K9 selected for Indian Army SPH requirement
Larsen & Toubro will manufacture a version of the K9 Thunder for the Indian Army. Source: Samsung Techwin
http://www.janes.com/article/55127/k9-selected-for-indian-army-sph-requirement
กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ประกาศผู้ชนะในโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกอินเดียวงเงิน $800 million ซึ่งมีความล่าช้ามายาวนานคือ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Samsung Techwin K9 Thunder ขนาด 155mm/52cal จากสาธารณรัฐเกาหลี นับเป็นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกๆระหว่างอินเดียและเกาหลีใต้
แหล่งข้อมูลภายในกล่าวว่าการเลือกแบบได้มีขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากการทดสอบในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทรายและพื้นที่สูงในปี 2013 และต้นปี 2014
โดยปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 สามารถเอาชนะปืนใหญ่อัตตาจร MSTA-SP (2S19) จากรัสเซียซึ่งดัดแปลงใช้ป้อมปืนใหญ่ขนาด 155mm/52cal เข้ากับแคร่ฐานรถถังหลัก T-72
ทางเจ้าหน้าอาวุโสของเหล่าทหารปืนกองทัพบกอินเดียกล่าวว่าระบบ K9 เกาหลีใต้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบของรัสเซีย ทั้งความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ความเร็ว ความแม่นยำ และอัตราการยิงโดยรวม
ซึ่งระบบปืนใหญ่อัตตาจรยังได้รับการทดสอบการยอมรับคุณสมบัติการซ่อมบำรุงจากกองการวิศวกรรมเครื่องยนต์และ Electronic และคณะกรรมการฝ่ายรับรองคุณภาพด้วย
ตามนโยบาย"ซื้อและสร้าง" ในส่วนของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหม คาดว่ากระทรวงกลาโหมอินเดียจะมีการเปิดการเจรจากับรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในปี 2016
ทั้งนี้ Samsung-Techwin จะร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ Larsen & Toubro (L&T) อินเดียในการพัฒนาประกอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Vajra ซึ่งเป็นรุ่นตามความต้องการของกองทัพบกอินเดีย
ในโรงงานที่ Pune, Talegaon และ Powai โดย L&T มีแผนจะสร้างชิ้นส่วนประกอบย่อยหลัก 13ระบบในอินเดีย เช่น ระบบควบคุมการยิง, ระบบควบคุมการบรรจุกระสุน, Radar ความเร็วปากกระบอกปืน และระบบป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
โดยระบบที่จะทำการสร้างและประกอบภายในอินเดียจะคิดเป็นเต็มร้อยละ50 ซึ่งอีกร้อยละ30 ของการจัดหาจะมีการรับผิดชอบชดเชยต่อผลการผลิตภายในประเทศตามความต้องการในระดับที่สูง
ทั้งนี้กองทัพบกอินเดียมีความต้องการปืนใหญ่อัตตาจรสายพานไม่ต่ำกว่า 100ระบบ สำหรับกรมทหารปืนใหญ่ 3กรม ใน3กองพลยานเกราะ และอีกกรมทหารปืนใหญ่ สำหรับกองพลน้อยยานเกราะอิสระ
ซึ่งจะประกอบเป็นกำลังกองทัพน้อยโจมตีร่วมกับรถถังหลักเช่น T-90S เป็นกำลังหัวหอกในสงครามตามแบบด้วยการยิงสนับสนุนขนาดหนักแบบเต็มรูปแบบต่อแนวชายแดนประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างปากีสถาน
Bhim Self Propelled Howitzer Prototype(wikipedia.org)
กองทัพบกอินเดียมีความต้องการโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่มาเป็นเวลาเกือบ 20ปี เพื่อตอบสนองต่อการที่กองทัพบกปากีสถานจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A2/A3 จากสหรัฐฯ ราว 150ระบบในช่วงนั้น
โดยในปี 1999 องค์การพัฒนาและวิจัยด้านความมั่งคง (DRDO: Defence Research and Development Organisation) อินเดียได้ร่วมกับบริษัท Denel สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ในการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Bhim โดยใช้ป้อมปืนใหญ่แบบ T-6 ของ Denel แอฟริกาใต้ติดตั้งกับแคร่ฐานรถถังหลัก Arjun ที่อินเดียพัฒนาเองในประเทศ
แต่ทว่าโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากในปี 2005 กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ขึ้นบัญชีระงับการทำธุรกรรมระหว่างรัฐบาลต่อ Denel แอฟริกาใต้
เนื่องจากบริษัท Denel ถูกกล่าวหาว่ากระทำการผิดกฎหมายในสัญญาแยกต่างหากต่อการจัดซื้อปืนต่อต้านอมภัณฑ์จำนวน 400กระบอกกับกองทัพบกอินเดีย
แม้ว่าการขึ้นบัญชีจะถูกยกเลิกไปในปี 2014 โดยที่คณะกรมการสอบสวนกลางรัฐบาลอินเดียไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานความผิดได้ แต่ก็สายเกินไปที่จะรื้นฟื้นโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ขึ้นมาใหม่ครับ