NATO signs AWACS upgrade contract with Boeing
NATO signed a USD1 billion contract with Boeing on 27 November to upgrade the alliance’s E-3 AWACS aircraft. Source: NATO
https://www.janes.com/article/92900/nato-signs-awacs-upgrade-contract-with-boeing
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(NATO: North Atlantic Treaty Organization) ได้ลงนามสัญญาวงเงิน $1 billion กับบริษัท Boeing สหรัฐฯ
เพื่อปรับปรุงเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศควบคุม E-3 Sentry AWACS(Airborne Warning and Control) จำนวน 14เครื่องของกลุ่มชาติพันธมิตร
สัญญาโครงการยืนอายุการใช้งานสุดท้าย AWACS FLEP(Final Lifetime Extension Programme) ได้รับการลงนามโดย Jens Stoltenberg เลขาธิการทั่วไป NATO และ Michael Arthur ประธาน Boeing International
ณ Melsbroek พื้นที่ส่วนทางทหารของสนามบิน Brusssel เบลเยียม ตามที่กระทรวงกลาโหมเบลเยียมกล่าวใน Website ของตนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2019
โครงการปรับปรุง FLEP จะเป็นการปรับปรุงครั้งที่สามและเป็นการปรับปรุงครั้งสุดท้ายของฝูงบิน E-3 AWACS NATO ตั้งแต่ที่เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศควบคุม E-3A เครื่องแรกทำการบินในปี 1982 ตามที่กระทรวงกลาโหมเบลเยียมระบุ
Stoltenberg กล่าวว่าการปรับปรุงจะทำให้มั่นใจวามเครื่องบินจะยังคงอยู่ในประจำการจนถึงปี 2035 "มันจะทำให้ AWACS ได้รับขีดความสามารถระบบสื่อสารและเครือข่ายใหม่ที่ซับซ้อน" เขาแถลง
กระทรวงกลาโหมเบลเยียมอธิบายอย่างละเอียดว่า E-3 AWACS จะได้รับการติดตั้งด้วยห้องนักบินแบบ Glass cockpit, ระบบ Radar และการสื่อสารระดับวิทยาการสูง และระบบถ่ายทอดข้อมูลยุคที่5 ที่สามารถปฏิบัติการรบัญชาการและควบคุมในหลายภาคส่วน
Stoltenberg กล่าวว่า 16 ชาติพันธมิตร NATO ทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกได้ลงทุนในโครงการ FLEP โดยการมีส่วนร่วมกับบริษัทในยุโรปและอเมริกาเหนือ
ซึ่งบริษัทที่ได้รับการระบุชื่อว่ามีส่วนรวมในโครงการมีเช่น Northrop Grumman สหรัฐฯ, Airbus ฝรั่งเศส-เยอรมนี, Kongsberg นอร์เวย์, Leonardo อิตาลี, Thales ฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์, Indra สเปน "และอื่นๆอีกหลายบริษัท"
เดิม NATO มีเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศควบคุม E-3 AWACS ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ Boeing 707 อยู่ 18เครื่อง โดยสูญเสียจากอุบัติเหตุไป 1เครื่อง และปลดประจำการไป 1เครื่องครับ
วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
มาเลเซียพิจารณาข้อเสนอแลกเครื่องบินขับไล่จากรัสเซีย
Malaysia considers ‘fighter exchange’ offer from Russia
Royal Malaysian Air Force (RMAF) has also recently retired what is believed to be 10 MiG-29s (pictured), which were operated from the mid-1990s.
The RMAF has currently operates about 18 Su-30MKM fighters (pictured), which were delivered from 2007.
Russia has offered Malaysia an exchange deal featuring old fighter aircraft for new aircraft, with the latter reported to feature the Su-35 and MiG-35 (pictured). Source: UAC
https://www.janes.com/article/92893/malaysia-considers-fighter-exchange-offer-from-russia
มาเลเซียได้รับข้อเสนอจากรัสเซียเปลี่ยนแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งของฝูงเครื่องบินเครื่องพหุภารกิจของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ได้ยืนยันต่อรัฐสภามาเลเซียโดยกล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังพิจารณาข้อเสนอจากรัฐบาลรัสเซีย
แต่บ่งชี้ว่าลำดับความสำคัญของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) คือการจัดหาขีดความสามารถเช่นการตรวจการณ์และโจมตีเบา(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ยังได้บ่งชี้ว่ามาเลเซียจะไม่มีการพิจารณาการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจจริงๆจนกว่าจะหลังปี 2030(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/su-30mkm.html)
กองทัพอากาศมาเลเซียปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM รัสเซียราว 18เครื่องซึ่งได้รับมอบตั้งแต่ปี 2007 ล่าสุดน่าเชื่อว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ MiG-29N รัสเซียจำนวน 10เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่กลางปี 1990s
ในรัฐสภามาเลเซีย รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ได้ถูกถามว่าถ้ามาเลเซีย "ยินดีที่จะยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลรัสเซียที่จะส่งคืนเครื่องบินขับไล่ 28เครื่อง" และ "ทดแทนพวกมันด้วยเครื่องบินใหม่ที่สร้างโดยรัสเซีย"
ข้อตกลงได้รับการรายงานว่าจะรวมถึงการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 และเครื่องบินขับไล่ Su-35 รุ่นใหม่ยังน่าจะประกอบด้วยการค้าต่างตอบแทนกับน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_24.html)
Sabu ตอบกลับว่า แม้ว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ "ไม่ได้อยู่ในแผนของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย" แต่ยังคงพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอจากรัสเซียอยู่ เขาเสริมว่าในเส้นทางโครงการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพอากาศมาเลเซียระยะยาว
จะเดินหน้าเพื่อให้ลำดับความสำคัญการบำรุงรักษาฝูงเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Hornet จำนวน 8เครื่องที่จัดหาในปลายปี 1990s การให้ลำดับสำคัญการดำรงสภาพความพร้อมจะเดินหน้าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030
Sabu เสริมว่าลำดับความสำคัญการจัดหาระยะใกล้สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียรวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft), อากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle)
และเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) เพื่อ "เสริมความสามารถและเตรียมความพร้อมของกองทัพอากาศมาเลเซีย" ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)
Royal Malaysian Air Force (RMAF) has also recently retired what is believed to be 10 MiG-29s (pictured), which were operated from the mid-1990s.
The RMAF has currently operates about 18 Su-30MKM fighters (pictured), which were delivered from 2007.
Russia has offered Malaysia an exchange deal featuring old fighter aircraft for new aircraft, with the latter reported to feature the Su-35 and MiG-35 (pictured). Source: UAC
https://www.janes.com/article/92893/malaysia-considers-fighter-exchange-offer-from-russia
มาเลเซียได้รับข้อเสนอจากรัสเซียเปลี่ยนแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งของฝูงเครื่องบินเครื่องพหุภารกิจของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ได้ยืนยันต่อรัฐสภามาเลเซียโดยกล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังพิจารณาข้อเสนอจากรัฐบาลรัสเซีย
แต่บ่งชี้ว่าลำดับความสำคัญของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) คือการจัดหาขีดความสามารถเช่นการตรวจการณ์และโจมตีเบา(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ยังได้บ่งชี้ว่ามาเลเซียจะไม่มีการพิจารณาการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจจริงๆจนกว่าจะหลังปี 2030(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/su-30mkm.html)
กองทัพอากาศมาเลเซียปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM รัสเซียราว 18เครื่องซึ่งได้รับมอบตั้งแต่ปี 2007 ล่าสุดน่าเชื่อว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ MiG-29N รัสเซียจำนวน 10เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่กลางปี 1990s
ในรัฐสภามาเลเซีย รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ได้ถูกถามว่าถ้ามาเลเซีย "ยินดีที่จะยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลรัสเซียที่จะส่งคืนเครื่องบินขับไล่ 28เครื่อง" และ "ทดแทนพวกมันด้วยเครื่องบินใหม่ที่สร้างโดยรัสเซีย"
ข้อตกลงได้รับการรายงานว่าจะรวมถึงการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 และเครื่องบินขับไล่ Su-35 รุ่นใหม่ยังน่าจะประกอบด้วยการค้าต่างตอบแทนกับน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_24.html)
Sabu ตอบกลับว่า แม้ว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ "ไม่ได้อยู่ในแผนของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย" แต่ยังคงพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอจากรัสเซียอยู่ เขาเสริมว่าในเส้นทางโครงการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพอากาศมาเลเซียระยะยาว
จะเดินหน้าเพื่อให้ลำดับความสำคัญการบำรุงรักษาฝูงเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Hornet จำนวน 8เครื่องที่จัดหาในปลายปี 1990s การให้ลำดับสำคัญการดำรงสภาพความพร้อมจะเดินหน้าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030
Sabu เสริมว่าลำดับความสำคัญการจัดหาระยะใกล้สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียรวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft), อากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle)
และเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) เพื่อ "เสริมความสามารถและเตรียมความพร้อมของกองทัพอากาศมาเลเซีย" ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
จีนประชาสัมพันธ์เครื่องบินขับไล่ J-10C รุ่นส่งออก
Dubai Airshow 2019: China’s Chengdu promotes J-10C export variant
Photographs of the J-10C that circulated on Chinese aviation websites in October showed the aircraft still flying in factory primer, suggesting it is only in the initial stages of series-production.
A model of the FC-20E, displayed at the Dubai Airshow. Source: Reuben Johnson
https://www.janes.com/article/92790/dubai-airshow-2019-china-s-chengdu-promotes-j-10c-export-variant
Chengdu Aerospace Corporation(CAC) หนึ่งในสองศูนย์ออกแบบและผลิตเครื่องบินขับไล่หลักของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดเผยเครื่องบินขับไล่ J-10 รุ่นส่งออก
ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Dubai Airshow 2019 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา
โดยกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ FC-20E การออกแบบของเครื่องรุ่นส่งออกนี้เกือยจะมีรูปแบบคู่ขนานกับเครื่องบินขับไล่ J-10C ซึ่งเป็นรุ่นหลักรุ่นที่สามของเครื่องบินขับไล่ตระกูลนี้
ภาพถ่ายของเครื่องบินขับไล่ J-10C ที่เผยแพร่ใน Website การบินต่างๆของจีนในเดือนตุลาคม 2019 แสดงถึงเครื่องที่ยังทำการบินในสีรองพื้น ทำให้มีข้อสังเกตุว่าเครื่องนี้อยู่ในขั้นต้นของสายการผลิตจำนวนมากเท่านั้น
สิ่งที่ J-10C แตกต่างอย่างมากจากเครื่องบินขับไล่ J-10A รุ่นดั้งเดิมที่โดดเด่นที่สุดคือเครื่องยนต์ เครื่องบินขับไล่ J-10 ชุดแรกๆนั้นใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ AL-31FN Series 3 ที่ผลิตโดย Salyut รัสเซีย
ซึ่งเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FN Series 3 เป็นรุ่นที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล AL-31 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27 และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKK ที่จีนสั่งจัดหาจากรัสเซีย
การติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31F รัสเซียในเครื่องบินขับไล่ J-10A ต้องการทีมออกแบบของโรงงาน Salyut ในการหมุน Gerabox และชุดส่วนประกอบไปยังส่วนล่างของเครื่องยนต์
ส่วนช่องรับอากาศเข้า(Air Intake) ของเครื่องบินขับไล่ J-10A จีนยังมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนช่องรับอากาศเข้าของเครื่องบินขับไล่ Su-27 รัสเซีย
ตรงกันข้ามกับเครื่องบินขับไล่ J-10C มีรายงานว่าจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น WS-10A(Wo Shan) ของจีนเอง และมีช่องรับอากาศเข้ารูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบงุ้มขึ้น(diverterless)
ทีมออกแบบของ CAC จีนยังสาธิตการบินของเครื่องด้วยท่อไอเสียท้ายเครื่องยนต์แบบปรับทิศทางแรงขับได้(TVC: Thrust Vector Control) แบบสมมาตรตามแนวแกน และปรับแต่งท่อไอพ่นที่ควรจะช่วยลดรูปทรงภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) ท้ายเครื่องลง
เครื่องบินขับไล่ J-10C ในชุดก่อนสายการผลิต(Pre-Production) ในรูปแบบนี้ได้ทำแสดงการบินในงานแสดงการบินนานาชาติ Air Show China 2018 ที่ Zhuhai จีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/j-10b-ws-10.html)
เครื่องบินขับไล่ J-10C ยังได้รับการติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanning Array) radar, ชุดระบบ Avionic ให้ และระบบสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) ด้วยครับ
Photographs of the J-10C that circulated on Chinese aviation websites in October showed the aircraft still flying in factory primer, suggesting it is only in the initial stages of series-production.
A model of the FC-20E, displayed at the Dubai Airshow. Source: Reuben Johnson
https://www.janes.com/article/92790/dubai-airshow-2019-china-s-chengdu-promotes-j-10c-export-variant
Chengdu Aerospace Corporation(CAC) หนึ่งในสองศูนย์ออกแบบและผลิตเครื่องบินขับไล่หลักของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดเผยเครื่องบินขับไล่ J-10 รุ่นส่งออก
ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Dubai Airshow 2019 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา
โดยกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ FC-20E การออกแบบของเครื่องรุ่นส่งออกนี้เกือยจะมีรูปแบบคู่ขนานกับเครื่องบินขับไล่ J-10C ซึ่งเป็นรุ่นหลักรุ่นที่สามของเครื่องบินขับไล่ตระกูลนี้
ภาพถ่ายของเครื่องบินขับไล่ J-10C ที่เผยแพร่ใน Website การบินต่างๆของจีนในเดือนตุลาคม 2019 แสดงถึงเครื่องที่ยังทำการบินในสีรองพื้น ทำให้มีข้อสังเกตุว่าเครื่องนี้อยู่ในขั้นต้นของสายการผลิตจำนวนมากเท่านั้น
สิ่งที่ J-10C แตกต่างอย่างมากจากเครื่องบินขับไล่ J-10A รุ่นดั้งเดิมที่โดดเด่นที่สุดคือเครื่องยนต์ เครื่องบินขับไล่ J-10 ชุดแรกๆนั้นใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ AL-31FN Series 3 ที่ผลิตโดย Salyut รัสเซีย
ซึ่งเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31FN Series 3 เป็นรุ่นที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล AL-31 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27 และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKK ที่จีนสั่งจัดหาจากรัสเซีย
การติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31F รัสเซียในเครื่องบินขับไล่ J-10A ต้องการทีมออกแบบของโรงงาน Salyut ในการหมุน Gerabox และชุดส่วนประกอบไปยังส่วนล่างของเครื่องยนต์
ส่วนช่องรับอากาศเข้า(Air Intake) ของเครื่องบินขับไล่ J-10A จีนยังมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนช่องรับอากาศเข้าของเครื่องบินขับไล่ Su-27 รัสเซีย
ตรงกันข้ามกับเครื่องบินขับไล่ J-10C มีรายงานว่าจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น WS-10A(Wo Shan) ของจีนเอง และมีช่องรับอากาศเข้ารูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบงุ้มขึ้น(diverterless)
ทีมออกแบบของ CAC จีนยังสาธิตการบินของเครื่องด้วยท่อไอเสียท้ายเครื่องยนต์แบบปรับทิศทางแรงขับได้(TVC: Thrust Vector Control) แบบสมมาตรตามแนวแกน และปรับแต่งท่อไอพ่นที่ควรจะช่วยลดรูปทรงภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) ท้ายเครื่องลง
เครื่องบินขับไล่ J-10C ในชุดก่อนสายการผลิต(Pre-Production) ในรูปแบบนี้ได้ทำแสดงการบินในงานแสดงการบินนานาชาติ Air Show China 2018 ที่ Zhuhai จีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/j-10b-ws-10.html)
เครื่องบินขับไล่ J-10C ยังได้รับการติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanning Array) radar, ชุดระบบ Avionic ให้ และระบบสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) ด้วยครับ
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Defense & Security 2019: ไทยพัฒนาปืนเล็กยาว 5.56mm กับปืนยาวซุ่มยิง .338 และพม่าแสดงอาวุธที่ตนผลิตเอง
The Army Research and Development Office, Royal Thai Army the 5.56mm Rifle and .338 inch Sniper Rifle.(My Own Photos)
(unknow photos source)
Myanmar Defence Industry was showcased its products for first time at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photo)
MA-4 Mk II 5.56mm assault rifle with 40mm launcher attached, MA-2 Mk II 5.56mm light machine gun, MA-1 Mk II 5.56mm assault rifle and MA-3 Mk II 5.56mm sub machine gun(My Own Photos)
MA-S 7.62mm sniper gun, 0.5inch sniper gun and 0.5inch heavy machine gun(My Own Photos)
MA-10 40mm rocket launcher, optic sight for 40mm rocket launcher, sight for 60mm and sight for 81/120mm mortar.(My Own Photos)
MA-9 60mm commando mortar, MA-8 81mm extended range mortar and MA-7 60mm extended range mortar.(My Own Photos)
D&S 2019: Myanmar makes international defence show debut
https://www.janes.com/article/92632/d-s-2019-myanmar-makes-international-defence-show-debut
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม(Defence Science and Technology Department) กระทรวงกลาโหมไทย ได้จัดแสดงปืนยาวซุ่มยิง(Sniper Rifle) ขนาด .338inch และปืนเล็กยาว(Rifle) ขนาด 5.56mm
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
ปืนยาวซุ่มยิงขนาด .338 Lapua Magnum(8.58x70mm) และปืนเล็กยาวขนาด 5.56x45mm NATO เป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่าง สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก(Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(King Mongkut's University of Technology North Bangkok) โดยต้นแบบปืนยาวซุ่มยิงขนาด .338 และต้นแบบปืนเล็กยาว 5.56mm ได้มีการสร้างและทดสอบไปแล้วระยะหนึ่ง
ปืนยาวซุ่มยิงขนาด .338 สำหรับนักทำลายใต้น้ำจู่โจม(Combat Diver) เพื่อหวังที่จะได้รับการนำเข้าประจำการในกองพลรบพิเศษ(Royal Thai Army Special Force Division) รพศ. กองทัพบกไทย และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy SEAL)
เป็นปืนยาวระบบลูกเลื่อน(Bolt-Action) ระยะยิงหวังผล 1,200m อายุการใช้งานลำกล้องและเครื่องลั่นไก ๒๐,๐๐๐นัด ใช้ซองกระสุนความจุ ๕นัดสำหรับกระสุน .338 ในอนาคตอาจจะพัฒนาขยายกระสุนที่ใหญ่ขึ้น เช่น .50BMG(12.7x99mm) ต่อไป
ปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm เป็นปืนเล็กยาวจู่โจม(Assault Rifle) ระบบการทำงานด้วยแก๊ซลูกสูบช่วงชักยาว(Gas-operated Long-stroke piston) ระยะยิงหวังผลเป็นจุด 550m ระยะยิงหวังผลเป็นพื้นที่ 800m อายุการใช้งานลำกล้องและเครื่องลั่นไก ๒๐,๐๐๐นัด
ใช้ซองกระสุนความจุ ๓๐นัดสำหรับกระสุนหัวแข็ง M855 FMJ(Full Metal Jacket) อัตราการยิงต่อเนื่องอัตโนมัติ ๖๐๐-๘๐๐นัด มีรูปแบบการยิง ห้ามไก(Safe), ยิงทีละนัด(Semi-Auto), ยิงอัตโนมัติ(Full-Auto) น้ำหนักเบาสามารถถอดประกอบเพื่อบำรุงรักษาเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
งานแสดง Defense & Security ยังเป็นครั้งแรกที่อุตสาหกรรมกลาโหมพม่า(Myanmar Defence Industry) ได้นำผลิตภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์ที่พัฒนาสร้างได้ในประเทศมาจัดแสดงในงานอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ
พันเอก Nay Myo Ko นายทหารเสนาธิการผู้บัญชาการกองทัพบกพม่า(Myanmar Army, Tatmadaw) กล่าว่าความเคลื่อนไหวในการนำผลิตภัณฑ์กลาโหมของพม่ามาแสดงในระดับนานาชาตินี้ มีจุดประสงค์ที่จะเจาะตลาดต่างประเทศและเข้าสู่โครงการความร่วมมือกับหุ้นส่วนระดับนานาชาติ
"นี่เป็นครั้งแรกที่อุตสาหกรรมกลาโหมแห่งชาติเมียนมาได้สาธิตวิทยาการและผลิตภัณฑ์ของตนในงานแสดงยุทโธปกรณ์นานาชาติ เราต้องการจะเริ่มต้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ของเราและเรายังเห็นโอกาสที่จะร่วมมือกับชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ" พันเอก Ko กล่าว
อุตสาหกรรมกลาโหมพม่าสามารถผลิตกระสุนปืนขนาด 5.56mm, 7.62x51mm, 7.62x54mm, 9x19mm, .32, .38, 0.50calibre, 12.7x108mm, 14.5x114mm, 12 bore shotgun, 25mm, 35mm, 37mm ชนิดต่างๆได้เองในประเทศ
รวมถึงปืนเล็กยาวจู่โจม MA-1 Mk II 5.56mm, ปืนกลเบา MA-2 Mk II 5.56mm, ปืนกลมือ MA-3 Mk II 5.56mm และปืนเล็กยาวติดเครื่องยิงลูกระเบิด 40mm(ลอกแบบ M203 สหรัฐฯ) MA-4 Mk II 5.56mm(ปืนเล็กตระกูลนี้มีความผสมกันของ AKM/Type 56 รัสเซีย/จีน กับ Galil อิสราเอล)
ปืนเล็กยาวซุ่มยิงลูกเลื่อน MA-S 7.62mm, ปืนเล็กยาวซุ่มยิงหนัก .50cal, ปืนกลหนัก .50inch(MA-16 ลอกแบบจาก STK 50MG สิงคโปร์) ซึ่งปืนเล็กยาวตระกูล MA ที่จัดแสดงในงานมีรางติดอุปกรณ์เสริมคล้ายแบบ Picatinny rail ที่จับใต้ปลอกกรองมือ และพ่านท้ายแบบปรับระดับได้
เช่นเดียวกับ ลูกระเบิดขว้าง MG-1, ลูกระเบิดยิงจากปากกระบอกปืนเล็กยาว MG-2 40mm, ลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด 40x46mm MG-3 HE, MG-4 HEDP, MG-5 TP, ระเบิดควัน, กล้องเล็งเครื่องยิงลูกระเบิด 60mm/81mm/120mm, ลูกระเบิดยิง 60mm และ 81mm และหัวชนวน
เครื่องยิงจรวด MA-10 40mm(ลอกแบบ RPG-7 รัสเซีย/Type 69 จีน) และกล้องเล็ง, จรวดต่อต้านบุคคล MR-1 73mm HE, จรวดต่อสู้รถถัง MR-2 75mm HEAT ,เครื่องยิงลูกระเบิด MA-7 60mm, เครื่องยิงลูกระเบิด MA-8 81mm และเครื่องยิงลูกระเบิด Commando MA-9 60mm
Myanmar Defence Industry ไม่ได้นำผลงานผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของตนมาจัดแสดงอย่างเช่น ปืนพก MA-5 9mm(ลอกแบบปืนพก Glock ออสเตรีย), ปืนกลมือ MA-13 9mm(ลอกแบบปืนกลมือ Uzi อิสราเอล) หรือ ปืนกล MA-15 7.62x51mm(ลอกแบบปืนกล MG3 เยอรมนี)
โดยในงาน D&S 2019 มีบริษัทอาวุธปืนชั้นนำต่างๆมาจัดแสดงเป็นจำนวนมากทั้ง Glock ออสเตรีย, Israel Weapon Industries(IWI) อิสราเอล, Rheinmetall เยอรมนี, Colt สหรัฐฯ, Sig Sauer สาขาสหรัฐฯ, CZ สาธาณรัฐเช็ก, FN Herstal เบลเยียม, MKEK ตุรกี ฯลฯ ครับ
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Defense & Security 2019: NORINCO จีนแสดงยานเกราะล้อยาง VN1 หลายรุ่น และกองทัพบกไทยแสดง Stryker RTA ICV
NORINCO was displayed model of its wide range products include VN1 8x8 wheeled armored vehicle series, VN16 tracked amphibious assault vehicle and VN18 tracked infantry fighting vehicle, VT4 main battle tank, VT5 light tank, Red Arrow 10A and Red Arrow 12E anti-tank weapon systems and artillery weapon systems at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
NORINCO VN1 8x8 wheeled armored vehicle with UW4B remote-controlled weapon station (RCWS) for Royal Thai Army (RTA) has been tested in China before delivery by the end of 2019
Ministry of Defence of Thailand was displayed its Stryker RTA ICV 8x8 (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
China North Industries Corporation(Norinco) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์รายหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้นำแบบจำลองผลิตภัณฑ์หลากหลายแบบของตนมาจัดแสดง
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
Norinco ได้จัดแสดงแบบจำลองยานเกราะล้อยางตระกูล VN1 8x8 ประกอบด้วย ยานเกราะติดป้อมปืนใหญ่รถถังล้อยาง(Tank Destroyed) ST1 105mm, ยานเกราะกู้ซ่อมล้อยาง(Recovery Vehicle) VS27, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง SM4A 120mm,
ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 ติดป้อมปืน UW4B RCWS(Remote-Controlled Weapon Station) ติดปืนใหญ่กล 30mm กระสุน ๔๐๐นัด ปืนกลร่วมแกน 7.62mm กระสุน ๑,๒๐๐นัด เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm กระสุน ๔๐นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 73D ๑นัด,
ยานเกราะล้อยางลาดตระเวนและที่บังคับการ(Reconnaissance and Command Vehicle) VE36, ยานเกราะล้อยางพยาบาล VN1 Ambulance และยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกวางสะพาน HZ18 รวมถึงรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 และรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกสายพาน VN18 ที่เคยมาร่วมฝึกและเสนอกับนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย,
รถถังหลัก VT4, รถถังเบา VT5, รถหุ้มเกราะล้อยาง VP11 4x4 MRAP(Mine-Resistant Ambush Protected), ยานเกราะล้อยาง VN2C 6x6, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 10A และ Red Arrow 12E, ปืนใหญ่อัตตาจร เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง กระสุนปืนใหญ่นำวิถี 155mm และลูกระเบิดยิงนำวิถี 120mm
วีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ที่ Norinco นำมาเปิดในงานยังแสดงถึงการทดสอบยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ติดป้อมปืน Remote แบบ UW4B ในลายพรางคล้าย NATO Woodland ทดสอบยิงอาวุธทั้งปืนใหญ่กล 30mm ปืนกลร่วมแกน 7.62mm เครื่องยิงลูกระเบิด 40mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 73D
ตัวแทนของ Norinco จีนให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่ายานเกราะล้อยาง VN1 ที่เห็นในภาพเป็นรถของกองทับกไทย โดยมีการทดสอบและดำเนินการฝึกกำลังพลที่จีนไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 และการส่งมอบรถชุดแรกที่มีการลงนามสัญญาในปี 2017 จะมีขึ้นภายในก่อนสิ้นปี 2019 นี้
กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้จัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระยะที่๑ วงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ประกอบด้วยยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 APC(Armored Personal Carrier) ๓๔คัน, ยานเกราะกู้ซ่อม VS27 ๒คัน, รถซ่อมบำรุง ๒คัน
และสั่งจัดหาระยะที่๒ ที่น่าจะส่งมอบรถได้ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ประกอบด้วย VN1 APC ๓คัน, SM4A 120mm ๑๒คัน, VS27 ๙คัน, VE36 ๑๒คัน, รถเกราะพยาบาล VN1 ๓คัน และรถซ่อมบำรุง ๒คัน พร้อมกระสุนต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vn1.html) แต่ไม่มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง
คาดว่ายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 จะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เป็นหน่วยแรก กองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ ที่เหลือคือ กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะได้รับรถแบบคู่ขนานในระยะต่อไป
ด้านการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๒ จำนวน ๑๐คัน Norinco จีนกล่าวว่าจะมีการส่งมอบในสิ้นปี 2019 เช่นกัน เพิ่มเติมจากระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน และแผนจัดหาระยะที่๓ อีก ๑๔คัน รวมทั้งสิ้น ๕๒คัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html)
ในส่วนจัดแสดงของกระทรวงกลาโหมไทยในงาน Defense & Security 2019 กองทัพบกไทยยังได้นำยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 มาจัดแสดง ที่เป็นรถคันแรก(มีป้ายที่ระลึก)จาก ๔คันที่มีพิธีรับมอบ ณ กองบัญชาการกองทัพไทยเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
ยานเกราะล้อยาง Stryker ระยะที่๑ จำนวน ๗๐คัน ซึ่งเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ(US Amy) มาก่อนโดยได้รับการปรับปรุงแล้วในสภาพดีมาก จะเข้าประจำการใน กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/stryker-rta-icv.html)
ขณะที่ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider(BWS) 8x8 APC สำหรับกองทัพบกไทยที่พัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) นั้นยังคงเป็นเพียงต้นแบบที่ต้องมีการทดสอบประเมินค่าต่อไปอยู่
เช่นเดียวกับยานเกราะล้อยาง R600 Octopus 8x8 ที่บริษัท Panus Assembly ผู้พัฒนาระบุว่ายังต้องมีการทดสอบรถต้นแบบเพิ่มเติม ทั้งการเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำ และรอติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ ASELSAN NEFER 30mm ตุรกีก่อนต่อไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-black-widow.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-panus-r600-8x8.html)
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Defense & Security 2019: Marsun ไทย CSSC-CSOC จีน และ DSME เกาหลีใต้แสดงแบบเรือของตนแก่กองทัพเรือไทย
Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited was displayed model of its product include M36 Mk II patrol boat, M58 Patrol Gun Boat HTMS Laemsing class and M21 Patrol Boat at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
China State Shipbuilding Corporation (CSSC) was displayed model of 22,000 tons landing platform dock (LPD) at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton and 1,100 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2497510637160278/)
Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) displayed model its products include DW3000F frigate HTMS Bhumibol Adulyadej, DW2000 light frigate, DW4000 ASR (Auxiliary Rescue Ship), DW1400 and DW2000 Submarines
at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
D&S 2019: DSME prepares Thailand frigate proposal
https://www.janes.com/article/92665/d-s-2019-dsme-prepares-thailand-frigate-proposal
บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) อู่ต่อเรือเอกชนของไทยที่ได้รับสัญญาจัดหาจากกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ได้นำแบบจำลองผลิตภัณฑ์เรือของตนมาจัดแสดง
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
สำหรับโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 จำนวน ๒ลำ ประด้วยเรือ ต.997 และเรือ ต.998 ที่มีพิธีวางกระดูงูเรือเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html) เมื่อผู้เขียนสอบถามเกี่ยวกับระบบอาวุธบนเรือนั้น
ตัวแทนของ Marsun ไทยกล่าวว่าการจัดหาระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำเรือจากรัสเซีย เช่น ปืนกล AK-306 30mm เป็นไปตามความต้องการของกองทัพเรือไทย โดยการรับมอบปืนเรือและระบบควบคุมการยิงจะมีขึ้นราวต้นปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งจะบูรณาการระบบร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัสเซีย
ทางด้าน China State Shipbuilding Corporation(CSSC) หนึ่งในสองรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่นำแบบจำลองเรือของตนรวมถึงเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ขนาด 22,000tons
ที่ทางตัวแทนของ CSSC จีนระบุกับผู้เขียนว่าแบบจำลองนี้คือเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E รุ่นส่งออกที่มีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกที่ได้ลงนามสัญญาจัดหาเมื่อเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)
ตัวแทน CSSC จีนอธิบายว่าเรือ Type 071E LPD รุ่นส่งออกสำหรับกองทัพเรือไทยเป็นเรือรุ่น Batch 2 ที่แทบจะไม่แตกต่างจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) มีประจำการ แต่เรือรุ่นใหม่นี้ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
โดย Type 071E LPD สามารถรองรับเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) และเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP: Landing Craft Vehicle Personnel) ได้ถึง ๑๒ลำ เห็นได้จากแบบจำลองที่อู่ลอย(Well Deck) ท้ายเรือมีเรือ LCM อู่ภายในถึง ๔ลำ
Type 071E ยังเป็นเรือ LPD ขนาดใหญ่ดาดฟ้าลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.ขนาด 10tons เช่น Sikorsky SH-60B Seahawk ได้พร้อมกัน ๓เครื่อง โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.ได้ ๒เครื่อง และมีโรงเก็บยานพาหนะและกำลังพลขนาดใหญ่ในตัวเรือ
อย่างไรก็ตามเมื่อถามเรื่องระบบอาวุธประจำเรือ CSSC จีนให้ข้อมูลว่าสัญญาการจัดหาของกองทัพเรือไทยมีเฉพาะตัวเรือกับเครื่องยนต์ดีเซล MTU เยอรมนีเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบรายละเอียดว่าจะมีการจัดหาเรือระบายพล ยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) และอาวุธอย่างใดหรือไม่
ด้าน China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) หน่วยงานส่งออกของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรืออีกรายของจีน ที่นำแบบจำลองเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบขนาด 2,600tons และ 1,100tons มาจัดแสดง
ตัวแทนของ CSOC จีนได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่าแบบจำลองเรือดำน้ำ 2,600tons ที่เห็นคือเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยที่ล่าสุดมีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นเพิ่มเติม
บริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีได้นำแบบจำลองเรือหลายแบบของตนมาจัดแสดงในงาน เช่น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง DW3000F หรือเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ที่มีพิธีขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html)
ตัวแทนของ DSME เกาหลีใต้ได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ทางบริษัทเข้าใจว่ากองทัพเรือไทยจะมีการตั้งโครงการจัดหาเรือฟริเกตเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้ และทางตนยังรอที่จะได้รับสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองพร้อมสนับสนุนการถ่ายทอดวิทยาการต่อเรือในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)
DSME ยังได้นำแบบเรือใหม่ที่เคยเปิดตัวครั้งแรกในงาน MADEX 2019 ที่ Busan สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่าง 22-25 ตุลาคม 2019 เช่น เรือฟริเกตเบาพหุภารกิจ DW2000 ที่ออกแบบให้ปรับเปลี่ยนส่วนท้ายเรือตามความต้องการของลูกค้า, เรือกู้ภัยเรือดำน้ำ DW4000 ASR(Auxiliary Rescue Ship)
เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า DW14000 ที่ส่งออกให้กองทัพเรืออินโดนีเซียพร้อมการต่อเรือในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/nagapasa-3.html) และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า DSME 2000 แบบใหม่ที่มีสมรรถสูงครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/dsme-2000.html)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)