วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รัสเซียทำพิธีปล่อยเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch III กองทัพเรืออินเดียลำแรก INS Tushil

Russia's Yantar shipyard launches first Talwar-class 'Batch III' frigate for Indian Navy



Russia's Yantar Shipyard in Kaliningrad launched on 28 October the first of four follow-on (Batch III) Talwar (Project 1135.6)-class guided-missile frigates for the Indian Navy. (Indian Navy)

อู่เรือ Yantar รัสเซียได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Talwar Batch III(เรือฟริเกตชั้น Project 1135.6) ลำแรกจาก 4ลำ ที่ได้รับการจัดหาโดยกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy)
ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างรัฐบาล(IGA: Inter-Governmental Agreement) ที่ลงนามระหว่างรัฐบาลอินเดียในนครหลวง New Delhi และรัฐบาลรัสเซียในนครหลวง Moscow ในปลายปี 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/project-11356-4-igla-s.html)

ได้รับการตั้งชื่อว่าเรือฟริเกต INS Tushil ซึ่งจะเป็นเรือฟริเกตชั้น Talwar ลำที่7 สำหรับของกองทัพเรืออินเดีย ถูกปล่อยลงน้ำในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2021 ที่อู่เรือของ Yantar ในนคร Kaliningrad ติดทะเล Baltic
อู่เรือ Yantar รัสเซียจะสร้างเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch III สองลำแรก โดยสองลำที่เหลือได้รับสิทธิบัตรการสร้างโดยอู่เรือบริษัท Goa Shipyard Limited(GSL) อินเดียภายใต้ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ

อู่เรือ Yantar รัสเซียกำลังใช้ส่วนตัวเรือสองลำที่ก่อนหน้าเริ่มแรกสร้างขึ้นสำหรับรัสเซีย ขณะที่อู่เรือ GSL อินเดียได้ทำพิธีวางกระดูงูเรือฟริเกตลำแรกของสองลำที่เหลือในเดือนมกราคม 2021 และลำที่สองในเดือนมิถุนายน 2021
เรือฟริเกตทั้งสองลำที่สร้างโดย GSL อินเดียคาดว่าจะถูกส่งมอบได้ตั้งแต่ปี 2026 โดยเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch III สี่ลำมีพื้นฐานการออกแบบจากเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich(Project 11356M) ของรัสเซีย

เรือฟริเกตชั้น Talwar กองทัพเรืออินเดียมีความยาวเรือ 124.8m กว้าง 15.2m และกินน้ำลึก 4.7m ระวางขับน้ำเต็มที่ 4,035tonnes และสามารถรองรับกำลังพลประจำเรือได้ 180นาย รวมนายทหารสัญญาบัตร 18นาย
ในเดือนตุลาคม 2018 กระทวงกลาโหมอินเดียได้ลงนามข้อตกลงวงเงิน $950 million สำหรับเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch III สองลำแรก ตามด้วยข้อตกลงวงเงิน $500 million ในเดือนพฤศจิกายน 2018 กับ GSL อินเดียที่จะสร้างเรือสองลำที่เหลือภายใต้สิทธิบัตร

อินเดียยังลงนามสัญญาแยกต่างหากวงเงิน 10 billion Indian Rupee($133 million) กับยูเครนสำหรับเครื่องยนต์ gas turbine แบบ Zorya-Mashproekt M7N1E จำนวน 8เครื่องเพื่อเป็นระบบขับเคลื่อนแก่เรือฟริเกตชั้น Talwar Batch III ทั้งสี่ลำ
เดิมเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich ของรัสเซียนี้ถูกออกแบบให้ติดตั้งเครื่องยนต์ gas turbine ของยูเครน แต่หลังจากรัสเซียผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธใน Donbass ในปี 2014 ยูเครนได้ตัดความสัมพันธ์ทางทหารกับรัสเซียรวมถึงการส่งมอบเครื่องยนต์

เรือฟริเกตชั้น Talwar ทั้ง 6ลำที่เข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียแล้วคือเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch I จำนวน 3ลำประกอบด้วย เรือฟริเกต F40 INS Talwar, เรือฟริเกต F43 INS Trishul และเรือฟริเกต F44 INS Tabar เข้าประจำการในช่วงปี 2003-2004
และเรือฟริเกตชั้น Talwar Batch II จำนวน 3ลำประกอบด้วย เรือฟริเกต F45 INS Teg, เรือฟริเกต F50 INS Tarkash และเรือฟริเกต F51 INS Trikand เข้าประจำการในช่วงปี 2012-2013 เรือทั้งหมดถูกสร้างที่รัสเซียครับ

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ญี่ปุ่นจะส่งนักบินไปฝึกกับเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 ที่โรงเรียนการบินนานาชาติอิตาลี

Japan to send pilots to Italian flight training school



JASDF pilots will join other international students in training with Leonardo and the Italian Air Force on the T-346A aircraft. (Leonardo)




JASDF's T-4 trainer aircraft. (JASDF)







ญี่ปุ่นจะส่งนักบินทหารของตนไปฝึกที่โรงเรียนการบินนานาชาติ(IFTS: International Flight Training School) ของกองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militare Italiana) มีการประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2021
ตามข้อตกลงเช่นเดียวล่าสุดกับเยอรมนีและกาตาร์ กองทัพอิตาลีและบริษัท Leonardo อิตาลี ได้รับข้อตกลงกับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)

ที่นักบินกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นจะดำเนินการฝึกนักบินขั้นก้าวหน้า(Phase IV) ที่โรงเรียนการบินนานาชาติ IFTS ที่ตั้ง ณ กองบินที่61 ฐานทัพอากาศ Lecce Galatina ในตอนใต้ของอิตาลี
"ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอิตาลี พลอากาศเอก Alberto Rosso และผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น พลอากาศเอก Shunji Izutsu ได้ลงนามข้อตกลงทางเทคนิคที่สำคัญวันนี้เกี่ยวกับการฝึกนักบินทหารของญี่ปุ่น" Leonardo อิตาลีกล่าว

บริษัท Leonardo เสริมว่า เช่นเดียวกับการฝึกศิษย์การบินข้อตกลงยังสามารถเห็นครูการบินญี่ปุ่นทำงานที่โรงเรียนการบินนานาชาติ IFTS ด้วย 
Leonardo ไม่ได้บอกว่าเมื่อไรที่กำลังพลกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นชุดแรกมีกำหทดจะเดินทางมาถึงโรงเรียนการบินนานาชาติ IFTS ที่อิตาลี

ตามการเน้นในการประกาศ กองทัพอากาศอิตาลีและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ทั้งสองกองทัพอากาศต่างประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) 
และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-767(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35b-ddh-183-js-izumo.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/digital-f-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/01/f-35b.html)

ขณะที่กองทัพอากาศอิตาลีมีประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Leonardo M-346 Master ที่ได้รับการกำหนดแบบในประจำการกองทัพอากาศอิตาลีว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น T-346A(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/leonardo-m-346fa-su-22.html)
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Kawasaki T-4 ที่พัฒนาเองในประเทศ ซึ่งเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1988 ครับ

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ภาพเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ J-20 จีนรุ่นสองที่นั่งเครื่องต้นแบบ

Images emerge of two-seat J-20 prototype in yellow primer

A screengrab from video footage posted on Weibo on 27 October showing what appears to be a two-seat prototype of China's J-20 fifth-generation, multirole fighter conducting taxiing trials at CAIG's facility in Chengdu-Huangtianba. (Via Weibo)


The concept of a two-seat version of the J-20A in computer-generated images.



ชุดภาพและวีดิทัศน์ได้ปรากฎขึ้นในสื่อสังคม online ของจีนแสดงถึงสิ่งที่ปรากฎว่าจะเป็นเครื่องต้นแบบสองที่นั่งของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่5 แบบ Chengdu Aircraft Industry Group(CAIG) J-20A
ชุดภาพที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2021 แสดงถึงเครื่องขับไล่ J-20 รุ่นสองที่นั่งเครื่องต้นแบบซึ่งทำสีรองพื้นเหลืองกำลังเคลื่อนที่บนทางขับที่สนามบินของ CAIG ถัดจากโรงงานผลิตอากาศยานใน Chengdu-Huangtianba

เครื่องขับไล่ J-20 รุ่นสองที่นั่งเครื่องต้นแบบมีคุณสมบัติฝาครอบห้องนักบินที่ยืดขยายออกครอบคลุมห้องนักบินแบบสองที่นั่งเรียงกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/j-20.html
อย่างไรก็ตามเครื่องไม่ได้ติดส่วนหัวเครื่อง radome ทาสีเทาเช่นที่เห็นในรุ่นที่นั่งเดี่ยว ทำให้มีข้อสังเกตว่า radar ยังไม่ได้ถูกติดตั้งกับเครื่องต้นแบบนี้

ไม่มีการให้รายละเอียดว่าเมื่อไรที่ภาพถูกถ่าย อย่างไรก็ตามเป็นที่เชื่อว่าภาพเหล่านี้ถูกถ่ายเมื่อเร็วๆนี้ ขณะที่แนวคิดรุ่นสองที่นั่งของเครื่องบินขับไล่ J-20A ไม่ใช่เรื่องใหม่
และภาพสร้างจาก computer ของ J-20 รุ่นสองที่นั่งได้เผยแพร่วนเวียนใน online มาหลายปี นี่เป็นครั้งแรกที่ภาพถ่ายได้ปรากฎขึ้นถึงเครื่องต้นแบบจริง(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/j-20.html)

หากกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ตัดสินใจที่จะนำเครื่องขับไล่ J-20 รุ่นสองที่นั่งเข้าประจำการ
กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนจะกลายเป็นกองทัพอากาศแรกในโลกที่ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบสองที่นั่ง(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/jf-17-block-iii-j-20.html)

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนจะกำหนดแบบ J-20 รุ่นสองที่นั่งนี้อย่างเป็นทางการว่าอะไร ซึ่งมีการเรียกโดยทั่วไปว่าเครื่องบินขับไล่ J-20B, เครื่องบินขับไล่ J-20AS หรือเครื่องบินขับไล่ J-20S
เหตุผลสำหรับชื่อที่เป็นไปได้หลายชื่อที่น่าจะเป็นการกำหนดแบบของเครื่องบินขับไล่ J-20 รุ่นสองที่นั่ง น่าจะขึ้นอยู่กับว่าเครื่องถูกกำหนดภารกิจแบบใดในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนครับ

เกาหลีใต้และอินโดนีเซียเข้าใกล้ข้อตกลงทางการเงินเครื่องบินขับไล่ KF-21

South Korea, Indonesia move closer to KF-21 agreement, says DAPA







DAPA has said South Korea and Indonesia are “narrowing the gap” on an agreement on Jakarta's payments on the programme to develop the KF-21 fighter. (DAPA)





สาธารณรัฐเกาหลีและอินโดนีเซียกำลังเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆต่อข้อตกลงเกี่ยวกับภาระผูกพันทางการเงินโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ KF-21 Boramae
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีในนครหลวง Seoul กล่าวกับ Janes(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/kf-21.html)

โฆษกของ DAPA สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่าทั้งสองประเทศยังคงเจรจาเกี่ยวกับการชำระค่าใช้จ่ายของอินโดนีเซียในโครงการ แต่ DAPA มีความมั่นใจว่าข้อตกลงจะสามารถบรรลุผลได้ในเร็วๆนี้
โฆษก DAPA ยังบ่งชี้ว่าเมื่อข้อตกลงได้มีขึ้นเรียบร้อยแล้ว ตำแหน่งของอินโดนีเซียในโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 จะสามารถขยายขึ้นได้(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/kai-kf-21.html)

"สาธารณรัฐเกาหลีและอินโดนีเซียกำลังมีช่องว่างที่แคบลงระหว่าตำแหน่งของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกลับมาชำระค่าใช้จ่ายใหม่ผ่านการเจรจาจำนวนมาก DAPA รู้สึกในเชิงบวกเป็นอย่างมากที่ปัญหาการชำระค่าใช้จ่ายจะได้รับการแก้ไข" โฆษก DAPA กล่าว
ในปี 2015 สองประเทศได้เห็นชอบที่จะลงทุนวงเงิน วงเงิน 8.8 trillion Korean Won($7.5 billion) ที่จะพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-21 โดยอินโดนีเซียกำลังชำระค่าใช้จ่ายการพัฒนาร้อยละ20 ในการกลับมาเข้าถึงวิทยาการและองค์ความรู้

ภายใต้ข้อตกลงนี้ การชำระค่าใช้จ่ายมีกำหนดการที่จะมีการดำเนินการขึ้นโดยอินโดนีเซียไปจนถึงปี 2028 แต่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ระงับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในเดือนมีนาคม 2020
การเจรจาตั้งแต่นั้นได้ถูกมุ่งไปที่การบรรลุโครงสร้างการกลับมาชำระค่าใช้จ่ายใหม่ที่อินโดนีเซียจะมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อโครงการ

อินโดนีเซียได้ส่งวิศวกรเพิ่มอีก 30คนที่จะกลับเข้าร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 ในเดือนสิงหาคม 2021 และจำนวนวิศวกรอินโดนีเซียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 100คนภายในสิ้นปี 2021 นี้
วิศวกรอินโดนีเซียได้ยุติการทำงานในโครงการ KF-21 ในปี 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) น่าจะต้องการเครื่องบินขับไล่ KF-21 จำนวน 48เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ KF-21 เครื่องต้นแบบเครื่องแรกที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/kf-21-boramae.html) คาดว่าจะทำการบินครั้งแรกได้ในปี 2022
โดยกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) วางแผนที่จะวางกำลังเครื่องบินขับไล่ KF-21 ในอนาคตถึง 120เครื่องภายในปี 2032 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยสาธิตการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D

















Air Chief Marshal Napadej Dhupatemiya, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) and General Chalermpol Srisawat, the Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces (RTARF) in backseat of Gripen D 70101 and 70102 flying formation with Gripen C 70110  and Saab 340 ERIEYE 70203 during inspected Wing 7 Surat Thani RTAF base and capabilities within Network Centric Operations (NCOs) of Saab Gripen C/D fighter aircraft 701st Squadron and Saab 340B ERIEYE Airborne Early Warning (AEW) in 26 October 2021.

กองบิน ๗ ให้การต้อนรับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะ

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วย พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตรวจเยี่ยมกองบิน ๗ โดยได้รับชมสาธิตการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง หรือ Network Centric Operation (NCO) 
ซึ่งกองทัพอากาศได้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพเรือ เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การปฏิบัติการในรูปแบบ Multi Domain Operation (MDO) บนพื้นฐานการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของกองทัพไทย (National Link)

โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยังได้ร่วมทำการบินสังเกตการณ์ในตำแหน่งที่นั่งหลังของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ หรือ GRIPEN 39 C/D ในภารกิจการโจมตีเป้าหมาย Time Sensitive Target และภารกิจการบินรบในอากาศ เหนือพื้นที่อ่าวไทย 
เพื่อรับทราบสมรรถนะ และขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางด้วย

โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์   ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ พร้อมด้วย รองผู้บังคับการกองบิน ๗, เสนาธิการกองบิน ๗, ผู้บังคับฝูงบิน ๗๐๑ และผู้บังคับฝูงบิน ๗๐๒ ให้การต้อนรับและจัดอากาศยานเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจ ณ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่  ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔

การสาธิตสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(NCO: Network Centric Operation) เพื่อการต่อยอดไปสู่การปฏิบัติการพหุภาคส่วน(MDO: Multi Domain Operation) บนพื้นฐานการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของกองทัพไทย(Data Link TH)
กองบิน๗ ได้ทำกาบินเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ก บ.ข.๒๐ก Saab Gripen D หมายเลข 70101 และ 70102 บินหมู่ร่วมกับ บ.ข.๒๐ Gripen C หมายเลข 70110 ฝูงบิน๗๐๑ และและเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 AEW/B Erieye ฝูงบิน๗๐๒ เหนืออ่าวไทย
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เป็นการแสดงขีดความสามารถล่าสุดของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่ได้จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการจากสวีเดนตามโครงการ Peace Suvarnabhumi เข้าประจำการครบ ๑๐ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2010) 

กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) ได้มองการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเหล่าทัพ เช่นที่ระบบอำนวยการรบ Saab 9LV ที่ติดตั้งบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน
ที่ใช้เครือข่ายทางยุทธวิธี Link RTN สามารถเชื่อโยงเข้ากับเครือข่าย Link T ของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D และ บ.ค.๑ Saab 340 EIREYE(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_26.html) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น Link TH เครือข่ายทางยุทธวิธีของกองทัพไทย
โดยการแถลงนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดย พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน ได้กล่าวรวมถึงแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่าย Data Link ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35.html)

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D จำนวน ๑๑เครื่อง ในฝูงบิน๗๐๑ จากที่จัดหารวม ๑๒เครื่องโดยสูญเสีย บ.ข.๒๐ Gripen C หมายเลข 70108 ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามแผนสมุกปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) จะมีสองโครงการสำคัญคือ
โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุง บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D วงเงินราคากลาง ๖๒๙,๒๒๔,๒๐๐บาท($20,961,358 or 175,505,261 Swedish Krona) ซึ่งน่าจะเป็นการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำนวน ๑เครื่อง เพื่อให้ฝูงบิน๗๐๑ มีเครื่องครบ ๑๒เครื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025) แต่ก็ไม่แน่ใจว่าบริษัท Saab สวีเดนจะเปิดสายการผลิตให้ได้หรือไม่ และตอนนี้กองทัพอากาศสวีเดนไม่มีเครื่องที่สำรองไว้เพื่อขายด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/gripen-e.html)

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศสหรัฐฯเริ่มทดสอบการปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ F-15EX

USAF begins F-15EX operational trials







The US Air Force has launched operational trials of the F-15EX Eagle II out of Nellis AFB in Nevada. (US Air Force)

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้เริ่มต้นการทดสอบการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Boeing F-15EX Eagle II โดยการทำการบินเริ่มขึ้นที่ฐานทัพอากาศ Nellis Air Force Base(AFB) ในมลรัฐ Nevada ตั้งแต่วันที่ 18-25 ตุลาคม 2021
เที่ยวบินทดสอบการปฏิบัติการขั้นต้นและประเมินค่า(IOT&E: Initial Operational Test and Evaluation) ทำการบินโดยเครื่องบินขับไล่ F-15EX สองเครื่องที่ได้รับมอบแล้ว เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-15C Eagle สองเครื่อง

"การมุ่งเน้นหลักที่นี่คือเพื่อมอบการผลักดันขั้นต้นสำหรับทดสอบการปฏิบัติการและประเมินค่าที่จะประเมินระบบอย่างแท้จริงจากมุมมอง end-to-end ด้วยการเพิ่มสภาพแวดล้อมภัยคุกคามที่แข็งแกร่งที่เรามีที่นี่ใน Nellis"
Colton Myers ผู้จัดการโครงการทดสอบ กองกำลังทดสอบผสมโครงการการบินปฏิบัติการ F-15EX(Operational Flight Program Combined Test Force F-15EX) ถูกอ้างคำกล่าว

"ด้วยวิธีนี้เมื่อเราเขียนรายงานทดสอบขั้นต้นของเรา เรากำลังมอบการมองที่เที่ยงตรงต่อการรบกองทัพอากาศสหรัฐฯและกองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) ตามที่ว่าขีดความสามารถของระบบเป็นเช่นไรเมื่อมันวางกำลังขั้นต้น" Myers กล่าว
การเริ่มต้นทดสอบ IOT&E มีขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังเครื่องบินขับไล่ F-15EX ทำการบินครั้งแรกของตนจากท่าอากาศยานนานาชาติ St Louis Lambert ในมลรัฐ Missouri ในเดือนมีนาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/f-15ex.html)

กองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-15C/D ที่มีอายุการใช้งานมากที่สุดในประจำการของตน ซึ่งบางเครื่องประจำการมาตั้งแต่ปี 1979(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/aim-120-amraam.html)
โดยเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวนขั้นต้น 8เครื่องได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ 2020 และสัญญาต่อเนื่องตามมาเพิ่มเติมอีก 12เครื่องได้รับการร้องของในปีงบประมาณ 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-15-eagle.html)

กองทัพอากาศสหรัฐฯวางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX ทั้งหมด 76เครื่องตลอดระยะเวลา 5ปีตามแผนโครงการกลาโหมในปีอนาคต(Future Years Defense Program)
แผนในอนาคตที่ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้านี้ได้ร้องขอเครื่องบินขับไล่ F-15EX เป็นจำนวนถึง 144เครื่อง ขณะที่จำนวนล่าสุดถูกกำหนดที่ 200เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II เป็นหนึ่งในระบบที่ถูกเลือกโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อเปิดตัวการพัฒนาระบบจัดการสนามรบขั้นก้าวหน้า(ABMS: Advanced Battle Management System) ของขีดความสามารถ Internet of Things(IoT)
บริษัท General Electric(GE) Aviation สหรัฐฯได้ถูกเลือกจากกองทัพอากาศสหรัฐฯสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F110-GE-129 ของเครื่องบินขับไล่ F-15EX ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/general-electric-f-15ex.html

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เฮลิคอปเตอร์ AW159 Wildcat กองทัพเรืออังกฤษเสร็จสิ้นการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Martlet ในประจำการครั้งแรก

RN Wildcat completes first Martlet in-service firing



A first Martlet in-service firing was completed in the Bay of Bengal on 16 October. (Royal Navy/Crown Copyright)



เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลประจำเรือ Leonardo AW159 Wildcat HMA2 จากฝูงบินอากาศนาวี 815(815 NAS: Naval Air Squadron) กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy)
ได้เสร็จสิ้นการยิงครั้งแรกในประจำการของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย laser แบบ Thales Martlet(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/aw159-wildcat-martlet.html)

การยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet มีขึ้นในอ่าว Bengal โดยเฮลิคอปเตอร์ Wildcat HMA2 ของเที่ยวบิน219(219 Flight) ที่วางกำลังประจำบนเรือพิฆาตชั้น Type 45 เรือพิฆาต D36 HMS Defender 
ในฐานะส่วนหนึ่งของการวางกำลังกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Carrier Strike Group 21(CSG21)(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/passex-f239-hms-richmond.html)

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Thales ยุโรปเพื่อให้ความต้องการโครงการอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำอนาคตแบบเบา(Future Anti-Surface Guided Weapon (Light))
โดยใช้ระบบนำวิถีไต่ลำแสง laser(laser-beam riding) ของอาวุธปล่อยนำวิถีพหุภารกิจน้ำหนักเบา LMM(Lightweight Multirole Missile) ของ Thales ในฐานะตัวอาวุธหลัก effector ของมัน

เป้าหมายได้ถูกตรวจการณ์โดยการใช้หน่วยกำเนิด laser เชิงรุก(active laser-generation unit) ภายในระบบตรวจจับ L-3Harris Wescam MX-15Di electro-optical/infrared/laser ที่ติดบนปลายหัวเครื่องของเฮลิคอปเตอร์ Wildcat
อาวุธปล่อยนำวิถี Martlet ถูกออกแบบมาเพื่อมอบประสิทภาพความแม่นยำสูงและเหมาะสมพอควรต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างเช่น เรือเร็วโจมตีชายฝั่ง, jet ski และระเบิดแสวงเครื่อง(IED: Improvised Explosive Device) ทางน้ำ

การยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet ในประจำการครั้งแรกถูกดำเนินขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2021 โดยอาวุธปล่อยนำวิถีทำการยิงโจมตีเป้าหมายจำลองลอยน้ำแบบพองตัวได้ 'มะเขือเทศนักฆ่า'(Killer Tomato)
ภาพวีดิทัศน์ของห้องนักบินเฮลิคอปเตอร์ Wildcat HMA2 ที่เผยแพร่โดยกองทัพเรือสหาชอาณาจักรแสดงถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น LMM หนึ่งนัดพุ่งชนเป้าหมาย

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet ได้ถูกนำมาวางกำลังกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี CSG21 ล่วงหน้าการประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) อย่างเป็นทางการ
แม้ว่าการทดสอบระบบในการโจมตีต่อเป้าหมายจำลองแทนต่างๆได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโดยฝูงบินอากาศนาวี 815 NAS ก่อนหน้าการวางกำลังประจำการแล้วก็ตามครับ