วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยจะจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก 8x8 และรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์ 4x4 จากบริษัทในไทย

R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV), the product of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd. 

Defence Technology Institute (DTI) and Thailand's company Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd.'s Black Widow Spider 8x8 wheeled armoured personnel carrier (APC) vehicle was delivered to Royal Thai Army in 9 July 2020.


First Win II Multi Purpose Vehicle (MPV) 4x4, the product of Thailand's company Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.

Naval Transportation Department, Royal Thai Navy announced to acquire 2 of Eight-wheel drive (8x8) Amphibious Armored Personnel Carrier.
ซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง (๘x๘) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๒ คัน โดยวิธีคัดเลือก 

Naval Transportation Department, Royal Thai Navy announced to acquire 6 of Four-wheel drive (4x4) Armoured Multi-Purpose Vehicles.
ซื้อรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (แบบ ๔x๔) จำนวน ๖ คัน 

เผยข้อมูลรถหุ้มเกราะล้อยาง 8X8ใหม่ของทร.ไทย !  
กองทัพเรือโดยกรมการขนส่งทหารเรือได้ออก TOR ของรถหุ้มเกราะล้อยาง 8X8ใหม่จำนวน 2 คัน รวมเงิน  99.99 ล้านบาท ตกราคาคันละ 49.95 ล้านบาท 
โดยมีคุณลักษณะคร่าวๆคือ เป็นรถหุ้มเกราะล้อยาง แบบ 8X8 ชนิดลำเลียงพล สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งสามารถใช้สำหรับบรรทุกกำลังพลไปยังพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฎิบัติภารกิจได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย สามารถใช้บรรทุกกำลังพลพร้อมสัมภารได้ไม่น้อยกว่า 18 นาย (รวมพลขับและผบ.รถ) ต้องเป็นของใหม่ ไม่เก่าเก็บ และไม่เคยใช้งานมาก่อน (ยกเว้นการทดสอบจากผู้ผลิต) รถต้องมีเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 600 แรงม้า มีความเร็วสูงสุดบนถนนไม่น้อยกว่า 110 กม./ชม. ไต่ลาดชันได้ไม่น้อยกว่า 60 % ความสามารถข้ามเครื่องกีดขวางไมน้อยกว่า 500 มม. 
ระยะปฎิบัติการไม่น้อยกว่า 800 กม. สามารถเลี้ยวได้ทั้ง 8 ล้อ เพื่อความคล่องตัวในภูมิประเทศ ที่สำคัญคือต้องมีความเร็วสูงสุดในน้ำ 12 กม./ชม. ยางรันแฟล็ต ช่วยให้วิ่งต่อไปได้ด้วยความเร็ว 90 กม/ชม. ในระยะทาง 3 กม. หรือ 45 กม./ชม. ในระยะทาง 30 กม.  
เกราะป้องกันเป็นแบบ Bullet Proof Armor NATO STANAG  4569 Lv2  น้ำหนักรถไม่น้อยกว่า 21,000 กก.  ความยาวตัวรถ ไม่น้อยกว่า 9,000 มม. ความกว้างตัวรถ ไม่น้อยกว่า 3,400 มม. ความสูงตัวรถ ไม่น้อยกว่า 2,750 มม.  รัสมีวงเลี้ยว ไม่มากกว่า 10 เมตร 
อุปกรณ์มาตรฐานที่ติดมากับตัวรถมี เครื่องยิงกระสุนเพื่อพรางตนเอง ข้างละ 4 ท่อยิง ระบบสูบน้ำออกกรณีฉุกเฉิน 2 ชุด ในปริมาตรนาทีละ 120 ลิตร/นาที  มีระบบวอเตอร์เจ็ท สำหรับการเคลื่อนที่ในน้ำ  เครื่องปรับอากาศเพื่อคงสภาพของการพร้อมของพลรบ 
นอกจากนี้ยังมีออปชั่นของระบบอาวุธที่สามารถติดตั้งได้ภายหลังเช่น ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ระบบป้องกัน นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ป้อมปืนกลอัตโนมัติขนาด 12.7 มม. และขนาด 7.62 มม. ป้อมปืนอัตโนมัติขนาด 30 มม. เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด 30 มม. หรือ 40 มม. จำนวนข้างละ 4 ท่อยิง ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดต่างๆ (ค. 60 มม. 81 มม. และ 120 มม.) การตรวจการณ์ สามารถติดกล้องตรวจการณ์ที่ปฎิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืนผ่านช่องตรวจการณ์ มีช่องยิงแยกจากกันทั้งหมด 4 ช่องยิง 
… คาดว่าจะมีบริษัทที่เข้าร่วมแข่งขันคือ บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด บริษัทชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด ปรีขาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ผลิตในประเทศ ....ดูจากข้อมูลของ TOR แล้ว R 600 ของพนัสฯ มีความโดเด่นที่สุด ณ เวลานี้....

เผยข้อมูลรถเกราะ 4X4 ใหม่ของทร.ไทย !  
กองทัพเรือโดยกรมการขนส่งทหารเรือได้ออก TOR ของรถเกราะอเนกประสงค์แบบ 4X4 ใหม่จำนวน 6 คัน รวมเงิน  99.99 ล้านบาท ตกราคาคันละ 16.65 ล้านบาท 
โดยมีคุณลักษณะคร่าวๆคือ เป็นรถเกราะอเนกประสงค์แบบ 4X4 สามารถใช้บรรทุกกำลังพลพร้อมสัมภารได้ไม่น้อยกว่า 10 นาย (รวมพลขับ) มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพการใช้งานในพื้นที่ที่มีการโจมตีและวางระเบิดแสวงเครื่อง สามารถปฎิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย 
รถต้องมีเครื่องยนต์ดีเซลแรงม้าสูงสุดไม่น้อยกว่า 295 แรงม้า มีความเร็วสูงสุดบนถนนไม่น้อยกว่า 110 กม./ชม. ไต่ลาดชันได้ไม่น้อยกว่า 60 % ไต่ลาดเอียงได้ ไม่น้อยกว่า 30%  บรรทุกน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 2,000 กก. 
ด้านข้างทั้งห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารทำด้วยเหล็กเกราะป้องกันกระสุนได้ระดับ STANAG  4569 Lv2 มีช่องยิงสำหรับสอดลำกล้องปืนออกนอกรถ 10 ช่อง 
ใต้ท้องรถทำด้วยเหล็กเกราะป้องกันระเบิดอัดขึ้นรูปเป็นตัวอักษร V สามารถลดแรงต้านทานจากการถูกระเบิดให้กระจายออกด้านข้าง ทนแรงระเบิดได้ในระดับ STANAG  4569 Lv3b/4a 
… คาดว่าจะมีบริษัทที่เข้าร่วมแข่งขันคือ บริษัทชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด บริษัทนันทเทรดจำกัด และ หจก.ส.สยามพานิช

ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ประกาศถึงโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง โดย กรมการขนส่งทหารเรือ(Naval Transportation Department) สองรายการ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
คือโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง (๘x๘) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๒ คัน โดยวิธีคัดเลือก วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นวงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,080,387) ราคาต่อหน่วยคันละ ๔๙,๙๕๐,๐๐๐บาท($1,540,240)
แหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) มีสามบริษัทคือ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ไทย, บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย และบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด(Preecha Thavorn Industry Co.,Ltd.) ไทย

และโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (แบบ ๔x๔) จำนวน ๖ คัน วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔  เป็นวงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,080,387) ราคาต่อหน่วยคันละ ๑๖,๖๕๐,๐๐๐บาท($513,414)
แหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) มีสามบริษัทคือ บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด, บริษัท นันทเทรด จำกัด(Nunta Trade Co. Ltd.) ไทย, และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.สยามพานิช(S. Siam Panit Limited Partnership) ไทย ซึ่งมีรูปแบบเดียวกันกับ
โครงการซื้อยานยนต์หุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ล้อ (แบบ ๔ x ๔) จำนวน ๖คัน โดย กรมการขนส่งทหารเรือ สำหรับ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/chaiseri-first-win-ii-4x4.html)

การกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะรถหุ้มเกราะล้อยาง (8x8) ชนิดลำเลียงพล มีดังนี้

๑. คุณลักษณะเฉพาะ
๑.๑ คุณลักษณะเฉพาะในการใช้งาน
เป็นรถเกราะล้อยาง แบบ 8x8 ชนิดลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก สามารถบรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า ๑๘ นาย (รวมพลขับ และ ผบ.รถ)
๑.๒ คุณลักษณะเฉพาะในทางเทคนิค
๑.๒.๑ เครื่องยนต์ (Engine) เป็นเครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 600 hp รายละเอียดดังนี้
๑.๒.๑.๑ แรงม้าสูงสุดไม่น้อยกว่า 447 kW (600 hp) ที่ความเร็วรอบไม่เกิน ๑,๒๐๐ รอบต่อนาที
๑.๒.๑.๒ แรงบิดสูงสุดไม่น้อยกว่า 2,779 N-m ที่ความเร็วรอบไม่เกิน ๑,๒๐๐ รอบต่อนาที
๑.๒.๒ เครื่องเปลี่ยนความเร็ว (Transmission)
๑.๒.๒.๑ แบบอัตโนมัติ (Automatic)
๑.๒.๒.๒ ความเร็วเดินหน้า ไม่น้อยกว่า ๖ ความเร็ว
๑.๒.๒.๓ ความเร็วถอยหลัง ไม่น้อยกว่า ๑ ความเร็ว
๑.๒.๓ เครื่องเพิ่มเพลาขับ (Transfer Box) แบบ Mechanical Two-Way
๑.๒.๔ ยาง (Tyre) แบบ Pneumatic, Tubelees, Radial, ขนาด 16.00R-20 พร้อม Run-Flat
๑.๒.๕ มีระบบเติมลม-ปล่อยลมอัตโนมัติ (CTIS) สามารถควบคุมได้จากภายในรถ
๑.๒.๖ ระบบังคับเลี้ยว (Steering System) มีระบบช่วยผ่อนแรง (Power Steering)
๑.๒.๗ ระบบห้ามล้อ (Break System) แบบลมล้วน (Pneumatic System) Disc Break ABS (Anti-lock Break System)
๑.๒.๘ ระบบพยุงตัวรถ (Suspension System)
๑.๒.๘.๑ แบบ Independent A Arm-Type ทั้ง ๔ เพลา
๑.๒.๘.๒ มีเครื่องผ่อนอาการสะเทือน (Shock Absorber) แบบ Hydropneumatic Suspension
๑.๒.๙ เกราะป้องกัน (Armor Protection) เป็นแบบ Bullet-Proof Armor NATO (STANAG 4569 Level2)
๑.๒.๑๐ สมรรถนะ
๑.๒.๑๐.๑ ความเร็วบนถนนสูงสุด ไม่น้อยกว่า 110 km/h
๑.๒.๑๐.๒ ความสามารถในการไต่ลาดชัน ไม่น้อยกว่า 60%
๑.๒.๑๐.๓ ความสามารถในการข้ามสิ่งกีดขวางไม่น้อยกว่า 500 mm
๑.๒.๑๐.๔ ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 800 km
๑.๒.๑๐.๕ สามารถเลี้ยวได้ทั้ง ๘ ล้อ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในภูมิประเทศ
๑.๒.๑๐.๖ ความเร็วสูงสุดในน้ำ 12 km/h
๑.๒.๑๑ ระบบไฟฟ้า (Electrical System)
๑.๒.๑๑.๑ แรงเคลื่อนไฟฟ้าของรถ 24V
๑.๒.๑๑.๒ เครื่องกำเนินไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 26.5V ไม่น้อยกว่า 100A
๑.๒.๑๑.๓ Batteries มีจำนวนเพียงพอเพื่อสามารถสำรองไฟเพื่อใช้งานการสื่อสารได้ ไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง
๑.๓ คุณลักษณะเฉพาะในการออกแบบ
เป็นรถเกราะล้อยาง แบบ 8x8 ชนิดลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก มีที่นั่งภายในตัวรถใช้สำหรับบรรทุกกำลังพลไปยังพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
๑.๓.๑ ความกว้างตัวรถ ไม่น้อยกว่า 3,400 mm
๑.๓.๒ ความยาวตัวรถ ไม่น้อยกว่า 9,000 mm
๑.๓.๓ ความสูงตัวรถ ไม่น้อยกว่า 2,750 mm
๑.๓.๔ น้ำหนักรถ ไม่น้อยกว่า 21,000 kg
๑.๓.๕ ระยะยื่นหน้า ไม่น้อยกว่า 1,900 mm
๑.๓.๖ ระยะยื่นท้าย ไม่น้อยกว่า 1,900 mm
๑.๓.๗ ความกว้างฐานล้อ ไม่น้อยกว่า 2,800 mm
๑.๓.๘ ระยะต่ำสุดจากพื้น ไม่น้อยกว่า 480 mm
๑.๓.๙ มุมถึงลาด ไม่น้อยกว่า 35 degree
๑.๓.๑๐ มุมจากลาด ไม่น้อยกว่า 35 degree
๑.๓.๑๑ รัศมีวงเลี้ยว ไม่มากกว่า 10 m

๒. ระบบอุปกรณ์มาตรฐานที่มากับรถ
๒.๑ เครื่องยิงกระสุนควันเพื่อพรางตนเอง ข้างละ ๔ ท่อยิง
๒.๒ ระบบสูบน้ำออกฉุกเฉิน ๒ ชุด ในปริมาตรนาทีละ 120 liter/นาที ขับเคลื่อนด้วยระบบ Hydraulic และชุด Pump สำรอง ๒ ชุด ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
๒.๓ Run-Flat ช่วยให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ด้วยความเร็ว 90 km/h ในระยะทาง 3 km หรือความเร็ว 45 km/h ในระยะทาง 30 km หรือความเร็ว 25 km/h ในระยะทาง 100 km ในกรณียางโดนทำลายเสียหาย
๒.๔ เกราะอ่อนป้องกันแก้มยางจากหินแหลมคมและกระสุนปืนเล็ก
๒.๕ เครื่องปรับอากาศเพื่อคงความพร้อมของพลรบ
๒.๖ ถังน้ำมันเชื้อเพลิงแบบอุดรอยรั่วด้วยตัวเอง
๒.๗ Water Jet สำหรับการเคลื่อนที่ในน้ำ

๓. อุปกรณ์การอยู่รอดทางทหาร และประเภทอาวุธที่สามารถติดตั้งได้ภายหลัง แบบทางเลือก (Options) โดยระบบอาวุธทุกประเภท สามารถควบคุมการยิงได้จากภายในตัวรถ
๓.๑ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติทั้งภายในห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสาร
๓.๒ ระบบป้องกัน Nuclear, Biological, Chemical
๓.๓ ป้อมปืนกลอัตโนมัติ ขนาด 12.7mm และขนาด 7.62mm
๓.๔ ป้อมปืนอัตโนมัติ ขนาด 30mm
๓.๕ เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 30mm หรือ 40mm จำนวน ข้างละ ๔ ท่อยิง
๓.๖ ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๓.๗ เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง
๓.๘ เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดต่างๆ (60mm, 81mm, 120mm)
๓.๙ การตรวจการณ์ สามารถติดตั้งกล้องตรวจการณ์ที่ปฏิบัติการได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนผ่านช่องตรวจการณ์ มีช่องยิงแยกจากกันทั้งหมด ๔ ช่องยิง

๔. ระบบสื่อสาร
มีระบบสื่อสารที่มีมาตรฐานใช้งานทางทหาร

การกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (แบบ 4x4) มีดังนี้

๑. คุณลักษณะทั่วไป
เป็นรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (4x4) สามารถใช้บรรทุกกำลังพลพร้อมสัมภาระได้ไม่น้อยกว่า ๑๐ (๙+๑) นาย (รวมพลขับ) และ/หรือภารกิจอื่นๆ มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพการใช้งานในพื้นที่ที่มีการโจมตี และวางระเบิดแสวงเครื่อง 
สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ตามภารกิจที่กองทัพเรือมอบให้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. คุณลักษณะเฉพาะ
๒.๑ เครื่องยนต์(Engine)
๒.๑.๑ เครื่องยนต์ดีเซล
๒.๑.๒ แรงม้าสูงสุดไม่น้อยกว่า 295 HP หรือ 220 kW
๒.๑.๓ แรงบิดสูงสุดไม่น้อยกว่า 1,100 N-m ที่ ๑,๒๐๐-๑,๗๐๐รอบ/นาที
๒.๒ เครื่องเปลี่ยนความเร็ว (Transmission) และเครื่องเพิ่มเพลขับ(Tranfer Case) ขับเคลื่อน 4x4 ตลอดเวลา เป็นแบบที่ใช้ทางการทหาร
๒.๒.๑ แบบอัตโนมัติ
๒.๒.๒ ความเร็วเดินหน้าไม่น้อยกว่า ๖ ระดับความเร็ว
๒.๒.๓ ความเร็วถอยหลังไม่น้อยกว่า ๑ ระดับความเร็ว
๒.๓ เพลาล้อ
๒.๓.๑ เพลาล้อหน้า (Front Axle) และระบบเบรค ABS จำนวน ๑ เพลา
๒.๓.๒ เพลาล้อหน้า (Rear Axle) และระบบเบรค ABS จำนวน ๑ เพลา
๒.๔ ยางและกงล้อ
๒.๔.๑ ใช้ยางเดี่ยวแบบไม่มียางในขนาดไม่น้อยกว่า 395/85 R 20 พร้อมวงยางในแบบตัน (Run Flat) จำนวน ๔ ชุดล้อ เมื่อยางปราศจากความดันลมยังสามารถรับน้ำหนักและเคลื่อนที่ต่อไปได้ไม่น้อยกว่า 50 km
๒.๔.๒ ดอกยางสามารถใช้งานบนถนนและในภูมิประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๔.๓ กงล้อขนาดไม่น้อยกว่า 20 Inches
๒.๔.๔ มีระบบอัตโนมัติในการเติมลมและปล่อยลมยางล้อรถ เพื่อวิ่งใช้งานบนถนนและเข้าพื้นที่ดินอ่อนลุ่มหรือดินทราย
๒.๕ ระบบบังคับเลี้ยว
๒.๕.๑ พวงมาลัยติดตั้งทางด้านขวาของตัวรถ
๒.๕.๒ มีเครื่องช่วยผ่อนแรงการบังคับเลี้ยวแบบ Hydraulic (Power Steering)
๒.๕.๓ มีรัศมีวงเลี้ยว ด้านซ้าย-ขวา ไม่เกิน 8.50 m
๒.๕.๔ มีอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยช่วยการทรงตัวของรถขณะขับเคลื่อน และเมื่อยางล้อหน้าระเบิด (Safety Plus)
๒.๖ ตัวกระดองรถ (Hull) เป็นเหล็กเกราะเชื่อมขึ้นรูป (Monocoque) ทำด้วยแผ่นเหล็กเกราะป้องกันกระสุนและระเบิด ดังนี้
๒.๖.๑ หลังคารถทำด้วยเหล็กเกราะป้องกันกระสุน (Armored Steel) มีช่องทางออกบนหลังคาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 600 mm พร้อมฝาครอบ มีชุดฐานป้อมปืนพร้อม Guard ป้องกันกระสุน(ระดับ STANAG 4569 Lv2) มีกระจกด้านข้าง ๒ด้านป้องกันกระสุน(ระดับ STANAG 4569 Lv2)
และขาตั้งปืนกลขนาด 5.56mm หรือ 7.62mm หรือ 12.7mm หรือปืนกลหลายลำกล้อง M134 ป้อมปืนหมุนเคลื่อนที่ได้ 360 degree โดยใช้เฟืองเกียร์ทดช่วยผ่อนแรงในการหมุน
๒.๖.๒ กระดองรถด้านข้างทั้งห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารทำด้วยเหล็กเกราะป้องกันกระสุน(Armored Steel) ป้องกันกระสุนได้ระดับ STANAG 4569 Lv2 มีช่องยิงสำหรับสอดลำกล้องปืนออกนอกกระดองรถ สามารถเปิด-ปิดได้อย่างรวดเร็ว ๑๐ ช่อง
๒.๖.๓ กระดองรถด้านใต้ท้องรถทำด้วยเหล็กเกราะป้องกันระเบิด(Armored Steel) อัดขึ้นรูปเป็นตัวอักษร V สามารถลดแรงต้านจากการถูกระเบิดให้กระจายออกด้านข้าง ทนแรงระเบิดได้ระดับไม่น้อยกว่า STANAG 4569 Lv3b/4a
๒.๖.๔ กระจกด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง เป็นกระจกใสพิเศษมองผ่านได้อย่างปกติ กระจกทุกบานใส่อยู่ในกรอบเหล็กเกราะยึดติดกับตัวกระดองรถด้วยสกรูแบบพิเศษ (หัวกลมป้องกันกระสุน) 
กรณีกระจกแตก ร้าว หรือเป็นฝ้า สามารถยกถอดเปลี่ยนได้ทั้งกรอบด้วยการถอดสกรูออก กระจกป้องกันกระสุนระดับไม่น้อยกว่า STANAG 4569 Lv2 (ยกเว้นกรณีที่ถูกยิงซ้ำที่มีระยะห่างน้อยกว่า 10 cm)
๒.๖.๕ มีที่นั่งไม่น้อยกว่า ๑๐ (๙+๑) นาย (รวมพลขับ) เป็นเบาะฟองน้ำหุ้มด้วยหนังสีดำพร้อมเข็มขัดนิรภัยมีจุดยึด ๕ ตำแหน่ง ที่นั่งพลปืนติดตั้งกับเสากลาง สามารถพับพนักพิงลงเป็นฐานยืนยิงปืนปรับเลื่อนขึ้นลงได้ตามความต้องการของพลปืน
เบาะนั่งที่เหลือยึดติดกับผนังด้านข้าง ที่นั่งทั้งหมดมีชุดสปริงลดแรงกระแทกจากการถูกระเบิด
๒.๖.๖ มีประตูทางเข้า-ออกไม้น้อยกว่า ๓บาน โดยอย่างน้อยต้องมีด้านข้างพลขับด้านข้างผู้บังคับการณ์รถ และด้านท้าย
๒.๖.๗ มีบันไดขึ้น-ลง ๒ ระดับ บันไดตัวล่างสามารถพับขึ้นได้กรณีใช้งานในภูมิประเทศที่เป็นหลุมบ่อ ตามมาตรฐานผู้ผลิต
๒.๗ สมรรถนะ (ไม่มีน้ำหนักบรรทุก)
๒.๗.๑ ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 110 km/h
๒.๗.๒ ไต่ลาดชันได้ ไม่น้อยกว่า 60%
๒.๗.๓ ไต่ลาดเอียงได้ ไม่น้อยกว่า 30%
๒.๗.๔ มุมถึงลาด (หน้า) ไม่มากกว่า 35 degree
๒.๗.๕ มุมถึงลาด (หลัง) ไม่มากกว่า 35 degree
๒.๗.๖ ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูง ไม่น้อยกว่า 500 mm
๒.๗.๗ ระยะปฏิบัติการบนถนน ไม่น้อยกว่า 650 km
๒.๘ มิติรถ
๒.๘.๑ ระยะห่างระหว่างฐานล้อ ไม่เกิน 3.470mm
๒.๘.๒ ความยาว ไม่เกิน 6,200 mm
๒.๘.๓ ความกว้าง ไม่เกิน 2,450 mm
๒.๘.๔ ความสูง ไม่เกิน 2,680 mm
๒.๘.๕ ระยะต่ำสุดจากพื้น ไม่เกิน 520 mm
๒.๘.๖ บรรทุกน้ำหนักได้ ไม่น้อยกว่า 2,000 kg
๒.๙ มีระบบปรับอากาศ สามารถปรับระดับแรงลม และความเย็นได้ จำนวน ๑ ชุด
๒.๑๐ มีกล้องสำหรับมองด้านหลังพร้อมจอภาพ จำนวน ๑ ชุด
๒.๑๑ มีไฟฉายส่องสว่างด้านหน้า สามารถส่องสว่างได้ไม่น้อยกว่า 1.5 km หมุนได้รอบ 360 degree ปรับมุมสูง-ต่ำได้ จำนวน ๑ ชุด
๒.๑๒ มีพัดลมดูดควันปืนออกจากภายในห้องโดยสารของรถได้อย่างรวดเร็ว ติดตั้งบนหลังคา จำนวน ๑ ชุด
๒.๑๓ มีถังน้ำมันเชื้อเพลิง ติดตั้งภายในกระดองรถ บรรจุได้ไม่น้อยกว่าถังละ 120liter จำนวน ๒ ถัง
๒.๑๔ มีถังเก็บลมและแม่ปั้มเบรค ติดตั้งอยู่ภายในกระดองรถ จำนวน ๒ ถัง
๒.๑๕ มีหม้อ Batteries แบบมาตรฐานทางทหาร (MIL-PRF-32143) สำหรับใช้กับยานยนต์ ขนาด 12V ความจุ 120Ah จำนวน ๒ลูก
๒.๑๖ ระบบไฟฟ้า 24V สามารถใช้กับเครื่องมือสื่อสารทางทหารได้ มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (Alternater) แรงเคลื่อน 24V ขนาด 200A
๒.๑๗ สีตัวรถเป็นสีกากีแกมเขียว หรือตามที่ทางราชการกำหนด
๒.๑๘ มีหนังสือคู่มือ ชื่อ และหมายเลขชิ้นส่วนต่างๆ ของทุกระบบ รวมทั้งคู่มือซ่อม (ภาษาอังกฤษ) ๒ คันต่อชุด และคู่มือการใช้งานภาษาไทยคันละ ๑ เล่ม
๒.๑๙ กว้านประจำรถ พร้อมรอกผ่อนแรง ติดตั้งอยู่หลังกันชนหน้า มีคุณลักษณะเฉพาะดังนี้
๒.๑๙.๑ ให้กำลังฉุดลาก ไม่น้อยกว่า 18,000lbs
๒.๑๙.๒ ความยาวลวดสลิงกว้าน ไม่น้อยกว่า 20 m
๒.๑๙.๓ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 12.7 mm
๒.๒๐ ชุดเครื่องมือประจำรถ
๒.๒๐.๑ มีชุดเครื่องมือประจำรถ จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๒ มีแม่แรงขนาด 10 tons พร้อมด้าม จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๓ มีประแจถอดล้อ จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๔ มีกระบอกอัดจาระบีพร้อมสายอ่อน จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๕ มีหัวเติมลมยางพร้อมมาตรวัดแรงดันลมและสายยาง จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๖ มีอุปกรณ์ที่ใช้ลากจูง (Tow Bar) แบบ ๒ ก้าน รูปตัว V จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๗ มีถังน้ำมันอะไหล่ ขนาดบรรจุ 20liter จำนวน ๒ ถัง
๒.๒๐.๘ มีเครื่องมือโยธาสนามพร้อมกล่องเหล็กติดตั้งอยู่ด้านขวาของตัวรถ จำนวน ๑ชุด
๒.๒๐.๙ มีเตียงพยาบาลพร้อมกล่องเหล็ก ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของตัวรถ จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๑๐ มียางอะไหล่พร้อมกะทะล้อและวงยางในแบบตัน (Run Flat) (ไม่ได้ติดตั้งกับตัวรถ) จำนวน ๑ วง
๒.๒๐.๑๑ มีเหล็กหนุนล้อกันรถไหล(Wheel Choke) จำนวน ๒อัน
๒.๒๐.๑๒ มีฐานสำหรับติดตั้งวิทยุสนาม และฐานเสาอากาศ จำนวน ๑ ชุด
๒.๒๐.๑๓ มีจุดยึดตรึง เมื่อต้องเคลื่อนย้ายทางเรือ

๓. เงื่อนไขเพิ่มเติม
๓.๑ เป็นของผลิตใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน ยกเว้นการทดสอบจากโรงงานผู้ผลิต อยู่ในสภาพเรียบร้อยและสามารถใช้งานในราชการได้ทันที
๓.๒ สามารถเคลื่อนย้ายทางอากาศด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130 (ด้วยการถอดชุดฐานป้อมปืนและเกราะป้องกันกระสุนบนหลังคา และลดระดับแรงดันลมยาง)

บริษัท Panus ไทย น่าจะเสนอยานเกราะล้อยาง R600A 8x8 ซึ่งเป็นรุ่นสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพลสำหรับนาวิกโยธินไทย ที่ผ่านคณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมไแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/blog-post.html)
บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม น่าจะเสนอยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider(BWS) 8x8(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/dti-black-widow-spider-stryker.html) และบริษัท Chaiseri ไทยไม่ทราบแบบแต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นรถแบบใหม่ที่บริษัทออกแบบเอง
ทั้งนี้กองทัพเรือไทยได้เสร็จสิ้นโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 ที่ผลิตโดย บริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน)(CHOTHAVEE PLC) ไทย แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/dti-aapc-8x8.html)

ซึ่งยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 เป็นโครงการร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ไทยเช่นเดียวกับยานเกราะล้อยาง BWS 8x8 โดยมีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยางตระกูล Terrex ที่ออกแบบโดย ST Engineering สิงคโปร์ และ Timoney Technology ไอร์แลนด์
โดยที่ยานเกราะล้อยาง Panus R600 มีแผนที่จะติดตั้งป้อมปืน Remote(RWS: Remote Weapon Station) แบบ NEFER พร้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm ของบริษัท ASELSAN ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/panus-r600-8x8-aselsan-nefer-30mm.html)
ส่วนยานเกราะล้อยาง BWS 8x8 ได้ติดตั้งป้อมปืน Remote ที่น่าจะเป็นแบบ ADDER DM 40/50 และยานเกราะล้อยาง AAPC 8x8 ติดป้อมปืน RWS แบบ ADDER M30 ของ ST Engineering สิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-black-widow.html)

สำหรับโครงการซื้อรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์ 4x4 บริษัท นันทเทรด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.สยามพานิช นั้นไม่ทราบแบบรถที่จะเสนอ โดยเป็นไปได้ว่าทั้งสองรายน่าจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถหุ้มเกราะล้อยางจากต่างประเทศ ซึ่งไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในขณะที่เขียนบทความนี้
ขณะที่ Chaiseri น่าจะเสนอรถหุุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ของตน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการนวัตกรรมไทยด้านยุทโธปกรณ์ความมั่นคงไปแล้วในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/chaiseri-first-win-ii-4x4.html)
ทำให้เมื่อประกอบกับโครงการซื้อยานยนต์หุ้มเกราะอเนกประสงค์ 4x4 ๖คันในปี ๒๕๖๓ ที่ผู้ชนะคือรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 จึงเป็นไปได้มากว่าโครงการในปี ๒๕๖๔ จะเป็นการซื้อรถเกราะ First Win เพิ่มอีก ๖คัน ตามนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงไทยของกองทัพเรือครับ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กองทัพบกสหรัฐฯทิ้ง Iron Dome อิสราเอลสำหรับระบบป้องกันอาวุธยิงเล็งจำลอง

US Army forgoes Iron Dome for a once abandoned launcher


Dynetics, Inc's Enduring Shield, a modified Multi-Mission Launcher (MML) has been selected by the US Army for its IFPC Inc 2 programme. (US Army)





The system was chosen over Rafael Advanced Defense Systems’ combat-proven Iron Dome. (US Army)









แม้ว่าราคาสูงกว่ามากและไม่เคยถูกนำมาวางกำลังประจำการ ระบบ Enduring Shield ของบริษัท Dynetics สหรัฐฯ ที่ดัดแปลงจากแท่นยิงพหุภารกิจ Multi-Mission Launcher(MML) ที่ติดตั้งคู่กับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Raytheon AIM-9X Sidewinder รุ่นพื้นสู่อากาศ
ได้รับเลือกโดยกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) สำหรับโครงการขีดความสามารถป้องกันอาวุธยิงเล็งจำลองเพิ่มเติมระยะ2(IFPC Inc 2: Indirect Fire Protection Capability Increment 2) ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวและเอกสารของกองทัพบกสหรัฐฯ

ระบบ Enduring Shield ได้ถูกเลือกเหนือระบบ Iron Dome ของบริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอล ที่ได้รับการพิสูจน์ในการรบจริงแล้ว Rafael อิสราเอลยังได้จับคู่กับบริษัท Raytheon สหรัฐฯในการแข่งขันโครงการนี้
โดย Raytheon จะผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศสกัดกั้น Tamir อิสราเอลภายในสหรัฐฯสำหรับโครงการ และกองทัพบกสหรัฐฯได้ส่งจดหมายถึงทีม Rafael-Raytheon เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2021 แจ้งว่าพวกตนไม่ได้รับเลือก

"ในข้อกำหนดที่เข้มงวดด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในการเชิญชวน รัฐบาลสหรัฐฯจะทำสัญญาต่อผู้เสนอที่ตรงความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯที่สุด บนพื้นฐานการประเมินแบบบูรณาการ ของผลการประเมินค่า
บนพื้นฐานการประเมินนี้รัฐบาลสหรัฐฯได้ตัดสินว่า Dynetics, Inc ตรงความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯที่สุด" กองทัพบกสหรัฐฯเขียนในจดหมายที่ถูกมอบให้กับ Janes เกี่ยวกับส่วนระบบสกัดกั้นในการแข่งขัน

ทั้งสองทีมได้เข้าแข่งขันในสัญญาที่มีความต้องการสูงมาก ซึ่งรวมถึงการทดสอบยิงในปลายเดือนเมษายน/ต้นเดือนพฤษภาคม 2021 ณ สนามทดสอบอาวุธนำวิถี White Sands ในมลรัฐ New Mexico
ที่ซึ่งแต่ละทีมได้ทำการยิง "เป้าหมายที่มีโอกาสถึงสามเป้า" เจ้าหน้าที่บริหารโครงการฝ่ายอาวุธปล่อยนำวิถีและอวกาศ พลตรี Robert Rasch กล่าวต่อสื่อในเดือนพฤษภาคม 2021

สำหรับขั้นระยะนี้ของโครงการ กองทัพบกสหรัฐฯได้ประเมินค่าขีดความสามารถของแต่ละระบบที่จะทำลายอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน(cruise missile) หลายนัด
ขณะที่สนใจในขีดความสามารถในอนาคตของระบบที่จะทำลายภัยคุกคามจากจรวด, ปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิด ในภายในกรอบระยะเวลาปี 2026 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88G AARGM-ER สหรัฐฯจะเข้าสู่สายการผลิต

AARGM-ER to enter production



LRIP awards for the USN's AGM-88G AARGM-ER, seen on F/A-18E/F Super Hornets, are anticipated in the next quarter following Milestone C approval on 23 August. (NAVAIR)

การประกาศสัญญาสายการผลิตระดับต่ำ(LRIP: Low-Rate Initial Production) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่นขั้นก้าวหน้าเพิ่มระยะยิง AGM-88G AARGM-ER(Advanced Anti-Radiation Guided Missile-Extended Range)
ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เป็นที่คาดว่าจะมีขึ้นในไตรมาสที่สี่ปี 2021 ตามการอนุมัติหลักขั้นก้าวย่าง Milestone C เมื่อ 23 สิงหาคม 2021

Milestone C เป็นการทบทวนที่นำโดยตัวแทนผู้มีอำนาจการตัดสินใจหลักก้าวย่างสำคัญ(Milestone Decision Authority) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหมสหรัฐฯ
ซึ่งกำหนดว่าโครงการได้ตรงเกณฑ์การออกจากจุดสุดท้ายของขั้นการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต (EMD: Engineering and Manufacturing Development) ที่จะทำให้เดินหน้าเข้าสู่ขั้นการผลิตและวางกำลัง(Production and Deployment) ได้หรือไม่

กองทัพเรือสหรัฐฯได้ประกาศสัญญากับบริษัท Northrop Grumman Corporation สหรัฐฯเป็นวงเงิน $322.5 million สำหรับขั้นระยะ EMD ของโครงการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88G AARGM-ER ในเดือนมีนาคม 2019
การทบทวนการออกแบบที่สำคัญ(CDR: Critical Design Review) ของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AARGM-ER ได้บรรลุผลเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 โดยการออกแบบพื้นฐานผลิตภัณฑ์ขั้นต้น(Initial Product Baseline) ได้เสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2020

ด้วยหลักขั้นก้าวย่าง Milestone C ที่ได้รับการอนุมัติแล้วตอนนี้ กองทัพเรือสหรัฐฯวางแผน "ที่จะเปิดสายการผลิตระดับต่ำสอง lot แรกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า"
กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯประกาศเมื่อ 25 สิงหาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/fa-18e-super-hornet-aargm-er.html)

"ทีมผสมรัฐบาล/อุตสาหกรรมได้ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเข้าถึงหลักก้าวย่างนี้ เรามองไปข้างหน้าที่จะได้รับอาวุธใหม่ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถและอำนาจการสังหารของมันมาสู่ฝูงบินโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"
นาวาเอก Alex Dutko ผู้จัดการโครงการการโจมตีที่อ่อนไหวโดยตรงและตรงเวลา(Direct and Time Sensitive Strike, PMA-242) ของกองบัญชาการระบบอากาศนาวีสหรัฐฯ NAVAIR กล่าว

โครงการอาวุธปล่อยนำวิถี AARGM-ER ที่นำโดยกองทัพเรือสหรัฐฯเป็นวิวัฒนาการหลายอย่างของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่นขั้นก้าวหน้า AGM-88E Block 1 AARGM ที่เข้าประจำการ/อยู่ในสายการผลิตเต็มอัตรา(Full-Rate Production) แล้ว
ซึ่งนำระบบย่อยและส่วนประกอบของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88E ที่มีอยู่มาใช้ รวมถึงระบบตรวจจับและ electronic แต่ได้นำการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโครงสร้างจรวด, motor จรวดใหม่, ระบบทำงานควบคุมใหม่ และออกแบบหัวรบใหม่มาใช้ครับ

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รัสเซียสั่งจัดหาระบบรถถังหลักไร้คนขับ Shturm

Army 2021: Russia orders Shturm unmanned battle tank system



The Russian MoD has awarded Uralvagonzavod a contract for a prototype of the Shturm UGV system based on the T-72B3 MBT (pictured). (Russian MoD)




Tank Biathlon 2021 ARMY-2021/1 arrival 
Division 1: Russia, China, Uzbekistan. Division 2: Laos, Kyrgyzstan, Mali, Myanmar.


Tank Biathlon 2021: Division 1 2nd arrival Vietnam, Mongolia, Syria, Venezuela 


Tank Biathlon 2021: Division 2 3rd arrival: Laos, Kyrgyzstan, Myanmar 




Tank Biathlon 2021: Division 1 5th arrival Vietnam, Mongolia, Syria, Venezuela


Tank Biathlon 2021: Division 2 5th arrival Laos, Kyrgyzstan, Myanmar

กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ลงนามสัญญาแรกสำหรับต้นแบบระบบยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) แบบ Shturm(Project Storm 'พายุ' ในภาษารัสเซีย) ที่มีพื้นฐานบนรถถังหลัก T-72
ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหาร-เทคนิคนานาชาติ Army 2021 ที่จัดขึ้นใน Kubinka นอกนครหลวง Moscow ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม 2021 สำนักข่าว TASS รัสเซียรายงานเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2021

ยานยนต์ไร้คนขับ Shturm UGV เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานบนรถถังหลัก T-72B3 จำนวน 4คัน ที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กลางที่สาม(Third Central Scientific Research Institute)
และ Uralvagonzavod รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตรถถังหลักของรัสเซียรวมถึงรถถังหลัก T-72 ที่อยู่ในเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซีย

ตามที่วาดแนวความคิดไว้แต่แรก ระบบยานยนต์ไร้คนขับ Shturm UGV จะประกอบด้วยรถถังหลัก T-72B3 ที่ดัดแปลงสำหรับปฏิบัติการไร้คนขับ
คันที่หนึ่งติดตั้งปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบความยาวกระบอกสั้นแบบ D-414 ขนาด 125mm, คันที่สองติดตั้งเครื่องยิงจรวด thermobaric แบบ RPO-2 Shmel-M,

คันที่สามติดตั้งปืนใหญ่กล 2A42 ขนาด 30mm สองกระบอก(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/armata.html) และคันที่สี่ติดตั้งระบบอาวุธลักษณะเดียวกับเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร thermobaric หนัก TOS-1A
ระบบยานยนต์ไร้คนขับ Shturm UGV คาดว่าจะถูกควบคุมโดยทีมควบคุมที่แข็งแกร่งจำนวน 8นาย ที่ปฏิบัติการภายในรถคันที่ห้าที่ยังมีพื้นฐานบนรถถังหลัง T-72B3

รถถังหลัก T-72B3 เป็นการปรับปรุงความทันสมัยของรถถังหลัก T-72B เดิมรวมถึงการติดตั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armour) แบบ Kontakt-5 และกล้องเล็งพลยิงแบบ Sosna-U
รัสเซียได้ทำการปรับปรุงมาตรฐานรถถังหลัก T-72B3 ของตนเป็นจำนวนมาก และถูกนำมาจัดแสดงในหลายงาน รวมถึงการแข่งขันทางทหาร Tank Biathlon ที่เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งทางทหาร Army Games ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/tank-biathlon-2018-asean.html)

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

Boeing สหรัฐฯเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-15QA Ababil กาตาร์เครื่องแรก

Boeing rolls out first F-15QA for Qatar







The roll-out of the first F-15QA for Qatar, with the aircraft seen fitted with a range of weapons and systems. (Boeing)



บริษัท Boeing สหรัฐฯจัดแสดงเครื่องบินขับไล่ F-15QA Advanced Eagle "Ababil" เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศกาตาร์(QEAF: Qatar Emiri Air Force) จากที่สั่งจัดหาทั้งหมด 36เครื่อง
ในพิธีเปิดตัวที่จัดขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Boeing ที่ St Louis ในมลรัฐ Missouri สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/f-15qa.html)

พิธีได้เห็นบรรดาผู้นำของ Boeing สหรัฐฯ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) เช่นเดียวกับบรรดาผู้มีเกียรติระดับสูงและเจ้าหน้าที่กองทัพจากกาตาร์
การเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-15QA เครื่องแรกของกาตาร์เป็นเวลาเดียวกับที่มีการประกาศชื่อทางการของเครื่องรุ่นนี้ว่า Ababil(ชื่อฝูงนกที่มีความสำคัญซึ่งถูกกล่าวถึงในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน)

เครื่องบินขับไล่ F-15QA หมายเลข QA500 ที่เปิดตัวต่อสาธารณชนได้ติดตั้งอาวุธหลายแบบที่จะถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศกาตาร์ รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9X Sidewinder,
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile), อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing AGM-84A Harpoon และระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-31 JDAM(Joint Direct Attack Munition)

เครื่องบินขับไล่ F-15QA QA500 ยังได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์ทั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย Northrop Grumman AN/AAQ-28(V) Litening และกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper ATP(Advanced Targeting Pod)
เช่นเดียวกับการบูรณาการระบบค้นหาและตรวจจับเป้าหมาย IRST(Infrared Search and Track) แบบ Lockheed Martin AN/AAS-42 Tiger Eyes

นักบินกองทัพอากาศกาตาร์ชุดแรก 15นายที่ได้รับการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F-15QA แล้วยังได้ถูกเปิดตัวต่อแขกผู้เข้าร่วมงานด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/boeing-f-15qa-36.html)
เครื่องบินขับไล่ F-15QA ชุดแรกจะถูกส่งมอบผ่านการบินเดินทางมายังกาตาร์ภายหลังในปี 2021 นั้นตามหลังการเสร็จสิ้นฝึกนักบินก่อนการส่งมอบ Boeing สหรัฐฯกล่าว

Boeing สหรัฐฯได้มอบการสนับสนุนการบำรุงรักษาและการส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพอากาศกาตาร์ระหว่างการฝึกนักบินก่อนส่งมอบ ซึ่งได้เริ่มต้นก่อนหน้าในปี 2021 นี้
นอกจากนี้ Boeing จะจัดตั้งและปฏิบัติงานศูนย์ฝึกนักบินและช่างอากาศยานแก่กองทัพอากาศกาตาร์ที่ฐานทัพอากาศ Al Udeid ในกาตาร์ไปจนถึงปี 2024 ขณะที่ยังมอบการสนับสนุนอะไหล่และการส่งกำลังบำรุงในกาตาร์เมื่อเครื่องถูกส่งมอบด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รัสเซียเปิดสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น 305E ใหม่สำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี

Russia mass-produces cutting-edge missile for combat helicopters, says defense firm







The cutting-edge missile dubbed Item 305E will replenish the family of 9M120-1 ‘Ataka’ missiles operational in the Russian Army

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบใหม่ล่าสุดที่ออกแบบสำหรับติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์โจมตีและเปิดตัวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหาร-เทคนิคนานาชาติ Army 2021 ขณะนี้ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากแล้ว
Valery Kashin หัวหน้านักออกแบบสำนักออกแบบการสร้างเครื่องจักร(Design Bureau of Machine-Building, KBM) ที่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอาวุธความแม่นยำสูง High Precision Weapons ในเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าว

"ใช่อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากแล้ว" Kashin หัวหน้านักออกแบบ KBM รัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021 
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นล้ำยุคที่ถูกเรียกว่า Item 305E หรือ Product 305E(Izdeliye 305E) จะถูกนำมาเสริมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นตระกูล 9M120-1 Ataka ที่ประจำการในกองทัพรัสเซีย เขากล่าว

"ขึ้นอยู่กับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เฮลิคอปเตอร์โจมตีสามารถติดตั้งอาวุธได้ทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Ataka" Kashin ระบุ
อาวุธปล่อยนำวิถีใหม่มีความน่าเชื่อถือในการโจมตีเป้าหมายทุกรูปแบบในสนามรบ หัวหน้านักออกแบบเน้น "อาวุธปล่อยนำวิถีสามารถทำลายทั้งสิ่งที่ติดตั้งโดยทหารช่างและรถถังหลัก" เขาเสริม

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E ถูกนำมาใช้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ล่าสุดของรัสเซีย "อาวุธปล่อยนำวิถีถูกออกแบบสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NM และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52M 
อย่างไรก็ตามลูกค้ามีความปรารถนาว่ามันสามารถจะนำมาใช้กับเฮลิคอปเตอร์แบบอื่นได้" เขาเสริม(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/ka-52m.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/06/ka-52m-2022.html)

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E ใหม่มีพื้นฐานการออกแบบแบบ modular "ขึ้นอยู่กับความต้องการและภารกิจที่ได้รับ Item 305E สามารถจะติดตั้งด้วยหัวรบที่แตกต่างกันได้" Kashin กล่าว
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E ติดตั้งหัวรบระเบิดแรงสูงแตกสะเก็ดน้ำหนัก 25kg และระบบค้นหาเป้าหมายส่วนหัวแบบ optical สร้างภาพความร้อน

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Item 305E มีน้ำหนัก 105kg ความยาว 1945mm เส้นผ่านศูนย์กลาง 200mm มีพิสัยการยิงที่ยืนยันไกลถึง 14.5km และสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 230m/s มีเพดานบินระหว่าง 100-600m
งานแสดง Army 2021 กำลังจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมและจัดแสดง Patriot ใน Kubinka นอกนครหลวง Moscow ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม 2021 ครับ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-78 USS Gerald R. Ford เข้ารับแผนการเพิ่มความพร้อมปฏิบัติการ

Carrier Ford transits to Newport News Shipbuilding for Planned Incremental Availability







USS Gerald R Ford completed its third shock trial in early August. (US Navy)



เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-78 USS Gerald R. Ford ได้ออกจากสถานีเรือ(Naval Station) Norfolk เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2021 เพื่อทำการเคลื่อนย้ายไปอู่เรือ Newport News Shipyard 
เพื่อเริ่มต้นแผนการเพิ่มความพร้อมปฏิบัติการ(PIA: Planned Incremental Availability) ช่วงระยะเวลา 6เดือนในการปรับปรุงความทันสมัย, บำรุงรักษา และซ่อมทำเรือ กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ยืนยัน

แผนการเพิ่มความพร้อม PIA ของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Gerald R. Ford มีกำหนดที่ถูกใช้ในฐานะขั้นระยะการบำรุงรักษาขั้นสุดท้ายสำหรับช่วงที่เรือจะวางแผนจะเริ่มการวางกำลังปฏิบัติการครั้งแรกในปี 2022 กองทัพเรือสหรัฐฯชี้ให้เห็น
แผน PIA เป็น "ช่วงการบำรุงรักษาสั้นๆแต่สำคัญ แผน PIA นั้นเป็นหลักก้าวย่างสุดท้ายสำหรับเราที่จะเสร็จสิ้นช่วงเวลาที่จะเริ่มงานและวางกำลังครั้งแรกของเรา" นาวาเอก Paul Lanzilotta ผู้บังคับการเรือ USS Gerald R. Ford เสริม

กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเรือไปยังอู่เรือ Newport News มีขึ้นตาม "การเร่งที่รวดเร็วและประสบความสำเร็จระยะเวลา 21เดือนของการทดสอบและทดลองเรือหลังส่งมอบ(PDT&T: Post-Delivery Test and Trials)
และการทดลองแรงกระแทกเรือเต็มอัตรา(FSST: Full Ship Shock Trials) ช่วงเวลาการทดสอบและทดลองเรือที่เข้มงวดมีความสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อความพร้อมการวางกำลังโดยรวมของเรือบรรทุกเครื่องบิน Ford"

กองทัพเรือสหรัฐฯเสริมว่า ประสบการณ์ล่าสุดของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Gerald R. Ford จะเพิ่มพูนขั้นตอนการสร้างและทดลองเรือสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Ford ที่มีตามมา
เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-79 USS John F. Kennedy(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/cvn-79-uss-john-f-kennedy-f-35c.html), เรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-80 USS Enterprise และเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-81 USS Doris Miller

นอกเหนือจากการเสร็จสิ้นการทดสอบและการบำรุงรักษาที่จำเป็นระหว่างขั้นตอน PDT&T เรือและกำลังพลประจำเรือเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Ford(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/cvn-78-uss-gerald-r-ford.html)
และใช้งานในฐานะระบบทีมเดียวของชายฝั่งตะวันออกสำหรับดำเนินการทดสอบรับรองคุณสมบัติการปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินของนักบินมากกว่า 350นายกองทัพเรือสหรัฐฯรายงานครับ 

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อากาศยานไร้คนขับ MQ-25A Stingray เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศให้เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2D ครั้งแรก

Stingray refuels Advanced Hawkeye in latest aerial trials


A company-owned Boeing MQ-25A Stingray unmanned tanker passes fuel to a US Navy-operated E-2D Advanced Hawkeye receiver aircraft during trials. (Boeing)



อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Boeing MQ-25A Stingray ได้ส่งผ่านเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม(AEW&C: Airborne Early Warning and Control) 
แบบ Northrop Grumman E-2D Advanced Hawkeye ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เป็นครั้งแรก ตามประกาศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2021 

อากาศยานไร้ขับ MQ-25 T1 เครื่องทดสอบที่บริษัท Boeing สหรัฐฯเป็นเจ้าของ ได้ส่งผ่านเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2D Advanced Hawkeye
โดย E-2D ที่เป็นเครื่องบินรับเชื้อเพลิงทำการบินโดยฝูงบินทดสอบและประเมินค่าทางอากาศ VX-20(Air Test and Evaluation Squadron) กองทัพเรือสหรัฐฯ ระหว่างการทดสอบที่มีขึ้นหนึ่งวันก่อนหน้าที่จะมีการประกาศ

"ระหว่างการบินทดสอบจากท่าอากาศยาน MidAmerica St Louis เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2021 นักบินจากฝูงบิน VX-20 ได้ประความสำเร็จในการบินตามเส้นทาง(wake survey) ด้านหลัง MQ-25 T1 เพื่อให้มั่นใจในสมรรถนะและสเถียรภาพ
ก่อนทำการเสียบท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศเข้ากับตะกร้าส่งเชื้อเพลิงกลางอากาศของ T1 เครื่องบิน E-2D ได้รับเชื่อเพลิงจากถังเก็บเชื้อเพลิงเติมกลางอากาศของ T1 ระหว่างการบิน" Boeing กล่าว

นี่การเป็นเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศครั้งแรกสำหรับอากาศยานไร้คนขับ Stingray กับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Advanced Hawkeye ที่มีขึ้นตามมาให้หลังเกือบสามเดือน
ที่การทดสอบการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศครั้งแรกที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2021 กับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18F Super Hornet เป็นเครื่องรับเชื้อเพลิง(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/mq-25a-stingray-fa-18f-super-hornet.html)

ทั้งเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2D Advanced Hawkeye และเครื่องบินขับไล่ F/A-18F Super Hornet ได้ทำการบินในความเร็วและความสูงที่สอดคล้องกับการปฏิบัติการ
และเครื่องบินที่รับเชื้อเพลิงกลางอากาศทั้งสองแบบดำเนินท่าทางทางการบินในระยะใกล้ชิดกับอากาศยานไร้ขับเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ MQ-25 Stingray

Boeing กำลังทำการผลิต MQ-25A Stingray เครื่องทดสอบ 2เครื่องแรกจาก 7เครื่อง และเครื่องทดสอบภาคพื้นดิน 2เครื่องที่อยู่ภายใต้สัญญาในขณะนี้ เครื่องทดสอบ T1 ที่ Boeing เป็นเจ้าของเป็นเครื่องรุ่นแรกของเครื่องทดสอบเหล่านี้ 
และมีกำหนดที่จะส่งมอบเครื่องไป Norfolk มลรัฐ Virginia สำหรับการทดสอบการควบคุมบนดาดฟ้าเรือบรรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือสหรัฐฯภายหลังในปี 2021 นี้ครับ

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อินโดนีเซียทำพิธีปล่อยเรือเร็วโจมตีใหม่ลงน้ำ KRI Golok

PT Lundin Launches New Stealth Trimaran Vessel for Indonesian Navy 




KRI Golok (688) was launched on 21 August 2021 by PT Lundin for the Indonesian Navy (TNI AL). (pictures: beritajatim.com)




Chief of Staff of the Navy, Admiral Yudo Margono, during the launching and naming ceremony of KRI Golok.

PT Lundin บริษัทอู่เรือของอินโดนีเซีย(หรือบริษัท North Sea Boats) ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือเร็วโจมตี(FAC: Fast Attack Craft) ทรงเรือ Trimaran สำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
เรือเร็วโจมตี KRI Golok หมายเลขเรือ 688 ได้รับการตั้งชื่อเรือระหว่างพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2021 ณ อู่เรือของ PT Lundin ใน Banyuwangi เกาะ East Java โดยมีผู้บัญชาการกองทัพเรืออินโดนีเซีย พลเรือเอก Yudo Margono ร่วมพิธี

ระหว่างพิธีปล่อยเรือลงน้ำ พลเรือเอก Margono กล่าวว่าเรือเร็วโจมตี KRI Golok เป็นเรือทรง Trimaran ลำแรกที่สร้างจากวัสดุผสม(composite material)
ซึ่งมีข้อได้เปรียบด้านความแข็งแรงเฉพาะสูง, น้ำหนักเบากว่า และมีความทนทานต่อความล้าและการผุกร่อนที่ดีเยี่ยม ดังนั้นเรือนี้สามารถที่จะถูกใช้ในฐานะเรือทรง Trimaran เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา 

"ความหมายเชิงปรัชญาของการตั้งชื่อเรือนี้ว่า KRI Golok 688 ควรจะถูกใช้ในการปฏิบัติการภารกิจใดๆที่ได้รับมอบหมาย ทั้งปฏิบัติการทางทหารเพื่อสงคราม(MOOW: Military Operations for War) และปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม(MOOTW: Military Operations Other Than War)
ด้วยความเร็วสูงและอำนาจการทำลายสูง มันจึงเป็นที่หวังว่าเรือนี้จะสามารถดำเนินการปฏิบัติทางยุทธวิธียิงแล้วหนีของเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีได้" พลเรือเอก Margono กล่าว

นอกจากนี้ พลเรือเอก Margono เปิดเผยว่าการสร้างเรือเร็วโจมตีทรง Trimaran มีความหมายทางยุทธศาสตร์อย่างมากแน่นอน PT Lundin Industry Invest เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแห่งชาติของอินโดนีเซีย
ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยาการกลาโหมเพื่อผลประโยชน์ของชาติ ในความพยายามที่จะลดการพึ่งพาประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดหายุทโธปกรณ์ในอนาคตของกองทัพเรืออินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/2044.html)

ตามการแถลงของกองทัพเรืออินโดนีเซีย เรือเร็วโจมตี KRI Golok 688 มีความยาวรวม 62.53m, กว้าง 16m สูง 18.7m และมีน้ำหนัก 53.1tons(PT Lundin กล่าวว่ามีระวางขับน้ำ 245tons)
มีความเร็วสูงสุด 28knots, ความเร็วมัธยัสถ์ 16knots เรือเร็วโจมตี KRI Golok 688 ติดอาวุธปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลหนัก 12.7mm และสามารถรองรับกำลังพลได้ 25นาย

"เรือเร็วโจมตีใช่การออกแบบทรง traimaran 'เจาะคลื่น'(Wave Piercing) สมัยใหม่ นี่ทำให้เรือจะตัดผ่านคลื่นมากกว่าที่เชิดขึ้นและอยู่เหนือคลื่น และความกว้างที่เพิ่มขึ้นทำให้เรือมีสเถียรภาพการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ
การผสมผสานคุณสมบัติต่างๆลดการเชิดและการโคลง สร้างความมั่นคงแก่ระบบอาวุธ และทำให้เรือจะดำรงความคล่องตัวและปลอดภัยที่ความเร็วเฉลี่ยสูงกว่าในเงื่อนไขที่ไม่พึ่งประสงค์" ตามข้อมูลจาก PT Lundin

ตามข้อมูลจาก PT Lundin "เรือเร็วโจมตีมีคุณลักษณะการออกแบบ 'ตรวจจับได้ยาก'(Stealth) และมีคุดสมบัติที่ลดการถูกตรวจจับได้ให้น้อยที่สุด โดยการลดการแพร่สัญญาณ Radar, Infrared, เสียง และแม่เหล็ก 
คุณสมบัติ Stealth เพิ่มเติมตามที่เรือไม่มีหัวเรือมุมกลับด้านยื่นออกมาที่จะสะท้อนสัญญาณ radar ตามที่พบในเรือตามแบบ ระบบอาวุธรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีและปืนเรือ และเรือยางท้องแบน RHIB ความเร็วสูง ถูกซ่อนไว้อย่างดีหรือมีรูปทรงที่หลอมรวมเข้าไปกับดาดฟ้ายกของเรือ"

KRI Golok 688 เป็นเรือเร็วโจมตีแบบ X3K ลำที่สองที่สร้างโดย PT Lundin อินโดนีเซีย เรือลำแรกเรือเร็วโจมตี KRI Klewang หมายเลขเรือ625 ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนสิงหาคม 2012 อย่างไรก็ตามเรือลำแรกถูกทำลายในหนึ่งเดือนให้หลังจากเหตุไฟไหม้ระหว่างทำการติดตั้งอุปกรณ์
ก่อนหน้าในปี 2021 นี้ PT Lundin อินโดนีเซียได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำและทดลองเรือในทะเลของเรือรถถัง Antasena X18 Tank Boat(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/antasena-tank-boat.html)

การคาดการณ์ถึงกำหนดการนำเรือเร็วโจมตี KRI Golok 688 เข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียยังไม่เป็นที่ทราบในขณะนี้(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/x18-combat-boat.html)
Naval News ได้ร้องขอความเห็นจากบริษัท PT Lundin อินโดนีเซียผู้สร้างเรือ แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับมาในขณะที่บทความนี้เผยแพร่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/tank-boat.html)