วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ตุรกีทำพิธีประจำการเรือดำน้ำชั้น Reis ลำแรก S-330 TCG Pirireis

Turkish Navy commissions first Reis-class submarine



The commissioning ceremony for TCG Pirireis , which took place at Aksaz Naval Base on 25 August 2024. (Turkish MND)



เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ชั้น Type 214TN Reis ลำแรกจากทั้งหมด 6ลำที่ได้รับการสร้างสำหรับกองทัพเรือตุรกี(Turkish Navy) ได้ถูกนำเข้าประจำการแล้ว
เรือดำน้ำชั้น Reis ลำแรก เรือดำน้ำ S-330 TCG Pirireis ได้มีพิธีขึ้นระวางประจำการอย่างเป็นทางการในพิธีที่จัดขึ้น ณ ฐานทัพเรือ Aksaz ใน Marmaris ทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2024 กระทรวงกลาโหมตุรกียืนยันในวันเดียวกัน

พิธีขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำ TCG Pirireis ยังเป็นเครื่องหมายถึงเหตุการณ์สำคัญอื่นๆอีกหลายอย่างสำหรับโครงการเรือดำน้ำชั้น Reis(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/type-209-type-214-nagapasa.html)
รวมถึงการทดลองเรือในทะเลระยะแรกของเรือดำน้ำชั้น Reis ลำที่สอง เรือดำน้ำ S-331 TCG Hizirreis ขณะที่เรือดำน้ำชั้น Reis ลำที่สาม เรือดำน้ำ S-332 TCG Muratreis ได้อยู่ที่อู่เรือเพื่อดำเนินการติดตั้งสิ่งอุปกรณ์

ตุรกีได้เลือกแบบเรือดำน้ำชั้น Type 214 AIP ของบริษัท thyssenkrupp Marine Systems(tkMS) เยอรมนีผู้สร้างเรือ(ขณะนั้นเป็นบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) เยอรมนี) ในปี 2008
ว่าตรงความต้องการของตนสำหรับเรือดำน้ำใหม่ในการทดแทนเรือดำน้ำชั้น Type 209 ที่มีอายุการใช้งานมานานของตน รวมถึงเรือดำน้ำชั้น Ay(Type 209/1200) จำนวน 6ลำ ซึ่งส่วนหนึ่งเริ่มทยอยปลดประจำการแล้ว

สัญญามูลค่าวงเงินราว 2.5 billion Euros($3.96 billion ตามค่าเงินในเวลานั้น) ที่ได้รับการลงนามในปี 2009 ครอบคลุมการส่งมอบชุดของสิ่งวัสดุสำหรับเรือดำน้ำ 6ลำ ซึ่งกำลังได้รับการสร้างโดยอู่เรือ Gölcük Naval Shipyard ตุรกีโดยใช้เนื้อหาภายในประเทศระดับสูง
เรือดำน้ำ TCG Pirireis เริ่มการสร้างในปี 2015 และถูกนำลงน้ำในเดือนมีนาคม 2021 เรือดำน้ำชั้น Reis ลำแรกเดิมมีแผนที่จะถูกส่งมอบในปี 2022 แต่กำหนดเวลาได้ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ระบาด Covid-19

ภายใต้แผนปัจจุบันเรือลำที่สอง เรือดำน้ำ S-331 TCG Hizirreis จะถูกขึ้นระวางประจำการในปี 2025 ตามมาด้วยเรือลำที่สาม เรือดำน้ำ S-332 TCG Muratreis ในปี 2026 เรือดำน้ำชั้น Reis ที่เหลืออยู่ในหลากหลายขั้นระยะของการสร้าง
เรือลำที่สี่ เรือดำน้ำ S-333 TCG Aydinreis ถูกวางกระดูกงูเรือในปี 2019 ตามมาด้วยเรือลำที่ห้า เรือดำน้ำ S-334 TCG Seydialireis ถูกวางกระดูกงูเรือในปี 2020 และเรือลำที่หก เรือดำน้ำ S-335 TCG Selmanreis ถูกวางกระดูกงูเรือในปี 2020 เรือทั้ง 6ลำวางแผนที่จะเข้าประจำการครบในปี 2029

เรือดำน้ำชั้น Reis มีความยาวเรือยาวมากกว่าเรือดำน้ำ Type 214 ที่ประจำการในกองทัพเรือชาติอื่นที่ 3.35m การเพิ่มความยาวเรือและน้ำหนักเรือมีเพื่อการแก้ไขปัญหาความเสถียรภาพของตัวเรือ โดยเฉพาะที่ความลึกระดับกล้องตาเรือที่ได้รับรายงานจากกองทัพเรือชาติอื่นๆ
เรือดำน้ำชั้น Reis มีความยาวเรือที่ 68.35m, กว้างที่ 6.3m มีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำที่ 1,850tonnes และขณะดำใต้น้ำที่ 2,050tonnes มีกำลังพลประจำเรือเต็มที่ 40นาย น้อยลงกว่า 10นายจากเรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพเรือตุรกีปัจจุบัน บ่งชี้ถึงการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานในระดับสูงครับ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยและจีนเสร็จสิ้นการฝึกผสม Falcon Strike 2024








The Royal Thai Air Force (RTAF) and People's Liberation Army Air Force (PLAAF) concluded the exercise FALCON STRIKE 2024 at Wing 23 RTAF base Udon Thani, Thailand on 18-29 August 2024. (Royal Thai Air Force/Weibo)
Royal Thai Air Force involved its Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7, Alpha Jet TH of 231st Squadron, Wing 23, SAAB 340B ERIEYE airborne early warning (AEW) of 702nd Squadron, Wing 7 and Airbus Helicopter H225M (EC725) of 203rd Squadron, Wing 2 and SAAB RBS 70 Ground-based air defence (GBAD)
with PLAAF's J-10C/AS of 130th Air Brigade, J-11B/BS, JH-7A/AII, KJ-500 AEW, Y-9LG electronic intelligence (ELINT) aircraft, Y-20A transport aircraft, Mi-171Ah helicopter and HY-6B GBAB. 





พิธีปิดการฝึกผสม FALCON STRIKE 2024
วันนี้ (29 สิงหาคม 2567) พลอากาศโท สรรพชัย ศิลานิล รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พลอากาศโท สวี่ ลี่ เชียน (Lt.Gen. Xu Liqian) ผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคใต้ ฝ่ายการเมืองและคณะฯ เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกผสม FALCON STRIKE 2024 ณ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี
โดยพิธีดังกล่าวมี พลอากาศตรี แมนสรวง สุวรรณ ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม FALCON STRIKE 2024 กองทัพอากาศ และ พลอากาศตรี หลู่ หง โจว (Maj.Gen. Lu Hong Zhou) ผู้อำนวยการ กองอำนวยการฝึกผสม FALCON STRIKE 2024 กองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ได้ให้การต้อนรับ
การฝึกผสม FALCON STRIKE 2024 ได้จัดพิธีเปิดการฝึกผสมฯ ไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ณ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบินระหว่าง กองทัพอากาศ และ กองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน 
ตลอดจนเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับประชนชนในบริเวณ พื้นที่ใกล้เคียงการฝึกผสมฯ เป็นรากฐานสำคัญของความร่วมมือในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค จะนำประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ไปพัฒนาต่อยอดและขยายผลความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศทั้งสองประเทศ ให้ครอบคลุมในทุกมิติต่อไป 
สำหรับการฝึกผสม FALCON STRIKE ได้ดำเนินการฝึกมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับการฝึกในครั้งนี้ กองทัพอากาศได้นำอากาศยานเข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย Gripen 39 C/D , Alpha Jet , Saab 340 AEW และ EC-725 เข้าร่วมการฝึก 
ในส่วนกองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน นำอากาศยานแบบ J-10C/S, JH-7, J-11B/S, Mi-171SH, KJ-500 และ YLG-9
ในส่วนกำลังภาคพื้น กองทัพอากาศได้จัดชุด ค้นหาและช่วยชีวิต ชุดต่อสู้อากาศยาน พร้อมระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน RBS-70 และชุดแพทย์เวชศาสตร์การบิน และกองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ได้จัดชุดปฏิบัติการพิเศษชุดต่อสู้อากาศยาน พร้อมระบบต่อสู้อากาศยาน HY-6B และชุดแพทย์เวชศาสตร์การบิน เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางอากาศ FALCON STRIKE 2024 ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) โดยมีมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และพิธีปิดเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี
การฝึกผสม FALCON STRIKE 2024 เป็นการฝึกครั้งที่เจ็ดแล้ว นับตั้งแต่การฝึกครั้งแรก FALCON STRIKE 2015, ครั้งที่สอง FALCON STRIKE 2017, ครั้งที่สาม FALCON STRIKE 2018, ครั้งที่สี่ FALCON STRIKE 2019, ครั้งที่ห้า FALCON STRIKE 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/blog-post.html) และครั้งที่หก FALCON STRIKE 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/falcon-strike-2023.html)

กำลังในส่วนของกองทัพอากาศไทยที่ร่วมการฝึกรวมถึงเครื่อบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี, เครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน ๒๓, เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW(Airborne Early Warning) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗, 
เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopter H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม และเป็นครั้งแรกที่นำชุดค้นหาและช่วยชีวิต PJ Commando กรมปฏิบัติการพิเศษ(Special Operations Regiment) และระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน(GBAD: Ground-Based Air Defence) แบบ RBS 70 กรมทหารต่อสู้อากาศยาน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน(SFC: Security Force Command) ร่วมฝึก

กำลังของฝ่ายจีนรวมถึง เครื่องบินขับไล่ Chengdu J-10C และรุ่นสองที่นั่ง J-10AS จากกองพลน้อยบินที่๑๓๐(130th Air Brigade) จำนวน ๖เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Shenyang J-11B และรุ่นสองที่นั่ง J-11BS จำนวน ๒เครื่อง, เครื่องบินไล่ทิ้งระเบิด Xian JH-7AII จำนวน ๒เครื่อง ซึ่งติดลูกฝึกของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-8 และ PL-10 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง PL-12 
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Shaanxi KJ-500 จำนวน ๑เครื่องหมายเลข 30178, เครื่องบินข่าวกรอง(ELINT: Electronic Intelligence) แบบ Y-9LG จำนวน ๑เครื่องหมายเลข 30211 callsign "BATMAN", เครื่องบินลำเลียง Xian Y-20A และเฮลิคอปเตอร์ Mil Mi-171Sh เป็นครั้งแรกเช่นกันที่จีนส่งชุดปฏิบัติการพิเศษ, ชุดต่อสู้อากาศยาน และระบบต่อสู้อากาศยานภาคพื้นดิน HY-6B เข้าร่วมการฝึกในไทยด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยประกาศเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F สวีเดน

Thai air force announces Gripen selection





The Royal Thai Air Force seeks an initial acquisition of four JAS 39 Gripen E/Fs. (Saab/Marcus Wandt)


The Impression images of Royal Thai Air Force future Saab Gripen E serial number 10201 of 102nd Squadron, Wing 1 Korat RTAF base. (Defense Info TH/Noppasin P.)



Most Suitable To Protect Our National Interest

กองทัพอากาศได้คัดเลือก JAS 39 Gripen E/F ให้เข้าบรรจุในฝูงบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่

ตามที่กองทัพอากาศได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ 2568-2572 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก หรือ F-16 A/B ณ ฝูงบิน 102 กองบิน 1 ซึ่งบรรจุประจำการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นเวลามากกว่า 36 ปีแล้วนั้น โครงการจัดหาฯ ดังกล่าวเป็นโครงการที่กองทัพอากาศให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 
โดยได้กำหนดไว้ในสมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ.2567 (RTAF Whitepaper 2024) เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณสูงจากภาษีของพี่น้องประชาชน ดังนั้นคณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบและกำหนดวิธีการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนของกองทัพอากาศ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารอากาศ 
จึงตระหนักว่าการพิจารณาดำเนินโครงการดังกล่าว จะต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีในการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศไปอีกอย่างน้อย 30 ปี

ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนต้องเป็นเครื่องบินที่มีขีดความสามารถดีกว่าเครื่องบินขับไล่โจมตี ที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบัน มีความเหมาะสมในด้านคุณสมบัติร่วมและความต่อเนื่อง (Commonality & Continuity) สามารถพัฒนาต่อยอดตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศและกองทัพไทยได้ในอนาคต 
รวมถึงต้องมีการดำเนินการตามนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์ (Offset Policy) เพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ

จากหลักการสำคัญและข้อพิจารณาข้างต้น คณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบฯ ได้กำหนดขั้นตอนและเกณฑ์การพิจารณาที่ละเอียดรอบคอบโดยใช้ระยะเวลากว่า 10 เดือนในการดำเนินการ จึงสามารถสรุปได้ว่าเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ JAS 39  Gripen E/F มีขีดความสามารถที่ตอบสนองความต้องการทางยุทธการตามหลักนิยมและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ 
ทั้งยังมีอิสระในการใช้งาน และสามารถพัฒนาต่อยอดนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการปฎิบัติการร่วมหลายมิติ (Multi-Domain Operations) ระหว่างกองทัพอากาศร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ภายใต้แนวความคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงสอดคล้องกับกรอบงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรร 
ตลอดจนมีข้อเสนอตามนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์ทั้งทางตรงในการสร้างโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เพื่อยกระดับมาตรฐานเข้าสู่ในระดับสากลและการชดเชยทางอ้อมในการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรในต่างประเทศทั้งภายในกองทัพอากาศและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะความชำนาญขั้นสูง 
รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเกษตรกรรม ตลอดจนการสร้างศูนย์นวัตกรรมที่นำไปสู่การเสริมสร้างผลผลิตในการสร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆในระยะยาวต่อไป

กองทัพอากาศจึงขอให้ความเชื่อมั่นกับพี่น้องประชาชนว่าจะดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี JAS 39 Gripen E/F ให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณที่ได้รับจากภาษีของประชาชน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ จะนำมาซึ่งการได้ยุทโธปกรณ์ที่มีสมรรถนะสูงเพื่อใช้ในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศ 
สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามตามสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามสถานภาพด้านงบประมาณ และแนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป

กองประชาสัมพันธ์ 
สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ 
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 
27 สิงหาคม 2567

กองทัพอากาศได้คัดเลือก JAS 39 Gripen E/F ให้เข้าบรรจุในฝูงบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่
หน้าตา..จะเป็นอย่างไรครับ..เมื่อมาเป็นห่าง STARS ... แห่งถ้ำพยัคฆ์ ลองมาดูกันครับผม ...

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ประกาศว่าตนได้เลือกการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab JAS 39 Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
เหนือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html) โฆษกกองทัพอากาศไทย (พลอากาศตรี บุญเลิศ อันดารา) กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ว่า 

กองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน ๔เครื่อง ขณะที่กองทัพอากาศไทยได้ประกาศการตัดสินใจของตนในแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/saab-gripen-e.html
คณะกรรมการพิจาณาเลือกแบบของกองทัพอากาศไทยได้ประเมินว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F มีความเหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บนพื้นฐานจากข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัท Saab สวีเดน และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล กล่าว

กองทัพอากาศไทยกล่าวว่า หลักเกณฑ์สำคัญในการสร้างการตัดสินใจรวมถึงความจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โดยมีขีดความสามารถต่างๆที่เหนือกว่าเครื่องบินรบที่ปัจจุบันมีประจำการในกองทัพอากาศไทยขณะที่ยังมี "คุณสมบัติร่วมและความต่อเนื่อง(commonality and continuity)"
การเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ของกองทัพอากาศไทยยังมีพื้นฐานบนการพิจารณาในด้านต่างๆอื่นๆ เช่น ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมทางอุตสาหกรรมกับ Saab สวีเดน กองทัพอากาศไทยเสริมในแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/f-16-block-7072-gripen-ef.html)

"บนพื้นฐานการพิจาณาต่างๆในข้างต้น คณะกรรมการพิจาณาเลือกแบบได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณา ซึ่งได้ใช้ระยะเวลามากกว่า๑๐เดือนในการเสร็จสิ้น จึงได้ข้อสรุปว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/E มีขีดความสามารถที่จะตรงตามความต้องการทางยุทธวิธีที่วางไว้หลักนิยมและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ"
กองทัพอากาศไทยกล่าวโดยเสริมว่า Gripen E/F จะยังเป็นที่คาดว่าจะดำเนินการปฏิบัติการเป็นเวลา "อย่างน้อย ๓๐ปี" เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช โดยฝูงบิน๑๐๓ ได้นำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU เครื่องแรกเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) เป็นเวลา ๓๖ปีแล้ว

"Saab ยืนยันว่ากองทัพอากาศไทยได้ประกาศความปรารถนาของตนที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F นี่เป็นแง่บวกอย่างมากที่ชัดเจนสำหรับ Saab และสำหรับสวีเดน แต่ ณ จุดนี้มันยังไม่มีสัญญาหรือคำสั่งซื้อใดๆเกิดขึ้น
Saab กำลังมองไปข้างหน้าที่จะเดินหน้าการหารือของเรากับกองทัพอากาศไทยและตัวแทนผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ในอนาคตสำหรับประเทศไทย" Saab สวีเดนกล่าวในการร้องขอความเห็นจาก Janes และสื่ออื่นๆ

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพอากาศไทยปัจจุบันมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab JAS 39 Gripen C/D จำนวน ๑๑ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่จัดหาตามโครงการ "PEACE SUVARNABHUMI" ในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) 
และได้รับมอบชุดแรก ๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) และชุดที่สองอีก ๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๖-2013) รวมจำนวน ๑๒เครื่อง และต่อมาได้รับการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)

ตามสมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ที่เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(Fiscal Year FY2025-2034) 
มีเนื้อหาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง รวมถึงระบบอาวุธต่างๆ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน และการฝึกที่เกี่ยวข้อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) โดยจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ระยะ๑ ชุดแรกจำนวน ๔เครื่องคาดว่าจะมีวงเงินที่ราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($539 million)

ไทยจะเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองต่อจากบราซิลที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว F-39E Gripen E จำนวน ๒๘เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-39F Gripen F จำนวน ๘เครื่อง พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการและสิทธิบัตรการผลิตในบราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-16-24.html)
เมื่อรวมกับที่สวีเดนได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E จำนวน ๖๐เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/fmv-gripen-e.html) จะทำให้สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จากปัจจุบันที่มีคำสั่งจัดหา ๙๖เครื่อง ถ้ารวมกับของไทยจะเพิ่มเป็นอย่างน้อย ๑๐๐เครื่อง หรือสูงสุดถึง ๑๐๘-๑๑๐เครื่อง

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ฮังการียังกำลังหารือกับสวีเดนถึงความเป็นไปได้ของการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E เพื่อเสริมต่อเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่ตนมีประจำการอยู่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/gripen-e.html)
กองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้งานรายเดียวในโลกขณะนี้ที่มีประจำการด้วยทั้งเครื่องบินขับไล่ F-16 สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html) อย่างไรก็ตามตามที่ขณะนี้ยังไม่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทยชุดใหม่ กระบวนการที่จะนำไปสู่การลงนามสัญญาจัดหาอาจจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ครับ

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567

เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรก RSS Invincible เดินทางมาถึงสิงคโปร์แล้ว

Singapore's first-of-class Type 218SG submarine arrives home





A file image of Impeccable sailing into Changi Naval Base when it arrived in Singapore in 2023. Its first-of-class sister vessel, Invincible , arrived in Singapore on 27 August 2024. (Singapore Ministry of Defence)

เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) แบบ Type 218SG ลำแรกของชั้นที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ได้เดินทางมาถึงสิงคโปร์แล้ว
ข้อมูลจากระบบแสดงตนอัตโนมัติ(AIS: Automatic Identification System) ที่เข้าถึงได้ในสาธารณะบ่งชี้ว่าเรือขนส่งหนัก MV Rolldock Star ได้เดินเรือมาถึงบริเวณใกล้เคียงกับฐานทัพเรือ Changi ที่เวลาราว 1140h ตามเวลาท้องถิ่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2024

เป็นที่ทราบว่าเรือขนส่งหนัก MV Rolldock Star ได้ทำการบรรทุกเรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรก เรือดำน้ำ RSS Invincible เมื่อจะถูกขึ้นระวางประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/tkms-invincible-rss-invincible.html)
Janes ได้รายงานเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2024 ว่า เรือดำน้ำ RSS Invincible ได้เสร็จสิ้นการฝึกช่วงเวลาจำกัดสำหรับนักดำเรือดำน้ำกองทัพเรือสิงคโปร์ในเยอรมนีและได้รับการเตรียมการที่จะถูกขนส่งมายังสิงคโปร์

เรือดำน้ำ RSS Invincible เป็นเรือดำน้ำลำแรกจากทั้งหมด 4ลำของเรือดำน้ำชั้น Invincible Type 218SG ที่ได้รับการสั่งจัดหาภายใต้สองสัญญาที่แยกต่างหากกันที่ได้รับการลงนามระหว่างบริษัท thyssenkrupp Marine Systems(tkMS) เยอรมนีผู้สร้างเรือ และกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ในปี 2013 และปี 2017
เรือดำน้ำ RSS Invincible ถูกปล่อยลงน้ำโดยอู่เรือ tkMS ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tkms-type-218sg-rss-invincible.html) แต่ยังคงอยู่ในเยอรมนีตั้งแต่นั้นมาสำหรับวัตถุประสงค์ในการฝึกนักดำเรือดำน้ำกองทัพเรือสิงคโปร์

เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สอง เรือดำน้ำ RSS Impeccable และเรือลำที่สาม เรือดำน้ำ RSS Illustrious ถูกปล่อยลงน้ำพร้อมกันในเดือนธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/invincible-rss-impeccable-rss.html)
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย เรือดำน้ำ RSS Inimitable ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนเมษายน 2024 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/invincible-rss-inimitable.html)

เรือดำน้ำ RSS Impeccable เป็นเรือลำแรกที่ถูกส่งมอบให้กองทัพเรือสิงคโปร์ เรือได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือ Changi ของกองทัพเรือสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2023 และได้เริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลในน่านน้ำของสิงคโปร์ในระหว่างเดือนเดียวกัน
สำหรับการเดินทางมาถึงสิงคโปร์ เรือดำน้ำ RSS Impeccable ได้ถูกขนส่งมาบนเรือขนส่งหนักอีกลำคือเรือขนส่งหนัก MV Rolldock Storm เรือดำน้ำชั้น Invincible ที่เหลืออีกสองลำคาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลที่เยอรมนีและขนส่งมาถึงสิงค์โปร์ในภายหลัง

เรือดำน้ำชั้น Invincible มีความยาวเรือรวมที่ 70m และมีเส้นผ่าศูนย์กลางตัวเรือถังความดันที่ 6.3m มีระวางขับน้ำที่ 2,200tonnes เมื่อดำใต้น้ำ และมีระวางขับน้ำที่ 2,000tonnes เมื่ออยู่บนผิวน้ำ ติดตั้งด้วยระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) 
สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 10knots ขณะอยู่บนผิวน้ำ และที่ 15knots ขณะดำใต้น้ำ มีคุณลักษณะหางเสือรูปทรงตัว X เพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ในน่านน้ำชายฝั่งที่ตื้น และแผงควบคุมระบบของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบนเรือที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับสรีระของกำลังพลกองทัพเรือสิงคโปร์ครับ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567

เรือเร็วโจมตี KD Pendekar กองทัพเรือมาเลเซียจม

Malaysian attack craft sinks off southern Johor

KD Pendekar , seen here in a file photo. (Royal Thai Navy)




The vessel sunk off Johor on 25 August 2024. (Royal Malaysian Navy)



เรือเร็วโจมตีชั้น Handalan(Spica-M) เรือเร็วโจมตี KD Pendekar (3513) กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) ได้จมลงหลังเผชิญสถานการณ์ตัวเรือมีรอยรั่ว 
กองทัพเรือมาเลเซียเปิดเผยในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/kd-jebat-kd-gagah-samudera-kd-pendekar.html)

เรือเร็วโจมตี KD Pendekar ได้จมลงที่ตำแหน่งราว 2nmi ห่างจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Tanjung Penyusop ในตอนใต้ของรัฐ Johor สหพันธรัฐมาเลเซีย
เรือเร็วโจมตี KD Pendekar เผชิญเหตุตัวเรือแตกและต่อเนื่องด้วยน้ำเข้าท่วมในส่วนสำคัญของตัวเรือที่เวลาประมาณ 1200h ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่เรือกำลังดำเนินการปฏิบัติงานตามหน้าที่ กองทัพเรือมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์ของตน

"เป็นที่เชื่อว่าการแตกของตัวเรือเกิดขึ้นหลังจากเรือประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับวัตถุใต้น้ำ รอยรั่วได้ถูกพบครั้งแรกในห้องเครื่องยนตร์และน้ำได้เข้าท่วมอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้
ลูกเรือทั้งหมดได้ประสบความสำเร็จในการได้รับความช่วยเหลือหลังจากความพยายามที่จะรักษาสเถียรภาพของเรือไม่ประสบความสำเร็จ" กองทัพเรือมาเลเซียกล่าว

"การมุ่งเน้นของเราในขณะนี้คือการที่จะดำเนินการปฏิบัติการเก็บกู้เรือกลับคืนมาใหม่ กองทัพเรือมาเลเซียจะมีการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการพิเศษขึ้นในเร็วๆนี้เพื่อสอบสวนเหตุการณ์และระบุสาเหตุ" กองทัพเรือมาเลเซียเสริม
เรือเร็วโจมตี KD Pendekar เป็นหนึ่งในเรือเร็วโจมตีชั้น Handalan จำนวน 4ลำที่เข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซีย KD Pendekar ได้ถูกขึ้นระวางประจำการในเดือนตุลาคม 1979

เรือเร็วโจมตีชั้น Handalan มีระวางขับน้ำที่ 240tonne ความยาวเรือรวม 44mm ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V 538 TB91 จำนวนสามเครื่อง สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 35knots และมีระยะปฏิบัติการปกติที่ประมาณ 1,850nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14knots
อาวุธประจำเรือของเรือเร็วโจมตีชั้น Handalan รวมถึงปืนเรือ Bofors 57mm/70 Mk1 ที่ตำแหน่งปืนหลักที่หัวเรือ และปืนเรือ Bofors 40mm/70 ในตำแหน่งปืนรองที่ท้ายเรือ

เดิมเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Handalan ติดตั้งด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ในแท่นยิง 4นัด แต่ต่อมาได้ถูกถอดออกและปรับเปลี่ยนเป็นเรือเร็วโจมตีปืน
ถูกสร้างโดยอู่เรือ Kalskrona Varvet ในสวีเดน โดยเรือลำแรกและลำที่สอง KD Handalan (3511) และ KD Handalan (3512) ถูกนำเข้าประจำการในปี 1978 และลำที่สามและลำที่สี่ KD Pendekar และ KD Gempita (3514) ถูกนำเข้าประจำการในปี 1979 ครับ

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กองทัพบกไทยมองจะจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ระยะที่๔ เพิ่ม
























Royal Thai Army (RTA)'s Norinco VN1 8x8 wheeled armoured vehicles included Armoured Personnel Carrier (APC) and SM4A Self-Propelled Mortar variants of 7th Cavalry Battalion and 15th Cavalry Battalion, 2nd Cavalry Regiment, 1st Cavalry Division conduted live firing exercise at RTA's 3rd Army Area tactical range in Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai Province, Thailand on 12, 16 to 17 August 2024. (Royal Thai Army)
Royal Thai Army planned to procure additional VN1 8x8 for 987,000,000 Baht ($29,100,471) in Fiscal Year 2025 from Chinese firm Norinco. 

รบแล้ว ต้องชนะ กลยุทธ์การเข้าตีด้วยกระสุนจริง
เมื่อ 12 สิงหาคม 2567 เวลา 0700 กองพลทหารม้าที่ 1 โดย กองพันทหารม้าที่ 7 กรมทหารม้าที่ 2
ดำเนินการฝึกและตรวจสอบการฝึก เป็นหน่วยหมู่ ตอน หมวด (นอกที่ตั้ง) ประจำปี 2567 โดยดำเนินการฝึกการดำเนินกลยุทธ์การเข้าตีด้วยกระสุนจริง และฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริง จากอาวุธประจำหน่วย จนถึงอาวุธปนะจำตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ ณ พื้นที่ฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่ 3 อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย 

“การฝึกและตรวจสอบเป็นหน่วย หมู่ ตอน หมวด  (นอกที่ตั้ง) ประจำปี 2567”
เมื่อ 16-17 สิงหาคม  2567 กองพลทหารม้าที่ 1 โดย กองพันทหารม้าที่ 15 กรมทหารม้าที่ 2 ดำเนินการฝึกและตรวจสอบการฝึก เป็นหน่วยหมู่ ตอน หมวด (นอกที่ตั้ง) ประจำปี 2567 ณ พื้นที่ฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่ 3 อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.หมู่.ค.หนัก (ขนาด 120 มม.) ดำเนินการฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริง
2.มว.ม.(ยานเกราะ) ดำเนินการฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริง อาวุธประจำกายและอาวุธประจำหน่วย
3.มว.ม.(ยานเกราะ) ดำเนินการฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริงในเวลากลางคืน
4.หมู่.ค.หนัก (ขนาด 120 มม.) ดำเนินการฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริง
5.มว.ม.(ยานเกราะ)  ดำเนินการฝึก การดำเนินกลยุทธด้วยกระสุนจริง
6.ผบ.ม.2 พัน.15 ตรวจเยี่ยมการฝึก พร้อมให้โอวาท และมอบสิ่งของบำรุงขวัญ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้เข้ารับการฝึก

ปัจจุบันกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้จัดหายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ในรุ่นรถเกราะลำเลียงพล VN1 APC, รถเกราะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดหนักขนาด 120mm SM4A, รถเกราะกู้ซ่อม VS27 Recovery Vehicle, รถเกราะที่บังคับการ VE36, รถเกราะพยาบาล VN1 Ambulance จาก Norinco รัฐวิสากิจผู้ผลิตอาวุธของจีน ระยะที่๑ ๓๘คัน, ระยะที่๒ ๓๔คัน และระยะที่๓ ๓๙คัน รวมทุกรุ่น ๑๑๑คัน
เข้าประจำการในกองพันทหารม้าที่๑๐(10th Cavalry Battalion), กองพันทหารม้าที่๗(7th Cavalry Battalion) และกองพันทหารม้าที่๑๕(15th Cavalry Battalion) กรมทหารม้าที่๒(2nd Cavalry Regiment) กองพลทหารม้าที่๑(1st Cavalry Division) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนอัตราจัดจากเดิมที่เป็นหน่วนทหารม้าลาดตระเวน(reconnaissance cavalry) มาเป็นทหารม้าบรรทุกยานเกราะ(armoured cavalry)

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ เสนาธิการทหารบก พร้อมคณะนายทหารกองทัพไทยได้เข้าชี้แจงคณะอนุกรรมมาธิการครุภัณฑ์ ICT และทุนหมุนเวียน ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ซึ่งนอกจากการตัดงบประมาณกระทรวงกลาโหมในส่วนของกองทัพบกไทยลงราว ๔๒๗,๐๐๐,๐๐๐บาท($12,589,565) แล้ว(ส่วนใหญ่เป็น งป.ทางธุรการ)
กองทัพบกไทยยังได้ร้องขอการจัดสรรงบประมาณวงเงินราว ๙๘๗,๐๐๐,๐๐๐บาท($29,100,471) สำหรับการจัดหายานเกราะล้อยางแบบ 8x8 ระยะที่๔ จาก Norinco สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นการจัดหายานเกราะล้อยางตระกูล VN1 8x8 เพิ่มเติมจากที่ได้สั่งจัดหาและรับมอบในการจัดหาสามระยะก่อนหน้าแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-norinco-vt4.html)

หน่วยขึ้นตรงของกรมทหารม้าที่๒ ม.๒ พล.ม.๑ คือ กองพันทหารม้าที่๗ ม.๒ พัน.๗ และกองพันทหารม้าที่๑๕ ม.๒ พัน.๑๕ เดิมเป็นหน่วยทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง) ที่ใช้รถเกราะล้อยาง V-150 4x4 ขณะที่กองพันทหารม้าที่๗ ม.๒ พัน.๑๐ เคยใช้งานยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 ระยะหนึ่งก่อนจะโอนย้ายรถไป กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ และกรมทหาราบที่๒๑ รักษาพระองค์, กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ
ทำให้แม้จะไม่มีรายละเอียดว่าการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระยะที่๔ จะมีจำนวนกี่คันและเป็นรุ่นใดบ้าง แต่จากที่กรมทหารม้าที่๒ ม.๒ ได้รับมอบรถรุ่นต่างๆรวมถึงรุ่นติด ค.120mm เกือบครบแล้วยกเว้นรุ่นรถเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ ST-1 8x8 ที่ควรจะทดแทนรถเกราะล้อยาง V-150 รุ่นติดปืนใหญ่รถถังขนาด 90mm ที่พบว่ายังคงใช้ในหน่วยอยู่ จึงเข้าใจว่าการจัดหาระยะที่๔ อาจจะมีรุ่น ST-1 ด้วยครับ