วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีในอนาคตของกองทัพอากาศไทย

credit ภาพ รัตน์ รัตนวิจารณ์

นับตั้งแต่เข้าประจำการมาในปี ๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบัน บ.ล.๘ C-130H และ C-130H-30 ฝูงบิน๖๐๑ เป็นม้างานกำลังหลักของกองทัพอากาศไทยในภารกิจลำเลียงทางยุทธวิธี
ซึ่งตลอด ๓๕ปีที่จะถึงในปี ๒๕๕๘นี้นั้น C-130 ของกองทัพอากาศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตลอดหลายด้าน
เช่นการเปลี่ยนสีตัวเครื่องจากลายพรางสามสีเวียดนาม(South East Asia (SEA) Scheme) และสีขาวมาเป็นสีเทาฟ้าในปัจจุบัน
จนถึงการปรับปรุงระบบอากาศยาน เช่น การติดตั้งจอภาพสีสี่จอในห้องนักบินแทนเครื่องวัดระบบ Analog แบบเก่า




แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปอายุการใช้งานเฉลี่ยของอากาศยานหลักของกองทัพอากาศไทยในช่วงปัจจุบันนั้นมีหลายแบบมากที่ปลดประจำการไปเมื่อเข้าประจำการได้ ๔๐-๕๐ปี
(เครื่องบินลำเลียงที่มีระยะเวลาประจำการนานที่สุดของกองทัพอากาศไทยคือ บ.ล.๒ C-47 Dakota ซึ่งประจำการตั้งแต่ปี ๒๔๙๐-๒๕๓๘ นานถึง ๔๘ปี
ไม่รวม บ.ล.๒ก BT-67 ที่นำ C-47 กลับมาดัดแปลงใช้ใหม่ซึ่งยังประจำการที่ฝูง๔๖๑)
ซึ่งสำหรับ บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องของกองทัพอากาศไทยนั้นตลอดระยะเวลาที่เข้าประจำการมานี้จัดว่าถูกใช้งานอย่างหนักมาก ทั้งงานลำเลียงทางยุทธวิธี งานสนับสนุนทางธุรการและอื่นๆ
เพราะฉะนั้นในอนาคตอันใกล้คืออีกราว ๕-๑๐ปีข้างหน้านั้นกองทัพอากาศไทยก็คงมีความจำเป็นต้องพิจารณาโครงการเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ครับ

credit ภาพ รัตน์ รัตนวิจารณ์

เดิมทีนั้นหลังการปลดประจำการของ บ.ล.๔ก C-123K ที่เคยประจำการในฝูงบิน๖๐๒ ราวปี ๒๕๓๔
กองทัพอากาศไทยได้จัดหา บ.ล.๑๔ G222 จำนวน ๖เครื่อง มาเป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ทดแทน
โดยใช้งานควบคู่ไปกับ บ.ล.๘ C-130H ซึ่งมีสี่เครื่องยนต์ใช้ในภารกิจลำเลียงพิสัยไกลและมีน้ำหนักบรรทุกมากกว่า G222 ที่จะใช้ในภารกิจลำเลียงที่พิสัยสั้นและน้ำหนักบรรทุกน้อยกว่า
แต่เนื่องจากบริษัท Aeritalia(Alenia) อิตาลีเกิดภาวะขาดทุนและพนักงานประท้วงจนล้มละลายในช่วงหลังจากที่กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่อง G222 ได้ไม่นาน
ทำให้ G222 เกิดการขาดแคลนอะไหล่ในการซ่อมบำรุงปรนนิบัติเครื่องจนต้องปลดประจำการเร็วกว่าที่ควรมาก
นั่นทำให้ในปัจจุบันภารกิจในด้านการลำเลียงทางยุทธวิธีของกองทัพอากาศไทยจึงตกอยู่กับ บ.ล.๘ เพียงแบบเดียวทำให้ C-130H รับภาระสูงมากๆ

จากที่กล่าวไปในข้างต้นจะเห็นได้ว่าสำหรับเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีของกองทัพอากาศนั้นถ้ายังยึดหลักนิยมเช่นเดิมก็ควรจะมี บ.ลำเลียใช้งานสองแบบ
คือ บ.ลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ และ บ.ลำเลียงขนาดหนักสี่เครื่องยนต์
แต่เอาเข้าจริงสำหรับสมรรถนะของ C-130H ในปัจจุบันนั้นก็ไม่ได้จัดว่าเป็น บ.ลำเลียงขนาดหนักแล้วในด้านน้ำหนักบรรทุกสูงสุดและพิสัยการบิน
ซึ่งก็มีข้อมูลว่าในการส่งกำลังไปฝึกร่วมที่ต่างประเทศไกลๆนั้น เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทยมีความต้องการเครื่องที่บรรทุกได้มากกว่าและพิสัยบินไกลกว่า C-130H มาตลอด
เพราะไม่ค่อยสะดวกในการลำเลียงสัมภาระจำนวนมากโดยต้องแวะที่สนามบินมิตรประเทศเพื่อไปที่หมายหลายต่อนัก

ถ้ายึดตามคุณสมบัติโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางตามแผนพัฒนากองทัพของกระทรวงกลาโหมเก่าจะมีรายละเอียดังนี้คือ

บันทึก 14 โครงการจัดหา บ.ลำเลียง ทดแทน (ระยะที่ 1)
จัดหา บ.ลำเลียง (จำนวนผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 40 คน น้ำหนักบรรทุกไม่ต่ำกว่า 4,000 กก.
ความเร็วเดินทางไม่ต่ำกว่า 240 นอต และพิสัยบินไม่ต่ำกว่า 1,000 ไมล์ทะเล )
จำนวน 6 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค

ถ้าโครงการนี้เป็นโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี ก็น่าจะเป็นเครื่องที่จะมาแทน บ.ล.๑๔ G222 ที่ปลดประจำการไป
โดยในปัจจุบันนี้มีเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางหลายแบบที่สามารถนำมาพิจารณาคุณสมบัติได้ เช่น


C-27J Spartan ของ Alenia ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก G222 โดยใช้ Technology ระบบร่วมกับ C-130J ของ Lockheed Martin เช่น ย.Rolls-Royce AE2100-D2A และระบบ Avionic
โดย C-27J สามารถส่งออกได้ในหลายประเทศเช่น กองทัพอากาศอิตาลี สหรัฐฯ ออสเตรเลีย บัลแกเรีย กรีซ ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวัค โมร็อกโค ชาด เม็กซิโก และ เปรู


ส่วนเครื่องอีกแบบซึ่งเป็นที่พูดถึงบ่อยในช่วงหลังมานี้ว่ามีโอกาสสูงคือ C295 ของ Airbus (เดิม EADS CASA) ซึ่งสามารถส่งออกได้จำนวนมากในหลายประเทศหลายรุ่น
เช่น กองทัพอากาศสเปน โปรตุเกส เชค ฟินแลนด์ โปแลนด์ จอร์แดน โอมาน คาซัคสถาน แอลจีเรีย อียิปต์ กานา บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
รวมถึงข่าวการเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องทดแทน Avro ของกองทัพอากาศอินเดียที่เคยรายงานไปด้วย

ซึ่งรุ่นลำเลียงทางยุทธวิธี C295M นั้นถ้าเทียบกับ C-27J แล้วเครื่องทั้งสองแบบจะมีสมรรถนะแตกต่างในแต่ละด้านกันเล็กน้อย
แต่โดยรวมเกินขีดความสามารถขั้นต่ำที่จะนำมาทดแทน G222 ได้ทั้งสองแบบ


ในส่วนของเครื่องบินลำเลียงหนักที่จะมาทดแทน C-130H ในอีกราว ๑๐ปีข้างหน้านั้น ส่วนตัวไม่ค่อยแน่ใจว่าสายการผลิตของ C-130J จะยังมีอยู่อีกหรือไม่
แต่ในตลาดเองก็มีเครื่องบินลำเลียงหลายแบบที่มีสมรรถนะสูงกว่าหรือใกล้เคียงที่จะมาทดแทน C-130H ได้




Airbus A400M Atlas เป็นเครื่องบินลำเลียงเครื่องยนต์ใบพัดที่มีขนาดหนักกว่า C-130 แต่เล็กกว่าเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์เครื่องยนต์ไอพ่นเช่น C-17
โดยเป็นเครื่องบินลำเลียงเครื่องยนต์ใบพัดที่กำลังเป็นที่สนใจมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่ง A400M เคยมาเยือนไทยแล้วในปี ๒๕๕๕
ซึ่งปัจจุบันหลังจากมีความล่าช้าในการพัฒนาระยะหนึ่ง A400M กำลังเริ่มทยอยเข้าประจำการในกลุ่มประเทศยุโรปและ NATO ที่ร่วมโครงการจัดหาแต่แรก
ทั้ง กองทัพอากาศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม สเปน ลักเซมเบิร์ก ตุรกี รวมถึงกองทัพอากาศมาเลเซียที่เป็นประเทศเดียวนอกกลุ่มยุโรปที่สั่งจัดหาโดยจะเข้าประจำการในราว 2015
แต่อย่างไรก็ตาม A400M นั้นมีราคาแพงมากคือราว 152.4 million Euros ต่อเครื่อง
ซึ่งกองทัพอากาศเยอรมนีเองก็ลดจำนวนเครื่องที่สั่งจัดหาเดิมจาก ๖๐เครื่องเป็น ๕๓เครื่อง และปัจจุบันเพียง ๔๐เครื่อง เช่นเดียวกับกองทัพอากาศสเปนที่ลดจำนวนเครื่องที่จัดหาลงจาก ๒๗เครื่องเป็นเพียง ๑๔เครื่อง
เยอรมนีมีแผนจะขายต่อ A400M ส่วนเกิน ๑๓เครื่องให้กับมิตรประเทศที่สนใจ เช่นเดียวกับสเปนที่จะขายเครื่องส่วนเกินของตน ๑๓เครื่องเช่นกัน ซึ่งราคาน่าจะถูกกว่าเครื่องประกอบใหม่จากโรงงานและอายุการใช้งานน้อยมาก(น่าจะใกล้เคียงกับ 0)
แต่ทั้งนี้ก็ไม่แน่ใจว่าเครื่องส่วนเกินของทั้งวสองประเทศนั้นยังถือเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลทั้งสองประเทศอยู่หรือไม่ เพราะถ้าเช่นนั้นการจัดซื้อเครื่องส่วนเกินก็ต้องทำกับเยอรมนีหรือสเปนไม่ใช่ Airbus ฝ่ายเดียวตรงๆ
ก็ตามที่ทราบว่าสถานการณ์ของไทยในปัจจุบันยากค่อนข้างยากที่เยอรมนีจะขายยุทโธปกรณ์ให้ไทย ส่วนสเปนนั้นก็พอมีความเป็นไปได้มากกว่าบ้างแต่ก็อาจขึ้นกับนโยบายของสหภาพยุโรปที่สเปนเป็นสมาชิกเช่นเดียวกับเยอรมนี
แต่ถ้ากองทัพอากาศไทยสามารถจัดหา A400M ได้ประมาณ ๖เครื่องขึ้นไปก็น่าจะเป็นประโยชน์มาก ยิ่งถ้าทดแทน C-130H ถึง ๑๒เครื่องได้ก็ยิ่งดี


เครื่องบินลำเลียงอีกแบบซึ่งเพิ่งมีการเปิดตัวไปล่าสุดเดือนตุลาคม 2014 นี้คือ Embraer KC-390 จากบราซิล ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ไอพ่นที่มีสมรรถนะสูงกว่า C-130J บ้างระดับหนึ่ง
โดยนอกจากกองทัพอากาศบราซิลที่จะจัดหา ๒๘เครื่องแล้วยังมีหลายประเทศให้ความสนใจที่จะจัดหา KC-390 ไปใช้เช่น โปรตุเกส ๖เครื่อง เชค ๒เครื่อง ชิลี ๖เครื่อง อาร์เจนตินา ๖เครื่อง และโคลัมเบีย ๑๒เครื่อง
รวมยอดสั่งจัดหาปัจจุบัน ๖๐เครื่อง โดย KC-390 มีราคาราวเครื่องละ $50 million ซึ่งถูกกว่า C-130J ที่ราคาเครื่องละ $100-120 million สำหรับเครื่องที่ส่งออกต่างประเทศ(USAF Flyaway Cost FY2014 $67.3 million)
แต่อย่างไรก็ตาม KC-390 นั้นเพิ่งจะมีต้นแบบเพียงหนึ่งเครื่องและการทดสอบบินครั้งแรกจะมีในเร็วๆนี้ ฉะนั้นอาจจะต้องดูในระยะยาวว่า Embraer จะประสบความสำเร็จมาแค่ไหนกับเครื่องรุ่นนี้
ซึ่งสำหรับกองทัพอากาศไทยเองสมรถนะของ KC-390 ราว ๖-๑๒เครื่อง ก็น่าสนใจที่จะมาแทน C-130H อยู่
เพราะถึงแม้ KC-390 จะใช้ ย.ไอพ่นสองเครื่อง ถึงพิสัยการบินจะสั้นกว่าแต่ถ้าเทียบกับ ย.ใบพัดรุ่นเก่าสี่เครื่องแล้ว ก็ค่อนข้างจะประหยัดเชื้อเพลิงกว่าครับ

ในช่วง ๕-๑๐ปีนี้กองทัพอากาศไทยยังมีโครงการจัดหาอากาศยานใหม่ที่จำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องอยู่อีกหลายโครงการ
เช่นโครงการจัดหา ฮ.กู้ภัยทางอากาศ EC725 ซึ่ง ๔เครื่องแรกจะส่งมอบในปี ๒๕๕๘ และอีก ๒เครื่องที่เพิ่งลงนามไปในปี ๒๕๖๐ โดยมีความต้องการรวม ๑๖เครื่องเพื่อทดแทน ฮ.๖ UH-1H ในฝูง๒๐๓
รวมถึงโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ยังไม่มีการประกาศเลือกแบบในขณะนี้
ส่วนข่าวที่ Elbit อิสราเอลรับสัญญาปรับปรุง F-5E วงเงิน $85 million กับประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิคนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นของกองทัพอากาศไทยหรือไม่
ความเป็นไปได้ในการจัดหา บ.ข.๒๐ Gripen C เพิ่มระยะที่๓ อีกราว ๔-๖เครื่องประจำการในฝูง๗๐๑ เพิ่มเติมจาก ๑๒เครื่องที่มีอยู่
และกองทัพอากาศก็อาจจะต้องพิจารณาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่แทน บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูง๑๐๒ ที่ใกล้จะหมดอายุการใช้งานอีกราว๑๐ปีข้างหน้าด้วย
ส่วนตัวก็ไม่แน่ใจว่านโยบายของท่านผู้บัญชาการทหารอากาศคนปัจจุบันคือ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ซึ่งเติบโตมาในสายนักบินเครื่องบินลำเลียง(ปกติ ผบ.ทอ.จะเป็นสายนักบินเครื่องบินขับไล่/โจมตีมาตลอด)
จะให้ความสำคัญกับโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ของกองทัพอากาศไทยหรือไม่มากแค่ไหนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Airbus และ Tata ส่ง C295 เข้าแข่งขันโครงการเครื่องบินลำเลียงกองทัพอากาศอินเดีย

Airbus and Tata Advanced Systems bid for the IAF’s Avro replacement programee


http://militaryaircraft-airbusds.com/PressCenter/LatestNews/TabId/176/ArtMID/681/ArticleID/346/Airbus-Defence-and-Space-and-Tata-Advanced-Systems-bid-for-the-Indian-Air-Force%E2%80%99s-Avro-replacement-programme.aspx

Airbus Defence and Space ร่วมกับ Tata Advanced Systems (TASL) จะส่งเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง C295 เข้าร่วมแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องลำเลียงแบบใหม่ของกองทัพอากาศอินเดีย
โดยกองทัพอากาศอินเดียมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทนเครื่อง Avro จำนวน 56เครื่องที่ประจำการมานาน
ซึ่ง Airbus จะเสนอเครื่องชุดแรก 16เครื่องจากโรงงานในยุโรปมาทำการประกอบที่อินเดีย และอีก 40เครื่องจะทำการผลิตชิ้นส่วนและประกอบที่โรงงาน Tata ในอินเดีย
"เรามั่นใจว่า C295 จะเป็นเครื่องที่ดีที่สุดในการทดแทนฝูงบิน Avro ของกองทัพอากาศอินเดีย
และเราได้ร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับ Tata Advanced Systems ซึ่งเป็นบริษัทด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของอินเดียสำหรับโครงการนี้
C295 เป็นเครื่องที่มีความน่าเชื่อถือสูงประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งพิสูจน์ได้จากจำนวนลูกค้ากว่า19ประเทศทั่วโลก ซึ่งปีนี้มีการจัดหาไปไม่ต่ำกว่า 20เครื่องจาก 5ประเทศ"
Domingo Urena Raso รองประธานฝ่ายอากาศยานทางทหาร Airbus Defence and Space กล่าว

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Gripen E ของบราซิลจะติดตั้งจอภาพขนาดกว้างในห้องนักบิน



Presentation from AEL Systems on a possible Gripen Display layout.

http://www.defesanet.com.br/gripenbrazil/noticia/17060/EXCLUSIVE

สัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ระหว่างบราซิลและ SAAB สวีเดนเข้าสู่ขั้นสุดท้ายหลังจากประกาศเลือกแบบเมื่อ 18 ธันวาคมปีที่แล้ว
โดยล่าสุดรัฐบาลบราซิลได้มีการลงนามสัญญาจัดหากับ SAAB แล้วในวันที่ 27 ตุลาคม 2014 วงเงิน 39.3 billion SEK ส่งมอบให้ในช่วงปี 2019-2024
ข้อมูลสำคัญหนึ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติของเครื่องที่กองทัพอากาศบราซิลจะจัดหา 36เครื่อง แบ่งเป็น Gripen E ที่นั่งเดี่ยว 28เครื่อง และ Gripen F สองที่นั่ง 8เครื่องคือ
ห้องนักบินของเครื่อง Gripen E จะได้รับการติดตั้งจอภาพเอนกประสงค์ขนาดกว้างลักษณะเดียวกับที่ใช้ใน F-35 แทนที่จอภาพขนาดเล็กสามจอที่ใช้ใน Gripen C
ซึ่งแบบจำลองขนาดเท่าของจริงของห้องนักบิน Gripen E แบบใหม่ได้เคยแสดงในงาน Farnborough 2014 เมื่อเดือนกรกฎาคมมาแล้ว
โดย SAAB ได้อนุมัติให้กองทัพอากาศบราซิลเลือกบริษัทในประเทศคือ Embraer เป็นผู้รับสัญญาหลักในการวิจัยพัฒนาร่วมผลิตเครื่องโดยได้รับการถ่ายทอด Technology จาก SAAB แล้ว
ยังมีบริษัทอื่นเช่น AEL Sistemas บราซิล จะเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบร่วมของ Gripen E ซึ่งแสดงในงาน FIDAE 2014 ที่ชิลีเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด้วย
ระบบห้องนักบินแบบใหม่ของ Gripen E จอภาพขนาดกว้างWAD (Wide Area Display) เป็นของ Rockwell Collins สหรัฐฯ
ทำงานร่วมกับหมวกนักบิน Helmet Mounted Display (Targo) ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลต่างสู่สายตานักบินได้เช่นเดียวกับจอภาพตรงหน้า HUD (Head Up Display) ที่ใช้ใน Gripen C/D
ซึ่งระบบห้องนักบินลักษณะนี้ได้ถูกนำมาใช้ F-35 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่กำลังจะพร้อมถูกเข้าประจำการอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ก่อนแล้วครับ

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภาพถ่ายดาวเทียมเรือดำน้ำแบบใหม่ของเกาหลีเหนือ


http://38north.org/2014/10/jbermudez101914/

ตามที่เคยรายงานไปก่อนหน้านี้ครับว่าดาวเทียมสอดแนมสหรัฐฯสามารถถ่ายแบบเรือดำน้ำแบบใหม่ของเกาหลีเหนือที่อู่เรือ Sinpo ใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอู้เรือและสถาบันออกแบบทางเรือของเกาหลีเหนือ
จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายคาดว่าเรือดำน้ำดังกล่าวจะมีขนาดยาว 67m กว้าง 6.6m ระวางขับน้ำประมาณ 900-1500tons
ซึ่งดูแล้วเป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าโจมตีลาดตระเวนตามแบบทั่วไป(SSK) ซึ่งอาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อศึกษาการทดแทนเรือชั้นWhiskey โซเวียตและ Type 033 จีนที่ใช้มานานเก่าซึ่งและล้าสมัย


อย่างไรก็ตามมีข่าวลือว่าเกาหลีเหนือกำลังจะออกแบบเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าติดขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์(SSB) ของตนเองขึ้นมา โดยน่าจะมีรูปแบบภารกิจคล้ายคลึงกับเรือ Type 032 ของจีน
ซึ่งก็สอดคล้องข่าวที่เกาหลีเหนือกำลังเร่งพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์แบบใหม่ที่เล็กพอจะสามารถติดตั้งกับขีปนาวุธข้ามทวีปได้
แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนยืนยันในเรื่องนี้ได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Raytheon และกองทัพเรือสหรัฐฯประสบความสำเร็จในการทดสอบยิง SM-6 ครั้งล่าสุด

USS John Paul Jones launches a RIM-174 in June 2014

http://raytheon.mediaroom.com/index.php?s=43&item=2668

ระหว่างการทดสอบของกองทัพเรือสหรัฐฯรวมกับ Raytheon ผู้พัฒนาระบบบนเรือรบที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis
CG-62 USS Chancellorsville ได้ทดสอบการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-174 SM-6 สองนัดเข้าทำลายเป้าหมายจำลองอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน
โดย SM-6 ได้ใช้ Radar ของตัวหัวจรวดเองในการค้นหาและนำวิถีเป้าหมายโดยได้รับข้อมูลจาก DDG-102 USS Sampson
SM-6 นัดแรกเข้าทำลายเป้าบินความเร็วเหนือเสียงพิสัยใกล้แบบ GQM-163A ที่ระดับความสูงต่ำ
และ SM-6 นัดที่สองทำลายเป้าบินความเร็วต่ำกว่าเสียงพิสัยกลางแบบ BQM-74E ที่ระดับความสูงต่ำเช่นกัน

หลังจากเริ่มเข้าประจำการครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2013 Ratytheon ได้ส่งมอบ SM-6 ให้กองทัพเรือสหรัฐฯแล้ว 130นัด
ซึ่ง SM-6 จะเพิ่มขีดความสามารถให้เรือรบที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis ในการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศระยะไกลมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกตรึง อากาศยานปีกหมุน อากาศยานไรคนขับ และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน

"ตอนนี้เหล่านักสู้สงคราม(เรือรบ)ไม่จำเป็นต้องรอให้ภัยคุกคามมาเคาะประตูถึงหน้าบ้านอีกต่อไป
เป้าหมายจะถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วและเรือเพียงลำเดียวสามารถป้องกันพื้นที่ได้มากกว่าเดิม"
Mike Campisi ผู้อำนวยการอาวุโสของโครงการ SM-6 กล่าว

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาร์เจนตินาเจรจาร่วมกับบราซิลในการจัดหา Gripen 24เครื่อง


http://www.svd.se/naringsliv/branscher/industri-och-fordon/brasilien-och-argentina-kan-samarbeta-om-gripen_4032153.svd

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม รัฐมนตรีกลาโหมอาร์เจนตินาและบราซิลได้ลงนามในสัญญาโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศในด้านการพัฒนาอากาศยาน
ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมอาร์เจนตินา Agustin Rossi ได้กล่าวถึงการเปิดการเจรจาความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen 24เครื่อง
ซึ่งเครื่อง Gripen ดังกล่าวที่อาร์เจนตินาอาจจัดหาจะทำผลิตในบราซิลภายใต้สิทธิบัตรของ SAAB สวีเดน
ปัจจุบันกองทัพอากาศอาร์เจนตินายังคงประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Mirage III/V จำนวนจำนวนราว 6 และ 5เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสภาพที่ทำการบินได้แล้ว
กองทัพอากาศอาร์เจนตินาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่มาแทนเครื่อง Mirage ที่เริ่มทยอยปลดประจำการไปครับ

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นิตยสาร TOPGUN ฉบับสุดท้าย ความเป็นไปของหนังสือทหารในไทยปัจจุบัน


ปกตินิตยสารรายเดือน TOPGUN ของเครือ Animate Group จะออกทุกๆกลางเดือนราววันที่ ๑๕-๑๖
ซึ่งเป็นการย้ายจากการออกในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือนหลังเหตุน้ำท่วมใหญ่ปลายปี๒๕๕๔ ซึ่งทำให้นิตยสารหยุดไปสองฉบับ
แต่ในฉบับที่ 197 เดือนตุลาคม 2014 นี่ออกช้าไปสองวันแต่ร้านที่ซื้อประจำไม่รับมาขายแล้วต้องไปซื้ออีกร้าน
และข่าวที่ปรากฎในหน้าสุดท้ายของเล่มก็คือ TOPGUN ฉบับนี้ออกเป็นฉบับสุดท้ายแล้ว
จริงๆส่วนตัวคิดว่าน่าจะทนออกอีกสักสามเล่มให้ครบ vol.200 แล้วค่อยไปน่าจะดีกว่านะครับ

ตั้งแต่เปิดตัวเล่มแรก vol.1 หน้าปก MH-53 PAVE LOW ในเดือนกรกฎาคมปี ๒๕๔๐ นิตยสารฉบับนี้ก็ล้มลุกคลุกคลานมาหลายครั้งครับ
ตั้งแต่ถูกวิจารณ์ว่าเนื้อหาบทความของนักเขียนบางท่านไม่ดีเท่านิตยสารสมรภูมิซึ่งอยู่มานานกว่าจะ ๔๐ปีแล้ว
ฉบับแรกๆมีลงภาพรูป Nude วาบวิวอย่างกับหนังสือมวย
กว่าบทความและภาพเนื้อหาต่างๆจะเข้าที่เข้าทางก็หลายปีอยู่
เห็นจวนเจียนจะไปทีหนึ่งตอนปี ๒๕๔๘ ที่ลดต้นทุนหนังสือจากกระดาษขาวมาเป็นกระดาษน้ำตาล
จนหยุดไปเดือนหนึ่งแล้วขึ้นราคาจาก ๔๕บาทเป็น ๕๕บาท กระดาษขาวเหมือนเดิม
แล้วก็ออกมาได้นานจนบทความหัวข้อต่างผลักกันไปๆมาๆหายไปก็มาจนออกได้ตั้ง ๑๗ปีถึงเลิกก็นับว่าเก่งมากแล้วครับ

ปัญหาของหนังสือทหารในไทยปัจจุบันก็เป็นปัญหาเดิมๆของวงการอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์นั่นละครับ
คือไม่มีโฆษณามาลงมากพอที่จะให้หัวหนังสืออยู่ได้ ซึ่งนิยสารสมรภูมิก็เจอมาเมื่อ๑๐ปีที่แล้วจนกลายเป็นรายสะดวกออกในปัจจุบัน
ประกอบกับพฤติกรรมของคนอ่านที่เปลี่ยนไปจากการใช้ Internet และ Social Network ในการติดตามข่าวสารที่รวดเร็ว
ทำให้นิตยสารแนวนี้ขาดทุนไม่สามารถจะอยู่ได้อีกต่อไปจนต้องเลิกพิมพ์ไปในที่สุด
ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าในตลาดหนังสือของไทยตอนนี้ไม่มีนิตยสารทหารที่ลงข้อมูลหลากหลายทุกเหล่าทัพทั้งไทยและต่างประเทศแล้ว

ตอนนี้เท่าที่ไปสอบถาม Animate Group ที่ไปออกงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ดูเหมือนว่าข่าวการขายหัวหนังสือและเปลี่ยนทีมงานจะยังไม่มีความชัดเจนอะไร
อันนี้ก็กังวลไปถึงนิตยสารทหารอื่นที่ซื้ออ่านประจำก็เห็นจะเหลือแต่ Tango ของมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ครับว่าจะยังออกหนังสือรายเดือนต่อไปได้อีกหรือไม่ เพราะ Tango จะลงแต่เรื่องของอากาศยานเป็นหลักในราคา ๗๐บาท(ซื้อมาตั้งแต่เล่มละ๒๐บาท)
ถ้า Tango หายไปอีกนี่คราวนี้ยุคมืดของวงการหนังสือทหารของไทยอย่างแท้จริงเลยละครับ

เกาหลีเหนือกำลังสร้างเรือดำน้ำแบบใหม่ของตนเอง

The captured Sang-O class submarine on display at Tongil (Unification) Park near Gangneung

http://en.ria.ru/military_news/20141020/194350315/North-Korea-Gets-New-Submarine.html

รายงานจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯถึงผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมสอดแนมเหนือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีนั้น
ได้มีการพบเรือดำน้ำแบบใหม่ขนาดยาว 67m ระวางขับน้ำประมาณ 900-1500tons ซึ่งมีแบบแผนคล้ายเรือดำน้ำของยูโกสลาเวียช่วงปี 1970s
กำลังถูกสร้างที่อู่เรือ Sinpo ใต้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและที่ตั้งสถาบันออกแบบทางเรือหลักของเกาหลีเหนือ
ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าถ้าการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำแบบใหม่นี้ประสบความสำเร็จจริง
จะทำให้กองทัพเรือประชาชนเกาหลีมีขีดความสามารถในการลาดตระเวนน่านน้ำและใช้อาวุธในระยะไกลยิ่งขึ้นอย่างมาก

ปัจจุบันกำลังเรือดำน้ำของกองทัพเรือประชาชนเกาหลีประกอบไปได้ด้วยเรือ Whiskey ของโซเวียตและ Type 033 ของจีนที่ลอกแบบจากเรือชั้น Romeo ซึ่งเก่าและล้าสมัย
แต่เกาหลีเหนือก็มีการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของตนเองเช่นชั้น Yugo ชั้น Yono และ ชั้น Sang-O
ซึ่งเรือดำน้ำขนาดเล็กเหล่านี้เคยถูกยึดได้ขณะทำภารกิจแทรกซึ่มสาธารณรัฐเกาหลีมาแล้วและส่งออกให้บางประเทศเช่นอิหร่านและเวียดนาม
การที่เกาหลีเนือจะต่อเรือดำน้ำลาดตระเวนขนาดใหญ๋ขึ้นมาเองจึงนับเป็นเรื่องที่น่าจับตามมองมากครับ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ทูตรัสเซียประจำอินเดียกล่าว Rafale จะโดน Sukhoi ผลิตในจีนยิงตกเหมือนยุง


http://news.webindia123.com/news/articles/India/20141018/2478954.html

เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำอินเดียนาย Alexander M. Kadakin ได้กล่าวกับสื่อมวลชนอินเดียถึงเครื่องบินขับไล่ Rafale ของฝรั่งเศสที่กองทัพอากาศอินเดียจะจัดหาว่า
"เรา(รัสเซีย)ประหลาดใจมากที่ Rafale ถูกเลือกซื้อ(โดยกองทัพอากาศอินเดีย) เพราะถ้ามองว่า Rafale จะถูกนำใช้ต่อต้านเครื่องบินรบของปากีสถานและจีนแล้ว
เมื่อ บ.Sukhoi ที่ผลิตและวางกำลังในจีน(เช่น J-11 ลอกแบบ Su-27, J-15 ลอกแบบ Su-33 และ Su-30MKK/MK2/MK3 รวมถึง J-16 ที่ลอกแบบ)
แต่เป็นเพียงร้อยละ50 ของ บ.Sukhoi ที่ประเทศคุณผลิต (Su-30MKI) แม้แต่เครื่อง Sukhoi ของจีน Rafale จะถูกยิงตกร่วงเหมือนยุงในคืนเดือนสิงหาคมเลย"

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลิทัวเนียจัดหา Javelin ชุดที่สองจากสหรัฐฯ


http://www.kam.lt/lt/naujienos_874/aktualijos_875/lietuva_papildys_priestankiniu_raketu_sistemos_javelin_atsargas.html

กระทรวงกลาโหมลิทัวเนียได้ประกาศข้อมูลว่าจะมีการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ Javelin ชุดที่สองจากสหรัฐฯวงเงิน $20 million หลังการจัดหาชุดแรกในปี 2001
โดยสภา Congress สหรัฐฯได้อนุมัติการขายให้ลิทัวเนียเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา โดยจะเริ่มส่งมอบภายในปี 2015-2017
ลิวทัวเนียเป็นประเทศกลุ่มรัฐบอลติกที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ในปี 2004 และกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย
โดยเฉพาะการรับมือภัยคุกคามจากรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ในยูเครนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาเซอร์ไบจันเพิ่มงบประมาณกลาโหมปี2015


Azerbaijan to increase defense spending for 2015
http://news.az/articles/economy/92728

อาเซอร์ไบจันจะเพิ่มงบประมาณกลาโหมในปี 2015 คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของงบประมาณประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากปี 2014
เป็นงบประมาณสำหรับงานด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยของรัฐ
หลังจากเคยทำสงครามกับอาเมเนียประเทศเพื่อนบ้านในช่วงปี1990s ปัจจุบันยุทโธปกรณ์ที่ประจำการในกองทัพอาเซอร์ไบจันส่วนใหญ่ยังเป็นของเก่าที่ตกทอดตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
แต่ในช่วงหลายปีหลังมานี้อาเซอร์ไบจันก็มีการจัดหาอาวุธใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น โดยแหล่งหลักมาจากรัสเซีย ตุรกี และอิสราเอล รวมถึงชาติสมาชิก NATO บ้างครับ

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ยานกระสวยอวกาศไร้คนบังคับ X-37B เตรียมลงจอดหลังจบภารกิจ 22เดือน


Secretive U.S. robotic mini-shuttle to end 22-month mission on Tuesday
http://www.reuters.com/article/2014/10/12/us-space-military-spaceplane-idUSKCN0I106E20141012

กองทัพอากาศสหรัฐฯวางแผนจะนำกระสวยอวกาศแบบไร้คนบังคับ X-37B ซึ่งเป็นโครงการกลับลงจอดสู่พื้นหลังเสร็จสิ้นภารกิจในอวกาศ 22เดือน
ซึ่งกำหนดการมีขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
X-37B Orbital Test Vehicle ขนาด 9m ถูกส่งขึ้นไปสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดแบบ Atlas5 ที่แหลมCanaveral รัฐFlorida
โดย Boeing ได้สร้าง X-37B ขึ้นมาแล้วสองเครื่อง เครื่อแรกส่งขึ้นไปทดสอบครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 2010 ทำภารกิจ 8เดือน
เครื่องที่สองส่งในครั้งที่สองเดือนมีนาคมปี 2011 ทำภารกิจ 15เดือน และครั้งที่สามในวันที่ 11 ธันวาคม 2012 ทำภารกิจ 22เดือนล่าสุด
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกองทัพอากาศและ NASA ได้บรรลุข้อตกลงในการย้ายไปใช้ศูนย์อากาศ Kennedy รัฐFlorida เป็นสถานที่ลงจอดของ X-37B ต่อไป
แต่การลงจอดของ X-37B ในภารกิจล่าสุดนี้จะใช้ทางวิ่งของฐานทัพอากาศ Vandenberg ที่California เช่นเดียวกับสองภารกิจแรก
อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยข้อมูลลับว่า X-37B ถูกส่งขึ้นวงโคจรไปทำภารกิจอะไรครับ

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ภาพ Oplot-T ที่โรงงาน Malyshev ยูเครนล่าสุด


http://www.sq.com.ua/rus/news/vlast/11.10.2014/v_noyabre_harkovskij_zavod_immalysheva_znachitelno_uvelichit_obem_proizvodstva_poroshenko/
http://andrei-bt.livejournal.com/316072.html

ภาพในชุดข้างต้นถ่ายที่โรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv วันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างการเยือนเพื่อเยี่ยมชมโรงงานของประธานาธิบดียูเครน นาย Poroshenko
ซึ่งในชุดภาพโรงงงานจะเห็น T-64B1M ที่ประกอบเสร็จหนึ่งคันแล้วทำสีคล้าย Oplot-T ในภาพข้างต้น (ไม่ทราบว่าของยูเครนเองหรือกองทัพสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก)
และชิ้นส่วนรถถังแบบต่างๆจำนวนมากพร้อมเครื่องยนต์ที่คนงานกำลังทำงานประกอบอยู่ครับ ซึ่งยืนยันได้อย่างหนึ่งว่ามีรถถังหลัก BM Oplot ประกอบเสร็จใหม่แล้วหนึ่งคัน



อย่างไรก็ตามข้อมูลระบุเพียงว่าภาพนี้คือรถถังหลัก Oplot-T เท่านั้น
ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นรถของกองทัพบกไทยที่เพิ่งประกอบเสร็จที่จะจัดส่งในชุดที่สอง
ต่อจากชุดแรก5คันที่มีการขึ้นทะเบียนกงจักรเลขอักษรสีแดง และตัวอักษรย่อสังกัด ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ.
ในงานสวนสนามอำลาชีวิตราชการนายทหารชั้นนายพลที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมาไปแล้วหรือไม่ครับ
แต่ก็หวังว่าคงจะเป็นรถของไทยจริงจะจะถูกจัดส่งให้ไทยตามกำหนดการณ์ที่เคยรายงานไว้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟินแลนด์ตั้งกลุ่มทำงานเตรียมสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่แทน F/A-18 Hornet


http://www.defmin.fi/?9_m=5980&s=8
http://www.defmin.fi/?587_m=5981&l=sv&s=8

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ Carl Haglund ได้ประกาศจัดตั้งกลุ่มคณะทำงานใหม่เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา
สำหรับการวางแผนขั้นตอนการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทน F/A-18C/D Hornet ของกองทัพอากาศฟินแลนด์
ตามแผนวงรอบของกองทัพอากาศฟินแลนด์นั้นตั้งใช้จะใช้ Hornet ไปจนถึงปี 2030 เมื่อเครื่องที่มีอายุการใช้งานมากที่สุดที่ 35ปี
โดยจะมีการปลดประจำการเครื่องแรกในปี 2025 จนถึงเครื่องสุดท้ายในปี 2030
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนจะเริ่มขึ้นภายใน 15ปีหลังการประกาศโครงการอย่างเป็นทางการในราวปี 2015
และจะมีการเลือกแบบในช่วงปี 2020s โดยคาดว่าเครื่องที่ถูกเลือกจะเริ่มผลิตและส่งมอบได้ภายในปี 2025-2030
อย่างไรก็ตามการศึกษาความต้องการคุณสมบัติรูปแบบและความเหมาะสมในการจัดหา บ.ขับไล่ใหม่ทดแทน Hornet นั้นยังอยู่ในขั้นต้น
ซึ่งการมอบอำนาจของกลุ่มดังกล่าวจะมีจนกระทั้งวันที่ 30 เมษายน 2015 ครับ

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ลงนามข้อตกลงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KFX ไปอีกขั้น

Indonesia, South Korea sign up for next phase of KFX programme

The KFX programme will be based on a twin-engine design developed by KAI. Source: IHS/James Hardy

http://www.janes.com/article/44212/indonesia-south-korea-sign-up-for-next-phase-of-kfx-programme

อินโดนีเซียและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามในข้อตกลงร่วมด้านการพัฒนาและวิศวกรรมในโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 KFX
ทางสำนักงานการจัดหาเพื่อความมั่นคง(Defense Acquisition Program Administration) ได้ประกาศที่ Seoul เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา
ระหว่าทูตเกาหลีใต้ประจำเมือง Surabaya Cho Tai-young กับรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Purnomo Yusgiantoro
เป็นสานต่อการลงนามบันทึกความเข้า(MOU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 และเมษายน 2011 ที่ผ่านมาในด้านข้อมูลทาง Technic ในระยะสองปี
โดยข้อตกลงล่าสุดเกาหลีใต้จะออกค่าใช้จ่ายในโครงการร้อยละ80 ขณะที่อินโดนีเซียจะจ่ายร้อยละ20
ซึ่งผู้พัฒนาอากาศยานหลักคือ Korea Aerospace Industries (KAI) และมี PT Dirgantara อินโดนีเซียร่วมพัฒนา

KFX เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 ของเกาหลีใต้เองโดยเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจที่นั่งเดี่ยวสองเครื่องยนต์
มีคุณสมบัติตรวจจับยาก ติดตั้ง AESA radar และมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว
กองทัพอากาศเกาหลีใต้ต้องการ KFX ราว 250เครื่องสำหรับทดแทน F-4E, F-5E และ F-16 ในอนาคต และคาดหวังว่าจะส่งออกให้ต่างประเทศได้ราว 350เครื่อง
ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้ได้อนุมัติงบประมาณไปกับโครงการ KFX ในปีล่าสุด 2014 รวม $8 billion แล้ว

Jane's ได้ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมาในระยะหลังโครงการ KFX มีความเสี่ยงที่จะถูกรัฐบาลเกาหลีใต้สั่งยุติโครงการ
เนื่องจากความล่าช้าในการเลือกแบบต้นแบบเครื่องในการพัฒนาจริงที่มีหลายแบบ เช่นแบบเครื่องยนต์เดียว C501 และแบบ ย.คู่ C103 ซึ่งในที่สุดก็เลือกแบบ C103
รวมถึงการประกาศจัดหา F-35A 40เครื่องในโครงการจัดหา บ.ขับไล่ FX-III ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 เข้าประจำการในอนาคต
ซึ่งข้อตกลงในสัญญาจะรวมถึงการถ่ายทอด Technology ใกล้เคียงกับ KF-16 ซึ่งเกาหลีใต้ประกอบเองในประเทศด้วย
แต่ทางเกาหลีใต้ก็เลือกที่จะคงโครงการ KFX ต่อไปแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่ค่าใช้จ่ายพุ่งสูงขึ้นอยู่

ทั้งนี้อินโดนีเซียเองก็ได้จัดหาอาวุธจากเกาหลีใต้เป็นจำนวนมากในช่วงหลัง
เช่น เครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง KAI T-50 16เครื่อง รถทางทหาร Black Fox ของ Doosan DST
การปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Cakra Type209/1300 2ลำ และจัดหาเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo Type 209/1200 3ลำจาก DSME
โดยเกาหลีใต้เองก็จัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN235 8เครื่องที่ผลิตที่ PTDI อินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัตรสำหรับหน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้ด้วยเช่นกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โรงงาน MBDA เปิดตัวอาวุธปล่อยนำวิถี Naval Cruise Missile

MBDA’s Naval Cruise Missile Production Started and Program is Progressing Well

First qualification firing of the NCM in the submarine configuration (June 2014). Barracuda configuration. Picture: MBDA/DGA


An NCM on the production line at the MBDA site of Selles Saint Denis in France.
Pictures: MBDA/Daniel Lutanie

An NCM seen here during a sub-surface test launch. Picture: MBDA/DGA

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2042

ก่อนงานแสดง EURONAVAL 2014 ที่จะจัดขึ้นใน 27-31 ตุลาคมนี้ที่ Paris
ทาง MBDA ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีประจำเรือรายใหญ่ของฝรั่งเศส ได้เชิญสื่อมวลชนเข้าชมโรงงานผลิตที่ Selles Saint Denis
โดยมีการแสดงสายการผลิตของอาวุธปล่อยนำวิถีหลายแบบเช่น Exocet, MICA, Aster และ Scalp
รวมถึงการเปิดตัวอาวุธปล่อยนำวิถีแบบล่าสุดที่เพิ่งเริ่มการประกอบ Naval Cruise Missile (NCM หรือ MdCN ในภาษาฝรั่งเศส)
ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนสำหรับยิงโจมตีเป้าหมายบนฝั่งแบบใหม่สำหรับเรือดำน้ำชั้น Barracuda จากท่อยิง Torpedoขนาด 21" และเรือฟริเกต FREMM จากท่อยิงแนวดิ่ง Sylver A70 VLS
ทาง MBDA สนใจที่จะส่งออก Naval Cruise Missile ให้ต่างประเทศโดยกล่าวว่าจะไม่มีข้อจำกัดในการใช้งานจากรัฐบาลฝรั่งเศสด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ออสเตรเลียอาจจะจัดหา C-17 เพิ่มอีก4เครื่อง

http://www.defensenews.com/article/20141003/DEFREG03/310030035/Australia-May-Acquire-Up-4-More-C-17s?odyssey=mod|nextstory

รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย David Johnston ได้ประกาศว่ากองทัพอากาศออสเตรเลียมีแผนจัดหาเครื่องบินลำเลียงหนัก C-17A Globemaster III 4เครื่อง
โดยขั้นตอนการจัดหา 2เครื่องนั้นกำลังอยู่ในการดำเนินงาน และอีก 2เครื่องเป็นตัวเลือก
กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งจัดหา C-17A จาก Boeing สหรัฐฯ จำนวน 6เครื่อง ซึ่งได้รับมอบ 2เครื่องแรกในปี 2006 และเครื่องล่าสุดในปี 2012
ซึ่ง C-17A สามารถตอบสนองปฏิบัติการทางทหารและงานด้านมนุษยธรรมของออสเตรเลียในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้สายการผลิตเครื่อง C-17A ที่ทาง Boeing เรียกเครื่องชุดนี้ว่า white tail มีการประกาศการปิดสายการผลิตในราวเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
ซึ่งเครื่องชุดสุดท้ายจากจำนวน 10เครื่องที่ Boeing ทำการผลิตซึ่งรวมถึงเครื่องของออสเตรเลียด้วยจะเสร็จภายในกลางปี 2015ครับ

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เอสโตเนียจะจัดหา CV90 จากเนเธอร์แลนด์

Estonia to buy Dutch CV90s

Estonia is planning to buy 44 CV9035NL infantry fighting vehicles from the Netherlands.
http://www.janes.com/article/44032/estonia-to-buy-dutch-cv90s

Jane's ได้รายงานข่าวจากรัฐมนตรีกลาโหมเนเธอร์แลนด์ Jeanine Hennis-Plasschaert ระหว่างการเยือนประเทศกลุ่ม Baltic ว่า
เนเธอร์แลนด์กำลังพิจารณาการขายรถรบทหารราบ CV9035NL จำนวน 44คันให้กองทัพเอสโตเนีย
ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของสัญญาและมูลค่าโครงการแต่คาดว่าสัญญาการจัดหานี้่จะรวมถึงการบำรุงรักษา
โดย CV9035NL ดังกล่าวนั้นเป็นยุทโธปกรณ์ส่วนเกินของกองทัพบกเนเธอร์แลนด์จากจำนวนที่จัดหามา 193คันที่เป็นผลมาจากการปรับลดกำลังกองทัพ
ซึ่งก่อนหน้านี้เนเธอแลนด์ก็ทำการยุบหน่วยและปลดประจำการถถังหลัก Leopard2A6 หน่วยสุดท้ายไปแล้ว
โดยเนเธอร์แลนด์จะขาย Leopard2A6 ให้ฟินแลนด์ราว 100คัน วงเงิน 200 million Euros

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์ทำการขายยุทโธปกรณ์ส่วนเกินให้เอสโตเนีย
เพราะก่อนหน้านี้เนเธอร์แลนด์ได้ทำการขายรถหุ้มเกราะล้อยาง Patria Pasi XA-188 6x6 จำนวน 80คันให้เอสโตเนียในปี 2010 ทั้งรุ่นลำเลียงพล รุ่นบังคับการ และรถพยาบาล
ตามแผนพัฒนากองทัพปี 2013-2022 เอสโตเนียยังต้องการจัดหายุทโธปกรณ์สำหรับการป้องกันประเทศอีกเป็นจำนวนมากเพื่อรับมือภัยคุกคามจากรัสเซีย
โดยชาติสมาชิก NATO ในยุโรปตะวันตกจะให้การสนับสนุนยุทโธปกรณ์แก่สมาชิก NATO ในยุโรปตะวันออกมากขึ้น
คาดว่ารถรบทหารราบ CV90 ชุดแรกจะมาถึงเอสโตเนียในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ทันการสวนสนามวันประกาศเอกราชวันที่ 24 กุมภาพันธ์
ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนด์เองมีแผนจะจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Bushmaster 20คันมาแทนที่ CV90 ที่ปลดไปด้วยส่วนหนึ่งครับ

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฮ.Mi-17 ผู้เปลี่ยน Game ในกองทัพอัฟกานิสถาน

Russian Mi-17 Helicopter ‘Game Changer’ for Afghan Forces: US General

Afghan Border Police members and Kandahar Air Wing pilots offload humanitarian aid from an Afghan Air Force Mi-17 helicopter

http://en.ria.ru/military_news/20141003/193580779/Russian-Mi-17-Helicopter-Game-Changer-for-Afghan-Forces-US.html

นายทหารชั้นนายพลของกองทัพบกสหรัฐฯที่ปฏิบัติการในกองกำลังผสมนานาชาติ ISAF(International Security Assistance Force)
ได้ให้ความเห็นต่อการใช้งาน ฮ.ลำเลียง Mi-17 ในกองทัพอัฟกานิสถานว่า ฮ.Mi-17 เป็นผู้เปลี่ยน Game ในปฏิบัติการต่อต้านกองกำลังติดอาวุธฏอลิบาน
เพราะ Mi-17 สามารถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลังและส่งกำลังบำรุงให้ทหารกองทัพอัฟกันในพื้นที่ทุรกันดารและสภาพอากาศที่รุนแรง
ซึ่งทหารธรรมดาและหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกจนถึงตำรวจอัฟกันต่างมีความพอใจในสมรรถนะของ Mi-17 มาก
ปัจจุบันกองทัพอากาศอัฟกานิสถานมี ฮ.Mi-17 อยู่ 84เครื่อง ซึ่งเป็นการจัดหาจากรัสเซียผ่านความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ
แต่อย่างไรก็ตามความต้องการของผู้บังคับบัญชาระดับสูงใน Pentagon กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ต้องประสบปัญหาในการจัดหา Mi-17 เพิ่มให้อัฟกานิสถาน
เนื่องจากความสัมพันธ์ที่เลวร้ายลงระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียในกรณีวิฤตการณ์ยูเครน ทำให้สมาชิกสภา Congress หลายคนมีความเห็นว่า
รัฐบาลสหรัฐฯไม่ควรจจะจัดหาอาวุธจากรัสเซียผ่าน Rosoboronexport องค์กรส่งออกอาวุธของรัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการคว่ำบาตอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามกองทัพอัฟกานิสถานมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหา ฮ.Mi-17 เพิ่มแต่ปัญหาคืออัฟกานิสถานอาจมีงบประมาณไม่พอที่จะจัดหาได้เองครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รัสเซียเตรียมดำเนินการทางกฎหมายต่อฝรั่งเศสกรณีระงับการส่งมอบเรือ Mistral


Russia preparing legal action over French Mistral halt
http://www.janes.com/article/43859/russia-preparing-legal-action-over-french-mistral-halt

รัสเซียเตรียมดำเนินการทางกฎหมายต่อฝรั่งเศส กรณีฝรั่งเศสระงับการส่งมอบเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคออปเตอร์ LHD ชั้น Mistral คือเรือ Vladivostok ของรัสเซีย
"เราหวังว่าแม้จะมีแถลงการณ์ของฝรั่งเศสซ้ำเกี่ยวกับการปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะส่งมอบเรือลำแรก Vladivostok ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน
เรือที่สั่งซื้อจะได้รับการส่งมอบที่ Kronstadt ซึ่งเป็นสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์บนดาดฟ้ายกและระบบอาวุธ
ต่อไปนี้ทางทนายความของ Rosoboronexport ได้รับคำสั่งให้เริ่มดำเนินการเรียกร้องความเสียหายที่เป็นไปได้ทั้งหมดกับ DCNS ฝรั่งเศสผู้รับสัญญา"
แหล่งข่าวผู้รับสัญญาระหว่างรัสเซียและฝรั่งเศสกล่าวกับ Jane's

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รัฐบาลสหรัฐพิจารณาการอนุมัติขาย UH-72A ให้กองทัพบกไทยเพิ่ม 9เครื่อง

http://www.dsca.mil/sites/default/files/mas/thailand_14-27.pdf
เอกสารของ Defense Security Cooperation Agency ของรัฐบาลสหรัฐฯแจ้งสภา Congress วันที่ 26 กันยายน 2014
ได้ลงรายละเอียดความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ UH-72A ให้แก่กองทัพบกไทยเพิ่มเติม 9เครื่องวงเงิน $89 million
โดยก่อนหน้านี้ในปี 2013 รัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติการขาย ฮ.UH-72A จำนวน 6เครื่องให้กองทัพบกไทย $77 million
ซึ่งตามกำหนดการณ์จะมีการส่งมอบเครื่องภายในราวเดือนเมษายน ปี2015 นี้
http://www.dsca.mil/PressReleases/36-b/2013/Thailand_13-34.pdf


ที่มา Page ศูนย์การบินทหารบก
https://www.facebook.com/pages/ศูนย์การบินทหารบก/203323443120577

UH-72A หรือที่กองทัพบกน่าจะกำหนดแบบเป็น ฮ.ท.๗๒ เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา
ที่กองทัพบกจะนำมาทดแทน ฮ.เก่าที่ใช้งานมานานหลายแบบเช่น ฮ.ท.๑ UH-1H
โดยกองทัพบกมีความต้องการที่จะจัดหา ฮ.ใหม่ในช่วงปี ๒๕๕๔-๒๕๖๓ รวมราว 30เครื่อง
ซึ่งการจัดหาจะมีทั้งการจัดหา ฮ.ท.๖๐ UH-60M สำหรับภารกิจลำเลียงทางยุทธวิธี
และ ฮ.ท.๗๒ UH-72A สำหรับภารกิจใช้งานทั่วไปด้านธุรการและส่งกำลังบำรุงที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ฮ.สมรรถนะสูง ไปพร้อมๆกัน

ทั้งนี้ ฮ.UH-72A ที่กองทัพบกไทยจัดหามาจะถูกสร้างโดย EADS North America ตามมาตรฐานที่กองทัพสหรัฐฯใช้
โดยสหรัฐฯได้ประจำการ UH-72A เป็น ฮ.ธุรการขนาดเบาทดแทน ฮ.เก่าเช่น UH-1H และ OH-58A/C
เช่นในส่วนกองกำลังพิทักษ์รัฐ (National Guard) กับของกองทัพบกสหรัฐฯซึ่งจะเป็นการใช้งานในประเทศโดยไม่ติดอาวุธ
ที่บางเครื่องจะได้รับการติดตั้ง กล้อง EO/IR แบบ Wescam MX-15i และไฟฉาย LS16 และรอกกว้าน สำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัย
ซึ่งการที่กองทัพบกไทยจัดหา ฮ.จากรัฐบาลสหรัฐฯผ่านวิธี FMS(Foreign Military Sales) ทำให้ราคาเครื่องค่อนข้างจะถูกกว่าการจัดหาบริษัทผู้ผลิตโดยตรงอยู่บ้าง

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก UH-72A ที่สายการผลิตสำหรับกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่ช่วงปี 2006-2007 จนถึงปัจจุบันนั้นใกล้จะครบจำนวนที่สหรัฐฯต้องการแล้ว
จึงอาจจะมีความเป็นไปได้ที่สายการผลิตของ UH-72A ในอเมริกาเหนือจะปิดลงอนาคตอันใกล้ ซึ่งกองทัพบกไทยอาจจะต้องพิจารณา ฮ.ใช้งานทั่วไปขนาดเบาแบบอื่นแทน
โดยมีข่าวว่าอาจจะเป็น EC145 T2 ของ Airbus Helicopters แบบเดียวกับ EC645 T2 ที่กองทัพเรือลงนามจัดหาไป 5เครื่องครับ