วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘-๖

ช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนที่สองของปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ก็มีข่าวการรับมอบยุทโธปกรณ์และการดำเนินงานโครงการจัดหาของกองทัพหลายส่วนครับ

การประชุมพิจารณาคัดเลือกแบบรถถัง



การประชุมพิจารณาคัดเลือกแบบรถถัง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 27 ต.ค.58 โดยมี จก.กบ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะ
http://dlogs.rta.mi.th/www/readcontent/17427

คัดเลือกแบบ ถ. ณ สาธารณรัฐรัสเซีย




จก.กบ.ทบ. พร้อมคณะเดินทางเพื่อคัดเลือกแบบ ถ. ณ สาธารณรัฐรัสเซีย เมื่อ ๑๖ พ. ย.๕๘
http://dlogs.rta.mi.th/www/readcontent/17453

ส่วนของกองทัพบกนั้นมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบรถถัง ซึ่งตามที่มาข้อมูลล่าสุดมีการเดินทางไปดูงานสองประเทศแล้วคือ Norinco จีน ซึ่งน่าจะเป็นรถถังหลัก VT4 (MBT-3000) และ Uralvagonzavod รัสเซีย ซึ่งน่าจะเป็นรถถังหลัก T-90
โดยมีข้อมูลว่าเพื่อเป็นแนวทางในการจัดหารถถังหลักแบบใหม่หลังจากที่โครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ของยูเครนมีความล่าช้า

เท่าที่ทราบนี่การจัดหารถถังหลัก Oplot ตามแผนการปรับปรุงกำลังเหล่าทหารม้าในเบื้องต้นจะจัดหาเป็นมาแทนรถถังหลัก M48A5 ในสองกองพันทหารม้ารถถัง
คือ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ที่ตอนนี้ได้รับมอบแล้ว ๑๐คัน กับ กองพันทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖
โดยถ้าจัดหา ถ.หลัก Oplot มาได้ครบกองพันในส่วน ม.พัน.๒ ก็จะมีการย้าย M48A5 ไปที่ กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓ แทน ถ.เบา M41A3 ที่จะปลด
แต่ก็ไม่ทราบว่าในส่วนของ ม.พัน.๒๑ นั้นจะมีการจัดหา ถ.หลัก Oplot ชุดที่สอง หรือจะจัดหารถถังหลักแบบอื่น ซึ่งตามแผนเดิมจะย้าย M48A5 จาก ม.พัน.๒๑ ไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน M41A3
รวมถึงกองพันทหารม้ารถถัง ประจำกองพลทหารราบ กองพันอื่นที่ต้องจัดหา ถ.หลักใหม่ แทน ถ.เบา M41A3 เช่น กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์

ตรงนี้ยังไม่รวมในส่วนกองพันทหารม้ารถถังใน กรมทหารม้าที่เป็นหน่วยขึ้นตรง กองพลทหารม้าที่๓ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วยครับ
ถ้าให้คาดเดาส่วนตัวมองว่าเป็นไปได้ว่าในส่วนของ พล.ม.๓ นี่อย่างน้อยจะมี กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ ที่จะต้องจัดหารถถังหลักใหม่แทน ถ.เบา.๓๒ Stingray ที่มีแผนจะย้ายไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ แทน M41A3
ยังไม่ไม่รวม กรมทหารม้าที่๗ ที่เป็น นขต.ของ พล.ม.๓ ที่ต้องจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ทั้งกรม คือสองกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ และหนึ่งกองพันทหารม้ารถถัง
จึงเป็นไปได้สูงว่า ถ้ามีการจัดหารถถังหลักจากจีนจริงอาจจะมาลงในส่วน พล.ม.๓ เนื่องจากเป็นการจัดหาในจำนวนมาก ลักษณะเดียวกับที่กองทัพบกเคยจัดหา ถ.๓๐ Type 69-II และ รสพ.๓๐ Type 85 ลงกองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์จำนวนมากในสมัยก่อน
แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันว่าพิจารณาคัดเลือกแบบรถถังใหม่อาจจะมาลงในส่วน กองพันทหารม้ารถถัง กองพลทหารราบ

สำหรับไทยนั้นเข้าใจว่าถ้าจะจัดหารถถังหลักจากจีนจริง คงน่าจะเป็นรุ่นใหม่กว่าที่ประเทศอื่นมีแล้วคือ VT4 (MBT-3000)
โดยประเทศในแถบนี้ที่มีการจัดหารถถังหลัก VT1A (MBT-2000) ซึ่งเป็นรถรุ่นก่อน VT4 (MBT-3000) เข้าประจำการก็มีกองทัพบกพม่ากับกองทัพบกบังคลาเทศ
โดยในส่วนเครื่องยนต์นั้น VT4 จะใช้ ย.ดีเซล กำลัง 1200HP ของจีนเองเพื่อแก้ปัญหาการจัดซื้อ ย.จากแหล่งอื่น
อย่างในโครงการจัดหารถถังหลักใหม่แทน T-55 ของกองทัพบกเปรู ซึ่ง MBT-2000 ถูกยูเครนกดดันไม่ขายเครื่องยนต์ให้เพราะตนเองได้ส่ง Oplot แข่งด้วย ซึ่งปัจจุบันจีนเสนอ VT4 ห้เปรู
ส่วนความทันสมัยของระบบรถขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าที่จะเลือกติดตั้งอย่างเช่นระบบป้อมปืนกลหนัก Remote เหมือน T-90MS ซึ่งมีการสาธิตต้นแบบไปแล้วเป็นต้น
อย่างไรก็ตามสำหรับรถถังหลัก VT4 หรือ MBT3000 จีนนั้นก็ไม่ได้จัดว่ามีราคาถูกนักครับ โดยราคาที่เสนอขายเปรูจะอยู่ที่เฉลี่ยคันละ $4 million ซึ่งพอๆกับ Oplot หรือ T-90S
แต่ทั้งนี้รถถังจีนอาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับการจัดหาในจำนวนมาก เพื่อให้มีอัตราจัดในหน่วยต่างๆเต็มตามแผนที่วางไว้

สำหรับรถถังหลักรัสเซียนั้นก็คงค่อนข้างแน่นอนว่าแบบรถถังหลักที่ทางรัสเซียนำเสนอน่าจะเป็นตระกูล T-90 เนื่องจากรถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดของ Uralvagonzavod (UVZ) คือ T-14 ARMATA นั้นรัสเซียยังไม่พร้อมจะส่งออกในเร็วๆนี้
ตรงนี้มองว่าถ้ากองทัพบกจะเลือกจัดหารถถังหลัก T-90 จริง ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ารถถังหลักจีนอย่าง VT4 ครับ เพราะระบบพื้นฐานหลักค่อนข้างจะใกล้เคียงกับ ถ.หลัก Oplot ในบางจุด
(บางอย่าง Oplot เหนือกว่าเช่นสมรรถนะระบบขับเคลื่อนตัวรถ บางอย่าง T-90MS เหนือกว่าเช่นปืนใหญ่รถถังและระบบควบคุมการยิง)
อีกทั้ง ถ.หลักตระกูล T-90 ก็มีใช้งานทั้งในกองทัพบกรัสเซียและอีกหลายประเทศทั่วโลกในจำนวนมากกว่าด้วย
เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้ประเทศที่มีความต้องการจะจัดหารถถังหลัก T-90MS รุ่นส่งออกล่าสุดก็มี อินเดีย กับแอลจีเรีย ซึ่งต่างเป็นผู้ใช้รายใหญ่ของ T-90 อยู่แล้ว โดยสองประเทศนี้ได้ซื้อสิทธิบัตรจากรัสเซียในการประกอบ T-90 ในประเทศด้วย
ส่วนรถรุ่นที่มีความก้าวหน้ารองลงมาที่รัสเซียส่งออกต่างประเทศช่วงหลังปี 2010 มาก็คือรุ่น T-90SA ที่มีพื้นฐานจาก T-90A ที่ประจำการในกองทัพบกรัสเซีย ซึ่งใช้เกราะ ระบบอาวุธ และระบบควบคุมรุ่นใหม่ๆบางส่วน เช่นที่ประจำการในแอลจีเรีย อูกันดา และเติร์กเมนิสถาน เป็นต้น
ราคาของ T-90SA เข้าใจว่าน่าจะถูกกว่า T-90MS อยู่บ้างระดับหนึ่งครับ แต่ถ้ากองทัพบกไทยจะเลือกจัดหา T-90 จริง ถ้าเลือกได้ก็ควรจะเลือกรุ่นที่มีความก้าวหน้าสูงสุดครับ
เพราะตัว T-90 เองนั้นระบบพื้นฐานหลักของรถก็เริ่มจะล้าสมัยไปบ้างแล้วในยุคปัจจุบัน(มีพื้นฐานพัฒนามาจาก T-72) เว้นแต่ว่ากองทัพบกจะลดงบประมาณสำหรับจัดหารุ่นที่ราคาถูกลงมาอย่าง T-90SA เพื่อการจัดหาเป็นจำนวนมากๆ
เช่นเพื่อจัดตั้งกองพันทหารม้ารถถังในทั้งในส่วนกองพลทหารราบ และกองพลทหารม้าที่๓ ตามที่ได้กล่าวไป

แต่ทั้งนี้เองก็น่าจะมีตัวเลือกแบบรถถังหลักจากประเทศอื่นนอกจาก จีน และรัสเซีย ที่คณะกรรมการจะไปดูงานด้วย
ซึ่งถ้าไม่มีประเทศอื่นเช่นกลุ่มยุโรปตะวันตกหรือเกาหลีใต้ที่คณะกรรมการจะเดินทางไปดูงานแล้ว ก็น่าเชื่อว่ากองทัพบกไทยคงจะเลือกระบบรถถังหลักติดปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm รัสเซีย เป็นระบบอาวุธหลักใหม่ต่อไปในอนาคตครับ

https://www.facebook.com/188960898103285/photos/a.188965268102848.1073741828.188960898103285/200302143635827/
https://www.facebook.com/รัชต์-รัตนวิจารณ์-188960898103285/
ที่มา รัชต์ รัตนวิจารณ์










การตรวจรับ ฮ. AWC 139 ที่สหรัฐฯ ผลการตรวจ ได้เเก่ test flight. Visual. Inspection. Publication. เเละ Loose.Parts. ทุกอย่างดำเนินการเรียบร้อยเเล้ว เมื่อ 26 พ.ย.58 
บริษัทพร้อมจะจัดส่ง ฮ. ทางอากาศให้กับ. ทบ. ไทย โดยเร็วที่สุด จะได้เเจ้งวันเวลาให้ทราบในโอกาสต่อไป
https://www.facebook.com/armydol/posts/1103673719650440










ผอ.กปชท.สกบ.กบ.ทบ. สังเกตการณ์ ปรนนิบัติบำรุง-ส่งมอบ-ตรวจรับและแจกจ่าย ฮ.ท.17(Mi-17V-5) จำนวน 2 เครื่อง ในห้วง 26 พ.ย.-11 ธ.ค. 58 ณ กองการบินทร. อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
https://www.facebook.com/armydol/posts/1103205003030645
https://www.facebook.com/armydol/
ที่มา กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก









https://www.facebook.com/media/set/?set=a.899136763497069.1073741836.403256659751751
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion/
ที่มา กองบินสนับสนุนทั่วไป

อีกส่วนคือการจัดหาอากาศยานของกองทัพบกไทยก็มีการเผยแพร่ภาพการของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา Airbus Helicopters H145 (EC145 T2 เดิม) เครื่องแรกหมายเลข 20069 ซึ่งเพิ่งประกอบออกมาจากโรงงาน
โดยกองทัพบกไทยสั่งจัดหา ฮ.H145 จำนวน ๖เครื่อง วงเงิน ๙๙๙,๒๐๗,๔๓๖บาท คาดว่ากำหนดการบินขึ้นทดสอบครั้งแรกและการตรวจรับมอบเครื่องจะมีตามมาในอนาคตอันใกล้

ตามมาด้วยการตรวจรับมอบ ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ชุดใหม่ ที่สร้างในโรงงาน AgustaWestland Philadelphia สหรัฐฯ
ซึ่งดูจากสีเครื่องและการตกแต่งภายในห้องโดยสารแล้วเข้าใจว่าน่าจะเป็นเครื่องสำหรับภารกิจขนส่งบุคคลสำคัญเช่นเดียวสองเครื่องแรกที่ประจำการใน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก

และ กองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก จะได้รับมอบ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ชุดใหม่ ๒เครื่อง ซึ่งขนส่งวมาโดยเครื่องบินลำเลียงหนัก An-124-100 สายการบิน Volga-Dnepr รัสเซีย
ซึ่ง ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 หมายเลข 76404 และ 76405 นั้นคาดว่าจะมีกำหนดการทดสอบการบินในเร็วๆนี้ ซึ่งจะเป็นการเสริมการปฏิบัติงานของ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ทั้ง ๓เครื่องเดิมที่ประจำการอยู่แล้วได้อีกมากครับ

ตัวแทนจำหน่ายและร่วมสายการผลิตเครื่องบิน CN235-220

บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ได้รับการแต่งตั้งจาก บริษัท PT Dirgantara Indonesia (Persero) ให้เป็นตัวแทนจำหน่าย และ ร่วมการผลิตเครื่องบิน CN235-220 ในประเทศไทย




http://www.taithailand.com/business-and-services/casas-authorize-dealer-in-thai/

ด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของไทยนั้นก็เป็นที่น่ายินดีเมื่อ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries) ได้ลงนามข้อตกลงกับ PT Dirgantara อินโดนีเซีย ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายและร่วมการผลิตเครื่องบินลำเลียง CN235-220 ในประเทศไทย
PT Dirgantara Indonesia (Persero) เป็นอุตสาหกรรมอากาศของอินโดนีเซียที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งมีโครงการพัฒนาอากาศยานของตนเองและได้รับสิทธิบัตรหรือเป็นโครงการร่วมนานาชาติหลายแบบ
เช่น เครื่องบินลำเลียง EADS CASA CN-235 และ C-295 กับยุโรป และโครงการเครื่องบินขับไล่ KAI KF-X กับสาธารณรัฐเกาหลีเป็นต้น
ในส่วนของเครื่องบินลำเลียง CN-235 นั้นก็มีประจำการในกองบินตำรวจ ๑เครื่อง โดยเพิ่งมีข่าวที่ สำนักตำรวจแห่งชาติ สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง CN-235-200M เพิ่มไป ๑เครื่องเมื่อปีที่แล้ว
และในส่วนของกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทยนั้นก็ยังมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์อยู่ตามที่ได้เคยนำเสนอไป
จึงน่าจะเป็นข่าวดีครับที่ไทยเราจะได้เริ่มก้าวเข้าสู่การพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมอากาศยานร่วมกับเพื่อนบ้าน ASEAN ครับ