วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาพประกอบนวนิยายตำนานเจ้าคีรี นางปิศาจหิมะ


นี่ก็เป็นปิศาจญี่ปุ่นอีกตนปรากฏในเรื่อง "นางปิศาจหิมะ" (雪女 Yuki Onna) ยูกิโกะ(雪子 Yukiko)
ตามตำนานแล้วปิศาจหิมะมักจะปรากฏกายในชุดกิโมโนสีขาว
แต่ในเรื่องออกแบบให้เธอใส่กิโมโนสีชมพูอ่อนและสวมเสื้อคลุมทับเพื่อให้ดูเป็นแม่บ้านญี่ปุ่น


ก็ต้องขอบคุณท่านผู้อ่านที่ไม่เปิดเผยนามทุกท่านที่ติดตามนวนิยายสงครามเรื่องยาวเรื่องนี้มาต่อเนื่องตลอดถึงตอนจบครับ
หวังว่าในอนาคตคงจะมีโอกาสได้เขียนผลงานใหม่ให้ได้อ่านอีกครับ ขอบคุณมากครับ

ติดตามอ่านนวนิยาย "ตำนานเจ้าคีรี" ได้ที่
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1308077

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อังกฤษส่งข้อเสนอต่อสหรัฐฯในการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache ของตนให้เป็นมาตรฐาน AH-64E Guardian

UK requests remanufacture of Apaches to AH-64E standard
The UK has requested that 50 of its older model WAH-64D Apache attack helicopters be remanufactured to the latest AH-64E standard. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/53882/uk-requests-remanufacture-of-apaches-to-ah-64e-standard

สหราชอาณาจักรได้ส่งข้อเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯในการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AgustaWestland-Boeing WAH-64D Block I Apache Longbow AH.1
ของกองทัพบกสหราชอาณาจักร(British's Royal Army) จำนวน50เครื่องให้เป็นมาตรฐาน AH-64E Guardian (หรือเดิมคือ Apache Block III)

โดยตามการเปิดเผยเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯและองค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA:Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมผ่านมา
ข้อเสนอความเป็นไปได้ในการปรับปรุง ฮ.โจมตี Apache AH Mk.1 ของกองทัพอังกฤษ จำนวน 50เครื่องวงเงินไม่ต่ำกว่า $3 billion ประกอบไปด้วยการจัดหาและปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆหลายรายการเช่น
เครื่องยนต์ General Electric T-700-GE-701D ใหม่ 110เครื่องแทนเครื่องยนต์ Rolls-Royce RTM 322 เดิม
ซ่อมคืนสภาพและปรับปรุงสมรรถนะระบบตรวจจับทั้ง AN/ASQ-170 Modernized Target Acquisition and Designation Sight (M-TADS) 53ระบบ, AN/AAR-11 Modernized Pilot Night Vision Sensor (PNVS) 53ระบบ
, AN/APG-78 Fire Control Radar ("Longbow" FCR) 52ระบบ, Radar Electronics Unit ที่เป็นส่วนประกอบย่อยของ Radar Longbow 55ระบบ, AN/APR-48B Modernized Radar Frequency Interferometer 52ระบบ
ระบบแจ้งเตือนภัย AAR-57(V) 3/5 Common Missile Warning Systems (CMWS) 60ระบบ, ระบบ GPS/INS ใหม่ 120ระบบ และหมวกนักบิน Apache Aviator Integrated Helmet 300ใบ เป็นต้น และระบบอื่นๆอีกจำนวนมาก

กองทัพบกอังกฤษได้จัดหา ฮ.โจมตี WAH-64D Apache AH Mk.I จำนวน 67เครื่อง โดยสูญเสียไปหนึ่งเครื่องจากอุบัติเหตุในจังหวัด Helmand อัฟกานิสถาน
หลังจากถอนกำลังจากปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังผสมนานาชาติ ISAF ในอัฟกานิสถาน กองทัพบกอังกฤษได้เก็บสำรอง ฮ.Apache จำนวน 16เครื่อง ทำให้คงเหลือประจำการที่ 50เครื่อง
ทั้งนี้ ฮ.โจมตี Apache ของอังกฤษกำลังประสบปัญหาชิ้นส่วนอุปกรณ์ Electronic คือวงจรรวม transistor chip หมดสภาพการใช้งาน โดยที่ไม่มีสายการผลิตใหม่แล้ว
และจากผลปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในอัฟกานิสถานและลิเบียทำให้กระทรวงกลาโหมอังกฤษมีแผนที่จะใช้งาน ฮ.Apache ต่อไปจนถึงปี 2040

ซึ่งกระทรวงกลาโหมอังกฤษได้มีการพิจารณาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ฮ.Apache ที่มีอยู่สามแนวทางคือ
1.จัดหา ฮ.โจมตี AH-64E ที่สร้างใหม่จากโรงงาน 2.ซื้อสิทธิบัตร ฮ.โจมตี AH-64E โดยทำการประกอบใช้ชิ้นส่วนและระบบของอังกฤษ และ 3.ปรับปรุง ฮ.Apache ที่มีอยู่เดิม
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสองทางเลือกแรกคือการจัดหา ฮ.โจมตี AH-64E ใหม่จากบริษัท Boeing สหรัฐฯนั้นจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า GBP20 million หรือ $31 million ต่อเครื่อง
หรือการจัดซื้อสิทธิบัตรเครื่องมาสร้างเองในอังกฤษเช่นเดียวกับ WAH-64D ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง AgustaWestland และ Boeing นั้นก็จะทำให้เครื่องมีราคาสูงมากกว่าเครื่องมาตรฐานที่สหรัฐฯใช้ด้วย
ดังนั้นแนวการปรับปรุง ฮ.โจมตี Apache กองทัพบกอังกฤษมีอยู่เดิมโดยการเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ที่ปิดสายการผลิตไปแล้วและปรับปรุงให้มีสมรรถนะตามมาตรฐาน AH-64E จึงเป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุด

อย่างไรก็ตามทาง DSCA ได้มีการแจ้งข้อมูลไปยังกระทรวงกลาโหมอังกฤษว่าแนวทางการปรับปรุง ฮ.Apache ใหม่จากโครงสร้างเครื่องทีมีอยู่เดิมอาจจะต้องใช้งบประมาณถึง $60 million ต่อเครื่อง ซึ่งสูงกว่าเครื่องสร้างใหม่ถึงสามเท่า
ซึ่งเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ ซึ่งทางสหรัฐฯและอังกฤษจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาหาข้อตกลงในโครงการนี้ให้ลงตัวไม่ให้สูงเกินกว่าแผนการใช้งบประมาณที่วางไว้ของทั้งสองประเทศครับ

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 Kaga ลงน้ำ

Japan Named and Launched its 2nd Izumo Class Helicopter Destroyer DDH-184 "Kaga" 

DDH-184 "Kaga", the second Izumo class Helicopter Destroyer during the namming and launching ceremony on August 27 2015.
Pictures via Twitter / @KanColle_STAFF https://twitter.com/KanColle_STAFF/status/636813379038900225

DDH-184 "Kaga", the second Izumo class Helicopter Destroyer at the JMU Japan Marine United Corporation shipyard.

http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/year-2015-news/august-2015-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/3048-japan-named-and-launched-its-2nd-izumo-class-
helicopter-destroyer-ddh-184-qkagaq.html


วันที่ 27 สิงหาคม 2015 เวลา 1430 กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF) ได้ทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำที่สองคือ DDH-184 Kaga ลงน้ำที่อู่ต่อเรือ Japan Marine United Corporation(JMU) ใน Yokohama Isogo
โดย Kaga เคยได้รับการตั้งเป็นชื่อเรือมาแล้วเช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน Kaga ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งตั้งชื่อเรือตามแคว้น Kaga สมัยโบราณที่ปัจจุบันคือจังหวัด Ishikawa

(เรือบรรทุกเครื่องบิน Kaga ลำแรกเป็นการดัดแปลงจากเรือประจัญบานชั้น Tosa เนื่องจากญี่ปุ่นได้ปฏิบัติตามสนธิสัญญา Washington ที่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกำหนดให้ชาติมหาอำนาจลดจำนวนเรือรบตามอัตราส่วนที่กำหนด
ทำให้ญี่ปุ่นทำลายเรือประจัญบาน Tosa ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และดัดแปลงเรือลำที่สองในชั้นคือ Kaga ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าประจำการในในปี 1929
ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือบรรทุกเครื่องบิน Kaga ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากฝูงบินโจมตีจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ USS Enterprise และถูกจมโดย Torpedo ของเรือพิฆาตญี่ปุ่น Hagikaze ในยุทธนาวี Midway ปี 1942)

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo มีจุดลงจอดของ ฮ.บนดาดฟ้าบินห้าตำแหน่ง และสามารถรองรับ ฮ.ในโรงเก็บได้ 14เครื่อง ประกอบด้วยเช่น
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60J หรือ SH-60K 7เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ค้นหาและกู้ภัย UH-60J 2เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านทุ่นระเบิด MCH-101 2เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47J 2เครื่อง
เรือลำแรกของชั้นคือ DDH-183 Izumo ได้ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2015 ที่ฐานทัพเรือ Yokosuka ซึ่งนับเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
คือตัวเรือยาว 248m ระวางขับน้ำปกติ 19,500tons ระวางขับน้ำสูงสุด 24,000tons อาวุธป้องกันตนเองประจำเรือมีแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยใกล้ RIM-116 Sea RAM 2ระบบ และ ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx CIWS 20mm 2ระบบ

ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองชั้น คือเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga สองลำคือ DDH-181 Hyuga และ DDH-182 Ise (โครงการ 16DDH และ 18DDH)
และเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo สองลำ(โครงการ 22DDH และโครงการ 24DDH) นั้น
จะถูกนำไปใช้ในภารกิจทั้งการปกป้องอธิปไตยเหนือน่านน้ำของญี่ปุ่น รวมถึงภารกิจกู้ภัยและการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กองทัพเรือไทยจัดแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยในงาน นาวีวิจัย 2015

กองทัพเรือ จัดแสดง นวัตกรรม - ผลงานวิจัยแบบใหม่ของกองทัพเรือ ในงาน “นาวีวิจัย 2015”



วันนี้ (27 สิงหาคม 2558) เวลา 09.00 น. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ 
เป็นประธานเปิดงาน “นาวีวิจัย 2015” ณ ลานทัศนาภิรมย์ และห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ได้จัดให้มีงานนาวีวิจัยขึ้นเป็นประจำทุกปี 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณนักวิจัย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของกองทัพเรือ เหล่าทัพ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน 
ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่กำลังพลของกองทัพเรือ ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพและประเทศชาติ ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกองทัพเรือ และสถาบันต่าง ๆ อาทิ 
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 
การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “เทคโนโลยีดาวเทียมและระบบติดตามเรือ (VMS) การทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และเรือผู้อพยพชาวโรฮีนจา”

โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การเสวนา “เทคโนโลยีงานวิจัยยุคใหม่กับหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง” 
รวมถึงการจัดแสดงเทคโนโลยีด้านงานวิจัยและพัฒนา อาทิ รถต้นแบบยานเกราะล้อยาง ขนาด 8 x 8 รถต้นแบบสะเทินน้ำสะเทินบกสนับสนุนบรรเทาสาธารณภัย 
อากาศยานไร้คนขับแบบองคตติดปืน M 16 อากาศยานไร้คนขับแบบนารายณ์ หมวกทหารราบติดกล้อง อาวุธปืนยาวประจำกายสำหรับซุ่มยิง และผลงานวิจัยอีกหลายประเภท

ทั้งนี้ภายหลังพิธีเปิดจะได้มีการสาธิตผลงานวิจัย บริเวณลานทัศนาภิรมย์ประกอบด้วย การสาธิต เสื้อเกราะลอยน้ำแบบกันกระสุน การสาธิตระบบตรวจการณ์ เพื่อต่อต้านและป้องปรามภัยคุกคามรูปแบบใหม่ 
การสาธิตการใช้งานของอุปกรณ์โครงการระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี การสาธิตการใช้งานหมวกทหารราบติดกล้องถ่ายทอดสถานการณ์ระยะไกล ซึ่งเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่พัฒนาและออกแบบให้ขยายระยะการรับรู้ข้อมูลได้ไกลกว่าเดิม

นอกจากนั้น ในงานนาวีวิจัย 2015 ยังได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นของกองทัพเรือ โดยในปีนี้มีผลงานที่น่าสนใจที่ได้รับรางวัล ดังนี้
- ผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านยุทโธปกรณ์ดีเด่น
โครงการวิจัยลวดเชื่อมและลวดตัดโลหะใต้น้ำด้วยไฟฟ้าแบบราชนาวีไทย หน่วยเจ้าของผลงาน กรมโรงงาน ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมี พลเรือตรี มนต์ชัย กาทอง เป็นนายทหารโครงการ
- ผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ด้านหลักการ
โครงการวิจัย พลังงานทดแทนสำหรับหน่วยเฉพาะกิจ ของกองทัพเรือ หน่วยเจ้าของผลงาน สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ โดยมี นาวาเอก พาสุกรี วิลัยรักษ์ เป็นนายทหารโครงการ

ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น จำนวน 9 ผลงาน ดังนี้
1. หุ่นช่วยฝึกทำคลอดเสมือนจริงเคลื่อนย้ายได้ หน่วยเจ้าของผลงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ จ่าตรี จักรพันธ์ โมรา
2. อากาศยานไร้คนขับองคตติดปืน หน่วยเจ้าของผลงาน สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาเอก รัตน์ จันทร์น้อย
3. เครื่องถอดใส่ล้อยางรถยนต์ขนาดใหญ่ แบบ Mobile พับได้ หน่วยเจ้าของผลงาน กรมการขนส่งทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาโท อำนวย บัวเอม
4. โต๊ะพล็อตอิเล็กทรอนิกส์ในเรือ หน่วยเจ้าของผลงาน กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์
นาวาเอก ณัฐชัย วรรณบูรณ
5. เครื่องควบคุมมอเตอร์ สำหรับเลื่อนเป้ายิงปืนพก หน่วยเจ้าของผลงาน กรมสรรพาวุธทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ พลเรือตรี สุทธิไชย รังสิโรดม์โกมล
6. การผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร ชนิดฝึก หน่วยเจ้าของผลงาน กรมสรรพาวุธทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาโท สุเมธ วีรวัฒโนดม
7. เครื่องแสดงข้อมูลอุณหภูมิในห้องเก็บเวชภัณฑ์ยาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หน่วยเจ้าของผลงาน โรงเรียนนายเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาโท สิริรัตน์ ไตรวิรัตน์
8. เครื่องวัดความหนืดน้ำมันหล่อลื่นในเรือโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ หน่วยเจ้าของผลงาน กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาเอก เกียรติกูล ไชยสังวล
9. หมวกกันกระสุน IT หน่วยเจ้าของโครงการ กรมสารวัตรทหารเรือ หัวหน้านักประดิษฐ์ นาวาโท นพิพัฒน์ รัตนพิทักษ์

ป้อมปืนกลหนัก .50cal ติดกล้องควบคุม

ระบบระบุพิกัดเป้าหมายด้วยแสง Laser

บริษัท ชัยเสรี นำรถเกราะล้อยาง First Win มาแสดงในงาน


น่าจะเป็นเป้าบินสำหรับฝึกใช้อาวุธต่อสู้อากาศยาน

น่าจะเป็นรถต้นแบบรถสะเทินน้ำสะเทินบกสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัย

เครื่องแบบสนาม ชุดพรางสำหรับพลซุ่มยิง และชุดเกราะปราบจลาจล

สาธิตปฏิบัติการในสถานการณ์การก่อเหตุจลาจล


UAV องคต สาธิตการขนส่งอุปกรณ์ปฐมพยาบาลในสนาม

UAV นารายณ์ สาธิตการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ในสนาม




สาธิตปฏิบัติการในสถานการณ์การก่อความไม่สงบซึ่งมีการใช้อาวุธร้ายแรง

UAV พิเภก ติดเครื่องขยายเสียง และ UAV องคต ติดปืนเล็กยาว M16


รถต้นแบบรถเกราะล้อยาง 8x8 ที่พัฒนาร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศหรือ DTI(Defence Technology Institute)


สาธิตการปฏิบัติการในเขตลำน้ำ

ที่มา กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1020529207998435.1073741885.659408270777199
https://th-th.facebook.com/prthainavy

Oshkosh Defense ชนะโครงการจัดหารถยนต์บรรทุก JLTV สำหรับกองทัพสหรัฐฯทดแทน HMMWV

Oshkosh Defense wins coveted JLTV programme
Oshkosh's L-ATV won the JLTV competition, besting submissions from AM General and Lockheed Martin. Source: IHS/Daniel Wasserbly
http://www.janes.com/article/53819/oshkosh-defense-wins-coveted-jltv-programme

บริษัท Oshkosh Defense ซึ่งมีที่ตั้งที่มลรัฐ Wisconsin ได้รับเลือกจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯให้เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหารถยนต์บรรทุกเบาทางยุทธวิธีร่วม JLTV(Joint Light Tactical Vehicle) ทดแทน HMMWV ที่ใช้มานานกว่า 30ปี
โดยสัญญาการจัดหาวงเงิน $6.7 billion ที่รถยนต์บรรทุกเบาแบบ L-ATV ของ Oshkosh ได้รับจะไปสู่การเปิดสายการผลิตระดับต่ำภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2016 และจะเข้าสู่สายการผลิตแบบเต็มอัตราในปีงบประมาณ 2018

กองทัพบกสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯมีความต้องการจัดซื้อ รยบ.L-ATV จำนวนรวม 16,901คัน ในสัญญาจัดหาชุดแรก โดยสายการผลิจจะเริ่มภายใน 10เดือนหลักการลงนามสัญญาจัดหา
รถรุ่นสำหรับกองพันทหาราบนาวิกโยธินสหรัฐฯ 69คันนั้นจะประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นได้ในปีงบประมาณ 2018 และจะจัดหารวมทั้งหมด 5,500คัน ภายในปีงบประมาณ 2022
เช่นเดียวกับกองทัพบกสหรัฐฯที่จะได้รับมอบรถชุดแรกในปีงบประมาณ 2018 และจะมีความพร้อมในการปฏิบัติการขั้นต้นในปีงบประมาณ 2019 ซึ่งกองทัพบกจะจัดหารถจำนวนรวม 49,099คัน ภายในปี 2040
ขณะนี้บริษัทที่เข้าร่วมการแข่งขันโครงการ JLTV รายอื่นเช่น AM General และ Lockheed Martin ที่เป็นผู้แพ้ยังไม่ได้ยืนเรื่องประท้วงคัดค้านการตัดสินของโครงการแต่อย่างใด
ซึ่งโครงการ JLTV ที่เริ่มในขั้นการพัฒนาการผลิตและวิศวกรรม(EMD: Engineering and Manufacturing Development) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2012 นั้น
แต่ละบริษัทที่เข้าแข่งขันในโครงการได้ส่งรถต้นแบบของตนเข้าร่วมจำนวนรวม 22คัน ซึ่งโครงการ JLTV นี้มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า $30 billion


รถยนต์บรรทุก L-ATV(Light combat tactical All-Terrain Vehicle) ของ Oshkosh นั้นมีความคล้ายคลึงซึ่งดูจะเป็นการย่อส่วนจากรถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด MRAP(Mine-Resistant Ambush-Protected) แบบ M-ATV ของบริษัท
ซึ่งรถเกราะ M-ATV ของ Oshkosh นั้นก็เคยถูกเลือกให้เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาแบบเร่งด่วนสำหรับปฏิบัติในเขตนอกถนนสำหรับอัฟกานิสถานมาแล้ว
จากประสบการณ์ในการพัฒนาที่ผ่านมาของ Oshkosh รยบ.L-ATV ได้ใช้นวัตกรรมยานยนต์ที่ทันสมัยหลายอย่างเช่น
ระบบกันกระเทือนแบบอิสระอัจฉริยะ TAK-4i ซึ่งพัฒนาจาก TAK-4 ของ M-ATV ให้มีขนาดล้อใหญ่ขึ้นจาก 406mm เป็น 508mm
L-ATV ยังใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซลแบบ Duramax V8 ควบคุมด้วยระบบ Digital สามารถปรับแต่งได้เพิ่มความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการปรับปรุงเพิ่มเติมในอนาคต
รวมถึงขีดความสามารถในการป้องกันกำลังพลภายในตัวรถจากการโจมตีด้วยอาวุธเบาและทุ่นระเบิดดีกว่า HMMWV ที่เสริมเกราะ และมีความอ่อนตัวในการติดตั้งระบบอุปกรณ์และอาวุธต่างๆตามความต้องการด้วย

JLTV programme could eventually be re-competed, Humvee future still unclear
http://www.janes.com/article/53849/jltv-programme-could-eventually-be-re-competed-humvee-future-still-unclear


อย่างไรก็ตามการจัดหารถยนต์บรรทุก JLTV สำหรับทดแทน รยบ.HMMWV ในกองทัพบกสหรัฐฯทั้งหมดยังไม่มีความชัดเจนของแนวทางการตัดสินใจในอนาคตขณะนี้
พันเอก Shane Fullmer ผู้จัดการโครงการ JLTV ได้กล่าวกับสื่อถึงประเมินตัวเลือกอื่น เช่นการที่กองทัพบกสหรัฐฯจะจัดซื้อชุดข้อมูลทางเทคนิคจาก Oshkosh เพื่อที่จะสามารถให้มีการแข่งขันการเปิดบริการสายผลิต JLTV ได้ใหม่อีกครั้ง
ด้านพันเอก John Cavedo อดีตผู้จัดการโครงการ JLTV ก็ได้กล่าวในการประชุมร่วมกับสื่อเช่นกันว่า การซื้อลิขสิทธิ์ข้อมูลของรถน่าจะได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลถ้าหากว่าจะเป็นการออมเงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
(อาจจะหมายความว่า Oshkosh Defense อาจจะไม่ได้รับสัญญาการผลิตรถ L-ATV เพียงรายเดียว แต่อาจจะให้โรงงานอื่น เช่น โรงงานของกองทัพที่รัฐบาลเป็นเจ้าของกระจายสายผลิตรถร่วมด้วยเพื่องานประหยัดค่าใช้จ่าย
รวมถึง รยบ.HMMWV ที่กองทัพบกสหรัฐฯมีประจำการขณะนี้ส่วนใหญ่ก็ยังสามารถใช้งานต่อไปได้อยู่อีกหลายปี ดังนั้นการจัดหารถ JLTV มาแทน HMMWV ในอนาคตทั้งหมดจึงยังไม่มีความชัดเจนครับ)

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศไทยรับมอบเฮลิคอปเตอร์ EC725 ชุดแรก ๔เครื่องเข้าประจำการ

The Royal Thai Air Force receives four EC725s
http://www.airbushelicopters.com/website/en/press/The-Royal-Thai-Air-Force-receives-four-EC725s_1815.html

วันที่ ๒๕ สิงหาคมที่ผ่านมาบริษัท Airbus Helicopters ได้แถลงข่าวประกาศว่าได้ทำการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ E725 ชุดแรก ๔เครื่องให้กองทัพอากาศไทยเข้าประจำการที่ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ ลพบุรีเรียบร้อยแล้ว
โดยกองทัพอากาศไทยได้ลงนามจัด ฮ.๑๑ EC725 ชุดแรกจำนวน ๔เครื่องในปี ๒๕๕๕ และได้ลงนามจัดหา ฮ.ชุดที่สองเพิ่มเติมสองเครื่องในปี ๒๕๕๗ ซึ่งเครื่องชุดที่สองนี้กองทัพอากาศไทยจะได้รับมอบในปี ๒๕๕๙
"ด้วยการลงทุนของไทยที่ต้องการจะปรับปรุงกำลังอากาศยานของตนให้ทันสมัยขึ้น EC725 จะกลายเป็นสิ่งน่าเกรงขามของกองทัพอากาศไทยที่มีประจำการในฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของตน"
Fabrice Rochereau รองประธานฝ่ายขายและลูกค้าสัมพันธ์ภาคเอเชีย-แปซิฟิคของ Airbus Helicopters กล่าว

EC725 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสองเครื่องยอต์น้ำหนัก 11tons ซึ่งมีสมรรถนะในการเดินทางและทำภารกิจสูง การติดตั้งระบบ Digital Autopilot สี่แกนทำให้เครื่องมีขีดความสามารถทางการบินที่ดีเยี่ยมสำหรับการขนส่งผู้โดยสายได้ ๒๘คน
กองทัพอากาศไทยมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและกู้ภัยทางการรบ (CSAR: Combat Search and Rescue) และ ฮ.ค้นหากู้ภัย(SAR: Search and Rescue) ทดแทน ฮ.๖ UH-1H จำนวน ๑๘เครื่องที่ประจำการมานานมากกว่า ๔๐ปีตั้งแต่ปี ๒๕๑๑
"เรายินดีต้อนรับกองทัพอากาศไทยในฐานะผู้ใช้งานใหม่ของ ฮ.Airbus Helicopters พวกเขาจะได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรของเราแบบเต็มอัตราที่จะสนับสนุนการของอากาศยานและการบริการอย่างใกล้ชิดจากศูนย์บริการลูกค้าในไทย"
Derek Sharples ผู้อำนวยการฝ่ายบริการของ Airbus Helicopters แผนกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว ซึ่งกองทัพอากาศไทยต้องการจัดหา ฮ.ค้นหาและกู้ภัยใหม่รวม ๑๖เครื่อง

นอกจาก ฮ.๖ UH-1H แล้วกองทัพอากาศไทยยังมี ฮ.๖ข Bell 412 ๒เครื่อง, ฮ.๖ค Bell 412SP ๒เครื่อง และ Bell 412HP ๑เครื่อง, ฮ.๖ง Bell 412EP ๗เครื่อง และ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A ๓เครื่อง ประจำการ
ซึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยังมีกองทัพอากาศอีกสองประเทศด้วยกันที่จัดหาและได้รับมอบ ฮ.EC725 ไปก่อนหน้ากองทัพอากาศไทยคือ
กองทัพอากาศอินโดนีเซียที่จัดหา ฮ.EC725 จำนวน ๖เครื่อง ซึ่งได้รับมอบเครื่องแรกในปลายปี 2014 และกองทัพอากาศมาเลเซียซึ่งได้รับมอบครบตามจำนวนที่สั่งจัดหาแล้ว ๑๒เครื่อง
ทั้งนี้ทาง Airbus Helicopters จะเปลี่ยนการกำหนดแบบเครื่องจาก EC725 ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นบริษัท Eurocopter มาเป็น H225M เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับ ฮ.รุ่นใหม่ๆของบริษัทในอนาคตต่อไปครับ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ ลงน้ำ ณ กรมอู่ทหารเรือ

พิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ปืน (เรือหลวงแหลมสิงห์) ลงน้ำ ณ กรมอู่ทหารเรือ

วันนี้ (๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘) เวลา ๑๐.๐๙ น. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ปืนลงน้ำ 
และ คุณณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ ภริยา เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ณ กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

         กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลางตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พุทธศักราช ๒๕๕๑ - ๒๕๖๐ 
ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการและใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ 
โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ ๒ มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำและการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ 
โดยกองทัพเรือจัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุสำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนจาก บริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๖๙๙,๔๕๙,๐๐๐ บาท 
และมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบในการสร้างเรือ ใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ต่อเรือ 
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน 
หลังจากที่กรมอู่ทหารเรือประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.๙๙๑ และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.๙๙๔ ที่ได้มีการขยายแบบเรือและรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย 
และล่าสุดคือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง

          การสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการต่อเองโดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น ๒ ระยะ 
ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข ๑ อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะมีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ ๑๓ เดือน 
และหลังจากที่ได้ปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 
โดยในระยะที่ ๒ นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ ๑๐ เดือน (ถึงกลางเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙) จึงอาจกล่าวได้ว่า 
กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของบริษัทเอกชน แต่ถือเป็นการดำเนินการในการสร้างเรือขนาดใหญ่อีกลำด้วยการพึ่งพาตนเอง

          ตามระเบียบของกองทัพเรือได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือตรวจการณ์ (ปืน) กำหนดให้ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล 
โดยเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "เรือหลวงแหลมสิงห์" 
คาดว่าจะดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ยาว ๕๘ เมตร กว้าง ๙.๓๐ เมตร กินน้ำลึก ๒.๕๐ เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด ๕๒๐ ตัน 
ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า ๒๓ นอต (ที่ระวางขับน้ำสูงสุด) มีระยะปฏิบัติการในทะเลไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ไมล์ทะเล 
มีความคงทนทะเลจนถึงสภาวะทะเลระดับ ๔ (SEA STATE 4) โดยที่ตัวเรือมีความแข็งแรงเพียงพอที่สภาวะทะเลระดับ ๕ (SEA STATE 5) 
มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๗ วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง มีห้องพักและที่อาศัยเพียงสำหรับกำลังพลประจำเรือ จำนวน ๕๓ นาย 
ในส่วนของระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด ๗๖/๖๒ มิลลิเมตร ปืนกลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร ปืนกลขนาด .๕๐ นิ้ว และมีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง สามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อาทิ อาวุธนำวิถีได้ในอนาคต

          เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ จะเข้าประจำการใน กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ 
มีภารกิจในการตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 
รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง

          สำหรับพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธีเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำแบบสากลให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธี 
ในส่วนของกองทัพเรือพิธีปล่อยเรือลงน้ำเฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๔ 
ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๕๓ ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น 
สำหรับเรือหลวงตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ ที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ ๑) 
โดย คุณหญิง วิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๐๐ 
(ที่มา : สลก.ทร.) 
http://www.sctr.navy.mi.th/navynews/2558/aug/nvn250858.php






ที่มา ยุทธเศรษฐ วังกานนท์
https://www.facebook.com/yootthasate/posts/1146736638686665







ที่มา กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1019430504774972.1073741884.659408270777199

พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และคุณณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ ภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ปืนลงน้ำ 
โดยมี พลเรือโท พิทักษ์ พิบูลทิพย์ เจ้ากรมอู่ทหารเรือ และคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ให้การต้อนรับ 
เมื่อวันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ อู่แห้งหมายเลข ๑ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ






ที่มา กิจการพลเรือน กรมอู่ทหารเรือ
https://www.facebook.com/ketjakarn.pen/posts/1638759383048559

F-35A ทดสอบการยิงปืนใหญ่อากาศ 25mm บนภาคพื้นดินต่อเนื่อง 181นัด


F-35A fires 25 mm gun during ground test
Evaluators fire the GAU-22/A 25 mm gun from static ground test F-35A aircraft AF-2, at the Edwards Air Force Base, California, gun harmonising range on 14 August. Source: F-35 Integrated Test Force
http://www.janes.com/article/53770/f-35a-fires-25-mm-gun-during-ground-test

วันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II โครงการ Joint Strike Fighter ได้ทำการทดสอบการยิงปืนใหญ่อากาศ GAU-22/A ขนาด 25mm ต่อเนื่อง 181นัด
ที่สถานีทดสอบภาคพื้นดินฐานทัพอากาศ Edwards รัฐ California โดยโฆษกของฝ่าย F-35 Joint Program Office กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(Pentagon) ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า
โครงการ F-35 JSF ในส่วนการทดสอบการบูรณาการกำลัง(Integrated Test Force)นั้น ได้สำเร็จการทดสอบขั้นภาคพื้นดินแล้ว โดยการทดสอบการยิงปืนใหญ่อากาศขณะทำการบินในอากาศจะมีขึ้นภายในสิ้นปีนี้

ปืนใหญ่อากาศ Gatling สี่ลำกล้องหมุนแบบ GAU-22/A ขนาด 25mm เป็นอาวุธหลักติดตั้งภายในตัวเครื่อง F-35A CTOL รุ่นขึ้นลงตามแบบสำหรับกองทัพอากาศ โดยติดตั้งที่ตำแหน่งด้านซ้ายใกล้ช่องรับอากาศเข้าโคนปีกเครื่อง
(มีระบบเปิดปิดฝาช่องปืนเพื่อลดการตรวจจับของสัญญาณ Radar เช่นเดียวกับ F-22 Raptor ของ Lockheed Martin เช่นกัน แต่ F-22 ใช้ปืนใหญ่อากาศ M61A2 Vulcan หกลำกล้องหมุนขนาด 20mm ความจุ 480นัด ที่ด้านขวาตัวเครื่อง)
ซึ่ง ปญอ.GAU-22/A รุ่นสายการผลิตจริงนั้นได้ทำการติดตั้งกับเครื่อง F-35A รุ่นทดสอบรหัส AF-2 และเริ่มทำการทดสอบตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา

หลังจากการทดสอบภาคพื้นดิน จะะมีการติดตั้งชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการใช้ปืนใหญ่อากาศที่สมบูรณ์ การทดสอบการยิงกระสุนฝึก PGU-23/U และการทดสอบยิงขณะทำการบิน
เช่นการสังเกตุแสงไฟจากปากกระบอกปืน ตัวแปรปัจจัยจากนักบิน และคุณภาพการบินขณะทำการยิงทดสอบ โดยนักบินทดสอบเครื่อง
ในปีหน้า 2016 จะมีการทดสอบติดตั้ง ปญอ.GAU-22/A กับ F-35A รุ่นสายการผลิตจริงต่อไป ซึ่งจะมีการทดสอบระบบ Avionic และระบบควบคุมภารกิจต่างๆจนสมบูรณ์ และตัวปืนจะประกาศความพร้อมรบเต็มอัตราได้ภายในปี 2017ครับ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศอิสราเอลจัดหาระเบิดนำวิถี SDB เพื่อติดตั้งกับ F-16I

The F-16I Acquires Small Diameter Bombs
http://www.israeldefense.co.il/en/content/f-16i-acquires-small-diameter-bombs

นับตั้งแต่เริ่มเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่เมื่อสิบปีก่อน กองทัพอากาศอิสราเอลมีแผนที่จะจัดหาระเบิดนำวิถี SDB(Small Diameter Bomb) สำหรับติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16I Sufa (ภาษาฮีบรูแปลว่า "พายุ")
ฝูงบินขับไล่ที่ 107 "อัศวินหางส้ม" (Knights of the Orange Tail) ซึ่งมีที่ตั้งที่ฐานทัพอากาศที่6 Hatzerim จะเป็นฝูงบิน F-16I ฝูงแรกที่จะได้รับระเบิดนำวิถี SDB มาใช้งาน
ซึ่ง F-16I จะเป็นเครื่องบินขับไล่แบบที่สองต่อจากเครื่องบินขับไล่ F-15I Ra'am (ภาษาฮีบรูแปลว่า "สายฟ้า") ที่เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกของกองทัพอากาศอิสราเอลที่ติดตั้งระเบิดนำวิถี SDB ได้
โดยปัจจุบัน F-15I ที่ประจำในฝูงบินขับไล่ที่ 69 "ค้อน"(Hammers) ซึ่งมีที่ตั้งที่ฐานทัพอากาศ Hatzerim เช่นกันเป็นฝูงบินเดียวของกองทัพอากาศอิสราเอลที่ติดตั้งระเบิดนำวิถี SDB ในขณะนี้

F-16I of the 107th squadron(wikipedia.org)

Raytheon advanced SDB mounted on IAF F-16I fighter aircraft
http://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-news-2015/august/2022-israeli-air-force-f-16i-fighter-aircraft-start-using-advanced-small-diameter-bombs.html

ระเบิดนำวิถี GBU-39 SDB มีชื่อเรียกในกองทัพอากาศอิสราเอลว่า Barad Had (ภาษาฮีบรูแปลว่า "ลูกเห็บคม") เป็นระเบิดนำวิถีขนาด 250lbs นำวิถีด้วย GPS/INS มีขนาดเล็กสามารถติดตั้งกับตำบลอาวุธของเครื่องบินขับไล่ได้หลายนัด
การที่ F-15I และ F-16I ของกองทัพอากาศอิสราเอลสามารถใช้งานระเบิดนำวิถี SDB ได้ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้อย่างแม่นยำและมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น
ซึ่งเป็นการลดช่องว่างความแตกต่างด้านขีดความสามารถในการใช่อาวุธของ F-15I กับ F-16I และทำให้ F-16I มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการภารกิจพิเศษได้ เนื่องจาก SDB มีอำนาจทำลายในการสร้างความเสียหายข้างเคียงไม่มาก
ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ประจำฝูงบิน F-15I และ F-16I ในฐานทัพอากาศ Hatzerim นั้นได้วางแผนเตรียมความพร้อมในการฝึกความพร้อมรบต่อสถานการณ์สงครามที่มีความเป็นไปได้ทางตอนเหนือของอิสราเอลครับ

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มการทดสอบติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ LRASM กับ F/A-18E/F Super Hornet

U.S. Navy Started LRASM Anti-Ship Missile Integration Tests on F/A-18E/F Super Hornet

A Long Range Anti-Ship Missile (LRASM) integrated on F/A-18E/F Super Hornet Aug. 12 at NAS Patuxent River, Md.
The program's flight test team is conducting initial testing to ensure proper loading, unloading and handling of the LRASM on the F/A-18 E/F. (U.S. Navy photo)

Initial fit checks are conducted on the Long Range Anti-Ship Missile (LRASM) Aug. 12 at NAS Patuxent River's Air Test and Evaluation Squadron (VX) 23 facility
in preparation for the first phase of airworthiness testing with the F/A-18 E/F. (U.S. Navy photo)

File picture: This is a view of 1/10-scale sting-mounted AIM-120C store and F/A-18E/F aircraft models during a break in store separation testing inside AEDC’s 16-foot transonic wind tunnel. (Photo by David Housch)

CGI: An F/A-18E Super Hornet fitted with two LRASM missiles.

CGI: A LRASM is launched from an F/A-18E Super Hornet

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3021

กองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มการทดสอบขั้นต้นกับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบใหม่ Long Range Anti Ship Missile (LRASM) กับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet
ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมาที่ฝูงบินทดสอบ VX-23 สถานีอากาศนาวี Patuxent River
ตามขั้นตอนทดสอบก่อนหน้านี้ได้มีการทดสอบจำลองการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีในการตอนการติดตั้งตัวจรวดติดกับแบบจำลองตัวเครื่องในอุโมงค์ลมมาแล้ว ตามกำหนดการณ์การทดสอบติดตั้งและทำการบินกับเครื่องจริงจะมีขึ้นภายในเดือนนี้

โดย Greg Oliver ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ LRASM Deployment Office (LDO) ที่รับผิดชอบการทดสอบประเมินผลนี้ได้กล่าวว่า
"ขั้นต้นจะเป็นการสร้างความคุ้นเคยของทีมทดสอบในการติดตั้งติดและถอด LRASM กับ F/A-18E/F การทดสอบนี้จะเป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลกระทบในเชิงลบเเมื่อทำการติดตั้งจรวดกับตัวเครื่องบิน"
การทดสอบการบินเมื่อติดตั้ง LRASM จะมีขึ้นต่อไปจนถึงราวปีหน้าที่จะมีการทดสอบการปล่อยอาวุธจากเครื่องที่สถานีการใช้อาวุธทางอากาศนาวี China Lake
"นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื้นเต้นสำหรับกองทัพเรือ อาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นนี้จะช่วยให้เราก้าวผ่านภัยคุกคามทางทะเลได้มากขึ้น และทำให้เครื่องบินขับไล่มีความสามารถที่จำเป็นเร่งด่วนในการโจมตีเป้าหมายการรบในผิวน้ำจากระยะไกลมากขึ้น"
นาวาเอก Jaime Engdahl ผู้จัดการโครงการ Precision Strike Weapons ของกองทัพเรือสหรัฐฯกล่าว

เมื่อมีความพร้อมปฏิบัติการ LRASM จะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่ตรวจจับได้ยาก มีความยืดหยุ่น มีพิสัยยิงไกล มีความก้าวหน้าสูง และมีขีดความสามารถในการต่อต้านเป้าหมายผิวน้ำภัยคุกคามทางทะเลที่มีคุณค่าสูง
ซึ่งมีการวางแผนจะนำ LRASM ไปติดตั้งใช้กับเครื่องบินทิ้งระเบิด B-1B Lancer ของกองทัพอากาศสหรัฐฯในปี 2018 และเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet ในปี 2019 รวมถึง F-35 และยิงจากแท่นยิง Mk41 VLS ในเรือรบผิวน้ำ
โดย LRASM ซึ่งพัฒนาโดย Lockheed Martin เป็นโครงการร่วมกับ DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency), กองบัญชาการระบบอากาศนาวี กองทัพเรือสหรัฐฯ และกองทัพอากาศสหรัฐฯครับ