วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ F-35A เกาหลีใต้ทั้ง 40เครื่องมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา

South Korea says F-35A fleet operational





South Korean F-35As participate in an ‘elephant walk' on 25 March 2022, a day after North Korea tested a new nuclear-capable ICBM. (South Korean Ministry of National Defense)



สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ที่สั่งจัดหาจำนวน 40เครื่องได้อยู่ในการเข้าประจำการแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19_17.html)
กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีรับรองการนำเข้าประจำการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2022 ระหว่างการประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ F-35A กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) ได้ทำการฝึกมุ่งเน้น 'คชสารยาตรา'(elephant walk) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2022
การฝึก elephant walk ของ F-35A มีขึ้นหนึ่งวันให้หลังที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) Hwaseong-17(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/hwaseong-17.html)

กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวในแถลงการณ์ต่อสื่อของตนว่า การฝึก elephant walk ได้ดำเนินการโดยเครื่องบินขับไล่ F-35A "ตามการนำเข้าประจำการของหน่วยสุดท้าย"
กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเสริมในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2022 ว่ากำลังรบเครื่องบินขับไล่ F-35A กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีได้มี "ความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา"
กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ F-35A ทั้ง 40เครื่อง ในการตอบสนองต่อการตั้งคำถามโดย Janes เกี่ยวกับการนำ F-35A เข้าประจำการ

โฆษกกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่า กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีไม่สามารถ "ยืนยัน(ข้อมูล)เกี่ยวกับกำลังทางทหารและการนำเข้าประจำการของ F-35 ตามที่(มันเป็น)อาวุธทางยุทธศาสตร์ในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี"
การพูดคุยระหว่างการฝึก elephant walk รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Suh Wook กล่าวว่า สาธารณรัฐเกาหลีจะใช้ 'กำลังรบล่องหน' ด้วยขีดความสามารถตรวจจับได้ยาก stealth ทุกกาลอากาศและการโจมตีที่แม่นยำในฐานะกำลังป้องปราม
"การใช้เครื่องบินขับไล่ stealth F-35A เราจะสามารถดำรงการวางกำลังพร้อมรบเต็มอัตราเพื่อบรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์อย่างเด็ดขาด และดำรงกำลังทางทหารเต็มรูปแบบที่จะป้องปรามการกระทำเพิ่มเติมต่างๆโดยเกาหลีเหนือ" เขาเสริม

ขีปนาวุธข้ามทวีป Hwaseong-17 เป็นขีปนาวุธขนาดใหญ่ที่สุดที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีพัฒนาสำหรับกองกำลังทางยุทธศาสตร์(Strategic Force) กองทัพประชาชนเกาหลี(KPA: Korean People's Army)
การยิงขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2022 เป็นการยิงครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2017 และเป็นการส่งสัญญาณการสิ้นสุดการกดดันการระงับตนเองในการพัฒนาอาวุธดังกล่าวที่นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2018
คณะเสนาธิการร่วม(JCS: Joint Chiefs of Staff) สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่า ตนประมาณว่าขีปนาวุธ Hwaseong-17 บรรลุการทำความสูงสูงสุดที่ 6,200km และทำการบินโคจรที่ระยะทางไกล 1,080km เป็นระยะยิงที่ไกลที่สุดที่ขีปนาวุธ ICBM เกาหลีเหนือทำได้ครับ 

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

แคนาดาเลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่ในอนาคต

Canada selects F-35 as future fighter



Canada is set to rejoin the international community of F-35 operators, having reconfirmed its selection of the type on 28 March. (USAF)




Canada to replace its ageing fleet of CF-18 Hornets with 88 of F-35 by 2025. (RCAF)



แคนาดาได้เลือกเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) เพื่อตอบสนองความต้องการโครงการขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่อนาคต(FFCP: Future Fighter Capability Project) ของตน
เป็นการเลือกระบบ 'เครื่องบินขับไล่ยุคที่5' ตรวจจับได้ยาก stealth สหรัฐฯ เป็นผู้ชนะเหนือเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/fa-18ef-super-hornet.html)

รัฐบาลแคนาดาประกาศการตัดสินใจเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2022 กล่าวว่าตนได้เข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 88เครื่องสำหรับกองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/boeing-lockheed-martin-saab.html)

"การจัดซื้อจัดจ้างนี้เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดในกองทัพอากาศแคนาดาในรอบมากกว่า 30ปี มันเป็นความจำเป็นสำหรับการปกป้องความปลอดภัยและความมั่นคงของชาวแคนาดา มันจะเพิ่มขยายอธิปไตยของเราในเขต Arctic มันจะทำให้มั่นใจว่าเราจะมีใช้งานเพื่อการปกป้องอเมริกาเหนือที่ดีขึ้น และมันจะช่วยทำให้มั่นใจว่าเราเดินหน้าเพื่อตรงพันธกรณี NATO และ NORAD(North American Aerospace Defense Command) ไปสู่อนาคตอย่างดี" กระทรวงการบริการสาธารณะและการจัดซื้อจัดจ้างแคนาดา(PSPC: Public Services and Procurement Canada) กล่าวใน website ของตน

แคนาดาได้คัดเลือกความต้องการโครงการ FFCP ของตนเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Hornet(CF-18/CF-188 ในประจำการกองทัพแคนาดา)
โดยมีสองตัวเลือกสุดท้ายคือเครื่องบินขับไล่ F-35A จากสหรัฐฯและเครื่องบินขับไล่ Gripen E จากสวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/saab-gripen-e.html)

แคนาดาได้ตัดเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet จากสหรัฐฯไปก่อนหน้าการคัดเลือกรอบสุดท้าย(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/boeing-fa-18ef.html)
ขณะที่ฝรั่งเศสถอนเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/rafale.html) และสหราชอาณาจักรถอนเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ออกจากการแข่งตามลำดับ ด้วยความกังวลทางเทคนิคกับความต้องการ

ในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18A/B Hornet และเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B Hornet ออสเตรเลียที่จัดหามาเป็นเครื่องคั่นระยะ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/fa-18ab-hornet.html) ซึ่งจะทำการบินไปจนถึงปี 2031-2032
แคนาดาเดินหน้าที่จะมีการประกาศสัญญาวงเงินราว 15 billion พร้อมการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมอากาศยานในประเทศภายในปี 2022 โดยการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องแรกจากทั้งหมด 88 เครื่อง ต้องการให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้คือภายในปี 2025 ครับ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

เกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป Hwaseong-17

North Korea launches Hwaseong-17 ICBM



Japan's MoD said the ICBM launched by North Korea on 24 March landed within its exclusive economic zone. (Japan MoD)



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียืนยันเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2022 ว่าตนได้ทดสอบการยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) Hwaseong-17(ยังสะกดได้อีกแบบว่า Hwasong-17)
นี่เป็นการยิงขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM ครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2017 และส่งสัญญาณการสิ้นสุดการกดดันการระงับตนเองในการพัฒนาอาวุธดังกล่าวที่นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2018

สำนักข่าว Korean Central News Agency(KCNA) ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีใน Pyongyang กล่าวว่า Hwaseong-17 ขีปนาวุธขนาดใหญ่ที่สุดที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีพัฒนา
ได้ถูกทดสอบโดยกองกำลังทางยุทธศาสตร์(Strategic Force) กองทัพประชาชนเกาหลี(KPA: Korean People's Army) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/kim-jong-un.html)

สำนักข่าว KCNA กล่าวว่าขีปนาวุธถูกยิงจาก "จากมุมสูง" จากสถานที่ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติของ Pyongyang ในเขต Sunan
KCNA กล่าวว่าขีปนาวุธบินโครจรระยะทาง 1,090km ที่ความสูงสูงสุด 6,248km ก่อนตกในทะเลตะวันออก เป็นเครื่องหมายถึงระยะยิงที่ไกลที่สุดที่ขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีทำได้

สำนักข่าว KCNA กล่าวว่าการยิงแสดงให้เห็นถึงว่า "ทุกองค์ประกอบที่สำคัญของอาวุธประสบผลอย่างถูกต้องในความต้องการการออกแบบของพวกมัน" และอาวุธนั้นสามารถวางกำลังได้อย่างน่าเชื่อถือ "ในสภาวะสงคราม"
อ้างถึง Kim Jong-un ผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี KCNA กล่าวว่าการพัฒนาขีปนาวุธของประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการของตนสำหรับ "การเผชิญหน้าในระยะยาวกับจักรวรรดินิยมสหรัฐฯ"

"อาวุธทางยุทธศาสตร์ใหม่(ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี) จะทำให้ทั้งโลกรับรู้อย่างชัดเจนถึงอำนาจของกองกำลังทางยุทธศาสตร์ของเราอีกครั้งหนึ่ง" Kim Jong-un กล่าว
คณะเสนาธิการร่วม(JCS: Joint Chiefs of Staff) สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวว่า ตนประมาณว่าขีปนาวุธบรรลุการทำความสูงสูงสุดที่ 6,200km และทำการบินโคจรที่ระยะทางไกล 1,080km ครับ

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

กรีซลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกต FDI HN ฝรั่งเศส

Greece signs contract with Naval Group for FDI frigates



The Hellenic Navy's new FDI HN frigates will be delivered in 2025 and 2026. (Naval Group)

รัฐบาลกรีซได้ลงนามสัญญากับบริษัท Naval Group ฝรั่งเศสผู้สร้างเรือที่ปูทางไปสู่การเริ่มการสร้างเรือฟริเกตพหุภารกิจ FDI(Frégate de défense et d'intervention) ใหม่ 3ลำสำหรับกองทัพเรือกรีซ(HN: Hellenic Navy)
สัญญาที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2022 รวมตัวเลือกสำหรับเรือฟริเกต FDI ลำที่4, การสนับสนุนระหว่างประจำการ และการจัดส่ง torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ MU90 และระบบมาตรการต่อต้าน torpedo แบบ CANTO

การประกาศล่าสุดมีขึ้นตามมาหลังการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ระหว่างกรีซ, Naval Group ฝรั่งเศส และบริษัท MBDA ยุโรป สำหรับความเป็นไปได้ในการจัดหาเรือฟริเกต FDI ในเดือนกันยายน 2021
ข้อตกลงนี้เป็นเครื่องหมายถึงการขายส่งออกแรกสำหรับเรือฟริเกต FDI ของ Naval Group ซึ่งยังได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, MN: Marine Nationale) ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/naval-group-fdi-d660-amiral-ronarch.html)

เรือฟริเกต FDI HN กรีซจะถูกสร้างที่อู่เรือของ Naval Group ใน Lorient ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยเรือสองลำแรกมีกำหนดการส่งมอบในปี 2025 และลำที่สามในปี 2026
เพื่ออำนวยความสะดวกการร่นกำหนดการส่งมอบแก่กองทัพเรือกรีซให้กระชับขึ้น เรือฟริเกต FDI ลำที่สองและลำที่สามที่เดิมมีแผนจะส่งมอบแก่กองทัพเรือฝรั่งเศสในปี 2025 ขณะนี้จะสร้างให้เสร็จเพื่อส่งมอบในฐานะเรือฟริเกต FDI HN สำหรับกรีซแทน

บริษัท Naval Group กำลังสร้างเรือฟริเกต FDI จำนวน 5ลำสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศสใน Lorient ภายใต้สัญญาที่ประกาศในปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2016/10/dcns-fti.html)
เรือลำแรกของชั้น เรือฟริเกต D660 Admiral Ronarc'h ถูกวางกระดูกงูเรือในปี 2021 และมีกำหนดการส่งมอบในปี 2024 โดยเรือฟริเกตชั้น Admiral Ronarc'h ทั้ง 5ลำจะถูกส่งมอบครบภายในปี 2030

คุณลักษณะทางเทคนิคของเรือฟริเกต FDI HN กองทัพเรือกรีซ มีระวางขับน้ำปกติที่ 4,500 tonnes ความยาวเรือรวม 122m, กว้าง 18m และทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 27knots
เรือมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์และดาดฟ้าบินสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Lockheed Martin MH-60R Seahawk และอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน(rotary UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ขนาดกลางน้ำหนักถึง 700kg

คุณสมบัติสำคัญของเรือรวมถึง หัวเรือแบบ 'กลับด้าน' เพื่อเพิ่มความทนทะเล(seakeeping), ลดสัญญาณเสียงสำหรับปฏิบัติการสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare)
เรือฟริเกต FDI มีจุดประสงค์ที่จะทดแทนเรือฟริเกตชั้น La Fayette และเสริมแก่เรือฟริเกตต่อต้านภัยทางอากาศ(AAW: Anti-Air Warfare)ชั้น Horizon จำนวน 2ลำ เรือฟริเกต FREMM(Frégate Européenne Multi-Mission) ชั้น Aquitaine จำนวน 8ลำของกองทัพเรือฝรั่งเศสครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

ไทยตัดงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๖ ลงอีกปีเนื่องจาก Covid-19

Thailand proposes 2% cut in 2023 defence budget



US Army and Royal Thai Army Stryker vehicles during exercise Hanuman Guardian 2022. (112th Infantry Regeiment, 11th Infantry Division, Royal Thai Army)




Janes Defence Budgets forecasts continued constraints in Thailand's military expenditure during the next few years. (Janes Defence Budgets/Ministry of Defence of Thailand)



“มิตรภาพ-เสถียรภาพ-ความยั่งยืน” Friendships-Stability-Sustainability ทบ.ไทย-ทบ. สหรัฐฯ ปิดการฝึกผสม หนุมานการ์เดียน 202

วันนี้ (24 มี.ค. 65) ที่  ศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก บ้านดีลัง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานร่วมกับ พลเอก ชาร์ลส์ เอ ฟลินน์ (Gen. Charles A. Flynn) ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก 
ในพิธีปิดการฝึกผสมรหัส Hanuman Guardian 2022 โดยมีคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพทั้งสองประเทศร่วมในพิธี 
ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิกได้กล่าวถึง ความสำคัญของการฝึกผสมครั้งนี้ ที่เกิดจากมิตรภาพอย่างยาวนานระหว่างสองประเทศ นอกจากจะเป็นพื้นฐานของเสถียรภาพความมั่นคงในระดับภูมิภาคแล้ว 
ยังจะนำไปสู่ความต่อเนื่องในการฝึกและความร่วมมือด้านอื่นๆ เพื่อให้กองทัพมีความสามารถและพร้อมรองรับภัยคุกคามในสถานการณ์โลกทุกรูปแบบ

โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวในพิธีปิดว่า การฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่กำลังพลของทั้งสองกองทัพ ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ยกระดับขีดความสามารถและความรู้ทั้งในด้านเทคนิคทางยุทธวิธี 
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ด้วยความมีวินัยของกำลังพลของทั้งกองทัพ สามารถฝึกร่วมทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 
ทั้งนี้ขอชื่นชมกำลังพลทุกนายที่มีความกระตือรือร้น และตั้งใจในการฝึกเป็นอย่างดี รวมทั้งมีการสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล และหน่วยให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต 
ก่อนเข้าสู่พิธีปิดได้ตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงของหน่วยยานเกราะสไตรเกอร์ ณ พื้นที่การฝึกเนิน 129 บ้านดีลัง
และในโอกาสนี้กองทัพบกยังได้จัดพิธีประดับและแลกเปลี่ยนปีกร่มให้กับกำลังพลที่ผ่านการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ณ ร.31 พัน.3 รอ. ให้กับกำลังพลของทั้งสองประเทศด้วย 

สำหรับการฝึกผสม Hanuman Guardian 2022 ในปีนี้จัดขึ้นในระหว่าง 24 ก.พ.-25 มี.ค. 65 ณ พื้นที่ฝึก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ลพบุรี ซึ่งประกอบกำลังจาก กองทัพบกไทย และกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USARPAC) 
มีการแลกเปลี่ยนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ การรบผสมเหล่า การฝึกแลกเปลี่ยนของหน่วยกำลังรบ หน่วยบิน รวมทั้งหน่วยต่อต้านวัตถุระเบิดและการฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ 
ถือเป็นความร่วมมือและความสำเร็จอันงดงามในการพัฒนาทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยของกองทัพบกไทยและสหรัฐฯ  

ไทยได้จัดสรรงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่วงเงิน ๑๙๗,๒๙๒,๗๓๒,๐๐๐บาท($5.86 billion) ตามเอกสารร่างงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีไทย
วงเงินในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีแสดงว่า งบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๖ ถูกตัดลดลงร้อยละ๒ เปรียบเทียบงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๕(2022) ที่มีวงเงิน ๒๐๑,๖๖๖,๔๒๑,๐๐๐บาท(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖ จะถูกยื่นให้สภาผู้แทนราษฏรรัฐสภาไทยพิจารณาเพื่อเห็นชอบในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณของไทยจะเริ่มในเดือนตุลาคม
ตามการตัดลดในร่างบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๙๖,๕๗๓,๔๓๔,๗๐๐บาท ถูกตัดลดลงปีต่อปีที่ร้อยละ๓

กองทัพเรือไทย(RTA: Royal Thai Navy) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๔๐,๓๒๒,๕๒๕,๑๐๐บาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่วงเงิน ๑๑๕,๓๓๑,๖๐๐บาท
และกองทัพอากาศไทยไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๓๖,๑๑๒,๙๒๘,๑๐๐บาท ถูกตัดลดลงที่ร้อยละ๔ จากปีที่แล้ว

งบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ ในส่วนอื่นๆรวมถึง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย(RTARF HQ: Royal Thai Armed Forces Headquarters) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่วงเงิน ๙๖,๕๗๓,๔๓๔,๗๐๐บาท และ ๑๔,๕๔๐,๙๕๓,๔๐๐บาท ตามลำดับ
และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) หน่วยวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหมไทย ที่ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ๒๑ เป็นวงเงิน ๕๐๔,๖๐๑,๕๐๐บาท(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/male-uav-hermes-900.html)

การตัดลดงบประมาณกลาโหม ๒๕๖๖ ได้รับการกระตุ้นจากกระแสแรงกดดันด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดของ Covid-19 แรงกดดันนี้ยังนำไปสู่ความล่าช้าของโครงการจัดหาทางกลาโหมหลายๆโครงการของไทย
โครงการเหล่านี้เช่น การจัดหารถถังหลักใหม่เพิ่มเติม, ปืนใหญ่ใหม่, Radar ใหม่ และรถเกราะล้อยาง General Dynamics Land Systems Stryker 8x8 ICV(Infantry Combat Vehicle) เพิ่มเติมจากสหรัฐฯของกองทัพบกไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/cobra-gold-2022.html)

โครงการจัดหาที่ล่าช้าอื่นๆรวมถึงการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า S26T ลำที่๒ และลำที่๓ เพิ่มเติมจากจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html), การปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล และการพัฒนาสถานที่ของกองทัพเรือไทย
ขณะที่กองทัพอากาศไทยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณสำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่น่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-16ab-f-35a.html) ซึ่งยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาครับ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565

กรีซลงนามจัดหาเครื่องขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสเพิ่มเติม 6เครื่อง

Greece signs for additional Rafales



One of the six Rafales from the first batch handed over to Greece in January. The HAF is to receive 24 such aircraft following the latest contract awarded on 24 March. (French Embassy in Athens)



กรีซได้ลงนามการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale เพิ่มเติมจากฝรั่งเศส โดยรัฐมนตรีกลาโหมทั้งสองประเทศได้ประทับตราคำสั่งจัดหาที่ประกาศก่อนหน้าเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2022
Nikolaos Panagiotopoulos รัฐมนตรีกลาโหมกรีซ และ Florence Parly รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ใหม่ 6เครื่อง บนพิพิธภัณฑ์เรือลาดตระเวน Georgios Averof

เพื่อเติมต่อ 18เครื่องที่ได้รับการสั่งจัดหาแล้วทำให้ฝูงเครื่องบินขับไล่ Rafale ของกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force) มีจำนวนถึง 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/rafale.html)
การประกาศการบรรลุผลสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ใหม่มีขึ้นในเดือนกันยายน 2021 โดยนายกรัฐมนตรีกรีซ Kyriakos Mitsotakis(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/rafale.html)

เครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 18เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศกรีซประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Rafale มือสองจำนวน 12เครื่องจากกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, Armée de l'Air et de l'Espace) ที่เก็บรักษาไว้
(เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Rafale C จำนวน 2เครื่อง) และเครื่องบินขับไล่ Rafale F3R สร้างใหม่ 6เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/rafale-12.html)

ไม่มีการเปิดเผยว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale เพิ่มเติม 6เครื่องล่าสุดจะเป็นเครื่องมือสองหรือเครื่องสร้างใหม่ เป็นที่ทราบว่าเครื่องของกรีซที่จะถูกส่งมอบเป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Rafale F3R 
ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส, บริษัท Thales ยุโรป, บริษัท MBDA ยุโรป และบริษัท Safran ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/rafale.html)

มาตรฐาน F3R ประกอบด้วยการปรับปรุงชุดคำสั่งและส่วนอุปกรณ์หลักที่รวมถึงการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor 
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสู่งรุ่นนำวิถีด้วย laser รุ่นล่าสุดแบบ modular แบบ Sagem(ปัจจุบัน Safran) AASM(Armement Air-Sol Modulaire),

AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Thales RBE2, กระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศพิสัยไกล Thales TALIOS(Targeting Long-range Identification Optronic System),
ระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Auto-GCAS: Automatic Ground Collision Avoidance System), ปรับปรุงกระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Buddy-Buddy 

และระบบสงคราม Electronic แบบ Thales Spectra(Système de Protection et d'Évitement des Conduites de Tir du Rafale)(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/rafale-f3-r.html)
เครื่องบินขับไล่ Rafale F3R รุ่นล่าสุดจะยังคงสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยกลางเพิ่มขยายสมรรถนะแบบ ASMPA(Air-Sol Moyenne Portée-Amélioré) ในฐานะส่วนหนึ่งของภารกิจการป้องปรามนิวเคลียร์ทางอากาศ(airborne nuclear deterrence) ครับ

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

สิงคโปร์นำเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT ร่วมการฝึกผสม Cope Tiger 2022 ในไทยครั้งแรก

Singapore A330 MRTT deploys on exercises for first time






An RSAF A330 Multi-Role Tanker Transport refuels a Royal Thai Air Force F-16A/B fighter aircraft during Exercise ‘Cope Tiger' in March 2022. (Singapore Ministry of Defence)

กองบิน ๗ ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ราชการหน่วยบินแยก นครราชสีมา ในการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ๒๐๒๒
นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ เดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ราชการหน่วยบินแยก นครราชสีมา ของฝูงบิน ๗๐๑ ซึ่งเข้าร่วมการฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ๒๐๒๒ 
ทั้งนี้เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่กำลังพล ณ กองบิน ๑ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศและลำเลียงพหุภารกิจ Airbus A330-200 MRTT(Multi-Role Tanker Transport) กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)
ได้มีส่วนร่วมในการฝึกทางทหารเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ได้รับการจัดหาเข้าประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/kc-135r.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/09/airbus-a330-mrtt.html)

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT หนึ่งเครื่องได้ว่างกำลังในการฝึกผสม 'Cope Tiger' ครั้งที่๒๖ ที่จัดขึ้น ณ กองบิน๑ โคราช ประเทศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/f-15sg-f-16cd-cope-tiger-2022.html)
Cope Tiger 2022 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓-๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เป็นการฝึกผสมทางอากาศไตรภาคีที่รวมถึงกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)

ในแถลงการณ์กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์กล่าวว่า อากาศยานกองทัพอากาศสิงคโปร์ 24เครื่องได้เข้าร่วมในการฝึกผสม Cope Tiger 2022 นอกเหนือจาก Airbus A330 MRTT การฝึกได้รวมถึง
เครื่องบินขับไล่  Boeing F-15SG Strike Eagle 7เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 Fighting Falcon 6เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16D Block 52+ 6เครื่อง,

เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ G550 AEW(Airborne Early Warning) 1เครื่อง, เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130H Hercules 1เครื่อง และอากาศยานไร้คนขับ IAI Heron 1 UAV(Unmanned Aerial Vehicle) สองระบบ, สิ่งอุปกรณ์ภาคพื้นดิน 5ระบบ และกำลังพลมากกว่า 550นาย
ระหว่างการฝึกอากาศยานจะเข้าร่วมภากิจการป้องกันภัยทางอากาศและการโจมตีทางอากาศขนาดใหญ่ในสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทาย เพื่อลับคมขีดความสามารถการปฏิบัติการของพวกมัน กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เสริม

สิงคโปร์ได้รับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT เครื่องแรกในวันที่ 14 สิงหาคม 2018 มีการประกาศว่าฝูงบิน A330 MRTT ทั้ง 6เครื่องมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021
Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่าฝูงเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้รับการปรับปรุงภายใต้โครงการ SMART MRTT ของบริษัท Airbus ยุโรปถูกประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 

การปรับปรุงหนึ่งคือขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงอากาศสู่อากาศอัตโนมัติ(A3R: Automatic Air-to-Air Refuelling) พลอากาศตรี Kelvin Khong ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสิงคโปร์กล่าวกับ Janes เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ว่า
การปรับปรุงจะเห็น Airbus "พัฒนา, รับรอง และนำไปใช้ของขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงอากาศสู่อากาศอัตโนมัติ(A3R) เช่นเดียวกับการเพิ่มขยายแนวทางการซ่อมบำรุงสำหรับ A330 MRTT" เขากล่าวครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

ญี่ปุ่นทำพิธีประจำการเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่สองเป็นลำแรก FFM-2 Kumano

New Mogami-class Frigate ‘Kumano’ Commissioned with JMSDF 



Commissioning ceremony of Mogami-class Frigate Kumano Commissioned with JMSDF. JMSDF picture.



เรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่สอง เรือฟริเกต FFM-2 JS Kumano (หมายเลขเรือ 2) สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ได้มีพิธีขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2022
เรือถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำ Kumano ที่ตั้งในคาบสมุทร Kii ตอนกลางของญี่ปุ่นที่ไหลผ่านจังหวัด Nara, Wakayama และ Mie ถูกปล่อยลงน้ำที่อู่เรือบริษัท บริษัท Mitsui E&S ใน Okayama ในเดือนพฤศจิกายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/ffm-2-kumano.html)

เรือฟริเกต FFM-2 Kumano เป็นเรือลำที่สองของชั้นแม้ว่าเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำแรก เรือฟริเกต FFM-1 JS Mogami ถูกปล่อยลงน้ำที่อู่เรือบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ใน Nagasaki ในเดือนมีนาคม 2021 ที่(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/ffm-1-mogami.html)  
เรือลำที่สามเรือฟริเกต FFM-3 JS Noshiro ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนมิถุนายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/mogami-ffm-3-noshiro.html) และเรือลำที่สี่เรือฟริเกต FFM-4 JS Mikuma ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนธันวาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/mogami-ffm-4-mikuma.html)

เรือฟริเกตชั้น Mogami หรือ 30FFM เป็นเรือฟริเกตพหุภารกิจยุคอนาคตที่ออกแบบสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น จำนวนเรือทั้งหมด 22ลำได้รับการคาดว่าจะถูกสั่งจัดหาสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
สองอู่เรือที่รับผิดชอบการสร้างเรือคืออู่เรือ Nagasaki Shipyard & Machinery Works บริษัท MHI ในจังหวัด Nagasaki และอู่เรือ Tamano Works ของบริษัท Mitsui E&S ในจังหวัด Okayama

ตามข้อมูลจากบริษัท MHI ญี่ปุ่น เรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami มีระวางขับน้ำเต็มที่ประมาณ 5,500 tons มีความยาวเรือ 132.5m และกว้าง 16.3m ทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 30 knots
เรือฟริเกตชั้น Mogami มีกำลังพลประจำเรือค่อนข้างต่ำที่ราว 90นาย บ่งชี้ถึงการใช้ระบบอัตโนมัติประจำบนเรือระดับสูงเป็นอย่างมาก

เรือฟริเกตชั้น Mogami ติดตั้งอาวุธ ปืนเรือ BAE Systems Mk45 mod4 ขนาด 5"/62cal, ป้อมปืน Remote Weapon System ของ Japan Steel Works ขนาด .50cal, แท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launch System) 16ท่อยิง, 
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Raytheon SeaRAM 1แท่นยิง, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 17(SSM-2) แท่นยิง 8นัด, และทุ่นระเบิดสำหรับสงครามทุ่นระเบิด

รวมถึง Radar ตรวจการณ์หลายรูปแบบการทำงาน Mitsubishi Electric OPY-2, กล้อง EO/IR(Electro-Optic/Infrared) แบบ Mitsubishi Electric OAX-3, Sonar ต่อต้านทุ่นระเบิด Hitachi OQQ-11,
sonar ลากท้าย VDS/TASS(Variable Depth Sonar/Towed Array Sonar System) แบบ NEC OQQ-25 และยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV(Unmanned Underwater Vehicle) แบบ MHI OZZ-5 และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vessel)

ขั้นต้นเรือฟริเกตชั้น Mogami ยังไม่ได้รับการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS ในลักษณะเตรียมการไว้แต่ยังไม่ได้ติด(FFBNW: fitted for but not with) การเปลี่ยนแปลงมีขึ้นตามข้อมูลในปลายเดือนพฤศจิกายน 2021
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นประกาศเสริมงบประมาณประจำปี 2021 ซึ่งรวมถึงงบประมาณสำหรับแท่นยิง Mk41 VLS สองชุดสำหรับเรือฟริเกตชั้น Mogami งบประมาณกลาโหมเสริมวงเงินราว $6.8 billion ซึ่งวงเงินราว $74 millionมีขึ้นสำหรับเพื่อจัดหาชุดแท่นยิง VLS

เรือฟริเกตชั้น Mogami สองลำจะได้รับการติดตั้งแท่นยิง Mk41 VLS ลำละ 16ท่อยิง ทำให้สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM ในชุดบรรจุ quad-parcked รวมทั้งหมด 32นัด 
เดิมเรือฟริเกต FFM ลำที่9 และลำที่10 ถูกระบุในการร้องของบประมาณกลาโหมประจำปี 2022 ได้รวมงบประมาณสำหรับแท่นยิง VLS ดังนั้นแท่นยิง VLS ที่ถูกระบุในงบประมาณกลาโหมเสริมจะถูกติดตั้งกับเรือฟริเกต FFM ลำที่1-8 ครับ 

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือไทยชี้แจ้งข้อกล่าวหาโครงการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง MALE UAV ว่าได้เลือก Hermes 900 อิสราเอล




Royal Thai Navy Spokesperson clarified the accusations from Representative of the Parliament of Thailand that RTN selected Elbit Systems Hermes 900 as winner for land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) requirement.




A Brazilian Air Force Hermes 900 UAV.

โฆษกกองทัพเรือ  ชี้แจงกรณีถูกกล่าวหาเรื่องการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และโครงการท่าเรือดำน้ำ

วันนี้ (22 มีนาคม 2565)  พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน  โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร กล่าวหากองทัพเรือในกรณีการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และโครงการท่าเรือดำน้ำนั้น 
กองทัพเรือขอชี้แจงว่าเรื่องทั้งหมดไม่เป็นไปตามที่กล่าวหา โดยตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ไม่พบว่าบริษัทที่มายื่นข้อเสนอ UAV มีความเกี่ยวพันกับบริษัทเรือดำน้ำ 
และขอยืนยันว่ากองทัพเรือได้ดำเนินการจัดหา UAV ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด มีใช้งานจริงในกองทัพของหลายประเทศ มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการใช้งานสูง 
รวมถึง ประเด็นครูภาษานั้น ทร.ได้ตรวจพบเองตั้งแต่ต้น และได้ดำเนินสั่งห้ามบุคคลเหล่านั้นเข้าพื้นที่ ตั้งแต่ ธ.ค.๖๔ โดยขอแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.ประเด็นที่ระบุว่า กองทัพเรือเปลี่ยนแบบ UAV จาก Wing Loong ของประเทศจีน เป็น UAV แบบ Hermes 900 ของประเทศอิสราเอล เนื่องจากปัญหาความไม่โปร่งใสในโครงการจัดหาเรือดำน้ำของจีน
โดย บริษัทที่นำ UAV แบบ Hermes 900 เข้ามาอยู่ในเครือข่ายบริษัทนายหน้าของเรือดำน้ำจีนเช่นกันนั้น 
กองทัพเรือขอชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบความความสัมพันธ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ UAV ทุกรายเบื้องต้นแล้ว ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันและไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือดำน้ำแต่อย่างใด 
ทั้งนี้การดำเนินโครงการจัดหา UAV ในครั้งนี้ เป็นการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก โดยกำหนดคุณสมบัติและขีดสมรรถนะตามความต้องการของกองทัพเรือ ซึ่งจะต้องมีการรับรองมาตรฐานด้านการบิน มีความน่าเชื่อถือและความพร้อมใช้งาน 
รวมทั้งมีความสามารถในการอยู่รอดสูง ในการปฎิบัติภารกิจทั้งทางทะเลและทางบก มีใช้งานในกองทัพของประเทศผู้ผลิต มีค่าใช้จ่ายต่ำ มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี 
ตลอดจนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการฯ สูงสุด แต่เนื่องจากการดำเนินการจัดซื้อยังไม่เสร็จสิ้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดทั้งหมดได้

2.ประเด็นข้อกล่าวหาว่า UAV แบบ Hermes 900 ของอิสราเอล เป็น UAV ที่ กองทัพเรือประเทศอื่นไม่เคยใช้งานมาก่อน รวมถึงมีประวัติการตกนั้น ขอนำเรียนว่า  UAV ของทุกบริษัทที่ ทร.เชิญชวนยื่นข้อเสนอ มีใช้กันในหลายประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ 
จึงขอให้วางใจว่ากองทัพเรือจะได้รับ UAV ที่ได้มาตรฐาน คุ้มค่ากับภาษีของประชาชนมาใช้งาน ส่วนเรื่องการตกของ UAV นั้น เป็นเรื่องเป็นไปได้ เหมือนการตกของเครื่องบินชนิดอื่นๆ 
ซึ่งจากข้อมูลการตกของ UAV ทั่วโลก อ้างอิงจากเว็ปไชค์ https://dronewars.net/drone-crash-database/ พบว่ามี UAV หลายประเทศทั้งของ อิสราเอล สหรัฐอเมริกา จีน อิตาลี ตุรกี รวมถึง ประเทศอื่นๆ  มีประวัติเกิดอุบัติเหตุเหมือนกันหมด 
ดังนั้นการตกของ UAV อาจจะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของระบบหรือความผิดปกติของเครื่องยนต์ แต่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การโดนต่อต้านจากฝ่ายตรงข้าม สภาพอากาศที่แปรปรวน /ทักษะ หรือประสบการณ์ของผู้บังคับเครื่อง UAV 
อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับความน่าเชื่อถือของระบบ มั่นใจได้ว่า ระบบ UAV ที่ ทร.จะได้รับดีที่สุดตามวัตถุประสงค์การใช้งานและความต้องการของ ทร. ในวงเงินที่กำหนด  

3.กองทัพเรือขอเรียนว่า การจัดหา UAV ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เป็นไปตามกฎหมาย และปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน  มีเอกสารหลักฐานการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีขั้นตอน ตอบข้อสงสัยและข้อซักถาม 
รวมทั้งโครงการนี้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการจัดทำ “ข้อตกลงคุณธรรม ประจำปี งป. ๖๕” โดยคณะกรรมการความร่วมมือการป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) ได้จัดคณะผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) 
ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชน ร่วมสังเกตและให้คำแนะนำตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ 

4.  ส่วนประเด็นเรื่องความคืบหน้าในการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำและข้อสงสัยที่ว่าผู้แทนบริษัท CSOC ที่เข้ามารับผิดชอบโครงการสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องหรือไม่ 
กองทัพเรือขอชี้แจงให้ทราบว่า ผู้แทนที่บริษัท CSOC แต่งตั้ง โดยมีเอกสารสัญญาที่ชัดเจน คือนาย Lang Qingxu ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการ  และมีนายจักรพงษ์ วงศ์ธนปกรณ์ เป็นวิศวกรโครงการ มีคุณวุฒิวิศวกรโยธาระดับสามัญ 
ส่วนภาพที่นายยุทธพงศ์ นำมาเผยแพร่และบอกว่าเป็นครูสอนภาษา นั้นกองทัพเรือ ตรวจพบว่า บ.CSOC ได้จ้างบุคคลเหล่านี้จริง โดยทำหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ไม่ได้ควบคุมงานทางวิศวกรรม 
ต่อมาภายหลัง กองทัพเรือตรวจพบด้วยตนเองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง จึงไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้างตั้งแต่ ธ.ค.๖๔ ซึ่ง กองทัพเรือได้ดำเนินการเรียบร้อยก่อนที่จะถูกกล่าวหาใน ก.พ.๖๕

และสุดท้ายนี้ กองทัพเรือ ขอยืนยันว่าจะเดินหน้าพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัย เข้มแข็ง สามารถปฏิบัติภารกิจในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชนและประเทศชาติ 
โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ

สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

UAV HERMES 900 ...1ในทางเลือกของกองทัพเรือไทย
HERMES 900 ได้ร่วมแข่งขันในโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งของกองทัพเรือโดยอยู่ระหว่างการคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้ายและจะทราบผลในเร็วๆนี้ 
Battlefield Defense จึงขอนำเสนอ ข้อมูลที่น่าสนใจของ HERMES 900 ซึ่งเป็นตัวเลือกที่จะเป็น UAV ใหม่ของกองทัพเรือไทยในอนาคต

ELBIT SYSTEMS เป็นบริษัทผู้ผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอิสราเอล  และจำหน่ายยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพประเทศต่างๆ ทั่วโลก มากกว่า 52 ประเทศ 
โดยเฉพาะกองทัพอิสราเอลและกองทัพสหรัฐอเมริกา ELBIT SYSTEMS มีพนักงานจำนวนมากกว่า 14,000 คน รายได้ต่อปีประมาณ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (ประมาณ 112,000 ล้านบาท) โดยจำหน่ายให้กองทัพสหรัฐฯ ประมาณ 31,000 ล้านบาทต่อปี

ELBIT SYSTEMS เป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์หลายประเภท เช่น ระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV), ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (EW), ระบบ Anti-Drone, ระบบควบคุมและบังคับบัญชา (C4I), วิทยุสื่อสารทางทหาร (TADIRAN), 
กล้องตรวจการณ์รังสีความร้อนความละเอียดสูง (ELOP), ระบบควบคุมการยิง (FCS), ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง (ATMG) และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง (ATMM) เป็นต้น

กองทัพบกได้จัดหา UAV รุ่น HERMES 450 เข้าประจำการ จำนวน 1 ระบบ (3 เครื่อง) และมีการซ่อมบำรุงในประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการของ ELBIT SYSTEMS และผู้แทนของ ELBIT SYSTEMS ในประเทศไทย
กองทัพเรือ  อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดหา UAV ทางยุทธวิธีพิสัยไกล เข้าประจำการ โดย ELBIT SYSTEMS ได้เสนอ UAV รุ่น HERMES 900  พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี 

ELBIT SYSTEMS เป็นผู้ผลิต UAV รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มี UAV ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ ซึ่งได้มาตรฐาน NATO Standard  
ในห้วง 10 ปีที่ผ่าน กองทัพอิสราเอล ได้จัดหา UAV มาประจำการในกองทัพอิสราเอล (IDF) ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ  เกือบทั้งหมดใช้ UAV ระบบหลัก ที่ผลิตโดย Elbit Systems 

นอกจากนี้ ELBIT SYSTEMS ยังได้จัดจำหน่าย UAV ให้กับกองทัพต่างๆ ในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย มากกว่า 30 ประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ แคนนาดา จอร์เจีย โคลัมเบีย เม็กซิโก บราซิล ชิลี ฟิลิปปินส์ และ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่เปิดเผยชื่อ)
ส่วนหนึ่งของประเทศที่ใช้ UAV ของ ELBIT 
- กองทัพอิสราเอล มี UAV รุ่น Hermes 900 และ Hermes 450 ประจำการอยู่
- ประเทศอังกฤษ รุ่น Watch Keeper (Hermes 450) มูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท)  (Elbit ถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบในอังกฤษ)
- ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  มูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท)
- ประเทศบราซิล  มูลค่า 175 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,600 ล้านบาท) 
- ประเทศเม็กซิโก  มูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,800 ล้านบาท)
- สหประชาชาติ  มูลค่า 90 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,900 ล้านบาท) 
- ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่เปิดเผยชื่อ) มูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9,600 ล้านบาท)
- ประเทศฟิลิปปินส์ มูลค่า 180 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,760 ล้านบาท)
และ ประเทศอื่นๆ อีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก

จุดเด่นของ UAV HERMES 900 จาก ELBIT SYSTEMS  ประเทศอิสราเอล
- ระบบ UAV HERMES 900 สามารถเชื่อมโยงภาพและข้อมูลจาก UAV เข้ากับระบบสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NETWORK CENTRIC WARFARE : NCW) ของกองทัพเรือ ได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจาก  Elbit Systems เป็นผู้ดำเนินการในระบบ NCW ให้กับกองทัพเรืออยู่แล้ว
- กองทัพบกมีสถานีควบคุมภาคพื้นดิน (GCS) ของ UAV HERMES 450 จำนวน 2 สถานี ซึ่งหากมีปฏิบัติการร่วมกัน สามารถใช้สถานี GCS ของกองทัพบก ควบคุม UAV HERMES 900 ของกองทัพเรือได้       
- HERMES 900 บินปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่องถึง 30 ชั่วโมง จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในภารกิจการลาดตระเวน พื้นที่ทางทะเลที่กว้างใหญ่ของประเทศไทย ทั้งทางด้านอ่าวไทยและด้านอันดามัน
- HERMES 900 เป็น UAV ขนาด 1 ตัน มีลำตัวเล็กกว่าและมีพื้นที่หน้าตัดเรดาร์ (Radar Cross Section) ขนาดเล็ก ทำให้ HERMES 900 รอดพ้นจากการตรวจจับด้วยเรดาร์ของฝ่ายตรงข้ามได้ดีกว่า 
- HERMES 900  ใช้เครื่องยนต์ ROTAX 914 (HYBRID)  ซึ่งเป็นเครื่องยนต์แบบลูกสูบ  4 สูบ ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ผ่านการพิสูจน์แล้วในเรื่องความแข็งแรงทนทาน มีเสียงเงียบมาก และมียอดจำหน่ายหลายแสนเครื่อง 
ซึ่งมีชั่วโมงบินสะสมหลายล้านชั่วโมง ทำให้มั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และสามารถสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้นานกว่า
- อุปกรณ์หลักของระบบ UAV (Hardware) มากกว่า 80% ELBIT SYSTEMS สามารถผลิตได้เอง จึงสามารถส่งกำลังบำรุงได้เป็นระยะเวลานาน 
- ELBIT SYSTEMS เป็นผู้ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมควบคุมระบบ UAV (Software) 
- ELBIT SYSTEMS อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมบำรุง และการประกอบ UAV ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (สทป.) 
ซึ่งจะทำให้บุคลากรในประเทศได้รับองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบ UAV และมีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงและบริการหลังการขายเพิ่มมากขึ้น

HERMES 900 สามารถที่จะติดตั้งระบบอาวุธได้ โดยมี Software และ Hardware ไว้เรียบร้อยแล้วในตัว UAV โดยไม่ต้องมี Option แต่อย่างใด นอกจากนี้ที่ใต้ปีกยังมี Hard point จำนวน 4 จุด สำหรับติดอาวุธเช่นลูกระเบิด หรืออาวุธนำวิถี 
โดยใช้กล้อง EO/IR ในการค้นหาเป้าหมายซึ่งจะมี Laser designator เป็นตัวชี้เป้าหมาย จึงเห็นได้ชัดว่า Hermes 900 มีขีดความสามารถในการติดตั้งอาวุธได้อย่างสมบูรณ์ 
ซึ่งก็ตรงกับข้อกำหนดของกองทัพเรือที่ UAV ต้องสามารถติดตั้งระบบอาวุธได้ ซึ่ง UAV ทุกบริษัทที่เสนอให้กองทัพเรือพิจารณาก็ล้วนแต่สามารถติดตั้งระบบอาวุธได้ทุกเจ้า  
แต่จุดประสงค์หลักการนำ UAV ระยะบินไกลแบบใหม่ไปใช้งาน ก็คือภารกิจบินลาดตระเวน ตรวจการณ์ แต่ถ้าในอนาคตกองทัพเรือมีความประสงค์จะติดตั้งระบบอาวุธ ก็เพียงจัดหาอาวุธที่ต้องการมาติดตั้งเท่านั้น 

บริษัท Elbit Systems ได้มีการเซ็นต์สัญญาที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการซ่อมบำรุง และการประกอบ UAV ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (สทป.) และกองทัพเรือโดยตรง 
อันจะทำให้ สปท. และกองทัพเรือได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้บุคลากรในประเทศได้รับองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบ UAV และมีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงและบริการหลังการขายเพิ่มมากขึ้น 
นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางที่จะพัฒนาองค์ความรู้ ด้าน UAV มากขึ้นตามลำดับ อันจะทำให้มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งประโยชน์จะตกกับหน่วยงานทางราชการ ไม่ได้ตกกับบริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ตามที่ขณะที่เขียนบทความนี้ยังไม่พบเอกสารประกาศจากศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) หรือกรมบัญชีกลาง(CGD: Comptroller General's Department) กระทรวงพาณิชย์ไทย ซึ่งสามารถเข้าถึงการตรวจสอบการใช้งบประมาณหน่วยงานรัฐได้
ในส่วนของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(NAMO: Naval Acquisition Management Office) เกี่ยวกับผู้ชนะโครงการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก วงเงิน ๓,๙๖๒,๐๔๐,๐๐๐บาท($118,693,250) ที่เผยแพร่ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) 
ซึ่งไม่มีการเผยแพร่เอกสารการกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) สำหรับรายละเอียดอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งที่กองทัพเรือไทยต้องการ แต่มีข้อมูลเบื้องต้นว่าจะจัดหา ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยาน ๓เครื่อง พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง

จากแหล่งที่มาราคากลาง ๔ บริษัทคือ บริษัท Israel Aerospace Industries Ltd.(IAI) อิสราเอล, บริษัท Elbit Systems Ltd อิสราเอล, บริษัท China National Aero-Technology Import & Export Corporation(CATIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท General Atomics Aeronautical Systems, Inc.(GA-ASI) สหรัฐฯ
การชี้แจงของโฆษกกองทัพเรือไทยได้อ้างถึงข้อกล่าวหาจากฝ่ายการเมืองและสื่อที่ว่ากองทัพเรือได้เลือกแบบอากาศยานไร้คนขับ Elbit Systems Hermes 900 อิสราเอลเป็นผู้ชนะ โดยให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและปฏิเสธข่าวเท็จจากผู้ไม่หวังดีที่ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของกองทัพเรือไทย
ซึ่งที่ผ่านมาบ่อยครั้งที่การให้ข่าวจากฝ่ายการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านหรือสื่อกระแสหลักของไทยนั้นไม่ได้ให้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงทั้งหมด ดังนั้นจึงควรจะถือว่าตอนนี้กองทัพเรือไทยยังไม่มีการเลือกแบบว่าเป็นอากาศยานไร้คนขับ Hermes 900 UAV อิสราเอลอย่างเป็นทางการ

Hermes 900 จะเป็นอากาศยานไร้คนขับระบบที่สองที่จัดหาจาก Elbit Systems อิสราเอลต่อจากอากาศยานไร้คนขับ Hermes 450 ที่ประจำการใน กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก(Army Aviation Center) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/dti-d-eyes-04.html)
แม้ว่าข้อมูลเบื้องต้น กองการบินทหารเรือ(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย มีตั้งใจจะใช้อากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle)
ในภารกิจการลาดตระเวนทางทะเล(Maritime Patrol) เป็นหลัก ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft Systems) ทั้งที่จัดหาจากต่างประเทศและพัฒนาในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/marcus-b-rq-21-blackjack-uav.html)

ข้อมูลล่าสุดได้เปิดเผยว่า Hermes 900 มีขีดความสามารถในการติดอาวุธเป็นอากาศยานรบไร้คนขับอากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat aerial Vehicle) ที่น่าจะรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล Spike(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafael-spike-mr.html)
มีรายงานมานานแล้วว่าระบบ UAV ที่กองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) มีใช้บางแบบสามารถติดอาวุธได้ แต่ไม่เคยมีการยืนยันซึ่งน่าจะเพราะอิสราเอลต้องการรักษาความลับในเรื่องนี้ ถ้ายืนยันได้ว่าจริง Hermes 900 จะเป็น UAV แบบแรกของกองทัพเรือไทยที่สามารถเลือกติดอาวุธได้
ยังมีการเปิดถึงความร่วมมือการถ่ายทอดวิทยาการให้กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบ UAV สำหรับกองทัพ อันจะทำให้ไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการใช้งานระบบและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินภายในไทยด้วยครับ