒนา โดยคาดว่าจะใช้เครื่องยนต์ใหม่ของ Doosan ขนาด 1500-1650HP
พร้อมเกราะปฏิกิริยาแบบไม่ระเบิด และระบบ Hard-Kill Active Protection System รุ่นล่าสุดครับ
แคนาดาและเดนมาร์คส่งเครื่องบินขับไล่ร่วมโจมตีกลุ่ม IS
http://www.cbc.ca/news/politics/isis-mission-canada-mulls-deploying-cf-18-jets-to-join-u-s-led-strikes-1.2778418?cmp=rss
http://ekstrabladet.dk/nyheder/politik/danskpolitik/article5058258.ece
ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มรัฐอิสลาม IS ในอิรักและซีเรียซึ่งมีสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นผู้นำ
รวมถึงชาติพันธมิตรในตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอเมิเรนส์ และซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน จอร์แดน และกาตาร์ นั้น
ยังมีชาติพันธมิตร NATO ที่เข้าร่วมปฏิบัติการเพิ่มด้วยคือเดนมาร์คซึ่งส่ง F-16AM/BM 7เครื่องเข้าปฏิบัติการ และแคนาดาจะส่ง CF-18A/B เข้าปฏิบัติการเช่นกัน
อย่างไรก็ตามทางนาย Sergei Lavrov รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียซึ่งสนับสนุนรัฐบาลซีเรียของประธานาธิบดี Assad
ได้ออกมาเตือนสหรัฐฯและชาติพันธมิตรในการโจมตีกลุ่ม IS ว่าจำเป็นต้องมีการประสานงานกับรัฐบาลซีเรียก่อนการโจมตี
ไม่ใช่ละเมิดอธิปไตยซีเรียเข้าไปโจมตีโดยพลการซึ่งเป็นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศครับ
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
อียิปต์ลงนามสัญญาจัดหา S-300VM จากรัสเซีย
http://www.dni.ru/economy/2014/9/24/281572.html
มีรายงานว่า Rosoboronexport องค์กรส่งออกอาวุธของรัสเซียได้ลงนามสัญญากับอียิปต์ในการส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-300VM
โดยสัญญามีมูลค่าราวครึ่งพันล้านเหรียญ($500 million?) ซึ่งการผลิตระบบได้เริ่มตั้งแต่วัน 11 กันยายนที่ผ่านมาที่โรงงาน Kirov ใน St. Petersburg
ซึ่งตัวฐานยิงอัตตาจรของระบบคาดว่าจะถูกทำสีพรางเป็นสีทะเลทราย แต่อย่างไรก็ตามทาง Rosoboronexport ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลต่อสื่อมากกว่านี้
http://www.armyrecognition.com/russia_russian_missile_system_vehicle_uk/s-300vm_antey-2500_sa-23_gladiator_giant_technical_data_sheet_specifications_pictures_video.html
S-300VM หรือ Antey-2500 ซึ่ง NATO กำหนดรหัสว่า SA-23 Gladiator\Giant เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล มีระยะยิง 200km
สามารถทำลายเป้าหมายได้ตั้งแต่อากาศยานปีกตรึง อากาศยานปีกหมุน กระสุนนำวิถีความแม่นยำสูง อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน ขีปนาวุธพิสัยใกล้และพิสัยกลาง
ภายใต้ภาวะการต่อต้านทางระบบElectronic (ECM) อย่างรุนแรงครับ
วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557
กองทัพเรือเยอรมนีมีปัญหาความพร้อมปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์
http://www.abendblatt.de/vermischtes/article132488398/Deutsche-Marine-hat-nur-noch-fuenf-flugfaehige-Hubschrauber.html
ตามบทความในข้างต้นกองบินทหารเรือ(Marineflieger) กองทัพเรือเยอรมนีกำลังมีปัญหาจำนวน ฮ.ที่พร้อมปฏิบัติการ
เป็นผลจากการสั่งงดบิน ฮ.Sea Lynx Mk88 จำนวน 22เครื่องเนื่องจากพบปัญหาการแตกร้าวของโครงสร้างซึ่งเป็นอันตรายต่อการบิน
ทำให้กองทัพเรือเยอรมนีขาดกำลัง ฮ.ประจำเรือผิวน้ำ และปราบเรือดำน้ำ
โดยการซ่อม ฮ.Sea Lynx คาดว่าจะเสร็จก่อนเดือนมกราคม 2015 หลังจากนั้น Sea Lynx จะถูกประจำการแทนด้วย ฮ. NH90 NFH
อีกส่วนคือฝูง ฮ.Sea King Mk41 21เครื่อง ซึ่งย้ายจาก Kiel ไป Nordholz นั้นก็มีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุงอย่างร้ายแรงจนไม่สามารถปฏิบัติการได้เป็นส่วนมาก
ในอนาคตกองทัพเรือเยอรมนีจำเป็นต้องมีการจัดหา ฮ.กู้ภัยทางทะเลแบบใหม่มาใช้แทน ฮ.Sea King ที่ใช้งานมานานและล้าสมัย
แต่จากความล่าช้าและการลดจำนวนเครื่องในการจัดหา ฮ.NH90 NFH 18เครื่อง คาดว่ากองทัพเรือเยอรมนีมี ฮ.ที่สามารถปฏิบัติการได้ตอนนี้เพียง 5เครื่องเท่านั้นครับ
วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557
รัสเซียจะขายรถถังหลัก T-90S ให้เปรู
Russia to Supply T-90S Tanks to Peru in Medium-Term: Rosoboronexport
Peru's Ministry of Defense announced the possibility of buying some 140 T-90S tanks in the future after receiving prototypes of the Russian battle tank for trials in May of 2013 in Lima
http://en.ria.ru/russia/20140920/193114964/Russia-to-Supply-T-90S-Tanks-to-Peru-in-Medium-Term.html
จากการให้สัมภาษณ์ของนาย Sergei Goreslavsky รองผู้อำนวยการทั่วไปของ Rosoboronexport องค์กรส่งออกอาวุธของรัสเซียว่า เปรูให้ความสนใจที่จะจัดหารถถังหลัก T-90S จากรัสเซีย
โดยรัฐมนตรีกลาโหมเปรูได้เปิดเผยว่าเป็นไปได้ที่จะจัดหา T-90S ราว 140คัน เป็นการจัดหาในระยะกลาง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของเปรูที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเร็วๆนี้
ซึ่งรัสเซียเคยส่ง T-90S มาแสดงสาธิตที่ Lima ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 มาแล้ว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการแสดงสมรรถนะให้กับผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพเปรู
ทั้งนี้เปรูยังให้ความสนใจที่จะจัดหารถถบรรทุก Kamaz มาผลิตในประเทศทั้งรุ่นทางทหารและรุ่นพลเรือนด้วย
กองทัพเปรูมีรถถังเบา AMX-13 ของฝรั่งเศสประจำการอยู่ 300คัน และ T-55 ของอดีตสหภาพโซเวียตอีก 300คัน แต่ปัจจุบันเหลือใช้งานได้ราว 35คัน และ 50คัน ซึ่งเก่าและล้าสมัยแล้ว
T-90S ที่รัสเซียจะส่งออกให้เปรูนั้นคาดว่าจะเป็นรุ่น T-90MS ล่าสุด ที่ใช้เครื่องยนต์ V-92S2F กำลัง 1130hp ทำความเร็วบนถนนสูงสุด 60km/h และบนภูมิประเทศ 45km/h
อาวุธหลักปืนใหญ่รถถัง 125mm 2A46M5 สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถี 9M119M Refleks ได้ มีป้อมปืน Remote ขนาด 7.62mm เกราะ ERA รุ่นใหม่ และระบบป้องกัน นชค.
โดยรถถังหลัก T-90S จะทำการผลิตโดย Uralvagonzavod แต่ขณะนี้เปรูยังไม่ได้ลงนามสัญญาจัดหาอย่างเป็นทางการ
เคยมีข่าวว่ากองทัพเปรูให้ความสนใจจะจัดหารถถังหลักรุ่นใหม่โดยมีการพิจารณารถถังหลายแบบ
ทั้ง M1A1 Abrams สหรัฐฯ, Leopard2A4 สเปน Leopard2A6 เนเธอร์แลนด์, T-64E T-84 ยูเครน และ K2 เกาหลีใต้
แต่ทางเปรูอาจจะเลือก T-90S จากรัสเซียในที่สุด ซึ่งเปรูยังมีแผนจัดหารถรบจากรัสเซียอีกจำนวนมากเช่น BTR-80A และ BMP-3 ครับ
Peru's Ministry of Defense announced the possibility of buying some 140 T-90S tanks in the future after receiving prototypes of the Russian battle tank for trials in May of 2013 in Lima
http://en.ria.ru/russia/20140920/193114964/Russia-to-Supply-T-90S-Tanks-to-Peru-in-Medium-Term.html
จากการให้สัมภาษณ์ของนาย Sergei Goreslavsky รองผู้อำนวยการทั่วไปของ Rosoboronexport องค์กรส่งออกอาวุธของรัสเซียว่า เปรูให้ความสนใจที่จะจัดหารถถังหลัก T-90S จากรัสเซีย
โดยรัฐมนตรีกลาโหมเปรูได้เปิดเผยว่าเป็นไปได้ที่จะจัดหา T-90S ราว 140คัน เป็นการจัดหาในระยะกลาง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของเปรูที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเร็วๆนี้
ซึ่งรัสเซียเคยส่ง T-90S มาแสดงสาธิตที่ Lima ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 มาแล้ว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการแสดงสมรรถนะให้กับผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพเปรู
ทั้งนี้เปรูยังให้ความสนใจที่จะจัดหารถถบรรทุก Kamaz มาผลิตในประเทศทั้งรุ่นทางทหารและรุ่นพลเรือนด้วย
กองทัพเปรูมีรถถังเบา AMX-13 ของฝรั่งเศสประจำการอยู่ 300คัน และ T-55 ของอดีตสหภาพโซเวียตอีก 300คัน แต่ปัจจุบันเหลือใช้งานได้ราว 35คัน และ 50คัน ซึ่งเก่าและล้าสมัยแล้ว
T-90S ที่รัสเซียจะส่งออกให้เปรูนั้นคาดว่าจะเป็นรุ่น T-90MS ล่าสุด ที่ใช้เครื่องยนต์ V-92S2F กำลัง 1130hp ทำความเร็วบนถนนสูงสุด 60km/h และบนภูมิประเทศ 45km/h
อาวุธหลักปืนใหญ่รถถัง 125mm 2A46M5 สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถี 9M119M Refleks ได้ มีป้อมปืน Remote ขนาด 7.62mm เกราะ ERA รุ่นใหม่ และระบบป้องกัน นชค.
โดยรถถังหลัก T-90S จะทำการผลิตโดย Uralvagonzavod แต่ขณะนี้เปรูยังไม่ได้ลงนามสัญญาจัดหาอย่างเป็นทางการ
เคยมีข่าวว่ากองทัพเปรูให้ความสนใจจะจัดหารถถังหลักรุ่นใหม่โดยมีการพิจารณารถถังหลายแบบ
ทั้ง M1A1 Abrams สหรัฐฯ, Leopard2A4 สเปน Leopard2A6 เนเธอร์แลนด์, T-64E T-84 ยูเครน และ K2 เกาหลีใต้
แต่ทางเปรูอาจจะเลือก T-90S จากรัสเซียในที่สุด ซึ่งเปรูยังมีแผนจัดหารถรบจากรัสเซียอีกจำนวนมากเช่น BTR-80A และ BMP-3 ครับ
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557
ความคืบหน้าการสร้าง บ.ทอ.๖ สู่การผลิตแบบสายการผลิต
การพัฒนาการสร้างต้นแบบไปเป็นการผลิตแบบสายการผลิต ที่ผลิตภัณฑ์ต้องมีความแม่นยำ ชิ้นส่วนเหมือนกันทุกชิ้น มีระบบเอกสารที่เป็นมาตรฐาน มีงานหลายแขนงมากมาย
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะก้าวกระโดด เป็นงานที่ไม่เคยทำมาเลยในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต้องอาศัยความเสียสละ อุดมการณ์ ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของผู้ที่อุทิศตัวทำงาน
ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่ออนาคตของลูกหลานฝากไว้ในผืนแผ่นดินไทยโดยชาวกรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ ที่ยังยืนหยัดและยืนยันว่า เราคนไทยสร้างเครื่องบินได้จริงๆ
ขอขอบคุณเพลงที่สวยงาม เพลง คนดีไม่มีวันตาย ธีร์ ไชยเดช - เพลงประกอบภาพยนตร์ขุนรองปลัดชู เติมกำลังใจให้ กลุ่มคนทำงาน
https://www.facebook.com/rtaf6
Clip ในข้างต้นนี่ก็ได้เห็นขั้นตอนการทำงานในการพัฒนา บ.ทอ.๖ เข้าสู่ขั้นเปิดสายการผลิตหลายๆส่วนครับ
ถ้ามีความคืบหน้าของโครงการนี้เพิ่มเติมจะนำมารายงานกันต่อไปครับ
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
การจัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 สองเครื่องและการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมของกองทัพบกไทย
มีรายงานข่าวเกี่ยวกับ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 กองทัพบกไทย สองเรื่องครับ
พล.ต.พรชัย ดวงเนตร จก.ขส.ทบ ผู้แทนรัฐบาลไทย ลงนามการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ MI17v5 ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย เมื่อ 24 ก.ค. 57
http://www.matulee.com/picture/mi17signed.html
การลงนามสัญญาจัดหา Mi-17V5 นี้น่าจะเป็นการจัดหาเพิ่มเติม 2เครื่องวงเงิน 1,253ล้านบาท
ตามที่มีรายงาน ครม.อนุมัติการจัดหาไปพร้อมกับ UH-72A 6เครื่องเมื่อปลายปีที่แล้ว
ปัจจุบัน ฮ.ท.๑๗ 3เครื่องแรกที่จัดหามาในปี 2011 ประจำการอยู่ในกองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งก็ปฏิบัติการสนับสนุนภารกิจของกองทัพบกได้ดี
แต่ไม่แน่ใจว่าในการลงนามจัดหาโดยเจ้าหน้าที่ของ กรมการขนส่งทหารบก นั้น
ฮ.ท.๑๗ ที่จะจัดหามาใหม่จะยังอยู่ที่ ศบบ. หรือเป็นของ ขส.ทบ.ครับ
อีกข่าวหนึ่งคือการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ ที่มีอยู่
วันนี้ เวลา 0900 - 1400 ได้ทำการบินทดสอบสิ่งอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ จัดหาโดย ขส.ทบ. ชื่อเป็นภาษาไทยเรียกง่ายๆดีกว่านะครับ R.S กลัวพิมพ์ผิดแล้วจะปล่อยไก่
- รอกลงทางดิ่ง
- ถังตักน้ำดับไฟป่า
- อุปกรณ์ยกหิ้วภายนอก
โดยทำการแนะนำอุปกรณ์สาธิตวิธีการใช้งานและบินทดสอบจากเจ้าหน้าที่ของ KAZAN HELICOPTER สหพันธรัฐ รัสเซีย
ที่มา Page กองบินสนับสนุนทั่วไป
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion
จะเห็นได้ว่าการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 จะทำให้สามารถทำภารกิจหลายอย่างที่ ฮ.ล.๔๗ CH-47D เคยทำได้
เช่นการดับไฟป่า หรือการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ด้วยการยกหิ้วนอกตัวเครื่อง และส่งกำลังพลจากเครื่องลงทางดิ่งขณะลอยตัว
แต่ที่สังเกตคือการจัดหาอุปกรณ์เสริมของ ฮ.ท.๑๗ นี้เป็นการจัดหาโดย ขส.ทบ.เช่นกัน
เพิ่มเติมข้อมูล การจัดหาอากาศยานของกองทัพบกนั้นจะเป็นหน้าที่ของเหล่าทหารขนส่งในการควบคุมงานโดยภาพรวม
เพราะฉะนั้นการจัดหาอากาศยานและอุปกรณ์ต่างๆสำหรับอากาศยานของกองทัพบกจะต้องผ่านทาง กรมการขนส่งทหารบก ครับ
พล.ต.พรชัย ดวงเนตร จก.ขส.ทบ ผู้แทนรัฐบาลไทย ลงนามการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ MI17v5 ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย เมื่อ 24 ก.ค. 57
http://www.matulee.com/picture/mi17signed.html
การลงนามสัญญาจัดหา Mi-17V5 นี้น่าจะเป็นการจัดหาเพิ่มเติม 2เครื่องวงเงิน 1,253ล้านบาท
ตามที่มีรายงาน ครม.อนุมัติการจัดหาไปพร้อมกับ UH-72A 6เครื่องเมื่อปลายปีที่แล้ว
ปัจจุบัน ฮ.ท.๑๗ 3เครื่องแรกที่จัดหามาในปี 2011 ประจำการอยู่ในกองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งก็ปฏิบัติการสนับสนุนภารกิจของกองทัพบกได้ดี
แต่ไม่แน่ใจว่าในการลงนามจัดหาโดยเจ้าหน้าที่ของ กรมการขนส่งทหารบก นั้น
ฮ.ท.๑๗ ที่จะจัดหามาใหม่จะยังอยู่ที่ ศบบ. หรือเป็นของ ขส.ทบ.ครับ
อีกข่าวหนึ่งคือการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ ที่มีอยู่
วันนี้ เวลา 0900 - 1400 ได้ทำการบินทดสอบสิ่งอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ จัดหาโดย ขส.ทบ. ชื่อเป็นภาษาไทยเรียกง่ายๆดีกว่านะครับ R.S กลัวพิมพ์ผิดแล้วจะปล่อยไก่
- รอกลงทางดิ่ง
- ถังตักน้ำดับไฟป่า
- อุปกรณ์ยกหิ้วภายนอก
โดยทำการแนะนำอุปกรณ์สาธิตวิธีการใช้งานและบินทดสอบจากเจ้าหน้าที่ของ KAZAN HELICOPTER สหพันธรัฐ รัสเซีย
ที่มา Page กองบินสนับสนุนทั่วไป
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion
จะเห็นได้ว่าการจัดหาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมสำหรับ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 จะทำให้สามารถทำภารกิจหลายอย่างที่ ฮ.ล.๔๗ CH-47D เคยทำได้
เช่นการดับไฟป่า หรือการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ด้วยการยกหิ้วนอกตัวเครื่อง และส่งกำลังพลจากเครื่องลงทางดิ่งขณะลอยตัว
แต่ที่สังเกตคือการจัดหาอุปกรณ์เสริมของ ฮ.ท.๑๗ นี้เป็นการจัดหาโดย ขส.ทบ.เช่นกัน
เพิ่มเติมข้อมูล การจัดหาอากาศยานของกองทัพบกนั้นจะเป็นหน้าที่ของเหล่าทหารขนส่งในการควบคุมงานโดยภาพรวม
เพราะฉะนั้นการจัดหาอากาศยานและอุปกรณ์ต่างๆสำหรับอากาศยานของกองทัพบกจะต้องผ่านทาง กรมการขนส่งทหารบก ครับ
เครื่องบินรบรัสเซียรุกล้ำน่านฟ้าสวีเดน
http://www.thelocal.se/20140918/russian-jets-violate-swedish-airspace-report
เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-24 สองเครื่องของกองทัพรัสเซียซึ่งบินขึ้นจากฐานทัพอากาศใน Kaliningrad
ได้บินขึ้นเหนือรุกล้ำน่านฟ้าสวีเดนในเขตเกาะ Oland ทะเล Baltic ด้วยเพดานบินระดับต่ำ ในช่วงอาหารกลางวันของวันพุธที่ผ่านมา
กองทัพอากาศสวีเดนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Gripen เข้าสกัดกั้นโดย Su-24 รัสเซียได้หันเครื่องกลับเมื่อ บ.Gripen ถึง
รัฐบาลสวีเดนได้แสดงความไม่พอใจในการถูกละเมิดน่านฟ้าตนซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางอย่างเป็นทางการ
แต่ทางการรัสเซียยังไม่มีรายงานการแสดงความเห็นในกรณีนี้ขณะนี้ครับ
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
ตุรกีและปากีสถานจะฝึกร่วมระหว่างเหล่าทหารม้าและหน่วยรบพิเศษ
Logo of Turkey's Special Forces Command and Pakistan's Special Services Group Insignia
http://www.tsk.tr/3_basin_yayin_faaliyetleri/3_2_basin_duyurulari/2014/bd_39.html
เอกสารข้างต้นลงรายละเอียดว่ากองทัพตุรกีและกองทัพปากีสถานจะจัดการฝึกซ้อรบร่วมกันระหว่างทหารม้าและรบพิเศษที่ตุรกีระหว่างวันที่ 15-30 กันยายน 2014
โดยการฝึกจะจัดที่ศูนย์บัญชาการโรงเรียนทหารม้าและทหารภูเขาที่ Egirdir สำหรับทหารม้าหนึ่งกองร้อย
และกองบัญชาการคณะเสนาธิการรบพิเศษที่ Ankara สำหรับรบพิเศษหนึ่งทีมของแต่ละประเทศ
การฝึกจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของทหารม้าและรบพิเศษระหว่างกันของปากีสถานและตุรกีครับ
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
กองทัพอากาศสหรัฐฯจะยุบฝูงบินข้าศึกสมมุติ F-15
http://foxtrotalpha.jalopnik.com/usafs-dubious-priorities-results-in-axing-of-f-15-aggre-1633886869/1634598078/+ballaban
ตามแผนการลดงบประมาณกลางโหมของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีอย่างต่อเนื่อง
ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับผลในการต้องลดค่าใช้จ่ายในหน่วยของตนลงอย่างมากเช่นกัน
ล่าสุดกองทัพอากาศมีแผนจะทำการยุบฝูงบินข้าศึกสมมุติที่65 ซึ่งใช้ F-15C/D จำนวน 19เครื่อง
ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Nelis ใน Nevada Las Vegas เช่นเดียวกับเครื่อง F-16 ในฝูงบินข้าศึกสมมุติที่64
โดยฝูงนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนฝึกการใช้อาวุธเครื่องบินขับไล่(USAF Fighter Weapons School) และร่วมการฝึก Red Flag และ Green Flag มาตลอด
F-15C ในฝูงข้าศึกสมมุติถูกใช้ในการจำลองยุทธวิธีการรบเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ของรัสเซีย เช่น Su-27 หรือ MiG-31
แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการของ F-15 นั้นสูงกว่า F-16 กองทัพอากาศสหรัฐฯจึงตัดสินใจยุบฝูงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายครับ
ตามแผนการลดงบประมาณกลางโหมของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีอย่างต่อเนื่อง
ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับผลในการต้องลดค่าใช้จ่ายในหน่วยของตนลงอย่างมากเช่นกัน
ล่าสุดกองทัพอากาศมีแผนจะทำการยุบฝูงบินข้าศึกสมมุติที่65 ซึ่งใช้ F-15C/D จำนวน 19เครื่อง
ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Nelis ใน Nevada Las Vegas เช่นเดียวกับเครื่อง F-16 ในฝูงบินข้าศึกสมมุติที่64
โดยฝูงนี้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนฝึกการใช้อาวุธเครื่องบินขับไล่(USAF Fighter Weapons School) และร่วมการฝึก Red Flag และ Green Flag มาตลอด
F-15C ในฝูงข้าศึกสมมุติถูกใช้ในการจำลองยุทธวิธีการรบเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ของรัสเซีย เช่น Su-27 หรือ MiG-31
แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการของ F-15 นั้นสูงกว่า F-16 กองทัพอากาศสหรัฐฯจึงตัดสินใจยุบฝูงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายครับ
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
ฝรั่งเศสจะประเมินผลศึกษา M345 สำหรับทดแทน Alpha Jet
France to evaluate M-345 as possible Alpha Jet replacement
http://www.flightglobal.com/news/articles/france-to-evaluate-m-345-as-possible-alpha-jet-replacement-403569/
กองทัพอากาศฝรั่งเศสมีแผนจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ทดแทน Alpha Jet จำนวนราว 86เครื่องที่ใช้งานมานานหลายสิบปี
โดยเครื่องแบบหนึ่งที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจจะนำมาทดสอบประเมินความเป็นไปได้คือ M345 ของ Alenia Aermacchi อิตาลี
ซึ่งมีข้อมูลว่ากองทัพอากาศฝรั่งเศสอาจจะจัดหา บ.ฝึก M345 ในจำนวนเดียวกับที่กองทัพอากาศอิตาลีจะจัดหา
Alenia Aermacchi M345 เป็นการเปลี่ยนรหัสจาก M311 เดิมใหม่ในปี 2012
โดย M345 มีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงมาจาก S-211 ซึ่งประจำการในกองทัพอากาศหลายประเทศ
M345 เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบาสองที่นั่ง ใช้เครื่องยนต์ Pratt & Whitney JT15D-5C turbofan กำลังขับ 3,190lbs หนึ่งเครื่อง
ทำความเร็วสูงสุด 400konts มีตำบลอาวุธ 5แห่งสำหรับกระเปาะปืน จรวดและระเบิดน้ำหนักรวม 2,205lb ครับ
http://www.flightglobal.com/news/articles/france-to-evaluate-m-345-as-possible-alpha-jet-replacement-403569/
กองทัพอากาศฝรั่งเศสมีแผนจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ทดแทน Alpha Jet จำนวนราว 86เครื่องที่ใช้งานมานานหลายสิบปี
โดยเครื่องแบบหนึ่งที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจจะนำมาทดสอบประเมินความเป็นไปได้คือ M345 ของ Alenia Aermacchi อิตาลี
ซึ่งมีข้อมูลว่ากองทัพอากาศฝรั่งเศสอาจจะจัดหา บ.ฝึก M345 ในจำนวนเดียวกับที่กองทัพอากาศอิตาลีจะจัดหา
Alenia Aermacchi M345 เป็นการเปลี่ยนรหัสจาก M311 เดิมใหม่ในปี 2012
โดย M345 มีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงมาจาก S-211 ซึ่งประจำการในกองทัพอากาศหลายประเทศ
M345 เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบาสองที่นั่ง ใช้เครื่องยนต์ Pratt & Whitney JT15D-5C turbofan กำลังขับ 3,190lbs หนึ่งเครื่อง
ทำความเร็วสูงสุด 400konts มีตำบลอาวุธ 5แห่งสำหรับกระเปาะปืน จรวดและระเบิดน้ำหนักรวม 2,205lb ครับ
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุง BMP-2 ของกองทัพฟินแลนด์
http://www.iltasanomat.fi/kotimaa/art-1288735510461.html
กองทัพฟินแลนด์มีแผนจะปรับปรุงรถรบทหารราบ BMP-2 ซึ่งใช้งานในกองทัพมานาน
ข้อมูลล่าสุดนั้นโครงการปรับปรุง BMP-2 จำนวน 110คันจะมีวงเงินที่ราว 25-30 million euros โดยไม่รวมภาษี
โดยการปรับปรุงหลักจะมีเช่นการติดตั้งกล้องมองกลางคืนรุ่นใหม่และเพิ่มคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก
ระยะเวลาปรับปรุงอยู่ที่ช่วงปี 2015-2019 โดบบริษัทที่รับงานคือ Conlog หรือ Oricopa ตามที่เคยรายงานไป
กองทัพฟินแลนด์นั้นนอกจากรถรบทหารราบ BMP-2 แล้วยังได้มีการจัดหารถรบทหารราบ CV9030FIN จำนวน 102คันด้วย
ซึ่งกองทัพฟินแลนด์เลือกที่จะปรับปรุง BMP-2 ให้ใช้งานต่อจนถึงราวปี 2030 ครับ
วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557
ออสเตรเลียเลือกเรือดำน้ำญี่ปุ่นทดแทนเรือชั้น Collins
http://www.news.com.au/national/new-japanese-submarines-to-cost-abbott-government-20-billion/story-fncynjr2-1227050682205
หลังจากมีข่าวให้ความสนใจ Technology เรือดำน้ำของญี่ปุ่นมาระยะหนึ่ง
รัฐบาลนายกรัฐมนตรี Tony Abbott ออสเตรเลียมีแผนที่จะอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำชั้น Soryu จากญี่ปุ่นในช่วงปลายปีนี้
เป็นเรือดำน้ำที่จะจัดหาทดแทนเรือชั้น Collins จำนวน 10ลำนี้ตั้งงบประมาณไว้ที่ $20 Billion
การตัดสินใจนี้มีผลจากปัญหาการใช้งานเรือชั้น Collins ที่มีแผนจะปลดประจำการในราวปี 2026
โดยการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำชั้น Collins ออสเตรเลียต้องเสียงบประมาณไปปีละไม่ต่ำกว่า $2 billion
ทำให้การจัดหาเรือดำน้ำใหม่จากญี่ปุ่น 10ลำก่อนปี 2030 เป็นต้นไปเป็นแนวทางที่ประหยัดงบประมาณกว่า
ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท TKMS เยอรมนีและ DCNS ฝรั่งเศสได้เสนอเรือดำน้ำของตนให้ออสเตรเลียมาแล้ว 12ลำ วงเงิน $20 Billion เช่นกัน
และการที่รัฐบาลออสเตรเลียไม่รับปากที่จะสร้างเรือดำน้ำจากบริษัท ACS ออสเตรเลียเองด้วย
เรือดำน้ำชั้น Soryu ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีระวางขับน้ำ 4,200tons ลูกเรือ 65นาย
ขับเคลื่อนด้วยระบบดีเซล-ไฟฟ้า และ AIP มีพิสัยทำการ 11,000km ที่ความเร็ว 12 km/hr ครับ
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
จีนเปิดตัวรถถังหลัก MBT-3000 สำหรับส่งออกต่างประเทศ
NORINCO Group ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายสำคัญของจีนได้จัดงานแสดงยานยนต์ NORINCO Armour Day 2014
เพื่อจัดแสดงสาธิตสมรรถนะของยานยนต์ทางทหารรุ่นส่งออกให้กับแขกจากประเทศที่สนใจชม
ซึ่งก็มีทั้งรถบรรทุกทางทหารขนาดใหญ่ รถรบทหารราบล้อยาง 8x8 VN1 และรุ่นติดปืนใหญ่รถถัง ST1
รถถังหลัก VT2 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ Type 96G ที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนใช้
แต่ตัวเด่นสุดในงานคือรถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 ซึ่งเป็นรถถังต้นแบบสำหรับส่งออกรุ่นล่าสุดครับ
ใน Clip จะเห็นภาพการสาธิตสมรรถนะการเคลื่อนที่ของ VT4 หรือ MBT-3000 ซึ่งใช้เครื่องยนต์กำลัง 1300HP
รวมถึงลักษณะระบบอุปกรณ์ภายนอกของตัวรถที่ต่างจาก VT1A หรือ MBT-2000 หลายส่วน
เช่นมีกล้องเล็ง Panoranic ที่ตำแหน่ง ผบ.รถ และป้อมปืน Remote ลักษณะคล้ายกับที่ติดกับ T-90MS สำหรับปืนขนาด 7.62mm หรือ 12.7mm
และจะเห็นการแสดงการยิง ปถ.125mm และระบบ Autoloader ของจีนเองซึ่งต่างจากของรัสเซียไม่มากที่แม่นยำด้วย
(ตัว Autoloader น่าจะมีพื้นฐานมาจากแบบที่ใช้กับรถถังตระกูล T-72 ของรัสเซีย
โดยเป็นระบบบรรจุสองจังหวะคือบรรจุหัวกระสุนก่อนแล้วบรรจุดินส่งกึ่งครบนัดตาม)
VT4 หรือ MBT-3000 จะเป็นรถถังหลักรุ่นส่งออกที่มีระดับ Technology สูงที่สุดที่จีนจะขายให้ต่างประเทศที่สนใจ
โดยราคาจะค่อนข้างแพงกว่า VT1A หรือ MBT-2000 ที่มีพื้นฐานจาก Type 96 ซึ่งจีนสามารถส่งออกไปได้หลายประเทศแล้ว เช่น พม่า บังคลาเทศ
เห็นใน Wikipedia ลงข้อมูลว่ามีกองทัพแคเมอรูนให้ความสนใจที่อาจจะจัดหา MBT-3000 ไปใช้ด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557
กองทัพอากาศอินเดียไม่พอใจความคืบหน้าของ PAK FA T-50
Indian Air Force unhappy at progress of PAK-FA fifth-gen fighter
The fifth flying Sukhoi T-50 PAK-FA prototype (side number '055') caught fire on 10 June after landing. Source: UAC
http://www.janes.com/article/42765/indian-air-force-unhappy-at-progress-of-pak-fa-fifth-gen-fighter
กองทัพอากาศอินเดียได้แสดงความกังวลต่อรัสเซียถึงความล่าช้าและปัญหาทาง Technic ของการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 PAK FA T-50
ซึ่งจะเป็นต้นแบบพิ้นฐานของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ของอินเดีย FGFA(Fifth Generation Fighter Aircraft) วงเงิน $10.5Billion
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องยนต์หลัก AL-41F1 ที่ยังมีการพัฒนาไม่เพียงพอ คุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก การบรรทุกอาวุธของเครื่อง
ขีดความสามารถของ Radar AESA แบบ Byelka ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การบำรุงรักษาและด้านความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น
นั่นทำให้กองทัพอากาศอินเดียวางแผนที่จะลดจำนวนเครื่อง FGFA ลงจาก 220เครื่อง เหลือ 130-145เครื่อง และลดจำนวนเครื่องฝึกสองที่นั่งเหลือ 45-50เครื่อง
นอกจากนี้รัสเซียยังเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากอินเดียอีกราว $1 billion สำหรับการพัฒนาด้วย
แต่ประเด็นสำคัญคืออินเดียไม่พอใจมากที่รัสเซียดูจะไม่เต็มใจที่จะแบ่งปัน Technology ในการพัฒนาเครื่องของตนให้อินเดียมากนัก
โดย HAL(Hindustan Aeronautics Limited) ผู้ผลิตเครื่องบินของอินเดียมีปัญหาการเข้าถึงฐานข้อมูล Technology ระบบอากาศยานของรัสเซีย
ตั้งแต่ไม่อนุญาตให้เข้าถึงการวิเคราะห์สาเหตุที่เครื่องต้นแบบเกิดเพลิงไหม้ การแบ่งส่วนการทำงานที่ลดลงจากร้อยละ25 เป็นร้อยละ13 ในปี 2013
ทำให้ HAL จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ ยางล้อ ระบบนำร่องพื้นฐาน กระเปาะ Laser ชี้เป้า จอแสดงภาพตรงหน้า HUD และ ระบบหล่อเย็นของ Radar สำหรับเครื่อง FGFA เท่านั้น
เมื่อประกอบกับเงินที่อินเดียต้องจ่ายมากขึ้นกว่าครึ่ง นี่จึงเป็นข้อจำกัดอย่างร้ายแรกที่อินเดียดูจะเสียเปรียบต่อรัสเซียในโครงการนี้
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศอินเดียและ HAL ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการ
สายการผลิตของ PAK FA โดย United Aircraft Corporation ของรัสเซียจะเริ่มขึ้นในปี 2016-2017
ส่วน FGFA คาดว่าจะเริ่มสายการผลิตโดย HAL ในอินเดียปี 2020-2021
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความล่าช้าในการพัฒนาของเครื่องยนต์และ Radar AESA ที่อินเดียยืนยันว่าต้องการระบบที่ดีกว่าด้วยครับ
The fifth flying Sukhoi T-50 PAK-FA prototype (side number '055') caught fire on 10 June after landing. Source: UAC
http://www.janes.com/article/42765/indian-air-force-unhappy-at-progress-of-pak-fa-fifth-gen-fighter
กองทัพอากาศอินเดียได้แสดงความกังวลต่อรัสเซียถึงความล่าช้าและปัญหาทาง Technic ของการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 PAK FA T-50
ซึ่งจะเป็นต้นแบบพิ้นฐานของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ของอินเดีย FGFA(Fifth Generation Fighter Aircraft) วงเงิน $10.5Billion
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องยนต์หลัก AL-41F1 ที่ยังมีการพัฒนาไม่เพียงพอ คุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก การบรรทุกอาวุธของเครื่อง
ขีดความสามารถของ Radar AESA แบบ Byelka ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การบำรุงรักษาและด้านความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น
นั่นทำให้กองทัพอากาศอินเดียวางแผนที่จะลดจำนวนเครื่อง FGFA ลงจาก 220เครื่อง เหลือ 130-145เครื่อง และลดจำนวนเครื่องฝึกสองที่นั่งเหลือ 45-50เครื่อง
นอกจากนี้รัสเซียยังเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากอินเดียอีกราว $1 billion สำหรับการพัฒนาด้วย
แต่ประเด็นสำคัญคืออินเดียไม่พอใจมากที่รัสเซียดูจะไม่เต็มใจที่จะแบ่งปัน Technology ในการพัฒนาเครื่องของตนให้อินเดียมากนัก
โดย HAL(Hindustan Aeronautics Limited) ผู้ผลิตเครื่องบินของอินเดียมีปัญหาการเข้าถึงฐานข้อมูล Technology ระบบอากาศยานของรัสเซีย
ตั้งแต่ไม่อนุญาตให้เข้าถึงการวิเคราะห์สาเหตุที่เครื่องต้นแบบเกิดเพลิงไหม้ การแบ่งส่วนการทำงานที่ลดลงจากร้อยละ25 เป็นร้อยละ13 ในปี 2013
ทำให้ HAL จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ ยางล้อ ระบบนำร่องพื้นฐาน กระเปาะ Laser ชี้เป้า จอแสดงภาพตรงหน้า HUD และ ระบบหล่อเย็นของ Radar สำหรับเครื่อง FGFA เท่านั้น
เมื่อประกอบกับเงินที่อินเดียต้องจ่ายมากขึ้นกว่าครึ่ง นี่จึงเป็นข้อจำกัดอย่างร้ายแรกที่อินเดียดูจะเสียเปรียบต่อรัสเซียในโครงการนี้
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศอินเดียและ HAL ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการ
สายการผลิตของ PAK FA โดย United Aircraft Corporation ของรัสเซียจะเริ่มขึ้นในปี 2016-2017
ส่วน FGFA คาดว่าจะเริ่มสายการผลิตโดย HAL ในอินเดียปี 2020-2021
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความล่าช้าในการพัฒนาของเครื่องยนต์และ Radar AESA ที่อินเดียยืนยันว่าต้องการระบบที่ดีกว่าด้วยครับ
วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557
กองทัพเรือโปแลนด์ทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถี Barak-8
Polish navy tests Barak-8 missile
http://www.flightglobal.com/blogs/ariel-view/2014/09/barak-8-missile-offered-polish-navy/
กองทัพเรือโปแลนด์ทดสอบประเมินค่าอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ Barak-8 ของอิสราเอลเพื่อประเมินการนำมาติดตั้งกับเรือในอนาคต
ระบบ Barak-8 เป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอิสราเอลและอินเดียในปี 2007 และถูกเลือกใช้งานโดยกองทัพเรืออินเดีย สำหรับเรืออย่างน้อย 14ลำ
โดยอินเดียลงทุนในข้างต้น $350 million และ Israel Aerospace Industries เป็นผู้ถือทุนร้อยละ 50
Barak-8 มีพิสัยทำการ 38nm (70km) ที่ความเร็ว 2Mach สามารถทำลายเป้าหมายทางอากาศได้หลายแบบ
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ อากาศยาน UAV และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง
IAI และ Rafael อิสราเอลยังได้เสนอระบบในตระกูล Barak แบบพิสัยใกล้ พิสัยกลาง และพิสัยไกล รวมถึงรุ่นฐานยิงบนฝั่ง
สำหรับลูกค้าพร้อมระบบ Radar ของ IAI และ Elta ด้วยครับ
http://www.flightglobal.com/blogs/ariel-view/2014/09/barak-8-missile-offered-polish-navy/
กองทัพเรือโปแลนด์ทดสอบประเมินค่าอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ Barak-8 ของอิสราเอลเพื่อประเมินการนำมาติดตั้งกับเรือในอนาคต
ระบบ Barak-8 เป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอิสราเอลและอินเดียในปี 2007 และถูกเลือกใช้งานโดยกองทัพเรืออินเดีย สำหรับเรืออย่างน้อย 14ลำ
โดยอินเดียลงทุนในข้างต้น $350 million และ Israel Aerospace Industries เป็นผู้ถือทุนร้อยละ 50
Barak-8 มีพิสัยทำการ 38nm (70km) ที่ความเร็ว 2Mach สามารถทำลายเป้าหมายทางอากาศได้หลายแบบ
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ อากาศยาน UAV และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียง
IAI และ Rafael อิสราเอลยังได้เสนอระบบในตระกูล Barak แบบพิสัยใกล้ พิสัยกลาง และพิสัยไกล รวมถึงรุ่นฐานยิงบนฝั่ง
สำหรับลูกค้าพร้อมระบบ Radar ของ IAI และ Elta ด้วยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)