วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ญี่ปุ่นมองจะติดอาวุธพิสัยไกลกับเครื่องบินลำเลียงอย่างอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JASSM-ER สหรัฐฯ

Japan mulls long-range missiles on transport aircraft



Based on available information, it is likely that the upgraded air-launched variant of Japan's Type 12 missile and the US-origin Joint Air-to-Surface Standoff Missile-Extended Range could be used to turn Japan's cargo aircraft into lethal platforms. (Janes)

US State Department approves possible JASSM-ER sale to Japan



Japan intends to equip its fleet of Mitsubishi-Boeing F-15Js with AGM-158B/B-2 JASSM-ERs for stand-off attacks. Other aircraft in the JASDF, such as transport aircraft, could also be armed with missiles. (Lockheed Martin)

เครื่องบินลำเลียงของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) จะสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลได้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการโจมตีนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้าม(stand-off)ของญี่ปุ่น
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยืนยันกับ Janes ว่าตนและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Force) "จะพัฒนาและจัดหาระบบยิงอาวุธปล่อยพิสัยไกลนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้ามที่สามารถติดตั้งกับเครื่องบินลำเลียงได้"

อาวุธปล่อยนำวิถีที่ติดตั้งกับเครื่องบินดังกล่าวสามารถถูกใช้โดยญี่ปุ่นเพื่อจะดำเนินการโจมตีระยะไกลต่อเป้าหมายฝ่ายตรงข้ามอย่างเช่นเรือและฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถี
การใช้เครื่องบินลำเลียงจะยังขจัดความจำเป็นสำหรับญี่ปุ่นที่จะต้องจัดหาเครื่องบินรบเพิ่มเติมอย่างเช่นเครื่องบินทิ้งระเบิดสำหรับภารกิจนี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/asean-c-2.html)

โครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผนโดยญี่ปุ่นที่จะกระจายความเสี่ยงขีดความสามารถการยิงอาวุธปล่อยพิสัยไกลนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้ามของตน ตามข้อมูลโฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
โครงการเสริมสร้างทางกลาโหม(DPB: Defense Buildup Program) ของญี่ปุ่นระบุการกระจายความเสี่ยงเพิ่มเติมของขีดความสามารถการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีที่ต้องการจะ "ขัดขวาง, กำจัด และป้องปรามการรุกรานต่อญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ"

"นี่จะทำให้เราสามารถดำรงความอยู่ของอาวุธปล่อยนำวิถีของเรา และดำเนินการปฏิบัติการต่างๆที่ซับซ้อนมากขึ้นต่อฝ่ายตรงข้ามของเราได้" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจะดำเนินการตามมาด้วยการ "ตรวจสอบรายละเอียดดังกล่าวตามแต่ละแบบโดยเฉพาะของเครื่องบินลำเลียงที่จะติดตั้งระบบยิง เช่นเดียวกับแบบของอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลที่จะยิงจากระบบ"

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกลเพิ่มระยะยิง AGM-158B/B-2 JASSM-ER(Joint Air-to-Surface Standoff Missiles with Extended Range) แก่ญี่ปุ่น
การประกาศเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2023 มีตามหลังที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเปิดเผยว่าตนพยายามที่จะพัฒนาและจัดหาระบบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลสำหรับเครื่องบินลำเลียง Janes ได้ประเมินว่า JASSM-ER เป็นหนึ่งในอาวุธปล่อยนำวิถีที่สามารถจะใช้กับเครื่องบินลำเลียงได้

ตามประกาศของสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ข้อเสนอการขายจะมอบขีดความสามารถการโจมตีระยะไกลนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้าม
สำหรับฝูงเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi-Boeing F-15J ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-15j-f-35b.html) อย่างไรก็ตาม DSCA เสริมว่าการวางกำลังใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถี "ไม่จำกัดที่เฉพาะเครื่องบินขับไล่ F-15J"

ข้อเสนอการขายมีมูลค่าที่วงเงิน $104 million นี่รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-158B/B-2 จำนวน 50นัด, ระบบต่อต้านการก่อกวนการรับสัญญาดาวเทียม GPS(Global Positioning System) แบบ JAGR(JASSM Anti-jam GPS Receiver),
อาวุธปล่อยนำวิถีลูกฝึก, การสนับสนุนจรวดและอุปกรณ์สนับสนุน DSCA กล่าวว่าตนได้ส่งการแจ้งขอการรับรองที่จำเป็นต่อสภา Congress สหรัฐฯในความเป็นไปได้ในการขายนี้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2023

ตามข้อมูลของ Janes อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-158B เป็นรุ่นเป็นระยะยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-158A JASSM โดยใช้โครงสร้างและขีดความสามารถร่วมกับพื้นฐาน JASSM-Baseline(BL)
รวมถึงสิ่งอุปกรร์ร้อยละ70 และชุดคำสั่งร้อยละ95 อย่างไรก็ตาม รุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-158B JASSM-ER มีระยะยิงที่ไกลขึ้น(มากกว่า 2.5เท่าของ JASSM-BL)

ในรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-158B-2 เป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมด้วยการประกอบปีกแบบใหม่ ทำให้รุ่น AGM-158B-2 มีระยะยิงไกลเกินกว่า 1,000km ตามข้อมูลจาก Janes Weapons: Air Launched 
AGM-158 สามารถติดตั้งได้กับเครื่องบินขับไล่ F-15E, เครื่องบินขับไล่ F-16, เครื่องบินขับไล่ F/A-18, เครื่องบินทิ้งระเบิด B-1, เครื่องบินทิ้งระเบิด B-2, เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 รวมถึงเครื่องบินลำเลียงเช่น C-130 และ C-17 และอาจเป็นไปได้กับเครื่องบินลำเลียง Kawasaki C-2 ญี่ปุ่นด้วยครับ

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ญี่ปุ่นเลือกแบบเรือใหม่ที่จะสร้างต่อจากเรือฟริเกตชั้น Mogami

Japan selects larger frigate type for Mogami class's successor



The Japan Maritime Self-Defense Force's second Mogami-class frigate, JS Kumano , seen here while it was at the Changi Naval Base for the IMDEX 2023 naval exhibition.
 
The country is acquiring a larger frigate type in a follow-on programme to the class. (Janes/Ridzwan Rahmat)

ญี่ปุ่นได้เลือกแบบเรือฟริเกตใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับโครงการที่จะมีตามมาต่อจากเรือฟริเกตชั้น Mogami ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)
ข้อเสนอสำหรับเรือรบขนาดใหญ่ขึ้นได้ถูกยกขึ้นเดินหน้าโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น ซึ่งได้รับเลือกในฐานะผู้รับสัญญาหลักสำหรับโครงการ(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/mogami-ffm-6-agano.html)

ข้อเสนอของบริษัท MHI ได้ถูกเลือกตามกระบวนการประเมินค่าหลายระยะขั้นตอน ตามการประกาศที่เผยแพร่โดยสำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023
ขณะที่ MHI ญี่ปุ่นได้รับการแต่งตั้งในฐานะผู้รับสัญญาหลัก อีกอู่เรือในประเทศบริษัท Japan Marine United Corporation(JMUC) ญี่ปุ่นได้ถูกเลือกในฐานะผู้รับสัญญารองของโครงการด้วย

เรือรบชั้นใหม่จะมีคุณลักษณะระวางขับน้ำปกติที่หนักกว่าที่ราว 4,880tonnes มีความยาวเรือมากกว่าที่ราว 142m และมีความกว้างตัวเรือมากกว่าที่ราว 17m ตามรายละเอียดที่เผยแพร่โดย ATLA ญี่ปุ่นในการประกาศของตนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023
ในการเปรียบเทียบเรือฟริเกตชั้น Mogami มีความยาวเรือรวมที่ 132.5m มีความกว้างที่ 16.3m และมีระวางขับน้ำปกติที่ประมาณ 3,900tonnes(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/mogami-ffm-3-noshiro.html)

อย่างไรก็ตามในแง่ระบบอาวุธเรือฟริเกตชั้นใหม่จะมีคุณลักษณะระบบอาวุธส่วนใหญ่เช่นเดียวกับเรือฟริเกตชั้น Mogami ตามรายละเอียดที่เผยแพร่โดย ATLA ในการประกาศของตน ระบบอาวุธเหล่านี้รวมถึงปืนเรือขนาด 127mm ในฐานะอาวุธหลัก, 
แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำกลางลำเรือ, แท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) ที่ส่วนหน้าของเรือ และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ที่แท่นยิงส่วนท้ายเรือ

คุณลักษณะอื่นๆยังรวมถึง อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยิงจากท่อยิงแนวดิ่ง VLS, sonar ลากท้าย VDS/TASS(Variable Depth Sonar/Towed Array Sonar System) และจรวดปราบเรือดำน้ำยิงจากท่อยิงแนวดิ่ง VL-ASROC, 
Sonar ต่อต้านทุ่นระเบิดและทุ่นระเบิดสำหรับสงครามทุ่นระเบิดเชิงรุก, ยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV(Unmanned Underwater Vehicle), ยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vessel) และอากาศยานไร้คนขับ UAV(Unmanned Aerial Vehicle)

เรือฟริเกตใหม่จะติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG(Combined Diesel and Gas) ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซลสองเครื่องและเครื่องยนต์ gas turbine หนึ่งเครื่อง สามารถทำความเร็วได้ถึงราว 30knots
ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้รับมอบเรือฟริเกตชั้น Mogami เข้าประจำการแล้ว 4ลำ ถูกปล่อยลงน้ำแล้ว 2ลำ และกำลังสร้าง 2ลำ และมีคำสั่งสร้างแล้ว 2ลำ รวม 10ลำ เรือฟริเกตใหม่ที่จะสร้างต่อจากชั้่น Mogami คาดว่าจะมีการสั่งจัดหาอย่างเร็วที่สุดในปีงบประมาณ 2024 ครับ

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566

DTI ไทยทดสอบและประเมินผลยานยนต์ไร้คนขับ D-Iron RCV สำหรับกองทัพบกไทย







Defence Technology Institute (DTI) was tested its D-Iron RCV (Robotic Combat Vehicle) for Royal Thai Army (RTA) based on Milrem Robotics THeMIS Combat UGV (Unmanned Ground Vehicle) 
include firing Electro Optic Systems (EOS) R400S-Mk2-HD Remote Weapon Station with Northrop Grumman M230LF 30mm canon at RTA Cavalry Center, Adisorn Camp, Saraburi Province, Thailand on 22-24 August 2023. (DTI) 

สทป. นำต้นแบบหุ่นยนต์ยุทธวิธีสำหรับ ทบ. (D-IRON) ได้เข้าทดสอบและประเมินผลร่วมกับคณะทำงานทดสอบและประเมินผล ของ ทบ. ระหว่างวันที่ 22-24 ส.ค. 66 ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี
สทป. โดยคณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ยุทธวิธีสำหรับ ทบ. (D-IRON) ได้เข้าทดสอบและประเมินผลร่วมกับคณะทำงานทดสอบและประเมินผล ของ ทบ. ในระหว่างวันที่ 22-24 ส.ค. 66 ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี โดยมีหัวข้อการทดสอบ ได้แก่ 
การทดสอบระบบอาวุธปืนกลหลักขนาด 30 มม. โดยยิงทดสอบในเวลากลางวันและกลางคืน ทดสอบการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศ การไต่ลาดชัน การข้ามคูกว้าง  การลุยน้ำลึก ระบบกล้องตรวจการณ์กลางวันและกลางคืน ระบบอุปกรณ์ควบคุม 
โดยทุกหัวข้อของการทดสอบเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงฯ ซึ่ง D-IRON  สามารถผ่านเกณฑ์ทดสอบได้ตามที่คณะทำงานทดสอบ และประเมินผลฯ กำหนด สำหรับผลการทดสอบในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
หลังจากนี้ คณะทำงานโครงการฯ จะได้นำผลการทดสอบและประเมินผล เข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ ตามขั้นตอนที่ ทบ. กำหนด เพื่อให้สามารถนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์เข้าสู่สายการผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวความคิด “รู้ใจ ทำเองได้ ใช้ดี มีมาตรฐาน”

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) นำต้นแบบหุ่นยนต์ยุทธวิธีสำหรับกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ยานยนต์รบไร้คนขับ D-Iron RCV (Robotic Combat Vehicle) เข้าทำการทดสอบและประเมินผลร่วมกับคณะทำงานของกองทัพบกไทย
ณ ศูนย์การทหารม้า(Cavalry Center) ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) เป็นเวลาราวหนึ่งปีครึ่งหลังบริษัท Milrem Robotics เอสโตเนียส่งมอบระบบให้ DTI ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/milrem-robotics-themis-d-iron-ugv-dti.html)

ต้นแบบหุ่นยนต์ยุทธวิธี D-Iron มีพื้นฐานจากยานยนต์รบไร้คนขับ THeMIS UGV(Unmanned Ground Vehicle) ที่พัฒนาโดยบริษัท Milrem Robotics ซึ่งถูกใช้งานโดยกองทัพเอสโตเนีย(Estonian Defence Force)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/themis-ugv-fn-defnder-nato.html
และกองทัพบกเนเธอร์แลนด์(Royal Netherlands Army, Koninklijke Landmacht)(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/themis-ugv.html) โดยได้รับการทดสอบและจัดหาจากหลายชาติสมาชิก NATO และอีกหลายสิบกว่าประเทศทั่วโลก รวมถึงได้ถูกนำไปใช้วางกำลังปฏิบัติการจริงมาแล้ว

DTI ไทยได้เปิดตัวยานยนต์ไร้คนขับ D-Iron RCV ของตนเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-d-iron-ugv.html)
ติดตั้งป้อมปืน remote(RWS: Remote Weapon Station) แบบ R400S-Mk2-HD ของบริษัท Electro Optic Systems(EOS) ออสเตรเลีย พร้อมปืนใหญ่กล Northrop Grumman M230LF สหรัฐฯ ขนาด 30mm ซึ่งมีการทดสอบยิงด้วยกระสึนจริงทั้งกลางวันและกลางคืนไปแล้ว

การทดสอบยังรวมถึงต้นแบบหุ่นยนต์ยุทธวิธี D-Iron ที่ติดตั้งส่วนบรรทุกสัมภาระแทนป้อมปืน RWS ซึ่งสามารถใช้ในการส่งกำลังบำรุงในภูมิประเทศได้ โดยมีการทดสอบการเคลื่อนที่ในภูมิประเทศ การไต่ลาดชัน การข้ามคูกว้าง การลุยน้ำลึก และสิ่งกีดขวางอื่นๆ แล้วเช่นกัน
เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยของคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม กมย.กห.(Miinstry of Defence of Thailand) ที่จะปูทางไปสู่การสั่งจัดหาเพื่อเปิดสายการผลิตจำนวนมากในไทยได้ ทำให้กองทัพบกไทยจะเป็นชาติแรกใน ASEAN ที่เป็นผู้ใช้งาน UGV ติดอาวุธหนักครับ

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อินโดนีเซียทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตชั้น Merah Putih ลำแรก

Indonesia Lays Keel of First ‘Red White’ Frigate 



Keel Laying Ceremony of the first Red White Frigate. Two hull sections can be seen in the background. PT PAL picture.



พิธีวางกระดูกงูเรือสำหรับเรือฟริเกต Merah Putih('แดงขาว' Red White) ลำแรกจากทั้งหมด 2ลำได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023 ณ อู่เรือของ PT PAL Indonesia รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรืออินโดนีเซียใน Surabaya ใน East Java
มีพื้นฐานแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 ของบริษัท Babcock สหราชอาณาจักร โดยมีความยาวเรือ 140m และระวางขับน้ำที่ 5,996tons(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/babcock-arrowhead-140.html
เรือฟริเกต Merah Putih จะเป็นเรือรบผิวน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างในอินโดนีเซียสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)

จากข้อมูลในสื่อประชาสัมพันธ์ของ PT PAL อินโดนีเซียสัญญาสำหรับการสร้างเรือฟริเกตสองลำได้รับการลงนามโดยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2020 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2021 สัญญาได้มีผลบังคับใช้
ในเดือนกันยายน 2021 อู่เรือ PT PAL อินโดนีเซียได้ลงนามข้อตกลงสิทธิบัตรแบบเรือกับ Babcock สหราชอาณาจักรที่ทำให้ PT PAL สามารถสร้างเรือฟริเกตที่มีพื้นฐานจากแบบเรือ Arrowhead 140 ในอินโดนีเซียได้
พิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือฟริเกต Merah Putih ลำแรก(หมายเลขการสร้าง W000304) มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2022 ขณะที่ความคืบหน้าของเรือฟริเกตลำที่สอง(หมายเลขการสร้าง W000305) ยังคงไม่เป็นที่ชัดเจน

"เรายินดีกับ PT PAL ในเหตุการณ์สำคัญนี้ของการวางกระดูกงูเรือสำหรับเรือฟริเกตใหม่ลำแรกของพวกตน นี่ยังเป็นช่วงเวลาที่น่าตื้นเต้นสำหรับ Babcock และโครงการส่งออก Arrowhead 140 ของเรา ตามที่เราภูมิใจที่เห็นการออกแบบของเรากำลังจะบรรลุผล
ลูกค้าต่างๆของเรา และภารกิจที่เราแบ่งปัน, สร้างแรงบัลดาลใจให้เราแต่ละฝ่ายและทุกวันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เรามองไปข้างหน้าที่เห็นโครงการนี้พัฒนาในอินโดนีเซีย" David Lockwood ผู้อำนวยการบริหาร Babcock กล่าว
เรือฟริเกต Merah Putih ลำแรกและลำที่สองควรจะถูกส่งมอบภายใน 57เดือนและ 69เดือนตามลำดับตั้งแต่วันที่สัญญามีผลบังคับใช้ ก่อนหน้านี้ PT PAL อินโดนีเซียกล่าวว่าตนยังใช้ประสบการณ์ก่อนหน้าของตน
ในการสร้างเรือฟริเกตแบบ SIGMA 10514(เรือฟริเกตชั้น Martadinata) กับบริษัท Damen เนเธอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/martadinata.html) เพื่อทำงานกับเรือฟริเกต Merah Putih

ตามข้อมูลจาก Iqbal Fikri หัวหน้าฝ่ายการปฏิบัติการ(COO: Chief Operating Officer) ของ PT PAL โครงการเรือฟริเกตเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ที่สร้างความก้าวหน้าและเพิ่มขยายปริมาณและขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของอินโดนีเซีย รวมถึงการลดการพึ่งพาการนำเข้าระบบอาวุธต่างๆจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด
สำหรับบันทึกรายการสองสัปดาห์ก่อนหน้าเหตุการณ์สำคัญนี้ PT PAL อินโดนีเซียได้เริ่มต้นการสร้างเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย(LPD: Landing Platform Dock) ลำใหม่สำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/lpd-pt-pal.html)

เรือฟริเกตชั้น Merah Putih ที่ขณะนี้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการโดยทางการอินโดนีเซียมีที่มาจากสีธงชาติของอินโดนีเซีย(แดงขาว) ในปี 2021 PT PAL ระบุว่าเรือฟริเกตจะมีระบบขับเคลื่อนแบบ CODAD(Combined Diesel and Diesel)
โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 28knots(ที่ระวางขับน้ำเต็มที่) และมีระยะทำการที่ 9,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots มากไปกว่านั้นเรือจะติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) 
24ท่อยิง VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ(SAM: Surface-to-Air Missile) พิสัยกลาง, 32ท่อยิง VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล และ 16ท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น(SSM: Surface-to-Surface Missile)

จากแบบเรือที่แสดงระหว่างพิธีวางกระดูกงูเรือ ปืนเรือ Leonardo 76mm สองกระบอกจะถูกติดตั้งที่ส่วนหน้าของเรือ(ซึ่งเป็นรูปแบบที่หาได้ยาก) ขณะเดียวกันจากหลายรายงานระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) จะมาจากบริษัท Havelsan ตุรกี
ถ้าเรื่องนี้ได้รับการยืนยัน ชุดระบบตรวจับน่าจะรวมถึงระบบของตุรกีเช่นเดียวกัน(รวมถึงระบบ radar) ระบบอำนวยการรบ ADVENT CMS ของ Havelsan ตุรกีได้ถูกเลือกโดยกองทัพเรืออินโดนีเซียสำหรับเรือเร็วโจมตีชั้น KCR-60 แล้ว
ข่าวลือในอินโดนีเซียยังกล่าวถึงการผสมผสานของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MBDA ASTER ฝรั่งเศส และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Brahmos อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/su-30mki-brahmos-er.html) แต่เรื่องนี้ยังไม่ถูกยืนยันอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตามรูปแบบสุดท้ายของเรือสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความต้องการภารกิจของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและ/หรือกองทัพเรืออินโดนีเซีย
แบบเรือ Arrowhead 140 ของ Babcock ที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น Iver Huitfeldt ของเดนมาร์ก(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/sm-2-iver-huitfeldt.html) ปัจจุบันกำลังถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือสามชาติคือ
โครงการเรือฟริเกตชั้น Type 31 สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/type-31-hms-venturer.html), โครงการเรือฟริเกต Miecznik โปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/miecznik.html) และโครงการเรือฟริเกต Merah Putih อินโดนีเซียครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

PTDI อินโดนีเซียลงนามข้อตกลงเบื้องต้นกับ Sikorsky สหรัฐฯเพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป S-70M Black Hawk

PTDI signs HOA with Sikorsky for Black Hawks





Indonesia has had an interest in acquiring Lockheed Martin/Sikorsky Black Hawk helicopters produced at the PZL Mielec facility in Poland since 2007. (Lockheed Martin)

อินโดนีเซียได้ลงนามร่างข้อตกลงเบื้องต้น(HOA: Heads of Agreement) สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Lockheed Martin/Sikorsky S-70M Black Hawk จำนวน 24เครื่อง
ร่างข้อตกลงเบื้องต้น HOA ได้รับการลงนามโดยบริษัท Sikorsky สหรัฐฯและ PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการบินอินโดนีเซียสำหรับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่าข้อตกลงด้านอุตสาหกรรมกลาโหม "ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของ...เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk เพื่อเสริมความแข็งแกร่งฝูงบินกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian National Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia)"
ประธานผู้อำนวยการ PTDI อินโดนีเซีย Gita Amperiawan กล่าวว่า ผ่านข้อตกลงนี้ PTDI จะเดินหน้าการพัฒนาของกิจกรรมที่จำเป็นที่จะนำเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป S-70M Black Hawk มาสู่อินโดนีเซีย

PTDI อินโดนีเซียเสริมว่ากิจกรรมต่างๆได้ถูกเตรียมการเพื่อสนับสนุนกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียที่จะ "ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเฮลิคอปเตอร์" ตามที่ตนเป็นภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้ Defend ID(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/defend-id.html)
PTDI อินโดนีเซียยังกล่าวว่าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของตนกับ Sikorsky สหรัฐฯจะสนับสนุนการสร้าง "ภาคอุตสาหกรรมแห่งชาติในคำสั่งที่จะตรงต่อความต้องการของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย"

"เราเชื่อว่าความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์นี้ระหว่าง PTDI และ Sikorsky จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่ได้รับจากขีดความสามารถของ PTDI ที่จะบูรณาการ, ปรับแต่ง, ดัดแปลง และปรับปรุงระบบต่างๆสำหรับการทำให้เฮลิคอปเตอร์เสร็จสมบูรณ์" Amperiawan กล่าว
มากไปกว่านั้นตามที่ Amperiawan กล่าว ความร่วมมือจะทำให้ PTDI จะสามารถที่จะดำเนินกิจกกรรมการซ่อมบำรุง, ซ่อมแก้ และซ่อมใหญ่(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) เกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป S-70M Black Hawk ควบคู่กับระบบและเครื่องยนต์ของตน

"โดยการกลายเป็นผู้จัดส่งทางการของ Sikorsky สหรัฐฯ PTDI อินโดนีเซียยังสามารถพัฒนาธุรกิจโครงสร้างทางการบิน(aerostructure) ของตนได้" ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย
ประธานบริษัท Sikorsky สหรัฐฯ Paul Lemmo กล่าวว่าข้อตกลงสะท้อนความมุ่งมั่นร่วมกันกับ PTDI อินโดนีเซียเพื่อมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป S-70M Black Hawk ที่ตรงต่อความต้องการด้านความมั่นคงของอินโดนีเซีย

"เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk เป็น...ขีดความสามารถของการขนส่งกำลังพลและการส่งกำลังบำรงอย่างรวดเร็วและน่าเชื่อถือไปยังพื้นที่ที่กระจัดกระจายต่างตลอดทั่วทั้งหมู่เกาะของอินโดนีเซีย" Lemmo กล่าว
อินโดนีเซียได้เคยแสดงความสนใจที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ตระกูล S-70 Black Hawk ที่ผลิตโดยโรงงานอากาศยานของบริษัท PZL Mielec โปแลนด์ ที่เริ่มสายการผลิตในโปแลนด์ตั้งแต่ปี 2007 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/lockheed-martin-black-hawk-2070.html

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กองทัพอากาศไทยและออสเตรเลียทำการฝึกผสม Thai Boomerang 2023 ที่กองบิน๑ โคราช

Exercise Thai Boomerang commences in Thailand
A Royal Thai Air Force JAS-39 Gripen and Royal Australian Air Force F/A-18F Super Hornets from No. 1 Squadron taxi to the runway for a sortie during Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

A Royal Thai Air Force F-16 Fighting Falcon taking off for a sortie during Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

A Royal Australian Air Force F/A-18F Super Hornet from No. 1 Squadron on the apron for Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

Multiple Royal Australian Air Force F/A-18F Super Hornets from No. 1 Squadron on the apron for Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

A F/A-18F Super Hornet from No. 1 Squadron prepares for a sortie during Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

No. 1 Squadron Flight Lieutenant Jack Leavesley boards a F/A-18F Super Hornet for a sortie during Exercise Thai Boomerang 23 at Korat Royal Thai Air Force Base, Thailand. (Commonwealth of Australia)

พิธีเปิดการฝึกผสม THAI BOOMERANG 23 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
พลอากาศตรี วชิระพล  เมืองน้อย ผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ และ Air Vice-Marshal Glen Braz Air Commander Australia ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกผสม THAI BOOMERANG 23 
ณ อาคาร Starfire กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566
การฝึกผสม THAI BOOMERANG 23 ถือเป็นการฝึกผสมทางอากาศครั้งที่ 16 โดยเป็นการฝึกทางอากาศระหว่างกองทัพอากาศ และกองทัพอากาศออสเตรเลีย ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2535 
การฝึกผสม THAI BOOMERANG เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2533 โดยกองทัพอากาศออสเตรเลีย จัดเครื่องบินขับไล่แบบ F/A-18 จำนวน 2 เครื่อง บินเดินทางเยือนประเทศไทย 
และต่อมาในปี พ.ศ.2535 การบินเยือนได้ขยายขอบเขต เป็นการมาฝึกบิน ACMI ร่วมกับเครื่องบินขับไล่แบบ 19/ก (F-16 A/B) ของกองทัพอากาศ ในการฝึกภารกิจทางยุทธวิธี และการรบทางอากาศกับเครื่องบินต่างแบบ 
โดยเรียกการฝึกในครั้งแรกว่า THAI BOOMERANG 92 (เดิมกำหนดจะเรียกชื่อว่า BARON-PHRAPHA) จากนั้นทั้งสองชาติได้เข้าร่วมการฝึกเรื่อยมา 
โดยพัฒนาจากการที่กองทัพอากาศออสเตรเลียจัดเครื่องบินขับไล่แบบ F/A-18 จำนวน 2 - 4 เครื่องจากฝูงบินที่ 3 เข้าร่วมการฝึก ขณะที่กองทัพอากาศจัดเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก จำนวน 2 - 4 เครื่อง จากฝูงบิน 103 เข้าร่วมการฝึก โดยใช้พื้นที่การฝึก ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นการฝึกในครั้งที่ 5 กองทัพอากาศจัดเครื่องบินขับไล่ จากฝูงบิน 403 เข้าร่วมการฝึกอีก 1 ฝูงบิน โดยใช้ระยะเวลาการฝึกประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นรูปแบบการฝึก จึงเปลี่ยนเป็นปีเว้นปี 
เพื่อให้สอดคล้องกับการฝึกผสม PITCH BLACK ที่กองทัพอากาศได้จัดกำลังทางอากาศ เข้าร่วมการฝึก ณ ฐานทัพอากาศ Darwin และ Tindall เครือรัฐออสเตรเลีย
ปัจจุบันรูปแบบของการฝึกได้ปรับเป็นการบินรบขั้นมูลฐานกับเครื่องบินต่างแบบ (Dissimilar Basic Fighter Maneuver : DBFM), การบินรบกับเครื่องบินต่างแบบ (Dissimilar Air Combat Maneuver : DACM), 
การบินยุทธวิธีการรบกับเครื่องบินต่างแบบ (Dissimilar Air Combat Tactics : DACT), การใช้กำลังทางอากาศขนาดใหญ่ (Large Force Employment : LFE), การบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare : EW) และการทดสอบการต่อต้านจากภัยคุกคามทางอากาศแบบใหม่
สำหรับการฝึกผสม THAI BOOMERANG 23 ในครั้งนี้ มีห้วงเวลาในการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 20 - 31 สิงหาคม 2566 โดยใช้พื้นที่การฝึก ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา 
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงความพร้อมรบ และพัฒนาขีดความสามรถของหน่วยบินในการปฏิบัติการทางอากาศผสม รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหลักนิยม ระบบอาวุธ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศ และกองทัพอากาศออสเตรเลีย
ในการนี้ กองทัพอากาศ ได้นำกำลังพล จำนวน 300 คน และอากาศยาน จำนวน 12 เครื่อง เข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย 
- เครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก (F-16ADF) จากฝูงบิน 103 กองบิน 1 จำนวน 4 เครื่อง
- เครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก (F-16MLU) จากฝูงบิน 403 กองบิน 4 จำนวน 4 เครื่อง
- เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก (GRIPEN 39 C/D) จากฝูงบิน 701 กองบิน 7 จำนวน 4 เครื่อง
และกองทัพอากาศออสเตรเลีย นำกำลังพล จำนวน 120 คน และเครื่องบินขับไล่แบบ F/A-18F (Super Hornet) จำนวน 6 เครื่อง จากฝูงบิน 1 ฐานทัพอากาศ Amberley เข้าร่วมการฝึก 
ทั้งนี้ กองอำนวยการฝึกผสม THAI BOOMERANG 23 จะร่วมกับหน่วยมิตรประชา กองบิน 1 จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนบ้านหนองเสาเดียว ตำบลท่าอาง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 และจะมีพิธีปิดการฝึกผสมฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566

กองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ได้วางกำลังพล ๑๒๐นายและอากาศยาน ๖เครื่องในไทยระหว่างวันที่ ๒๐-๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) เพื่อเข้าร่วมการฝึกผสม Thai Boomerang 2023
การฝึกผสม Thai Boomerang เป็นการฝึกทางอากาศทวิภาคีแบบปีเว้นปีด้วยเครื่องบินขับไล่ระหว่างกองทัพอากาศออสเตรเลียและกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) โดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มขยายการทำงานร่วมกันผ่านสถานการณ์การฝึกที่หลากหลาย

ทำการฝึก ณ กองบิน๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย อากาศยานที่เข้าร่วมประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18F Super Hornet จำนวน ๖เครื่องจาก ฝูงบินที่1(No. 1 Squadron) กองทัพอากาศออสเตรเลียทำงานร่วมกันกับกองทัพอากาศไทยประกอบด้วย
เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ จำนวน ๔เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ELMU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๔เครื่องและเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab JAS-39 Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๔เครื่อง

การฝึกผสม Thai Boomerang 2023 ได้มอบโอกาสที่จะเพิ่มความลึกซึ้งความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างออสเตรเลียและไทยผ่านการมีส่วนร่วมด้านกลาโหม โดยปลูกฝังความเข้าใจอย่างใกล้ชิด, มิตรภาพ และสายสัมพันธ์ระหว่าบรรดานักบินในทุกระดับ
นาวาอากาศโท Sean Hamilton ผู้บังคับการฝูงบินที่1 กองทัพอากาศออสเตรเลียกล่าวว่า การฝึกจะทดสอบและเพิ่มพูนการบูรณาการกองกำลังผสม เช่นเดียวกับเสริมสร้างความแข็งแกร่งความเป็นหุ้นส่วนและความพร้อมกำลังผสมทวิภาคี

"การฝึก Thai Boomerang มอบโอกาสที่จะเพิ่มขยายความเป็นหุ้นส่วนความมั่นคงของออสเตรเลียกับไทยผ่านความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันที่แข็งแกร่ง เรามองไปข้างหน้าที่จะฝึกรวมไปกับกองทัพอากาศไทยและดำเนินสถานการณ์การรบทางอากาศด้วยรูปแบบขบวนผสมของเครื่องบินขับไล่ต่างๆ 
การแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้มอบการสร้างรากฐานความสัมพันธ์การทำงานร่วมกันและทำให้เราสามารถที่จะเรียนรู้จากอีกฝ่ายเพื่อจะกลายเป็นกำลังรบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นาวาอากาศโท Hamilton กล่าว

ไทยเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของออสเตรเลียและทั้งสองประเทศแบ่งปันประวัติศาสตร์อันยาวนานร่วมกันของการมีส่วนร่วมทางกลาโหมผ่านการศึกษา, การฝึก(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chapel-gold-2023-close.html) และความร่วมมือด้านความมั่นคงในทางปฏิบัติ
ออสเตรเลียได้นำเครื่องบินขับไล่ F/A-18F ของตนมาฝึกในไทยครั้งแรกในการฝึกผสม Thai Boomerang 2019 ปี พ.ศ.๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/fa-18f-thai-boomerang-2019.html) โดยการฝึก Thai Boomerang 2021 ปี พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ลดระดับเป็นการฝึกในภาคที่ตั้งเนื่องจากสถานการณ์ระบาด Covid-19 ก่อนกลับมาฝึกอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ครับ

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อินโดนีเซียลงนาม MOU กับ Boeing สหรัฐฯเพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX 24เครื่อง

Indonesia signs MOU with Boeing for F-15EX







The US Department of State approved a possible sale of 36 Boeing F-15EXs to Indonesia in 2022. Indonesia has downsized its potential acquisition to 24 aircraft – likely to reduce contract costs. (Boeing)



รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับบริษัท Boeing สหรัฐสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 24เครื่อง
บันทึกความเข้าใจ MOU ซึ่งถูกลงนาม ณ โรงงานอากาศยาน St Louis ของ Boeing เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2023 ถือว่าเป็น "ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลการขาย" ของเครื่องบินขับไล่ F-15EX บริษัท Boeing กล่าว

บันทึกความเข้าใจ MOU ได้รับการลงนามระหว่างการเดินทางเยือนสหรัฐฯของรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo Subianto ในแถลงการณ์ Prabowo กล่าวว่า ขีดความสามารถขั้นก้าวหน้าของเครื่องบินขับไล่ F-15EX มีความสำคัญสำหรับการปกป้องอธิปไตยแห่งชาติของอินโดนีเซีย
"F-15EX มีระบบควบคุมการบินแบบ digital fly-by-wire, ระบบสงคราม electronic(EWS: Electronic Warfare System) ใหม่, ห้องนักบิน digtal glass cockpit ทั้งหมด และระบบภารกิจและขีดความสามารถชุดคำสั่งรุ่นใหม่ล่าสุด" Beoing สหรัฐฯกล่าว

"ขีดความสามารถต่างๆเหล่านี้จะถูกนำมาในเครื่องบินรุ่นที่จะส่งมอบให้อินโดนีเซีย ซึ่งถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F-15IDN" บริษัท Boeing เสริม(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/f-15id.html)
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-15EX จำนวน 36เครื่อง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2022 ภายใต้รูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) แก่อินโดนีเซีย ความเป็นไปได้ในการขายนี้มีมูลค่าที่วงเงินประมาณ $13.9 billion

สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ยังได้ยืนการแจ้งการรับรองที่จำเป็นแก่สภา Congress สหรัฐฯของความเป็นไปได้ในการขาย
ตามข้อมูลจากสื่ออินโดนีเซีย ข้อตกลงความเป็นไปได้ในการขายนี้ประกอยด้วยวงเงิน $9.8 billion สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15EX และวงเงินอีกประมาณ $4.4 billion สำหรับสิ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Prabowo ยืนยันว่า แผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-15EX ได้อยู่ใน "ขั้นระยะที่มีความคืบหน้า" และกำลังรอ "การอนุมัติขั้นสุดท้ายจากรัฐบาล"
ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ทางด้านบริษัท Boeing กล่าวว่าการขายเครื่องบินขับไล่ F-15EX แก่อินโดนีเซียเป็นหัวข้อที่จะต้องให้รัฐบาลสหรัฐฯอนุมัติ

Janes เข้าใจว่าการลดจำนวนเครื่องบินขับไล่ F-15IDN สำหรับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จาก 36เครื่องเป็น 24เครื่องน่าจะเพื่อเป็นการลดจำนวนวงเงินของสัญญา 
เช่นเดียวกับที่การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส ที่การจัดหาแบ่งเป็นระยะๆด้วยงบประมาณที่มีแหล่งที่มาจากเงินกู้ต่างประเทศครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/rafale-18.html)

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กองทัพอากาศไทยทำพิธีบรรจุเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH เข้าประจำการครบ ๑๒เครื่อง










Royal Thai Air Force (RTAF) held commissioning ceremony for its twelve T-6TH (Beachcraft T-6C Texan II) trainer aircrafts at RTAF Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province on 22 August 2023. (Royal Thai Air Force)






Royal Thai Air Force also held opening ceremony of new RTAF Flying Training School's Training Center include current CT-4E, DA42 and new T-6C simulators. 
Inducting of T-6C Texan II allow RTAF to be decommissioned its ageing Pilatus PC-9 Mustang which in serviced since 1991. (Royal Thai Air Force)



"กองทัพอากาศจัดพิธีบรรจุเครื่องบิน T-6C เข้าประจำการสำหรับภารกิจฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ ทดแทนเครื่องบิน PC-9 ที่ครบวาระปลดประจำการหลังฝึกศิษย์การบินมาแล้วกว่า 30 ปี"

พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุเครื่องบิน T-6C จำนวน 12 เครื่อง เข้าประจำการเป็น “เครื่องบินฝึกแบบที่ 22” ของกองทัพอากาศ ณ ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 
เมื่อวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 เพื่อรองรับภารกิจฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ ทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 หรือ PC-9 ที่ครบวาระปลดประจำการระหว่างปี 2564 - 2566 หลังใช้ปฏิบัติภารกิจฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศมาตั้งแต่ปี 2534 นับเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี
พร้อมเปิดอาคารฝึกบินจำลอง โรงเรียนการบิน ซึ่งมีระบบเครื่องฝึกบินจำลองของเครื่องบินฝึกแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย CT-4E สำหรับการฝึกศิษย์การบินชั้นประถม, DA-42 สำหรับฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม (บินลำเลียง) และ T-6C สำหรับฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม (บินขับไล่/โจมตี)

ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกที่มีขีดความสามารถในการเสริมสร้างพื้นฐานการฝึก การบินขับไล่/โจมตี โดยใช้อากาศยานและระบบเครื่องฝึกบินจำลองและอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกที่มีเทคโนโลยีเหมาะสม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลการฝึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งระบบการส่งกำลังและซ่อมบำรุงที่มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐานสากลระดับโลก สามารถทำการฝึกศิษย์การบินให้มีความรู้และทักษะการบินขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติงานกับเครื่องบินขับไล่/โจมตี ได้อย่างปลอดภัย
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่ศิษย์การบินจะต้องทำการฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีสมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไป
โดยได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ และตัดสินใจจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินแบบ T-6C ผลิตโดยบริษัท Textron Aviation Defense, LCC สหรัฐอเมริกา จำนวน 12 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และระบบเครื่องฝึกบินจำลอง เพื่อใช้งานในการฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยม 
โดย T-6C เป็นหนึ่งในเครื่องบินฝึกที่มีเทคโนโลยีและระบบการฝึกที่ทันสมัยที่สุดของโลก มีคุณลักษณะและขีดความสามารถตรงตามที่กองทัพอากาศต้องการ และสามารถประหยัดงบประมาณในการฝึกนักบินขับไล่โจมตีในภาพรวมของกองทัพอากาศได้ 
โดยครอบคลุมความต้องการของกองทัพอากาศในรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

1. เป็นเครื่องบินฝึกศิษย์การบินที่มีสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต มีระบบสนับสนุนการฝึกตามภารกิจที่กองทัพอากาศต้องการ
2. ระบบสนับสนุนการฝึกมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความสมบูรณ์ สามารถวัดผล และวิเคราะห์การฝึกของนักบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบส่งกำลังบำรุงเป็นที่น่าเชื่อถือ มีการใช้งานแพร่หลาย และมีความง่ายในการดำเนินการ
4. มีอุปกรณ์สนับสนุนการซ่อมบำรุง พัสดุอะไหล่ (Spare Parts) และเอกสารเทคนิคที่เกี่ยวข้องเพียงพอในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามที่กองทัพอากาศกำหนด และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สนับสนุนการบินสามารถปฏิบัติงานซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจ โดยสามารถประหยัดงบประมาณการฝึกนักบินขับไล่โจมตีในภาพรวมของกองทัพอากาศได้

นอกจากนี้ ตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรือ S-Curve ที่ 11 กองทัพอากาศจึงได้กำหนดให้เป็นการจัดหาพร้อมการพัฒนา ซึ่งบริษัท Textron Aviation Defense, LCC 
และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ร่วมตรวจสอบขีดความสามารถอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเสนอให้มีการจ้างงานอุตสาหกรรมภายในประเทศให้มีส่วนร่วมในการผลิตและประกอบเครื่องบินฝึกแบบ T-6C ภายในประเทศ 
ซึ่งเป็นโครงการแรกของกองทัพอากาศที่ดำเนินการและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรือ S-Curve ที่ 11
การบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่ 22 หรือ T6C ในครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ก้าวสำคัญของการวางรากฐานการฝึกศิษย์การบินรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการบินและเป็นไปตามมาตรฐานสากล

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 23 สิงหาคม 2566

พิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II เข้าประจำการ ณ ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมา
มีขึ้นให้หลังราวสิบเดือนหลังจากมีพิธีต้อนรับเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II ๒เครื่องแรกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/t-6th.html) และมีการทยอยรับมอบเครื่องเพิ่มตามมา(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/t-6th-04-05.html)

จากภาพที่เผยแพร่อย่างเป็นการโดยกองทัพอากาศไทยหนึ่งวันให้หลังในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ได้แสดงการจัดแสดงเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II ทั้ง ๑๒เครื่องในลานจอดของโรงเรียนการบินกำแพงแสน แสดงให้เห็นว่ากองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องครบ ๑๒เครื่องแล้ว
พิธีบรรจุเข้าประจำการของเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ T-6TH ในวันเดียวกันยังได้รวมถึงพิธีเปิดอาคารฝึกบินจำลองใหม่ของโรงเรียนการบินกองทัพอากาศไทย ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ได้ทดลองเครื่องฝึกบินจำลอง(Flight Simulator) ของ T-6C ด้วย

กองทัพอากาศไทยได้ลงนามจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH จำนวน ๑๒เครื่อง วงเงิน ๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($162 million) ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/t-6th.html) ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึก Beachcraft T-6C Texan II
พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการจากบริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯ แก่ภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย โดย บ.ฝ.๒๒ T-6TH ๑๐เครื่องที่เหลือได้ถูกจัดส่งทางเรือและทำการประกอบในไทยโดย บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยในจังหวัดนครสวรรค์

การนำเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH เข้าประจำการครบ ๑๒เครื่องจะทำให้กองทัพอากาศไทยสามารถปลดประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ได้ ตามแผนที่จะปลดประจำการลงทั้งหมดในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) นี้
ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) กองทัพอากาศไทยยังจะได้รับมอบเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ Beechcraft AT-6TH Wolverine จำนวน ๘เครื่องที่มีพื้นฐานร่วมกับ บ.ฝ.๒๒ T-6TH พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการเช่นกันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/at-6e-wolverine.html)