วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563

ญี่ปุ่นเตรียมกรอบการทำงานความเป็นหุ้นส่วนโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X

Japan prepares F-X partnership framework
The Japanese MoD has released a conceptual image on the proposed F-X fighter to “raise public awareness” of the development programme, the MoD has said. Source: Japanese Ministry of Defense


F-X fighter is intended to replace the Japan Air-Self-Defense Force's (JASDF's) Mitsubishi F-2 fighter aircraft in the 2030s.
https://www.janes.com/article/94001/japan-prepares-f-x-partnership-framework

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นคาดว่าจะจัดทำ "กรอบการทำงาน" อย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งตามที่ตนจะร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศในโครงการเพื่อพัฒนาและเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตของตน
ตามที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุต่อ Jane's กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังยืนยันว่าโครงการมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "F-X" และมีการนำเสนอ "ภาพแนวความคิด" ใหม่ของเครื่องบินขับไล่ใหม่

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air-Self-Defense Force) ในปี 2030s ภาพวาดนี้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการภาพแรกของการนำเสนอเครื่องบินขับไล่ญี่ปุ่น
"เครื่องบินขับไล่ F-2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีกำหนดจะปลดประจำการตั้งแต่ราวปี 2035 เราจะพัฒนา F-X ที่ให้เราสามารถส่งมอบเครื่องในสายการผลิตแรก(ของเครื่องบินขับไล่แบบใหม่) ก่อนที่การปลดประจำการ F-2 จะเริ่มต้น" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่า" เราจะหารืออย่างต่อเนื่องกับหุ้นส่วนที่มีศักยภาพต่างๆ จากนั้นเราต้องการที่จะกำหนดกรอบการทำงานเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อกับหุ้นส่วนการพัฒนาภายในเดือนธียวาคมปีนี้เมื่อเราจะเสร็นสิ้นการร่างงบประมาณคณะรัฐมนตรีสำหรับปีงบประมาณ 2021"
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นไม่ได้ให้รายละเอียดว่ากรอบการทำงาน่าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามแผนน่าจะเป็นการระบุหุ้นส่วนอุตสาหกรรมต่างประเทศและบทบาทในโครงการพัฒนา F-X

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้เปิดเผยว่า งบประมาณสำหรับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ F-X จะอยู่ที่ถึงราว 28 billion Yen($256.5 million) ในปีงบประมาณ 2020
วงเงินรวม 16.9 billion Yen ที่คิดเป็นร้อยละ60 ของงบประมาณทั้งหมดจะถูกใช้ใน "ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโครงการ F-X" โดยวงเงินที่เหลือ 11.1 billion Yen(ร้อยละ40) จะถูกนำไปใช้สำหรับกิจกรรม "การออกแบบแนวคิดในการพัฒนาที่นำโดยญี่ปุ่น"

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังยืนยันว่าชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้เปลี่ยนจาก เครื่องบินขับไล่อนาคต(Future Fighter) เป็น F-X ในเดือนธันวาคม 2019
การเปลี่ยนชื่อกระตุ้นให้กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเผยแพร่ภาพแนวคิดของเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตออกมาครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/f-2.html)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศสหรัฐฯเลือกเครื่องยนต์ General Electric สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15EX

US Air Force issues sole source notices for F-15EX aircraft, engines


The General Electric F110-GE-129 engine that will power the Boeing F-15EX Advanced Eagle. Source: General Electric
https://www.janes.com/article/93972/us-air-force-issues-sole-source-notices-for-f-15ex-aircraft-engines

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ออกเอกสารแจ้งแหล่งที่มารายเดียวสำหรับระบบขับเคลื่อนของเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Advanced Eagle
คือเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F110 และการปรับปรุงความทันสมัยและความพยายามการดำรงสภาพอย่างยั่งยืนในอนาคต เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2020

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนจัดหาเครื่องยนต์ไอพ่น F110 มากที่สุดเท่าที่จะจัดหาได้ 480เครื่อง, คอมพิวเตอร์ระบบตรวจสอบเครื่องยนต์ , การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงบูรณาการ, อุปกรณ์สนับสนุน และเครื่องมือ ตามที่เผยแพร่ใน website ประกาศสัญญารัฐบาลกลางสหรัฐฯ beta.sam.gov
เครื่องยนต์ F110 ได้พบว่าถูกติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-15 รุ่นใหม่ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-15SA ที่ผลิตให้ซาอุดีอาระเบีย การประกาศสัญญาและคำสั่งจัดหาคาดว่าจะเริ่มต้นภายในเดือนพฤษภาคม 2020

กองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ F-15EX ต้องการระบบขับเคลื่อนที่สนับสนุนโครงการการวางกำลังรวดเร็ว(Rapid Fielding Program)
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมกำลังและทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-15C/D ที่ใช้งานมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/f-15ex-8-2020.html)

เอกสารแถลงกล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ F-15EX ต้องการการส่งมอบระบบขับเคลื่อนที่ได้รับการรับรองสำหรับการติดตั้งในเครื่องบิน รวมถึงการบูรณาการด้วยระบบควบคุมการบินแบบ fly-by-wire
แหล่งข่าวที่มีความคุ้นเคยกับการขายกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2020 ว่า นี่คือเหตุผลว่าทำไมกองทัพอากาศสหรัฐฯจึงไม่พิจารณาเครื่องยนต์จากคู่แข่งคือ Pratt & Whitney สำหรับ F-15EX

แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ F-15C/D ของกองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับการติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW-220 ก็ตาม
แหล่งข่าวกล่าว่าการเลือกเครื่องยนต์ของ Pratt & Whitney ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯจำเป็นต้องกลับไปสู่โครงการทดสอบ และตามมาด้วยความล่าช้าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX

ตามที่ ย.GE F110 ได้รับโครงการทดสอบที่ฐานทัพอากาศ Edwards AFB(Air Force Base) ในมลรัฐ Californiaไปแล้ว เพื่อให้ระบบเครื่องยนต์มีความเข้ากันได้กับระบบควบคุมการบิน fly-by-wire ของเครื่องบิน
Jane's ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน 2019 ว่าเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F110-GE-129 เป็นรุ่นที่ได้รับการรับรองสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15EX ครับ

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563

กองทัพยูเครนรับมอบรถถังหลัก T-72AMT รุ่นปรับปรุงใหม่ชุดแรก

First T-72AMTs delivered to Ukrainian Armed Forces


The first T-72AMTs being transferred to the Ukrainian Armed Forces. Source: Ukrainian Logistics Command
https://www.janes.com/article/93929/first-t-72amts-delivered-to-ukrainian-armed-forces

กองทัพยูเครน(Ukrainian Armed Forces) ได้รับมอบรถถังหลัก T-72AMT ที่ได้รับการปรับปรุงชุดแรกจำนวน 15คัน กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงยูเครน(Ukrainian Logistics Command) ประกาศบน Facebook ของตนเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2020
กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงยูเครนกล่าวว่า ถ.หลัก T-72AMT เพิ่มเติมอีก 10คันจะถูกส่งมอบภายในสิ้นเดือนมกราคม 2020 โดยรถเพิ่มเติมอีก 6คันจะตามมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เพียงพอที่จะจัดเข้าประจำการในกองพันรถถัง

T-72AMT มีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-72 มาตรฐานที่ได้รับการคืนสภาพใหม่และปรับปรุงโดยโรงงานยานเกราะ Kyiv(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/vt4-t-72amt.html) ซึ่งหลังจากนั้นพวกมันจะถูกส่งทางรางรถไฟไปยังหน่วยทหารที่เกี่ยวข้อง
นี่เป็นความต่อเนื่องจากการปรับปรุงรถถังหลัก T-64 และรถถังหลัก T-80 ที่เริ่มต้นในปี 2017 โดยการติดตั้งกล้องสร้างภาพความร้อนและระบบสื่อสารเข้ารหัส และส่งคืนพวกมันในฐานะส่วนหนึ่งของการซ่อมบำรุงตามวงรอบประจำ

รถถังหลัก T-72AMT เป็นผลของหลายการปรับปรุงที่ครอบคลุมมากขึ้นที่ภาคอุตสาหกรรมยูเครนทำการพัฒนา และรวมถึงการเพิ่มเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armour) แบบ Nozh('มีด' ในภาษายูเครน)
ติดตั้งกับป้อมปืนในการจัดเรียงรูปแบบหัวลูกศร และจัดเรียงเป็นตลับวางในแนวเรียบเพิ่มเติมในส่วนด้านข้างของตัวถังรถ ด้านหลังของป้อมปืนยังได้รับการติดตั้งเกราะกรงโลหะ

การถูกใช้โดยกองทัพยูเครนในการรบที่ภูมิภาค Donbass หลังจากที่รัสเซียได้ผนวก Crimea และสนับสนุนกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียตั้งแต่ปี 2014
เกราะ ERA แบบ Nozh เป็นการผสมแผงแผ่นระเบิดดินโพรงแบบหลายเส้นมากว่าที่จะเป็นเกราะ ERA ตามแบบ ด้วยวัตถุระเบิดแบบ sandwich ประกบคั่นระหว่างกันสองแผ่น

ภาพ infographic จากโรงงานยานเกราะ Kyiv ได้แสดงว่า ถ.หลัก T-72AMT ยังได้รับการติดตั้งกล้องเล็งสองช่องทาง 1K13 ซึ่งทำให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ Kombat ได้ด้วย
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Kombat มีระยะยิงที่ 5km และเจาะเกราะหลักหลังเกราะ ERA หนา 750mm ได้ ตามข้อมูลจาก UkrOboronService

เครื่องยนต์ดีเซลแบบ V-46 เดิมได้รับการปรับปรุงเป็นเครื่องยนต์ดีเซล V-84-1 เพิ่มแรงม้าเป็น 840hp เมื่อเปรียบเทียบจากเดิม 780hp
รถถังหลัก T-72AMT ยังมีชุดวิทยุเข้ารหัสมากขึ้นที่มาจาก Aselsan ตุรกี, สายพานจากรถถังหลัก T-80 และกล้องมองหลังสำหรับพลขับครับ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

กองทัพเรือสหรัฐฯวางกำลังอากาศยานไร้คนขับ MQ-4C Triton UAV ครั้งแรก

US Navy deploys Triton UAV for first time






An MQ-4C Triton unmanned aircraft system (UAS) taxis after landing at Andersen Air Force Base for a deployment as part of an early operational capability (EOC)
to further develop the concept of operations and fleet learning associated with operating a high-altitude, long-endurance system in the maritime domain. Source: US Air Force
https://www.janes.com/article/93924/us-navy-deploys-triton-uav-for-first-time

กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้วางกำลังอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Northrop Grumman MQ-4C Triton ระบบตรวจการณ์ทางทะเลพื้นที่กว้าง(BAMS: Broad Area Maritime System) ของตนเป็นครั้งแรกตามที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2020
อากาศยานไร้คนขับ MQ-4C Triton แบบแรกของกองทัพเรือสหรัฐฯที่เป็นรุ่นใช้งานทางทะเลของอากาศยานไร้คนขับเพดานบินสูงระยะทำการนาน(HALE UAV: High-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) แบบ RQ-4 Global Hawk

MQ-4C Triton สองเครื่องได้เดินทางมาถึงฐานทัพอากาศ Andersen AFB(Air Force Base) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) บนเกาะ Guam การวางกำลังครั้งแรกยังเป็นการแสดงการนำ Triton UAV เข้าประจำการในกองเรือที่7(7th Fleet) ในพื้นที่แปซิฟิกของกองทัพเรือสหรัฐฯ
ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ72(CTF 72: Commander, Task Force 72) เป็นผู้นำสำหรับกองกำลังตรวจตรา, ลาดตระเวน, ตรวจการณ์ในกองเรือที่7 จะควบคุมอากาศยาน 2เครื่องที่จะวางกำลังในฐานทัพอากาศ Andersen AFB

"การเชื่มโยงขีความสามารถของ MQ-4C กับสมรรถนะที่ได้นับการพิสูจน์แล้วของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Boeing P-8 Poseidon MMA(Maritime Multimission Aircraft), เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed P-3 Orion และเครื่องบินภารกิจพิเศษ Lockheed EP-3
จะทำให้เพิ่มพูนการหยั่งรู้ในภาคทางทะเลในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ความมั่นคงในภูมิภาคและของชาติ" นาวาเอก Matt Rutherford ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ CTF 72 กล่าว

ฝูงบินตรวจการณ์ไร้คนขับ(Unmanned Patrol Squadron) VUP-19 เป็นฝูงบินตรวจการณ์ไร้คนขับฝูงแรกของกองทัพเรือสหรัฐฯจะปฏิบัติการและบำรุงรักษาอากาศยานในฐานะส่วนหนึ่งของขีดความสามารถความพร้อมปฏิบัติการล่วงหน้า(EOC: Early Operational Capability)
เพื่อพัฒนาแนวคิดแนวคิดของการปฏิบัติการเพิ่มเติม และการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับกองเรือกับการปฏิบัติการระบบอากาศยานไร้คนขับ HALE ในภาคส่วนทางทะเล กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าว

ข่าวการนำไปวางกำลังครั้งแรกมีขึ้นตามมา 18เดือนหลังจากที่กองทัพเรือสหรัฐฯนำ MQ-4C Triton UAV เข้าประจำการในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ได้รับการพัฒนาจาก Block 30 RQ-4N รุ่นใช้งานทางทะเลของ RQ-4 Global Hawk HALE UAV
เพื่อทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯมีขีดความสามารถด้านข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) ทางทะเลอย่างถาวรในการสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบครับ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache สหรัฐฯถูกคัดเลือกสำหรับบังคลาเทศ

Apache down-selected for Bangladesh attack helicopter requirement

Boeing has confirmed that it is in position to supply its AH-64E Apache attack helicopter to Bangladesh. Source: US Army

Boeing is offering the AH-64E to Australia to meet its Project Land 4503 Armed Reconnaissance Capability (ARC) requirement for 29 aircraft. Source: Australian Army
https://www.janes.com/article/93839/apache-down-selected-for-bangladesh-attack-helicopter-requirement

บริษัท Boeing สหรัฐฯได้ยืนยันว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ของตนได้ถูกคัดเลือกสำหรับโครงการความเป็นไปได้ในบังคลาเทศ
บริษัทยืนยันอย่างเป็นทางการถึงความคืบหน้าซึ่งชี้ไปยังการเติบโตด้านความร่วมมือกลาโหมระหว่างบังคลาเทศประเทศในเอเชียใต้และสหรัฐฯในการบรรยายสรุปต่อสื่อเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020

Terry Jamison ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการขายและการตลาดนานาชาติด้านโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีและเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของ Boeing กล่าวว่า โครงการในบังคลาเทศกำลังดำเนินการผ่านการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) ของสหรัฐฯ
เขาเสริมว่าบังคลาเทศกำลังมองที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E ผ่านขั้นตอนการแข่งขันประกวดราคา ตามที่ระบบเฮลิคอปเตอร์ของ Boeing สามารถเอาชนะกลุ่มผู้แข่งขัน "ด้วยราคา"

Jamison กล่าวว่า "(ในบังคลาเทศ) เราได้รับการคัดเลือกไม่เพียงจากพื้นฐานด้านขีดความสามารถ แต่เราไปเปรียบเทียบแบบตัวต่อตัวกับผู้แข่งขันของเราบางราย และเราได้รับการคัดเลือกจากพื้นฐานของราคา"
เขาเสริมว่า Boeing สหรัฐฯได้ระบุว่ามี "โอกาสจำนวนมาก" สำหรับการขายอื่นๆของ ฮ.โจมตี AH-64E ทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก โอกาสดังกล่าวไม่เพียงแต่ในกลุ่มตลาดที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ยังในตลาดใหม่และกำลังพัฒนา เช่น บังคลาเทศด้วย

Boeing บ่งชี้ว่าประสิทธิภาพราคาในโครงการ Apache กำลังประสบความสำเร็จผ่านการประหยัดต่อขนาด และความมั่นใจในการปรับปรุงความทันสมัยในระยะยาว
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache ราว 1,200เครื่องกำลังอยู่ในการใช้ปฏิบัติงานในตลาดทั่วโลก และระบบได้รับการระบุโดยรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อเข้าสู่การปรับปรุงควาทันสมัยไปจนถึงปลายปี 2040s

ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 15ประเทศที่ใช้งานเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 Apache แม้ว่า Boeing คาดว่าจำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
ในเอเชีย-แปซิฟิก Boeing กำลังเสนอ AH-64E แก่ออสเตรเลียเพื่อตรงตามความต้องการโครงการ Project Land 4503 ARC(Armed Reconnaissance Capability) ขีดความสามารถลาดตระเวนติดอาวุธ 29เครื่อง

โครงการสำหรับทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Airbus Helicopters Tiger จำนวน 22เครื่องของกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) คาดว่าจะมีวงเงินมูลค่ามากกว่า $3 million(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/tiger-arh.html)
โฆษกของ Boeing กล่าวกับ Jane's ว่าข้อเสนอของบริษัทสำหรับออสเตรเลียจะมอบ "ขีดความสามารถ, ราคา และกำหนดการที่แน่นอน" ปราศจากความเสี่ยงของการพัฒนาเพิ่มเติมครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

สหรัฐฯประกาศการทดแทนระบบส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35

Pentagon announces replacement for F-35’s ALIS







A F-35A flies over Hill Air Force Base in Utah during a demonstration practice on 10 January 2020. The Pentagon is replacing the F-35’s troubled ALIS with a new system called ODIN. Source: US Air Force
https://www.janes.com/article/93861/pentagon-announces-replacement-for-f-35-s-alis

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon กำลังทดแทนระบบข้อมูลส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติ ALIS(Autonomic Logistics Information System) ที่มีปัญหาเป็นเครือข่ายบูรณาการข้อมูลปฏิบัติการ ODIN(Operational Data Integrated Network)
สำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ตามที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020

ODIN จะเป็นระบบ cloud-native ที่มีความเข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมข้อมูลบูรณาการใหม่ และชุดคำสั่งประยุกต์แบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลางชุดใหม่ ตามที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯสหรัฐฯแถลง
ODIN จะถูกออกแบบเพื่อลดภาระงานของผู้บริหารและช่างอากาศยานลงอย่างมาก และเพิ่มอัตราขีดความสามารถภารกิจสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35 ทุกรุ่น มันยังจะสามารถให้วิศวกรชุดคำสั่งพัฒนาและปล่อยการปรับปรุงที่รวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของเครื่องบินรบที่อุบัติขึ้น

ODIN เป็นความพยายามการยกระดับที่นำโดยสำนักงานโครงการร่วม F-35(JPO: Joint Program Office) รัฐบาล และหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม เช่น Kessel Run, กลุ่มวิศวกรรมชุดคำสั่งที่309(309th Software Engineering Group),
ศูนย์สงครามสารสนเทศทางเรือ(Naval Information Warfare Center), บริษัท Lockheed Martin ผู้พัฒนาและผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 และบริษัท Pratt & Whitney ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F135

Pentagon สหรัฐฯเชื่อว่า ODIN จะยกระดับความว่องไวในการพัฒนาชุดคำสั่งสั่งและการส่งมอบการนำร่องการฝึกปฏิบัติโดย Kessel Run และการลงทุนโดย Lockheed Martin
เพื่อทำให้กำลังฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-35 มีสภาพที่ดีขึ้นในการเพิ่มและดำรงอัตราความพร้อมระดับสูง และตามคำสั่งเพื่อให้ตรงความต้องการการปฏิบัติการ

เครือข่ายจะประกอบในขั้นต้นด้วยกลุ่มชุดคำสั่งประยุกต์ให้ที่สร้างโดยการใช้เครื่องมือชุดคำสั่งและกระบวนการสมัยใหม่ มันยังมีความเข้ากันได้กับขั้นตอนการทำงาน(algorithm) ระบบอากาศยานที่ซับซ้อนที่พัฒนาก่อนหน้าโดยหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม
ขณะที่ส่วนอุปกรณ์ที่มี ODIN ระบบแรกจะถูกส่งมอบให้ฝูงบิน F-34 ภายหลังในปี 2020 นี้ ความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability) คาดว่าจะภายในเดือนธันวาคม 2022 ขึ้นกับการประสานงานกับกำหนดการพัฒนาผู้ใช้

กลุ่มผู้เฝ้าติดตามการทำงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเชื่อว่า Pentagon สหรัฐฯกำลังจะจ่ายเงินให้บริษัท Lockheed Martin เพื่อแก้ไขบางสิ่งที่ควรมีให้ไว้ก่อนหน้าอย่างถูกต้องในโครงการ
โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ประกาศสัญญาวงเงิน $1.9 billion แก่ Lockheed Martin สหรัฐฯเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติการและดำรงภาพ(O&S: Operations and Sustainment) F-35 ทั่วโลกครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/lockheed-martin-f-35.html)

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

ฝูงบินรบนาวิกโยธินสหรัฐฯรับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35C เครื่องแรก

First USMC operational unit receives F-35C




VMFA 314 is one of four squadrons that will fly the carrier variant F-35C for the US Marine Corps. Source: US Marine Corps


VMFA-314's transition to the F-35C began in June 2019 when it ceased flying the Boeing F/A-18 Hornet and began training on its new aircraft type at Naval Air Station (NAS) Lemoore in California. Source: US Marine Corps
https://www.janes.com/article/93892/first-usmc-operational-unit-receives-f-35c


นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35C Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน CV(Carrier Variant) เครื่องแรกสำหรับปฏิบัติการของตน
เครื่องบินขับไล่ F-35C หมายเลขแพนหางเครื่อง 301 ได้เดินทางมาถึงสถานีอากาศนาวิกโยธิน(MCAS: Marine Corps Air Station) Miramar มลรัฐ California เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา

ก้าวย่างที่สำคัญนี้มีขึ้นตามมา 5ปี หลังจากที่เครื่องบินขับไล่ F-35C เครื่องแรกสำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯ(หมายเลขแพนหาง 114) ได้ถูกส่งมอบมาที่ฐานทัพอากาศ Eglin AFB(Air Force Base) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในมลรัฐ Florida
สำหรับการฝึกนักบินในฝูงบินฝึกเปลี่ยนแบบอากาศยาน(FRS: Fleet Replacement Squadron) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-101 'Grim Reapers' ที่ถูกยุบฝูงไปในปี 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/vfa-101-f-35c.html)

เครื่องบินขับไล่ F-35C หมายเลข 301 จะถูกใช้ปฏิบัติการโดยฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน(Marine Fighter Attack Squadron) VMFA-314 'Black Knights'
ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กองบินอากาศนาวิกโยธินที่3(3rd MAW: 3rd Marine Air Wing) ซึ่ง MCAS Miraramar เป็นที่ตั้งของกลุ่มอากาศนาวิกโยธินที่11(MAG11: Marine Air Group 11)

ตามการเน้นย้ำของนาวิกโยธินสหรัฐฯ การเปลี่ยนแบบอากาศยานเป็น F-35C ของฝูงบิน VMFA-314 ได้เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2019 เมื่อตนได้ยุติการทำการบินเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Hornet
และได้เริ่มต้นการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F-35C ใหม่ ณ สถานีอากาศนาวี(NAS: Naval Air Station) Lemoore ในมลรัฐ California กับฝูงบินฝึกเปลี่ยนแบบอากาศยานกองทัพเรือสหรัฐฯ ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-125 'Rough Raiders'

นาวิกโยธินสหรัฐฯกำลังจัดหากำลังฝูงบินผสมของเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off and Vertical Landing) และเครื่องบินขับไล่ F-35C CV
แผนปัจจุบันสำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯคือเครื่องบินโจมตี McDonnell Douglas AV-8B Harrier II จะถูกทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 353เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/hmcs-av-8b-harrier-ii.html)

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B/C/D Hornet จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35C จำนวน 67เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/lockheed-martin-f-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/01/fa-18ef-super-hornet-block-3.html)
นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนที่จะเปลี่ยนแบบอากาศเป็นเครื่องบินขับไล่ F-35C จำนวน 4 ฝูงบิน ที่จะถูกมอบหมายให้อยู่ในกองบินเรือบรรทุกเครื่องบิน(CAW: Carrier Air Wing) ต่างๆของกองทัพเรือสหรัฐฯ สำหรับการวางกำลังปฏิบัติการครับ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยทำพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สอง เรือหลวงหลีเป๊ะ

Royal Thai Navy's hand-over ceremony of new second Panyi-class Tugboat HTMS Lipe (858) at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 23 January 2020.


กองทัพเรือ จัดพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลาง เรือหลวงหลีเป๊ะ
วันนี้ (23 มกราคม 2563) เวลา 07.50 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลาง เรือหลวงหลีเป๊ะ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ
ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี เทวินทร์ ศิลปชัย ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ


กองทัพเรือ ได้ว่าจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง (ลจก.) จำนวน ๒ ลำ จากบริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด โดยได้รับมอบเรือไว้ใช้ในราชการแล้วจำนวน 1 ลำ คือ เรือหลวงปันหยี ซึ่งได้ขึ้นสังกัดกับกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ 
ส่วนเรือหลวงหลีเป๊ะ กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ในการจ้างสร้างเรือตามโครงการจัดหาเรือลากจูงเพื่อทดแทนเรือเก่าและให้มีเรือลากจูงขนาดกลางในจำนวนที่เพียงพอ 
รองรับภารกิจสนับสนุนการนำเรือรบขนาดใหญ่ เข้า - ออก จากท่าเทียบเรือ การดับเพลิงในเขตฐานทัพตามท่าเรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือ
รวมถึงการสนับสนุนภารกิจอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การขจัดคราบน้ำมัน บริเวณท่าเรือและชายฝั่ง การลากเป้าฝึกยิงอาวุธ เป็นต้น โดยการว่าจ้างบริษัทเอกชนภายในประเทศต่อเรือนี้
นับได้ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือภาคเอกชนของไทยเกิดความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี อันจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศอีกทางหนึ่ง คุณลักษณะของเรือลากจูงขนาดกลาง เป็นไปตามที่กองทัพเรือกำหนด



แบบเรือออกแบบโดย บริษัท Robert Allan Ltd., Naval Architects and Marine Engineering ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบเรือลากจูงที่มีชื่อเสียงระดับโลก 
แบบเรือที่ใช้คือ Ramparts 3200CL เป็นแบบเรือมาตรฐาน Ramparts 3200 Series ของ Robert Allan ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้ผ่านการสร้างโดยอู่ต่อเรือต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นที่ยอมรับของเจ้าของเรือมาแล้ว เป็นจำนวนมากกว่า 100 ลำ และเป็นแบบเดียวกับเรือหลวงปันหยี
แบบเรือ Ramparts 3200 ของ Robert Allan Ltd. ได้ปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือ ตัวเรือทำด้วยเหล็กประสานด้วยการเชื่อม ความหนาของแผ่นเหล็กออกแบบให้หนากว่าความต้องการขั้นต่ำของสมาคมจัดชั้นเรือ 
และเรือออกแบบให้เป็นเรือที่ให้บริการบริเวณท่าเรือประเภท ship – assist tug ลากจูง (Towing) ส่วนการทำงานใช้ดึงและดันทางด้านหัวเรือเป็นหลัก โดยมีกว้านลากจูง และกว้านเก็บเชือก
ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ Azimuth Stern Drive (ASD) หรือ Z – drive ชนิดสองใบจักร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล และติดตั้งระบบดับเพลิงภายนอกเรือ ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่แยกต่างหากจากเครื่องจักรใหญ่ 
สมรรถนะของเรือ เรือมีกำลังเพียงพอที่จะทำให้เรือมีกำลังดึงไม่น้อยกว่า 53 เมตริกตัน และวงหันหมุนรอบตัวเอง (360 องศา) ใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที



ลักษณะโดยทั่วไป

ขนาดของเรือ
1. ความยาวตลอดลำเฉพาะตัวเรือ 32.00 เมตร
2. ความกว้าง 12.40 เมตร
3. กินน้ำลึกสูงสุด 4.59 เมตร
4. ระยะตั้งฉากจากหัวเรือถึงเก๋ง 9.10 เมตร

ความจุถัง (อัตราการบรรทุก)
1. น้ำมันเชื้อเพลิง 149.2 ลูกบาศก์เมตร
2. น้ำจืด 49.00 ลูกบาศก์เมตร
3. ถังน้ำถ่วงเรือ 56.00 ลูกบาศก์เมตร
4. ถังบรรจุของเสีย 5.90 ลูกบาศก์เมตร
5. ถังเก็บน้ำมันที่สกปรกปนเปื้อน 5.90 ลูกบาศก์เมตร
6. ถังน้ำยาดับเพลิงโฟมเคมี 6.90 ลูกบาศก์เมตร
7. ถังบรรจุสารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน 6.90 ลูกบาศก์เมตร

ความเร็วเรือ
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ไม่ต่ำกว่า 12 นอต โดยกำลังเครื่องยนต์ไม่เกินร้อยละ 100 ของ MCR (Maximum Continuous Rating)

ระยะปฏิบัติการ
ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็ว 8 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) โดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่เกินร้อยละ 95 ของความจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถัง

กำลังพลประจำเรือ
นายทหาร จำนวน 3 นาย
พันจ่า จำนวน 3 นาย
จ่า จำนวน 10 นาย
พลทหาร จำนวน 4 นาย
รวมพลประจำเรือทั้งหมด จำนวน 20 นาย
โดยมี เรือเอก ชาญชัย อยู่เจริญ เป็นผู้บังคับการ
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/3215704318457063


ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities)
-สามารถเข้าดึง/ดัน เรือขนาดใหญ่ของ ทร. รวมทั้ง ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือดำน้ำของ ทร. ได้อย่างคล่องตัว และสามารถเคลื่อนที่ไปด้านข้างได้ โดยมีขีดความสามารถในการลากจูง และเรือมีกำลังดึง (Static Bollard Pull) ไม่น้อยกว่า 50 เมตริกตัน
-สามารถปฏิบัติงานในท่าเรือ และชายฝั่งได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยเรือมีความคงทนทะเลได้ถึงสภาวะ ทะเลระดับ 3 (Sea State 3)
-สามารถดับเพลิงไหม้ในเรือ ทั้งในเขตฐานทัพ ท่าเรือต่างๆ ของ ทร. ตลอดชายฝั่ง
-สามรถขจัดคราบน้ำมันในทะเลบริเวณท่าเรือ และชายฝั่งได้
-สามารถสนับสนุนกิจอื่นๆ ด้วยขีดความสามารถที่มีอยู่ได้หากมีความจำเป็น เช่น การลากเป้าในการฝึกยิงอาวุธ เป็นต้น
Clip: https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/2332897036954850/


พิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลาง เรือหลวงหลีเป๊ะ
ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เป็นประธานในพิธีฯ ณ บริเวณท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
เรือหลวงหลีเป๊ะ จัดสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการนำเรือเข้า - ออกจากเทียบ รวมถึงการดับเพลิงในเขตฐานทัพตามท่าเรือต่างๆ และสนับสนุนภารกิจอื่นๆของกองทัพเรือตามที่ได้รับมอบหมาย
Clip: https://www.facebook.com/navyradiobroadcasting/videos/530830634448890/

Clip: พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลาง (เรือหลวงหลีเป๊ะ) ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบจังหวัดชลบุรี เพื่อประจำการใน กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
https://www.facebook.com/prthainavy/videos/189083818874785/

Clip:ธงราชนาวีขึ้นสู่ยอดเสา บนเรือหลวงหลีเป๊ะ เรือลากจูงขนาดกลางลำใหม่แห่งราชนาวีไทย
https://www.facebook.com/prthainavy/videos/2781925225234469/


ผู้บัญชาการทหารเรือให้โอวาทกำลังพลประจำเรือ เรือหลวงหลีเป๊ะ "ไม่ได้เก่ง.....แต่มีค่า"
วันนี้ 23 มกราคม 2563 เวลา 08.00 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงหลีเป๊ะ ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือได้ให้โอวาทแก่กำลังพลประจำเรือความว่า
"ผู้บังคับการเรือหลวงหลีเป๊ะและกำลังพลประจำเรือหลวงหลีเป๊ะทุกนาย วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์คือการเริ่มภารกิจอย่างจริงจังตามที่ได้รับมอบหน้าที่ตามกฎหมาย การที่กองทัพเรือได้ต่อเรือลากจูงขึ้นมาก็คือทดแทนเรือลากจูงขนาดเล็ก 2 ลำที่จะปลดประจำการนี้ 
หากพิจารณาดูลักษณะของเรือลำนี้ ไม่เล็กแล้วก็ไม่ใหญ่ ไม่เล็กไม่ใหญ่นี้ก็คือ ระวางขับน้ำลำนี้ถึง 800 กว่าตัน หากเป็นเรือรบปกติก็เป็นเรือชั้น 2 ใกล้เคียงกับเรือรบชั้นที่ 1 กินน้ำลึก ถึง 5 เมตรกว่า หากไม่มีความระมัดระวังอาจเกิดความเสียหายได้ 
และคำว่าไม่ใหญ่คือเมื่อเทียบกับเรือที่ปลดไปมีความเหนือกว่าอย่างมาก นอกจากนี้แล้วหากพิจารณาถึงภารกิจและบทบาทที่มอบหมายให้กับเรือลำนี้จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของกองทัพเรือสำหรับเรือลากจูงได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก 
จากนี้ผ่านมาคือไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับการรบหรือการบริการเพียงอย่างเดียวนั่นคือหมายความว่า ต้องเกี่ยวข้องกับพี่น้องประชาชนในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ 
เพราะอย่างยิ่งผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลและสิ่งแวดล้อม นี่คือภารกิจใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ นี่คือความท้าทาย อีกประการหนึ่งที่ทหารเรือยุคใหม่ต้องเผชิญคือภัยคุกคามทุกรูปแบบซึ่งไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
ขอฝากข้อคิดข้อเตือนใจ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ คำว่า ยุทธบริการ แม้ไม่ใช่งานปกติที่เกี่ยวข้องกับการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ต้องรับภารกิจที่ไม่เคยดำเนินการมาก่อนก็คือ การช่วยเหลือเรือดำน้ำในการเข้าเทียบออกจากท่า
 ขอให้ศึกษาหาความรู้ เพราะหากเกิดความเสียหายอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะนำมาซึ่งความเสียหายทั้งแก่ตัวเองและหน่วยงาน
คำพูดสุดท้ายที่จะฝากไว้ก็คือคำว่า "ไม่ได้เก่ง.....แต่มีค่า" อันนี้คือสัจจะวาจาหากขาดซึ่งพวกเธอ เรือรบขนาดใหญ่ในการเข้าออกจากท่าจะมีความยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจอภาวะคลื่นลมที่รุนแรงหากขาดซึ่งเรือลำนี้ก็ไม่สามารถบรรลุภารกิจได้
โดยเรือลำนี้มีความสามารถในการลากจูงในทะเล โดยสามารถลากเรือรบขนาดใหญ่ทางทะเลได้โดยสวัสดิภาพและปลอดภัย สอดคล้องกับคำว่า "ไม่เก่ง....แต่มีค่า" 
จงรักษาคุณค่าบทบาทนี้อย่างเข้มแข็งอดทนและเสียสละหากทำได้เช่นนี้ก็จะเชื่อได้ว่าทุกคนจะนำเรือลำนี้ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ ให้กับกองทัพเรือสืบไปในภายภาคหน้าต่อไป"
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2949508881767115

เรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สอง ที่ได้รับพระราชทานนานชื่อเรือว่า เรือหลวงหลีเป๊ะ หมายเลขเรือ 858 ที่กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีรับมอบเรือเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ได้มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_10.html) และการทำพิธีวางกระดูกงูเรือไปเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_5.html)
ร.ล.หลีเป๊ะ มีความแตกต่างจากเรือลำแรกของชุด ร.ล.ปันหยี 857(https://aagth1.blogspot.com/2016/10/blog-post_43.html) โดยปรับปรุงเพิ่มยางกันกระแทก(Mooring Rubber Fenders) ที่ส่วนหัวเรือให้เหมาะสมกับการเข้าเทียบและลากจูงเรือดำน้ำที่จะเข้าประจำการในอนาคตมากขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html)

ปัจจุบันนอกจากเรือ ลจก.ชุด ร.ล.ปันหยี ทั้งสองลำที่ถูกนำเข้าประจำการทดแทนเรือเก่าที่ปลดไป กองทัพเรือยังมีเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงริ้น สองลำคือ ร.ล.ริ้น 853 และ ร.ล.รัง 854 และเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงแสม สองลำคือ ร.ล.แสมสาร 855 และ ร.ล.แรด 856
ขณะที่เรือลากจูงขนาดเล็กชุดเรือหลวงกลึงบาดาร สองลำคือ ร.ล.กลึงบาดาร 851 และ ร.ล.มารวิชัย ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๗(1954) เป็นที่เข้าใจว่าน่าจะปลดประจำการลงในเวลาอันใกล้ รวมถึงยังมีเรือลากจูง ฐานทัพเรือสัตหีบ ฐท.สส.23 และ ฐท.สส.24 ประจำการอยู่ด้วยเป็นต้น
แขกผู้มีเกียรติในพิธีรับมอบเรือนอจากผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ คณะนายทหารระดับสูง ภริยาและกลุ่มภาคอุตสาหกรรมทางเรือไทยแล้ว ยังได้มีการนำลูกเสือสมุทรเข้าชมพิธีเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านกิจการสร้างเรือในประเทศของกองทัพเรือไทยแก่เด็กเยาวชนด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563

Saab สวีเดนเริ่มการสร้างเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk สหรัฐฯ

Saab begins T-X assembly


With two test jets already flying, Saab has begun building the aft-fuselage sections of seven EMD aircraft at its Linköping facility in Sweden, ahead of final assembly by Boeing in the United States. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/93844/saab-begins-t-x-assembly

บริษัท Saab สวีเดนได้เริ่มต้นการประกอบของส่วนโครงสร้างลำตัวด้านหลังส่วนแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/boeing-saab-t-x-t-7a-red-hawk.html)
สำหรับขั้นตอนการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต (EMD: Engineering and Manufacturing Development) ของโครงการเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่ทดแทน T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)

Saab สวีเดนกล่าวเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020 ว่าตนได้เริ่มการสร้างชิ้นส่วนแรกจากส่วนด้านหลังห้องนักบินไปจนถึงด้านหลังของเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ตนได้พัฒนาในฐานะหุ้นส่วนกับผู้รับสัญญาหลักบริษัท Boeing สหรัฐฯ
"ในเวลาเกินปีหนึ่งเล็กน้อยตั้งแต่เราลงนามสัญญา EMD เรากำลังเริ่มการผลิตในส่วนของเราของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A" Saab กล่าวในการแถลง(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/boeing-t-x.html)

โดยเครื่องบินไอพ่นตัวแทนการผลิต(PRJ: Production Representative Jet) จำนวน 2เครื่องที่ได้ถูกสร้างจะทำการบินแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/t-x-boeing-saab.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-saab-t-x.html)
การประกาศสัญญา EMD ในเดือนกันยายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/saab-boeing-t-x.html) สำหรับเครื่องบินอีก 5เครื่องสำหรับการบินทดสอบ เพิ่มอีก 1ส่วนโครงสร้างลำตัวสำหรับการทดสอบประจำที่บนพื้น และ 1ส่วนโครงสร้างลำตัวสำหรับการทดสอบความล้า

ขณะนี้ Saab กำลังสร้างหน่วยส่วนโครงสร้างลำตัวส่วนท้ายของ 7เครื่องในขั้น EMD ณ โรงงานอากาศยานของตนใน Linköping สวีเดน มุ่งหน้าสู่การเคลื่อนย้ายมาโรงงานอากาศยานของ Boeing ใน St. Louis มลรัฐ Missouri สหรัฐฯสำหรับการประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้าย
ตามการเน้นโดย Saab งานปัจจุบันที่ได้รับกาดำเนินการใน Linköping จะถูกย้ายมาที่ West Lafayette ในมลรัฐ Indiana สหรัฐฯ ที่ซึ่งชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบินราว 60เครื่องจะถูกสร้างออกมาต่อปี

ก่อนหน้านี้ Saab ได้ปฏิเสธที่จะกล่าว่าเมื่อไรที่เครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A ในขั้น EMD เครื่องแรกจะทำการบิน โดยกล่าวเพียงว่า "นี่เป็นข้อมูลที่อ่อนไหวมากสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ"
นอกเหนือจาก Boeing และ Saab กลุ่มภาคอุตสาหกรรมผู้จัดส่งรายอื่นที่ได้รับการเปิดเผยประกอบด้วย บริษัท General Electric สหรัฐฯ, บริษัท Triumph Group สหรัฐฯ, บริษัท Collins Aerospace สหรัฐฯ, บริษัท L3 Technologies สหรัฐฯ และบริษัท Elbit Systems อิสราเอล

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีบันทึกระเบียนโครงการองเครื่องบินฝึกไอพ่น Red Hawk จำนวน 351เครื่องที่จะทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Northrop T-38 Talon ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1960s
โดยเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A เครื่องแรกมีกำหนดจะส่งมอบให้ฐานทัพอากาศ Randolph AFB(Air Force Base) มลรัฐ Teaxs ในปี 2023

ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A มีกำหนดการสำหรับปี 2024 ฐานบินฝึกศิษย์การบินทั้งหมดที่ในที่สุดจะเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38C เป็น T-7A เหล่านี้ประกอบด้วย
ฐานทัพอากาศ Columbus AFB ในมลรัฐ Mississippi, ฐานทัพอากาศ Laughlin AFB และฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐ Texas และฐานทัพอากาศ Vance AFB ในมลรัฐ Oklahoma ครับ

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

อากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B Osprey กองทัพเรือสหรัฐฯทำการบินครั้งแรก

US Navy’s Bell Boeing CMV-22B Osprey completes first flight



The maiden flight of the first CMV-22B Osprey took place in Amarillo Texas. Test pilots verified product requirements and airworthiness for the US Navy. Photos Source: Bell, Boeing and Rodney Bastow
https://www.flightglobal.com/helicopters/us-navys-bell-boeing-cmv-22b-osprey-completes-first-flight/136257.article

อากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing CMV-22B Osprey กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้เสร็จสิ้นการประสบความสำเร็จการทำการบินครั้งแรก ณ ศูนย์ประกอบอากาศยาน Amarillo ของบริษัท Bell สหรัฐฯในมลรัฐ Texas
การบินครั้งแรกของ CMV-22B มีขึ้นตามแผนของกลุ่มผู้ผลิตที่จะส่งมอบเครื่องแก่ ฝูงบินทดสอบและประเมินค่าทางอากาศ HX-21(Air Test and Evaluation Squadron 21) กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) ในต้นปี 2020 สำหรับการพัฒนาและทดสอบ

ตามที่บริษัท Bell สหรัฐฯ และบริษัท Boeing สหรัฐฯกล่าวแถลงเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2020 รายละเอียดเกี่ยวรูปแบบการบินครั้งแรกของอากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B Osprey ไม่ได้ถูกเผยแพร่จากทั้งสองบริษัท
รุ่นใช้งานทางเรือของอากาศยานใบพัดกระดกตระกูล V-22 มีจุดประสงค์เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด Grumman C-2A Greyhound สำหรับภารกิจต่างๆรวมถึงการขนส่งกำลังพล, จดหมาย, สิ่งอุปกรณ์ และสัมภาระความสำคัญสูงจากบนบกไปยังเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเล

CMV-22B อาจจะยังถูกใช้เพื่อเคลื่อนย้ายสัมภาระสู่ฐานทัพนอกประเทศ โดยเฉพาะยิ่งกองทัพเรือสหรัฐฯมีแนวคิดใช้ CMV-22B เพื่อขนส่งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Pratt & Whitney F135 จากเรือบรรทุกเครื่องบินมายังเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม(Amphibious Assault Ship)
เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ติดตั้งเครื่องยนต์ F135 และกองทัพเรือสหรัฐฯต้องการขีดความสามารถในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ตรวจจับได้ยาก Stealth ขณะที่อยู่ในทะเล

"ด้วยขีดความสามารถในการเดินทางได้ถึง 1,150nmi(2,130km) CMV-22B จะเป็นเส้นชีวิตสำหรับกำลังพลประจำการทั้งชายและหญิงของเราที่ทำงานออกทะเล คุณภาพและความปลอดภัยที่ถูกสร้างเข้ากับอากาศยานนี้
จะเป็นการปฏิวัติแนวทางกองทัพเรือสหรัฐฯเพื่อเติมภารกิจการขนส่งลำเลียงบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่สำคัญยิ่งของตน" Kristin Houston ผู้อำนวยการโครงการ Bell-Boeing V-22 กล่าว

ตามข้อมูลจากกองทัพเรือสหรัฐฯ CMV-22B เป็นอากาศยานใบพัดกระดกรุ่นล่าสุดในตระกูล V-22 Osprey โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ใช้รุ่น MV-22B และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ทำการบินกับรุ่น CV-22B
เมื่อเปรียบเทียบกับ MV-22B นาวิกโยธินสหรัฐฯ CMV-22B มีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่กว่าซึ่งทำให้มีพิสัยทำการไกลขึ้น ปรับปรุงขีดความสามารถปล่อยเชื้อเพลิงทิ้ง, วิทยุความถี่สูงนอกระยะสายตา, ระบบเสียงประกาศภายในสำหรับผู้โดยสาร และระบบไฟส่องสว่างที่ดีขึ้นสำหรับการบรรทุกสัมภาระ

กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าวว่าตนมีแผนที่จัดซื้ออากาศยานใบพัดกระดก CMV-22B Osprey จำนวน 44เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/boeing-v-22-osprey.html)
กองทัพเรือสหรัฐฯคาดว่าเครื่องจะวางกำลังและเข้าสู่ความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ในปี 2021 และคาดว่าจะมีความพร้อมการปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability) ในปี 2022 ครับ