วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

Hyundai Rotem และ Kongsberg นอร์เวย์จะร่วมพัฒนาป้อมปืนไร้พลประจำสำหรับรถรบยุคอนาคต

Hyundai Rotem, Kongsberg to collaborate on unmanned turrets for next-generation vehicles



Hyundai Rotem is developing a next-generation wheeled armoured vehicle (left) and main battle tank (right). Scale models of both platforms were displayed at the DX Korea 2022 exhibition. (Janes/Jon Grevatt)






The K808 and K2 are produced by Hyundai Rotem, both platforms were displayed at the DX Korea 2022 exhibition. (bemil)



บริษัท Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Kongsberg Defense & Aerospace นอร์เวย์ ได้เป็นหุ้นส่วนที่จะพัฒนาป้อมปืนไร้พลประจำสำหรับรถรบทางทหารยุคอนาคตที่กำลังได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Hyundai Rotem
Hyundai Rotem กล่าวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2022 ว่าบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ได้รับการลงนามโดยสองบริษัท ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ DX Korea 2022 ใน Goyang ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา

ข้อตกลงได้มอบโอกาสสำหรับทั้งสองบริษัทที่จะมีความร่วมมือในการพัฒนาป้อมปืนไร้พลประจำภายในสำหรับรถรบยุคอนาคต เช่นเดียวกับ "ระบบป้องกันอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)"
Kongsberg นอร์เวย์ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อตกลง และ Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลีไม่ได้ตอบสนองต่อการร้องขอสำหรับข้อมูลมากกว่านี้ ณ เวลาที่เผยแพร่บทความ

อย่างไรก็ตาม Janes เข้าใจว่า ความร่วมมือจะมุ่งความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยางยุคอนาคต(NGWAV: Next-Generation Wheeled Armoured Vehicle) และรถถังหลักยุคอนาคต(NGMBT: Next-Generation Main Battle Tank) ของ Hyundai Rotem
ซึ่งแบบจำลองย่อขนาดของรถหุ้มเกราะล้อยางยุคอนาคต NGWAV และรถถังหลักยุคอนาคต NGMBT ได้ถูกนำมาจัดแสดงที่งาน DX Korea 2022(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/hyundai-rotem-k2.html)

Hyundai Rotem ยังกล่าวว่าบันทึกความเข้าใจมอบโอกาสสำหรับ Kongsberg ที่จะส่งมอบ "ระบบอาวุธ remote weapon system และระบบบูรณาการ digital" สำหรับระบบยานยนต์
รวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยาง K808(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/k806-k808.html) และรถถังหลัก K2(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/k2-k9.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/02/leopard-2a7-k2-black-panther.html) ของสาธารณรัฐเกาหลี

รถหุ้มเกราะล้อยาง K808 และรถถังหลัก K2 ได้รับการผลิตโดย Hyundai Rotem และถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army)
เป็นไปได้แต่ไม่ยืนยันว่า ความร่วมมือเกี่ยวกับระบบอาวุธ remote และป้อมปืนไร้พลประจำจะมีส่วนร่วมการออกแบบคุณสมบัติบนพื้นฐานระบบป้อมปืนตระกูล Protector RWS(Remote Weapons Station) ของ Kongsberg

ระบบป้อมปืน remote ตระกูล Protector ถูกนำไปติดตั้งกับรถรบหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) รถเกราะล้อยาง รถรบทหารราบสายพาน และรถถังหลักครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

DTI ไทยทดสอบต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A สำหรับกองทัพบกไทย




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has testing performance capabilities and tactical manuever on prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher, which is based on Israeli Elbit Systems PULS 
at Royal Thai Army (RTA) Artillery Center's firing range, Lopburi province during 20-21 September 2022. (DTI)




Defence Technology Institute demonstrated firing domestic DTI-2 122mm on wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System at Royal Thai Army Artillery Center's Special Range, Lopburi province, 21 February 2022. (DTI)

เมื่อวันที่ 20 – 21 กันยายน 2565
สทป. ดำเนินการทดสอบสมรรถนะและทดสอบทางยุทธวิธีต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ณ สนามทดสอบ ศป. จ.ลพบุรี

โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี (D11A) ได้วิจัยและพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ที่สามารถรองรับจรวดขนาด 122 มม. ระยะยิง 40 กม. จรวดขนาด 306 มม. ระยะยิง 150 กม. และจรวดขนาด 370 มม. ระยะยิง 300 กม.  
โดยส่วนงานวิศวกรรมยานรบ มุ่งเน้นการออกแบบ สร้างชิ้นส่วน การประกอบรวมรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนารถฐานยิงจรวด DTI2 DTI1 และ D1G 
ร่วมกับเทคโนโลยีด้านการออกแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องขั้นสูงจากประเทศอิสราเอล เพื่อออกแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ให้เป็นไปตามความต้องการกองทัพบก 
โดยการทดสอบครั้งนี้เป็นการดำเนินการทดสอบสมรรถนะการขับเคลื่อนและทดสอบทางยุทธวิธี เพื่อตรวจสอบสมรรถนะต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ที่วิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการกองทัพบก

โดยมี พล.ต.นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ ผบ.ศป. และประธานคณะทำงานร่วมวิจัยและพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และร่วมทดสอบทางยุทธวิธีพร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนา 
ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามความต้องการตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ (Multi - purpose launcher) ระหว่าง ทบ. กับ สทป.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทยได้เปิดตัวต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมา
ที่พัฒนาบนพื้นฐานระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายขนาดลำกล้องอัตตาจรแบบ PULS(Precise and Universal Launching System) ในความหุ้นส่วนกับบริษัท Elbit Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d11a.html)

โครงการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และเริ่มต้นใหม่ในปี ๒๕๖๕ หลังหยุดชะงักเพราะการระบาด Covid-19 ได้มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการระบบแท่นยิงจรวดเข้ากับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10 tonne จากสาธารณรัฐเช็ก
ซึ่งรถยนต์บรรทุก Tatra สาธารณรัฐเช็กได้ถูกใช้เป็นรถแคร่ฐานสำหรับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง M758 ATMG ขนาด 155 mm/52calibre ที่มีประจำการในกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

ด้วยการถ่ายทอดวิทยาการจาก Elbit Systems อิสราเอล เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG(Autonomous Truck-Mounted Gun) ที่มีพื้นฐานจากระบบปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-atmg-atmm.html)
สายการผลิตรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A น่าจะดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC: Weapon Production Center, DIEC: Defence Industry and Energy Center) กระทรวงกลาโหมไทย เช่นกัน

DTI ไทยได้พัฒนาจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2 สำหรับระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122mm ระยะยิง 40km ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยตนเองในไทยทั้งหมด โดยได้ถูกนำไปทดสอบยิงจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 ขนาด 122mm ๔๐ท่อยิง ของกองทัพบกไทย
เช่นเดียวกับการปรับปรุงติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ๒๐ท่อยิง บนจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ บนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/dti-122mm.html) กองทัพบกไทย และรถฐานยิงของ DTI เอง

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research & Development Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ยังมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A นี้ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/dti.html)
จึงเป็นที่เข้าใจว่ารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่จะเริ่มต้นสายการผลิตในไทยได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) หลังผ่านการทดสอบรับรองระบบ ควรจะถูกจัดหาเข้าประจำการในทั้งความต้องการในส่วนของกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทย ที่มีระบบพื้นฐานร่วมกัน(common)

เมื่อถูกนำเข้าประจำการรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่ใช้แท่นยิงแบบ modular จะสามารถทำการยิงระบบจรวดนำวิถีและจรวดไม่นำวิถีได้หลายแบบในขนาดลำกล้องที่แตกต่างกันในสองชุดยิง โดยคาดว่านอกจากจรวด DTI-2 ขนาด 122mm ที่พัฒนาในไทยแล้ว
ยังรวมถึง จรวดนำวิถี Accular ขนาด 122mm ระยะยิงหวังผล 40km ชุดยิง ๑๘นัด, จรวดนำวิถี EXTRA ขนาด 306mm ระยะยิงหวังผล 150km ชุดยิงละ ๔นัด และจรวดนำวิถี Predator Hawk ขนาด 370mm ระยะยิงหวังผล 300km ชุดยิง ๒นัด ด้วยครับ

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

ตุรกีมองแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ถ้าการเจรจา F-16 สหรัฐฯล้มเหลว

Turkey touts Eurofighter plan, should F-16 talks stall



Seen in Luftwaffe service, the Eurofighter could be an option for Turkey should continuing discussions with the United States over the F-16 fail to yield results. (Janes/Gareth Jennings)




Turkey made a request to the United States for 40 F-16 fighters and nearly 80 modernisation kits for its existing F-16 in October 2021. (Turkish Air Force)

เป็นครั้งแรกที่ตุรกีได้ออกมากล่าวถึงอย่างเป็นทางการของความเป็นได้ในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ในกรณีถ้าสหรัฐฯล้มเหลวที่จะขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon
İbrahim Kalın โฆษกประธานาธิบดีตุรกียืนยันแผนที่ได้ถูกรายงานก่อนหน้า โดยบอกกับสถานีโทรทัศน์ NTV ตุรกีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2022 "เราได้มีการเจรจากับยุโรปเกี่ยวกับ...Eurofighter...ตุรกีจะไม่มีทางปราศจากทางเลือกอื่นๆ" 

ตุรกีได้ทำการร้องขอต่อสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 40เครื่อง และชุดปรับปรุงความทันสมัยเกือบ 80ชุดสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่มีอยู่ของตนในเดือนตุลาคม 2021 คณะบริหารรัฐบาลสหรัฐฯตอบรับการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 แก่ตุรกีอย่างอบอุ่น Kalın กล่าว 
ตามที่คณะบริหารประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden ในเดือนมิถุนายน 2022 สนับสนุนเบื้องหลังความเป็นไปได้ในการขาย หลังรัฐบาลตุรกีใน Ankara ยกเลิกแผนที่จะออกเสียงคัดค้านการเป็นสมาชิก NATO ของฟินแลนด์และสวีเดน

อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยสภาผู้แทนราฎรสหรัฐฯแห่งสภา Congress ในเดือนกรกฎาคม 2022 เพื่อให้มั่นใจว่าการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 ให้ตุรกีจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อละเมิดน่านฟ้าของกรีซได้ถูกปฏิเสธโดยตุรกี
ก่อนความเห็นของ Kalın เกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdoğan กล่าวว่า ถ้าสหรัฐฯไม่ขายเครื่องบินขับไล่ F-16 แก่ตุรกี รัฐบาลตุรกีควรจะสามารถที่จะจัดหาเครื่องบินรบจากประเทศอื่นๆได้

"สหราชอาณาจักรขาย, ฝรั่งเศสขาย, รัสเซียขายพวกมัน มันมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับพวกมันจากทุกที่" ประธานาธิบดีตุรกี Erdoğan กล่าวในช่วงต้นเดือนกันยายน 2022
สำหรับฝรั่งเศสน่าจะหมายถึงเครื่องบินไล่ Dassault Rafale และสำหรับรัสเซียน่าจะหมายถึงเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35S และเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-57(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/su-35-su-57-f-35.html)

สหรัฐฯตัดตุรกีของจากโครงการ JSF(Joint Strike Fighter) ด้วยการไม่ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ให้ ตามที่ตุรกีจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ของรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a.html)
ตุรกีเคยมีกำหนดจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 100เครื่อง จากที่เคยถูกวางบทบาทหลักในสายส่งอุปทานทั่วโลก ห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ F-35 ได้ถูกย้ายออกจากตุรกีในปี 2020 

ปัจจุบันกองทัพอากาศตุรกี(TurAF: Turkish Air Force) มีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 245เครื่อง ซึ่งได้รับสิทธิบัตรการผลิตในประเทศโดยบริษัท Turkish Aerospace ตุรกี
Turkish Aerospace ตุรกีกำลังอยู่ระหว่างการสร้างต้นแบบเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 TF-X ที่จะเปิดตัวในปี 2023 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/5-tf-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/02/tf-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/01/tf-xmmu.html)

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

กองทัพอากาศไทยทำพิธีปิดโครงการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง C-130H
















Thai Aviation Industries (TAI) has completed capabilities improvement programme for Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules tactical transport aircrafts. 
C-130H 60110 40th Anniversary scheme of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang displayed in ceremony at TAI's facility in Don Mueang, Bangkok, Thailand on 26 September 2022. (Thai Aviation Industries/Royal Thai Air Force/Sompong Nondhasa/Airlinesweek)

พิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)
วันนี้ (วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565) เวลา 09.00 น. พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบหมายให้ พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)
ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดอนเมือง โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ คณะกรรมการบริหารโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) 
นักบินและเจ้าหน้าที่ ฝูงบิน 601 กองบิน 6 ตลอดจนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ร่วมพิธี

ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้มอบหมายให้ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดำเนินการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) จำนวน 4 รายการ 
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565 ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
1. งานถอดเปลี่ยนจอแสดงผลในห้องนักบิน (Multi-function Display : MFD) จำนวน 8 เครื่อง เครื่องละ 4 จอ และมีจอแสดงผลไว้สำรอง จำนวน 4 จอ รวมทั้งหมด 36 จอ
2. งานปรับปรุงระบบป้องกันการชนระหว่างอากาศยาน (Traffic Alert and Collision Avoidance System Version 7.1 : TCAS7.1) และติดตั้งระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance–Broadcast : ADS-B) จำนวน 4 เครื่อง
3. งานถอดเปลี่ยน Center Wing Upper and Lower Rainbow Fitting ทั้งด้านซ้ายและขวา จำนวน 8 เครื่อง
4. งานซ่อมใหญ่ ชุด Quick Engine Change (QEC) ให้มีความสมบูรณ์ และมีสภาพพร้อมใช้งาน จำนวน 28 ชุด
นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ ให้มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย

ผลจากการปรับปรุงขีดความสามารถในครั้งนี้ ทำให้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) มีเครื่องวัดประกอบการบินและเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัยมากขึ้น ตอบสนองเทคโนโลยีการบินและข้อกำหนดในปัจจุบัน 
อีกทั้งโครงสร้างของเครื่องบินได้รับการปรับปรุงให้มีความแข็งแรง และได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งกองทัพอากาศจะสามารถใช้งานเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไม่ต่ำกว่า 10 ปี

พิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
โดยมีภาพการนำเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H หมายเลข 60110 ในลวดลายครบรอบ ๔๐ปี(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/c-130h.html) รวมถึงห้องนักบินแบบ glass cockpit, โครงสร้างอากาศยาน, ชิ้นส่วนประกอบ, อุปกรณ์ และเครื่องยนต์ต่างๆที่ได้การเปลี่ยนใหม่

กองทัพอากาศไทยไม่ได้ให้รายละเอียดว่ามี บ.ล.๘ C-130H เครื่องใดบ้างจากที่คาดว่ามีจำนวน ๘เครื่องที่เสร็จสิ้นการปรับปรุงขีดความสามารถรวมถึงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ Rolls-Royce T56 Series 3.5 ใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)
ปัจจุบัน ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ กองทัพอากาศไทยมีประจำการด้วยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H จำนวนทั้งหมด ๑๒เครื่อง ประกอบด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130H รุ่นลำตัวสั้น จำนวน ๖เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130H-30 รุ่นลำตัวยาว จำนวน ๖เครื่องคือ

C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), C-130H-30 60105, 60106 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) 
และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992) โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๓๐-๓๒ปี ทั้งนี้ บ.ล.๘ C-130H อีก ๔เครื่องจะได้รับการปรับปรุงตามมาในงบประมาณปี ๒๕๖๖(2023) ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานได้จนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032)

ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) กองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทน บ.ล.๘ C-130H Hercules จำนวน ๑๒เครื่อง และระบบที่เกี่ยวข้อง พร้อมการฝึกอบรมสำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจในการลำเลียงทางอากาศ
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025) จำนวน ๔เครื่อง, ระยะที่๒ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๖๙(2024-2026) ๔เครื่อง, ระยะที่๓ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๙-๒๕๗๒(2026-2029) จำนวน ๔เครื่อง

อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงจากการแพร่ระบาด Covid-19 มาหลายปีต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/covid-19.html) ทำให้กองทัพอากาศไทยยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H
การปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ล.๘ C-130H จึงเป็นโครงการเล็กที่ใช้งบประมาณไม่มาก แต่แผนที่จะทดแทนเช่นเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules รุ่นใหม่นั้นจะต้องมีการประเมินความจำเป็นในอนาคตต่อไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/c-130h-covid-19.html)

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทยเสร็จสิ้นการฝึกผสม Kakadu 2022 ขั้น Sea Phase ที่ออสเตรเลีย












Royal Thai Navy (RTN)'s FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate has concluded Exercise KAKADU 2022 at Northern Australian Exercise area (NAXA), Darwin, Australia from 12-24 September 2022. (Royal Thai Fleet)





หน่วยเรือฝึกผสม KAKADU 2022 โดย เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมการฝึกผสม KAKADU 2022 ขั้นการฝึกในทะเล (Sea Phase) บริเวณพื้นที่ฝึก Northern Australian Exercise Area เมืองดาร์วิน เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ ก.ย.๖๕ 
โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงการฝึก คือ

การฝึก FIT PHASE (FLEET INTEGRATION TRAINING) ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๐ ก.ย.๖๕ เป็นการฝึกการปฏิบัติการร่วมกัน และ สร้างความคุ้นเคย ระหว่างกำลังในหน่วยฝึกให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ร่วมกัน 
หัวข้อการฝึก ได้แก่ การฝึกปราบเรือดำน้ำ การฝึกการป้องกันภัยทางอากาศ การฝึกการแปรกระบวน ฝึกยิงอาวุธประจำเรือ การฝึกการปฏิบัติการร่วมอากาศยาน การฝึกรบผิวน้ำแบ่งฝ่ายประลองยุทธ์ และการถ่ายภาพกองเรือ 

และช่วงการฝึก FREE PLAY PHASE ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ ก.ย.๖๕ เป็นการฝึกปฏิบัติการในรูปแบบกองเรือปฏิบัติการนานาชาติ ปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ และ รักษาความสงบในภูมิภาค 
อีกทั้งระหว่างการฝึกได้มีการจัดนายทหารสังเกตุการณ์ฝึก (Observer/Sea Rider) ลงในเรือ ทร.ต่างชาติ ที่ร่วมฝึก อีกด้วย โดยมีกำลังที่เข้าร่วมการฝึกมีเรือรบกว่า ๑๕ ลำ เรือดำน้ำ ๑ ลำ อากาศยานกว่า ๓๐ เครื่อง และกำลังพลกว่า ๓,๐๐๐ นาย จาก ๒๐ ประเทศ

เรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช สังกัด กองเรือฟริเกตที่๑(1st Frigate Squadron) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022 ณ Darwin ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ขั้นการฝึกในทะเล(Sea Phase) ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๔ กันยายน ๒๕๖๕ บริเวณพื้นที่ฝึก Northern Australian Exercise area(NAXA) นอกชายฝั่งเมือง Darwin ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้ดำเนินการฝึกร่วมกับมิตรประเทศ ๒๐ชาติ ประกอบด้วยเรือมากกว่า ๑๕ลำ และอากาศยานกว่า ๓๐เครื่อง

เรือที่เข้าร่วมการฝึกผสม Kakadu 2022 รวมถึงเช่น กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) เรือพิฆาตชั้น Hobart เรือพิฆาต DDG39 HMAS Hobart เรือฟริเกตชั้น Anzac เรือฟริเกต FFH157 HMAS Perth เรือตรวจการณ์ชั้น Armidale ACPB90 HMAS Broome และเรือส่งกำลังบำรุงชั้น Supply เรือส่งกำลังบำรุง A304 HMAS Stalwart, 
กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เรือ Littoral Combat Ship ชั้น Independence LCS-18 USS Charleston, กองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, Marine Nationale) เรือฟริเกตชั้น Floréal เรือฟริเกต F734 Vendémiaire, 

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) เรือพิฆาตชั้น Murasame เรือพิฆาต DD-104 JS Kirisame, กองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) เรือฟริเกตชั้น Shivalik เรือฟริเกต F48 INS Satpura, กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) เรือฟริเกตชั้น Lekiu เรือฟริเกต FFG30 KD Lekiu,
กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) เรือฟริเกตชั้น Formidable เรือฟริเกต RSS Steadfast (70) และกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) เรือฟริเกตชั้น Martadinata เรือฟริเกต KRI Raden Eddy Martadinata (331)

ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทย ได้ทำการฝึกหลายอย่างระหว่างการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/kakadu-2022.html) รวมถึงการฝึกปราบเรือดำน้ำด้วย torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mark 54 ในแท่นยิงสามท่อยิงขนาด 324mm แบบ SEA,
การฝึกยิงปืนเรือ OTO Melara 76mm/62cal Super Rapid, การป้องกันภัยทางอากาศ, การแปรกระบวนเรือ, การปฏิบัติการร่วมอากาศยาน, การรบผิวน้ำแบ่งฝ่ายประลองยุทธ์ และการถ่ายภาพกองเรือ เป็นการอวดธงเพื่อแสดงศักยภาพของกองทัพเรือไทยแก่มิตรประเทศนานาชาติครั้งล่าสุดครับ