วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพประกอบนิยายสงคราม สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD แนะนำตัวละคร-๔


ทองขาว ศิศาลวงศ์




'สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคประวัติโครงการจัดหารถถังหลัก T-80UD' ติดอันดับ Top 6, Top 10 และ Top 11 หมวดนิยายสงคราม ใน Dek-D.com
https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1961825

นาง ทองขาว ศิศาลวงศ์ หรือ ย่าขาว ของ จ่าสิบเอก อรันต ซาราฮาณี ที่ปรากฎตัวพร้อมๆกับครอบครัวซาราฮาณีนั้น ก็ไม่เชิงว่าตัวละครใหม่แต่อย่างใด
เพราะตัวละครนี้ก็เคยปรากฎตัวในนิยายเรื่องอื่นที่ได้เขียนไปแล้ว ซึ่งเป็นจักรวาลเดียวกันทั้งหมด แม้ว่าจะมีแนวเรื่องที่ต่างกันอยู่ก็ตาม
ไม่ว่าจะ 'ตำนานเจ้าคีรี' ที่เป็นเรื่องสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ 1944-1945
https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1308077
หรือ 'คีตะคีรีมิรู้จบ แนวรบตะวันตกไม่เคยสิ้นสุด' ที่เป็นเรื่องในสมัยปี 2005-2006
https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=1434167
ท่านผู้อ่านที่สนับสนุนกันมาตลอดจนยอดผู้เข้าชมล่าสุดตอนนี้ ๗๕๐ครั้งแล้ว ก็ลองค้นดูได้ครับว่า 'ย่าขาว' เธอเคยปรากฎตัวในเรื่องก่อนหน้าในชื่อใด เพราะก็ได้มีการใบ้โดยนัยๆแล้วครับ

ออสเตรเลียรับมอบยานเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนีคันแรก

Australia takes delivery of its first Boxer armoured vehicle







The first of 211 Boxer 8x8 armoured vehicles for the Australian Army was formally handed over on 24 September. Source: Commonwealth of Australia, Department of Defence
https://www.janes.com/article/91477/australia-takes-delivery-of-its-first-boxer-armoured-vehicle


ยานเกราะล้อยาง Rheinmetall Defence Boxer 8x8 คันแรกจากทั้งหมด 211คันที่กำลังได้รับการจัดหาสำหรับกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ในวงเงิน A$5.2 billion($3.53 billion)
ได้มีพิธีส่งมอบรถอย่างเป็นทางการต่อรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย นาง Linda Reynolds เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2019 ที่ผ่านมา

การบรรยายสรุปในพิธีส่งมอบ ณ ค่าย Gallipoli Barracks ใน Brisbane ออสเตรเลีย รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย Reynolds กล่ายยกย่องอำนาจการยิง, ความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่, การสื่อสาร และการป้องกันของยานเกราะล้อยาง Boxer 8x8
ขณะที่ยานเกราะล้อยางเอนกประสงค์ Boxer 8x8 ที่นำมาแสดงในพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการถูกทำสีลายพรางแบบสามสีของกองทัพบกออสเตรเลีย

ยานเกราะล้อยาง Boxer แบบไร้ป้อมปืนเป็นหนึ่งในรถ 25คันแรก โดยแบ่งเป็นรุ่นยานเกราะล้อยางเอนกประสงค์ 13คัน และยานเกราะล้อยางลาดตระเวน 12คัน
ที่จะถูกผลิตในเยอรมนีจนถึงปี 2021 เพื่อให้ตรงความต้องการขีดความสามารถของออสเตรเลียก่อนหน้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำความคุ้นเคยและการฝึก

ก่อนการส่งมอบยานเกราะล้อยาง Boxer ได้รับการดัดแปลงภายในออสเตรเลียโดยติดตั้งระบบสื่อสารและบริหารจัดหารสนามรบเฉพาะของออสเตรเลีย
และติดตั้งป้อมปืน Remote(RWS: Remote Weapon Station) แบบ Kongsberg Protector นอร์เวย์ ที่ก่อนหน้าถูกติดตั้งใช้กับยานเกราะล้อยาง ASLAV(Australian Light Armoured Vehicle) ที่เคยวางกำลังในอิรักและอัฟกานิสถาน

การผลิตยานเกราะล้อยาง Boxer อีก 186คันประกอบด้วยรุ่นลาดตระเวน, รุ่นที่บัญชาการและควบคุม, รุ่นสนับสนุนการยิง(Joint Fire), รุ่นตรวจการณ์, รุ่นพยาบาล และรุ่นรถกู้ซ่อมในสนาม จะเริ่มต้นในปลายปี 2020
ณ ศูนย์ยานยนต์ทางทหารเพื่อความเป็นเลิศ(military vehicle centre of excellence) ภายใต้การสร้างโดยบริษัท Rheinmetall เยอรมนี ที่ Ipswich ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Brisbane ที่จะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของ Rheinmetall ที่ตั้งอยู่นอกเยอรมนี

ในรุ่นยานเกราะล้อยางลาดตระเวน Boxer CRV(Combat Reconnaissance Vehicle) จะได้รับการติดตั้งป้อมปืน digital แบบ Lance ของ Rheinmetall เยอรมนีและติดปืนใหญ่กล 30mm
โดย Boxer 8x8 เยอรมนีเป็นผู้ชนะในโครงการ Project Land 400 Phase 2 ของกองทัพบกออสเตรเลียสำหรับความต้องการจัดหารถรบลาดตระเวนใหม่ทดแทนยานเกราะล้อยาง ASLAV จำนวน 257คันที่ใช้งานมานานครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/boxer-211.html)

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

อากาศยานไร้คนขับ Okhotnik UAV รัสเซียทำการบินร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Su-57 ครั้งแรก

Russia’s latest attack drone performs 1st joint flight with Su-57 fifth-generation plane

The joint flight of the latest drone and the fifth-generation fighter jet lasted more than 30 minutes, the ministry specified
Russian Defense Ministry/TASS
https://tass.com/defense/1080201


อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) โจมตีขนาดหนักแบบ Sukhoi S-70 Okhotnik(Hunter นายพราน, นักล่า) รุ่นล่าสุดของรัสเซียได้ทำการการบินร่วมกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดเป็นครั้งแรก
กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2019 "อากาศยานไร้คนขับ Okhotnik ได้ทำการบินร่วมกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Su-57 เป็นครั้งแรก" กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าว

การบินดำเนินการในรูปแบบอัตโนมัติ "ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการทดสอบที่ดำเนินการอยู่ Okhotnik UAV ได้ทำการบินในแบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ เข้าสู่พื้นที่เฝ้าระวังทางอากาศ" กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าว
ระหว่างการบิน Okhotnik UAV และเครื่องบินขับไล่ Su-57 ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน "เพื่อขยายขอบเขต Radar ที่ครอบคลุมของเครื่องบินขับไล่และให้การจับเป้าหมายสำหรับการใช้อาวุธยิงทางอากาศ" กระทรวงกลาโหมรัสเซียเสริม

การทำการบินร่วมกันระหว่าง UAV และเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียมีขึ้นเป็นเวลามากกว่า 30นาที การทดสอบการบินของ Okhotnik UAV มีขึ้น ณ สนามบินทดสอบของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย
อากาศยานไร้คนขับ Okhotnik UAV รัสเซียได้ทำการบินทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2019 ตามที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/okhotnik-uav.html)

สำนักงานของรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Yuri Borisov กล่าวกับ TASS ในงานแสดงการบินและอวกาศนานาชาติ MAKS 2019 ที่รัสเซียระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม-1 กันยายน 2019 ที่ผ่านมาว่า
สายการผลิตจำนวนมากของอากาศยานไร้คนขับโจมตีขนาดหนัก Okhotnik จะเริ่มต้นส่งมอบให้กองทัพรัสเซียได้ในปี 2025 โดยการทดสอบ Okhotnik UAV ในรูปแบบอากาศยานโจมตีกับอาวุธแบบต่างๆจะมีขึ้นใน 2023-2024 รายงานกล่าว

ตามที่สำนักงานของรองนายกรัฐมนตรีรัสเซียชี้ให้เห็นว่า Okhotnik UAV จะถูกใช้ในฐานะ "ระบบพื้นฐานเอนกประสงค์สำหรับติดตั้งอาวุธยิงทางอากาศขั้นก้าวหน้า,
ระบบลาดตระเวณทางอากาศภายในเครื่อง และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขยายขีดความสามารถรูปแบบการทำงานของ UAV อย่างต่อเนื่องระหว่างที่เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมาก

การบินครั้งแรกของอากาศยานไร้คนขับขนาดหนัก Okhotnik ที่พัฒนาโดยสำนักออกแบบ Sukhoi มีขึ้นเป็นเวลามากกว่า 20นาที ตามที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุ Okhotnik UAV
"ทำการบินรอบสนามบินหลายครั้งที่ความสูงราว 600m ภายใตการควบคุมของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และประสบความสำเร็จในการลงจอด"

Okhotnik UAV มีคุณสมบัติวิทยาการตรวจจับได้ยาก Stealth และการออกแบบรูปทรงปีกบิน(Flying wing ไม่มีแพนหาง) และมีน้ำหนักบินขึ้น 20tonnes ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่นและสามารถทำความเร็วได้ถึงราว 1,000km/h
ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย Okhotnik UAV มีการเคลือบพื้นผิวป้องกันการถูกตรวจจับด้วย Radar และได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับกล้อง electro-optical, radar และอื่นๆสำหรับการลาดตระเวน

แบบจำลองของ Okhotnik UAV ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Army 2019 นอกนครหลวง Moscow ระหว่างวันที่ 25-30 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าวกับ TASS ก่อนหน้านี้ว่า อากาศยานไร้คนขับโจมตีขนาดหนัก Okhotnik Stealth UAV จะดำเนินการทดสอบบินอีกหลายครั้งในปี 2019 นี้

"โครงการการบินทดสอบของ Okhotnik มีกำหนดการเพิ่มเติมหลายหลายกับความซับซ้อนต่อเนื่องของการกำหนดการบิน" แหล่งข่าวกล่าว Okhotnik UAV จะทำการบินอย่างหนึ่งของมันในรูปแบบกึ่งอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่ควบคุมที่ภาคพื้นดินจะให้เพียงหลายคำสั่งที่ไม่มากเท่านั้น
"ความเป็นไปได้ยังมองไปถึงการบินอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ของ UAV โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่เมื่อมันบินขึ้น, ดำเนินการตามชุดคำสั่งที่ตั้งไว้ของมัน และลงจอดภายใต้การควบคุมของระบบนำร่องของมันเอง" แหล่งข่าวกล่าว

ตามที่แหล่งข่าวอีกรายในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าวกับ TASS ก่อนหน้านั้น Okhotnik UAV ได้ทำการบินขึ้นหลายครั้ง, ไต่ระดับสูงหลายเมตรหนือทางวิ่งและลงจอดทันที่หลังจากนั้นแล้ว
Okhotnik UAV ได้ดำเนินทดสอบเช่นนั้นอีกหลายชุด แต่พวกมันยังไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการทำการบินอย่างเต็มรูปแบบ แหล่งข่าวกล่าวครับ

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยทำพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์




Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was handover ceremony at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 27 September 2019












กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ....วันที่ 27 กันยายน 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี...Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1899465423489893




กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์
วันนี้ (27 กันยายน 2562) เวลา 09.00 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กำลังพลประจำเรือ และแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับ


กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชกรมอู่ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 
ต่อมาในปี 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และทรงพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี 
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ มาประกอบพิธีปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ 
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า 
“กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” 


ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ 
เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ 
เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือที่ว่า
“การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป 
บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”

สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 
โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 
ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช โดยการดำเนินงานทั้ง 2 ระยะ ได้ดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นแล้ว 

จึงกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง 
โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ
ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีรับมอบเรือแล้ว เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ จะเข้าประจำการที่ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ โดยมี นาวาโท วีรุตม์ ฉายะจินดา เป็นผู้บังคับการเรือ พร้อมด้วยกำลังพลประจำเรือ จำนวน 99 นาย 
โดยการสร้างเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 
การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ

โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้โอวาทแก่กำลังพลประจำเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ความว่า
"กองทัพเรือได้รับเรืออีกลำหนึ่งที่ต่อโดยคนไทย 100% เป็นการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงวางรากฐานตั้งแต่ เรือ ต.91 มาสู่เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีระวางขับน้ำกว่า 2000 ตัน 
ในปัจจุบันซึ่งมีความใกล้เคียงกับเรือฟริเกต เรือในกองทัพเรือมีเรือหลายประเภทหลายลำ แต่เรือเป็นเพียงเครื่องมือประการหนึ่งแต่คนต่างหากที่สำคัญกว่า ความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับคน แต่คนต้องเก่งก่อนต้องมีความรู้ความสามารถจึงจะใช้อย่างมีคุณภาพ 
วันนี้วันเริ่มต้นของการใช้เรือเริ่มจากศูนย์ เกียรติยศไม่ได้มีมาแต่ชาติกำเนิดแต่เกิดจากการกระทำ จะได้เกียรติหรือไม่ควรจะช่วยกันคนละไม้คนละมือ ลงความคิดความรู้ก็ทำให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป"

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2681904721860867

แผนผังระบบอาวุธและอื่นๆที่สำคัญของ ร.ล. ประจวบคีรีขันธ์ OPV ที่มีระบบอาวุธที่แหลมคมที่สุดในภูมิภาคอาเชี่ยน
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1899425963493839

Clip:VTR_กองทัพเรือจัดพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี วันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๒
https://www.facebook.com/navalcivil/videos/935890010109962/

Clip: ธงราชนาวีขึ้นสู่ยอดเสา บนเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ในพิธีรับมอบเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เข้าประจำการในกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/videos/2300718366910091/


โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ก็ก้าวเข้าสู่ก้าวย่างที่สำคัญที่สุดคือพิธีรับมอบเรือเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ตามหลังก่อนหน้าที่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธี(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/blog-post_3.html)

ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นฐานจากแบบเรือ 90m OPV ที่บริษัทอู่กรุงเทพได้ซื้อสิทธิบัตรจากบริษัท BAE System สหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ ร.ล.กระบี่ เรือลำแรกของชุดเรือที่ถูกสร้างที่ อู่เรือราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือเช่นกัน ซึ่งแม้ว่าจะมีมิติขนาดใกล้เคียงกันแต่ก็มีความแตกต่าง
โดย ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้การปรับเปลี่ยนดาดฟ้ายกส่วนท้ายเรือพื้นขยายพื้นที่ลาดจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.ขนาด 11.5tons เช่น เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk กองการบินทหารเรือ ที่ได้มีการทดสอบการลงจอดบนเรือแล้ว

นอกจากอาวุธประจำเรือประกอบด้วย ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed ๑กระบอก, ปืนใหญ่กล DS30MR 30mm ๒กระบอก และปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอกที่มีการทดสอบยิงระหว่างการทดลองเรือในทะเลไปแล้วนั้น
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ยังเป็นเรือ ตกก.ลำแรกของกองทัพเรือไทยที่ได้รับเสริมความแข็งแรงดาฟ้ายกท้ายเรือเพื่อบูรณาการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น RGM-84L Harpoon Block II  แบบ Advanced Harpoon Weapon Control System จำนวน ๔ท่อยิงสองแท่นรวม ๘นัดด้วย

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำที่ได้สร้างเองในประเทศโดยฝีมือของคนไทยนี้เป็นการยืนยันถึงขีดความสามารถในการต่อเรือขนาดระวางกับน้ำกว่า 2,000tonnes ใกล้เคียงกับเรือฟริเกต ที่แสดงถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยโดยกองทัพเรือไทยมาตลอด
ในอนาคตกองทัพเรือไทยน่าจะมีแผนการจัดหาเรือ ตกก.เพิ่มอีกราว ๒ลำเพื่อให้ครบความต้องการของ กองเรือตรวจอ่าว กตอ.ต้องการเรือ ตกก.ทั้งหมด ๖ลำ ตามที่มีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือปัตตานีแล้ว ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส และชุด ร.ล.กระบี่ ๒ลำล่าสุดครับ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยทำพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.91, ต.94 และ ต.95

Royal Thai Navy commissioning ceremony of old domestic builded three T.91 class Coastal Patrol Craft include T.91, T.94 and T.95 at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 25 September 2019

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 3 ลำ ได้แก่ เรือ ต.๙๑ เรือ ต.๙๔ และเรือ ต.๙๕ ณ การท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒
https://www.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/1812

“ปลดระวาง เรือ ต.91 “เรือของพ่อ” หลังปฏิบัติภารกิจมาร่วม 52 ปี”
วันที่ 25 ก.ย.62 พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการ และเชิดชูเกียรติให้กับ “เรือของพ่อ” เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ,ต.94 ,ต.95
ที่รับใช้ราชการในกองทัพเรือมายาวนาน ปฏิบัติภารกิจในท้องทะเลมากว่า 52 ปี ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เรือตรวจการณ์ ต.91 เป็นเรือที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพระราชทานพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัย เกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ
นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 – 2530 อันเป็นโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ จนสมัญญาเรือชุดนี้ว่า “เรือของพ่อ”

การปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ได้เป็นไปตามอนุมัติ กระทรวงกลาโหม เนื่องจากเรือทั้ง 3 ลำ ใช้ราชการมานานจนมีสภาพเสื่อมตามอายุการใช้งาน ไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมบำรุง และมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติราชการ
จึงมีคำสั่งตามคำเสนอของ กองทัพเรือ ให้ปลดระวางตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 เป็นต้นไป
โดยเรือ ต.91 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 12 ส.ค.2511 และครั้งที่ 2 เมื่อ 15 เม.ย.35 รวมระยะเวลาประจำการ 52 ปี เรือ ต.94 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 16 ก.ย.24 รวมระยะเวลาประจำการ 38 ปี และเรือ ต.95 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 27 ธ.ค.25 รวมระยะเวลาประจำการ 37 ปี

โดยเรือทั้ง 3 ลำ สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ เป็นการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ
จึงได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้แก่ เรือตรวจการณ์ชุดเรือ ต.91 และอำลาการปฏิบัติงานของเรือทั้ง 3 ลำ อย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทย ตลอดไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2665845086795141&id=1308960395816957



Clip: กว่า52ปีที่เรือ ต.91 ประจำการในกองทัพเรือ ขณะนี้ได้ปลดระวางประจำการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ 
จึงได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้แก่ เรือตรวจการณ์ชุดเรือ ต.91 และอำลาการปฏิบัติงานของเรือ อย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทย ตลอดไป
https://www.facebook.com/1308960395816957/videos/1428025847344767/

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ประกอบด้วยเรือ ต.91, เรือ ต.92, เรือ ต.93, เรือ ต.94, เรือ ต.95, เรือ ต.96, เรือ ต.97, เรือ ต.98 และเรือ ต.99 รวมทั้งสิ้น ๙ลำ ที่ถูกสร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ(Naval Dockyard Department) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๓๐(1967-1987) นั้น
นับเป็นเรือตรวจการณ์สมัยใหม่ชุดแรกที่กองทัพเรือไทยสร้างเองในประเทศ ตามพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพเรือไทยเป็นล้นพ้น(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/91.html)

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ตัวมีความยาว 34m กว้าง 5.7m กินน้ำลึก 1.6m (เฉพาะเรือ ต.91 ยาว 31.8m กว้าง 5.36m กินน้ำลึก 1.5m) ระวางขับน้ำปกติ 126tonnes ระวางขับน้ำเต็มที่ 130tonnes
ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสองเครื่องกำลังเครื่องละ 1,650shp ใบจักรคู่ ทำความเร็วได้สูงสุด 25knots ความเร็วมัธยัสถ์ 21knots รัศมีทำการ 973nmi กำลังพลประจำเรือ ๓๑นาย

ระบบอาวุธประจำเรือ เรือ ต.91 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L60 ๑กระบอก และปืนใหญ่กล 20mm ๑กระบอก, เรือ ต.92-ต.98 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L60 ๒กระบอก และปืนกลหนัก M2 .50caliber ๒กระบอก
และเรือ ต.99 ติดปืนใหญ่กล Bofors 40mm/L70 ๑กระบอก ปืนใหญ่กล 20mm ๑กระบอก และปืนกลหนัก M2 .50caliber ๒กระบอก โดยเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.91 ได้เข้าประจำการในกองเรือตรวจอ่าว กตอ.และต่อมาเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กยฝ. ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง

โดยทั่วไปเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจะมีอายุตัวเรือประจำการได้ประมาณ ๓๐ปี แต่เรือ ต.91 ที่ขึ้นระวางประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๑(1968) และครั้งที่๒ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕(1992) นั้นมีอายุการใช้งานถึง ๕๒ปีเลยทีเดียว
นับว่ากองทัพเรือไทยได้ใช้งานอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างคุ้มค่าและยาวนานมากที่สุด และสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยอย่างเนื่อง เช่น โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจำนวน ๒ลำใหม่โดยบริษัท Marsun ไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/07/marsun.html)