Kongsberg unveils for the first time a Submarine Launched NSM at Balt Military Expo 2014
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1847
งานแสดงอาวุธ Baltic ครั้งที่13 หรือ Balt Military Expo 2014 ที่เมือง Gdansk โปแลนด์
Kongberg นอร์เวย์ได้เปิดเผยแบบจำลองแนวคิดของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ NSM รุ่นยิงจากเรือดำน้ำเป็นครั้งแรกในงาน
ซึ่ง Kongberg ได้พัฒนาร่วมกับ Nammo ในการออกแบบ booster สำหรับขับดันตัวจรวดหลังจากชุดยิงผนึกน้ำที่ยิงจากท่อ Torpedo โผล่พ้นผิวน้ำ
Naval Strike Missile เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินพิสัยทำการยิงไกลถึง 185km และมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก
โดยมีทั้งรุ่นยิงจากเรือผิวน้ำ จากอากาศยาน และฐานยิงอัตตาจรบนฝั่ง โดยในรุ่นยิงจากอากาศยานมีการพัฒนาเป็น Joint Strike Missile (JSM)
ซึ่งเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยยิงไกลถึง 280km สำหรับ F-35 ที่สามารถติดตั้งในช่องเก็บอาวุธในลำตัวได้ครับ
วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557
รัสเซียบรรยายเสนอเรือดำน้ำ Project 636 Kilo และ Amur 1650 ให้กองทัพเรือไทย
การบรรยายคุณลักษณะของเรือดำน้ำดีเซล ชั้น AMUR 1650 และเรือดำน้ำ ชั้น KILO (Project 636)
Release Date : 10-06-2014 16:08:21
พล.ร.ต.พงศกร กุวานนท์ ผอ.สยป.ทร. ร่วมฟังการบรรยายคุณลักษณะของเรือดำน้ำดีเซล ชั้น AMUR 1650 และเรือดำน้ำ ชั้น KILO (Project 636)
จาก บริษัท Rosoboronexport จำกัด จาก สหพันธรัฐรัสเซีย
http://www.namo.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/3096
การบรรยายคุณสมบัติเรือดำน้ำของ Rosoboronexport นี้เป็นความคืบหน้าล่าสุดในเรื่องการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือครับ
แต่โดยส่วนตัวมองว่านี่เป็นเพียงการบรรยายเสนอข้อมูลแก่สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือตามปกติทั่วไปเท่านั้น
ไม่ได้มีความหมายพิเศษว่ากองทัพเรือสนใจจะจัดหาเรือดำน้ำรัสเซียในเร็วๆนี้แต่อย่างใด
สำหรับข้อมูลของเรือดำน้ำ Project 636 Improved Kilo และ Amur 1650 สามารถดูจากจาก Website ของสำนักออกแบบ Rubin ผู้พัฒนาเรือทั้งสองแบบ
Project 636
http://www.ckb-rubin.ru/en/projects/naval_engineering/conventional_submarines/project_636/
Amur 1650
http://www.ckb-rubin.ru/en/projects/naval_engineering/conventional_submarines/amur_1650/
ถ้าย้อนกลับไปในอดีตสักเกือบ 20ปีมาแล้ว รัสเซียมีความพยายามที่จะเสนอขายเรือดำน้ำชั้น Kilo ให้กองทัพเรือไทยอยู่บ้าง
เช่นในช่วงการจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๑ กองทัพเรือรัสเซียเคยส่งเรือดำน้ำชั้น Kilo มาจอดแสดงในไทยที่อู่ตะเภาปี พ.ศ.๒๕๔๐มาก่อน
(ข้อมูลนี้เคยลงในนิตยสารสมรภูมิในช่วงนั้น)
แต่แนวทางของกองทัพเรือก็จะเลือกเรือระบบตะวันตกตลอด เช่น A19 Gotland สวีเดน หรือ U206 เยอรมนี แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จในการจัดหา
ตรงนี้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากเพราะบุคลากรด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกศึกษาจากตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมนีเป็นหลัก
สำหรับเรือดำน้ำแบบ Kilo ประเทศใน ASEAN ที่สั่งจัดหาไปคือเวียดนามจำนวน 6ลำ เป็นรุ่น Project 636 KMV ซึ่งมีความทันสมัยสูงที่สุด
และมีข่าวว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียให้ความสนใจจะจัดหามาเสริมนอกจากเรือดำน้ำ 3ลำของ DSME เกาหลีใต้ ซึ่งตอนนี้ยังล่าช้าอยู่
(Improved Chang Bogo มีพื้นฐานจาก U209 เยอรมนี)
ส่วน Amur 1650 นั้นเป็นแบบเรือที่ออกแบบมาสำหรับส่งออกซึ่งยังไม่เคยมีการต่อตัวเรือจริงๆออกมาก่อน แต่รัสเซียก็มีการเสนอขายให้ต่างประเทศเสมอ
ก่อนหน้านี้เองก็มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำแบบ Kilo ของกองทัพเรืออินเดียคือชั้น Sindhughosh หลายครั้ง
โดยเฉพาะ S63 INS Sindhurakshak ที่ระเบิดจมที่ท่าเรือ Mumbai ปี 2013 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและเรือเพิ่งกู้ขึ้นมาได้
แต่เรือชั้น Sindhughosh ของกองทัพเรืออินเดียนั้นเป็นเรือรุ่นเก่าคือ Project 877EKM ที่เข้าประจำการในช่วงปี 1986-2000 จำนวน 10ลำ
ซึ่งเรือรุ่นใหม่ของรัสเซียทั้ง Project 636 Improved Kilo และ Amur 1650 น่าจะมีความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าเรือรุ่นเก่าอยู่
และเรือดำน้ำแบบ Kilo ก็ได้รับการจัดหาอยู่เรื่อยทั้งจากกองทัพเรือรัสเซียเองคือ Project 636.3 Varshavyanka จำนวน 6ลำ
กับกองทัพเรือแอลจีเรีย Project 636M 2ลำรับมอบในปี 2010 และลงนามจัดหาเพิ่ม 2ลำเร็วๆนี้โดยจะได้รับมอบในปี 2018
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลอีกมาก
ในขณะที่อาคารกองบัญชาการกองเรือดำน้ำที่สัตหีบใกล้จะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเต็มรูปแบบแล้ว
แต่งานหลักของกองเรือดำน้ำในปัจจุบันยังคงเน้นไปที่การเป็นแหล่งวิทยาการในการฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือเป็นหลัก ไม่ต่างจากตอนที่ยังเป็นสำนักงานกองเรือดำน้ำนัก
โดยการจัดหางบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำใหม่จากอู่ต่อเรือนั้นไม่ว่าจะเป็นแบบใดย่อมจะใช้เงินเป็นจำนวนมากสำหรับเรือดำน้ำอย่างน้อย ๒ลำขึ้นไป
ถ้าอ้างอิงตามเอกสารแผนบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔
งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดหาเรือดำน้ำใหม่สองลำขั้นต่ำอยู่ที่ 40,000ล้านบาท หรือลำละ 20,000ล้านบาท (ประมาณลำละ $600 million)
แต่ในความเป็นจริงอาจจะต้องการเรือดำน้ำใหม่สองลำที่ใช้งบประมาณไม่เกิน 20,000-30,000ล้านบาท (ประมาณลำละ $300-450 million)
ซึ่งในสถานการณ์ของไทยในปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการจัดหางบประมาณสำหรับโครงการเรือดำน้ำในช่วงนี้
ที่มา Page กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619
อีกประการคือระบบการฝึกของกองเรือดำน้ำในปัจจุบันนั้นเป็นระบบจากเยอรมนีเป็นหลักด้วย รวมถึงการส่งกำลังพลไปฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำกับเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน
การจัดหาเรือจากรัสเซียหรือจีนซึ่งเคยมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้การฝึกหลายๆอย่างก็ต้องเริ่มกันใหม่ ซึ่งนั่นก็ไม่ทราบว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียสำหรับกองทัพเรือ
เพราะกองทัพเรือขาดช่วงระยะการมีเรือดำน้ำมานานกว่า 60ปีแล้ว จะเริ่มใหม่กับระบบเรือดำน้ำประเทศใดก็ไม่คงต่างกันนัก
แต่ถ้าเลือกได้นักดำเรือดำน้ำในอนาคตย่อมต้องการเรือดำน้ำที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดและประสิทธิภาพสมเหตุสมผลที่สุด
เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุร้ายแรงต่อกำลังพลเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือไทยเช่นเดียวกับกองทัพเรือต่างประเทศที่ใช้เรือด้อยคุณภาพแน่ๆ
และนั่นคือคือเหตุผลที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยย่อมจำเป็นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่างที่สุด
ดังนั้นในตอนนี้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจึงยังตั้งอยู่บนความไม่ชัดเจนแน่นอนเช่นเดิมครับ
Release Date : 10-06-2014 16:08:21
พล.ร.ต.พงศกร กุวานนท์ ผอ.สยป.ทร. ร่วมฟังการบรรยายคุณลักษณะของเรือดำน้ำดีเซล ชั้น AMUR 1650 และเรือดำน้ำ ชั้น KILO (Project 636)
จาก บริษัท Rosoboronexport จำกัด จาก สหพันธรัฐรัสเซีย
http://www.namo.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/3096
การบรรยายคุณสมบัติเรือดำน้ำของ Rosoboronexport นี้เป็นความคืบหน้าล่าสุดในเรื่องการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือครับ
แต่โดยส่วนตัวมองว่านี่เป็นเพียงการบรรยายเสนอข้อมูลแก่สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือตามปกติทั่วไปเท่านั้น
ไม่ได้มีความหมายพิเศษว่ากองทัพเรือสนใจจะจัดหาเรือดำน้ำรัสเซียในเร็วๆนี้แต่อย่างใด
สำหรับข้อมูลของเรือดำน้ำ Project 636 Improved Kilo และ Amur 1650 สามารถดูจากจาก Website ของสำนักออกแบบ Rubin ผู้พัฒนาเรือทั้งสองแบบ
Project 636
http://www.ckb-rubin.ru/en/projects/naval_engineering/conventional_submarines/project_636/
Amur 1650
http://www.ckb-rubin.ru/en/projects/naval_engineering/conventional_submarines/amur_1650/
ถ้าย้อนกลับไปในอดีตสักเกือบ 20ปีมาแล้ว รัสเซียมีความพยายามที่จะเสนอขายเรือดำน้ำชั้น Kilo ให้กองทัพเรือไทยอยู่บ้าง
เช่นในช่วงการจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๑ กองทัพเรือรัสเซียเคยส่งเรือดำน้ำชั้น Kilo มาจอดแสดงในไทยที่อู่ตะเภาปี พ.ศ.๒๕๔๐มาก่อน
(ข้อมูลนี้เคยลงในนิตยสารสมรภูมิในช่วงนั้น)
แต่แนวทางของกองทัพเรือก็จะเลือกเรือระบบตะวันตกตลอด เช่น A19 Gotland สวีเดน หรือ U206 เยอรมนี แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จในการจัดหา
ตรงนี้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากเพราะบุคลากรด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกศึกษาจากตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมนีเป็นหลัก
สำหรับเรือดำน้ำแบบ Kilo ประเทศใน ASEAN ที่สั่งจัดหาไปคือเวียดนามจำนวน 6ลำ เป็นรุ่น Project 636 KMV ซึ่งมีความทันสมัยสูงที่สุด
และมีข่าวว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียให้ความสนใจจะจัดหามาเสริมนอกจากเรือดำน้ำ 3ลำของ DSME เกาหลีใต้ ซึ่งตอนนี้ยังล่าช้าอยู่
(Improved Chang Bogo มีพื้นฐานจาก U209 เยอรมนี)
ส่วน Amur 1650 นั้นเป็นแบบเรือที่ออกแบบมาสำหรับส่งออกซึ่งยังไม่เคยมีการต่อตัวเรือจริงๆออกมาก่อน แต่รัสเซียก็มีการเสนอขายให้ต่างประเทศเสมอ
ก่อนหน้านี้เองก็มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำแบบ Kilo ของกองทัพเรืออินเดียคือชั้น Sindhughosh หลายครั้ง
โดยเฉพาะ S63 INS Sindhurakshak ที่ระเบิดจมที่ท่าเรือ Mumbai ปี 2013 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและเรือเพิ่งกู้ขึ้นมาได้
แต่เรือชั้น Sindhughosh ของกองทัพเรืออินเดียนั้นเป็นเรือรุ่นเก่าคือ Project 877EKM ที่เข้าประจำการในช่วงปี 1986-2000 จำนวน 10ลำ
ซึ่งเรือรุ่นใหม่ของรัสเซียทั้ง Project 636 Improved Kilo และ Amur 1650 น่าจะมีความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าเรือรุ่นเก่าอยู่
และเรือดำน้ำแบบ Kilo ก็ได้รับการจัดหาอยู่เรื่อยทั้งจากกองทัพเรือรัสเซียเองคือ Project 636.3 Varshavyanka จำนวน 6ลำ
กับกองทัพเรือแอลจีเรีย Project 636M 2ลำรับมอบในปี 2010 และลงนามจัดหาเพิ่ม 2ลำเร็วๆนี้โดยจะได้รับมอบในปี 2018
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลอีกมาก
ในขณะที่อาคารกองบัญชาการกองเรือดำน้ำที่สัตหีบใกล้จะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเต็มรูปแบบแล้ว
แต่งานหลักของกองเรือดำน้ำในปัจจุบันยังคงเน้นไปที่การเป็นแหล่งวิทยาการในการฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือเป็นหลัก ไม่ต่างจากตอนที่ยังเป็นสำนักงานกองเรือดำน้ำนัก
โดยการจัดหางบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำใหม่จากอู่ต่อเรือนั้นไม่ว่าจะเป็นแบบใดย่อมจะใช้เงินเป็นจำนวนมากสำหรับเรือดำน้ำอย่างน้อย ๒ลำขึ้นไป
ถ้าอ้างอิงตามเอกสารแผนบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๔
งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดหาเรือดำน้ำใหม่สองลำขั้นต่ำอยู่ที่ 40,000ล้านบาท หรือลำละ 20,000ล้านบาท (ประมาณลำละ $600 million)
แต่ในความเป็นจริงอาจจะต้องการเรือดำน้ำใหม่สองลำที่ใช้งบประมาณไม่เกิน 20,000-30,000ล้านบาท (ประมาณลำละ $300-450 million)
ซึ่งในสถานการณ์ของไทยในปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการจัดหางบประมาณสำหรับโครงการเรือดำน้ำในช่วงนี้
ที่มา Page กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619
อีกประการคือระบบการฝึกของกองเรือดำน้ำในปัจจุบันนั้นเป็นระบบจากเยอรมนีเป็นหลักด้วย รวมถึงการส่งกำลังพลไปฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำกับเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน
การจัดหาเรือจากรัสเซียหรือจีนซึ่งเคยมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้การฝึกหลายๆอย่างก็ต้องเริ่มกันใหม่ ซึ่งนั่นก็ไม่ทราบว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียสำหรับกองทัพเรือ
เพราะกองทัพเรือขาดช่วงระยะการมีเรือดำน้ำมานานกว่า 60ปีแล้ว จะเริ่มใหม่กับระบบเรือดำน้ำประเทศใดก็ไม่คงต่างกันนัก
แต่ถ้าเลือกได้นักดำเรือดำน้ำในอนาคตย่อมต้องการเรือดำน้ำที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดและประสิทธิภาพสมเหตุสมผลที่สุด
เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุร้ายแรงต่อกำลังพลเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือไทยเช่นเดียวกับกองทัพเรือต่างประเทศที่ใช้เรือด้อยคุณภาพแน่ๆ
และนั่นคือคือเหตุผลที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยย่อมจำเป็นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่างที่สุด
ดังนั้นในตอนนี้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจึงยังตั้งอยู่บนความไม่ชัดเจนแน่นอนเช่นเดิมครับ
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Su-24 มือสองจากรัสเซียและเบลารุสถูกจัดส่งให้อิรักแล้ว
http://www.bbc.com/news/world-middle-east-28033684
รายงานข่าวจาก BBC เรื่อสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัฐบาลอิรักกับกลุ่มติดอาวุธ ISIS หรือ ISIL แล้ว
นายกรัฐมนตรี Nouri Maliki ยังได้กล่าวการยินดีให้รัฐบาลซีเรียของประธานาธิบดี Bashar al Assad ส่งเครื่องบินรบข้ามพรมแดนโจมตีกลุ่มติดอาวุธด้วย
และในกรณีที่ F-16C/D Block 52 ที่อิรักสั่งจัดหาอาจเกิดความล่าช้าจากทางสหรัฐฯด้วยนั้น อิรักก็ได้หาทางอออกในการจัดหาอากาศยานรบมือสองอย่างเร่งด่วน
เช่นการจัดหาเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-24 มือสองใช้แล้วจำนวนหนึ่งจากรัสเซียและเบลารุสซึ่งจะพร้อมปฏิบัติการภายในไม่กี่วันนี้
ทั้งนี้กองทัพอากาศอิรักยุคเก่าเคยมี Su-24 ประจำการมาก่อนจะสูญเสียในสงครามและนักบินนำเครื่องลี้ภัยไปอิหร่าน การฝึกนักบินที่ยังมีอยู่น่าจะยังทำได้
ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่าอิรักสนใจจะจัดหา ฮ.โจมตี Mi-35 มือสอง(Mi-24 รุ่นส่งออก)จากกองทัพอากาศเชคราว 7เครื่อง ซึ่งเชคมีแผนจะปลดประจำการ ฮ.โจมตี Hind ทั้งหมด 12เครื่องในปี 2018
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอิรักจะหันไปพึ่งพาซีเรียและอิหร่านมากกว่าทางตะวันตกมากขึ้น ขณะที่ประธานธิบดี Putin ของรัสเซียก็สนับสนุนด้านอาวุธกับรัฐบาลอิรักมากด้วยครับ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
F-35 สหรัฐฯไฟไหม้นักบินปลอดภัย
http://news.usni.org/2014/06/23/breaking-fire-breaks-f-35-eglin-air-force-base-pilot-safe
เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นกับ F-35 ขณะอยู่บนทางวิ่งของฐานทัพอากาศ Eglin กองทัพอากาศสหรัฐฯ
รายงานมีเพียงว่าเครื่องที่เกิดไฟไหม้ดังกล่าวได้รับความเสียหาค่อนข้างมากและอาจจะต้องจำหน่าย
แต่ทั้งนี้นักบินปลอดภัย ซึ่งจะมีการสอบสวนหาสาเหตุต่อไปครับ
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เยอรมนีระงับการจัดหาปืน G36 เนื่องจากปัญหาเรื่องความแม่นยำ
http://www.defensenews.com/article/20140622/DEFREG01/306220014/Report-Germany-Halts-Army-Rifle-Orders-Over-Accuracy-Fears
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้สั่งระงับการจัดหาปืนเล็กยาว HK G36 ชุดใหม่สำหรับกองทัพเนื่องจากมีรายงานข้อร้องเรียนว่าความแม่นยำในการยิงที่ไม่ได้มาตรฐาน
โดยที่ผ่านมากำลังพลกองทัพเยอรมันที่ประจำการในอัฟกานิสถานก็มีรายงานแสดงความกังวลว่าปืนขาดความแม่นยำเมื่อลำกล้องร้อนขณะทำการยิงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ทหารเยอรมันเริ่มวิจารณ์และมีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบรัฐในเรื่องนี้ต่อสื่อและศาลอย่างต่อเนื่องมาสักระยะแล้ว โดยมีการลงข้อความในหนังสือพิมพ์ซึ่งถูกยื่นต่อศาลว่า
"มันเป็นสิ่งสำคัญในการที่กระทรวงกลาโหมจะหลีกเลี่ยงลงทุนถึง 34 Million Euros ($46 Million) กับปืนที่ไม่อาจตอบสนองความต้องการของทหารได้"
การสอบสวนครั้งใหม่ด้านความแม่นยำของปืนจะดำเนินการโดยตำรวจรัฐบาลกลางสหพันธรัฐเยอรมนี ร่วมกับผู้ผลิตกระสุนและผู้เชี่ยวชาญด้านวิถีกระสุนที่สถาบันวิทยาศาสตร์ครับ
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
แอลจีเรียจัดหารถหุ้มเกราะ Fuchs 2 จากเยอรมนี
http://www.handelsblatt.com/unternehmen/industrie/milliarden-geschaeft-deutsche-panzerfabrik-in-algerien-vor-dem-start/10061146.html
แอลจีเรียจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Fuchs 2 จากเยอรมนีจำนวน 980คัน วงเงิน 2.7billion Euros
ซึงจะมีการส่งมอบอย่างต่อเนื่องปีละ 120คัน ซึ่งอาจรวมถึงการผลิตรถในประเทศแอลจีเรียด้วย
ก่อนหน้านี้แอลจีเรียได้จัดหารถหุ้มเกราะ Fuchs 2 งวดแรกในปี 2011 จำนวน 54คัน วงเงิน $248 million มาแล้วครับ
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557
SAAB เสนออินเดียในความร่วมมือการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Tejas
http://www.business-standard.com/article/economy-policy/rafale-contract-elusive-eurofighter-and-saab-remain-hopeful-114061700108_1.html
SAAB สวีเดนได้เสนอองค์การวิจัยและพัฒนาด้านความั่นคง DRDO(Defence Research and Developments Organisation)
ในความร่วมมือการพัฒนาและผลิตเครื่องบินขับไล่ Tejas ซึ่งอินเดียพัฒนาเองในประเทศ โดยขอเป็นเจ้าของร่วมด้วยการถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละ51
แม้ว่า SAAB จะพ่ายแพ้ในการเสนอขาย Gripen IN สำหรับโครงการ MMRCA ซึ่งกองทัพอากาศอินเดียเลือกจัดหา Rafale จากฝรั่งเศสจำนวน 126เครื่อง
แต่โครงการ LCA ( Light Combat Aircraft) ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องบินขับไล่เบา Tejas เองของอินเดีย ก็ประสบปัญหาความล่าช้าในการพัฒนานานพอสมควร
ซึ่งปัจจุบัน Tejas ก็เพิ่งถูกผลิตในสายการผลิตขั้นต่ำเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดียและกองทัพเรืออินเดียในระดับความพร้อมชั้นต้นในจำนวนไม่มากนัก
SAAB เสนอชุดปรับปรุง Tejas Mk I ซึ่งกำลังอยู่ในสายการผลิตขณะนี้โดยเป็นในรูปแบบเดียวกับ Gripen C/D
และเสนอการร่วมพัฒนา Tejas Mk II ซึ่งคาดว่าจะใช้เครื่องยนต์ General Electric F414 และขยายขนาดเครื่องให้ใหญ่ขึ้นลักษณะเดียวกับ Gripen E/F
แต่อย่างไรก็ตามทางอินเดียยังไม่มีการยืนยันหรือปฏิเสธความร่วมมือในการพัฒนา Tejas ร่วมกับ SAAB ในขณะนี้
นอกจากนี้ทาง Eurofighter GmbH ยังได้รับเลือกให้ Typhoon เป็นตัวเลือกอันดับรองจากรัฐบาลอินเดียในกรณีที่ไม่สามารถจัดหา Rafale ได้ด้วยครับ
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กองทัพอากาศสหรัฐฯติดตั้งระบบสื่อสารให้ B-52 ใหม่
http://www.wired.com/2014/05/boeing-b52-bomber-upgrade/
กองทัพอากาศสหรัฐฯยังมีแผนที่จะใช้งานเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-52 ต่อไปอีกอย่างน้อย 35ปี
จากโครงการปรับปรุง Combat Network Communications Technology (CONECT) ของ Boeing สำหรับ B-52 76เครื่อง
ซึ่ง B-52 จะได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบสื่อสารแบบใหม่แทนระบบที่ใช้ตั้งแต่ยุคปี 1960s เป็นต้นมา
โดยระบบสื่อสารรุ่นเก่านั้นมีการปรับปรุงเล็กน้อยมาแล้วในช่วงปี 1980s
ระบบสื่อสารใหม่ของ B-52 จะเป็นแบบ Digital พร้อม QWERTY keyboards หรือ keypads กับ trackball
โครงการปรับปรุง B-52 ต่างๆโดย Boeing เริ่มมาตั้งแต่ปี 2005 และมีการทดสอบเครื่องที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ครั้งแรกในปี 2009
B-52 เครื่องแรกที่ได้รับการติดตั้งระบบ CONECT จะเข้าประจำการที่ฐานทัพอากาศ Tinker ที่ Oklahoma City
กองทัพอากาศสหรัฐฯได้ใช้งบประมาณสำหรับโครงการปรับปรุง B-52 ในปี 2014 ที่ $14 million
และรวม $40.6 million ในช่วงปีงบประมาณ 2014-2019 ครับ
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พม่าจัดหา UGV ขนาดเล็กแบบ Nerva จากฝรั่งเศส
Eurosatory 2014: France's Nexter exports Nerva UGV to Myanmar
Guillaume Belan, Paris - IHS Jane's Defence Weekly
14 June 2014
Nexter Robotics has delivered two Nerva UGVs to Myanmar. Source: IHS/Patrick Allen
Nexter Robotics has delivered two Nerva mini unmanned ground vehicles (UGVs) to Myanmar, the company confirmed to IHS Jane's at Eurosatory 2014 in Paris.
The two 4 kg Nerva 4x4 mini-robots will be tested by Myanmar and could meet a total requirement estimated at 50 robots. Myanmar ordered the systems in November 2013.
Nerva has been designed to meet military specifications, and is designed for all-weather, all-terrain usage, with a robust (throwable) design and is backpack transportable.
Designed for military users, Nerva is being sold under civilian contract for Myanmar, in order to avoid any blockade from French government export commission. Accordingly, the system's electro-optic infrared (EOIR) sensor has been downgraded in order not to fall foul of export restrictions of military technology to Myanmar. They have, however, been fitted with additional battery packs to provide an improved 24 hours of operational capability.
Speaking to IHS Jane's , company director Joël Morillon said that Nexter Robotics has also entered into advanced negotiations with Vietnam and the Philippines to provide 10 robots to each country.
First showcased in Paris at Eurosatory 2012, this is the first contract for the Nerva UGV. The system has also been tested by the French Army's 13th Parachute Dragoon Regiment special forces unit. Their "impressions were enthusiastic" Morillon said. France's Gendarmerie special forces unit, the GIGN, is also understood to soon begin trials of a Nerva fitted with non-lethal weapons systems.
The Nerva can be fitted with a wide variety of sensors, including day/EOIR cameras, and explosive ordnance disposal systems. Nexter Robotics has also created a smaller 2x2 version, called Nerva S, and is currently working on a larger 6x6 UGV.
http://www.janes.com/article/39262/eurosatory-2014-france-s-nexter-exports-nerva-ugv-to-myanmar
Jane's ได้รายงานข่าวจากงาน Eurosatory 2014 ว่า
พม่าได้จัดหา UGV แบบ Nerva ของ Nexter Robotics ฝรั่งเศส ซึ่งพม่าได้รับมอบแล้ว 2ระบบ จากแผนที่จะจัดหาถึง 50ระบบ
โดย Nerva เป็น UGV ขนาดเล็กสำหรับสอดแนม ขับเคลื่อนแบบ 4x4 น้ำหนักเพียง 4kg
เข้าใจว่าน่าจะถูกนำมาใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพพม่า เช่นการต่อต้านการก่อการร้าย
หรืออาจจะนำมาใช้ในการลาดตระเวน สอดแนม ต่อต้านกองกำลังชนกลุ่มน้อยในป่า
แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าในขณะที่สหภาพยุโรปยังไม่อนุญาตการขายอาวุธให้พม่าอยู่ แต่พม่ากลับสามารถจัดหา Nerva UGV ผ่านทางตัวแทนบริษัทเอกชนได้
ซึ่งก็เป็นที่เกรงกันว่าอาจจะเหมือนระบบอาวุธจากตะวันตกบางรายการที่พม่าสามารถจัดหาไปใช้งานได้ อย่างกรณีปืนไร้แรงสะท้อน Carl Gustav สวีเดน
และพม่าอาจจะเพิ่มจำนวนและระบบ Technology ที่สูงขึ้นจากแหล่งตะวันตกที่มีช่องทางจะจัดหาได้ด้วยครับ
Guillaume Belan, Paris - IHS Jane's Defence Weekly
14 June 2014
Nexter Robotics has delivered two Nerva UGVs to Myanmar. Source: IHS/Patrick Allen
Nexter Robotics has delivered two Nerva mini unmanned ground vehicles (UGVs) to Myanmar, the company confirmed to IHS Jane's at Eurosatory 2014 in Paris.
The two 4 kg Nerva 4x4 mini-robots will be tested by Myanmar and could meet a total requirement estimated at 50 robots. Myanmar ordered the systems in November 2013.
Nerva has been designed to meet military specifications, and is designed for all-weather, all-terrain usage, with a robust (throwable) design and is backpack transportable.
Designed for military users, Nerva is being sold under civilian contract for Myanmar, in order to avoid any blockade from French government export commission. Accordingly, the system's electro-optic infrared (EOIR) sensor has been downgraded in order not to fall foul of export restrictions of military technology to Myanmar. They have, however, been fitted with additional battery packs to provide an improved 24 hours of operational capability.
Speaking to IHS Jane's , company director Joël Morillon said that Nexter Robotics has also entered into advanced negotiations with Vietnam and the Philippines to provide 10 robots to each country.
First showcased in Paris at Eurosatory 2012, this is the first contract for the Nerva UGV. The system has also been tested by the French Army's 13th Parachute Dragoon Regiment special forces unit. Their "impressions were enthusiastic" Morillon said. France's Gendarmerie special forces unit, the GIGN, is also understood to soon begin trials of a Nerva fitted with non-lethal weapons systems.
The Nerva can be fitted with a wide variety of sensors, including day/EOIR cameras, and explosive ordnance disposal systems. Nexter Robotics has also created a smaller 2x2 version, called Nerva S, and is currently working on a larger 6x6 UGV.
http://www.janes.com/article/39262/eurosatory-2014-france-s-nexter-exports-nerva-ugv-to-myanmar
Jane's ได้รายงานข่าวจากงาน Eurosatory 2014 ว่า
พม่าได้จัดหา UGV แบบ Nerva ของ Nexter Robotics ฝรั่งเศส ซึ่งพม่าได้รับมอบแล้ว 2ระบบ จากแผนที่จะจัดหาถึง 50ระบบ
โดย Nerva เป็น UGV ขนาดเล็กสำหรับสอดแนม ขับเคลื่อนแบบ 4x4 น้ำหนักเพียง 4kg
เข้าใจว่าน่าจะถูกนำมาใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพพม่า เช่นการต่อต้านการก่อการร้าย
หรืออาจจะนำมาใช้ในการลาดตระเวน สอดแนม ต่อต้านกองกำลังชนกลุ่มน้อยในป่า
แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าในขณะที่สหภาพยุโรปยังไม่อนุญาตการขายอาวุธให้พม่าอยู่ แต่พม่ากลับสามารถจัดหา Nerva UGV ผ่านทางตัวแทนบริษัทเอกชนได้
ซึ่งก็เป็นที่เกรงกันว่าอาจจะเหมือนระบบอาวุธจากตะวันตกบางรายการที่พม่าสามารถจัดหาไปใช้งานได้ อย่างกรณีปืนไร้แรงสะท้อน Carl Gustav สวีเดน
และพม่าอาจจะเพิ่มจำนวนและระบบ Technology ที่สูงขึ้นจากแหล่งตะวันตกที่มีช่องทางจะจัดหาได้ด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กองทัพเกาหลีใต้จะนำปืนเล็กยาว K2A ประจำการแทน M16A1 ทั้งหมด
http://m.asiae.co.kr/view.htm?no=2014061209152303356
กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีมีแผนที่จะนำปืนเล็กยาว K2A ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงของปืนเล็กยาว K2 เข้าประจำการทดแทน M16A1
ความแตกต่างคือปืนเล็กยาว K2A จะมีราง Picatinny และพานท้ายแบบปรับความยาวได้
ซึ่งรูปแบบของน่าจะคล้ายกับปืนเล็กสั้น K2C ซึ่งมีความยาวลำกล้องสั้นกว่า K2 รุ่นปืนเล็กยาว และใช้พานท้ายแบบปืนเล็กสั้น M4
โดยปืนเล็กยาว K2A จำนวนหนึ่งจะเข้าประจำการภายในปี 2014 นี้ และจะเริ่มเปิดสายการผลิตเต็มอัตราในปี 2015
ปัจจุบันกองทัพเกาหลีใต้ทั้งสามเหล่าทัพยังมีบางหน่วยที่ยังคงใช้ปืน M16A1 รุ่นเก่าอยู่
หลังการรับมอบ K2A ครบ M16A1 จะถูกจัดเป็นปืนสำรองสงครามสำหรับหน่วยกำลังสำรองในปี 2017
เช่นเดียวกับที่ปืนเล็กสั้น M1 Carbine จะถูกนำออกจากคลังอาวุธของกองทัพเกาหลีใต้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ศักยภาพในการต่อสู้รถถังหลักของยานเกราะเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทย-๒
กลุ่มรถถังที่ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm นั้นเป็นกำลังหลักของเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยมานานหลายสิบปีนับตั้งแต่การจัดหา
รถถังหลัก M48A5 ในปี ๒๕๒๒
รถถังเบาแบบ ๓๒ Stingray ในปี ๒๕๓๒
รถถังหลัก M60A1 Rise/Passive ในปี ๒๕๓๔
และ M60A3 TTS ในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐
นอกจาก ถ.เบา ๓๒ Stingray แล้วรถถังหลักในกลุ่มนี้ล้วนเป็นรถมือสองที่เคยประจำการในกองทัพสหรัฐฯมาก่อนทั้งสิ้น
โดยรถถังกลุ่มนี้คาดว่าจะมีอายุการใช้งานนับจากที่ปีเข้าประจำการไปไม่ต่ำกว่า 40-50ปี ถ้าเทียบกับ M41A3
อย่าง M48A5 และ M60A1 ก็มีการปรับปรุงระบบควบคุมการยิงเป็น FCS-10 และ FCS-10MS ของอิสราเอลไปหลายสิบปีแล้ว และระบบควบคุมการยิง Marconi DFCS ของ Stingray ก็ยังมีประสิทธิภาพอยู่
แต่จำเป็นต้องปรับปรุงบางส่วนที่เริ่มเก่าและเสื่อมสภาพ ซึ่งกองทัพบกก็มีโครงการซ่อมปรับปรุงหรือจัดหาระบบควบคุมการยิงใหม่สำหรับรถถังสามแบบนี้อยู่
ส่วนระบบควบคุมการยิง เครื่องหาระยะด้วย Laser แบบ AN/VVG-2 กล้องเล็งพลยิงแบบ AN/VSG-2 ของ M60A3 ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่
ในส่วนของอาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังของรถถังกลุ่มนี้นั้น
กระสุนปืนใหญ่แรงถอยต่ำ L7A3 ที่ติดตั้งกับ Stingray สามารถใช้ร่วมกันได้กับกระสุนปืนใหญ่รถถัง M68 ที่ติดตั้งกับ M48A5 และ M60A1/A3
โดยตัวอย่างกลุ่มกระสุนที่ใช้ต่อสู้กับรถถังหลักด้วยกันที่อ้างอิงตามคู่มือของกองทัพบกและจากที่เคยเห็นว่ามีใช้งานจริงก็เช่น
กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ที่ใช้กับปืน M68 นั้นตัวที่น่ามีประสิทธิภาพสูงสุดที่กองทัพบกไทยมีคือ
กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองทรงตัวด้วยครีบหาง APFSDS แบบ M426 ของ IMI อิสราเอล
ซึ่งเจาะเกราะเหล็กกล้าRHA(Rolled Homogeneous Armour) ได้หนา 450mm ที่ระยะยิง 2,000m
ส่วนกระสุนรุ่นเก่าดั้งเดิมของสหรัฐฯที่ใช้กับ ปถ.M68 ก็มีเช่น M735A1 APFSDS เจาะเกราะได้หนา 300mm ที่ระยะ 2,000m
ในคู่มือของกองทัพบกนั้นยังมีข้อมูลของกระสุน M833 APFSDS ของสหรัฐฯซึ่งใช้แกนลูกดอกยูเรเนียมไร้รังสี(Depleted Uranium) เจาะเกราะได้หนา 420mm ที่ระยะ 2,000m
ซึ่งจะใช้ในภาวะสงครามเท่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่ากองทัพบกไทยมีใช้งานจริงๆหรือไม่
ส่วนกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถังก็มีเช่น M456A2 HEAT-T-MP เจาะเกราะได้ 430mm ที่ระยะ 2,000m
กลุ่มกระสุนปืนใหญ่ขนาด 105mm ที่ใช้กับ ปถ.L7 จะมาจากอังกฤษ ตัวอย่างเช่น
L64A4 APFSDS เจาะเกราะ RHA ได้หนา 340mm ที่ระยะยิง 2,000m
และกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเอง APDS แบบ L52 ซึ่งเป็นกระสุนรุ่นเก่าที่เจาะเกราะได้ 300mm ที่ระยะ 2,000m ด้วย
นอกจากนี้ก็มีกระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะ HESH แบบ L35 เจาะเกราะได้หนา 310mm อีกแบบ
สำหรับการต่อต้านรถถังหลักในตระกูล T-54/T-55 และรถถังจีนที่มีแบบพื้นฐานมาเช่น Type 59 และ Type 69 นั้น
รถถังของเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยที่ใช้ ปถ.105mm ไม่มีปัญหาในการจัดหาสำหรับ T-55 และ Type 59 รุ่นพื้นฐาน ที่ระยะ 2,500m ลงมา
ซึ่งก็รวมถึง T-55AM2 ที่ติดเกราะเสริมครึ่งวงกลมที่ป้อมปืนด้วยเมื่อใช้กระสุน APFSDS แบบประสิทธิภาพสูงที่กองทัพบกมี
โดยปืนใหญ่รถถัง D-10T และปืนรถถังของจีนขนาด 100mm นั้นมีระยะยิงและระบบควบคุมการยิงด้อยกว่า ปถ.105mmพอสมควร
แต่สำหรับ Type 59D และ Type 59M ที่ติดเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA เสริมและติด ปถ.Type 83A ขนาด 105mm นั้นจะมีขีดความสามารถในการคุกคามเพิ่มอีกระดับ
การจัดการ Type 59D/M อาจจะต้องยิงในส่วนที่ไม่ใช่เกราะด้านหน้าซึ่งติดเกราะ ERA เสริมซึ่งสามารถต่อต้านกระสุนลูกดอก SABOT และ HEAT ได้มาก
และอาจจะต้องยิงในระยะต่ำกว่า 2,000m ลงมา ซึ่งอานุภาพในการเจาะเกราะของ ปถ.105mm จีนนั้นเทียบเท่า M68 และ L7
สำหรับ M48A5, M60A1 และ M60A3 เกราะป้อมปืนหลัก RHA ที่หนา 120mm ไม่เพียงพอจะสามารถจะป้องกันได้
รถถังหลัก M48A5 ในปี ๒๕๒๒
รถถังเบาแบบ ๓๒ Stingray ในปี ๒๕๓๒
รถถังหลัก M60A1 Rise/Passive ในปี ๒๕๓๔
และ M60A3 TTS ในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐
นอกจาก ถ.เบา ๓๒ Stingray แล้วรถถังหลักในกลุ่มนี้ล้วนเป็นรถมือสองที่เคยประจำการในกองทัพสหรัฐฯมาก่อนทั้งสิ้น
โดยรถถังกลุ่มนี้คาดว่าจะมีอายุการใช้งานนับจากที่ปีเข้าประจำการไปไม่ต่ำกว่า 40-50ปี ถ้าเทียบกับ M41A3
อย่าง M48A5 และ M60A1 ก็มีการปรับปรุงระบบควบคุมการยิงเป็น FCS-10 และ FCS-10MS ของอิสราเอลไปหลายสิบปีแล้ว และระบบควบคุมการยิง Marconi DFCS ของ Stingray ก็ยังมีประสิทธิภาพอยู่
แต่จำเป็นต้องปรับปรุงบางส่วนที่เริ่มเก่าและเสื่อมสภาพ ซึ่งกองทัพบกก็มีโครงการซ่อมปรับปรุงหรือจัดหาระบบควบคุมการยิงใหม่สำหรับรถถังสามแบบนี้อยู่
ส่วนระบบควบคุมการยิง เครื่องหาระยะด้วย Laser แบบ AN/VVG-2 กล้องเล็งพลยิงแบบ AN/VSG-2 ของ M60A3 ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่
ในส่วนของอาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังของรถถังกลุ่มนี้นั้น
กระสุนปืนใหญ่แรงถอยต่ำ L7A3 ที่ติดตั้งกับ Stingray สามารถใช้ร่วมกันได้กับกระสุนปืนใหญ่รถถัง M68 ที่ติดตั้งกับ M48A5 และ M60A1/A3
โดยตัวอย่างกลุ่มกระสุนที่ใช้ต่อสู้กับรถถังหลักด้วยกันที่อ้างอิงตามคู่มือของกองทัพบกและจากที่เคยเห็นว่ามีใช้งานจริงก็เช่น
กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ที่ใช้กับปืน M68 นั้นตัวที่น่ามีประสิทธิภาพสูงสุดที่กองทัพบกไทยมีคือ
กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองทรงตัวด้วยครีบหาง APFSDS แบบ M426 ของ IMI อิสราเอล
ซึ่งเจาะเกราะเหล็กกล้าRHA(Rolled Homogeneous Armour) ได้หนา 450mm ที่ระยะยิง 2,000m
ส่วนกระสุนรุ่นเก่าดั้งเดิมของสหรัฐฯที่ใช้กับ ปถ.M68 ก็มีเช่น M735A1 APFSDS เจาะเกราะได้หนา 300mm ที่ระยะ 2,000m
ในคู่มือของกองทัพบกนั้นยังมีข้อมูลของกระสุน M833 APFSDS ของสหรัฐฯซึ่งใช้แกนลูกดอกยูเรเนียมไร้รังสี(Depleted Uranium) เจาะเกราะได้หนา 420mm ที่ระยะ 2,000m
ซึ่งจะใช้ในภาวะสงครามเท่านั้น แต่ก็ไม่ทราบว่ากองทัพบกไทยมีใช้งานจริงๆหรือไม่
ส่วนกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถังก็มีเช่น M456A2 HEAT-T-MP เจาะเกราะได้ 430mm ที่ระยะ 2,000m
กลุ่มกระสุนปืนใหญ่ขนาด 105mm ที่ใช้กับ ปถ.L7 จะมาจากอังกฤษ ตัวอย่างเช่น
L64A4 APFSDS เจาะเกราะ RHA ได้หนา 340mm ที่ระยะยิง 2,000m
และกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเอง APDS แบบ L52 ซึ่งเป็นกระสุนรุ่นเก่าที่เจาะเกราะได้ 300mm ที่ระยะ 2,000m ด้วย
นอกจากนี้ก็มีกระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะ HESH แบบ L35 เจาะเกราะได้หนา 310mm อีกแบบ
สำหรับการต่อต้านรถถังหลักในตระกูล T-54/T-55 และรถถังจีนที่มีแบบพื้นฐานมาเช่น Type 59 และ Type 69 นั้น
รถถังของเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยที่ใช้ ปถ.105mm ไม่มีปัญหาในการจัดหาสำหรับ T-55 และ Type 59 รุ่นพื้นฐาน ที่ระยะ 2,500m ลงมา
ซึ่งก็รวมถึง T-55AM2 ที่ติดเกราะเสริมครึ่งวงกลมที่ป้อมปืนด้วยเมื่อใช้กระสุน APFSDS แบบประสิทธิภาพสูงที่กองทัพบกมี
โดยปืนใหญ่รถถัง D-10T และปืนรถถังของจีนขนาด 100mm นั้นมีระยะยิงและระบบควบคุมการยิงด้อยกว่า ปถ.105mmพอสมควร
แต่สำหรับ Type 59D และ Type 59M ที่ติดเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA เสริมและติด ปถ.Type 83A ขนาด 105mm นั้นจะมีขีดความสามารถในการคุกคามเพิ่มอีกระดับ
การจัดการ Type 59D/M อาจจะต้องยิงในส่วนที่ไม่ใช่เกราะด้านหน้าซึ่งติดเกราะ ERA เสริมซึ่งสามารถต่อต้านกระสุนลูกดอก SABOT และ HEAT ได้มาก
และอาจจะต้องยิงในระยะต่ำกว่า 2,000m ลงมา ซึ่งอานุภาพในการเจาะเกราะของ ปถ.105mm จีนนั้นเทียบเท่า M68 และ L7
สำหรับ M48A5, M60A1 และ M60A3 เกราะป้อมปืนหลัก RHA ที่หนา 120mm ไม่เพียงพอจะสามารถจะป้องกันได้
เฉพาะ M60A1/A3 อาจจะจำเป็นต้องติดเกราะเสริมเช่น เกราะ Blazer ซึ่งมีภาพว่ากองทัพบกไทยมีใช้อยู่เพื่อเพิ่มอำนาจในการป้องกันอีกระดับ
แต่ในส่วน Stingray แล้ว ตัวถังและป้อมปืนโลหะผสม CADLOY ที่เกราะหน้าป้องกันได้เพียงกระสุนเจาะเกราะขนาด 14.5mm แล้ว
ไม่สามารถที่จะต่อต้านการยิงของไม่ว่าจะ ปถ.100mm ของ T-55 หรือ ปถ.105mm ของ Type 59D/M ได้เลย
ยิ่งถ้าภัยคุกคามรถถังหลักในภูมิภาคนี้ยกระดับขึ้นเป็นรถถังในสาย T-72 ด้วยแล้ว
อำนาจการยิงของปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm 2A42M สามารถจะจัดการรถถังหลักที่ดีที่สุดของกองทัพบกไทยในปัจจุบัน
คือ M60A3 และรถถังที่ติด ปถ.105mm ทุกแบบได้ในการยิงนัดเดียวที่ระยะต่ำกว่า 2,500m ลงมา
ในส่วนเกราะป้องกันของ T-72 นั้น เกราะหน้าของ T-72M1 ที่ความหนาประมาณ 400-420mm อาจยังสามารถใช้กระสุนที่ดีที่สุดของ ปถ.105mm คือ M426 จัดการได้
แต่ถ้าเป็น T-72S ที่ติดเกราะ ERA เสริมเทียบเท่าเกราะ Kontakt1 ที่มีความหนาเกราะป้อมปืนด้านหน้าเพิ่มเป็น 520-540mm แล้วไม่มีทางที่จะจัดการได้ง่ายๆเลย
การเสริมเกราะ ERA อย่างเกราะ Blazer สำหรับ M60A1/A3 ก็ดูจะไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันกระสุน APFSDS ขนาด 125mm รุ่นใหม่ๆด้วย
การยกระดับอำนาจการยิงของรถถังที่ใช้ ปถ.105mm ของเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยนั้นอาจจะมีแนวทางเลือกจำกัด
หนึ่งคือการจัดหากระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm รุ่นใหม่ที่มีอำนาจการเจาะเกราะสูงขึ้น
ตัวอย่างเช่นกระสุน APFSDS-T แบบ K274 ของ POONGSAN เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้กับรถถังกองทัพเกาหลีที่ใช้ ปถ.105mm เช่น M48A5K2 และ K1
ซึ่งอ้างว่าสามารถเจาะเกราะ RHA ได้ที่ 470mm ที่ระยะ 2,000m
ตามข้อมูลที่มีออกมาการปรับปรุงรถถังหลัก K1E1 ของกองทัพเกาหลีใต้นั้นจะไม่มีการเปลี่ยน ปถ.จาก KM68 105mm เป็น KM256 120mm
เนื่องจากป้อมปืนของ K1 มีขนาดเล็กกว่า K1A1 ที่ออกแบบมาสำหรับ ปถ.120mm แต่แรกการเปลี่ยน ปถ.ใหม่จึงทำไม่ได้
แต่เกาหลีใต้จะเลือกพัฒนากระสุน 105mm รุ่นใหม่ที่มีอำนาจการเจาะเกราะสูงขึ้นแทน ซึ่งสามารถพัฒนาให้เจาะเกราะได้ถึง 550mm ในระยะ 2,000m
แนวทางที่สองคือการปรับปรุงรถถังหลัก M60A1 และ M60A3 ให้ทันสมัยขึ้น อย่างโครงการปรับปรุง M60T Sabra ของกองทัพบกตุรกี โดย IMI อิสราเอล
ซึ่งเสริมเกราะใหม่ เปลี่ยน ปถ.ใหม่เป็น MG253 ขนาด 120mm และเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เป็น 1,000hp
อย่างไรก็ตามแนวทางนี้จะใช้งบประมาณจำนวนมากพอสมควร รวมถึงต้องมีการขออนุมัติจากสหรัฐฯในการปรับปรุงเสียก่อนด้วย
จะเห็นได้ว่าการที่โครงการจัดหารรถถังหลัก Oplot ของกองทัพบกไทยประสบปัญหาความล่าช้านั้น
ส่งผลต่อขีดความสามารถในการต่อต้านภัยคุกคามจากรถถังหลักในภูมิภาคนี้ที่มีการเพิ่มศักยภาพมากขึ้น
เราได้แต่หวังว่าโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot จะไม่ประสบความล้มเหลวลง
เพราะถ้าเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยจัดหารถถังหลักแบบใหม่ได้ช้าเท่าไร ผลกระทบต่อดุลอำนาจด้านกำลังทางบกของไทยที่ตกลงไปมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งถึงศูนย์การทหารม้าจะมีรถถังหลัก Oplot ชุดต้นแบบ 5คันอยู่ต่อไป โดยจะไม่มีการส่งกลับไปยูเครนก็จริง
แต่รถถังยุคที่สามที่ทันสมัยที่สุดเพียงหมวดเดียว คงไม่สามารถส่งผลต่อการปฏิบัติการรบของสงครามในภาพรวมได้อยู่ดีครับ
ป้ายกำกับ:
M48A5,
M60A1,
M60A3,
Royal Thai Army,
Stingray Light Tank,
T-55,
T-72,
Type 59
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ออสเตรเลียเล็งความต้องการเรือบรรทุกเครื่องบิน
http://www.theaustralian.com.au/national-affairs/budget-2014/tony-abbott-aims-for-aircraft-carriers/story-fnmdbx1i-1226927573598#
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นาย Tony Abbott ได้กล่าวแสดงความต้องการว่ากองทัพเรือควรจะต้องมีเรือจู่โจมยกพลขึ้นบกลำใหม่ที่สามารถนำ F-35 ประจำการบนเรือได้
นั่นหมายถึงว่าเรือลำใหม่จะมีสมรรถนะเพียงพอสำหรับการเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
โดยในอดีตกองทัพเรือออสเตรเลียเคยมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการมาก่อน เช่น HMAS Sydney(R17) และ HMAS Melbourne(R21)
ซึ่งเป็นเรือชั้น Majestic ที่ปลดประจำการในปี 1973 และปี 1982
ปัจจุบันกองทัพเรือออสเตรเลียกำลังจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra ซึ่งมีแบบแผนจากเรือ Juan Carlos I ของสเปน
ซึ่งเรือลำแรก HMAS Canberra (LHD 02) จะเข้าประจำการภายในปี 2014นี้
อย่างไรก็ตามมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ไม่นานว่าหลังการทดสอบเดินเรือ HMAS Canberra ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2014
มีการตรวจพบว่าตัวเรือได้รับความเสียหายเกิดการแตกร้าวเนื่องจากการสั่นสะเทือนของ thruster pods ขณะทำงานด้วยความเร็วสูง
หลังการแก้ไขปัญหาและซ่อมแซม HMAS Canberra จะมีกำหนดเดินเรือทดสอบครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม 2014 นี้
ส่วนเรือลำที่สอง HMAS Adelaide (LHD 01) มีกำหนดจะเข้าประจำการในปี 2016 ครับ
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นาย Tony Abbott ได้กล่าวแสดงความต้องการว่ากองทัพเรือควรจะต้องมีเรือจู่โจมยกพลขึ้นบกลำใหม่ที่สามารถนำ F-35 ประจำการบนเรือได้
นั่นหมายถึงว่าเรือลำใหม่จะมีสมรรถนะเพียงพอสำหรับการเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
โดยในอดีตกองทัพเรือออสเตรเลียเคยมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการมาก่อน เช่น HMAS Sydney(R17) และ HMAS Melbourne(R21)
ซึ่งเป็นเรือชั้น Majestic ที่ปลดประจำการในปี 1973 และปี 1982
ปัจจุบันกองทัพเรือออสเตรเลียกำลังจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra ซึ่งมีแบบแผนจากเรือ Juan Carlos I ของสเปน
ซึ่งเรือลำแรก HMAS Canberra (LHD 02) จะเข้าประจำการภายในปี 2014นี้
อย่างไรก็ตามมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ไม่นานว่าหลังการทดสอบเดินเรือ HMAS Canberra ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2014
มีการตรวจพบว่าตัวเรือได้รับความเสียหายเกิดการแตกร้าวเนื่องจากการสั่นสะเทือนของ thruster pods ขณะทำงานด้วยความเร็วสูง
หลังการแก้ไขปัญหาและซ่อมแซม HMAS Canberra จะมีกำหนดเดินเรือทดสอบครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม 2014 นี้
ส่วนเรือลำที่สอง HMAS Adelaide (LHD 01) มีกำหนดจะเข้าประจำการในปี 2016 ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พาชมภายในเรือฟริเกต FREMM D651 Normandie กองทัพเรือฝรั่งเศส
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1831
Clip เยี่ยมชมภายในเรือฟริเกต D651 Normandie ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Aquitaine ลำที่สองซึ่งจะเข้าประจำการในเร็วๆ
โดยเรือชั้น Aquitaine นั้นเป็นเรือในโครงการ FREMM ของกองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรืออิตาลี
และส่งออกให้กองทัพเรือโมร็อกโค ซึ่งนับเป็นเรือฟริเกตที่ทันสมัยมากในปัจจุบันครับ
วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557
อิสราเอลส่งออกรถถังหลัก Merkava Mk IV เป็นครั้งแรก
Israel sells Merkava tank to foreign military for budget reasons: report
JERUSALEM, June 8 (Xinhua) -- Israel has signed a landmark contract with a foreign government for the sale of its locally- produced flagship Merkava IV main battle tank, local media reported on Sunday.
A publication ban was imposed on who the buyer is, as well as most other details. The Israeli defense ministry also declined to comment on the contract.
The deal, reportedly worth hundreds of millions of U.S. dollars, marks the first time that the Merkava is being exported in whole since the tanks were first manufactured in 1980.
Over the years, countries like Turkey and Colombia have shown interests in buying the fourth-generation Merkava. However, the Israeli defense ministry had always rejected the idea so as protect the tank's secret technologies, primarily the advanced armor, all-terrain mobility and other unique systems.
These qualities have branded Merkava among the best of its kind around the world, and provided the Israeli military with the qualitative edge on the battlefield.
http://english.sina.com/world/2014/0608/707464.html
มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวอิสราเอลและเริ่มกระจายในสำนักข่าวอื่นๆทั่วโลกว่า
อิสราเอลได้ลงนามสัญญามูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญในการขายรถถังหลัก Merkava Mk IV ให้รัฐบาลประเทศหนึ่ง
ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มเปิดสายการผลิตรถถังตระกูลนี้ในปี 1980 ที่อิสราเอลสามารถส่งออกรถถัง Merkava นอกประเทศได้
ยังไม่มีการเปิดเผยว่าประเทศที่จะจัดหารถถังหลัก Merkava Mk IV ไปใช้เป็นประเทศใดและจัดหาจำนวนกี่คันพร้อมระบบอะไรบ้าง
แต่มีการคาดว่าราคารถน่าจะอยู่ที่ราวคันละ $4.5 million ซึ่งถือว่าค่อนข้างถูกถ้าเทียบกับรถถังหลักจากสหรัฐฯและยุโรปตะวันตกครับ
JERUSALEM, June 8 (Xinhua) -- Israel has signed a landmark contract with a foreign government for the sale of its locally- produced flagship Merkava IV main battle tank, local media reported on Sunday.
A publication ban was imposed on who the buyer is, as well as most other details. The Israeli defense ministry also declined to comment on the contract.
The deal, reportedly worth hundreds of millions of U.S. dollars, marks the first time that the Merkava is being exported in whole since the tanks were first manufactured in 1980.
Over the years, countries like Turkey and Colombia have shown interests in buying the fourth-generation Merkava. However, the Israeli defense ministry had always rejected the idea so as protect the tank's secret technologies, primarily the advanced armor, all-terrain mobility and other unique systems.
These qualities have branded Merkava among the best of its kind around the world, and provided the Israeli military with the qualitative edge on the battlefield.
http://english.sina.com/world/2014/0608/707464.html
มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวอิสราเอลและเริ่มกระจายในสำนักข่าวอื่นๆทั่วโลกว่า
อิสราเอลได้ลงนามสัญญามูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญในการขายรถถังหลัก Merkava Mk IV ให้รัฐบาลประเทศหนึ่ง
ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มเปิดสายการผลิตรถถังตระกูลนี้ในปี 1980 ที่อิสราเอลสามารถส่งออกรถถัง Merkava นอกประเทศได้
ยังไม่มีการเปิดเผยว่าประเทศที่จะจัดหารถถังหลัก Merkava Mk IV ไปใช้เป็นประเทศใดและจัดหาจำนวนกี่คันพร้อมระบบอะไรบ้าง
แต่มีการคาดว่าราคารถน่าจะอยู่ที่ราวคันละ $4.5 million ซึ่งถือว่าค่อนข้างถูกถ้าเทียบกับรถถังหลักจากสหรัฐฯและยุโรปตะวันตกครับ
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เอสโตเนียจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Javelin
http://news.err.ee/v/scitech/48702cfb-56b0-432e-9d20-451c6bd5831f
ตามแผนการพัฒนากองกำลังป้องกันประเทศของเอสโตเนียปี 2013-2022
เอสโตเนียมีแผนที่จะเจรจากับสหรัฐฯในการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ FGM-148 Javelin โดยยังไม่ทราบจำนวนและวงเงินที่จะจัดหา
โดย Javelin เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพาได้ด้วยทหารราบ 1-2นาย มีน้ำหนักระบบ 22.3kg นำวิถีด้วย Imaging infrared (IIR) มีระยะยิง 2,500m
คาดว่าถ้าการลงนามจัดหาประสบผลเอสโตเนียจะได้รับมอบจรวดชุดแรกในราวปี 2015 ซึ่งประเทศในกลุ่มบอลติกที่มี Javelin ใช้ก็มีลิทัวเนียครับ
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
นอร์เวย์กำลังพิจารณาอนาคตของเรือดำน้ำชั้น Ula
http://www.regjeringen.no/upload/FD/Temadokumenter/Acquisitions-2014-2022_mars-2014.pdf
กองทัพเรือนอร์เวย์กำลังพิจารณาถึงการจัดการอนาคตของเรือดำน้ำชั้น Ula ทั้ง 6ลำซึ่งเข้าประจำการในช่วงปี 1989-1992
ว่าจะมีการปรับปรุงตัวเรือเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อไปหรือจะจัดหาเรือใหม่ทดแทนก่อนแผนเดิมที่จะปลดประจำการเรือในราวปี 2020
ซึ่งถ้าหาจะจัดหาเรือดำน้ำแบบใหม่คาดว่าจะอนุมัติโครงการได้ในปี 2017 ลงนามสัญญาในปี 2018 และรับมอบเรือใหม่ครบโครงการในปี 2030
เรือดำน้ำชั้น Ula หรือ Type 210 เป็นเรือที่ออกแบบโดย Thyssen Nordseewerke เยอนมนี และมีการประกอบเรือที่ Emden เยอรมนี และ Kongsberg นอร์เวย์
โดยมีความยาว 59m ระวางขับน้ำเหนือผิวน้ำ 1,040tons ระวางขับน้ำขณะดำ 1,150tons ความเร็วใต้น้ำสูงสุด 23knots พิสัยทำการ 5,000nm ที่ 8knots
อาวุธหลักคือ Torpedo ขนาด 533mm จำนวน 8ท่อยิง และ Torpedo DM2A3 จำนวน 14นัดครับ
วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ศักยภาพในการต่อสู้รถถังหลักของยานเกราะเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทย-๑
ประเด็นเรื่องกรณีปัญหาของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ที่ได้นำเสนอมาต่อเนื่องก่อนหน้านี้นั้น
มีผลต่อขีดความสามารถของกองทัพบกไทยในการต่อต้านภัยคุกคามสำหรับสงครามตามแบบที่มีความเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ซึ่งเดิมทีภัยคุกคามจากรถถังหลักรอบประเทศไทยนั้นยังอยู่ในขีดความสามารถที่รถรบและยานเกราะของกองทัพบกยังสามารถรับมือได้
แตในช่วงหลายปีหลังมานี้ประเทศที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคามของไทยได้ได้มีการจัดหารถถังหลักที่มีสมรรถนะสูงมากขึ้น
หัวข้อนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของยานเกราะในการต่อสู้กับรถถังหลักเฉพาะในส่วนของหน่วยที่เป็นเหล่าทหารม้าครับ
เริ่มแรกมาดูที่การประเมินภัยคุกคามที่เป็นรถถังหลักที่เหล่าทหารม้ากองทัพบกอาจจะต้องเผชิญในการรบก่อน
กำลังรถถังหลักในกองทัพหลายประเทศที่คาดว่าจะเป็นภัยคุกคามของไทยได้ส่วนใหญ่จะยังเป็นรถถังในตระกูล T-54/T-55
และรถถังจีนที่มีพื้นฐานจากรถถังรุ่นนี้ เช่น Type 59 และ Type 69 เป็นต้น
อำนาจในการป้องกันตนเองของรถถังตระกูลนี้ในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างจะด้อยอยู่พอสมควรแล้ว
เพราะเกราะหลักเป็นเหล็กกล้า RHA(Rolled Homogeneous Armour) ที่มีความหนาไม่มากนัก
ตามข้อมูลที่รวบรวมได้โดยอิงจากรถถัง T-55 โซเวียตความหนาของเกราะ RHA จะมีรายละเอียดคราวๆดังนี้คือ
T-55 เกราะตัวถังด้านหน้าหนา 100mm ด้านข้าง 80mm ด้านหลัง 60mm ด้านบน 16-33mm
เกราะป้อมปืน ด้านหนา 205mm ด้านข้าง 130 ด้านหลัง 60mm ด้านบน 30mm
ซึ่งรถถังจีนเช่น Type 59 และ Type 69-II น่าจะมีรายละเอียดความหนาเกราะแตกต่างกันไม่มากนัก
(แต่ตามข้อมูลที่สืบค้นได้ดูจะบางกว่าเล็กน้อย เช่น ป้อมปืนมีความหนาเกราะหนา 203mm รวมถึงคุณภาพเหล็กที่ใช้สร้าง)
อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีหลังมานี้มีข้อมูลและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นกองทัพหลายประเทศมีการจัดหารถถัง T-55 รุ่นที่มีการเสริมเกราะเพิ่ม
เช่น T-55AM2 ที่ติดตั้งเกราะเสริมรูปครึ่งวงกลม bra armor ให้ป้อมปืนมีความหนาในการต่อต้านกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองทรงตัวด้วยครีบหาง APFSDS เทียบเท่าเกราะ RHA ที่ 330mm และกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง HEAT ที่ 400-450mm
หรือ Type 59D และ Type 59M ของจีนที่ปรับปรุงติดเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) ที่เพิ่มอำนาจในการต่อต้านการถูกยิงด้วยกระสุนและจรวดต่อสู้รถถังมากขึ้น
(อ้างว่าป้องกันกระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm NATO ในระยะ 2,000m ได้)
ในส่วนของอาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ D-10T ขนาด 100mm ระยะยิงหวังผลราว 2,000m หรือรถถังของจีนที่ใช้ปืนขนาดเดียวกันกันแต่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น Type 69-II นั้น
กระสุนต่อสู้รถถังที่ดีที่สุดของ T-55 คือกระสุนแบบ 3BM25 APFSDS ซึ่งสามารถเจาะเกราะเหล็กกล้า RHA ได้สูงสุดที่ 350mm
โดยในคู่มือของกองทัพบกไทย กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 100mm ที่ใช้กับรถถังหลักแบบ ๓๐ Type 69-II ที่เคยประจำการในไทย ก็มีกระสุน APFSDS ที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน(ความเร็วต้น 1,480m/s)
แต่สำหรับ Type 59D/M แล้วนั้นนอกจากเกราะ ERA แล้ว ยังมีการเปลี่ยนระบบควบคุมการยิงใหม่และปืนใหญ่รถถังใหม่เป็นขนาด 105mm แบบ Type 83A ของจีน ซึ่งใช้กระสุนชนิดเดียวและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับปืนใหญ่รถถังแบบ L7 และ M68 ของ NATO ทำให้มีระยะยิงและใช้กระสุน APFSDS ที่อ้างว่ามีอำนาจเจาะเกราะ RHA หนา 460-510mm ด้วย
การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังรถถังหลักของประเทศในกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเป็นภัยคุกคามหลักของกองทัพบกไทย ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นคือการจัดหารถถังหลักในสายตระกูล T-72 จากรัสเซียและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
ซึ่งที่ยืนยันได้ก็มี T-72S ที่ติดเกราะ ERA รูปแบบเดียวกับเกราะ ERAแบบ Kontakt1 ของกองทัพพม่า
และข่าวลือจากด้านตะวันออกที่จะมีแผนการจัดหา T-72M1 เสริมจากที่เคยจัดหา T-55 มือสองจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเมื่องบประมาณอำนวย
T-72 ที่เป็นรุ่นส่งออกซึ่งส่วนผลิตในโปแลนด์และอดีตเชคโกสโลวาเกีย เป็นรุ่นที่ลดประสิทธิภาพด้านเกราะ ระบบควบคุมการยิงและอาวุธลง
เช่น T-72M1 ป้อมปืนมีความหนาในการต่อต้านกระสุน APFSDS เทียบเท่าเกราะ RHA ที่ประมาณ 420mm และกระสุน HEAT ที่ 490mm เกราะตัวถังต่อต้านกระสุน APFSDS ที่ 400mm และกระสุน HEAT ที่ 490mm
แต่สำหรับ T-72S ที่ติดเกราะ ERA แบบ Kontakt1 น่าจะเทียบเท่ากับรุ่น T-72B1 ที่กองทัพรัสเซียยังใช้อยู่ในปัจจุบันได้แต่จะด้อยกว่าเพียงเล็กน้อย
คือเกราะป้อมปืนต่อต้านกระสุน APFSDS ได้ที่มากกว่า 520-540mm ต่อต้านกระสุน HEAT ที่ 900-950mm เกราะตัวถังต่อต้านกระสุน APFSDS ที่ 480-530mm และกระสุน HEAT ที่ 900-950mm
โดยนี่เป็นข้อมูลคราวๆเนื่องจากเกราะของ T-72 นั้นแท้จริงเฉพาะพื้นที่ด้านหน้าของรถเกราะจะมีความหนาไม่เท่ากันทุกจุด
ในส่วนของอาวุธหลักของ T-72 คือปืนใหญ่รถถัง 2A46M ขนาด 125mm
กระสุนที่มีความเป็นไปได้ที่จะจัดหามาใช้เช่น กระสุน APFSDS แบบ 3BM42 สามารถเจาะเกราะ RHA ความหนา 450mm ได้ที่ระยะ 2,000m
ซึ่งสามารถจัดการรถถังหลักที่กองทัพบกไทยประจำการได้ทุกแบบในปัจจุบันด้วยการยิงนัดเดียวยกเว้น Oplot
ตรงนี้ยังไม่นับ MBT-2000 ซึ่งเป็นรถถังหลักยุคที่3รุ่นส่งออกของจีน ที่ทางกองทัพบกพม่ามีการจัดหามาแล้วจำนวนหนึ่งด้วย
ทีนี้จะมาดูเฉพาะในส่วนรถถังเบาในกองพันทหารม้ารถถังกองพลทหารราบ ยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง และรถถังเบาในกองพันทหารม้าลาดตระเวน ของเหล่าทหารม้าก่อนครับ
รถถังเบาแบบ M41A3 ที่กองทัพบกไทยจัดหามาตั้งแต่ช่วงปี ๒๕๐๕-๒๕๑๒ จำนวนราว 200คันนั้น
อาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ M32 ขนาด 76mm มีระยะยิงหวังผลราว 2,000m ลงมา
อ้างอิงจากคู่มือการฝึกของกองทัพบก กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนรุ่นเก่าที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ยุค 1950s-1960s
เช่น M339 AP-T, M319 HVAP-T เจาะเกราะ RHA หนา 150mm ได้ที่ระยะ 2,000m และ M331A2 HVAP-DS-T ที่เจาะเกราะได้มากกว่า 150-200mm ที่ระยะ 1,000-2,000m
ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม M41 ของเวียดนามใต้ก็เคยปะทะและยิงทำลาย T-54 ของเวียดนามเหนือได้หลายคัน
กระสุนที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่ใช้ในช่วงหลังสงครามเวียดนามก็เช่น M496 HEAT-T ที่เจาะเกราะได้ 200mm ที่ระยะ 2,000m ก็มีข้อมูลว่ากองทัพบกไทยมีใช้อยู่ตามคู่มือ
แต่ก็ไม่แน่ใจว่าไทยจะมีกระสุน M646 APFSDS ที่เจาะกราะได้ 230-250mm ที่ระยะ 2,000m ซึ่ง M41DK ของเดนมาร์คเคยใช้ และ M41D ที่ไต้หวันมีใช้ด้วยหรือไม่
รถรบในส่วนของกองพันทหารม้าลาดตระเวนใช้นั้นก็มีคือ
รถถังเบาแบบ ๒๑ Scorpion อาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ L23A1 ขนาด 76mm ระยะยิงหวังผลประมาณ 2,200m
ซึ่งกระสุนที่พอจะใช้ต่อสู้ยานเกราะขนาดหนักเช่นรถถังหลักได้คือกระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะแบบ L29 HESH-T ซึ่งเจาะเกราะได้หนา 80mm
รวมถึงได้รับการปรับปรุงติดกล้องเล็ง SELEX Galileo STAWS และระบบควบคุมการยิงใหม่ที่แม่นยำทั้งกลางวันและกลางคืน
อีกแบบคือยานเกราะล้อยางแบบ V-150 รุ่นติดป้อมปืนใหญ่รถถังแบบ Cockerill Mk.3 ขนาด 90mm ระยะยิงหวังผลประมาณ 1,950m
กระสุนที่มีใช้ตามคู่มือของกองทัพบกคือ NR 478 HEAT-T ซึ่งเจาะเกราะได้หนา 250mm และ NR 503 HESH
แต่กระสุนรุ่นใหม่ที่มีการผลิตออกมาเช่น NR 220 HEAT-T-HVY เจาะเกราะได้หนา 330mm
และกระสุน APFSDS ความเร็วต้น 1,200m/s เจาะเกราะได้หนา 100mm ที่ระยะ 1,000m ที่มุมปะทะ 60degree นั้นไม่ทราบว่ามีใช้หรือไม่
สำหรับ M41A3 นั้นเป็นระบบที่ล้าสมัยและจะเริ่มปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้แล้ว
โดยที่ผ่านมากองทัพบกก็เคยมีแนวคิดที่จะปรับปรุง M41A3 ให้ทันสมัยขึ้นอยู่บ้าง หลักๆคือเช่นเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากเบนซินเป็นดีเซล แต่คงประเมินแล้วว่าไม่คุ้มค่าเลยไม่ทำ
ส่วน ถ.เบา ๒๑ Scorpion และ V-150 ติด ปถ.90mm นั้น ม.ลว.จะใช้เป็นในลักษณะเป็นฉากกำบังหรือการลาดตระเวนเขตแนวหน้าพื้นที่รบ ถ้าไม่จำเป็นคงจะไม่ถูกส่งไปเข้าตีกำลังรถถังหลักตรงๆ
โดยกระสุน L29 HESH นัดเดียวคงทำอะไรรถถังหลักอย่าง T-55 หรือ Type 59 ไม่ได้
แต่กระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะนั้นเท่าที่ทราบเกราะ ERA จะไม่ค่อยมีผลในการต่อต้านกระสุนชนิดนี้ ซึ่งจะระเบิดผิวเกราะสร้างการแตกร้าวนัก ถ้ายิงหลายๆนัดอาจจะพอได้ผลในการสร้างความเสียหายภายในรถบ้าง
ส่วนกระสุน NR 478 นั้นสามารถจัดการ T-55 ในระยะต่ำกว่า 1,500mm ได้ แต่ยากในการจัดการ T-55AM2, Type 59D และ Type 59M ได้ในนัดเดียว
แน่นอนถ้าทั้ง M41A3, Scorpion และ V-150 ติด ปถ.90mm โดนยิงมานัดเดียวก็จบ
ไม่รวมถึง T-72 ทุกรุ่นที่ปืนใหญ่รถถังความเร็วต้นกระสุนสูงอย่าง M32 76mm และปืนใหญ่รถถังความเร็วต้นกระสุนต่ำทั้ง L23 76mm และ Cockerill Mk.3 90mm ที่กระสุนทุกแบบไม่สามารถยิงเจาะเกราะเข้าด้วยเช่นกัน
ในโอกาสต่อไปจะกล่าวถึงรถถังเบาและรถถังหลักในเหล่าทหารม้าซึ่งใช้ปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ซึ่งเป็นกำลังหลักของกองทัพบกไทยในปัจจุบันครับ
มีผลต่อขีดความสามารถของกองทัพบกไทยในการต่อต้านภัยคุกคามสำหรับสงครามตามแบบที่มีความเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ซึ่งเดิมทีภัยคุกคามจากรถถังหลักรอบประเทศไทยนั้นยังอยู่ในขีดความสามารถที่รถรบและยานเกราะของกองทัพบกยังสามารถรับมือได้
แตในช่วงหลายปีหลังมานี้ประเทศที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคามของไทยได้ได้มีการจัดหารถถังหลักที่มีสมรรถนะสูงมากขึ้น
หัวข้อนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของยานเกราะในการต่อสู้กับรถถังหลักเฉพาะในส่วนของหน่วยที่เป็นเหล่าทหารม้าครับ
เริ่มแรกมาดูที่การประเมินภัยคุกคามที่เป็นรถถังหลักที่เหล่าทหารม้ากองทัพบกอาจจะต้องเผชิญในการรบก่อน
กำลังรถถังหลักในกองทัพหลายประเทศที่คาดว่าจะเป็นภัยคุกคามของไทยได้ส่วนใหญ่จะยังเป็นรถถังในตระกูล T-54/T-55
และรถถังจีนที่มีพื้นฐานจากรถถังรุ่นนี้ เช่น Type 59 และ Type 69 เป็นต้น
อำนาจในการป้องกันตนเองของรถถังตระกูลนี้ในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างจะด้อยอยู่พอสมควรแล้ว
เพราะเกราะหลักเป็นเหล็กกล้า RHA(Rolled Homogeneous Armour) ที่มีความหนาไม่มากนัก
ตามข้อมูลที่รวบรวมได้โดยอิงจากรถถัง T-55 โซเวียตความหนาของเกราะ RHA จะมีรายละเอียดคราวๆดังนี้คือ
T-55 เกราะตัวถังด้านหน้าหนา 100mm ด้านข้าง 80mm ด้านหลัง 60mm ด้านบน 16-33mm
เกราะป้อมปืน ด้านหนา 205mm ด้านข้าง 130 ด้านหลัง 60mm ด้านบน 30mm
ซึ่งรถถังจีนเช่น Type 59 และ Type 69-II น่าจะมีรายละเอียดความหนาเกราะแตกต่างกันไม่มากนัก
(แต่ตามข้อมูลที่สืบค้นได้ดูจะบางกว่าเล็กน้อย เช่น ป้อมปืนมีความหนาเกราะหนา 203mm รวมถึงคุณภาพเหล็กที่ใช้สร้าง)
อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีหลังมานี้มีข้อมูลและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นกองทัพหลายประเทศมีการจัดหารถถัง T-55 รุ่นที่มีการเสริมเกราะเพิ่ม
เช่น T-55AM2 ที่ติดตั้งเกราะเสริมรูปครึ่งวงกลม bra armor ให้ป้อมปืนมีความหนาในการต่อต้านกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองทรงตัวด้วยครีบหาง APFSDS เทียบเท่าเกราะ RHA ที่ 330mm และกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง HEAT ที่ 400-450mm
หรือ Type 59D และ Type 59M ของจีนที่ปรับปรุงติดเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) ที่เพิ่มอำนาจในการต่อต้านการถูกยิงด้วยกระสุนและจรวดต่อสู้รถถังมากขึ้น
(อ้างว่าป้องกันกระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm NATO ในระยะ 2,000m ได้)
ในส่วนของอาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ D-10T ขนาด 100mm ระยะยิงหวังผลราว 2,000m หรือรถถังของจีนที่ใช้ปืนขนาดเดียวกันกันแต่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น Type 69-II นั้น
กระสุนต่อสู้รถถังที่ดีที่สุดของ T-55 คือกระสุนแบบ 3BM25 APFSDS ซึ่งสามารถเจาะเกราะเหล็กกล้า RHA ได้สูงสุดที่ 350mm
โดยในคู่มือของกองทัพบกไทย กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 100mm ที่ใช้กับรถถังหลักแบบ ๓๐ Type 69-II ที่เคยประจำการในไทย ก็มีกระสุน APFSDS ที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน(ความเร็วต้น 1,480m/s)
แต่สำหรับ Type 59D/M แล้วนั้นนอกจากเกราะ ERA แล้ว ยังมีการเปลี่ยนระบบควบคุมการยิงใหม่และปืนใหญ่รถถังใหม่เป็นขนาด 105mm แบบ Type 83A ของจีน ซึ่งใช้กระสุนชนิดเดียวและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับปืนใหญ่รถถังแบบ L7 และ M68 ของ NATO ทำให้มีระยะยิงและใช้กระสุน APFSDS ที่อ้างว่ามีอำนาจเจาะเกราะ RHA หนา 460-510mm ด้วย
การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังรถถังหลักของประเทศในกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเป็นภัยคุกคามหลักของกองทัพบกไทย ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นคือการจัดหารถถังหลักในสายตระกูล T-72 จากรัสเซียและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
ซึ่งที่ยืนยันได้ก็มี T-72S ที่ติดเกราะ ERA รูปแบบเดียวกับเกราะ ERAแบบ Kontakt1 ของกองทัพพม่า
และข่าวลือจากด้านตะวันออกที่จะมีแผนการจัดหา T-72M1 เสริมจากที่เคยจัดหา T-55 มือสองจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเมื่องบประมาณอำนวย
T-72 ที่เป็นรุ่นส่งออกซึ่งส่วนผลิตในโปแลนด์และอดีตเชคโกสโลวาเกีย เป็นรุ่นที่ลดประสิทธิภาพด้านเกราะ ระบบควบคุมการยิงและอาวุธลง
เช่น T-72M1 ป้อมปืนมีความหนาในการต่อต้านกระสุน APFSDS เทียบเท่าเกราะ RHA ที่ประมาณ 420mm และกระสุน HEAT ที่ 490mm เกราะตัวถังต่อต้านกระสุน APFSDS ที่ 400mm และกระสุน HEAT ที่ 490mm
แต่สำหรับ T-72S ที่ติดเกราะ ERA แบบ Kontakt1 น่าจะเทียบเท่ากับรุ่น T-72B1 ที่กองทัพรัสเซียยังใช้อยู่ในปัจจุบันได้แต่จะด้อยกว่าเพียงเล็กน้อย
คือเกราะป้อมปืนต่อต้านกระสุน APFSDS ได้ที่มากกว่า 520-540mm ต่อต้านกระสุน HEAT ที่ 900-950mm เกราะตัวถังต่อต้านกระสุน APFSDS ที่ 480-530mm และกระสุน HEAT ที่ 900-950mm
โดยนี่เป็นข้อมูลคราวๆเนื่องจากเกราะของ T-72 นั้นแท้จริงเฉพาะพื้นที่ด้านหน้าของรถเกราะจะมีความหนาไม่เท่ากันทุกจุด
ในส่วนของอาวุธหลักของ T-72 คือปืนใหญ่รถถัง 2A46M ขนาด 125mm
กระสุนที่มีความเป็นไปได้ที่จะจัดหามาใช้เช่น กระสุน APFSDS แบบ 3BM42 สามารถเจาะเกราะ RHA ความหนา 450mm ได้ที่ระยะ 2,000m
ซึ่งสามารถจัดการรถถังหลักที่กองทัพบกไทยประจำการได้ทุกแบบในปัจจุบันด้วยการยิงนัดเดียวยกเว้น Oplot
ตรงนี้ยังไม่นับ MBT-2000 ซึ่งเป็นรถถังหลักยุคที่3รุ่นส่งออกของจีน ที่ทางกองทัพบกพม่ามีการจัดหามาแล้วจำนวนหนึ่งด้วย
ทีนี้จะมาดูเฉพาะในส่วนรถถังเบาในกองพันทหารม้ารถถังกองพลทหารราบ ยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง และรถถังเบาในกองพันทหารม้าลาดตระเวน ของเหล่าทหารม้าก่อนครับ
รถถังเบาแบบ M41A3 ที่กองทัพบกไทยจัดหามาตั้งแต่ช่วงปี ๒๕๐๕-๒๕๑๒ จำนวนราว 200คันนั้น
อาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ M32 ขนาด 76mm มีระยะยิงหวังผลราว 2,000m ลงมา
อ้างอิงจากคู่มือการฝึกของกองทัพบก กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนรุ่นเก่าที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ยุค 1950s-1960s
เช่น M339 AP-T, M319 HVAP-T เจาะเกราะ RHA หนา 150mm ได้ที่ระยะ 2,000m และ M331A2 HVAP-DS-T ที่เจาะเกราะได้มากกว่า 150-200mm ที่ระยะ 1,000-2,000m
ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม M41 ของเวียดนามใต้ก็เคยปะทะและยิงทำลาย T-54 ของเวียดนามเหนือได้หลายคัน
กระสุนที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่ใช้ในช่วงหลังสงครามเวียดนามก็เช่น M496 HEAT-T ที่เจาะเกราะได้ 200mm ที่ระยะ 2,000m ก็มีข้อมูลว่ากองทัพบกไทยมีใช้อยู่ตามคู่มือ
แต่ก็ไม่แน่ใจว่าไทยจะมีกระสุน M646 APFSDS ที่เจาะกราะได้ 230-250mm ที่ระยะ 2,000m ซึ่ง M41DK ของเดนมาร์คเคยใช้ และ M41D ที่ไต้หวันมีใช้ด้วยหรือไม่
รถรบในส่วนของกองพันทหารม้าลาดตระเวนใช้นั้นก็มีคือ
รถถังเบาแบบ ๒๑ Scorpion อาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถังแบบ L23A1 ขนาด 76mm ระยะยิงหวังผลประมาณ 2,200m
ซึ่งกระสุนที่พอจะใช้ต่อสู้ยานเกราะขนาดหนักเช่นรถถังหลักได้คือกระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะแบบ L29 HESH-T ซึ่งเจาะเกราะได้หนา 80mm
รวมถึงได้รับการปรับปรุงติดกล้องเล็ง SELEX Galileo STAWS และระบบควบคุมการยิงใหม่ที่แม่นยำทั้งกลางวันและกลางคืน
อีกแบบคือยานเกราะล้อยางแบบ V-150 รุ่นติดป้อมปืนใหญ่รถถังแบบ Cockerill Mk.3 ขนาด 90mm ระยะยิงหวังผลประมาณ 1,950m
กระสุนที่มีใช้ตามคู่มือของกองทัพบกคือ NR 478 HEAT-T ซึ่งเจาะเกราะได้หนา 250mm และ NR 503 HESH
แต่กระสุนรุ่นใหม่ที่มีการผลิตออกมาเช่น NR 220 HEAT-T-HVY เจาะเกราะได้หนา 330mm
และกระสุน APFSDS ความเร็วต้น 1,200m/s เจาะเกราะได้หนา 100mm ที่ระยะ 1,000m ที่มุมปะทะ 60degree นั้นไม่ทราบว่ามีใช้หรือไม่
สำหรับ M41A3 นั้นเป็นระบบที่ล้าสมัยและจะเริ่มปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้แล้ว
โดยที่ผ่านมากองทัพบกก็เคยมีแนวคิดที่จะปรับปรุง M41A3 ให้ทันสมัยขึ้นอยู่บ้าง หลักๆคือเช่นเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากเบนซินเป็นดีเซล แต่คงประเมินแล้วว่าไม่คุ้มค่าเลยไม่ทำ
ส่วน ถ.เบา ๒๑ Scorpion และ V-150 ติด ปถ.90mm นั้น ม.ลว.จะใช้เป็นในลักษณะเป็นฉากกำบังหรือการลาดตระเวนเขตแนวหน้าพื้นที่รบ ถ้าไม่จำเป็นคงจะไม่ถูกส่งไปเข้าตีกำลังรถถังหลักตรงๆ
โดยกระสุน L29 HESH นัดเดียวคงทำอะไรรถถังหลักอย่าง T-55 หรือ Type 59 ไม่ได้
แต่กระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะนั้นเท่าที่ทราบเกราะ ERA จะไม่ค่อยมีผลในการต่อต้านกระสุนชนิดนี้ ซึ่งจะระเบิดผิวเกราะสร้างการแตกร้าวนัก ถ้ายิงหลายๆนัดอาจจะพอได้ผลในการสร้างความเสียหายภายในรถบ้าง
ส่วนกระสุน NR 478 นั้นสามารถจัดการ T-55 ในระยะต่ำกว่า 1,500mm ได้ แต่ยากในการจัดการ T-55AM2, Type 59D และ Type 59M ได้ในนัดเดียว
แน่นอนถ้าทั้ง M41A3, Scorpion และ V-150 ติด ปถ.90mm โดนยิงมานัดเดียวก็จบ
ไม่รวมถึง T-72 ทุกรุ่นที่ปืนใหญ่รถถังความเร็วต้นกระสุนสูงอย่าง M32 76mm และปืนใหญ่รถถังความเร็วต้นกระสุนต่ำทั้ง L23 76mm และ Cockerill Mk.3 90mm ที่กระสุนทุกแบบไม่สามารถยิงเจาะเกราะเข้าด้วยเช่นกัน
ในโอกาสต่อไปจะกล่าวถึงรถถังเบาและรถถังหลักในเหล่าทหารม้าซึ่งใช้ปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ซึ่งเป็นกำลังหลักของกองทัพบกไทยในปัจจุบันครับ
วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Rostec รัสเซียดำเนินการเจรจาควบรวมกิจการ AgustaWestland
http://www.defense-aerospace.com/article-view/release/154332/russia%E2%80%99s-rostec-mulls-agustawestland-merger.html
มีรายงานข่าวตั้งแต่งาน MAKS 2013 ถึงการเจรจาระหว่าง Rostec กับ AgustaWestland ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน
ซึ่งRostec เสนอการถือครองส่วนแบ่งหุ้นร้อยละ25 กับ AgustaWestland
โดยนาย Sergey Chemezov CEO ของ Rostec ได้กล่าวว่าถ้าการควบรวมกิจการเกิดขึ้นทั้งสองจะกลายเป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ย้อนไปเดือนกุมภาพันธ์ 2013 นาย Denis Manturov รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซียได้พิจารณาความเป็นไปได้ของเรื่องนี้
โดยคาดว่าจะใช้เวลา ๑ปีครึ่งถึง ๒ปีในการดึงดูดคู่ค่ามาลงทุนร่วมกัน
Rostec เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งถือครองบริษัทย่อยๆในองค์กรหลายบริษัททางด้านอุตสาหกรรม Technology ขั้นสูง
โดยมีราว 8บริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง เช่น Russian Helicopters ในกลุ่ม Oboronprom
ในงาน HeliRussia 2014 งานแสดงเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซียซึ่งมีบริษัทเข้าร่วมแสดงกว่า 200บริษัท ที่ Moscow เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคมที่ผ่านมา
AgustaWestland ก็ได้นำ ฮ.AW139 มาแสดงในงาน รวมถึงแผนการพัฒนา ฮ.ขนาดเบา 2.5tons ร่วมกับ Russian Helicopters ครับ
http://en.itar-tass.com/russia/732863
มีรายงานข่าวตั้งแต่งาน MAKS 2013 ถึงการเจรจาระหว่าง Rostec กับ AgustaWestland ในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน
ซึ่งRostec เสนอการถือครองส่วนแบ่งหุ้นร้อยละ25 กับ AgustaWestland
โดยนาย Sergey Chemezov CEO ของ Rostec ได้กล่าวว่าถ้าการควบรวมกิจการเกิดขึ้นทั้งสองจะกลายเป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ย้อนไปเดือนกุมภาพันธ์ 2013 นาย Denis Manturov รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซียได้พิจารณาความเป็นไปได้ของเรื่องนี้
โดยคาดว่าจะใช้เวลา ๑ปีครึ่งถึง ๒ปีในการดึงดูดคู่ค่ามาลงทุนร่วมกัน
Rostec เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งถือครองบริษัทย่อยๆในองค์กรหลายบริษัททางด้านอุตสาหกรรม Technology ขั้นสูง
โดยมีราว 8บริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง เช่น Russian Helicopters ในกลุ่ม Oboronprom
ในงาน HeliRussia 2014 งานแสดงเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซียซึ่งมีบริษัทเข้าร่วมแสดงกว่า 200บริษัท ที่ Moscow เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคมที่ผ่านมา
AgustaWestland ก็ได้นำ ฮ.AW139 มาแสดงในงาน รวมถึงแผนการพัฒนา ฮ.ขนาดเบา 2.5tons ร่วมกับ Russian Helicopters ครับ
http://en.itar-tass.com/russia/732863
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
กองทัพสโลวักมีแผนจะเปลี่ยนปืนเล็กยาวใหม่เป็น CZ-805
http://www.novinky.cz/zahranicni/evropa/337721-slovenska-armada-prezbroji-na-ceske-samopaly.html
จากการให้สัมภาษณ์สื่อของผู้บัญชาการกองทัพสโลวักหลังจากเยือนสาธารรัฐเชค
กองทัพสโลวักมีแผนจะเปลี่ยนปืนเล็กยาวประจำการมาตรฐานของกองทัพจาก Sa vz.58 ซึ่งใช้มาก่อนที่สโลวาเกียจะแยกประเทศกับเชค
เป็น CZ-805 BREN ปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นล่าสุดของกองทัพเชค
Sa vz.58P พานท้ายแข็งดูคล้าย AK-47 แต่ระบบภายในตัวปืนมีหลายส่วนที่แตกต่างกัน
ทหารช่างกองทัพสโลวักในอิรักปี2006 ใช้ปืน Sa vz.58V พานท้ายพับได้
โดยกองทัพเชคเองได้พัฒนาและเริ่มนำ CZ-805 เข้าประจำการแทน vz.58 ตั้งแต่ปี 2011
ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์นำมาแสดงในงานอาวุธมาแล้วหลายๆงานทั่วโลกแล้วครับ
CZ-805 BREN ในงาน Defense & Security 2013
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)