วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เกาหลีใต้เลือกระเบิดนำวิถีแบบต่างๆสำหรับเครื่องบินขับไล่ KF-X

South Korea selects smart bombs, guidance kits for KF-X fighter


A computer-generated image showing two KF-X fighter aircraft equipped with Meteor BVRAAMs, forward-looking infrared pods, and Joint Direct Attack Munitions.


สาธารณรัฐเกาหลีได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการคัดเลือกสำหรับอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงและชุดนำวิถีที่มีแผนจะบูรณาการกับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ KF-X(Korean Fighter eXperimental) ในอนาคตของตน
เจ้าหน้าที่กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2020 ว่าระเบิดนำวิถี Laser แบบ Raytheon GBU-12 Paveway II ขนาด 500lbs, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-31 ขนาด 2,000lbs/GBU-38 ขนาด 500lbs JDAM(Joint Direct Attack Munition), 

ระเบิดนำวิถีดาวเทียมและ Laser แบบ GBU-54 ขนาด 500lbs และ GBU-56 ขนาด 2,000lbs Laser JDAM และ ระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39/B SDB1(Small Diameter Bomb1) ขนาด 250lbs
เช่นเดียวกับระเบิดนำวิถีดาวเทียมอมภัณฑ์ย่อย Textron CBU-105 WCMD(Wind Corrected Munitions Dispenser) ทั้งหมดได้รับเลือกสำหรับการบูรณาการเข้ากับเครื่องบินขับไล่ KF-X

ซึ่งเครื่องบินขับไล่ KF-X กำลังได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี โดยมี PT Dirgantara Indonesia รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนโครงการของ KAI เกาหลีใต้(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/kai-kf-x.html)
มีการกล่าวว่าขั้นตอนการบูรณาการสำหรับระเบิดนำวิถีและชุดนำวิถีซึ่งทั้งหมดมีประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) แล้ว จะเริ่มต้นภายหลังในปี 2020 นี้ โดยการบูรณาการเต็มรูปแบบคาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 6-7ปีข้างหน้า

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากบริษัท MBDA Missile Systems ยุโรปประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ว่า(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/mbda-meteor-kf-x.html) ตนได้รับการประกาศสัญญา
สำหรับการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile) แบบ Meteor ของตนกับเครื่องบินขับไล่ KF-X

นอกจากนี้ยังรวมถึงแผนการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้(SRAAM: Short-Range Air-to-Air Missile) แบบ IRS-T ของบริษัท Diehl Defence เยอรมนี โดยสัญญาคาดว่าจะถูกลงนามในอนาคตอันใกล้
เครื่องบินขับไล่ KF-X จะมีคุณสมบัติระบบติดตามภูมิประเทศ/หลีกเลี่ยงภูมิประเทศ(TF/TA: Terrain Following/Terrain Avoidance) จากบริษัท Elbit Systems อิสราเอลด้วย

Elbit Systems ที่มีที่ตั้งใน Haifa อิสราเอลประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2020 ว่าตนได้รับการประกาศสัญญาโดยบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีที่กำลังพัฒนา AESA(Active Electronically Scanned Array) radar สำหรับเครื่องบินขับไล่
เพื่อติดตั้งระบบ TF/TA เข้ากับเครื่องบินขับไล่ KF-X ภายใต้สัญญาวงเงิน $43 million ที่มีกำหนดจะบรรลุผลการปฏิบัติภายในระยะเวลา 6ปีครับ

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศอินเดียประจำการเครื่องบินขับไล่ Tejas LCA ฝูงที่สอง

Indian Air Force commissions second Tejas LCA fighter squadron

The IAF inducted the first of a planned 20 FOC-configured Tejas LCA Mk 1 fighters into the No 18 ‘Flying Bullets’ Squadron during a ceremony held on 27 May at Sulur Air Force Station.



กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ประจำการเครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 LCA(Light Combat Aircraft) ในฝูงบินขับไล่ฝูงที่สองของตน
ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2020 ณ สถานีกองทัพอากาศ Sulur AFS(Air Force Station) ในรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดีย

เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอินเดียกล่าวกับ Jane's ว่าตามแผนเครื่องบินขับไล่ Tejas LCA จำนวน 20เครื่องแรกในรูปแบบผ่านความพร้อมปฏิบัติการขั้นสุดท้าย(FOC: Final Operational Clearance) ได้ถูกนำเข้าประจำการฝูงบินที่18(No 18) ‘Flying Bullets’
ระหว่างพิธีเจ้าหน้าที่อินเดียได้เสริมอีกว่า เครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 FOC เพิ่มเติมอีก 4เครื่อง ปัจจุบัน "อยู่ในขั้นก้าวหน้าของการผลิตและทดสอบ" และจะเข้าร่วมฝูงบิน "ในอนาคตอันใกล้"

เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้าในรูปแบบผ่านความพร้อมปฏิบัติการจำกัด(LOC: Limited Operation Clearance) เครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 มีขีดความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
และสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile) ได้ ซึ่งทั้งสองขีดความสามารถประสบความสำเร็จการทดสอบครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2020 หลังจากล่าช้ามาราว 8ปี

มากกว่านั้นเจ้าหน้าที่อาวุโสกองทัพอากาศอินเดียวกล่าว่าเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดี่ยว Tejas Mk 1 รูปแบบ FOC ยังง่ายต่อการบำรุงรักษาในการถอดสับเปลี่ยนสิ่งอุปกรณ์(LRU: Line-Replaceable Unit) ของเครื่องมากขึ้น
แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมอินเดียกล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Tejas Mk 1 รูปแบบ LOC ในที่สุดจะถูกส่งมอบให้กับกองทัพอากาศอินเดียโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินเดีย

เครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 LOC เพิ่มเติมอีก 15เครื่องเหล่านี้จะเข้าร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Tejas Trainer รุ่นฝึกสองที่นั่งจำนวน 4เครื่องเมื่อการออกแบบรูปแบบของเครื่องเสร็จสิ้นแล้ว
คำสั่งจัดหาในปี 2010 วงเงิน 59.89 billion Indian Rupee($792 million) เครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 LOC จำนวน 20เครื่องจะมาเสริมเครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 รูปแบบผ่านความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Clearance)

ที่เครื่องบินขับไล่ Tejas Mk 1 IOC จำนวน 16เครื่องได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดียตั้งแต่ปี 2016 ณ ฝูงบินที่45(No 45) ‘Flying Daggers’ ที่ตั้งใน Sulur โดยฝูงบิน45 ยังคงรอการรับมอบเครื่องบินขับไล่ Tejas Trainer รุ่นฝึกสองที่นั่ง
นอกจากนี้ HAL อินเดียยังได้มีการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Tejas Mark 1 Navy สำหรับกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/tejas-mk1-lca-navy-ins-vikramaditya.html)

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Koalitsiya-SV-KSh รัสเซียใหม่เข้าสู่การทดสอบ

Russia’s latest Koalitsiya wheeled howitzer enters trials






The version based on the Kamaz wheeled chassis has certain advantages, according to the developer


สถาบันวิจัยกลาง Burevestnik(เป็นส่วนหนึ่งของ Uralvagonzavod ผู้ผลิตด้านความมั่นคงในเครือ Rostec กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่งคงรัสเซีย) ได้แถลงการทดสอบของระบบปืนใหญ่อัตตาจรตระกูล Koalitsiya-SV แบบใหม่ล่าสุด
คือระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง 2S35-1 Koalitsiya-SV-KSh ที่ติดตั้งบนรถแคร่ฐานรถยนต์บรรทุก Kamaz-6550 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Uralvagonzavod รัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2020

สถาบันวิจัยกลาง Burevestnik ได้ตัดสินใจที่จะขยายรูปแบบของการดัดแปลงระบบปืนใหญ่ ด้วยคุณภาพในเชิงบวกทั้งหมดของปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน
ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Koalitsiya-SV-KSh ที่เป็นการนำระบบป้อมปืนของปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน 2S35 Koalitsiya-SV ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก Kamaz มีข้อได้เปรียบบางประการ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Uralvagonzavod อ้างคำพูดของ Vasily Nabatov หัวหน้านักออกแบบโครงการและหัวหน้าแผนกของสถาบัน Burevestnik ว่า
"ก่อนอื่นยานยนต์ล้อยางสามารถถูกใช้บนถนนทั่วไปได้ พวกมันมีคุณสมบัติความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่สูงและมีระยะเวลาเดินทางที่นานและมีศักยภาพสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นสายพาน" Nabatov กล่าว

ผลที่ตามมาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางจึงออกมามีน้ำหนักเบากว่า, คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่กว่า และง่ายต่อการขนส่งด้วยอากาศยานกว่า ซึ่งขยายภารกิจหลายรูปแบบและบรรลุผลภารกิจได้อย่างรวดเร็ว อายุการใช้งานของตัวปืนใหญ่ยังได้รับการเพิ่มขึ้นด้วย
"โดยการเปรียบเทียบกับรถสายพานที่มีอายุการใช้งานราว 5,000km ในการวิ่งก่อนเข้ารับการซ่อมบำรุงหลัก สำหรับรถล้อยางการใช้งานที่ 5,000km ที่จริงแล้วเป็นเสร็จสิ้นการวิ่งทดสอบ" หัวหน้านักออกแบบของโครงการกล่าว

ระบบปืนใหญ่อัตตาจร 2S35 Koalitsiya-SV ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายที่บังคับการ, ศูนย์การสื่อสาร, ฐานยิงปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด,ยานเกราะรวมถึงรถถัง, อาวุธต่อสู้รถถัง, ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ และกำลังพลเดินเท้า
Koalitsiya-SV ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 152mm โดยมีอัตราการยิงมากกว่า 10นัดต่อนาที ซึ่งเร็วกว่าระบบปืนใหญ่แบบอื่น อัตาการยิงนี้มาจากการออกแบบพิเศษของระบบกลไกการบรรจุกระสุนของปืนใหญ่

ชุดระบบอาวุธของ Koalitsiya-SV ยังรวมถึงป้อมปืน Remote Weapon Station(RWS) ที่ติดตั้งปืนกลหนัก Kord ขนาด 12.7x108mm ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Uralvagonzavod กล่าวกับ TASS ก่อนหน้า 
การทดสอบของระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Koalitsiya-SV แบบใหม่ล่าสุดนี้จะเสร็จสิ้นภายในปี 2022 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/koalitsiya-sv.html)

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

รัสเซียลงนามสัญญาสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Project 23900 สองลำ

Source: Russian Ministry of Defense signed a contract for two helicopter carriers


The amount of the contract is about 100 billion rubles. / TV Zvezda

กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ลงนามสัญญากับอู่เรือ Zaliv ใน Kerch, Crimea เพื่อสร้างเรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์(Universal Landing Ships, UDK) 2ลำแรกของรัสเซีย เป็นวงเงินรวมประมาณ 100 billion rubles 
รายงานนี้ TASS ได้รับจากแหล่งข่าวในในกลุ่มอุตสาหกรรมทางทหารของรัสเซีย "สัญญาได้รับการลงนามแล้ว มันมีวงเงินทั้งหมดราว 100 billion rubles การวางกระดูกงูเรือของเรือ(ทั้งสองลำ)ควรจะมีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึง" แหล่งข่าวกล่าว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอู่เรือ Zaliv กล่าวกับ TASS ว่า บริษัทมีความพร้อมทางเทคนิคที่จะสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(หลายลำ) ในความสนใจของกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy, VMF) แต่ก็ย้ำว่าบริษัทไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลงและระยะเวลาในการสร้างเรือ
TASS ไม่ได้รับการยืนยันข้อมูลรายละเอียดของสัญญาอย่างเป็นทางการ แต่แหล่งข่าวของ TASS ในภาคอุตสาหกรรมทางเรือของรัสเซียได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/crimea-2020.html)

ระวางขับน้ำของเรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์แบบใหม่ของกองทัพเรือรัสเซียจะมีระวางขับน้ำ 25,000tons โดยมีความยาวตัวเรือสูงสุดประมาณ 220m เรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์หนึ่งลำจะสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดหนักได้มากกว่า 20เครื่อง 
และมีอู่ลอย(Well Dock) ท้ายเรือสำหรับรองรับการเข้าเทียบของเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utility) และจะสามารถรองรับการลำเลียงทหารราบทางเรือ(Naval Infantry) ได้ถึง 900นาย

เรือยกพลขึ้นบกเอนกประสงค์ยังสามารถถูกเรียกได้ว่าเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock) สามารถรองรับกลุ่มเฮลิคอปเตอร์ขนาดหนักสำหรับภารกิจหลายรูปแบบ, การขนส่งกำลังพลทหารราบทางเรือจำนวนหลายร้อยนายจนถึง 1,000นาย 
นอกจากอู่ลอยท้ายเรือ ภายในตัวเรือยังมีห้องบรรทุกสำหรับยานเกราะและรถถัง เรือยกพลขึ้นบกลักษณะนี้ได้เคยถูกจัดหาโดยสหพันธรัฐรัสเซียก่อนหน้า แต่ไม่เคยมีเรือยกพลขึ้นบกลักษณะนี้ถูกสร้างภายในอดีตสหภาพโซเวียตมาก่อน

เดิมในปี 2011 กองทัพเรือรัสเซียเคยสั่งจัดหาเรือชั้น Mistral จากฝรั่งเศส โดยมีการสร้างเสร็จสองลำคือ Sevastopol และ Vladivostok ซึ่งต่อมาถูกขายต่อให้กองทัพเรืออียิปต์(Egyptian Navy) เข้าประจำการในชื่อ L1010 Gamal Abdel Nasser และ L1010 Anwar El Sadat
เนื่องจากในปี 2014 ฝรั่งเศสได้ระงับการส่งมอบเรือให้รัสเซียเพื่อตอบโต้รัสเซียที่เข้าผนวก Crimea และแทรงแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลยูเครน(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/mistral.html)

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2020 ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงการพัฒนากองทัพเรือรัสเซียในอนาคตที่ Sevastopol ใน Crimea
ซึ่งได้มีการเปิดเผยรายละเอียดของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Project 23900 ที่พัฒนาโดยสำนักออกแบบ Zelenodolsk(ZPKB) ในเครือ United Shipbuilding Corporation(USC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือรัสเซียครับ

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เฮลิคอปเตอร์ AW159 Wildcat กองทัพเรืออังกฤษยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Martlet ครั้งแรก

First Martlet firings for Royal Navy Wildcat


The UK Royal Navy completed a series of live firing trials of the new Martlet lightweight precision strike missile from a Wildcat HMA2 instrumented trials airframe at the Aberporth Range between 27 April and 21 May.
https://janescom.sitefinity.cloud/defence-news/news-detail/c7f6f004-a508-4db2-b34e-7fe296665ce6


กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) ได้เสร็จสิ้นชุดการทดลองการยิงจริงของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูงน้ำหนักเบา Martlet ใหม่จากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลประจำเรือ Leonardo AW159 Wildcat HMA2
ภายใต้การดำเนินการ ณ สนามทดสอบอาวุธ Aberporth Range ของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร ทางชายฝั่งตะวันตกของ Wales ช่วงวันที่ 27 เมษายน-21 พฤษภาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/leonardo-aw159-wildcat.html)

การทดสอบยิงซึ่งดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำอนาคต FASGW(Future Anti-Surface Guided Weapon) แสดงถึงการบูรณาการระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet เข้ากับเฮลิคอปเตอร์ AW159 Wildcat
ก่อนที่ระบบจะมีกำหนดเข้าประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักรในเดือนมกราคม 2021 ตามแผนอาวุธยุทโธปกรณ์กลาโหม(Defence Equipment Plan) 2019 จากการเผยแพร่ผลสรุปทางการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2020

โดยออกแบบเพื่อตรงความต้องการโครงการ FASGW(Light) อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Martlet เป็นการใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ ของอาวุธปล่อยนำวิถี Thales LMM(Lightweight Multirole Missile)
อาวุธปล่อยนำวิถีพหุภารกิจน้ำหนักเบา LMM สร้างจากพื้นฐานอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศความเร็วสูง Starstreak เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีความแม่นยำสูงราคาถูกน้ำหนักเบา(13kg)

อาวุธปล่อยนำวิถี LMM ใช้ระบบนำวิถีแบบไต่ลำแสง Laser เพื่อให้ขีดความสามารถต่อต้านกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งทางอากาศ, ทางภาคพื้นดิน และทางทะเล ที่ระยะยิงระหว่าง 400 ถึง 6km
ในฐานะเป็นหนึ่งในการพัฒนาควบคู่ของโครงการ FASGW อาวุธปล่อยนำวิถี FASGW(Light) ถูกออกแบบมาเพื่อมอบขีดความสามารถที่แข็งแกร่งและพอเหมาะในการต่อต้านเรือเร็วโจมตีชายฝั่ง(FIAC: Fast Inshore Attack Craft), ระเบิดแสวงเครื่องลอยน้ำ, เรือยางท้องแบน และ jet-ski

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น FASGW(Heavy) ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เป็นอีกหนึ่งความต้องการโครงการ FASGW จะให้ขีดความสามารถที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการต่อต้านเรือผิวน้ำขนาดใหญ่กว่าถึงระดับเรือคอร์เวต
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น MBDA Sea Venom/Anti-Navire Leger(ANL) ได้รับเลือกเพื่อตรงความต้องการ FASGW(Heavy) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/sea-venom.html)

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Chaiseri เป็นผู้ชนะโครงการจัดหายานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา ๒คันของกองทัพอากาศไทย

Newest Chaiseri First Win AIFV (Armoured Infantry Fighting Vehicle) 4x4 was displayed at Defense and Security 2019.(my own photo)

Newest First Win ATV (Armored Tacticle Vehicle) 4x4 at Chaiseri's both displayed at Defense and Security 2019.(https://www.facebook.com/Officialasiandefense/)

Directorate of Transportation, Royal Thai Air Force (RTAF) announced winner of competition for two Light Armoured Vehicles is Thailand's company Chaiseri Metal and Rubber.
ประกาศกรมขนส่งทหารอากาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จํานวน ๒คัน โดยวิธีคัดเลือก

ตามที่ กองทัพอากาศ ได้มีหนังสือเชิญชวนสําหรับ ซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จํานวน ๒คัน โดยวิธีคัดเลือก นั้น
รถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จํานวน ๒คัน ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ ชัยเสรี เม็ททอลแอนด์รับเบอร์ (ส่งออก,ขายส่ง,ขายปลีก,ให้บริการ,ผู้ผลิต)
โดยเสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐บาท(ยี่สิบห้าล้านบาทถ้วน) รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓
http://trans.rtaf.mi.th/attachments/article/2060/win.pdf

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) กรมขนส่งทหารอากาศ, กองทัพอากาศไทย ได้เผยแพร่เอกสารประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จํานวน ๒คัน โดยวิธีคัดเลือก(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/chaiseri-panus.html)
คือ บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทย โดยเสนอราคาเป็นวงเงิน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($780,518.25) ราคา/หน่วย ๑๒,๕๐๐,๐๐๐บาท($390,259.12)

ตามที่ได้มีการประกาศราคากลางก่อนหน้านี้ บริษัท Chaiseri ไทยเป็นผู้ชนะโครงการจัดหารถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา ๒คันเหนือบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย
ซึ่งเป็นการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตและซ่อมปรับปรุงยานยนต์ทางทหารเอกชนในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย เป็นการแสดงถึงการส่งเสริมการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศตามนโยบาย 'จัดหาและพัฒนา' Purchase and Development (P&D) ของกองทัพอากาศไทย

เป็นที่เข้าใจว่ารถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา ๒คัน ดังกล่าวจะถูกจัดหามาเพื่อการทดลองประเมินค่าการใช้งานสำหรับ กองร้อยรถเกราะ กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน(Armored security vehicle company, Special Operations Regiment, Security Force Command)
ซึ่งปัจจุบันสองกองร้อยรถเกราะ ปพ.อย.ประจำการด้วย Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 สหรัฐฯ ติดปืนกลหนัก M2 .50cal และปืนกลร่วมแกน MG3 7.62mm จำนวน ๑๒คัน และ Rheinmetall Condor 4x4 เยอรมนี ติดปืนใหญ่กล 20mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm จำนวน ๑๘คัน

ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒
บริษัท Chaiseri ไทยได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 รุ่นใหม่ต่างๆหลายแบบ รวมถึง รถหุ้มเกราะล้อยางทางยุทธวิธี First Win ATV(Armored Tacticle Vehicle) 4x4 ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับรถเกราะ V-150 4x4 และรถเกราะ Condor 4x4

รถหุ้มเกราะล้อยาง First Win ATV และรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก First Win AWAV(Armoured Wheel Amphibious Vehicle) เป็นรถรุ่นใหม่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการย้ายส่วนห้องเครื่องยนต์จากด้านหน้ารถไปทางหลังด้านรถ และปรับแต่งเกราะด้านหน้าของรถให้โค้งมน
รถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน First Win ARV(Armoured Reconnaissance Vehicle) 4x4 ติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal(น่าจะเป็นแบบ IMI WAVE 200 อิสราเอล) และติดตั้งเสาอุปกรณ์ตรวจจับกล้อง Electro-Optronic ที่หลังคารถด้านหลังสำหรับภารกิจตรวจการณ์

และรถรบทหารราบล้อยาง First Win AIFV(Armoured Infantry Fighting Vehicle) 4x4 ติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ Mk19 40mm เป็นรถเกราะล้อยางในตระกูล First Win 4x4 ใหม่ที่น่าจะทดแทนรถเกราะ V-150 และรถเกราะ Condor ได้
ล่าสุดหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย ได้ดำเนินการทดสอบรถเกราะล้อยาง V-150 MOD 4x4 ที่ได้รับการปรับปรุงโดย Chaiseri ไทย ซึ่งน่าจะเป็นคนละโครงการกับการจัดซื้อรถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา ๒คันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/v-150-mod.html)

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กองทัพบกไทยมีแผนจะปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 ในประเทศ



Bofors 40mm L/70 Anti-Aircraft Gun with Opto-Electronic camera and Flycatcher radar fire control systems of 5th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 1st Anti-Aircraft Artillery Regiment, Army Air Defense Command, Royal Thai Army.

The Army Research and Development Office, Royal Thai Army A Development on Design and Manufacturing of Seals and the O-Rings used in GHN-45A1, M71 and M198 155mm Towed Howiter(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html

บัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติม มีนาคม ๒๕๖๓(2020)
ด้านยุทโธปกรณ์ความมั่นคง
ชื่อสามัญของผลงานนวัตกรรมไทย : ชุดอุปกรณ์ซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร แบบ แอล ๗๐ (The Upgraded kit for the 40 mm L70 Anti - Aircraft Gun)
หน่วยงานที่พัฒนา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับทุนการวิจัยจาก บริษัท อาร์มี่ ซัพพลาย จำกัด ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ ร่วมกับสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก และ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.)
หน่วยงาน บริษัท หรือผู้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย : บริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย จำกัด (ARMISYS SUPPLY COMPANY LIMITED)
ช่วงเวลาที่ขึ้นทะเบียน : มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ - มีนาคม พ.ศ.๒๕๗๑ (2020-2028 ๘ปี)

คุณสมบัตินวัตกรรม :
ผลงานนวัตกรรมนี้ เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ยุทโธปกรณ์ ทางการทหาร ได้แก่ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70 
โดยทำการพัฒนาระบบควบคุมแบบปิดของ servo motor เพื่อใช้ทดแทน hydraulic motor สำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของมุมทางสูงและมุมทางทิศของปืนใหญ่ต่อสู้ อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แบบแอล 70 ซึ่งชำรุดเสียหาย และเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน
และได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณ สาหรับควบคุมการทำงานระหว่างปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แบบแอล 70 กับระบบควบคุมการยิงด้วย radar 
เพื่อให้สามารถทำงานได้ทั้งระบบการทำงานแบบควบคุมการยิงโดยเจ้าหน้าที่ประจำปืน (Local Control) และระบบการทำงานแบบควบคุมการยิงอัตโนมัติระยะไกลร่วมกับระบบควบคุมการยิงด้วย radar ได้ (Remote Control) 
พร้อมโปรแกรมสำหรับติดตามการเคลื่อนที่ของเป้าหมายและระบบคำนวณวิถีกระสุนสำหรับการค้นหามุมดักเพื่อความแม่นยำในการยิงเป้าหมาย ที่สามารถรองรับอุปกรณ์ค้นหาและติดตามเป้าหมาย ที่มีความทันสมัยมากขึ้นในอนาคต 
เช่น กล้อง Opto-Electronic Fire Control ซึ่งจะประกอบด้วย กล้องตรวจการณ์กลางวัน กล้องจับภาพด้วยรังสีความร้อน Infrared และกล้อง laser วัดระยะ ซึ่งสามารถติดตั้งเพิ่มเติมและใช้งานร่วมกันได้ในทันที 
และยังทำการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนซ่อมทดแทน ชุดแหวนยางกันซึมและชิ้นส่วนโลหะ ของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70  ด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนกลับ เพื่อเป็นการดำรงสภาพและทดแทนชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอชำรุดตามอายุการใช้งาน

คุณสมบัติเฉพาะ
๑. ระบบทางไฟฟ้าควบคุมแบบ digital และระบบ servo motor ไฟฟ้า สาหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของมุมทางสูงและมุมทางทิศ ของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70 ด้วยความเที่ยงตรง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าระบบควบคุมการเคลื่อนแบบเดิม
๒. ระบบอุปกรณ์ส่งกำลังทางกล ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมระหว่าง servo motor กับระบบขับเคลื่อนเดิมของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70 เพื่อทดแทนการทำงานของ hydraulic motor
๓. อุปกรณ์และโปรแกรมสื่อสารสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ เพื่อควบคุมการทำงานระหว่างปืนต่อสู้อากาศยานกับระบบควบคุมการยิงด้วย radar เพื่อให้สามารถควบคุมแบบอัตโนมัติระยะไกลได้ 
พร้อมโปรแกรมอัตโนมัติซึ่งรองรับอุปกรณ์ค้นหา ติดตามเป้าหมายและคำนวณวิถีกระสุน เช่น กล้อง Opto-Electronic เพื่อความแม่นยำในการยิงที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ในอนาคต
http://dmsic.moph.go.th

ตามที่กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบกไทย(Royal Thai Army Ordnance Department) ประกาศโครงการจ้างซ่อมปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors ขนาด 40mm L/70 กำหนดราคากลางอ้างอิงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
วงเงินงบประมาณ ๔๔๖,๕๐๐,๐๐๐บาท($13,996,873.07) ราคาต่อหน่วย ๒๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($736,677.53) แหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) บริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย จำกัด (ARMISYS SUPPLY COMPANY LIMITED) นั้น

การประกาศโครงการสอดคล้องกับเอกสาร บัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติม มีนาคม ๒๕๖๓ ซึ่งขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ยุทโธปกรณ์ความมั่นคง รหัส 13020008 ชุดอุปกรณ์ซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70
ซึ่งเป็นผลงานนวัตกรรมไทยของ บริษัท ARMISYS SUPPLY ไทย จึงเป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีแผนที่จะซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ปตอ.Bofors 40mm L/70 สวีเดน ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีของตนเพื่อยืดอายุการใช้งานและประจำการต่อไป

ปัจจุบันหน่วยขึ้นตรงของ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ. เช่น กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑ มี ปตอ.Bofors 40mm L/70 ประจำการร่วมกับ radar ควบคุมการยิงแบบ Flycatcher เนเธอร์แลนด์ที่จัดหามาตั้งแต่ช่วงปี 1980s
ก่อนหน้านั้น สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการพัฒนาออกแบบและผลิตชุดแหวนยางกันซึมที่ใช้ในปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ปนร.๓๔ GHN45A1 ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ปกค.๒๕ M198 และปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ปนร.๒๐ M71 ขนาด 155mm ทดแทนอะไหล่ที่เลิกสายการผลิตไปแล้วครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

รัสเซียรับมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Koalitsiya-SV ใหม่ชุดแรก

Russian troops receive 1st batch of latest Koalitsiya-SV artillery systems


The Koalitsiya-SV surpasses existing domestic and foreign versions by its basic performance characteristics: the rate of fire, the range and the fire accuracy
https://tass.com/defense/1159463


ระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน 2S35 Koalitsiya-SV แบบใหม่ล่าสุดชุดแรกได้ถูกส่งมอบมาถึงกองทัพรัสเซียแล้ว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2020
"นี่เป็นการส่งมอบครั้งแรกของระบบปืนใหญ่อัตตาจร Koalitsiya-SV ที่ประจำการในหลายเหล่าทัพแก่กองทัพรัสเซีย อำนาจการยิงบนพื้นฐานปืนใหญ่ 152 ด้วยอัตราการยิงมากกว่า 10นัดต่อนาทีซึ่งสูงกว่าอัตราการยิงของระบบปืนใหญ่แบบอื่นๆ" Rostec รัสเซียกล่าว

Koalitsiya-SV มีความเหนือกว่าระบบปืนใหญ่อัตตาจรรุ่นก่อนของรัสเซียและต่างประเทศด้วยคุณสมบัติสมรรถนะพื้นฐานของมัน ทั้งอัตราการยิง, พิสัยการยิง และความแม่นยำการยิง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Rostec เน้นย้ำ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Koalitsiya-SV ถูกเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในปี 2015 ณ จตุรัสแดง นครหลวง Moscow ในการสวนสนามวันชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2015(https://aagth1.blogspot.com/2015/05/2015.html)

ระบบปืนใหญ่อัตตาจร Koalitsiya-SV ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี, ฐานยิงปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด, ที่ตั้งยิงอาวุธต่อสู้รถถัง, กำลังพลเดินเท้า, ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ,
ที่บังคับการ และยังรวมถึงการกวาดล้างที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงและสิ่งกีดขวางเพื่อการดำเนินกลยุทธ์หน่วงเวลาของข้าศึกในการป้องกันทางลึกของตน

ตามคุณสมบัติข้อได้เปรียบหลัก Koalitsiya-SV เป็นไปได้ที่จะทำการควบคุมการยิงและความแม่นยำจากระยะไกลแบบ remote ซึ่งนำระบบควบคุมการนำวิถีอาวุธ, การเลือกเป้าหมาย และการนำร่องแบบอัตโนมัติมาใช้
ชุดระบบอาวุธของ Koalitsiya-SV ยังรวมถึงป้อมปืน Remote Weapon Station(RWS) ที่ติดตั้งปืนกลหนัก Kord ขนาด 12.7x108mm

ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Uralvagonzavod รัฐวิสาหกิจด้านความมั่นคงผู้พัฒนาและผลิตรถถังหลักของรัสเซีย(ในเครือ Rostec) กล่าวกับ TASS ก่อนหน้าว่า การทดสอบของระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Koalitsiya-SV แบบใหม่ล่าสุดนี้จะเสร็จสิ้นภายในปี 2022
ขณะที่รถถังหลัก T-14 Armata ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์ของ Uralvagonzavod จะส่งมอบให้กองทัพรัสเซียได้ในปี 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/t-14-armata-2020.html) และได้ถูกนำไปทดสอบที่ซีเรียแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-14-armata.html)

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยใช้อากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B UAV ตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย
















Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy's Israeli Aeronautics Defense Systems Orbiter 3 Small Tactical UAS (Unmanned Aerial Systems) are used for Illegal Unreported and Unregulated (IUU) Fishing search operations in the Andaman Sea.

ORBITER 3B
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน

ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B
- มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล
- เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง
- สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน
- มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด
- สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน

การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/3523389644355194



ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ได้มีการเปิดเผยภาพอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Orbiter 3B ว่ามีประจำการในกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
โดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(MECC: Maritime Enforcement Command Center) ศรชล.ภาค๓ ที่รับผิดชอบพื้นที่ทะเลอันดามันได้นำมาใช้งานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย

การทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU(Illegal Unreported and Unregulated) Fishing นับเป็นปัญหาสำคัญของทรัพยากรทางทะเลทั่วโลก ที่ประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกต้องมีภาระรับผิดชอบแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักสากลที่นานาชาติยอมรับ
การนำ UAV มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้ของกองทัพเรือไทย เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องของกองทัพไทยและหน่วยงานภาครัฐของไทย จนทำให้ไทยถูกยกเลิกสถานะใบเหลืองจากสหภาพยุโรป(EU: European Union) ในที่สุด

Orbiter 3 เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิถีขนาดเล็ก(Small Tactical UAS: Unmanned Aerial Systems) พัฒนาโดยบริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอล ตัวอากาศยานทำการส่งบินขึ้นจากรางดีด และรับกลับด้วยการกางร่มชูชีพลงพื้น
และจากชุดภาพได้เห็นสถานีควบคุมที่ติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก IVECO อิตาลี ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) บริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอลก็ได้เคยนำระบบ UAV หลายแบบของตนมาสาธิตให้กองทัพเรือไทยชม

อากาศยานไร้คนขับ Orbiter 3B UAV ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (104 Air Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet)
เดิมฝูงบิน104 กบร.เคยประจำการด้วยเครื่องบินโจมตี บ.จต.๑ LTV A-7E Corsair II ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) จำนวน ๑๘เครื่องช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๒(1996-2009) โดยปัจจุบันฝูงบิน๑๐๔ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นฝูงบินอากาศยานไร้คนขับ

ระบบอากาศยานไร้คนขับ UAV จาก Aeronautics อิสราเอลได้รับการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ก่อนหน้านี้แล้วหลายแบบที่ได้ถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย IUU Fishing เช่นกัน
เช่น อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Orbiter II และอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Dominator ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี ครับ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทยทดสอบรถเกราะล้อยาง V-150 MOD รุ่นใหม่



Armored security vehicle company, Special Operations Regiment, Security Force Command, Royal Thai Air Force (RTAF) was tested new upgraded V-150 MOD 4x4 with RTAF Special Operation Force Commandos PJ/CCT
Cadillac Gage V-150 Commando 4x4, Rheinmetall Condor 4x4, and Airbus Helicopters H225M(EC725) 203rd Squadron, Wing 2 at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 21 May 2020

ผบ.อย.และคณะ ตรวจเยี่ยมการทดสอบสมรรถนะรถเกราะ V-150 MOD
พลอากาศโท สุรสีห์ สิมะเศรษฐ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน และคณะตรวจเยี่ยมการทดสอบสมรรถนะรถเกราะ V-150 MOD เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาล จังหวัดลพบุรี
https://www.facebook.com/rtafnews.mi.th/posts/1613980848778184

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย ได้ดำเนินการทดสอบสมรรถนะรถเกราะล้อยาง V-150 MOD 4x4 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยใหม่ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
โดยในชุดภาพจะเห็นการประกอบกำลังร่วมกับ กรมปฏิบัติการพิเศษอากาศโยธิน, รถเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-150 Commando 4x4, รถเกราะล้อยาง Rheinmetall Condor 4x4 และเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ Airbus Helicopter EC725 ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม ลพบุรี

ปัจจุบัน กองร้อยรถเกราะ(Armored Security Vehicle Company) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย มีรถเกราะล้อยาง 4x4 อยู่สองแบบประจำการในสองกองร้อยรถเกราะ
ประกอบด้วย V-150 สหรัฐฯ ติดป้อมปืนพร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal และปืนกลร่วมแกน MG3 7.62mm จำนวน ๑๒คัน และ Condor เยอรมนี ติดป้อมปืนพร้อมปืนใหญ่กล 20mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm จำนวน ๑๘คัน

แม้ว่าจะไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากนัก แต่รถเกราะล้อยาง V-150 MOD 4x4 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ได้รับการดัดแปลงจาก V-150 รุ่นดั้งเดิมอย่างมาก โดยมีรูปแบบกระจกด้านหน้าสำหรับสถานีพลขับ และกระจกด้านข้างตัวรถซ้ายและขวาแบบใหม่
ด้านข้างตัวรถมีการจัดช่องยิงอาวุธจากภายในรถเพิ่มเติม และด้านหลังตัวรถดูเหมือนจะได้รับการติดตั้งระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนแบบใหม่ บนหลังคาด้านหน้าติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station(RWS) พร้อมปืนกลหนักขนาด 12.7mm และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด 40mm

ขณะที่เขียนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเปิดเผยเกี่ยวกับ V-150 MOD ที่อากาศโยธินทดสอบล่าสุด แต่การปรับปรุงรถมีบางส่วนที่คล้ายกับการปรับปรุงรถเกราะล้อยาง V-150 กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps, RTN: Royal Thai Navy)
โดย บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย ได้ปรับปรุงติดป้อมปืน Remote แบบ IMI WAVE 200 อิสราเอลสำหรับปืนกลหนัก Browning M2HB .50cal(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/v-150-remote.html)

ขณะที่ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ไทย ก็เคยทำการปรับปรุงรถเกราะ V-150 ของนาวิกโยธินไทยเป็นรถเกราะล้อยาง HMV-150 ที่ต้นแบบได้นำไปทดลองใช้งานที่ชายแดนภาคใต้มาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
ทั้งนี้ทั้ง Chaiseri ไทยและ Panus ไทยกำลังแข่งขันในโครงการจัดหารถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จำนวน ๒คันของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/chaiseri-panus.html) แต่ก็ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับการทดสอบรถเกาะ V-150 MOD ล่าสุดนี้หรือไม่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Lockheed Martin สหรัฐฯจะส่งมอบกระเปาะชี้เป้า Sniper, LANTIRN และ IRST แก่ต่างประเทศรวมถึงไทย



Lockheed Martin F-16BM EMLU(Enhance Mid Life Upgrade) Fighting Falcon with Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) of 403rd Squadron, Wing 4  Takhli, Royal Thai Air Force in exercise Cobra Gold 2020 at Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai, Thailand in 6 March 2020.
https://aagth1.blogspot.com/2020/03/calfex-cobra-gold-2020.html

Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli.(https://www.facebook.com/people/Tanapol-Arunwong/100002183542138)

Korea Aerospace Industries (KAI) was displayed model of its FA-50 multi-role light combat aircraft at Defense and Security 2019.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-pc-9.html

Contracts For May 18, 2020
https://www.defense.gov/Newsroom/Contracts/Contract/Article/2190758/

ตามเอกสารที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2020 บริษัท Lockheed Martin Corp สหรัฐฯใน Orlando มลรัฐ Florida ได้รับสัญญาส่งมอบไม่มีกำหนด/จำนวนไม่แน่นอนวงเงิน $485,000,000 แก่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและต่างประเทศในรูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS)
สำหรับสายการผลิตสิ่งอุปกรณ์กระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper, กระเปาะค้นหาและติดตามเป้าหมาย IRST(Infrared Search and Track) และกระเปาะนำร่องและชี้เป้าหมาย LANTIRN(Low Altitude Navigation and Targeting Infrared for Night) ของอากาศยานปีกตรึง

สัญญานี้มอบทรัพยาการที่จำเป็นสำหรับการจัดการ, การสร้าง, การปรับปรุง/ปรับสภาพใหม่, การบูรณาการสนับสนุนและทดสอบ และการจัดส่งของอุปกรณ์ที่ไม่อยู่ระหว่างการพัฒนา(NDI: Non-Developmental Item) ระบบกระเปาะชี้เป้า Sniper Advanced Targeting Pod(ATP),
ชุดปรับปรุงภาพการนำร่องตายตัว(Fixed Image Navigation Set) LANTIRN และระบบกระเปาะค้นหาติดตามเป้าหมาย IRST ตามที่เกี่ยวข้องกับเอกสารความต้องการประกอบกับคำสั่งส่งมอบเฉพาะแต่ละรายที่มีภายใต้สัญญานี้

งานจะดำเนินการใน Orlando มลรัฐ Florida และอีกหลายสถานที่ที่จะถูกระบุในระดับคำสั่งซื้อ งานคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2025 สัญญานี้มีส่วนการขายรูปแบบ FMS (รายการนี้ไม่ถูกรวมด้วย)
แก่ บาห์เรน, เบลเยียม, บัลแกเรีย, แคนาดา, อียิปต์, กรีซ, อินโดนีเซีย, อิรัก, อิสราเอล, จอร์แดน, สาธารณรัฐเกาหลี, คูเวต, โมร็อกโก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โอมาน, ปากีสถาน, โปแลนด์, กาตาร์, โรมาเนีย, ซาอุดีอาระเบีย, สโลวาเกีย, ไต้หวัน, ไทย และตุรกี

สัญญานี้เป็นผลของการจัดซื้อจัดจ้างแหล่งที่มารายเดียว เงินทุนการขายรูปแบบ FMS ในวงเงิน $34,900,000 ได้มีภาระผูกพัน ณ เวลาที่ประกาศภายใต้คำสั่งการส่งมอบ FA8540-20-F-0034 สำหรับประเทศโมร็อกโก
ศูนย์การบริหารจัดการอายุการใช้งานกองทัพอากาศ(Air Force Life Cycle Management Center) ฐานทัพอากาศ Robins Air Force Base(AFB) มลรัฐ Georgia เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมสัญญา(FA8540‐20‐D‐0001)

ขณะที่เขียนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าแต่ละประเทศใดในรายการจะจัดซื้อกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP, LANTIRN และ IRST แบบใดบ้างและจำนวนเท่าไร แต่ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่มีประจำการด้วยหรือกำลังสั่งจัดหาอากาศยานที่รองรับการใช้งานระบบกระเปาะดังกล่าว
โดยในส่วนกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ๑๘เครื่องมีขีดความสามารถในการติดตั้งกระเปาะ Sniper ATP(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/f-16ab-emlu-iris-t-pitch-black-2016.html)

ตามที่บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี มีแผนจะปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ด้วยการบูรณาการกระเปาะ Sniper ATP เพื่อใช้ระเบิดนำวิถี Laser เช่น GBU-12 Paveway II ที่การพัฒนาจะเสร็จสิ้นภายในปี 2020
และยินดีที่จะให้การปรับปรุงความทันสมัยด้วยขีดความสามารถนี้แก่ลูกค้าใน ASEAN ถ้าต้องการทั้ง FA-50PH ฟิลิปปินส์ และ T-50I อินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/kai-fa-50.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50-asean.html)

รวมถึงเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ที่สั่งจัดหาแล้วจำนวน ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html) ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับปรุงเพื่อใช้กระเปาะชี้เป้า Sniper ATP ได้ในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการตัดงบประมาณกลาโหมจากการระบาดของ Covid-19 กองทัพอากาศไทยได้ยกเลิกการจัดหา T-50TH เพิ่ม ๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html) ที่น่าจะรวมถึงการระงับแผนปรับปรุงขีดความสามารถในอนาคตด้วยครับ