วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Boeing สหรัฐฯและออสเตรเลียเปิดตัวระบบคู่บินอากาศยานไร้คนขับ Airpower Teaming System

PICTURES:  Boeing unveils new loyal wingman drone at Avalon
Boeing Australia unveiled at the Avalon air show in Victoria, Australia a mock-up of a new unmanned air vehicle called the Airpower Teaming System, designed to fly as a loyal wingman alongside fourth- and fifth-generation fighter aircraft.

Rendering Boeing Airpower Teaming System flying solo

Rendering of Boeing Airpower Teaming System with F/A-18 Super Hornets

Rendering of Boeing Airpower Teaming System with airborne early warning and control aircraft
https://www.flightglobal.com/news/articles/pictures-boeing-unveils-new-loyal-wingman-drone-at-456123/


บริษัท Boeing Australia สหรัฐฯสาขาออสเตรเลียได้เปิดตัวแบบจำลองขนาดเท่าของจริงของระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Air Vehicle) แบบใหม่ที่เรียกว่าระบบนภานุภาพเป็นทีม(ATS: Airpower Teaming System)
ที่ถูกออกแบบมาเป็นคู่บินภักดี(Loyal Wingman) เคียงข้างร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 และเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ในงานแสดงการบินนานาชาติ Avalon Airshow 2019 ที่ Victoria ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2019

เช่นเดียวแนวคิดคู่บินภักดีของห้องทดลองวิจัยพัฒนากองทัพอากาศสหรัฐฯ(US Air Force Research Laboratory) Boeing กล่าวว่าตนกำลังร่วมพัฒนา UAV กับรัฐบาลออสเตรเลีย แต่ UAV ได้รับการออกแบบไม่ได้เป็นไปตามความต้องการทางทหารเฉพาะใดๆ
Boeing สหรัฐฯและออสเตรเลียจะทำการสร้างอากาศยานไร้คนขับต้นแบบสาธิตที่เรียกว่าโครงการพัฒนาขั้นก้าวหน้า-คู่บินภักดี(Loyal Wingman-Advanced Development Programme) ที่มีจุดประสงค์เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่สำคัญในการผลิต Boeing Airpower Teaming System

การเตรียมพร้อมแบบสายการผลิตที่จะมีขึ้นของอากาศยานจะเป็นการประกอบเครื่องต้นแบบขั้นต้น แม้ว่าไส้ในของ UAV จะได้รับการดัดแปลงอย่างมาก นั่นทำให้ผู้ใช้งานทางทหารที่ต่างกันสามารถเปลี่ยนการบรรทุกอุปกรณ์ เช่น ระบบตรวจจับข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน
Boeing คาดว่า UAV จะทำการบินครั้งแรกในปี 2020 โดยตั้งใจที่สร้างเครื่องต้นแบบ 3เครื่องในสถานที่ไม่เปิดเผยในออสเตรเลีย แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยว่าที่ใดจะเป็นสถานที่ผลิตเครื่องตัวอย่าง ซึ่งระบบ Airpower Teaming System นี่เป็น UAV แบบแรกของ Boeing ที่ออกแบบและสร้างนอกสหรัฐฯ

โดย Boeing ได้ร่วมกับบริษัท Kratos Defense & Security Solutions สหรัฐฯในการจัดตั้งตลาดอย่างรวดเร็วสำหรับ UAV ที่สามารถทำงานเป็นทีมได้กับอากาศยานแบบมีคนขับความเร็วสูง เช่น เครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet หรือ Lockheed Martin F-35A Lightning II
วิสัยทัศน์การใช้ UAV ที่ราคาถูกและสิ้นเปลืองได้เป็นโหลที่ทำการบินและต่อสู้ร่วมไปกับอากาศยานแบบมีคนขับราคาแพง โครงสร้างกองทัพอากาศแบบใหม่นี้มีจุดประสงค์เพื่อขยายอำนาจการสังหารอย่างมหาศาลของสหรัฐฯและชาติพันธมิตร

ก่อนที่จะมีข่าวข้อตกลง Boeing-ออสเตรเลีย สหรัฐฯเป็นประเทศเดียวที่ลงทุนอย่างชัดเจนและให้ความสนใจเค้าโครงในสิ่งที่เรียกว่าระบบคู่บินภักดี อย่างไรก็ตาม Boeing กล่าวว่าการเติบโตของภัยคุกคามจากชาติมหาอำนาจทั้งจีนและรัสเซียได้สร้างการกระตุ้นของวิทยาการนี้มากขึ้นต่อกองทัพทั่วโลก
รัสเซียและได้ลงทุนจำนวนมหาศาสในการปรับปรุงเครือข่ายระบบป้องกันภัยทางอากาศของพวกตน ทำให้สหรัฐและพันธมิตรยากขึ้นที่จะเจาะห้วงอากาศของพวกเขาในช่วงสงครามได้ แม้แต่การจะใช้เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่ตรวจจับได้ยาก Stealth อย่าง F-35 ก็ตาม

มากไปกว่านี้การลงทุนพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยไกล รัสเซียและจีนได้มีศักยภาพที่จะผลักดันกองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯให้ไกลออกจากชายฝั่งของตน ซึ่งเป็นการเพิ่มระยะทางการบินโจมตีของอากาศยานแบบมีคนบังคับให้ไกลขึ้น
ระบบอากาศยานไร้คนขับ UAV ที่เรียกว่าคู่บินภักดีสามารถที่จะส่งออกไปในพื้นที่ที่กองทัพอากาศไม่ควรจะทำการบินด้วยเครื่องบินราคาแพงและมีคนขับเป็นมนุษย์

Boeing ปฏิเสธที่จะกล่าวว่าระบบ Airpower Teaming System ควรจะมีราคาเท่าไร แต่ Kratos Defense อ้างว่ามันควรที่จะสามารถผลิต UAV นี้โดยมีราคาเล็กน้อยเพียง $2 million ต่อเครื่อง
"มันเป็นการตั้งราคาที่แหวกแนวจริงๆ" Kristin Robertson รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Boeing Autonomous Systems กล่าวโดยปราศจากการให้การระบุราคาที่ชัดเจน อากาศยานนี้จะมี "ขีดความสามารถเหมือนเครื่องขับไล่ที่เศษส่วนของต้นทุน" เธอกล่าว

Beoing กล่าวว่า ระบบอากาศยานไร้คนขับ Airpower Teaming System จะมีขนาดความยาว 11.7m และมีพิสัยการบินมากว่า 2,000nmi แต่ปฏิเสธที่จะกล่าวว่ารูปทรงหรือพื้นผิวของเครื่องจะทำให้ภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) เล็กจนตรวจจับได้ยาก Stealth หรือไม่
บริษัทยังปฏิเสธที่จะบอกความเร็วสูงสุดของ UAV แต่กล่าวว่ามันสามารถจะบินร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่ได้ "ตามที่คุณกำลังกรีดร้องพร้อมกับ Super Hornet ของคุณที่ 600knot คุณจะมีระบบเหล่านี้กำลังบินรอบคุณ" Shane Arnott ผู้อำนวยการนานาชาติ Boeing Phantom Works กล่าว

Boeing Phantom Works เป็นแผนกวิจัยพัฒนาวิทยาการอากาศยานขั้นล้ำยุคของ Boeing ที่กำลังช่วยพัฒนาระบบ UAV ใหม่ "คุณจะมีระบบนี้ 4-6เครื่องที่เป็นส่วนขยายตรรกะของขีดความสามารถการสู้รบของคุณ พวกมันอยู่ภายใต้คำสั่งคุณ" Arnott เสริม
ระบบ UAV จะใช้ชุดคำสั่งปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence) เพื่อทำการบินอย่างเป็นอิสระหรือสนับสนุนอากาศยานแบบมีคนขับขณะที่ยังคงระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างอากาศยานแบบอื่นๆ Boeing กล่าว

เพิ่มเติมจากการสนับสนุนภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) UAV จะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทำสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare)
"มันเป็นระบบที่ปรับแต่งได้ หัวเครื่องมีพื้นที่บรรทุกที่มากมายที่ถูกสร้างให้สามารถเป็นระบบพหุภารกิจโดยธรรมชาติ" Arnott กล่าว เขาปฏิเสธที่จะกล่าวว่าเครื่องจะมีขีดความสามารถในการติดตั้งอาวุธภายในลำตัวหรือนอกลำตัวเครื่องหรือไม่

ไม่เหมือนกับ UAV ของบริษัท Kratos Defense บางแบบที่มีพื้นฐานจากเป้าบินโดยใช้จรวดขับดันในการช่วยให้บินขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/mako.html) Boeing Airpower Teaming System จะบินและลงจอดเหมือนอากาศยานตามแบบบนทางวิ่งด้วยฐานล้อลงจอด
Airpower Teaming System ไม่ได้ถูกออกแบบให้ลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้เหมือน MQ-25A Stingray(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-mq-25a-stingray.html) แต่ก็ไม่มีสิ่งใดในการออกแบบที่หยุดไม่ให้ Boeing เพิ่มขีดความสามารถนี้ได้ครับ

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Boeing สหรัฐฯวางตำแหน่งเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ให้ตรงความต้องการออสเตรเลีย

Avalon 2019: Boeing positions T-X to meet RAAF trainer requirements

Boeing is in discussions with several international customers – including Australia – about potential sales of the T-X trainer aircraft it developed with Saab. Source: Boeing-Saab
https://www.janes.com/article/86844/avalon-2019-boeing-positions-t-x-to-meet-raaf-trainer-requirements

บริษัท Boeing สหรัฐฯกำลังอยู่ในการพูดคุยกับกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) เกี่ยวความเป็นไปได้ของโครงการที่จะจัดส่งเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-X ที่ Boeing พัฒนาร่วมกับบริษัท Saab สวีเดน
ผู้บริหารของบริษัท Boeing กล่าวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2019 ในงานแสดงการบินนานาชาติ Avalon Airshow 2019 ที่ออสเตรเลียระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2019

Thom Breckenridge รองประธานของ Boeing ฝ่ายการขายนานาชาติ, ระบบโจมตี ตรวจการณ์ และการเคลื่อนที่ กล่าวในการบรรยายสรุปต่อสื่อว่า การหารือขั้นต้นของ Boeing กับกองทัพอากาศออสเตรเลียได้มุ่งเป้าไปที่การบรรลุความเข้าใจความต้องการเครื่องบินฝึกนักบินในอนาคตของกองทัพ
อย่างไรก็ตามเขาเน้นว่าโครงการดังกล่าวยังได้มีขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยกองทัพอากาศออสเตรเลียและ Boeing ไม่ได้พิจารณาแผนด้านอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนโครงการใดๆของ T-X ในออสเตรเลีย

"เรากำลังมุ่งเน้นอย่างมากในการหารือกับกองทัพอากาศออสเตรเลียเกี่ยวกับ T-X เรากระตือรือร้นที่จะเข้าใจสิ่งที่กองทัพออากาศออสเตรเลียต้องการ และจะเจรจากับพวกเขาเกี่ยวกับผลประโยชน์ของ T-X ยังไม่มีเอกสารของข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) เฉพาะในออสเตรเลียตอนนี้
แต่เราเข้าใจว่ามันมีความต้องการอยู่ที่นั่น และเราจะเดินหน้าที่จะได้มีการหารือกับกองทัพอากาศออสเตรเลียเกี่ยวกับว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ และเราจะช่วยให้ตรงตามความต้องการของพวกเขาได้อย่างไร" Breckenridge กล่าว

กองทัพอากาศออสเตรเลียมีความต้องการสำหรับระบบนักบินใหม่ที่ได้มีการ่างเค้าโครงในโครงการลงทุนบูรณาการ(IIP: Integrated Investment Program) ปี 2016 ของรัฐบาลออสเตรเลีย เอกสารดังกล่าวมาพร้อมกับสมุดปกขาวแผนกลาโหมในปีเดียวกัน
เอกสาร IIP ได้รวมโครงการที่จะจัดหา 'ระบบการฝึกนักบินขับไล่'(lead-in fighter training system) โดยมีกรอบระยะเวลาในปี 2022-2023 และจะมีวงเงินการลงทุนประมาณ A$5 billion($3.6 billion)

ความต้องการเครื่องบินฝึกนักบินของกองทัพอากาศออสเตรเลียปัจจุบันตรงตามการผสมของเครื่องฝึกใบพัด Pilatus PC-21 และ PC-9 สวิตเซอร์แลนด์และระบบที่เกี่ยวข้อง และเครื่องบินฝึกไอพ่น BAE Systems Hawk Mk 127
นอกจากออสเตรเลีย Breckenridge กล่าวว่า Boeing กำลังหารือกับลุกค้านานาชาติ "อีกหลายประเทศ" และในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั้น มี "โอกาสความเป็นไปได้อย่างมาก" สำหรับการส่งออกเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2018 กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ประกาศให้ทีมบริษัท Boeing-Saab สหรัฐฯ-สวีเดนเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์ไอพ่นใหม่ T-X(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-saab-t-x.html)
โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯจะนำเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X มาทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง Northrop T-38C Talon ที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมานานกว่า 57ปี จำนวน 350เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/saab-boeing-t-x.html)

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รัสเซียพร้อมจะหารือการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-57 ให้อินเดีย

Russia ready to discuss deliveries of Su-57 fifth-generation fighter jets to India


Su-57 fighter jets(russianplanes.net)
The Su-57 is a fifth-generation multirole fighter designed to destroy all types of air targets at long and short distances
http://tass.com/defense/1046248

Indian Air Force Sukhoi Su-30MKI at Aero India 2019 airshow


Indian Air Force Mikoyan MiG-29UPG at Aero India 2019 airshow

รัสเซียได้พร้อมที่จะทำการหารือกับอินเดียเกี่ยวกับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi Su-57 แก่อินเดีย Viktor Kladov ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือนานาชาติและนโยบายภูมิภาคของ Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2019
"ในส่วนของเรา เราพร้อมจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่4+ และ 4++ อย่างต่อเนื่อง และสำหรับงานการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ในเวลาเดียวกับ กองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Air Force, VKS) เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดของเรา
เครื่องบิน(Su-57) ได้รับการทดสอบในเงื่อนไขการรบจริงแล้วในซีเรีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/su-57-su-35.html) และการส่งมอบพวกมันให้กองทัพอากาศรัสเซียได้เริ่มต้นแล้ว" เจ้าหน้าที่ Rostec กล่าว

กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ได้แสดงความสนใจใน Su-57 แต่อินเดียจำเป็นที่จะต้องทำแนวคิดเพิ่มเติมของกองทัพอากาศตนให้เป็นรูปร่าง Kladov กล่าว
"กองทัพอากาศอินเดียควรจะกำหนดว่าเครื่องบินจำนวนเท่าไรที่จะเหมาะสมกับแนวคิดทั่วไปของพวกเขา อะไรที่พวกเขาควรจะมุ่งเน้น และเงินเท่าไรที่ควรจะจ่ายกับเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า หรือการสร้างเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI ที่น่าเชื่อถือในจำนวนอย่างมีนัยสำคัญที่รู้กันดีในหมู่นักบินอินเดีย"
Anatoly Punchuk รองผู้อำนวยการกองบริการความร่วมมือทางทหารและเทคนิคสหพันธรัฐรัสเซียกล่าวในงานแสดงการบินนานาชาติ Aero India 2019 ระหว่างวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2019 ว่าอินเดียได้ยื่นการร้องขอสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่เบา Mikoyan MiG-29 จำนวน 21เครื่อง

ก่อนหน้านี้รัสเซียได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-30MKI มากกว่า 200เครื่องแก่อินเดีย ขณะที่หนังสือพิมพ์ Kommersant รายงานก่อนหน้าในต้นเดือนกุมภาพันธ์โดยอ้างถึงกองบริการความร่วมมือทางทหารและเทคนิคสหพันธรัฐว่า
อินเดียได้ยื่นการร้องขอสำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะจัดตั้งการประกอบเครื่องเหล่านี้ในโรงงานอากาศยานของตน เช่นเดียวกับ Su-30MKI ที่ดำเนินการประกอบในอินเดียโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการบินของอินเดีย
สำหรับเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จะจัดหาจากรัสเซียเพิ่มเติม 21เครื่องนั้นจะได้รับการปรับปรุงความทันสมัยให้เป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ MiG-29UPG เช่นเดียวกับเครื่องที่ประจำการในกองทัพอินเดียอยู่ก่อนแล้วราว 60กว่าเครื่อง

Su-57 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่5 ที่ออกแบบมาเพื่อทำลายเป้าหมายทางอากาศทุกรูปแบบในระยะไกลและระยะใกล้ และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินและเป้าหมายทางเรือของข้าศึก ด้วยการเอาชนะขีดความสามารถระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึกของมัน
Su-57 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2010 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องรุ่นก่อนหน้า Su-57 ผสมผสานการทำงานทั้งเครื่องบินโจมตีและเครื่องบินขับไล่ ขณะที่ใช้วัสดุผสมและนวัตกรรมวิทยาการและอากาศพลศาสตร์ให้มั่นใจต่อสัญญาณการถูกตรวจจับด้วย Radar และ Infrared ที่ต่ำ
ล่าสุด HAL อินเดียมีโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของตนเองในชื่อเครื่องบินขนาดกลางขั้นก้าวหน้า(AMCA: Advanced Medium Combat Aircraft) ซึ่งมีการแสดงแบบจำลองและข้อมูลการพัฒนาขั้นต้นในงาน Aero India 2019 ครับ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เครื่องบินลำเลียง C-130J อังกฤษจะเปลี่ยนกล่องปีกกลางเสร็จครบในปี 2027

UK Hercules centre-wing box replacement effort gets under way for completion in 2027
The UK is to replace the centre-wing boxes of 14 Hercules airlifters, with work to be complete in 2027. Source: Crown Copyright
https://www.janes.com/article/86426/uk-hercules-centre-wing-box-replacement-effort-gets-under-way-for-completion-in-2027

บริษัท Marshall Aerospace and Defence Group สหราชอาณาจักร ได้เริ่มต้นงานเปลี่ยนกล่องปีกกลาง(CWB: Centre-Wing Box) ที่เป็นโครงสร้างส่วนเชื่อมปีกซ้ายและปีกขวาทั้งสองข้างบนส่วนลำตัวเครื่อง
ของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Lockheed Martin C-130J/C-130J-30 Super Hercules ทั้ง 14เครื่องของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ซึ่งควรจะเสร็จสิ้นในปี 2027

กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2019 ว่าได้มีการประกาศสัญญาการเปลี่ยนกล่องปีกกลางแก่ Marshall Aerospace and Defence Group เมื่อเดือนกรกฎาคม 2017
สัญญา "การแปลงเป็นรูปร่าง" เพิ่มเติมเพื่อจัดส่งชุดกล่องปีกกลางได้รับการประกาศในปี 2018 ปูทางไปสู่การเริ่มต้นดำเนินการทำงานกับ C-130J/C-130J-30 ทั้ง 14เครื่อง

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรวางกำลังทั้งเครื่องบินลำเลียง C-130J 'รุ่นลำตัวสั้น'(กำหนดแบบเป็น Hercules C5) และเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 'รุ่นลำตัวยาว'(กำหนดแบบเป็น Hercules C4)
ตามการแถลงในแผนทบทวนยุทธศาสตร์กลาโหมและความมั่นคง(SDSR: Strategic Defence and Security Review) ปี 2015 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในเวลานั้นมีแผนจะปลด C-130J ของตนลง 10เครื่อง ขณะที่ยังคง C-130J-30 จำนวน 14เครื่องของตนไว้

อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน 2018 Jane's ได้รายงานว่า C-130J-30 หนึ่งถึงได้ถูกทิ้งไว้ที่อิรักเนื่องจากการลงจอดอย่างรุนแรง ทำให้กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรเหลือ C-130J-30 จำนวน 13เครื่อง
ในวันที่ 9 สิงหาคม 2018 โฆษกกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรกล่าวกับ Jane's ว่า ยังคงมีความตั้งใจที่จะวางกำลังเครื่องบินลำเลียง Hercules 14เครื่องอยู่ และขณะนี้จึงมีความจำเป็นที่บังคับให้มีการคง C-130J จำนวน 1เครื่อง

โฆษกกระทรวงกลาโหมอังกฤษย้ำว่าการจัดองค์ประกอบกำลังผสมที่แน่นอนของฝูงบินยังไม่มีการกำหนดในตอนนี้ แม้ว่ากระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรจะปฏิเสธที่จะระบุแผนการจัดวางองค์ประกอบกำลังผสมของฝูงบิน Hercules ของตน
กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้มีการชักชวนสำหรับความพยายามในการเปลี่ยนกล่องปีกกลางสำหรับ C-130J 1เครื่อง และ C-130J-30 13เครื่อง ที่เผยแพร่ในเวลาเดียวกับที่กระทรวงกลาโหมอังกฤษให้ความเห็นต่อ Jane's ได้รับการระบุว่าเป็นส่วนสำหรับสหราชอาณาจักร

ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2018 ได้มีการสัญญาการสนับสนุนที่ประกาศโดยบริษัท Marshall Aerospace and Defence Group สำหรับการขายเครื่องบินลำเลียง C-130J กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรส่วนเกินจำนวน 2เครื่องแก่บังคลาเทศ
โดยกองทัพอากาศบังคลาเทศ(Bangladesh Air Force) จะนำ C-130J มือสองจากอังกฤษทดแทน เครื่องบินลำเลียง C-130B จำนวน 4เครื่องที่เข้าประจำการในปี 2001 ได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสองที่จัดหาจากสหรัฐฯครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/c-130j-2.html)

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กองทัพบกไทยจะปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 เพิ่ม และเพิ่มประสิทธิภาพรถสายพานลำเลียง Type 85

M60A3 Main Battle Tank with Israeli Elbit Systems Upgraded of 17th Cavalry Battalion Royal Guard, 1st Cavalry Regiment Royal Guard, 2nd Cavalry Division Royal Guard, Royal Thai Army

and Type 85 Armoured Personnel Carrier 1st Cavalry Battalion Royal Guard, 1st Cavalry Regiment Royal Guard, 2nd Cavalry Division Royal Guard, Royal Thai Army in Children's Day 2018 at Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html

Royal Thai Army Ordnance Department's Middle price announcement for M60A3 MBTs Fire Control Systems upgraded by Israeli company Elbit Systems Land C4I LTD. 
https://www.procureordrta.com/files/15499655151.pdf
Royal Thai Army Ordnance Department's Middle price announcement for Type 85 APC Modification kits(Basic+New Gearbox+New Engine), Spare Parts, Special Purpose Equipment & Tooling for Overhaul and Upgrade and Technical Service.
https://www.procureordrta.com/files/15507197631.pdf

สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ในอัตราเหล่าทหารม้า กองทัพบกไทยมีโครงการปรับปรุงระบบเครื่องควบคุมการยิงรถถังหลัก M60A3 วงเงิน ๑,๖๔๒,๗๕๓,๔๕๒บาท($52,447,271) ราคาต่อหน่วย ๔๓,๒๓๐,๓๕๔บาท($1,380,191) กับบริษัท Elbit Systems Land and C4I LTD. อิสราเอล
เป็นโครงการต่อเนื่องจากที่ได้มีดำเนินการมาก่อนหน้าแล้ว โดย กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ มีหน่วยขึ้นตรงที่ใช้รถถังหลัก M60A3 คือ กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ และกองพันทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์
จากที่มี ถ.หลัก M60A3 ของ ม.๑ พัน.๑๗ รอ.ได้การการปรับปรุงและทดสอบไปแล้วนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2016/08/elbit-systems-m60a3.html) การตั้งวงเงินโครงการล่าสุดนี้คาดว่าจะปรับปรุงรถได้ราว ๓๘คัน น่าจะครบทั้งกองพันสำหรับ ม.๔ พัน.๕ รอ. หรือ ม.๑ พัน.๑๗ รอ.

ด้านรถสายพานลำเลียงพลแบบ ๓๐ รสพ.๓๐ Type 85 ที่จัดหาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ก็มีโครงการจ้างซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ รสพ.๓๐ Type 85 จำนวน ๕๑คัน
แบ่งเป็นชุดปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ Gearbox และระบบตัวรถ จำนวน ๕๑ชุด หน่วยละ ๑๓,๗๒๖,๔๔๖บาท($403,719) รวม ๗๐๐,๐๔๘,๗๔๖บาท($20,589,669), การสนับสนุนชิ้นส่วนอะไหล่ วงเงิน ๒๐,๐๗๗,๘๖๙.๗๒บาท($590,525.58),
ติดตั้งเครื่องมือพิเศษสำหรับซ่อมบำรุง วงเงิน ๑๓๒,๙๐๙,๔๓๔บาท($3,909,101) และให้การช่วยเหลือทางเทคนิค วงเงิน๙๖,๙๖๓,๙๒๐บาท($2,851,880) รวมเป็นเงินทั้งสิ้นวงเงิน ๙๔๙,๙๙๙,๙๖๙.๗๒บาท($27,941,175.58)

รสพ.๓๐Type 85 นั้นเป็นกำลังหลักของทหารม้าบรรทุกยานเกราะหน่วยขึ้นตรงของ พล.ม.๒ รอ.คือ กองพันทหารม้าที่๑ รักษาพระองค์ ม.๑ รอ. กองพันทหารม้าที่๓ รักษาพระองค์ ม.๑ รอ., กองพันทหารม้าที่๑๑ รักษาพระองค์ ม.๔ รอ., กองพันทหารม้าที่๒๕ รักษาพระองค์ ม.๔ รอ., กองพันทหารม้าที่๒๓ รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ และกองพันทหารม้าที่๒๔ รักษาพระองค์ ม.๕ รอ.
ซึ่งเดิม รสพ.Type 85 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลตราอักษร MTU เยอรมนี ซึ่งก็มีอายุการใช้งานมานานตามที่รถเข้าประจำการมานานกว่า ๓๒ปีแล้ว การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพนี้จะทำให้รถสามารถใช้งานต่อไปได้อีกนานยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่ากองทัพบกไทยยังคงมีนโยบายที่จะคงการใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิมต่อไปให้นานที่สุด และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อประหยัดงบประมาณภาครัฐ โดยมีการจัดหาระบบอาวุธใหม่เพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่ปลดประจำการไปแล้วเนื่องล้าสมัยหมดอายุการใช้งานเท่านั้นครับ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แคนาดารับมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18A มือสองจากออสเตรเลียชุดแรก

PICTURES: Canada’s first F/A-18 Hornets arrive from Australia

The Royal Canadian Air Force (RCAF) received its first pair of interim F/A-18A Hornets on 17 February at 4 Wing Cold Lake air base in Alberta.


Royal Australian Air Force F/A-18 Hornet to be converted to CF-18 at Cold Lake

F/A-18 Hornet with modifications for CF-18 conversion
https://www.flightglobal.com/news/articles/pictures-canadas-first-fa-18-hornets-arrive-from-455915/


กองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force) ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18A Hornet สองเครื่องแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2019 ณ กองบิน4 ฐานทัพอากาศ Cold Lake ใน Alberta
เครื่องบินขับไล่ F/A-18A สองเครื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวน 18เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-18ab.html) ที่จัดซื้อจากเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force)
F/A-18A/B มือสองเหล่านี้จะช่วยให้กองทัพอากาศแคนาดาดำรงรักษากำลังเครื่องบินขับไล่ที่ทำการบินได้จนถึงปี 2031 หรือ 2032 ซึ่งแคนาดาตั้งเป้าที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่เก่าด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/cf-18.html)

เครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B Hornet ออสเตรเลียเป็นเครื่องรุ่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ CF-18A/B แคนาดา ซึ่งกองทัพอากาศแคนาดากล่าว่าทำให้พวกมันสามารถบูรณาการเครื่องเข้าสู่ฝูงบินได้อย่างรวดเร็ว
งานดัดแปลงและทางเทคนิคจะเริ่มต้นในทันที ดังนั้นเครื่องบินมืองสองของออสเตรเลียเหล่านี้จะถูกทำให้มีรูปแบบเดียวกันกับเครื่องของแคนาดาได้ ตามที่กระทรวงกลาโหมแคนาดากล่าว โดยงานต่างๆจะได้รับการดำเนินการโดยบริษัทของแคนาดา
การดัดแปลงประกอบด้วยการเพิ่มระบบกล้องมองกลางคืน, เก้าอี้ดีดตัว Martin-Baker รุ่นใช้งานร่วมสำหรับนักบินกองทัพเรือ(Navy Aircrew Common Ejection Seat), ดัดแปลงฐานล้อลงจอด และทำสีพรางของกองทัพอากาศแคนาดาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ

การส่งมอบ F/A-18 จากออสเตรเลียจะมีต่อเนื่องในช่วงเวลาปกติสำหรับอีกสามปีข้างหน้า และเครื่องจะถูกนำเข้าสู่ฝูงเครื่องบินขับไล่ CF-18 เมื่อการดัดแปลงเครื่องเสร็จสิ้น เครื่องสุดท้ายคาดว่าจะมาถึงในสิ้นปี 2021 โดยจะวางกำลังที่ กองบิน3 Bagotville ใน Quebec และกองบิน4 Cold Lake
สองเครื่องแรกเป็น F/A-18A รุ่นที่นั่งเดี่ยว ที่ทำการบินมาถึงฐานทัพอากาศ Cold lake แคนาดาจากฐานทัพอากาศ Nellis มลรัฐ Nevada สหรัฐฯ ซึ่งกองทัพอากาศออสเตรเลียกำลังร่วมการฝึกผสมทางอากาศการรบอากาศสู่อากาศ Red Flag กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
กองทัพอากาศแคนาดาวางแผนที่จะทำการดัดแปลงและคงการใช้งานฝูงเครื่องบินขับไล่ CF-18 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแบบไปใช้เครื่องบินขับไล่ใหม่ในอนาคต ตามที่กระทรวงกลาโหมแคนาดากล่าว การทบทวนการปรับปรุงขีดความสามารถการรบกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

กระทรวงกลาโหมแคนาดากล่าวว่า เอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal)อย่างเป็นทางการสำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่ทั้งเครื่องยุคที่4 และยุคที่5 คาดว่าจะออกในฤดูใบไม้ผลิ 2019 และจะประกาศสัญญาในปี 2021-2022 และเริ่มการส่งมอบได้ในปี 2025
ในเดือนตุลาคม 2018 รัฐบาลแคนาดาได้ 5รายชื่อบริษัทสำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่ 88เครื่อง คือ Dassault Aviation ฝรั่งเศส, Saab สวีเดน, Airbus Defence and Space เยอรมนี-สหราชอาณาจักร-อิตาลี-สเปน, Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Boeing สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม Dassault  ฝรั่งเศสได้ถอนเครื่องบินขับไล่ Rafale ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/rafale.html) ทำให้เหลือผู้เข้าแข่งขัน 4รายคือ เครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดน, เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยุโรป และ F-16V, F-35A, F/A-18E/F Super Hornet และ F-15 Advanced Eagle สหรัฐฯครับ

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Chaiseri ไทยแสดงรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win ในงาน IDEX 2019 ที่ UAE

Win-Win from Thailand [IDEX19D5]
https://www.janes.com/article/86695/win-win-from-thailand-idex19d5


Thailand's Chaiseri First Win II 4x4 MPV(Multipurpose Vehicle) has unveiled at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/chaiseri-first-win-ii-condor-asean.html

บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทย (พื้นที่จัดแสดง C11-12) ได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องยานยนต์หลายรูปแบบของตน
ในงานแสดงและสัมมนาอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ IDEX 2019 ที่จัดขึ้น ณ Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates) ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา

ยานเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ของบริษัท Chaiseri ไทยนั้นได้ประสบความสำเร็จในการได้รับการจัดหาเข้าประจำการและทดลองใช้งานในหน่วยงานความมั่นคงของไทย เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กอ.รมน., กองทัพบกไทย(Royal Thai Army),
นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy), สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police), กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/chaiseri-first-win-2.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)

รวมถึงสามารถส่งออกให้กับกองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army)โดยการการถ่ายทอด Technology พร้อมสิทธิบัตรการผลิตให้กับ DEFTECH(DRB-HICOM Defence Technologies Sdn. Bhd) มาเลเซียในชื่อรถหุ้มเกราะล้อยาง AV4 Lipan Bara 4x4
และพัฒนารุ่น First Win 4x4 Left Hand Drive สำหรับส่งออกให้กับกองทัพบกฟิลิปปินส์(Philippine Army) ไปใช้งาน(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/chaiseri-first-win-deftech-av4.html)

รถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ที่ได้เปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) มีพื้นฐานการออกแบบเช่นเดียวกับรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win I รุ่นแรก โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลายประการ
รถเกราะ First Win II ใหม่มีพื้นที่ภายในที่ใหญ่ขึ้นสามารถรองรับกำลังพลได้รวมทั้งสิ้น ๑๑นาย รวมพลประจำรถ ๓นาย พลขับ, ผู้บังคับการรถ และพลยิง+กำลังพลที่บรรทุกไปกับรถ ๘นาย

ขณะที่เสนอการมอบการป้องกันกระสุนและแรงระเบิดอย่างมีนัยสำคัญ First Win II สามารถที่จะติดตั้งเกราะเสริมเพิ่มเติมที่จะเพิ่มการป้องกันเป็นระดับ NATO STANAG-4569 Level 4(ป้องกันกระสุนปืนกลหนัก 14.5mm เจาะเกราะ, กระสุนปืนใหญ่ 155mm ที่ 30m และทุ่นระเบิดต่อสู้รถถัง 10kg)
สำหรับตัวถังรถเพื่อเพิ่มการป้องกันพลประจำรถและกำลังพลที่บรรทุกไปกับรถ รถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II ล่าสุดได้รับการนำไปทดลองการใช้งานใน UAE แล้ว

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงของบริษัท Chaiseri คือระบบยางรถ run-flat ที่มีความภูมิใจในความสามารถของระบบที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ตามข้อมูลจาก กานต์ กุลหิรัญ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทชัยเสรี
ยานยนต์ทางทหารที่ได้รับการติดตั้งระบบของ Chaiseri ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบ(ตามมาตรฐาน FINABEL A.20.A) ในการเคลื่อนที่ได้ไกลถึง 150km ด้วยสภาพยางล้อรถที่แบน

"นี่เป็นความคงทนที่เหนือกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งอย่างมาก ระบบของเราประกอบด้วยผืนแผ่นทอ run-flat ชิ้นเดียวที่สร้างจากยาง ซึ่งมีความทนทานต่อการยิงด้วยอาวุธขนาดเล็กมากกว่าโลหะ" กานต์ กุลหิรัญ กล่าว
บริษัท Chaiseri ไทยยังได้ผลิตระบบสายพานหุ้มยางสำหรับรถสายพาน เช่น รถรบทหารราบ BMP-3 รัสเซียมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) แล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Lockheed Martin สหรัฐฯเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-21 สำหรับอินเดีย

AERO INDIA F-16V rechristened 'F-21' for New Delhi fighter deal

Lockheed Martin has redesignated the F-16V Block 70 as the F-21 in its offering for India's fighter requirement.
https://www.flightglobal.com/news/articles/aero-india-f16v-rechristened-f-21-for-new-delhi-455954/


บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้กำหนดแบบเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 ใหม่เป็นเครื่องบินขับไล่ F-21 ในการเสนอสำหรับความต้องการเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force)
"F-21 ได้จ่าหน้าถึงความต้องการที่เป็นเอกลักษณ์ของกองทัพอากาศอินเดีย และบูรณาการอินเดียสู่ระบบนิเวศเครื่องบินขับไล่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยบริษัทความมั่นคงที่ดีเลิศระดับโลก Lockheed Martin และ Tata Advanced Systems จะผลิต F-21 ในอินเดียเพื่ออินเดีย" Lockheed Martin กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/lockheed-martin-tata-f-16.html)

จากการพูดคุยในงานแสดงการบิน AERO India 2019 ทางบริษัทกล่าวว่าการกำหนดแบบใหม่สะท้อนว่าไม่เพียงเฉพาะตัวเครื่องบินแต่รวมถึงข้อเสนอประเภทชุดอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยตัว F-21 เองมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการเมื่อเทียบกับ F-16 รุ่นอื่นๆ
เครื่องบินขับไล่ F-16 รุ่นก่อนหน้ามีช่องรับบนส่วนบนของลำตัวเครื่องเพื่อรองรับท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Boom ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-21 มีท่อเติมเชื้อเพลิงแบบท่อ Probe ยืดหดได้ทางขวามือของเครื่องที่จะเสียบเข้าท่อเติมเชื้อเพลิงแบบ Drogue นอกจากนี้ห้องนักบินยังติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่(LAD: Large Area Display)ใต้จอแสดงภาพตรงหน้า(HUD: Head-Up Display)

กองทัพอากาศอินเดียมีความต้องการเครื่องบินขับไล่ใหม่ 110เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/110.html) เช่นเดียวกับ Lockheed Martin สหรัฐฯที่เสนอเครื่องบินขับไล่ F-21 บริษัท Boeing สหรัฐฯได้เสนอเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ของตน
ผู้เข้าแข่งขันรายอื่นในโครงการยังมี เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส, เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon สหราชอาณาจักร-เยอรมนี-สเปน-อิตาลี, เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E สวีเดน และเครื่องบินขับไล่ RAC MiG-35 กับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 รัสเซีย

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของอินเดียมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "MMRCA 2.0" ซึ่งอ้างอิงจากโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุบทบาทขนาดกลาง MMRCA(Medium Multi-Role Combat Aircraft) สำหรับเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 126เครื่องที่ล้มเหลวไป
เดิมนั้นผู้ชนะในโครงการ MMRCA นั้นคือเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส แต่ได้มีการยกเลิกสัญญาในเดือนสิงหาคม 2015 โดยกองทัพอากาศอินเดียได้สั่งจัดหา Rafale เพียง 36เครื่องเท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/rafale.html)

F-21 ไม่ใช่การกำหนดแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน โดยเครื่องบินขับไล่ Kfir(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ลูกสิงโต") ที่พัฒนาโดยบริษัท Israel Aircraft Industries(IAI) อิสราเอล ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage III ฝรั่งเศส ใช้เครื่องยนต์ Turbojet แบบ General Electric J79 สหรัฐฯนั้น
กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) เคยเช่า Kfir อิสราเอลโดยกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F-21A Lion ในช่วงปลายปี 1980sถึงต้นปี 1990s ใช้งานในฐานะเครื่องบินฝึกข้าศึกสมมุติ(Aggressor) ครับ

อิหร่านประจำการเรือดำน้ำชั้น Fateh ที่พัฒนาในประเทศ

Iran commissions Fateh submarine




















Iran’s Fateh-class submarine seen out of the water at the Bostanu shipyard in a photograph released but not taken on 17 February. It is missing the foreplanes that were seen on its hull in previously released television footage. Source: Islamic Republic News Agency (IRNA)
https://www.janes.com/article/86533/iran-commissions-fateh-submarine


กองทัพเรือสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน(IRIN: Islamic Republic of Iran Navy) ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการอย่างทางของเรือดำน้ำชั้น Fateh ลำแรกที่พัฒนาสร้างภายในประเทศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2019
พิธีได้จัดขึ้น ณ ฐานทัพเรือ Bandar Abbas และมีประธานาธิบดีอิหร่าน Hassan Rouhani ร่วมพิธี รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Amir Hatami กล่าวว่าเรือดำน้ำชั้น Fateh นี้มีระวางขับน้ำ 600tons และสามารถยิง Torpedo และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำได้
สื่อของอิหร่านยังได้รายงานว่าเรือดำน้ำชั้น Fateh สามารถดำได้ลึกที่ 200m และมีระยะทำการนาน 5สัปดาห์ ชุดภาพถ่ายและภาพวิดีทัศน์จากสถานีโทรทัศน์ของพิธีประจำการได้แสดงภาพตัวเรือขณะอยู่นอกผิวน้ำที่อู่เรือ Bostanu ทางตะวันตกของ Bandar Abbas

เรือดำน้ำชั้น Fateh มีท่อยิง Torpedo หนักขนาด 533mm จำนวน 4ท่อยิงที่หัวเรือ แต่ส่วนระบบขับเคลื่อนใบจักรได้รับการคลุมปกปิดไว้ ชุดภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่ยังแสดงให้เห็นถึงส่วนระบบตรวจจับที่เป็นเสายืดหดได้
เช่น เสากล้อง electro-optical และปรากฎถึงสิ่งที่น่าจะเป็นเสากล้องตาเรือเลนส์กระจก ส่วนอื่นอาจจะรวมถึง Radar และระบบตรวจจับข่าวกรองไฟฟ้า สำหรับเพื่อใช้ในการตรวจจับเป้าหมาย
การมีอยู่ของโครงการเรือดำน้ำชั้น Fateh ได้ถูกประกาศในเดือนกันยายน 2011 แม้ว่ามันอาจจะเป็นชื่อใหม่สำหรับโครงการเรือดำน้ำ Qaem ที่ประกาศในปี 2008 ก็ตาม

ภาพถ่ายจากดาวเทียมพาณิชย์เหนืออู่เรือ Bostanu เมื่อเดือนตุลาคม 2013 ยืนยันว่าเรือดำน้ำใหม่มีความยาวเรือมากว่า 40m ได้ถูกปล่อยเรือลงน้ำแล้ว
เรือได้ถูกพบเห็นว่ากำลังได้รับการปล่อยลงน้ำในการตัดต่อของสถานีโทรทัศน์อิหร่านเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานการประสบความสำเร็จต่างๆของกองทัพอิหร่านในเดือนกุมภาพันธ์ 2014
ในชุดภาพวิดีทัศน์นี้มีการพบเห็นแพนปีกที่ติดตั้งอยู่กับส่วนตัวเรือดำน้ำ ที่ต่อมาในชุดภาพปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ล่าสุดไม่มีการพบแพนปีกดังกล่าวที่ตัวเรือแล้วครับ

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

TKMS เยอรมนีทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำ Type 218SG สิงคโปร์ลำแรก RSS Invincible

Launching of the Republic of Singapore’s First Type 218SG Submarine


One of the most advanced diesel-electric submarines in the world was launched on 18 February at the thyssenkrupp Marine Systems' shipyard in Kiel.
https://www.thyssenkrupp-marinesystems.com/en/press-releases/d/uid-b186b48c-a34e-5a97-1fd8-a8bee769f83d.html


Type 218SG หนึ่งในเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าที่มีความก้าวหน้าที่สุดในโลกได้ถูกปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2019 ณ อู่เรือของบริษัท Thyssenkrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีใน Kiel
เรือดำน้ำชั้น Type 218SG ลำแรกนี้ได้รับการตั้งชื่อเรือว่า RSS Invincible นี่เป็นเครื่องหมายแสดงหลัดก้าวย่างที่สำคัญในโครงการเรือดำน้ำที่ดำเนินการอยู่ของกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy)

Prof. Ivy Ng ภริยาของ Dr. Ng Eng Hen รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ได้เป็นผู้ทำพิธีตั้งชื่อเรือที่ปรากฎในกลุ่มผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลสิงคโปร์และกองทัพเรือสิงคโปร์ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเยอรมนี
เพิ่มเติมด้วยตัวแทนจาก Thyssenkrupp เยอรมนี และตัวแทนผู้จัดส่งรายต่างๆที่ได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธี หลังการสร้างและติดตั้งต่างๆเสร็จสิ้น เรือดำน้ำ RSS Invincible จะเข้าสู่การทดลองเรืออย่างเข้มงวดก่อนที่จะส่งมอบเรือในปี 2021

Dr. Ng Eng Hen กล่าวว่า "เรือดำน้ำใหม่เหล่านี้เป็นผลผลิตของประสบการณ์หลายปีและความเชี่ยวชาญเชิงลึกจากทั้งเยอรมนีและสิงคโปร์ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความอบอุ่นและการเติบโตด้านความร่วมมือกลาโหมของเรากับเยอรมนี
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency) เรา, กองทัพเรือสิงคโปร์ได้กำกับการออกแบบเรือดำน้ำก่อนร่วมการพัฒนาเรือกับ TKMS เยอรมนี ผมยินดีต่อความร่วมมือและความพยายามของชาวสิงคโปร์และภาคอุตสาหกรรมเยอรมัน"

Dr. Rolf Wirtz ผู้อำนวยการบริหาร TKMS กล่าวว่า "เราภูมิใจที่สามารถจะย่างก้าวที่สำคัญในอายุของเรือร่วมกันกับหุ้นส่วนสิงคโปร์ของเรา เรือลำแรกของชั้น Type 218SG นี้จะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงยุคอนาคตข้างหน้าของเรือดำน้ำ
พวกมันจะกอปรด้วยความมหาศาลของขีดความสามารถที่สำคัญ และยังจะเป็นทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ที่มีความสามารถสูงสำหรับสิงคโปร์และของกองเรือของพวกมัน"

RSS Invincible เป็นเรือลำแรกของชุดเรือดำน้ำชั้น Type 218SG ทั้ง 4ลำ สัญญาสำหรับเรือดำน้ำสองลำแรกได้รับการลงนามในปี 2013(https://aagth1.blogspot.com/2013/12/type-218sg-2.html) และสัญญาสำหรับเรือดำน้ำชุดที่สองได้รับการลงนามในปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-218sg-2.html)
หลังจากการส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรกในปี 2021 เรือลำที่สองมีกำหนดจะส่งมอบในปี 2022 เรือลำที่สามและลำที่สี่มีกำหนดจะส่งมอบตามมาในปี 2024 ต่อไป(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/tkms-type-218sg-3-4.html)

Type 218SG ได้ออกแบบให้เป็นเรือดำน้ำที่ถูกตรวจจับได้ต่ำด้วยระบบขับเครื่องแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ที่ทำให้ปฏิบัติการใต้น้ำได้เป็นเวลานาน และแนวทางแก้ไขแบบสั่งทำพิเศษจำนวนมาก และวิทยาการใหม่
โดยเรือดำน้ำชั้น Invincible จะเข้าประจำการทดแทนเรือดำน้ำชั้น Challenger(A12 Sjöormen) เรือดำน้ำชั้น Archer(A17 Västergötland) ที่เดิมเป็นเรือดำน้ำเคยประจำการในกองทัพเรือสวีเดนที่ได้รับการปรับปรุงและขายต่อเข้าประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์มากว่าสองทศวรรษ

ในช่วงการปล่อยเรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรกของกองทัพเรือสิงคโปร์ DSTA สิงคโปร์ และ TKMS เยอรมนีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ใน Kiel เพื่อความร่วมมือด้านวิทยาการใหม่ เช่น การผลิตแบบเติมและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการประยุกต์ทางเรือ
ภายใต้ข้อตกลง DSTA และ TKMS จะสำรวจการใช้การผลิตแบบเติมในฐานะนวัตกรรม วิธีการประสิทธิภาพต่อราคา สำหรับการผลิตชิ้นส่วนเรือดำน้ำ ทั้งสองจะทำงานร่วมกันในการออกแบบ, วิศวกรรม และรับรองคุณสมบัติการผลิตชื้นส่วนที่จะนำมาทดสอบและทดลองใช้กับเรือดำน้ำของสิงคโปร์ได้

Tan Peng Yam หัวหน้าบริหารของ DSTA กล่าวว่า "ในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ความร่วมมือเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์จากวิทยาการใหม่ เราตื่นเต้นที่จะรวมความเชี่ยวชาญของเรากับ TKMS ในการผลิตแบบเติม"
ด้าน Dr.Wirtz กล่าวว่า "การริเริ่มนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของความเข้าใจในนวัตกรรมของเรา เราคือวิศวกรรม อนาคต รวมกัน MOU ทำให้เราทดสอบชิ้นส่วนที่ผลิตใน Kiel กับการผลิตแบบเพิ่มเติมภายใต้สภาพเงื่อนไขจริง นี่เป็นทรัพยากรที่มีค่าสำหรับเรา"

ข้อมูลคุณสมบัติสำคัญของเรือดำน้ำ Type 218SG
ความยาวเรือโดยรวม: ประมาณ 70m
ระวางขับน้ำ: ประมาณ 2,000tons ที่ผิวน้ำ 2,200tons ขณะดำใต้น้ำ
กำลังพลประจำเรือ: 28นาย
ระบบขับเคลื่อน: ดีเซล-ไฟฟ้า เสริมด้วย AIP
ความเร็วสูงสุด: ที่ผิวน้ำ 10knots ขณะดำใต้น้ำ 15knots
ระยะเวลาปฏิบัติการ: ประมาณ 28-42วัน โดยไม่ใช้ท่อ snorkel
อาวุธ: ท่อยิง Torpedo หนักขนาด 533mm จำนวน 8ท่อยิง

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์กองทัพเรือไทยติดตั้งปืนเรือ 76/62 Super Rapid




Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was equipped Leonardo (OTO Melara) 76/62 Super Rapid Multifeed naval gun at at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, February 2019

หล่อไหมครับผม
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ติดตั้งปืน 76/62 Super Rapid Multifeed เป็นอีกอย่างที่จะทำให้เรือลำนี้แตกต่างไปจาก ร.ล.กระบี่ ครับ
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/2086039724767244

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ มีความคืบหน้าการสร้งเรือ ณ  ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่มีการเผยแพร่ภาพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นั้น
ล่าสุด ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการติดตั้งปืนเรือแบบ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed ขนาด 76mm/62caliber จากบริษัท Leonardo อิตาลี (มี OTO Melara อยู่ในเครือบริษัท) โดยทำหน้าที่เป็นปืนหลักของ
ระบบอาวุธของ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ยังประกอบด้วย ปืนรองแบบ MSI DS30MR ขนาด 30mm ๒กระบอกจากสหราชอาณาจักร, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84L Harpoon Block II ๒แท่นยิง จำนวนรวม ๘นัด

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่ ที่ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) นั้น ติดตั้งปืนเรือแบบ Oto Melara 76/62 Compact Refurbished ซึ่งเป็นปืนเก่าที่นำมาปรับปรุงคืนสภาพเหมือนออกจากโรงงานใหม่ โดยมีอัตราการยิงที่ ๘๐นัดต่อนาที
ขณะที่ปืนเรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed เป็นปืนที่สร้างใหม่ทั้งหมด โดยมีอัตราการยิงถึง ๑๒๐นัดต่อนาที และสามารถเลือกการใช้กระสุนได้หลายรูปแบบ รวมถึงกระสุนนำวิถีดาวเทียม/แรงเฉื่อย GPS/INS แบบ VULCANO ระยะยิง 40km สำหรับเป้าหมายภาคพื้นดินใกล้ชายฝั่ง
ปืนเรือ 76/62 Super Rapid Multifeed ยังใช้รูปทรงป้อมปืนแบบตรวจจับได้ยาก Stealth ลดการสะท้อนคลื่น Radar โดย บริษัท Leonardo อิตาลี ก็ได้มีการยิงทดสอบปืนเรือของ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สองเดิมจะมีชื่อว่าเรือหลวงตรัง ซึ่งต่อมาพระราชทานชื่อเรือใหม่เป็น เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยที่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจะใช้หลักการตั้งชื่อเรือเช่นเดียวกับเรือเร็วโจมตีปืนคือตั้งชื่อตามจังหวัดชายทะเล
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกนำออกจากอู่แห้งเพื่อการติดตั้งระบบต่างๆ(Setting to work) หน้าท่า แและคาดว่ามีการนำเรือเข้าออกอู่แห้งเพื่อติดตั้งระบบอุปกรณ์และทำงานต่างๆเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง
คาดว่าเรือจะมีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ และจะมีการรับมอบเรือและทำพิธีขึ้นระวางประจำการได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นการเพิ่มจำนวนเรือ ตกก.จากชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส กับ ร.ล.กระบี่ รวม ๔ลำ

ทั้งนี้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ใช้แบบแผนเรือ 90m OPV จากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(BVT Surface Fleet เดิม) ที่บริษัท อู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยได้จัดซื้อสิทธิบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) โดยกองทัพเรือไทยยังมีต้องการเรือ ตกก.ใหม่เพิ่มอีก ๒ลำ รวมเป็น ๖ลำ
ซึ่ง ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นเรือลำที่สองของชุดที่ต่อเรือที่อู่มหิดลฯในไทยเช่นเดียวกับ ร.ล.กระบี่ ที่เป็นลำแรก โดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการปรับเปลี่ยนแบบเรืออย่างมากให้รองรับอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon และขยายลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.ขนาด 10tons
ตามนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในของไทยโดยรัฐบาลไทย บริษัทอู่กรุงเทพกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน ๓ลำ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ล้านบาท($362.61 million) ให้กับกองทัพเรือศรีลังกา(Sri Lanka Navy) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bangkok-dock-opv.html)