วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินฝึกใบพัด บ.ทอ.๖ กองทัพอากาศไทย

RTAF.6 Domestic Trainer Pre-Production3(unknown owner)

Commissioned Ceremony RTAF.6 Domestic Trainer developed by Directorate of Aeronautical Engineering, Royal Thai Air Force, 16 August 2017

RTAF.6 Domestic Trainer Pre-Production1 and Pre-Production2 Flight Tested 6 Febuary 2017

กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินกองทัพอากาศแบบที่๖ หรือ บ.ทอ.๖ ในสายการผลิตชุดแรกจำนวน ๓เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
โดยผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศไทยได้ร่วมพิธี ณ อาคารหน่วยบิน ๒๐๓๔ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยแยก(เฮลิคอปเตอร์ค้นหากู้ภัย)ที่ กองบิน๖ ดอนเมือง

กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีเปิดสายการผลิต บ.ทอ.๖ ระยะที่๑ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ กรมช่างอากาศ บางซื่อ โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น เป็นประธาน
โครงการระยะที่๑ ดำเนินการช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ เพื่อทำการผลิต บ.ทอ.๖ ชุดต้นแบบก่อนสายการผลิต(Pre-Production)จำนวน ๓ เครื่อง โดยจะมีการดำเนินการโครงการผูกพันต่อเนื่อง ๖ปี วงเงิน ๓,๔๐๐ล้านบาท ในสายการผลิต บ.ทอ.๖ ทั้งหมดรวมจำนวน ๒๕เครื่อง

บ.ทอ.๖ เป็นเครื่องบินใบพัดเครื่องยนต์ Turboprop ที่มีพื้นฐานมาจาก บ.ชอ.๒ ที่ทำวิศวกรรมย้อนกลับจาก บ.ฝ.๑๕ SF.260MT ซึ่งทำการบินในปี ๒๕๕๐
ทั้งนี้ก็หวังว่าการนำเครื่องบินฝึกใบพัด บ.ทอ.๖ ชุดแรก ๓เครื่องเข้าประจำการของกองทัพอากาศไทย จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญของการพัฒนาอากาศยานของกองทัพอากาศไทยในอนาคตต่อไปครับ

Elbit อิสราเอลจะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 ให้ลูกค้าที่น่าจะเป็นไทย และเสนอขาย F-16A/B พร้อมชุดปรับปรุง

Elbit wins Asia-Pacific F-5 upgrade work
Elbit Systems has won a $93 million contract from an undisclosed customer in the Asia-Pacific region for the upgrade of its Northrop F-5 fighters.
https://www.flightglobal.com/news/articles/elbit-wins-asia-pacific-f-5-upgrade-work-440656/

Royal Thai Air Force's F-5E Tigris upgraded by Elbit Systems Israel(https://www.facebook.com/rach2511)

บริษัท Elbit Systems อิสราเอลได้ชนะในการรับสัญญาวงเงิน $93 million จากลูกค้าที่ไม่เปิดเผยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคสำหรับการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5 สหรัฐฯ
การดำเนินงานของ Elbit อิสราเอลในช่วงระยะเวลา ๓ปีสำหรับการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินขับไล่ F-5 ด้วยการติดตั้งระบบใหม่เป็นจำนวนมาก
เช่น จอแสดงผลตรงหน้า(HUD: Head-Up Displays), ห้องนักบินแบบ Glass Cockpit, ระบบ Avionics และ Radars ใหม่, ระบบนำร่องใหม่ และระบบอาวุธใหม่ พร้อมหมวกนักบินติดจอแสดงผล(HMD: Head Mounted Display Systems) แบบ DASH IV ใหม่

Yoram Shmuely ผู้จัดการทั่วไปของแผนกอากาศยาน Elbit Systems กล่าวว่า
"เรามีความภูมิใจที่ได้รับเลือกเพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงนี้ ที่สร้างบนองค์ความรู้อันมากมาย และประสบการณ์ในหลายโครงการปรับปรุงความทันสมัยของ F-5
เราได้รับรู้ความต้องการที่เติบโตขึ้นสำหรับการปรับปรุงที่คล้ายกัน และเราเชื่อว่าลูกค้ารายอื่นจะดำเนินตามประโยชน์จากการปรับปรุงอากาศยานที่ได้สมบูรณ์แล้วด้วยวิทยาการขึ้นก้าวหน้าสูงสุดในตลาด"

ตามข้อมูลนักวิเคราะห์กำลังอากาศยานปัจจุบันยังมีประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิคหลายประเทศที่ยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5E/F Tiger II
เช่น สาธารณรัฐเกาหลี(เป็นผู้ใช้รายใหญ่สุดในภูมิภาค ๑๓๔เครื่อง),ไต้หวัน(สาธารณรัฐจีน), สิงคโปร์, อินโดนีเซีย(๙เครื่อง) และไทย(๓๔เครื่อง) อาจรวมถึงกองทัพอากาศมาเลเซียที่มีเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่ RF-5E ประจำการที่ฝูงบิน๑๒(12 Squadron) ฐานทัพอากาศ Butterworth
อีกทั้งในเดือนพฤษภาคม 2017 มีรายงานว่ากองทัพอากาศประชาชนเวียดนามกำลังพิจารณาแนวทางการปรับปรุงคืนสภาพเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ที่ประจำการมาตั้งแต่หลังการวมชาติเวียตนาม(1975) บางเครื่องให้กลับมาประจำการได้ใหม่ด้วย

ทั้งนี้เป็นที่น่าเชื่อว่าประเทศลูกค้าที่ไม่เป็นที่เปิดเผยของ Elbit อิสราเอลในการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5E/F คือกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของชุดแบบแผนการปรับปรุงของบริษัทมายาวนาน
โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) Elbit Systems อิสราเอลได้รับสัญญาวงเงิน $85 million ในการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ให้กับลูกค้าประเทศเอเชียที่ไม่เป็นที่เปิดเผย ซึ่งน่าเชื่อว่าคือกองทัพอากาศไทยเช่นกัน
ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้เปิดเผยข้อมูลชี้แจงรายละเอียดโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ ข/ค F-5E/F Super Tigris จำนวน ๑๔เครื่องของ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เมื่อต้นเดือนสิงหาคมตามที่ได้รายงานไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/f-5-super-tigris.html)

Israel to sell F-16As with upgrade package
Normally fierce rivals, Elbit Systems and Israel Aerospace Industries are co-operating on an upgrade package for elderly Lockheed Martin F-16As.
https://www.flightglobal.com/news/articles/israel-to-sell-f-16as-with-upgrade-package-440657/

Israeli Air Force F-16A Netz '243', aircraft flown by Colonel Ilan Ramon in Operation Opera. This was the eighth and last to drop its bombs onto the reactor. CIAF, Brno-Turany, 2004.(wikipedia.org)

Israeli Air Force F-16A Netz 107 with 6.5 killing marks of other aircraft and one killing mark of Iraqi nuclear reactor, a world record for an F-16(wikipedia.org)

Israeli Air Force General Dynamics F-16B Netz (401)(wikipedia.org)

สองบริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงอิสราเอลที่ปกติเป็นคู่แข่งขันกันโดยตรงคือ Elbit Systems และ Israel Aerospace Industries ได้ร่วมมือกันในการเสนอขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16A/B เก่าที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอิสราเอลพร้อมชุดการปรับปรุงให้ลูกค้าต่างประเทศ
เครื่องบินขับไล่ F-16A/B Netz(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'เหยี่ยว') ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1980 และพึ่งจะปลดประจำการไปในปี 2016 จำนวน 40เครื่องนั้น
อิสราเอลกำลังมองหาทางในการขายเครื่องบินขับไล่ F-16A/B มือสองเหล่านี้พร้อมกับการปรับปรุงความทันสมัยอย่างมากโดยหุ้นส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคง

แม้จะยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับปรุงดังกล่าวเปิดเผยออกมาขณะนี้ แต่ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศอิสราเอลเพิ่งจะดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Barak(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'ฟ้าแลบ') ภายใต้โครงการ Barak 2020
โครงการปรับปรุง F-16C/D Barak 2020 ได้รับการปรับปรุงระบบ Avionic และ Mission Computer รุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างอากาศยานเพื่อยืดอายุการใช้งาน
อย่างไรก็ตามการปรับปรุงความทันสมัยของ F-16A/B มือสองของอิสราเอลนั้นจะดำเนินการต่อเมื่อได้รับการลงนามสัญญาจัดหาจากลูกค้าแล้วเท่านั้น

กองทัพอากาศอิสราเอลเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกๆของเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 10 สหรัฐฯ(เดิมพัฒนาโดย General Dynamics ก่อนถูก Lockheed Martin ซื้อกิจการในภาคอากาศยาน) ในโครงการ Peace Marble I
โดยหนึ่งในปฏิบัติการทางอากาศที่สร้างชื่อเสียงให้กับกองทัพอากาศอิสราเอลมากที่สุดคือ ยุทธการ Opera เมื่อ 7 มิถุนายน 1981 ที่เครื่องบินขับไล่ F-15A/B Baz(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'เหยี่ยวนกเขา') คุ้มกัน F-16A/B Netz 8เครื่องโจมตีทำลายการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Osirak ของอิรัก
ต่อมาหลังจากที่กองทัพอากาศอิสราเอลได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 30 ในปี 1987, F-16C/D Block 40 ในปี 1991 และ F-16I Sufa(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'พายุ') ในปี 2004 F-16A/B Netz ก็ถูกใช้เพื่อการฝึกในฐานะข้าศึกสมมุติ(Aggressor) จนกระทั่งปลดประจำการครับ

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ออสเตรียตัด Airbus Helicopters ออกจากโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่

Austria’s rift with Airbus hampers helicopter acquisition
Due to the legal dispute with Airbus over the Typhoon acquisition, Vienna is trying to exclude Airbus Helicopters from bidding for its new multirole helicopter. Source: Georg Mader
http://www.janes.com/article/73357/austria-s-rift-with-airbus-hampers-helicopter-acquisition

เมื่อ 21 สิงหาคม กระทรวงกลาโหมออสเตรียได้ส่งเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ต่อบริษัทผู้ผลิตสำหรับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ขนาดเบาสองเครื่องยนต์ใหม่ 12เครื่อง โดยมีกำหนดเส้นตายในวันที่ 26 กันยายน
งบประมาณวางแผนไว้สำหรับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่ที่ล่าช้ามายาวนานนี้ถูกตั้งไว้ที่วงเงิน 30-50 million Euros($35-59 million)

RFI ได้ถูกจัดส่งไปยัง Leonado อิตาลีสำหรับ AW109 Trekker ที่ติดตั้งฐานจอดแบบขา Ski, Bell-Textron สหรัฐฯสำหรับ Bell 429 รุ่นทางทหารในทางเดียวกับ NorthStar Bell 407MRH สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรนตส์(UAE) และ Airbus Helicopters สำหรับทั้ง H135M หรือ H145M
กองยุทธภัณฑ์อากาศกระทรวงกลาโหมออสเตรียได้ยืนยันกับ Jane's ถึงความต้องการเฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์ที่มีการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน(IFR: Instrument Flight Rule)แบบเต็มอัตรา และสามารถติดตั้งอาวุธได้

ขณะนี้กระทรวงกลาโหมออสเตรียได้ตัดสินใจตัด Airbus Helicopters ออกจากโครงการแข่งขันก่อนหน้าแล้ว เมื่อ 22 สิงหาคม Stefan Hirsch โฆษกทางการเมืองของ Hanspeter Doskozil รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรียที่ได้กล่าวต่อสื่อของออสเตรียว่า
"มันเป็นเพียงเรื่องปกติที่ว่า เราไม่ต้องการจะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ใดๆกับผู้ที่เรามีข้อพิพาททางกฎหมายด้วย...และในมุมมองของเรา Airbus โกงเรา"

โฆษก Hirsch ได้อ้างถึงการฟ้องร้องโดยกระทรวงกลาโหมออสเตรียและกระทรวงการคลังออสเตรียต่อบริษัท Airbus และ Tom Enders ผู้อำนวยการบริหาร Airbus เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับการ"ฉ้อโกงและหลอกหลวง" ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ของกองทัพอากาศออสเตรียในปี 2002-2007
การฟ้องร้องทางคดีที่มีมูลค่าถึง 1.1 million Euros กล่าวอ้างถึงความล่าช้าในการส่งมอบ, ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการที่สูงเกินไป และความล้มเหลวในการจำแนกราคาของการชดเชยร้อยละ200 ที่มีนับตั้งแต่สัญญามีการบรรลุผล(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/airbus-eurofighter-typhoon.html)

และด้วยเหตุดังกล่าวรัฐบาลออสเตรียจึงมีแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon Tranche 1 จำนวน 15เครื่องที่ประจำการในกองทัพอากาศออสเตรียปัจจุบันภายในปี 2020
ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงสมรรถนะสูงใหม่ที่มีความประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการมากกว่ามาทดแทนในอนาคตครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/eurofighter-typhoon-2020.html)

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รัสเซียเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-87 และเรือเร็วโจมตี BK-16

Army-2017: VPK showcases BTR-87 APC





VPK unveiled the BTR-87 APC at Army-2017. Source: Nikolai Novichkov
http://www.janes.com/article/73305/army-2017-vpk-showcases-btr-87-apc

Army-2017: Kalashnikov unveils BK-16 fast attack craft
Kalashnikov unveiled the BK-16 fast attack craft at Army-2017. (Nikolai Novichkov)
http://www.janes.com/article/73371/army-2017-kalashnikov-unveils-bk-16-fast-attack-craft

Foreign customers mull buying Russian amphibious assault boats
Kalashnikov Group CEO earlier told TASS that the company expected to sign several contracts this year for the delivery of boats to foreign customers
http://tass.com/defense/961892

Military Industrial Company หรือ VPK รัสเซียได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล 8x8 BTR-87 APC(Armoured Personnel Carrier) ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารและเทคนิคนานาชาติ Army-2017 ที่ Patriot Park นอก Moscow ระหว่างวันที่ 22-27 สิงหาคมที่ผ่านมา
ยานเกราะล้อยาง BTR-87 ที่นำมาจัดแสดงมีคุณสมบัติคือพื้นที่ด้านรถจะเป็นห้องติดตั้งชุดเครื่องยนต์โดยมีห้องบรรทุกกำลังพลที่ด้านหลังรถ ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนามาจากยานเกราะล้อยาง BTR-82A 8x8 ที่พัฒนาโดย VPK เช่นกัน

BTR-87 ถูกออกแบบมาเพื่อลำเลียงและสนับสนุนหมู่ปืนเล็กยานยนต์(ทหารราบยานยนต์)ในสนามรบ ระบบอาวุธของรถที่มีปืนใหญ่กล 30mm, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Kornet สามารถโจมตีเป้าหมายผิวบาง, รถหุ้มเกราะ, เรือผิวน้ำขนาดเล็ก และทหารได้
เกราะกันกระสุนของรถสามารถปกป้องกำลังพลได้จากอาวุธปืนเล็กและสะเก็ดระเบิด อีกทั้งยังสามารถติดตั้งระบบป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ และเคมี(NBC: Nuclear, Biological and Chemical) เพิ่มเติมได้

ตามข้อมูลของ VPK BTR-87 เป็นยานยนต์ 8x8 สะเทินน้ำสะเทินบกสี่แกน มีน้ำหนักพร้อมรบ 16tons มีพลประจำรถ 2นาย และบรรทุกกำลังพลไปกับรถได้ 8นาย ระบบขับเคลื่อนใช้เครื่องยนต์ดีเซล YaMZ-53602 312HP อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก 19.26hp/t
ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 90km/h และทำความเร็วขณะลอยตัวในน้ไได้ 10km/h ระบบชุดขับเคลื่อนที่ผสมระหว่างชุดระบบส่งกำลัง mechanical gearbox นั้นสามารถเปลี่ยนเป็นระบบส่งกำลังอัตโนมัติได้ครับ

หลังจากการเข้าซื้อกิจการของอู่ต่อเรือ Rybinsk Shipyard โดย Kalashnikov Group ผู้ผลิตอาวุธปืนรายใหญ่ของรัสเซีย ก็ได้ขยายกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ของตน ด้วยการเปิดตัวเรือเร็วโจมตี BK-16 FAC(Fast Attack Craft) ในในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Army-2017
เรือเร็ว BK-16 ถูกออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติการไกลฝั่ง, ขนส่งกำลังพล, ยิงสนับสนุน, ภารกิจต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดและต่อต้านการก่อการร้าย และปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย

เรือเร็วโจมตี BK-16 มีระวางขับน้ำเต็มอัตรา 19.5tons ตัวเรือยาว 16.45m กว้าง 4m และกินน้ำลึก 0.87m มีความสูงเหนือเส้นแนวน้ำ 4.33m กำลังพลประจำเรือ 2นาย และบรรทุกทหารไปกับเรือได้ 19นาย BK-16 FAC มีพิสัยทำการไกลที่ 400nmi และมีระยะเวลาปฏิบัติการ 1วัน
Kalashnikov Group ยังได้เสนอผลิตภัณฑ์เรือของตนอีกหลายแบบเช่น เรือตรวจการณ์เอนกประสงค์ BK-18 เช่นเดียวกับเรือเร็วจู่โจมความเร็วสูง BK-10 และเรือตรวจการณ์จู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบกความเร็วสูง BK-9

โฆษกของ Kalashnikov Group นาง Sofia Ivanova กล่าวเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมว่า แอฟริกาใต้กำลังพิจารณาจัดหาเรือเร็วโจมตี, ระบายพล และลำเลียงพล 12ลำ ขณะที่อาเจนตินา และฟิลิปปินส์ต้องการจัดหาเรือเร็วโจมตี 10ลำ
"กองทัพแอฟริกาใต้กำลังพิจารณาการจัดซื้อเรือทั้งสองแบบ 12ลำ ขณะที่ฟิลิปปินส์และอาเจนตินาต้องการจัดหาเรือแบบนี้ 10ลำ" โฆษกของ Kalashnikov กล่าว ผู้อำนวยการบริหารของ Kalashnikov Group นาย Alexi Krivoruchko กล่าวก่อนหน้านี้ว่า บริษัทคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหาหลายฉบับในปีนี้เพื่อการส่งมอบเรือให้ลูกค้าต่างประเทศหลายลำครับ

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สิงคโปร์จัดหา Radar ค้นหาเป้าหมายต่อต้านการยิง AN/TPQ-53 สหรัฐฯ

Singapore acquires AN/TPQ-53 counter-fire target acquisition radars
Singapore has acquired six Lockheed Martin AN/TPQ-53 counter-fire radar systems under the US Foreign Military Sales programme. (Lockheed Martin)
http://www.janes.com/article/73337/singapore-acquires-an-tpq-53-counter-fire-target-acquisition-radars

รัฐบาลสหรัฐฯได้ลงนามสัญญาจัดหากับบริษัท Lockheed Martin วงเงิน $63 million ราคาคงที่ในการสนับสนุนการขายแบบ Foreign Military Sales(FMS) เพื่อการจัดหา Radar ค้นหาเป้าหมายต่อต้านการยิง AN/TPQ-53 จำนวน 6ระบบแก่สิงคโปร์
ตามที่เอกสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯที่ถูกวิเคราะห์สรุปโดย Jane's เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา

สัญญาซึ่งมีการลงนามไปตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2017 ได้รวมตัวเลือกที่จะนำวงเงินสะสมของการสั่งจัดหาเพิ่มเป็น $81 million ถ้าได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลสิงคโปร์ การดำเนินงานเกี่ยวกับระบบ Radar คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2019
โดยสนามภาคพื้นดินพิสูจน์ทราบ Aberdeen-กองบัญชาการการทำสัญญากองทัพบกสหรัฐฯ(ACC-APG: US Army Contracting Command-Aberdeen Proving Ground) ในมลรัฐ Maryland จะดำเนินทำหน้าที่การทดสอบตามสัญญา

"การจัดหา Radar ค้นหาอาวุธ AN/TPQ-53 เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพสิงคโปร์(Singapore Army)" พันเอก Lim Wei Lian หัวหน้าเจ้าหน้าที่การบูรณาการระบบกล่าวในการแถลงเพื่อตอบคำถามจาก Jane's เมื่อ 25 สิงหาคม
เขายังได้เปิดเผยอีกว่า Radar ใหม่นี้จะถูกนำมาทดแทนระบบ Radar ค้นหาเป้าหมายแบบ AN/TPQ-36 และ AN/TPQ-37 ที่กองทัพบกสิงคโปร์มีประจำการในปัจจุบัน

"Radar ใหม่จะถูกนำมาปฏิบัติการโดยทหารปืนใหญ่สิงคโปร์และจะเพิ่มพูนการป้องกันสำหรับกองกำลังของเราผ่านการตรวจจับที่ดีขึ้นต่อการยิงจรวด, ปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิดของข้าศึก
พวกมันยังจะถูกใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิงปืนใหญ่ของเราด้วย" พันเอก Lim เสริม

AN/TPQ-53 เป็นระบบ Solid-State AESA(Active Electronically Scanned Array) Radar ที่ทำงานในย่านความถี่ S-Band(2GHz-4GHz)
Radar ถูกออกแบบให้สามารถตรวจจับ, ระบุ, ติดตาม และกำหนดจุดยิงที่มาจากกระสุนปืนใหญ่, ลูกระเบิดเครื่องยิงลูกระเบิด และจรวด ในพื้นที่มากกว่า 90องศา หรือเต็มมุมทิศ 360องศาครับ

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH กองทัพอากาศไทยทำการบินครั้งแรก

Royal Thai Air Force's first T-50TH Lead-In Fighter Trainer serial 40101, 401st Squadron, Wing 4, aircraft first flight at Korea Aerospace Industries facility, 10 August 2017

T-50TH First Flight!
T-50TH แห่งกองทัพอากาศไทย ทำการบินครั้งแรกเหนือน่านฟ้าเกาหลี...มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศกันนะครับ
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1760204314009151

T-50TH 40101 Royal Thai Air Force in KAI factory
http://www.edaily.co.kr/news/newsRead.edy?SCD=JA31&DCD=A00103&newsid=01266086616030928

ภาพที่เผยแพร่ใน Page Facebook ของกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force)ได้แสดงถึงการทดสอบทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ KAI T-50TH ของกองทัพอากาศไทย ที่โรงงานอากาศยาน Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี
โดยภาพที่ปรากฎชัดเจนว่า T-50TH เครื่องแรกของกองทัพอากาศไทยมีหมายเลขเครื่อง 40101 ซึ่งเป็นเครื่องแรกของ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี โดยจากข้อมูลในแผ่นป้ายในภาพระบุว่าเป็นเครื่องส่งออกของกองทัพอากาศไทย ทำการบินเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

ก่อนหน้านี้มีภาพเผยแพร่ออกมาไม่มากถึงสายการผลิตของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ในโรงงานของ KAI เช่นการฝึกการดับเพลิงร่วม เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายนตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/t-50th.html)
และรายงานประกอบข่าวซึ่งแสดงการผลิต T-50TH หมายเลข 40101 แพนหางดิ่งมีรูปมังกรเพลิงฝูงบิน๔๐๑ ซึ่งยังไม่ติดตั้งเครื่องยนต์ในโรงงาน KAI โดยมีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป KAI KUH-1 Surion อยู่เบื้องหลัง

กองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
การทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH เครื่องแรก(40101) น่าจะแสสดงถึงว่าเครื่องชุดแรกที่สั่งจัดหาไป ๔เครื่องจะมีการส่งมอบได้ตามกำหนดภายในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมไทยได้ส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีไทยอนุมัติการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงินประมาณ ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) คาดว่าจะมีการลงนามสัญญากับ KAI ภายหลังในเร็วๆนี้
โดยกองทัพอากาศไทยมีความต้องการ T-50TH ในระยะที่๓ อีก ๔เครื่องเพื่อให้ครบฝูงรวม ๑๖เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART เชคที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ที่หมดอายุการใช้งานและส่วนหนึ่งได้ปลดประจำการลงแล้ว

ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยได้ส่งนายทหารนักบินชุดแรก ๖นาย พร้อมช่างอากาศยานและเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมการบิน TAI(Thai Aviation Industries) รวม ๔๐นาย
เข้ารับการฝึกและถ่ายทอด Technology ที่สาธารณรัฐเกาหลีระหว่างวันที่ ๒๑ พฤษภาคม-๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ทั้งในส่วนของบริษัท KAI และกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Air Force) ครับ

Kalashnikov รัสเซียเปิดตัวปืนซุ่มยิง SVCh ตระกูลใหม่

SVCh – Chukavin designated marksman rifle
Kalashnikov group will present a new line of SVCh rifles in different calibers at the Army-2017 International Military-Technical Forum. According to company's experts, SVCh is the future of Russian precision firearms.


SVCh .338 Lapua Magnum(8.6x69mm) Sniper rifle for engage individual targets in long range with Semi-Automatic fire



SVCh 7.62x54R Sniper rifle for Russia Armed Forces can be use 10-round Magazine same SVDM Sniper Rifle

SVCh 7.62x51mm NATO Sniper rifle  aim for Export

https://rg.ru/2017/08/23/novuiu-rossijskuiu-snajperskuiu-vintovku-svch-predstavili-na-armii-2017.html
https://twitter.com/Russian_Defence


Kalashnikov group ผู้ออกแบบและผลิตอาวุธปืนรายใหญ่ของรัสเซียในเครือ Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซีย ได้เปิดตัวปืนเล็กยาวซุ่มยิงตระกูลใหม่ของตนคือ SVCh(Snayperskaya Vintovka Chukavina) หรือปืนเล็กยาวพลแม่นปืน Chukavin
โดย Kalashnikov ได้จัดแสดงเปิดตัวปืนซุ่มยิง SVCh ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารและเทคนิคนานาชาติ Army-2017 ที่ Patriot Park นอก Moscow ระหว่างวันที่ 22-27 สิงหาคม

ปืนเล็กยาวซุ่มยิง SVCh หรือเดิมที่รู้จักในชื่อ SVK ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งหวังจะนำเสนอในการทดแทนปืนเล็กยาวซุ่มยิง Dragunov SVD อย่างปืนซุ่มยิง SVDM ที่เป็นอาวุธประจำกายมาตรฐานของนักแม่นปืนในหน่วยทหารของกองทัพรัสเซีย
รวมถึงเพื่อเสนอการส่งออกขายให้กับกองทัพประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีปืนเล็กยาว SVD ใช้งานอยู่เดิม หรือต้องการจะจัดหาปืนเล็กยาวซุ่มยิงแบบใหม่ตามความต้องการของตน

ปืนซุ่มยิง SVCh ถูกออกแบบใหม่ให้เป็นปืนเล็กยาวตามแนวคิด Modular โดยมีราง Picatinnay ยาวตลอดบนด้านบนตัวปืนสำหรับติดตั้งกล้องเล็งและอุปกรณ์เสริม เช่น กล้องมองกล้องคืนได้ตามความต้องการ
ด้านล่างของกระโจมมือด้านหน้าติดตั้งขาทรายสำหรับการเพื่อตั้งเล็งปืนได้มั่นคงขึ้น รวมถึงพานท้ายแบบตรึงซึ่งสามารถพับเก็บไปด้านข้างเพื่อลดความยาวรวมปืน และปรับระดับความยาวยืดหดได้

SVCh เป็นปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติทำงานด้วยระบบแก๊ซลูกสูบช่วงชักสั้นโดยมีตัวปรับระดับแรงดันแก๊ซด้วยมือซึ่งทำงานด้วยตัวลูกเลื่อนแบบกลิ้งหมุนกลับ
การทำงานของชุดลูกเลื่อนเคลื่อนที่จากส่วนโครงปืนส่วนบนแบบเหล็กกล้ารูปตัว U กลับด้าน ซึ่งจะทำงานตลอดความยาวของลำกล้องปืน ซึ่งสามารถติดท่อเก็บเสียงที่ปากกระบอกปืนได้

ขณะที่ปืนซุ่มยิง SVDM มีความยาวตัวปืน 1155mm แต่ปืนซุ่มยิง SVCh มีความยาวตัวปืนเมื่อกางพานท้ายแล้วเพียง 995-1015mm(ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น)
โดยความยาวลำกล้องปืนของ SVDM คือ 550mm แต่ SVCh จะอยู่ที่ 410mm โดยสามารถเปลี่ยนเป็นลำกล้องความยาว 460mm หรือ 565mm ได้

ปืนซุ่มยิง SVCh รุ่นมาตรฐานสำหรับกองทัพรัสเซียจะใช้กระสุนขนาด 7.62x54mmR ซึ่ง SVCh สามารถใช้ซองกระสุนความจุ 10นัดแบบเดียวร่วมกับ SVDM ได้ และยังมีซองกระสุนแบบใหม่ความจุสูงขนาด 15นัด และ 20นัดให้เลือกใช้ด้วย
ทั้งนี้ปืนซุ่มยิง SVCh ยังมีรุ่นที่ใช้กระสุนขนาด 7.62x51mm NATO พร้อมซองกระสุนความจุ 20นัดสำหรับส่งออก และรุ่นกระสุนขนาด .338 Lapua Magnum(8.6x69mm) ในซองกระสุนความจุ 10นัด ที่กำลังเป็นที่นิยมในกองทัพรัสเซียและหลายประเทศ

ปืนซุ่มยิง SVCh ถูกออกแบบให้สามารถยิงเป้าหมายบุคคลได้ถึงระยะ 1,500m ขึ้นอยู่กับชนิดกระสุน โดยมีความแม่นยำไม่น้อยกว่า 1 MOA ในระยะ 100m
โดยน้ำหนักรวมของตัวปืน SVDM จะอยู่ที่ 5.3kg แต่ SVCh ร่นกระสุนขนาด 7.62x54R และ 7.62x51mm พร้อมซองกระสุนเปล่าจะหนักเพียง 4.2kg เท่านั้น ส่วนกระสุนขนาด .338 ตัวปืนพร้อมซองกระสุนเปล่าจะหนัก 6.3kg ครับ

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รัสเซียจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ในปี 2025 และเริ่มพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่6

Russia to start building new aircraft carrier by 2025
The Russian Navy earlier said that it intended to get a perspective aircraft carrier with a nuclear-powered propulsion unit by late 2030
http://tass.com/defense/961820

การสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่สำหรับกองทัพเรือรัสเซียมีแผนจะเริ่มต้นในปี 2025 ตามที่รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Yuri Borisov กล่าวเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
"ผมสามารถยืนยันว่าแผนโครงการยุทโธปกรณ์รัฐที่วางไว้ในส่วนของโครงการนี้จะเสร็จในปี 2025 เพื่อเริ่มสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ และพัฒนาอากาศยานใหม่สำหรับมัน"
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาทางทหารและเทคนิคนานาชาติ Army-2017 ที่จัดที่ Patriot Park นอก Moscow ระหว่างวันที่ 22-27 สิงหาคม

กองทัพเรือรัสเซียแถลงก่อนหน้านี้ว่ามีความต้องการเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ประจำการภายในปี 2030
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าสัญญาการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินน่าจะลงนามได้ภายในปลายปี 2025
เช่นเดียวกับที่รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียได้กล่าวในงานแสดงการบิน MAKS 2017 ที่สนามบินนานาชาติ Zhukovsky นครหลวง Moscow รัสเซียระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า

กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้มีการหารือกับผู้รับสัญญาในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอากาศยานรัสเซียเพื่อพัฒนาอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินในอนาคต
เครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing Figther) คาดว่าจะเป็นการพัฒนาเพิ่มเติมจากตระกูลอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งที่สร้างโดยบริษัท Yakolev เช่น เครื่องบินขับไล่ Yak-141(NATO กำหนดรหัส Freestyle)
ตามที่ Yuri Slyusar ประธาน United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียกล่าว บริษัท UAC ยังไม่ได้รับการมอบหมายทางเทคนิคใดๆสำหรับอากาศยานแบบดังกล่าวครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vtol.html)

Russia launches work to develop sixth-generation fighter jet
The new military aircraft will be able to develop hypersonic speed
http://tass.com/defense/961784

Russia’s 6th-generation warplane to serve as transition to unmanned aircraft — commander
Military aircraft developers are currently preparing scientific and technical groundwork for developing the sixth-generation fighter jet
http://tass.com/defense/961860

กลุ่มผู้พัฒนาอากาศยานทหารกำลังสร้างรากฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคสำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ตามที่รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้ารัสเซีย Denis Manturov กล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
"การพิจารณาประสบการณ์ที่สั่งสม กลุ่มนักพัฒนาชั้นนำเราของอุตสาหกรรมอากาศยานทหารได้พร้อมการเตรียมงานรากฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคในกรอบของอุปกรณ์ประจำเครื่องและระบบควบคุมอาวุธปล่อยทางอากาศเพื่อพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า" Manturov กล่าว
เขากล่าวว่าปัจจุบันรัสเซียได้เสร็จสิ้นการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi Su-57 และกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการทดสอบภายใต้โครงการ PAK FA

Vladimir Mikheyev ที่ปรึกษารองประธานบริหารของ Radio-Electronic Technologies Group รัสเซียได้กล่าวกับ TASS ก่อนหน้านี้ว่า
เครื่องบินขับไล่ยุคที่6จะถูกพัฒนาทั้งแบบมีนักบินบังคับและแบบไร้คนขับ สามารถทำความเร็วเหนือเสียง Hypersonic และจะติดตั้งปืนแม่เหล็กไฟฟ้า, ระบบป้องกันตัวอาวุธลำแสง Laser และ Radio-Photonic Radar
(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/6-laser-microwave-photonic-radar.html)

พลอากาศโทพิเศษ(Colonel General) Viktor Bondarev ผู้บัญชาการกองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ TV Zvezda เมื่อ 24 สิงหาคมว่า เครื่องบินขับไล่ยุคที่6จะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากอากาศยานมีคนขับเป็นอากาศยานไร้คนขับ
"มันจะเป็นอย่างไร มีคนขับหรือไม่มีคนขับ? ผมเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ยืนยันเรื่องนี้และผมคิดว่านี่จะเป็นการเปลี่ยนผ่านแนวคิดอากาศยาน เราอาจจะเริ่มกับแบบมีนักบินยังคับและจากนั้นเปลี่ยนไปเป็นรุ่นไร้นักบิน
แต่ผมคิดว่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 จะเป็นอากาศยานแบบสุดท้ายที่มีนักบินประจำจริงๆในสภาพแวดล้อมทางอากาศ ร่วมกับระบบและดำเนินภารกิจพื้นฐาน" ผบ.กองทัพอากาศรัสเซียกล่าว

"เครื่องบินยุคที่6 ไม่ควรจะมีเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นอย่างเดียว เครื่องบินยุคที่6 ควรจะมีอยู่ในทุกเหล่า เครื่องบินโจมตี เครื่องบินลำเลียงทางทหาร เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกล ขณะที่เฮลิคอปเตอร์จะยังอยู่ในยุคที่6ในเวลาของมัน"
นายพล Bondarev กล่าว เขาเสริมว่าผู้ปฏิบัติงานของอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) จะประเมินผลให้สามารถปฏิบัติการอากาศยานหลายเครื่องได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้ารัสเซีย Denis Manturov กล่าวในข้างต้นว่างานพัฒนารากฐานของเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 และพม่าสนใจจัดหา MiG-35

Indonesia may buy Russia’s advanced Su-35 fighter jets
Su-35 fighter jet
Contractual negotiations are expected to begin, according to the press office of Russia’s state hi-tech corporation Rostec
http://tass.com/defense/961547

Indonesia clinches delivery contract for Russian Su-35 fighter jets
The Indonesian defense minister is set to invite a Russian representative to sign the contract
http://tass.com/defense/961600

Indonesia outlines details of Su-35 offset programme
http://www.janes.com/article/73295/indonesia-outlines-details-of-su-35-offset-programme

อินโดนีเซียมีความต้องการจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) 11เครื่องจากรัสเซีย แต่ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีการสรุปสัญญาที่เกี่ยวข้อง ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
"ข้อเสนอทางการค้าได้อยู่ในมือแล้ว การเจรจาทางสัญญากำลังคาดว่าจะเริ่มต้นในการจัดหาประมาณ 11เครื่อง" ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Rostec กล่าว
นาย Wahid Supriyadi ทูตอินโดนีเซียประจำรัสเซียได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าแต่ละฝ่ายได้เห็นชอบในรายละเอียดทั้งหมดของสัญญาสำหรับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35

ทางด้านกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงการการค้าต่างตอบแทนและและการค้าชดเชยกับรัสเซียเพื่อสนับสนุนแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 จำนวน 11เครื่อง
เอกสารประชาสัมพันธ์ที่ออกมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยืนยันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 วงเงิน $1.14 billion และครึ่งหนึ่งของมูลค่าสัญญาราว $570 million นั้นจะได้รับการลงทุนผ่านทางโครงการการค้าต่างตอบแทน(countertrade)
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเสริมว่า วงเงินเพิ่มเติมอีกร้อยละ35 ราว $400 million จะมีแหล่งที่มาจากโครงการการค้าชดเชย(offset) รัฐบาลอินโดนีเซียจะจ่ายวงเงินที่เหลืออีกประมาณ $170 million แบบเงินสด

รายละเอียดของโครงการการค้าชดเชยยังไม่มีการเปิดเผย แม้ว่า Jane's จะเข้าใจว่านี่จะมีการตั้งศูนย์กลางการบนการอำนวยความสะดวกการถ่ายทอด Technology จากรัสเซีย
เพื่อสนับสนุนปรนนิบัติ, ซ่อมบำรุง และยกเครื่อง(MRO: Maintenance Repair Overhaul) ของ Su-35 ในอินโดนีเซีย ซึ่งงานดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมของรัฐบาลอินโดนีเซียคือ PT Dirgantara
กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ให้รายละะเอียดเพิ่มเติมของสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกให้รัสเซียในฐานะข้อตกลงผูกพันการค้าต่างตอบแทน ตามข้อมูลมีเช่น น้ำมันปาล์ม, ยางพารา, เครื่องจักร, กาแฟ, โกโก้, สิ่งทอ, ชา, รองเท้า, ปลาแปรรูป, เครื่องเรือน, เนื้อมะพร้าวแห้ง, กระดาษ และเครื่องเทศ

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่าจำนวนของผลิตภัณฑ์กลาโหมที่ยังไม่ได้ระบุจะมีการเพิ่มเติมการจะส่งออกไปรัสเซีย แถลงการณ์ได้เพิ่มเติมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในการค้าต่างตอบแทนและการค้าชดเชยที่คาดว่าจะบรรลุผลในอนาคตอันใกล้
ตามที่ได้ลงนามสัญญาไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้ระหว่าง Rostec รัสเซียและ  PT Perusahaan Perdagangan Indonesia(PT PPI) รัฐวิสาหกิจการค้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
สัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 คาดว่าจะมีการลงนามโดยทั้งสองประเทศตามมาภายหลังตามข้อตกลงนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/su-35.html)

ล่าสุดสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 ของอินโดนีเซียได้รับความเห็นชอบอย่างเต็มอัตราแล้วตามที่ Wahid Supriyadi ทูตอินโดนีเซียประจำรัสเซียกล่าวในวันที่ 23 สิงหาคม
"รายละเอียดของสัญญาทั้งหมดได้รับการเห็นชอบแล้ว รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซียมีกำหนดจะเชิญตัวแทนของรัสเซียเพื่อลงนามสัญญา นี่เป็นเรื่องของเวลา"
ทูตอินโดนีเซียกล่าวโดยให้ข้อสังเกตว่าข้อตกลงควรจะมีการสรุปผลได้ก่อนที่จะถึงสิ้นปีนี้

มีรายงานก่อนหน้านี้ว่าอินโดนีเซียต้องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 10เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯที่เก่าและล้าสมัยซึ่งประจำการในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มาตั้งแต่ปี 1980
Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่สร้างโดยรัสเซีย ซึ่งมีความคล่องแคล่วทางการบินสูงสุด ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนตฺปรับทิศทางแรงขับได้ ทำความเร็วได้สูงสุด 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km และรัศมีการรบ 1,600km
ระบบอาวุธของ Su-35 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวร่วม 12จุดแข็ง ซึ่งสามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบครับ

Peru, Myanmar, Bangladesh interested in purchasing MiG-35s
MiG-35 Plane
The talks are currently underway and the MiG aircraft corporation expects them to be successful
http://tass.com/defense/961399

พม่าได้แสดงความสนใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-35 เช่นเดียวกับ เปรู และบังคลาเทศ โดยการเจรจากับตัวแทนของประเทศเหล่านี้กำลังมีขึ้นในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army-2017 ที่ Patriot Park ใน Moscow ระหว่างวันที่ 22-27 สิงหาคม
ตามที่ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทอากาศยาน MiG Corporation นาย Ilya Tarasenko กล่าวในงานเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา

"เราวางแผนเพื่อหารือการส่งมอบเครื่อง MiG-35 เรามีการเจรจาหลายวาระมาก พวกเขาเหล่านั้นเป็นลูกค้าภูมิภาคประจำของเรา ทั้งเครือจักรภพรัฐอิสระ(CIS), กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พม่า, บังคลาเทศ และเปรู" เขากล่าว
นาย Tarasenko ย้ำว่าการเจรจากำลังดำเนินการอยู๋ในขณะนี้และทางบริษัทคาดว่าการเจรจากับประเทศเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จ

กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) ปัจจุบันประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ราว 30เครื่องซึ่งเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย แบ่งเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว MiG-29B 10เครื่อง กับ MiG-29SE 6เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง MiG-29UB 4เครื่อง(สูญเสียไป 1เครื่องในปี 2014)
เช่นเดียวกับกองทัพอากาศบังคลาเทศที่มีเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จากรัสเซีย 8เครื่อง และกองทัพอากาศเปรูที่มีเครื่องบินขับไล่ MiG-29S/SE/SMP/UBP รวม 19เครื่อง

MiG-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน MiG-29K/KUB และเครื่องบินขับไล่ MiG-29M/M2
โดย MiG-35 เครื่องต้นแบบได้เริ่มทำการบินครั้งแรกเมื่อ 26 มกราคม 2017 และเปิดตัวต่อนานาชาติเป็นครั้งแรกเมื่อ 27 มกราคม 2017 ที่ Moscow ตามที่ได้รายงานไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/mig-35.html)

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

NORINCO จีนเปิดตัวรถรบทหารราบ VN17 และระบบป้องกันเชิงรุก GL5 APS บนรถถังหลัก VT4

China’s NORINCO reveals new armoured vehicles, active protection system
The VN-17 heavy IFV has a high level of commonality with the VT-5 light tank. Source: NORINCO
http://www.janes.com/article/73248/china-s-norinco-reveals-new-armoured-vehicles-active-protection-system

NORINCO demonstrates GL5 APS


GL5 countermeasures fired from the platform vehicle to the right hand-side. Source: NORINCO
http://www.janes.com/article/73227/norinco-demonstrates-gl5-aps


NORINCO's VN12 IFV




NORINCO's New IFV based-on Type 59 Tank

China’s North Industries Corporation หรือ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปิดตัวยานเกราะแบบใหม่รวมถึงระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System) ในงาน Norinco Armour Day ที่ Baotou เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ระหว่างวันที่ 15-16 สิงหาคมที่ผ่านมา
ที่มุ่งเป้าไปยังการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของ NORINCO ต่อลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งงานได้มีการเชิญแขกผู้มีเกียรติ 230รายจาก 50ประเทศ และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
ขณะที่ตามปกติ NORINCO จะแสดงผลิตภัณฑ์ของตนในงานแสดงของต่างประเทศ นี่จึงเป็นโอกาสที่หายได้ยากที่รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของจีนจะเปิดการแสดงสาธิตผลิตภัณฑ์ของตนในสนามจริง

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ล่าสุดของบริษัทที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน Norinco Armour Day 2017 คือรถรบทหารราบ VN17 IFV (Infantry Fighting Vehicle) ใหม่
จากการบรรยายระหว่างการสาธิตในงาน VN17 เป็น "ยานเกราะสายพานหนักขนาด 30tons ยุคใหม่แบลล่าสุด ซึ่งมีการป้องกันในระดับเดียวกับรถถัง"
โดย VN17 ได้ใช้ระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อน, ระบบส่งกำลัง, เกราะป้องกัน และระบบข้อมูลสารสนเทศ เช่นเดียวกับรถถังเบา VT5 ของ NORINCO

แต่ไม่เหมือนกับรถถังเบา VT5 ที่ชุดเครื่องยนต์อยู่ด้านหลัง เครื่องยนต์ของรถรบทหารราบ VN17 มีตำแหน่งวางที่ด้านหน้าซ้ายของสถานีพลขับ ซึ่งทำให้รถมีพื้นที่ว่างด้านหลังสำหรับเป็นห้องบรรทุกทหารราบ
รถต้นแบบที่นำมาสาธิตในงานติดตั้งป้องปืนแบบไร้พลประจำป้อมติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-12(Red Arrow 12) 2นัด และกล้อง panoramic electro-optical ด้านบนหลังคารถ
นอกจากนี้รถรบทหารราบ VN12 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของรถรบทหาราบสายพาน Type 04 หรือ ZBD-04 ยังเป็นรถรบอีกแบบที่มีการสาธิตในสนามจริงในงานด้วย

ภาพถ่ายที่ปรากฎจากงานแสดงยังมีรถรบทหาราบสายพานอีกแบบที่ไม่ได้มีการนำมาสาธิตในสนามจริง
ซึ่งรถรบสายพานที่ปรากฎดังกล่าวดูจะมีพื้นฐานมาจากรถแคร่ฐานของรถถังหลัก Type 59 เก่าของจีน จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าน่าเป็นผลิตภัณฑ์ยานเกราะสายพานแบบใหม่ที่มีราคาถูกกว่ารถรบทหาราบ VN17
โดยรถรบสายพานดังกล่าวติดตั้งป้อมปืนแบบเดียวกับที่ติดกับรถรบทหารราบสายพาน VN12 ที่มีระบบอาวุธหลักปืนใหญ่กล 30mm

ในงาน Second Armour Day 2017 NORINCO ยังได้เปิดเผยข้อมูลและการแสดงสาธิตการทำงานจริงของระบบป้องกันเชิงรุก GL5 Active Protection System ด้วย
ระบบ APS แบบ Hard-Kill ที่สาธิตการยิงด้วยกระสุนจริง ได้แสดงถึงว่าการตั้งค่าที่แม่นยำและกระบวนการทำงานของระบบได้รับการยืนยันแล้ว
ซึ่งระบบ GL5 APS ประกอบไปด้วยชุดระบบตรวจจับ Radar และระบบต่อต้านสกัดกั้นแบบลูกระเบิด ที่ถูกออกแบบเพื่อติดตั้งกับรถถังหลัก(MBT: Main Battle Tanks) และรถรบหุ้มเกราะ(AFV: Armoured Fighting Vehicles) แบบต่างๆ

GL5 APS มี Radar ตรวจจับ 4ระบบ ครอบคลุมพื้นที่ระบบละ 90องศาในสี่มุมแต่ละด้านของรถ มีระยะตรวจจับประมาณ 100m และมีมุมยก 20องศา
จากที่ได้เห็นในการติดตั้งกับรถถังหลัก VT4/MBT-3000 ระหว่างการสาธิตยิงด้วยกระสุนจริง ระบบตรวจจับ 2ระบบของ GL5 ถูดติดที่ด้าหน้าของป้อมปืนตรงหลังคา ขณะที่อีกสองระบบถูกติดที่ด้านหลังของป้อมปืน
การทดสอบยิงจริงด้วยจรวดต่อต้านรถถังขนาด 120mm จากระยะ 180m ระบบ GL5 APS ได้ประสบความสำเร็จในการยิงกระสุนระเบิด 2นัดเข้าทำลายจรวดที่ยิงเข้าหาได้

ตามที่ได้รายงานไปก่อนหน้าว่าลูกค้ารายแรกของ NORINCO จีนที่จัดหารถถังหลัก VT4(MBT-300) ไปใช้งานคือกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่ได้มีการเปิดตัวรถชุดแรกในสายการผลิต ๗คันในงาน Norinco Armour Day 2017 นี้ด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/vt4-t-72amt.html)
โดยกองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญาจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๒ อีก ๑๑คัน วงเงินประมาณ ๒พันล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) คาดว่าจะมีการจัดหาระยะที่อีก ๑๐คัน ในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) เพื่อให้ครบกองพัน
เป็นที่เข้าใจว่ารถถังหลัก VT4 เข้าประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ เป็นหน่วยแรก อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่า ถ.หลัก VT4 ของไทยจะมีการติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก GL5 APS มาด้วยหรือไม่ครับ

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มาเลเซียเตรียมปล่อยเรือฟริเกต LCS Gowind ลำแรก KD Maharaja Lela ลงน้ำ

First LCS Gowind Frigate for Royal Malaysian Navy set for August 24th Launch
The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard. Note that the mast is fitted. Picture via @MohdAzzmel

The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard. Picture via @MohdAzzmel

The first LCS Gowind frigate for the RMN out of the construction hall at Lumut shipyard
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/august-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5493-first-lcs-gowind-frigate-for-royal-malaysian-navy-set-for-august-24th-launch.html

กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) Gowind ลำแรก
ที่สร้างโดยอู่เรือ Boustead Heavy Industries Corporation Berhad(BHIC) ที่ Lumut ทางตะวันตกของมาเลเซีย จะมีกำหนดทำพิธีปล่อยเรือลงในวันที่ 24 สิงหาคมนี้

ผู้สังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือบางส่วนได้เผยแพร่ภาพของการก่อสร้างตัวเรือ โดยเรือ LCS Gowind ลำแรกของกองทัพเรือมาเลเซียนี้มีหมายเลขเรือ 2501 ได้รับการตั้งชื่อเรือว่า KD Maharaja Lela
ซึ่งนำชื่อมาจาก Dato Maharaja Lela(เสียชีวิต 20 มกราคม 1877) วีรบุรษแห่งชาติจากรัฐ Perak ซึ่งผู้นำชาตินิยมชาวมาลายูในการต่อต้านการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรที่ปกครองมาเลเซียในเวลานั้น

เมื่อปลายปี 2016 กองทัพเรือมาเลเซียได้จัดทำ Website แบบสำรวจเพื่อให้ประชาชนมาเลเซียลงชื่อว่าจะให้โครงการเรือฟริเกต LCS หรือในอีกชื่อคือ Second Generation Patrol Vessel(SGPV) ใช้ชื่อชั้นเรือจากกลุ่มใดจากสามกลุ่มคือ
กลุ่ม1 นักรบ(Pejuang) สัญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ, กลุ่ม2 อาวุธ(Senjata) การเสริมอำนาจของอาวุธโบราณที่ใช้โดยเหล่านักรบแห่งแผ่นดินเกิดต่อผู้รุกราน และกลุ่ม3 ความกล้าหาญ(Nilai Keberanian) การเสริมความกล้าหาญและความเป็นวีรชนในจิตวิญญาณการต่อสู้ของตัวบุคคลและกองทัพ

โดยผล Vote นั้นกลุ่มที่ได้รับเลือกคือ กลุ่ม1 นักรบ ซึ่งชื่อชั้นเรือของเรือฟริเกต LCS ชั้น Gowind ทั้ง 6ลำจะถูกตั้งชื่อตามวีรบุรุษแห่งชาติของมาเลเซียดังนี้คือ KD Maharaja Lela, KD Sharif Mashor, KD Raja Mahadi, KD Mat Salleh, KD Tok Janggut และ KD Mat Kilau
เรือลำแรกของเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela คือ KD Maharaja Lela 2501 นั้นได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อ 8 มีนาคม 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/03/gowind.html)

ตามที่ได้ทราบจากงานแสดงการบิน LIMA 2017 ที่ Langkawi เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ระบบ Panoramic Sensors and Intelligence Module(PSIM) จะยังไม่มีการติดตั้งระบบบนเรือก่อนการทดลองเรือหน้าท่าที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2018(แม้ว่าจะมีภาพการติดตั้งเสากระโดงเรือแล้ว)
PSIM เป็นชุด Module ระบบขนาดใหญ่ที่บูรณาการระบบตรวจจับ, ระบบอำนวยการรบ ระบบสื่อสาร และสถานีปฏิบัติการรวมไว้ด้วยกัน ตามข้อมูลล่าสุดจากกองทัพเรือมาเลเซียเรือฟริเกต LCS ชั้น Maharaja Lela ควรจะมีความพร้อมปฏิบัติการได้ในปี 2023

เรือฟริเกต LCS Gowind ลำที่สอง(KD Sharif Mashor) ได้มีการวางกระดูงูเรือเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 และมีกำหนดจะปล่อยเรือลงน้ำในเดือนพฤษภาคม 2018 โดยมีการยืนยันว่าอัตราความเร็วการสร้างและปล่อยเรือลำต่อต่อๆมาจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
เมื่อต้นปี 2011 กองทัพเรือมาเลเซียได้เปิดโครงการ SGPV วงเงิน 6 billion Malaysian Ringgit(1.9 billion) สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก 6ลำ

โดยในปลายปี 2011 ผู้ชนะการแข่งขันคัดเลือกคือแบบเรือ Gowind ของบริษัท Naval Group(DCNS เดิม) ฝรั่งเศส ร่วมกับอู่เรือ Boustead Naval Shipyard มาเลเซีย สำหรับการถ่ายทอด Technology เพื่อสร้างในประเทศ
เรือฟริเกต LCS/SGPV มาเลเซียมีพื้นฐานจากแบบเรือคอร์เวต Gowind 2500(เช่นเดียวกับที่กองทัพเรืออียิปต์เลือกจัดหา) โดยเรือของกองทัพเรือมาเลเซียนั้นมีขนาดใหญ่กว่าดังนั้นจึงถูกจัดชั้นเป็นเรือฟริเกต(ตัวเรือยาว 111m ระวางขับน้ำ 3,100tons)

เรือฟริเกต LCS มาเลเซียมีความแตกต่างจากเรือคอร์เวตชั้น El Fateh(Gowind) กองทัพเรืออียิปต์มากเช่น ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM(Naval Strike Missile) ของ Kongsberg สวีเดน ปืนใหญ่เรือ BAE Systems Bofors 57mm Mk3 ทรง Stealth แบบเดียวกับเรือคอร์เวตชั้น Visby กองทัพเรือสวีเดน ขณะที่เรืออียิปต์ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ MBDA Exocet MM40 ฝรั่งเศส และปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76mm จาก Leonardo อิตาลี
เรือมาเลเซียยังติด Radar SMART-S Mk2 จาก Thales ระบบควบคุมการยิงและกล้อง Optronic จาก Rheinmetall เยอรมนี กับระบบสื่อสารบูรณาการจาก Rhode & Schwarz เยอรมนีครับ

เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K จีนแบบใหม่ติดท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

Chinese Xian H-6K with refuelling probe suggests new missions
Although it reportedly first flew in December 2016, on 15 August the first image appeared of a Xian H-6K modified with a nose-mounted refuelling probe. (Via Weibo website)
http://www.janes.com/article/73182/chinese-xian-h-6k-with-refuelling-probe-suggests-new-missions

ภาพถ่ายที่ดูไม่ชัดเจนของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ H-6K ที่สร้างโดย Xian Aircraft Corporation ซึ่งมีท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่ส่วนหัวเครื่อง
เป็นที่ตั้งข้อสังเกตถึงการเพิ่มเติมภารกิจใหม่ที่อาจจะติดตั้งได้สำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีการดัดแปลงอย่างมาก จากการออกแบบเดิมมานาน 65ปีจากการลอกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง Tupolev Tu-16 รัสเซียที่การบินครั้งแรกในปี 1952

ภาพดังกล่าวได้ปรากฎเป็นครั้งแรกเมื่อ 15 สิงหาคม ใน Blog ของ Website Weibo จีน โดยเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ในสีรองพื้นสีเหลืองที่ปกติจะเป็นเครื่องต้นแบบของจีน
แหล่งข่าวที่ไม่เป็นทางการของจีนตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่นี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2016

เป็นเวลาหลายปีที่ผู้สังเกตการณ์ชาวจีนได้สันนิษฐานว่าเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K รุ่นใหม่นี้อาจจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสองภารกิจ
ภารกิจแรกคือเพื่อเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์โจมตีทางยุทธศาสตร์พิสัยไกล การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจะช่วยเพิ่มรัศมีการรบได้ประมาณ 3,000km ของเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Soloviev D-30-KP2 รัสเซียที่ติดตั้งกับ H-6K

นอกเหนือจากการเพิ่มการเข้าถึงเป้าหมายด้วยการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดิน KD-20/CJ-10K ระยะยิง 1,500km ที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ ซึ่ง H-6K สามารถติดได้ 6นัด
แม้ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน KD-20 รุ่นระยะยิง 2,500km อาจจะได้รับการพัฒนาแล้ว แต่เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K รุ่นนี้ยังคงจำเป็นต้องได้รับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศหลายครั้งถ้าจะเข้าใกล้เป้าหมายทางยุทธศษสตร์เช่น ฮาวาย หรือชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ

ภารกิจที่สองที่ถูกตั้งข้อสังเกตโดยผู้สังเกตการณ์ชาวจีนน่าจะเป็นเพื่อการเป็นระบบส่งดาวเทียมหรือขีปนาวุธ
ในงานแสดงการบิน Zhuhai Airshow 2016 China Academy of Launch Vehicle Technology(CALT) ได้แสดงแบบจำลองของจรวดส่งดาวเทียมแบบสามท่อนขนาด 13tons วงโคจร 550km แบบระบบส่งยิงจากอากาศยาน(Air-launched Launch Vehicle) ที่แสดงว่าติดกับ H-6 ได้

การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศน่าจะสามารถทำให้ H-6K สามารถทำการบินขึ้นได้บรรทุกเชื้อเพลิงได้น้อยลงเพื่อชดเชยน้ำหนักสำหรับการติดตั้งระบบจรวดส่งดาวเทียม
ซึ่งสามารถใช้ในภารกิจยิงระบบต่อต้านดาวเทียม ASAT(Anti-Satellite) รวมถึงภารกิจส่งดาวเทียมเข้าวงโคจรด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สหรัฐฯอนุมัติการขายเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร M142 HIMARS ให้โรมาเนีย

Romania – High Mobility Artillery Rocket Systems (HIMARS) and Related Support and Equipment
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/romania-high-mobility-artillery-rocket-systems-himars-and-related-support-and

Soldiers assigned to the 5th Battalion, 113th Field Artillery Regiment (High Mobility Artillery Rocket System), fire a M142 HIMARS light multiple rocket launcher during a live fire exercise at a training area near Cincu, Romania, during Exercise Guardian Saber,
July 9 - 11, 2017. (Photo by Sgt. Odaliska Almonte/North Carolina National Guard)
http://www.defensenews.com/land/2017/08/18/state-dept-clears-125-billion-himars-sale-to-romania/

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ผ่านการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ M142 HIMARS(High Mobility Artillery Rocket System) แก่โรมาเนียวงเงิน $1.25 billion
ตามข้อมูลจากเอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ (DCSA: Defense Security Cooperation Agency) ที่ประกาศเอกสารแจ้งการรออนุมัติจากสภา Congress เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา

โรมาเนียได้ร้องขอการจัดหาระบบชุดยิง HIMARS 54ระบบ และจรวดนำวิถี M31A1 GMLRS(Guided Multiple Launch Rocket Systems) 81นัด ร่วมกับจรวด M30A1 GMLRS 81นัดเป็นหัวรบทางเลือก
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวีถีทางยุทธวิธี M57 ATACMS(Army Tactical Missile Systems) 54นัด และระบบควบคุมการยิงแบบ AFATDS(Advanced Field Artillery Tactical Data Systems) 24ระบบ

ชุดการจัดหายังรวมรถยนต์บรรทุกใช้งานทั่วไปหุ้มเกราะ M1151A1 HMMWV 15คัน และรถยนต์บรรทุกพร้อมเกราะ M1151A1 พลประจำ2นาย 15คัน
รถจ่ายกระสุน M1084A1P2 HIMARS RSV(Resupply Vehicles) 54คัน, M1095 MTV Cargo Trailer 54คัน,  M1089A1P2 FMTV Wreckers 10คัน จรวดฝึก LCRP(Low Cost Reduced Range) อุปกรณ์สนับสนุน อะไหล่ การบริการ เอกสาร และการฝึก

ผู้รับสัญญาหลักคือบริษัท Lockheed Martin ใน Grand Prairie มลรัฐ Texas และใน Camden มลรัฐ Arkansas
โดยก่อนหน้านี้ Lockheed Martin สหรัฐฯได้ประกาศที่จะเปิดสายการผลิตเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง M142 HIMARS อีกครั้งหลังได้รับการสั่งจัดหาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เมื่อเดือนสิงหาคม โรมาเนียได้ประกาศแผนการจัดหาระบบเครื่องยิงจรวดอัตตาจร M142 HIMARS และเครื่องบินขับไล่ F-16 ภายในปี 2022 เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณราว $11.6 biilon สำหรับการจัดหาอาวุธตั้งแต่ปี 2017-2026
โรมาเนียยังมีแผนที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z จาก Bell Helicopters และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ MIM-104 Patriot ด้วย

พลโท Ben Hodges ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐในยุโรปกล่าวระหว่างการฝึกซ้อมรบร่วม Saber Guardian 2017 ที่นำโดยสหรัฐฯเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า เขาคาดว่าโรมาเนียจะจัดสรรงบประมาณกลาโหมของตนได้ที่ร้อยละ2 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(2% per GDP) ภายในปีนี้
เพื่อเติมเต็มความต้องการสำหรับการเป็นสมาชิก NATO ของโรมาเนีย โดยการจัดหา HIMARS ของประเทศในยุโรปมีผลโดยตรงต่อสหรัฐฯและพันธมิตร NATO ในการป้องปรามการคุกคามจากรัสเซีย เนื่องสหรัฐฯไม่สามารถจะอุดช่องว่างด้วยอาวุธของตนต่อทุกกองทัพมิตรประเทศได้

พลโท Hodges ได้กล่าวว่าปืนใหญ่และอาวธยิงพิสัยไกลมีขีดความสามารถในการลดภาระในยุโรป ทำใหกองทัพบกสหรัฐฯมุ่งไปยังการรบในอิรักและอัฟกานิสถานได้
และขณธที่กองทัพสหรัฐฯสามารถอุดช่องว่างให้ประเทศยุโรปได้อย่างมากในการปรนับปรุงขีดความสามารถด้วยอาวุธยิงของพวกเขาด้วยการจัดหาระบบอาวุธให้ปรระเทศเหล่านั้นอุดช่องว่างของตนเอง

กองทัพบกโรมาเนียได้ปฏิบัติงานโดยตรงกับเครื่องยิงจรวดอัตตาจร HIMARS ในการฝึก Saber Guardian 2017 ที่ผ่านมาในศูนย์การฝึกแห่งชาติร่วม(JNTC: Joint National Training Center) ที่ Cincu โรมาเนีย
ที่มีเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง LAROM 152mm โรมาเนียทำการฝึกกับ HIMARS กองพันทหารปืนใหญ่ที่5 กรมทหารปืนใหญ่ที่113 กองกำลังพิทักษ์ชาติ(US Army National Guard) จาก North Carolina ในการฝึกยิงด้วยกระสุนยิงร่วมกัน

ปัจจุบันยังไม่มีชาติในยุโรปประเทศใดที่จัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS เข้าประจำการ โดยประเทศที่จัดหา HIMARS ใช้งานในปัจจุบันมีเช่น จอร์แดน, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กาตาร์เป็นอีกประเทศนอกจากโรมาเนียที่สหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS ให้ รวมถึงหลายประเทศที่พิจารณาเช่น แคนาดา, สเปน และโปแลนด์ เป็นต้นครับ

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียมอง Torpedo Black Shark อิตาลีสำหรับเรือดำน้ำ DSME1400 เกาหลีใต้

Indonesia eyes Black Shark torpedoes for Type 209/1400 submarines
A model of the Black Shark torpedo (IHS Markit/Patrick Allan)
http://www.janes.com/article/73172/indonesia-eyes-black-shark-torpedoes-for-type-209-1400-submarines

อินโดนีเซียกำลังจะมองการจัดหา Torpedo หนักนำวิถีด้วยเส้นลวด Fiber Optic แบบ Black Shark อิตาลีสำหรับเรือดำน้ำโจมตีดีเซลไฟฟ้าชั้น Nagapasa (แบบ DSME 1400T หรือ Type 209/1400)ทั้ง 3ลำ ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวกับสื่อท้องถิ่น
ความเห็นถึงความเป็นไปได้นี้มาจาก พลเรือโท Widodo เลขาธิการใหญ่แห่งกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ระหว่างงานแสดงหนึ่งวันที่ Jakarta เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่จัดแสดงผลงานของบริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงของอินโดนีเซีย
งานจัดแสดงดังกล่าวนี้ได้ดำเนินเชื่อมโยงกับการฉลองการครบรอบวันประกาศอิสรภาพของอินโดนีเซียปีที่ 52 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม

"มันมีความเป็นไปได้ว่าเราจะมี(Black Shark torpedo) ภายในสิ้นปีนี้" พลเรือโท Widodo กล่าวตามที่ถูกรายงานใน Website สถานีข่าว 24ชั่วโมงช่องโทรทัศน์ Metro TV อินโดนีเซีย
อย่างไรก็ตามไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวขั้นตอนการจัดหาหรือถ้ามีการลงนามสัญญาจัดหาอาวุธแล้วออกมา
ก่อนหน้านี้ พลเรือโท Widodo เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia–Angkatan Laut) ระหว่างปี 2015-2016

ตามข้อมูลจาก Jane’s Weapons: Naval, Black Shark Torpedo ถูกออกแบบให้ยิงได้จากทั้งเรือผิวน้ำหรือเรือดำน้ำ ทั้งแบบผลักด้วยแรงดันของท่อยิงออกมา(Push Out) หรือยิงออกจากท่อด้วยระบบขับเคลื่อนตนเอง(Swim Out) และสามารถโจมตีได้ทั้งเป้าหมายผิวน้ำและเป้าหมายใต้น้ำ
โดย Black Shark เป็น Torpedo หนักมาตรฐาน NATO ขนาด 533mm ซึ่งมีความเข้ากันได้กับท่อยิง Torpedo มาตรฐานตะวันตกส่วนใหญ่
Black Shark Torpedo มีความยาวประมาณ 6m แต่ความยาวของลูก Torpedo จะขึ้นอยู่กับว่าเป็นลูกฝึกหรือลูกยิงจริง

เรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำแรกของกองทัพเรืออินโดนีเซียคือ คือ KRI Nagapasa 403 ถูกต่อโดยบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี
ได้มีการรับมอบเรือ KRI Nagapasa เมื่อ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา และกำลังเดินทางไปอินโดนีเซีย ส่วนและเรือลำที่สอง KRI Ardadedali 404 ได้สร้างที่อู่ DSME เกาหลีใต้คาดว่าจะมีการรับมอบในปี 2018
และเรือลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดยรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL ใน Surabaya อินโดนีเซีย ภายใต้การถ่ายทอด Technology จากเกาหลีใต้

กองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำชั้น Cakra (Type 209/1300) ที่จัดหาจากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยและยืดอายุการใช้งานออกไปแล้ว
และกำลังมองการจัดหาเรือดำน้ำชั้นใหม่หลายแบบเพิ่มเติมตามที่ได้เคยรายงานไป ทั้งนี้กองทัพเรืออินโดนีเซียยังมีแผนการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มอีกรวมทั้งหมด 12ลำครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/08/kilo-type-209.html)

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จีนเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ J-10B ติดอาวุธภารกิจ SEAD ในการแข่งทางอากาศ Aviadarts 2017

Chinese SEAD-equipped J-10B emerges at Aviadarts contest
A SEAD-mission-equipped J-10B fighter emerged for the first time at a display concluding the 2017 Aviadarts international aerial competition at Changchun Airbase in Jilin province. Source: Via Dingsheng web page
http://www.janes.com/article/73149/chinese-sead-equipped-j-10b-emerges-at-aviadarts-contest

จีนได้ใช้โอกาสในการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศนานาชาติ Aviadart 2017 เป็นครั้งแรกในการเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ J-10B ที่พัฒนาโดย Chengdu Aircraft Corporation(CAC)
ที่ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์สำหรับภารกิจกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก SEAD(Suppression of Enemy Air Defences) ซึ่งเป็นการเพิ่มแบบเครื่องบินรบของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People’s Liberation Army Air Force) ที่สามารถทำภารกิจนี้ได้


ภาพเครื่องบินขับไล่ J-10B ที่ติดอาวุธและอุปกรณ์ภารกิจ SEAD ปรากฎครั้งแรกในหน้า Web จีน เมื่อ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงภาคพื้นดินของฐานทัพอากาศ Changchun มณฑล Jilin
ที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของการแข่งการใช้อาวุธทางอากาศนานาชาติ Aviadarts 2017 ที่ปีนี้จีนเป็นเจ้าภาพจัดสถานที่การแข่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางทหารนานาชาติ International Army Games 2017 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม-12 สิงหาคมที่ผ่านมา


สำหรับภารกิจ SEAD เครื่องบินขับไล่ J-10B ที่ถูกเปิดตัวติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar(ARM: Anti-Radiation Missile) แบบ YJ-91 ที่ผลิตโดย Hongdu Aviation Industries ใต้ปีก 2นัด
YJ-91 นั้นพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำและต่อต้านการแพร่คลื่น Radar เครื่องยนต์ Ramjet ตระกูล Kh-31 ของ Tactical Missile Corporation รัสเซีย ซึ่งถูกพบว่าจีนมีประจำการครั้งแรกในช่วงต้นปี 2000s

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น radar แบบ YJ-91 ถูกรายงานว่าจำเป็นต้องมีการติดตั้งกระเปาะระบบนำวิถีแบบแยกอิสระต่างหากกับอากาศยานที่ติดตั้งใช้งาน
ซึ่งเห็นได้จากกระเปาะนำวิถีสำหรับ YJ-91 ที่ติดตั้งในตำบลอาวุธที่ตำแหน่งลำตัวเครื่องของเครื่องบินขับไล่ J-10B

มีการปรากฎของข้อบ่งชี้ในช่วงต้นปี 2009 ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น YJ-91 นั้ยังสามารถที่จะติดตั้งได้กับเครื่องบินขับไล่ J-10A รุ่นก่อน
อย่างไรก็ตามรุ่นนี้ยังไม่เคยมีการพบเห็นกระเปาะมาตราการตอบโต้ทาง Electronic/มาตรการสนับสนุนทาง Electronic(ESM/ECM: Electronic Support Measures/Electronic Countermeasures) แบบ K/RKL007A


กระเปาะมาตราการตอบโต้ทาง Electronic แบบ K/RKL007A ที่พัฒนาโดย Southwest Institute of Electronics Equipment (SWIEE) ที่พบว่าติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ J-10B นี้
ทำให้เป็นไปที่ J-10B จะสามารถหรือขยายขีดความสามารถในการโจมตีกลุ่มเป้าหมายทาง Electronic ด้วยตนเองได้

ทั้งนี้ชาติที่เข้าร่วมการแข่งการใช้อาวุธทางอากาศ Aviadart 2017 ปีนี้นั้นมีเพียงสองประเทศคือ รัสเซีย และจีน โดยรัสเซียได้นำอากาศยานของตนเองมาใช้ในการแข่งทั้ง
เครื่องบินขับไล่ Su-27, Su-30, Su-35 และ MiG-29 เครื่องบินโจมตี Su-25 เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-34 เครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22M3 เครื่องบินลำเลียง IL-76 เฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52, Mi-28 เฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mi-35 และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mi-8/Mi-17

เช่นเดียวกับจีนที่นำอากาศยานของตนเข้าร่วมการแข่งในประเทศตนเองทั้ง เครื่องบินขับไล่ J-10, J-11 และ Su-30MKK เครื่องบินฝึกโจมตีเบา JL-10 เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7 เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 เครื่องบินลำเลียง Y-9 และ IL-76 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 เป็นต้น
ซึ่งผลการแข่งที่ออกมานั้นคือเสมอกัน ทำให้การแข่งขันทางอากาศ Aviadart นั้นดูเหมือนการฝึกซ้อมรบทางอากาศร่วมกับของกองทัพอากาศรัสเซียและกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนมากกว่า

http://www.mod.gov.cn/diplomacy/2017-08/17/content_4789109.htm
ล่าสุดกระทรวงกลาโหมจีนได้แถลงการส่งอากาศยานของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ในรหัส Falcon Strike 2017 ระหว่างวันที่ ๑๗ สิงหาคม-๓กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยจีนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ J-10 จำนวน ๖เครื่องพร้อมเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76 สำหรับสนับสนุนเข้าร่วมการฝึก นับเป็นการฝึกครั้งที่๒หลังจาก Falcon Strike 2015 ที่จีนส่ง J-11(Su-27) ฝึกกับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ที่กองบิน๑ โคราชครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จีนเปิดตัวรถถังหลัก VT4 กองทัพบกไทย และยูเครนเปิดตัว T-72AMT รุ่นปรับปรุงใหม่



VT4(MBT-3000) Main Battle Tanks for Royal Thai Army unveiled in second NORINCO ARMOR DAY 2017 at Inner Mongolia, China, 16 August 2017

A number of China's new domestically-made armored vehicles were put up on show in the city of Baotou, Inner Mongolia Autonomous Region, on Wednesday morning.


NORINCO รัฐวิสหากิจด้านอาวุธยุทโธปกรณ์รายหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของตนในงาน NORINCO Armor Day 2017 ที่ Baotou เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เมื่อ ๑๖ สิงหาคม
นอกจากการแสดงของรถถังเบา VT5, รถถังหลัก VT2B(Type 96B), รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16((ZTD-05) รถเกราะล้อยาง VN1 และรถรบทหารราบ VN12(ZBD-04) กับรถรบทหารราบ VN17 รุ่นใหม่ล่าสุด และยานเกราะประเภทต่างๆจำนวนมากแล้ว

NORINCO ยังได้เปิดตัวรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ที่สามารถติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก(Active Protection System) แบบ GL5 ในวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์และการสาธิต พร้อมการเปิดตัวรถถังหลัก VT4 ในสายการผลิตจำนวนมากสำหรับกองทัพไทยด้วย
VT4 ๗คันที่แสดงในงานสวนสนาม ซึ่งทำสีพรางคล้ายแบบ Woodland NATO น่าจะชัดเจนว่าเป็นรถถังหลัก VT4 ของกองทัพบกไทย โดยที่หมายเลขชั่วคราวที่ติดบนป้องปืนแสดงถึงคันที่๒๖ คันที่๒๓ คันที่๑ และคันที่๑๖ เป็นต้น

กองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญาจัดหารถถังหลัก VT4 จากจีนระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๒ อีก ๑๑คัน วงเงินประมาณ ๒พันล้านบาทในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) รวม ๓๙คัน และคาดว่าจะมีการลงนามจัดหาอีกราว ๑๐คันในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) เพื่อให้ครบทั้งกองพัน
ทั้งนี้จากการที่ NORINCO ได้นำ ถ.หลัก VT4 มาแสดง ทำให้เป็นที่เชื่อว่ารถชุดแรกน่าจะส่งมอบให้กองทัพบกไทยได้ภายในปลายปีนี้(2017) โดยคาดว่าจะเข้าประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ เป็นหน่วยแรกครับ

UkroBoronProm unveils T-72AMT





UkroBoronProm has unveiled the T-72AMT, a new upgrade of the T-72. (UkroBoronProm)
http://www.janes.com/article/73097/ukroboronprom-unveils-t-72amt
https://www.facebook.com/szgurets/posts/1266284313499391

UkroBoronProm หน่วยงานด้านการจัดการและส่งออกยุทโธปกรณ์กลาโหมรัฐบาลยูเครนได้เปิดตัวรถถังหลัก T-72 รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ที่รู้จักในชื่อรถถังหลัก T-72AMT ที่พัฒนาโดยภาคเอกชนคือโรงงานยานเกราะ Kiev ยูเครน
รถถังหลัก T-72AMT ได้รับการออกแบบใหม่หลายอย่างเพื่อให้มีอำนาจการสังหาร, ความอยู่รอด และยกระดับขีดความสามารถของระบบ การทดสอบ ถ.หลัก T-72AMT รุ่นปรับปรุงใหม่นี้มีกำหนดจะเริ่มในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

T-72AMT ได้รับการปรังแต่งให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีด้วย Laser แบบ Kombat(Combat) จากปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm
ซึ่งหัวรบแบบสองชั้น(Tandem)สามารถเกราะเจาะหนา 550mm ที่ป้องกันด้วยเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) ได้

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Kombat ยังสามารถใช้งานร่วมกับรถถังหลัก BM Oplot(T-84M Oplot-M) และ T-84 ที่นำวิถีด้วยพลยิงในแบบ SACLOS(Semi-Automatic Command to Line-of-Sight)
ชุดกล้องเล็งและนำวิถีสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีนี้ถูกติดตั้งที่ด้านบนของป้อมปืน ที่ด้านขวาของกล็องเล็งหลัก โดยติดตั้งกล้องเล็งกลางคืนแบบ Generation III รุ่น 1K13-49 Neman แทนกล้องเดิม

เกราะกรงเหล็ก(Slat Armour) ได้รับการติดตั้งที่ด้านท้ายของป้อมปืน เช่นเดียวกับด้านท้ายของตัวรถ เพื่อเพิ่มการป้องกันชุดเครื่องยนต์, ระบบส่งกำลัง และอุปกรณ์อื่นๆจากอาวุธหัวรบดินโพรง(shaped-charge) เช่นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง RPG(Rocket-Propelled Grenades)
เกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA Nozh(Knife) ที่ติดตั้งในส่วนด้านหน้าของรถใช้ระเบิดดินโพรงแบบตามยาวเพื่อลดแรงปะทะของอาวุธต่อสู้รถถังหัวรบดินโพรงที่ยิงเข้ามา

T-72AMT ติดตั้งชุดวิทยุของ Aselsan ตุรกี ระบบนำร่องดาวเทียม GPS/GLONASS SN-3003 Bazalt สถานีผู้คับการรถติดตั้งกล้องตรวจการณ์ TKN-3UM ใหม่ พร้อมป้อมปืนกลหนัก 12.7mm แบบ Remote พร้อมกล้องตรวจการณ์แบบใหม่ และเพิ่มกระจกมองหลัง
สถานีพลขับติดตั้งกล้องมองกลางคืน TNK-72 หรือ TVN-4BUP ปรับปรุงเครื่องยนต์ดีเซล V-84-1 กำลัง 840HP แทน V-46 กำลัง 780HP ระบบขับเคลื่อนปรับปรุงโดยระบบจากรถถังหลัก T-80 มาใช้ในหลายส่วน เช่น สายพาน แผ่นชายกันน้ำ และบังโคลน เป็นต้นครับ