วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

รัสเซียและตุรกีสนใจจะพัฒนาเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ร่วมกัน

Russia, Turkey jointly developing aircraft and helicopters
Turkey also shows interest in the newest Russian combat modules, air defense systems with different range capabilities and anti-tank weapons
Marina Lystseva/TASS
http://tass.com/defense/1056299

รัสเซียและตุรกีกำลังทำงานร่วมกันในการสร้างแนวโน้มในอนาคตที่จะพัฒนาเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ร่วมกัน และยังร่วมถึงชิ้นส่วนประกอบยานเกราะด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rosoboronexport หน่วยงานด้านการจัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์รัสเซีย(เป็นส่วนหนึ่งของ Rostec รัฐวิสาหกิตกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย) รายงานเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2019

"เรามีโครงการร่วมจำนวนมากสำหรับการพัฒนาระบบอากาศยานปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุนที่มีแววในอนาคต ชิ้นส่วนประกอบสำหรับยานเกราะ และการบำรุงรักษาหลังการขายของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดส่งแล้ว"
สื่อของฝ่ายประชาสัมพันธ์ Rosoboronexport อ้างถึงคำกล่าวของ Alexander Mikheyev ผู้อำนวยการบริหารของ Rosoboronexport รัสเซีย

ตุรกียังได้แสดงความสนใจระบบชุดรบป้อมปืน, ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีขีดความสามารถหลากหลายรูปแบบ และอาวุธต่อสู้รถถังแบบใหม่ล่าสุดต่างๆของรัสเซีย
แม้ว่าจะมีการแทรกแซงจากคู่แข่งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคดี รัสเซียและตุรกีกำลังรับมือการเผชิญหน้ากับความยุ่งยากที่เพิ่มขึ้น ผู้อำนวยการบริหาร Rosoboronexport เน้นย้ำ

"ในปัจจุบัน เรากำลังหารือกับกลุ่มหุ้นส่วนของตุรกีเพื่อการดำเนินการตามโครงการต่างๆที่สำคัญที่สุดในกรอบความร่วมมือทางทหารและเทคนิคและอุตสาหกรรมพลเรือน...ไม่ต้องสงสัยว่าเราพร้อมสำหรับความ่วมือทางวิทยาการหลากหลายรูปแบบ
รวมถึงเช่น กรอบทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มข้น อย่างอุตสาหกรรมการบิน, การสร้างเฮลิคอปเตอร์ และภาคพลังงาน" สื่อของ Rosoboronexport อ้างอิงคำพูดของ Sergei Chemezov ผู้อำนวยการบริหาร Rostec รัสเซีย

ผู้บริหารของ Rosoboronexport และ Rostec ประกาศข้อมูลดังกล่าวในหนึ่งวันก่อนหน้าการจัดงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ IDEF 2019(International Defence Industry Fair) ที่จะจัดขึ้น ณ มหานคร Istanbul ระหว่าวันที่ 30 เมษายน-3 พฤษภาคม 2019
โดยงานจะมีการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์กองทัพบก, กองทัพเรือ กองทัพอากาศ, วิทยาการรักษาความปลอดภัย และวิทยาการอวกาศ ระบบประจำเครื่อง รวมถึงเฮลิคอปเตอร์, เรือ ระบบไฟฟ้ารักษาความปลอดภัย, ระบบและอุปกรณ์การขนส่งและการส่งกำลังบำรุง

ปัจจุบันตุรกีกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล S-400 จากรัสเซียซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบชุดแรกในเดือนพฤษภาคม 2019 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-35a.html)
ตุรกีได้ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯที่กดดันให้ยกเลิกการจัดหา S-400 รัสเซีย และจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ MIM-104 Patriot สหรัฐฯแทน โดยสหรัฐฯได้กดดันที่จะระงับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) แก่ตุรกีครับ

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

โปแลนด์ลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำและกู้ภัย AW101

Poland signs for AW101 helicopters

Seen here in UK Royal Navy service, the AW101 has been selected by Poland, primarily in an anti-submarine role but also with a secondary combat search-and-rescue role. Source: IHS Jane’s/Patrick Allen
https://www.janes.com/article/88102/poland-signs-for-aw101-helicopters


โปแลนด์ได้ลงนามสัญญาสำหรับจัดหาเฮลิคอปเตอร์ AgustaWestland AW101 เพื่อตอบสนองความต้องการขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) และการค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ(CSAR: Combat Search-and-Rescue ) ของตน
นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ Mateusz Morawiecki และรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ Mariusz Blaszczak ได้ลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ AW101 จำนวน 4เครื่อง ณ โรงงานอากาศยาน PZL-Swidnik ทางตะวันออกของโปแลนด์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2019
ตามข้อมูลจาก PZL-Swidnik โปแลนด์ในเครือบริษัท Leonardo อิตาลี-สหราชอาณาจักร วงเงินในข้อตกลงซึ่งรวมการส่งกำลังบำรุง, การสนับสนุน, การฝึก และชุดอุปกรณ์การแพทย์จะอยู่ที่ 16.5 billion Polish Zloty($430 million)

ตามที่ Jane's ได้รายงานก่อนหน้านี้ บริษัท Leonardo จะมอบวงเงินชดเชยทางอุตสาหกรรม 400 million Polish Zloty ภายใต้ข้อตกลงซึ่งโปแลนด์จะนำไปใช้ขับเคลื่อนการจ้างงาน, การส่งออกของชาติ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
ทั้งกระทรวงกลาโหมโปแลนด์และ Leonardo ไม่ได้เปิดเผยระยะเวลาการส่งมอบ ฮ.AW101 ใหม่ ซึ่งจะมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Mil Mi-14(NATO กำหนดรหัส Haze) รัสเซียยุคกติกา Warsaw Pact ที่ประจำการในกองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy)
ขณะที่การประกาศการสั่งจัดหามีขึ้นสำหรับเฮลิคอปเตอร์ AW101 จำนวน 4เครื่อง ที่อาจจะมีการสั่งจัดหาเพิ่มเติมอีก 4เครื่องตามมาในภายหลัง (Mi-14 มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-8 รัสเซีย)

ตามที่ Leonardo ระบุ AW101 มีความเหมาะสมอย่างกับภานกิจปราบเรือดำน้ำและค้นหากู้ภัยในพื้นที่การรบเหนือน้ำ ที่ใช้ประโยชน์จากความปลอดภัยด้วยสามเครื่องยนต์, ระบบป้องกันน้ำแข็งเต็มรูปแบบสำหรับการต่อสู้ในสภาวะน้ำแข็ง,
พิสัยปฏิบัติการไกลและมีระยะเวลาทำการนาน ด้วยระยะทาง 1,300km และชุด Gearbox ที่พิสูจน์ทำงานแบบ run dry ได้ 30นาที, เช่นเดียวกับคุณสมบัติการทำงานซ้อนกันหลายๆระบบควบคู่กันในส่วนระบบ Avionic และระบบภารกิจ
AW101 มีประตูข้างห้องโดยสารและมีประตูเปิดด้านท้ายเครื่องขนาดใหญ่ทำให้สามารถเข้าออกได้ง่ายสำหรับกำลังพล, ผู้ประสบภัย และอุปกรณ์ในห้องบรรทุกขนาด 27ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถยืนขึ้นถึงศีรษะได้ตลอด

เฮลิคอปเตอร์ AW101 ยังสามารถติดตั้งชุดอุปกรณ์ค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ/ค้นหาและกู้ภัย CSAR/SAR ขั้นก้าวหน้าได้หลายระบบ
ซึ่งรวมถึง Radar ตรวจการณ์แบบ Multi-Panal AESA(Active Electronically Scanned Array) แบบ Osprey จากบริษัท Leonardo ที่การทำงานครอบคลุม 360องศา,
ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ(AFCS: Automatic Flight Control System) แบบ Digital สี่แกน, รอกกว้านกู้ภัย 2ชุด, ไฟฉายค้นหา, กล้องตรวจจับ Electro-Optical และระบบ Avionic และภารกิจบูรณาการเต็มรูปแบบครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

จีนแสดงเรือพิฆาตชั้น Type 055 ใหม่และเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ Type 094 รุ่นใหม่ในพิธีสวนสนาม

Chinese navy puts newest platforms on display





Nanchang, the first of the PLAN’s Type 055-class destroyers, took part in a fleet review held on 23 April off the northern port city of Qingdao to mark the 70th anniversary of the founding of the service. Source: Artyom Ivanov/Tass/PA Images


one of the two Type 094- (Jin-)class nuclear-powered ballistic missile submarines (SSBNs) shown at the event is a new variant.
https://www.janes.com/article/88060/chinese-navy-puts-newest-platforms-on-display





กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ได้แสดงบางส่วนของเรือใหม่ล่าสุดของตนในพิธีสวนสนามทางเรือที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2019
ที่น่านน้ำนอกเมืองท่า Qingdao ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจัน เนื่องในโอกาสครบรอบ 70ปีการก่อตั้งกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน

เรือรบและเรือช่วยรบมากว่า 30ลำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน และเรือรบและเรือช่วยรบอีก 18ลำจากกองทัพเรือมิตรประเทศ ที่รวมถึงหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือกองทัพเรือไทยที่ประกอบด้วยเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ร.ล.นเรศวร และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ร.ล.บางปะกง
ซึ่งพิธีสวนสนามได้รับการตรวจพลโดยประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ที่ได้ขึ้นเรือพิฆาตชั้น Type 052 คือ DDG-117 Xining ได้รับการคุ้มกันโดยผู้บัญชาการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน พลเรือโท Shen Jinlong และแขกจากมิตรประเทศอาทิ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือไทย

เรือที่โดดเด่นที่สุดในขบวนเรือสวนสนามคือเรือพิฆาต DDG-101 Nanchang เรือลำแรกของเรือพิฆาตชั้น Type 055(NATO กำหนดรหัส Renhai) ซึ่งมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนมิถุนายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/type-055.html)
ผู้สังเกตการณ์กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนได้คาดการณ์ว่าเรือพิฆาต Nanchang ได้ถูกนำเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในช่วงที่มีการทำพิธีสวนสนามทางเรือ

แม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ การที่เรือพิฆาต Nanchang มีส่วนร่วมในพิธีสวนสนามขณะที่แสดงหมายเลขเรือบนตัวเรือ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเรือได้เข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนแล้ว
ข้อมูลที่ปรากฎว่ามีการให้ข้อมูลในพิธีระบุว่า เรือพิฆาตชั้น Type 055 มีระวางขับน้ำปกติที่มากกว่า 11,000tonnes เพิ่มขึ้นมากว่าระวางขับน้ำที่ถูกยกมาอ้างถึงบ่อยครั้งก่อนหน้าว่าอยู่ที่ 10,000tonnes

การติดตั้งชุดและอุปกรณ์ตรวจจับหลากหลายระบบ เรือพิฆาตชั้น Type 055 สามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศ, เรือผิวน้ำ, เรือดำน้ำ และภาคพื้นดินด้วยอาวุธที่ยิงจากแท่นยิงแนวดิ่งเอนกประสงค์(Universal Vertical Launch Missile) จำนวน 112ท่อยิง
ขณะที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนกำหนดแบบเรืออย่างเป็นทางการว่าเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ระวางขับน้ำและระบบอาวุธของเรือสามารถเปรียบเทียบได้กับเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga มากกว่าเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)

รายงานจากสื่อจีนได้เน้นถึงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ(SSBN) ชั้น Type 094(NATO กำหนดรหัส Jin) หนึ่งในสองลำที่แสดงในพิธีสวนสนามว่าเป็นเรือรุ่นใหม่
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Type 094 แบบใหม่ตัวเรือมีรูปทรงผสมบิดโค้งที่ราบเรียบที่ส่วนบนและฐานของครีบเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำที่ผ่านตัวเรือตามหลักอุทกพลศาสตร์

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ถูกตั้งข้อสังเกตบนเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Type 094 ลำก่อนหน้านี้อย่างน้อยหนึ่งลำ(https://aagth1.blogspot.com/2016/07/type-094.html)
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Type 094 รุ่นใหม่มีท่อรับน้ำเข้าและระบายน้ำออกเพียงแถวเดียวบนเปลือกรอบ 'โหนก' ที่ยกขึ้นมาด้านบนตัวเรือหลังหอเรือที่เป็นส่วนติดตั้งท่อยิงขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ(SLBM: Submarine-Launched Ballistic Missile) ครับ

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

จีนชี้โครงการเครื่องบินขับไล่ J-11D และ J-20 กำลังชิงชัยกันเพื่ออำนาจสูงสุด

J-11D and J-20 programmes vying for supremacy, Chinese sources indicate

Recent footage of the Shenyang J-11D in factory primer suggests the programme has not been cancelled and that production of the type could go ahead. Source: CFTE/Weixin

Several previous reports have stated that the need for a carrier-capable fighter to replace one of Shenyang's older products, the J-15, is becoming more pronounced.
https://www.janes.com/article/88078/j-11d-and-j-20-programmes-vying-for-supremacy-chinese-sources-indicate

เครื่องบินขับไล่หลักสองแบบของจีนคือเครื่องบินขับไล่ Shenyang J-11D และเครื่องบินขับไล่ Chengdu J-20 ปรากฎที่จะแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับลำดับความสำคัญในการได้รับการจัดสรรงบประมาณ
แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบจะปรากฎว่ามีรูปแบบภารกิจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็ตาม ตามข้อมูลล่าสุดที่ Jane's ได้รับจากแหล่งข่าวจีน

รายละเอียดบางส่วนของโครงการเหล่านี้ได้รับการเปิดเผยผ่านสารคดีพิเศษที่ผลิตโดยสถาบันทดสอบการบินจีน(CFTE: Flight Test Establishment) ณ ฐานทัพอากาศ Xi'an Yanliang สารคดีดังกล่าวได้เผยแพร่ในโอกาสฉลองการครบรอบการก่อตั้งปีที่60 ของ สถาบันทดสอบการบินจีน
สารคดีได้แสดงชุดภาพระยะใกล้ของเครื่องบินขับไล่ J-11D ที่ยังอยู่ในสีรองพื้นโรงงาน และได้รับการอธิบายว่า "หนึ่งในอากาศยานล่าสุดที่ประสบความสำเร็จในการผ่านขั้นตอนการทดสอบการบินของโครงการ"

การแสดงถึงเครื่องบินขับไล่ J-11D ในลักษณะนี้เป็นสัญญาณชัดเจนว่าโครงการพัฒนาไม่ได้ถูกยกเลิกตามที่มีข่าวลือออกมาก่อนหน้า และสายการผลิตของเครื่องบินขับไล่รุ่นปรับปรุงความทันสมัยอย่างมากนี้จะเดินหน้าต่อไปตามแหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงจีนกล่าว
เครื่องบินขับไล่ J-11 มีพื้นฐานพัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27SK รัสเซีย ซึ่ง Shenyang Aircraft Corporation(SAC) ได้รับสิทธิบัตรในการผลิต โดย J-11 รุ่นต่อมาได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ ระบบภายใน และอาวุธที่จันพัฒนาเอง

แหล่งข่าวเดียวกันได้ระบุก่อนหน้านี้ว่า ค่าใช้จ่ายรวมของการทดสอบอย่างต่อเนื่องและเสร็จสิ้นทั้งการออกแบบ J-11D และในรูปแบบเครื่องบินขับไล่ตรวจจับได้ยาก J-20 Stealth ที่ประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force)
ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างโดยคู่แข่งของ Shenyang คือ Chengdu Aerospace ในมณฑล Sichuan ที่เป็นส่วนหนึ่งว่าทำไมเครื่องบินขับไล่ J-11 รุ่นก้าวหน้าจึงเคยเป็นที่เชื่อว่าอยู่ในรายการที่ถูกยกเลิก

อีกเหตุผลที่ทำให้คิดว่าโครงการ J-11D ถูกทำให้คิดว่าตกอยู่ในอันตราย คือแนวคิดที่ว่าทีมออกแบบของ Shenyang ดูเหมือนจะได้รับการมอบหมายงานเร่งด่วนมากกว่านี้
คือการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 พหุภารกิจที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth แบบ FC-31(J-31) รุ่นสำหรับใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fc-31-type-15.html) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)

หลายรายงานก่อนหน้านี้ได้ระบุว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่สำหรับกองบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLANAF: People's Liberation Army Navy Air Force)
เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ที่เป็นสายการผลิตเก่าของ Shenyang ได้มีความชัดเจนมากขึ้น โดย J-15 มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Su-33 รัสเซีย ที่จีนได้ทำการศึกษาเครื่องต้นแบบที่ได้รับจากยูเครนครับ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

อินโดนีเซียจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F และรถรบทหารราบ BMP-3F และรถเกราะล้อยาง Pandur II

Indonesia acquires BMP-3F, BT-3F amphibious vehicles for Marines Corps
The Indonesian Ministry of Defence has signed a contract for BMP-3F and BT-3F vehicles

The vehicles will be in service with cavalry units across the Indonesian Marines Corps’ three divisions
https://www.janes.com/article/88033/indonesia-acquires-bmp-3f-bt-3f-amphibious-vehicles-for-marines-corps

Indonesia signs USD82 million LOI for Pandur II IFVs
A Pandur II configured as an infantry fighting vehicle, seen here at the 2018 Indo Defence exhibition in Jakarta.

The other are being trialled in the fire-support vehicle (FSV) configuration with 105 mm cannon.
https://www.janes.com/article/88023/indonesia-signs-usd82-million-loi-for-pandur-ii-ifvs

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหารถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F ชุดแรก 21คัน และรถรบทหารราบ BMP-3F IFV(Infantry Fighting Vehicle) ชุดที่สาม 22คัน สำหรับนาวิกโยธินอินโดนีเซีย(Indonesian Marines Corps, KORMAR: Korps Marinir)
สัญญาจัดหาได้รับการลงนามกับ JSC Rosoboronexport หน่วยงานส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย ณ สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในนครหลวง Jakatar เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2019

ตามที่ Jane's ได้รายงานไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 อ้างอิงแหล่งข่าวจากภายในกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) คณะตัวแทนเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูงของนาวิกโยธินอินโดนีเซียได้เดินทางเยือนรัสเซียในเวลาดังกล่าว
เพื่อรับชมการสาธิตขีดความสามารถของรถเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F ใกล้นครหลวง Moscow(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/bt-3f.html)

BT-3F เป็นรถเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบกที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในหน่วยทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Naval Infantry) ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนามาจากแคร่ฐานรถรบทหารราบสายพาน BMP-3(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/bt-3f-typhoon-k.html)
โดยนาวิกโยธินอินโดนีเซียได้จัดหารถรบทหารราบสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F ชุดแรก 17คันในปี 2010 และชุดที่สอง 37คันในปี 2014 รวม 54คัน เมื่อรวมกับชุดที่สามที่ลงนามล่าสุดอีก 22คันจะรวมเป็น 76คัน

นาวิกโยธินอินโดนีเซียมีความต้องการจัดหายานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ เพื่อทดแทนรถเกราะสายพานลำเลียงพล BTR-50PK รัสเซียเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน
ซึ่งรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F จำนวน 76คัน และรถเกราะลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F จำนวน 21คันจะถูกนำเข้าประจำการในหน่วยทหารม้านาวิกโยธิน ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของแต่ละกองพลนาวิกโยธินทั้งสามกองพลของนาวิกโยธินอินโดนีเซีย

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและ PT Pindad รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุูธภาคพื้นดินของอินโดนีเซียได้ถูกรายงานในสื่ออ้างว่าสัญญาวงเงิน $82 million สำหรับยานเกราะล้อยาง Pandur II 8x8 จำนวน 22คันได้รับการลงนามแล้ว ในการชี้แจงแยกที่ Jane's ได้รับเมื่อวันที่ 19 และ 22 เมษายน 2019
เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและบริษัท PT Pindad อินโดนีเซีย อธิบายว่าสัญญาที่ได้รับการลงนามที่ Bandung อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2019 เป็นจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) และไม่ใช่สัญญาขั้นสุดท้ายตามที่มีการรายงานแพร่หลาย

ขั้นตอนการจัดหาแยกต่างหากและและสัญญาที่ตามมาสำหรับยานเกราะล้อยางและสัญญาที่ตามมาสำหรับยานเกราะล้อยาง Pandur II CZ ในชื่ออินโดนีเซียว่ารถรบทหารราบล้อยาง Cobra IFV จะเริ่มต้นได้ในเวลาที่เหมาะสมเมื่อมีความชัดเจนเพิ่มเติมว่าวงเงินงบประมาณโครงการจะมาจากที่ใด
เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าว โดยวงเงินสำหรับโครงการได้รับการร้องขอภายใต้งบประมาณกลาโหมอินโดนีเซีย แต่มีความเป็นไปได้ว่าอินโดนีเซียอาจจะนำวงเงินสินเชื่อกลาโหมมาอำนวยความสะดวกในการจัดหา

ทั้งสองแนวทางจะมีผลให้สัญญาจะมีการส่งมอบรถมาถึงอินโดนีเซียในสภาพรูปแบบชุดประกอบ semi knocked-down โดยการประกอบเป็นตัวรถที่สมบูรณ์จะดำเนินการเสร็จสิ้น ณ โรงงานของ PT Pindad ใน Bandung อินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเสริม
กองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) ได้ทดลองใช้งานยานเกราะล้อยาง Pandur II ออสเตรีย-เช็ก 4คัน ซึ่งได้รับมอบจากบริษัท Excalibur Army(Czechoslovak Group) สาธารณรัฐเช็กเมื่อเดือนกันยายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/pandur-ii-8x8-m113-arisgator.html)

ยานเกราะล้อยาง Pandur II จำนวน 2คันที่กองทัพบกอินโดนีเซียทดสอบใช้งานเป็นรูปแบบรถรบทหารราบ IFV โดยติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm แบบ UT30BR 30mm ของ ARES บราซิลที่มีพื้นฐานจากป้อมปืน UT30 Mk II ของ Elbit Systems อิสราเอล
ยานเกราะล้อยาง Pandur II อีก 2คันที่ทดลองใช้งานเป็นรูปแบบรถยิงสนับสนุน FSV(Fire-Support Vehicle) โดยติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Cockerill Cockerill CT-CV 105HP ของ CMI Defence เบลเยียมครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

ภาพเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ Su-30SME กองทัพอากาศพม่าเครื่องแรกที่รัสเซีย






Delegation of Myanmar Armed Forces officer include Senior-General Min Aung Hlaing the Commander-in-Chief and Myanmar Air Force senior officer visited Irkutsk Aviation Plant, Irkut Corporation at Irkutsk Russia.
Photos revealed Sukhoi Su-30SM fighter in primer colour that likely be first of six Myanmar Air Force's Su-30SME export variant which was signed in 2018.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2107629585959667&id=210114122377899

ตามที่คณะตัวแทนนายทหารของกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) และกระทรวงกลาโหมพม่าที่มีพลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า และนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay)
ได้เดินทางเยือนโรงงานอากาศยาน Irkutsk ของบริษัท Irkut Corporation ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2019 ที่ผ่านมานั้น
ชุดภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของพม่าได้เปิดเผยถึงภาพคณะนายทหารพม่ากำลังชมเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM ในสีรองพื้นที่เพิ่งออกจากสายการผลิตของโรงงานไม่นาน ซึ่งถูกอ้างว่าน่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SME เครื่องแรกของกองทัพอากาศพม่า

พม่าและรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-30SM จำนวน 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศพม่า ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergey Shoigu เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html)
โดยรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯต่อกรณีการขายเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่าจะยิ่งทำให้สถานการณ์ความรุนแรงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าเลวร้ายขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30.html)
ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2018 พลอากาศเอก Maung Maung Kyaw ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่าได้ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ Su-30SM รัสเซีย ในตำแหน่งนักบินที่สอง ณ สนามบิน Kubinka ระหว่างการเยือนนครหลวง Moscow(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30sm.html)

ในชุดภาพการเยี่ยมชมโรงงานอากาศยาน Irkutsk รัสเซียโดยคณะนายทหารพม่านั้น แสดงถึงเครื่องเครื่องบินขับไล่ Su-30SME ที่เป็นรุ่นส่งออกของเครื่องบินขับไล่ Su-30SM ที่ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS)
ภาพเครื่องที่ปรากฎแสดงถึงรูปแบบเครื่องบินขับไล่ที่สร้างใหม่จากโรงงานที่มีปีก Canard คู่ที่ส่วนหน้าโคนปีกหลัก เช่นเดียวกับ Su-30SM รัสเซีย และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI อินเดีย และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM มาเลเซีย ที่เป็นรุ่นส่งออกก่อนหน้าในตระกูลเครื่องบินขับไล่ Su-30
เคยมีบางรายงานระบุว่าเครื่องที่พม่าจัดหาอาจจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Su-30K รุ่นเก่าที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force)เพื่อคั่นระยะชั่วคราวก่อนรับมอบ Su-30MKI ต่อมาอินเดียได้ส่งมอบ Su-30K ทั้ง 18เครื่องคืนให้รัสเซีย และรัสเซียได้ขายต่อให้แองโกลา 12เครื่อง

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30SME ใหม่ 6เครื่องนี้ทำให้กองทัพอากาศพม่าเป็นประเทศผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ตระกูล Su-30 รายล่าสุดในกลุ่มชาติ ASEAN แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสามประเทศที่จัดหา Su-30 รัสเซียเข้าประจำการไปก่อนหน้าประกอบด้วย
กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(VPAF: Vietnam People's Air Force) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MK2V จำนวน 36เครื่อง, กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MK/MK2 จำนวน 11เครื่อง
และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM จำนวน 18เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)

รายงานล่าสุดได้ระบุว่าสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30SME จำนวน 6เครื่องของกองทัพอากาศพม่ามีวงเงินที่ราว $400 million โดยเครื่องแรกที่ออกจากสายการผลิตได้มีการทำการบินครั้งแรกไปแล้ว และมีกำหนดที่จะส่งมอบได้ภายในปี 2020
Su-30SM เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งพหุภารกิจยุคที่ 4+ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vector Control และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่หัวเครื่อง
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัด และมีตำบลรวม 12จุดแข็งสามารถติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km ครับ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

มาเลเซียมองจะแลกน้ำมันปาล์มกับอาวุธต่างประเทศ

Malaysia looks to exchange palm oil for materiel
Russia is interested in supplying Malaysia its Yak-130 trainer/light attack aircraft (pictured here in Laos air force colours). Source: Irkut
https://www.janes.com/article/87972/malaysia-looks-to-exchange-palm-oil-for-materiel

Malaysia confirms countertrade talks with suppliers
https://www.janes.com/article/88003/malaysia-confirms-countertrade-talks-with-suppliers

Chinese-Pakistan JF-17B twin-seat fighter in Myanmar air force colours.

Indian Air Force's Hindustan Aeronautics Limited (HAL) Tejas fighter in LIMA 2019.


มาเลเซียกำลังมองที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำปาล์มราคาแพงของตนเพื่อสนับสนุนโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงรัฐบาลมาเลเซียแถลง
Teresa Kok รัฐมนตรีอุตสาหกรรมหลักมาเลเซียกล่าวว่าการค้าต่างตอบแทนด้วยการแลกเปลี่ยนน้ำมันปาล์มกับยุทโธปกรณ์จะช่วยรักษางานในท้องถิ่น, สงวนงบประมาณภาครัฐ เช่นเดียวกับการเพิ่มขีดความสามารถทางทหารของประเทศ

"เรายินดีต้อนรับข้อตกลงการค้าชดเชยดังกล่าวอย่างที่สุด ซึ่งจะยังช่วยรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศของเรา ขณะที่เพิ่มการขายน้ำมันปาล์มของเรา" รัฐมนตรี Kok กล่าวมนความเห็นที่รายงานโดยสื่อมาเลเซียเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2019
น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของมาเลเซีย คิดเป็นเกือบร้อยละ5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ของประเทศกับการส่งออกที่มีรางานในปี 2018 ว่ามีมูลค่า 62.7 billion Malaysian ringgit($15 billion)

รัฐมนตรีอุตสาหกรรมมาเลเซีย Kok ได้ให้ความเห็นอ้างอิงต่อการเจรจาทางกลาโหมที่มีการวางแผนระหว่างมาเลเซียและรัสเซีย ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu เดินทางเยือน Moscow เป็นเวลา 4วันตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2019
รัสเซียเป็นหนึ่งในลูกค้าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของน้ำมันปาล์มมาเลเซีย และล่าสุดได้แถลงถึงความเต็มใจที่จะยอมรับน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในการแลกเปลี่ยนสำหรับยุทโธปกรณ์ทางทหาร

รัฐมนตรีอุตสาหกรรมมาเลเซีย Kok กล่าวว่าประเทศอื่นที่เปิดข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนต่อน้ำมันปาล์มกับมาเลเซียเช่นเดียวกันรวมถึง จีน, อินเดีย, อิหร่าน, ปากีสถาน, ตุรกี และชาติในแอฟริกาและตะวันออกกลาง
การส่งออกน้ำมันปาล์มมาเลเซียไปกลุ่มประเทศยุโรปได้กล่าวเป็นการตัดสินใจที่ยุ่งยากในปี 2017 โดนรัฐสภายุโรปได้ระงับการใช้น้ำมันปาล์มในเชื้อเพลิงชีวภาพ biofuel ของยุโรปในปี 2020 ที่อ้างอิงจากข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม

ในแง่การค้ากลาโหม การแผ่ขยายสำหรับมาเลเซียได้ถูกเน้นโดยความเห็นในเดือนมีนาคม 2019 โดยนายรัฐมนตรีมาเลเซีย Mahathir Mohamad ที่บ่งชี้ว่าการระงับการน้ำเข้านำมันปาล์มของสหภาพยุโรป EU สามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจัดหา
"ถ้าพวกเขายังคงดำเนินการกระทำเช่นนี้ต่อเราอยู่ เราจะคิดเกี่ยวกับการซื้อเครื่องบินจากจีนหรือประเทศอื่นๆแทน" คำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ถูกอ้างถึงในสำนักข่าวทางการมาเลเซีย Bernama

การค้าต่างตอบแทนเป็นหนึ่งในหลายทางเลือกภายใต้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหมของมาเลเซียและกฎความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
วิธีการชำระค่าใช้จ่ายอยู่ในรายการผ่านทางฐานะหนึ่งในหลายกิจกรรม ซึ่งผู้ส่งออกกลาโหมสามารถเติมเต็มกาปฏิบัติตามพันธกรณีความร่วมมือทางอุตสาหกรรมได้

รัฐบาลมาเลเซียกำลังอยู่ระหว่างการหารือกับหลายประเทศรวมถึงรัสเซีย, จีน และปากีสถาน เกี่ยวกับข้อตกลงเพื่อการจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมในการแลกเปลี่ยนกับน้ำมันปาล์ม รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu แถลง
ตามรายงานโดยสำนักข่าวมาเลเซียเมื่อ 19 เมษายน 2019 รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าว่า ความเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เร่งด่วนของมาเลเซียในการนำสินค้าโภคภัณฑ์ของชาติมาใช้แทนงบประมาณภาครัฐ

"เราได้กำลังทำงานมุ่งหน้ากับระบบแลกเปลี่ยนและได้รับการตอบรับในเชิงบวก" Mohamad Sabu กล่าวว่าทั้งรัสเซีย, จีน และปากีสถานได้แสดงความเต็มใจที่จะยอมรับน้ำมันปาล์มมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนอาวุธยุทโธปกรณ์ของตน
เขายังกล่าวอีกว่าเขามีแผนที่จะหารือข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนดังกล่าวกับรัสเซีย ระหว่างการเดินทางเยือน Moscow เป็นเวลา 4วันในข้างต้น

งานแสดงการบิน LIMA 2019 ใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019 บริษัท Irkut Corporation ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซียยืนยันว่า เครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130 Mitten
ได้ถูกวางตำแหน่งในการแข่งขันสำหรับความต้องการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) หรือเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT(Fighter Lead-In Trainer) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)

รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ได้ส่งเครื่องมาแสดงการบินและจัดแสดงภาคพื้นดินในงาน LIMA 2019 ที่มาเลเซียเป็นครั้งแรก
ที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

รถถังกลาง Harimau/Kaplan อินโดนีเซีย-ตุรกีได้รับการลงนามความจำนงสำหรับจัดหา

Indonesia signs LOI with PT Pindad for Kaplan medium tanks

The Indonesian MoD signed an LOI with PT Pindad on 12 April reaffirming its interest in acquiring Kaplan MT tanks (similar to this one). (FNSS)
https://www.janes.com/article/87994/indonesia-signs-loi-with-pt-pindad-for-kaplan-medium-tanks


อินโดนีเซียได้ยืนยันความสนใจของตนในการจัดหารถถังน้ำหนักขนาดกลาง Kaplan MT MMWT(Modern Medium Weight Tank) ที่พัฒนาโดยบริษัท FNSS Savunma Sistemleri ตุรกี และ PT Pindad รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธภาคพื้นดินอินโดนีเซีย
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2019 กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียใน Jakarta ได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) กับ PT Pindad สำหรับการจัดหารถถังกลาง Harimau(White Tiger "พยัคฆ์ขาว") ชื่อท้องถิ่นของรถถังกลาง Kaplan MT จำนวนถึง 20คันวงเงิน $135 million

ตามที่แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียให้ข้อมูลกับ Jane's สัญญาสายการผลิตคาดว่าจะได้รับการลงนามภายในหนึ่งถึงสองปีเมื่องบประมาณสำหรับการจัดหาได้รับการอนุมัติ และชี้ให้เห็นว่าเงินทุนจะมางบประมาณกลาโหมอินโดนีเซีย, เงินสินเชื่อกลาโหมต่างประเทศ หรือรวมกันทั้งสองอย่าง
"ขณะนี้ LOI ได้รับการลงนามแล้ว กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียจะร้องของบประมาณอย่างเป็นทางการ(สำหรับการจัดหา)ใน งป.กลาโหมหน้า" แหล่งข่าวโดยเสริมอีกว่าการส่งมอบรถถังคาดว่าจะมีขึ้นในอีกสามปีข้าหน้าถ้าสัญญาได้รับการลงนาม

รถถังกลาง Harimauได้ผ่านการทดสอบคุณสมบัติที่ต้องการโดยกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Dara) และพร้อมเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/kaplan-mt.html)
โดยรถถังกลางต้นแบบคันแรก Prototype 1(P1) ได้ถูกสร้างในตุรกี และรถถังกลางต้นแบบคันที่สอง Prototype 2(P2) ถูกสร้างในอินโดนีเซียได้รับการทดสอบความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศและการยิงอย่างเข้มงวดทั้งในตุรกีและอินโดนีเซีย

Jane's ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ว่าโครงการรถถังน้ำหนักขนาดกลางได้รับการสนับสนุนโดยข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียและตุรกีที่ลงนามในปี 2014 โดยมีรถถังต้นแบบสองคันและตัวถังรถหนึ่งคันสำรับการทดสอบกับทุ่นระเบิดถูกสร้างในปี 2017
FNSS ตุรกีได้เปิดตัวรถถังกลาง Kaplan MMWT ต้นแบบคันแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ IDEF 2017(International Defence Industry Fair) ที่ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/kaplan-mt.html)

ตามข้อมูลจาก PT Pindad อินโดนีเซียขั้นตอนการพัฒนารถถังกลาง Harimau ได้เสร็จสิ้นแล้ว และบริษัทสามารถดำเนินการสายการผลิตได้เมื่อได้รับสัญญาจัดหาที่คาดว่าจะมีการผลิตได้ในระยะแรกถึง 44คัน
การผลิตตัวถังรถแคร่ฐาน, การประกอบและทดสอบจะทำในอินโดนีเซีย เพื่อลดความเสี่ยงและระยะเวลาในการพัฒนา ระบบย่อยดั้งเดิมที่ใช้ในขั้นการออกมีความเป็นไปได้ที่จะใช้กับรถในสายการผลิตทั้ง เครื่องยนต์, ระบบส่งกำลัง และระบบกันกระเทือน

ตัวถังรถแคร่ฐานของ ถ.กลาง Harimau ทำจากเหล็กกล้าเชื่อมติดชุดเกราะเชิงรับ applique มีรูปแบบการจัดวางภายในรถตามแบบคือสถานีพลขับด้านหน้า, ป้อมปืนตรงกลาง และห้องชุดระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซลด้านท้าย ที่อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก 24HP/Tons
ตัวถังรถสามารถป้องกันการถูกยิงด้วยกระสุนได้ถึงระดับ NATO STANAG 4569 Level 4 แต่สามารถปรับปรุงเพิ่มได้ถึงการป้องกันระดับ STANAG 4569 Level 5 ตามที่รถออกแบบในรูปแบบ Modular

รถถังขนาดกลาง Harimau มีน้ำหนักพร้อมรบ 30tons ทำความเร็วสูงสุดบนถนนได้ 70km/h ปีนที่ลาดชันได้ 60% ปีนที่ลาดเอียงได้ 30% ข้ามคูได้กว้าง 2.2m ข้ามเครื่องกีดขวางได้ 0.9m ลุยน้ำลึกได้ 1.2m และมีพิสัยปฏิบัติการ 450km
ติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Cockerill 3105 จากบริษัท CMI Defence เบลเยียม พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติกระสุนพร้อมรบ 12นัด และกระสุนในตัวรถ 26นัด ปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm หรือ 12.7mm และเครื่องยิงลูกระเบิดควัน

รถถังขนาดกลาง Harimau มีพลประจำรถ 3นายคือ ผู้บังคับการรถ, พลขับ และพลยิง, ซึ่งสถานี ผบ.รถ และสถานีพลยิงในส่วนป้อมปืนได้รับการติดตั้งระบบการหยั่งรู้สถานการณ์ 360องศา, ระบบเครือข่ายสื่อสารภายใน Intercom แบบไร้สาย, ระบบนำร่อง ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ,
ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจับด้วย Laser(LWS: Laser Warning System) ระบบควบคุมการยิง Hunter-Killer และระบบอำนวยการสนามรบ(BMS: Battlefield Management System) ซึ่ง PT Pindad จะนำป้อมปืนมาประกอบเข้ากับรถแคร่ฐานที่ผลิตในอินโดนีเซียครับ

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยส่งมอบเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีเรือหลวงวิทยาคมให้นครศรีธรรมราช


Royal Thai Navy transfer FAC-322 HTMS Vitiyakom, Ratcharit-class fast attack craft missile boat to Nakhon Sri Thammarat province of Thailand for monument display in 19 Aprill 2019.

HTMS Vitiyakom was decommissioned in October 2016.

Royal Thai Navy FAC-322 HTMS Vitiyakom firing Exocet anti-ship missile.
https://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html



กองทัพเรือ ส่งมอบเรือรบปลดประจำการ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเขาพลายดำเฉลิมพระเกียรติ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 19 เม.ย.62 กองทัพเรือ จัดพิธีส่งมอบเรือวิทยาคม (เรือยนต์เร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี ซึ่งขึ้นระวางประจำการ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2522 และปลดประจำการเมื่อ ตุลาคม 2559) ให้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เพื่อนำไปจัดตั้งประกอบพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเขาพลายดำเฉลิมพระเกียรติ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2625082630852571

ภาพ ร.ล.วิทยาคม ในอดีต.... เรือหลวงวิทยาคม (หมายเลข 322) เป็นเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดที่ 2 ของกองทัพเรือไทย โดยเป็นเรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ (หมายเลข 321) และอีกลำหนึ่งคือ ร.ล. อุดมเดช (หมายเลข 323) 
ติดอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น เอ็กโซเซ่ต์ เอ็มเอ็ม 38 จำนวน 4 ท่อยิง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 300 ตัน ตัวเรือมีความยาว 49.80 เมตร ความกว้าง 7.50 เมตร กินน้ำลึก 1.70 เมตร ความเร็วสูงสุด 36 นอต กำลังพลประจำเรือ 46 นาย 
ส่วนอาวุธปืนที่ติดตั้งบนเรือได้แก่ ปืนใหญ่เรือ 76/62 มม. ออโด เมราลา หัวเรือ ปืนกล 40/70 มม. ท้ายเรือ และปืนกล .50 นิ้ว อีก 2 กระบอก 
ต่อโดย ซีเอ็น บรีดา ที่ประเทศอิตาลี ขึ้นระวางประจำการ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2522 และปลดประจำการเมื่อ ตุลาคม 2559 ...รวมเวลาที่รับใช้ราชนาวีไทย 37 ปี… Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1648412735261831

เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ ทั้ง ๓ลำคือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๒(1979) ร.ล.วิทยาคม 322 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๒ และ ร.ล.อุดมเดช 323 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๓(1980) นั้น
มีรายงานว่าเรือหลวงวิทยาคมที่มีพิธีส่งมอบเรือให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อตั้งประกอบพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และเรือหลวงอุดมเดช กองทัพเรือไทยได้ปลดประจำการแล้วทั้ง ๒ลำ
ขณะที่เรือหลวงราชฤทธิ์นั้นคาดจะมีกำหนดปลดประจำการในอนาคตอันใกล้หรืออาจจะปลดไปแล้ว เป็นไปตามแผนของกองทัพเรือไทยที่เปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะมีกำหนดการปลดประจำการชุดเรือประเภทเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีลงทั้งหมดภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)

เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ เป็นเรือเร็วโจมตีชุดที่สองของกองทัพเรือไทย ต่อจากเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงปราบปรปักษ์ ทั้ง ๓ลำต่อโดย Singapore Technologies Marine สิงคโปร์ ที่เดิมติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Gabriel อิสราเอล ๕ท่อยิง
คือ เรือหลวงปราบปรปักษ์ 311 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๙(1976) เรือหลวงหาญหักศัตรู 312 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ และเรือหลวงสู้ไพรินทร์ 313 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐(1977) นั้น
ปัจจุบันเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ทั้ง ๓ลำที่ถูกถอดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Gabriel ไปก่อนหน้าแล้ว ได้ถูกปลดประจำการลงทั้งหมดแล้ว โดยเรือลำสุดท้ายของชุดคือ ร.ล.สู้ไพรินทร์ ได้ถูกปลดประจำการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

การปลดประจำการเรือ รจอ.ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ นับเป็นการสิ้นสุดการมีเรือรบประเภทเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีใช้งาน รวมถึงการเลิกใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ฝรั่งเศสที่ติดตั้งกับเรือชุดนี้ของกองทัพเรือไทย
โดยกองเรือตรวจอ่าว กตอ. กองเรือยุทธการ กร. กองทัพเรือไทยจะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำ และชุด ร.ล.กระบี่ ๒ลำ, เรือเร็วโจมตีปืนชุด ร.ล.ชลบุรี ๓ลำ และเรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.สัตหีบ ๖ลำ ชุด ร.ล.หัวหิน ๓ลำ และชุดเรือหลวงแหลมสิงห์ ๑ลำ ประจำการอยู่
ทั้งนี้ตามระเบียบของกองทัพเรือไทยที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบให้เรือเร็วโจมตีติดอาวุธนำวิถีตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเรือนั้นๆ เป็นไปได้ว่าจากหลักนิยมการใช้กำลังทางเรือที่เปลี่ยนไปจะมีการกำหนดการตั้งชื่อเรือประเภทต่างๆใหม่ในอนาคตครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

MBDA อังกฤษเปิดเผยการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR รุ่นใหม่

MBDA discloses development of SPEAR variants


Artist’s rendering of the baseline SPEAR weapon, SPEAR-EW, and SPEAR-Glide launched from the F-35 and Eurofighter Typhoon platforms. Source: MBDA
https://www.janes.com/article/87978/mbda-discloses-development-of-spear-variants


บริษัท MBDA สาขาสหราชอาณาจักรได้เปิดเผยรายละเอียดการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นรุ่นใหม่ในอนาคตสองรุ่นที่มีพื้นฐานพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกลในการพัฒนาทั้งสองรุ่นประกอบด้วย อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR-EW(Electronic Warfare สงคราม Electronic) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน SPEAR-Glide

ขณะที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ระบบอาวุธ SPEAR เป็นการแนวทางการแก้ปัญหาของ MBDA สำหรับกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรในความต้องการขีดความสามารถ SPEAR Cap 3(Selective Precision Effects At Range Capability 3)
กระทรวงกลาโหมอังกฤษได้ประกาศสัญญาวงเงิน 411 million British Pound($536 million) ระยะเวลาสี่ปีแก่ MBDA เพื่อขั้นตอนการพัฒนา SPEAR Cap 3 ในเดือนมีนาคม 2016 สำหรับการออกแบบที่สำคัญและงานพัฒนาปรับปรุงอาวุธปล่อยนำวิถี SPEAR

สำหรับใช้ในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) และกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy)
การบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR เข้ากับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยังเป็นโครงการที่อยู่ในรายการสำหรับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร

SPEAR เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Turbojet แบบ Pratt & Whitney TJ-130 ที่สามารถให้ระยะยิงได้ไกลมากกว่า 140km ตามข้อมูลจาก MBDA
โดยออกแบบให้สามารถปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ SPEAR ได้รับการพัฒนาที่สำคัญของการพัฒนาชุดระบบค้นหานำวิถีเป้าหมายขั้นสุดท้ายสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone

ด้วยคุณสมบัติการผสมผสานระบบตรวจจับสร้างภาพความถี่วิทยุ(RF: Radio Frequency) และระบบค้นหา Semi-Active Laser(SAL) โดยการเพิ่มขยายความสามารถขั้นตอนวิธีและการประมวลผล
นั่นทำให้อาวุธปล่อยนำวิถีสามารถจะ 'เห็น' และบันทึกภาพของพื้นที่เป้าหมายผ่านทางส่วนสร้างภาพด้วยความถี่วิทยุของระบบค้นหาเป้าหมาย

การนำร่องถูกส่งมอบผ่านระบบต่อต้านการถูกรบกวนสัญญาณดาวเทียม GPS(Anti-JAM) ผสมผสานด้วยหน่วยเครื่องวัดแรงเฉื่อยพื้นฐานระบบเชิงกลไมโคร-ไฟฟ้า(MEMS: Micro-Electro-Mechanical Systems) ที่มาจากบริษัท UTC Aerospace Systems สหรัฐฯ
อาวุธปล่อยนำวิถียังมีคุณสมบัติด้วยหัวรบที่ไม่ไวต่อการจุดระเบิดด้วยผลกระทบหลายแบบที่มาจากบริษัท TDW สหรัฐฯ ด้วยตัวเลือกชนวนหลายแบบทำให้อาวุธมีความเสียหายข้างเคียงต่ำและอนุญาตให้ปรับแต่งผลกระทบต่อเป้าหมายได้ และมีการเชื่อมโยง Datalink สองทาง

ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า 100kg และมีความยาว 1.8m อาวุธปล่อยนำวิถี MBDA SPEAR มีคุณสมบัติการแก้ปัญหาด้วยโครงสร้างอากาศแบบวงกลมขนาด 180mm
ส่วนด้านบนของอาวุธติดตั้งชุดปีกแบบกางออกได้(จะพับปีกไปทางด้านหลังสำหรับการเก็บ), ปรับแต่งรูปแบบด้วยช่องรับอากาศเข้าคู่ทั้งสองด้าน และพื้นผิวครีบหางควบคุมทิศทางแบบพับได้ 3ครีบครับ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

กรีซมองเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเพื่อทดแทน F-16C/D

Greece eyes F-35s as F-16 replacement

Greece is considering the potential acquisition of up to 30 Lockheed Martin F-35s to replace the oldest F-16C/Ds operated by the country's air force.
https://www.flightglobal.com/news/articles/greece-eyes-f-35s-as-f-16-replacement-457481/

กรีซกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯจำนวนถึง 30เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ General Dynamics F-16C/D Block 30 รุ่นเก่าที่ประจำการในกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force)
"นอกเหนือจาการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ไอพ่น F-16 เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเครื่องบินขับไล่ใหม่สำหรับกองทัพอากาศกรีซ ดังนั้นเราสามารถที่จะค่อยๆย้ายไปสู่เครื่องบินขับไล่ยุคหน้าได้" Evangelos Apostolakis รัฐมนตรีกลาโหมกรีซกล่าวเมื่อ 5 เมษายน 2019

ความสนใจของรัฐบาลกรีซในเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 เป็นความสะท้อนถึงความเห็นจาก พลเรือโท Mat Winter ผู้อำนวยการโครงการ Joint Strike Fighter กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ผู้ที่ได้กล่าวต่อสภา Congress สหรัฐฯว่า
เครื่องบินขับไล่ F-35 สามารถที่จะขยายการขายไปยังห้าประเทศคือ กรีซ, โรมาเนีย, โปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-35a_8.html), สิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/f-35-4-8.html) และสเปน

สื่อท้องถิ่นกรีซรายงานข้อสังเกตว่ารัฐบาลกรีซได้พร้อมการร้องขอราคาและความพร้อมสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35 จำนวน 25-30 จากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามการจัดหาใดๆจะขึ้นอยู่กับแผนทางการเงินของกรีซ และขีดความสามารถของสหรัฐฯในการเสนอกรอบการชำระเงินระยะยาวแก่กรีซ

Geoffrey Ross Pyatt ทูตสหรัฐฯประจำกรีซกล่าวว่า ด้วยที่กองทัพอากาศกรีซพร้อมที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16C/D บางส่วนของตนเป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-16V Viper ใหม่
มันควรจะเป็น "หินที่ใช้ในการเหยียบเพื่อก้าวต่อไปโดยธรรมชาติ"(natural stepping stone) สำหรับกรีซเพื่อที่จะยังมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing)

โครงการปรับปรุงความทันสมัยสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52+ จำนวน 84เครื่องที่กองทัพอากาศกรีซ ให้เป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 72 ภายใต้สัญญาวงเงินเกือบ $1 billion
แบ่งเป็นเครื่องในโครงการ Peace Xenia III ปี 2002-2004(F16C ที่นั่งเดี่ยว 40เครื่อง F-16D สองที่นั่ง 20เครื่อง) และโครงการ Peace Xenia IV ปี 2009-2010(F16C ที่นั่งเดี่ยว 20เครื่อง F-16D สองที่นั่ง 10เครื่อง)

เครื่องบินขับไล่ F-16V มีคุณสมบัติติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Northrop Grumman AN/APG-83 SABR(Scalable Agile Beam Radar), Computer ภารกิจใหม่ของ Raytheon,
เครือข่ายทางยุทธวิธี Link 16 Datalink, จอแสดงผลห้องนักบิน Glass Cockpit ใหม่, ระบบสงคราม Electronic แบบขยายความสามารถ และระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้น GCAS(Ground-Collision Avoidance System)

งานปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52+ ให้เป็นมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 72 คาดว่าจะเสร็จสิ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2027
ทั้งนี้กองทัพอากาศกรีซยังมีเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 30 ที่จัดหาในโครงการ Peace Xenia I ปี 1989-1990(F16C 34เครื่อง และ F-16D 6เครื่อง) และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 50 ที่จัดหาในโครงการ Peace Xenia II ปี 1997-1998(F16C 32เครื่อง และ F-16D 8เครื่อง) ครับ

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

ตุรกีเสนอเรือดำน้ำ Type 209 และ Type 214 เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำชั้น Nagapasa ชุดที่สามของอินโดนีเซีย

Turkey positions Type 209, 214 submarines for Indonesia’s third Nagapasa batch
The service has further requirements for at least four more submarines beyond 2024

Turkey's STM has made a presentation on its Type 209 and Type 214 boats to the Indonesian Navy

A computer-generated image of the Type 214 submarine, one of two boat types discussed in STM's presentation to the Indonesian Navy in February 2019. Source: TKMS
https://www.janes.com/article/87975/turkey-positions-type-209-214-submarines-for-indonesia-s-third-nagapasa-batch


Savunma Teknolojileri Mühendislik ve Ticaret(STM) บริษัทผู้สร้างเรือของตุรกีได้มีการนำเสนออย่างเป็นทางการของแบบเรือดำน้ำ Type 214 และ Type 209 ของตนต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
ด้วยความมุ่งหมายของการเสนอเพื่อการจัดซื้อเรือดำน้ำของตนในท้ายที่สุด สำหรับความต้องการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าเพิ่มเติมของกองทัพเรืออินโดนีเซีย

การนำเสนอมีขึ้น ณ อาคาร Neptunus Building ภายในกองบัญชาการกองทัพเรืออินโดนีเซียใน Cilangkap, East Jakarta เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2019 ตามเอกสารการเข้าประชุมที่ไม่เป็นข้อมูลปกปิดแล้วที่ได้ถูกส่งมอบให้กับ Jane's
ยังมีการนำเสนอระหว่างการเข้าพบของตัวแทนบริษัท STM ตุรกีในอินโดนีเซีย  PT Cipta Citra Perkasa และกำลังพลเรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำที่สอง KRI Ardadedali หมายเลขเรือ 404

อินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Nagapasa(DSME 1400 หรือ Type 209/1400) ชุดแรกจำนวน 3ลำกับบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2011
เรือสองลำแรกคือลำแรก KRI Nagapasa 403(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/dsme1400.html) และลำที่สอง KRI Ardadedali 404 ได้เข้าประจำการแล้ว ขณะที่เรือลำที่สาม KRI Alugoro 405 มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2019

หนึ่งวันให้หลัง 12 เมษายน 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำชั้น Nagapasa ชุดที่สองจำนวน 3ลำกับบริษัท DSEM สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/nagapasa-3.html)
การจัดหาเรือดำน้ำชุดที่สองนี้ทำให้กองทัพเรืออินโดนีเซียจะมีเรือดำน้่ำรวมเป็น 8ลำ ภายในปี 2024 เมื่อรวมกับเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Cakra(Type 209/1300) จากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981

ความแข็งแกร่งของการเสริมสร้างกำลังกองเรือดำน้ำกองทัพเรืออินโดนีเซียนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ได้รับการแก้ไขที่พบในแผนร่างการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพอินโดนีเซียในชื่อกำลังรบจำเป็นขั้นต่ำ(MEF: Minimum Essential Force)
อย่างไรก็ตามหลังปี 2024 นักวางแผนทางเรืออินโดนีเซียยังคงรักษาความต้องการสำหรับกำลังกองเรือดำน้ำที่จำนวน 12ลำ เพื่อการป้องกันหมู่เกาะที่อันกว้างใหญ่ของตนอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/12-8.html)

นั่นหมายความว่าอินโดนีเซียน่าจะประเมินค่าการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มเติมอีก 4ลำภายใต้โครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่สามของตน โดยเรือดำน้ำชั้น Cakra และเรือดำน้ำ Nagapasa นั้นมีเป็นเรือดำน้ำแบบ Type 209 ที่มีความเป็นแบบแผนร่วมกัน
ซึ่งอู่ต่อเรือ Golcük ใกล้ Istanbul ในเครือ STM ตุรกีเป็นผู้สร้างเรือดำน้ำ Type 209 และ Type 214 ของกองทัพเรือตุรกี(Turkish Naval Forces) ภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

รัสเซียเสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 แก่จีน

Russia completes deliveries of Su-35 fighter jets to China

The contract worth about $2.5 billion on the deliveries of 24 fighter jets to China was signed in 2015
http://tass.com/defense/1053967


รัสเซียได้เสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่4++ Sukhoi Su-35SK(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) รุ่นส่งออกแก่กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ภายใต้สัญญาที่ลงนามไปก่อนหน้านี้
"ในการปฏิบัติตามสัญญา เครื่องบินขับไล่ Su-35 ทั้งหมดได้ถูกส่งมอบแก่ลูกค้าต่างประเทศแล้ว" กองบริการสหพันธรัฐด้านการทหารและความร่วมมือทางเทคนิครัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2019

สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย สัญญาวงเงินราว $2.5 billion สำหรับการส่งมอบ Su-35 จำนวน 24เครื่องแก่จีนได้รับการลงนามในเดือนพฤศจิกายน 2015
สัญญายังระบุถึงการส่งมอบอุปกรณ์ภาคพื้นดินและเครื่องยนต์สำรองที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสิ้นปี 2020 โดยกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนได้ยืนยันการรับมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35SK ชุดแรกในเดือนเมษายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/su-35s-10-mig-29.html)

อินโดนีเซียเป็นลูกค้าต่างประเทศรายที่สองที่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย โดยได้มีลงนามสัญญาจัดหาจำนวน 11เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
ภายใต้สัญญารัสเซียมีกำหนดจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35SK ชุดแรกแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ณ ฝูงบิน14(Skadron Udara 14) ในปี 2019 นี้เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯ

การปฏิบัติตามสัญญาส่งมอบ Su-35 แก่อินโดนีเซียได้ประสบกับมีปัญญาบางประการที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯในการคว่ำบาตรประเทศที่จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html)
แต่แหล่งข่าวในวงการทหารและการทูตของ TASS กล่าวว่าความยุ่งยากเหล่านี้ "ไม่ได้มีความสำคัญที่ยิ่งยวด" และจะไม่มีผลกระทบในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 แก่อินโดนีเซีย

อียิปต์เป็นลูกค้าต่างประเทศรายที่สามที่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียจำนวนมากกว่า 24เครื่องที่มีการลงนามสัญญาในปลายปี 2018 ที่คาดว่าจะมีวงเงินราว $2 billion และจะเริ่มต้นส่งมอบได้ในช่วงปี 2020-2021(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/su-35.html)
อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย อียิปต์ได้ถูกกดดันจากสหรัฐฯว่าถ้าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK จากรัสเซีย ก็จะต้องเผชิญกับกฎหมายรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act)

Su-35S เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4++ ความเร็วเหนือเสียงที่ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2008 เข้าประจำการกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ตั้งแต่ปี 2015 โดยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27S(NATO กำหนดรหัส Flanker-B)
Su-35S มีน้ำหนักเครื่อง 19tonnes ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับได้(TVC: Thrust Vector Control) ทำเพดานบินสูงสุดได้ที่ 20,000m ทำความเร็วสูงสุดได้ 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km มีรัศมีการรบ 1,600km และมีนักบินประจำเครื่อง 1นาย

ระบบอาวุธของ Su-35 ประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดภายในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวที่สามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบได้หนักถึง 8tonnes รวม 12จุดแข็ง
แหล่งข่าวในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนระบุว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รัสเซีย จีนจะได้รับมอบระบบอาวุธชุดใหญ่ที่ประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, จรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถี ระเบิดไม่นำวิถี และระเบิดนำวิถี

โดยเครื่องบินขับไล่ Su-35SK จีนจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-73(NATO กำหนดรหัส AA-11 Archer), อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27(NATO กำหนดรหัส AA-10 Alamo)
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางตระกูล RVV(R-77 NATO กำหนดรหัส AA-12 Adder) เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Kh-35E(NATO กำหนดรหัส AS-20 Kayak) ครับ

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

จีนทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship มาเลเซียลำแรกลงน้ำ KD Keris

Chinese shipyard launches Malaysia’s first Littoral Mission Ship
Malaysia's first Littoral Mission Ship, Keris , seen before its launch in China. (Royal Malaysian Navy)




China’s Wuchang Shipbuilding has launched the first Littoral Mission Ship. (Royal Malaysian Navy)
https://www.janes.com/article/87905/chinese-shipyard-launches-malaysia-s-first-littoral-mission-ship


อู่เรือ Wuchang Shipbuilding ในเครือ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสากรรมทางเรือของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship(LMS) ลำแรกที่ได้รับการจัดหาสำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia)

เรือตรวจการณ์ LMS ลำแรกของชั้นเรือของกองทัพเรือมาเลเซียซึ่งได้รับการตั้งชื่อเรือว่า KD Keris หมายเลขเรือ 111 เป็นการตั้งชื่อตามอาวุธโบราณดั้งเดิมของชาวมลายูคือ "กริช" ได้มีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2019 ณ อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan จีน
KD Keris เป็นเรือตรวจการณ์ LMS ลำแรกจาก 4ลำที่ได้รับการลงนามสัญญาจัดหาวงเงิน 1.17 billion Malaysian ringgit($286.1 million) ระหว่างรัฐบาลมาเลเซียและ CSIC จีนในเดือนเมษายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)

เรือตรวจการณ์ KD Keris เป็นเป็นเรือรบผิวน้ำแบบแรกของกองทัพเรือมาเลเซียที่สัญญาสร้างกับจีน โดยเรือตรวจการณ์ชั้น Keris ลำแรกนี้ได้มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/littoral-mission-ship.html)
และตามมาด้วยพิธีวางกระดูกงูเรือในวันที่ 23 ตุลาคม 2018 ขณะที่เรือ LMS ลำที่2 มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในวันเดียวกัน ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding จนถึงพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 15 เมษายน 2019 เป็นเวลาเพียงราว 6-7เดือนเท่านั้น

ภายใต้ข้อตกลงเดิมอู่เรือบริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซียควรที่จะได้สร้างเรือตรวจการณ์ LMS สองลำหลังที่ Lumut รัฐ Perak มาเลเซียในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงการถ่ายทอด Technology(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/littoral-mission-ship.html)
อย่างไรก็ตามจำนวนวงเงินในสัญญาได้ถูกลดลงในการเจรจาใหม่โดยรัฐบาลมาเลเซียชุดปัจจุบันใน Putrajaya เหลือเพียง 1.05 billion Malaysian ringgit($257.7 million) และเรือทั้งหมด 4ลำจะถูกสร้างในจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/littoral-mission-ship_31.html)

เรือตรวจการณ์ชั้น Keris LMS มาเลเซียมีความยาวเรือ 68.8m กว้าง 9m กินน้ำลึก 2.8m และมีระวางขับน้ำเต็มอัตราที่ประมาณ 700tonnes สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 22knots และมีพิสัยทำการปกติประมาณ 2,000nmi(3,704km) ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots
เรือ LMS สามารถติดตั้งปืนใหญ่กลขนาด 20mm หรือ 30mm บนป้อมปืน Remote(RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) เป็นปืนเรือหลัก และสามารถรองรับปืนกลหนักขนาด 12.7mm สองกระบอกที่ตำแหน่งดาดฟ้าหลังสะพานเดินเรือได้

เรือตรวจการณ์ LMS ยังสามารถรองรับชุดภารกิจห้องบรรทุก(Containerised Mission Module) หนึ่งระบบขนาด 20ft(6m) บนพื้นที่ดาดฟ้าเอนกประสงค์ในส่วนท้ายเรือ และสามารถปล่อยและรับกลับเรือยางท้องแบน(RHIB: Rigid Hull Bnflatable Boat) จากเครื่องส่งที่ติดตั้งทางท้ายเรือ
ทำให้เรือ LMS มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งเพื่อรองรับภารกิจที่หลากหลายทั้งภารกิจค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue), การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) และปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล

เรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship ชั้น Keris ที่สร้างในจีน 2ลำ ลำแรกคือ KD Keris ที่ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำนี้มีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือมาเลเซียภายในสิ้นปี 2019 และลำที่สองที่กำลังอยู่ระหว่างการสร้างมีกำหนดส่งมอบในปี 2020
โดยเรือ LMS ชั้น Keris อีก 2ลำหลังที่สร้างในจีนตามสัญญาที่แก้ไขใหม่ ในสัญญาเดิมนั้นเรือลำที่สามมีกำหนดส่งมอบในปี 2020 และลำที่สี่ส่งมอบในปี 2021 ครับ