วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยเลือกเครื่องยนต์ดีเซล MAN เยอรมนีสำหรับโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สอง

Thailand selects MAN engines for second modified River-class OPV
http://www.janes.com/article/60824/thailand-selects-man-engines-for-second-modified-river-class-opv

Second Krabi class Offshore Patrol Vessels model (My Own Photo) 

กองทัพเรือไทยได้เลือกระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนสำหรับโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือเครื่องยนต์ดีเซลแบบ MAN 16V28/33D sequential turbocharging (STC) สองเครื่องจากเยอรมนี
โดยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ นี้ เป็นแบบเรือที่บริษัทอู่กรุงเทพได้ซื้อสิทธิบัตรจากแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ เรือตรวจการไกลฝั่งชั้น River ของกองทัพเรืออังกฤษ
แต่แบบเรือของไทยที่มีการปรับปรุงล่านั้นติดอาวุธหนักที่สุดถ้าเทียบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นอื่นๆที่ใช้แบบเรือเดียวกัน คือติดปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon เป็นต้น

ตามแถลงการณ์ของบริษัท MAN เยอรมนีในโครงการนี้ เครื่องยนต์ดีเซลแบบ 16V28/33D STC เป็นเครื่องยนต์ที่มีระบบการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ
และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับติดตั้งในเรืออย่างแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ที่ปรับปรุงใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติการแบบภาระบรรทุกระดับกลางและระดับต่ำ(intermediate and low-load operations)
ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลในรุ่นเดียวกันกันนี้ได้ถูกนำไปติดตั้งเป็นเครื่องยนต์ของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Holland ของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์มาแล้วครับ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อินเดียและรัสเซียตกลงที่จะส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ BrahMos ให้ประเทศอื่น

India, Russia agree to export BrahMos missiles to third countries — spokesman
AP Photo/Gurinder Osan
Talks with the UAE, Chile, South Africa and Vietnam are in advanced stage concerning export the world's fastest anti-ship cruise missile BrahMos
http://tass.ru/en/defense/878650

Praveen Pathak โฆษกของ BrahMos Aerospace ผู้พัฒนาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียงที่เร็วที่สุดในโลก ได้กล่าวกับสำนักข่าว TASS เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า
อินเดียและรัสเซียได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการที่จะส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ให้กับประเทศที่สาม เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์, เวียดนาม, แอฟริกาใต้ และชิลี

"โครงสร้างหลายส่วนถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อนโยบายการส่งออกด้านความมั่นคงและสิ่งเหล่านี้กำลังมีผลออกมา
ประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเรื่องอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos เท่าที่มีตอนนี้ก็เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์, ชิลี, แอฟริกาใต้ และเวียดนาม ซึ่งอยู่ในขั้นที่ก้าวหน้าแล้ว
ตั้งแต่รัสเซียที่เป็นประเทศหุ้นส่วนในโครงการร่วม BrahMos ก็ได้รับการยินยอมในการหารือกับอีกหลายประเทศประกอบไปด้วย
ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, แอลจีเรีย, กรีซ, มาเลเซีย, ไทย, อียิปต์, สิงคโปร์, เวเนซุเอลา และบัลแกเรีย ที่ตอนนี้ได้นำเข้าสู่ระดับต่อไปแล้ว" นาย Praveen กล่าว

ตามข้อมูลจากโฆษก BrahMos Aerospace ยังได้ให้ข้อมูลรายละเอียดการเจรจาการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ในบางประเทศว่า
"BrahMos Aerospace คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงกับสหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งทั้งอินเดียและรัสเซียต่างมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศนี้และมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่นั้น ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาในการส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถีให้กับประเทศนี้
ในกรณีของเวียดนาม จีนได้แสดงการคัดค้านของตนต่อนโยบายของอินเดียที่จะจัดส่งอาวุธให้เวียดนาม ในทะเลจีนใต้ที่จีนและเวียดนามมีข้อขัดแย้งในพรมแดนทางทะเลระหว่างกัน
เราคาดหวังว่าบรรดามิตรประเทศเหล่านี้ซึ่งไม่ใช่ทั้งอินเดียและรัสเซียจะไม่ข้อขัดแย้งใดๆที่จะกระตือรือร้นในการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีเหล่านี้"

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ BrahMos เป็นโครงการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Defense Research and Development Organization(DRDO) อินเดีย และ NPO Mashinostroyenia (NPOM) รัสเซีย
โดยในปี 1998 ได้มีการจัดตั้งบริษัท BrahMos Aerospace ขึ้นมาซึ่งตั้งชื่อบริษัทจากการรวมกันของชื่อแม่น้ำของทั้งสองประเทศคือ แม่น้ำ Brahmaputra(แม่น้ำพรหมบุตร) อินเดีย และแม่น้ำ Moskva รัสเซีย
BrahMos เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียซึ่งทำความเร็วได้สูงถึง Mach 3 และสามารถปรับปรุงให้ทำความเร็วได้สูงยิ่งขึ้นเป็น Mach 6 ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบ
BrahMos มีระยะยิงไกลถึง 290km ด้วยความเร็วเหนือเสียทำให้จรวดมีระยะเวลาเดินทางถึงเป้าหมายที่สั้นมาก จึงมั่นใจได้ว่ามีการถูกตรวจพบได้ก่อนต่ำ และไม่สามารถจะถูกสกัดกั้นได้ทัน
BrahMos เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีแบบยิงแล้วลืม อำนาจการทำลายของตัวจรวดมาจากพลังงานจลน์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการพุ่งชน เพดานบินจรวดอยู่ได้สูงถึงระดับความสูง 15km จนถึงลดระดับที่ความสูงเพียง 10m และติดหัวรบขนาด 200-300kg
เมื่อเทียบกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วต่ำกว่าเสียงชั้นนำที่มีในขณะนี้ BrahMos มีความเร็วมากกว่า 3เท่า ระยะยิงไกลกว่า 2.5-3เท่า ระยะค้นหามากกว่า 3-4เท่า และมีพลังงานจลน์มากกว่า 9เท่า
BrahMos ถูกออกแบบให้มีระบบแท่นยิงติดตั้งเพื่อทำการยิงได้ในจากหลายระบบ ทั้งฐานยิงภาคพื้นดิน, เรือรบผิวน้ำ, เรือดำน้ำ และอากาศยานครับ

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือสิงคโปร์รับมอบเรือ Littoral Mission Vessel ชั้น Independence ลำแรก

Singapore navy takes delivery of its first Littoral Mission Vessel
The first Littoral Mission Vessel, Independence, was launched on 3 July 2015. Source: IHS/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/60772/singapore-navy-takes-delivery-of-its-first-littoral-mission-vessel

วันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา กองทัพเรือสิงคโปร์ได้รับมอบเรือ Littoral Mission Vessel ชั้น Independence ลำแรก ถือเป็นก้าวสำคัญของโครงการพัฒนาในระยะระหว่างขั้นการรับมอบเรือ
เรือ Independence จะถูกนำไปทดสอบที่กองเรือที่182(182 Squadron) ซึ่งมีที่ตั้งที่ฐานทัพเรือ Tuas ทางตะวันตกของสิงคโปร์

โครงการสร้างเรือ Littoral Mission Vessel ทั้งหมด 8ลำ เป็นเรือรบเอนกประสงค์พหุภารกิจ ระวางขับน้ำ 1,250tons ความยาวเรือ 80m
ได้รับสัญญาจัดหาจากกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เมือเดือนมกราคม 2013 เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ชั้น Fearless จำนวน 11ลำ ที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งเข้าประจำการมาตั้งแต่กลางปี 1990s
เรือ LMV ถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือของบริษัท Singapore Technologies (ST) Marine ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกลุ่มบริษัท ST Engineering สิงค์โปร์
โดยเรือ LMV เป็นการออกแบบร่วมกันระหว่าง ST Marine สิงคโปร์ และ Saab Kockums AB สวีเดน ตัวโครงการถูกบริหารจัดการโดย Defence Science and Technology Agency (DSTA) ซึ่งหน่วยงานด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ของสิงคโปร์

"การเดินทางได้มาถึงขั้นนี้โดยใช้เวลาเพียง 51เดือนเท่านั้น และมันไม่มีการกระทบกระเทือน แต่ทีมงานก็ได้เผชิญความท้าทายในหลายๆครั้ง
ถ้าพิจารณาว่านี่เป็นเรือลำแรกของชั้น ระยะเวลา 51เดือนถือเป็นผลรางวัลความสำเร็จอันมีค่ายิ่ง ผมอยากจะขอบคุณและแสดงความยินดีต่อหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของเราทั้ง DSTA และกองทัพเรือสิงคโปร์
เช่นเดียวกับหุ้นส่วนของเรารายอื่นๆอีกมากมายที่รวมถึง Saab Kockums และ DNV-GL สำหรับผลงานของพวกเขาต่อความสำเร็จในก้าวนี้"
Ng Sing Chan ประธาน ST Marine ได้กล่าวในแถลงการณ์ทาง E-mail ที่ส่งถึง Jane's

RSS Independence ซึ่งเป็นเรือ LMV ลำแรกถูกปล่อยลงน้ำที่อู่ต่อเรือ Benoi ของ ST Marine เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2015 และผ่านชุดการทดสอบหน้าท่า(harbour acceptance test) และในทะเล(sea trial)มาจนถึงเดือนเมษายน 2016
"ผลสมรรถนะที่ได้จากทดสอบเหล่านี้อยู่ภายใต้คุณสมบัติและความคาดหวังของเรา" นาวาโท Chew Chun-Chau หัวหน้าโครงการ LMV กล่าวกับ Jane's และให้ข้อมูลเพิ่มว่าคาดว่าเรือจะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2017 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กองทัพบกไทยได้รับมอบรถถังหลัก Oplot เพิ่มเติม

Thailand takes delivery of more Oplot MBTs
http://www.janes.com/article/60677/thailand-takes-delivery-of-more-oplot-mbts

http://bmpd.livejournal.com/1916913.html
(ภาพนี้มีการยืนยันแล้วว่าน่าจะเป็นภาพที่ถ่ายในช่วงการส่งมอบครั้งที่สองเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘ แต่ถูกเผยแพร่จาก Facebook และ Blog รัสเซีย-ยูเครนในช่วงเดือนนี้ของปีนี้อ้างว่าเป็นการส่งมอบครั้งล่าสุด)

Jane's ได้รายงานข้อมูลที่ได้รับจากสื่อเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคมว่า กองทัพบกไทยได้รับมอบรถถังหลัก Oplot ชุดใหม่เพิ่มเติมจากยูเครนแล้ว
โดยการส่งมอบรถถังหลัก Oplot ครั้งล่าสุดนี้นับเป็นชุดที่สามแล้วจำนวน๑๐คัน ตั้งแต่ชุดแรก ๕คันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗(2014) และชุดที่สอง ๕ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘(2015) ทำให้ล่าสุดกองทัพบกไทยมีรถถังหลัก Oplot ประจำการแล้วรวม ๒๐คัน
ตามรายงานของสำนักข่าวยูเครน Interfax-Ukraine รถถังหลัก Oplot ซึ่งออกแแบบโดย KMDB(Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau) และทำการผลิตที่โรงงาน Malyshev นั้นถูกจัดส่งทางเรือมาที่ฐานทัพเรือสัตหีบ
มีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่ารถถังหลัก Oplot ชุดต่อไปจะมีกำหนดส่งมอบเพิ่มอีกภายในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก BM Oplot จากยูเครนจำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
อย่างไรก็ตามการผลิตและส่งมอบ ถ.หลัก Oplot ให้ไทยนั้นมีความล่าช้าอย่างมาก เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
ที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea ปี2014 และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ต่อสู้กับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนตั้งแต่ช่วงปี 2014-2015 และจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้มีรายงานว่าทางกองทัพบกไทยจะขยายระยะเวลาการส่งมอบรถถังหลัก Oplot กับทางยูเครนไปถึงปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่งรถถังหลัก Oplot ของกองทัพบกไทยถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ ครับ

การฝึกผสม Guardian Sea 2016 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ

เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ทั้งสองลำคือ ร.ล.นเรศวร(421) และ ร.ล.ตากสิน(422)
FFG-421 HTMS Naresuan and FFG-422 HTMS Taksin

เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ SSN-711 USS San Francisco


ฮ.ปด.๑ SH-60B กองการบินทหารเรือ และ ร.ล.จักรีนฤเบศร(911)
CVH-911 HTMS Chakri Naruebet and SH-60B Royal Thai Navy



Royal Thai Navy FFG-421 HTMS Naresuan, FFG-422 HTMS Taksin and US Navy DDG-63 USS Stethem

การฝึกผสม “Guardian Sea 2016”ระหว่างกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 24 – 27 พฤษภาคม 2559 ในพื้นที่ทะเลอันดามัน 
เป็นการฝึกผสมการทดสอบขีดความสามารถของเรือในกองทัพเรือไทยในการปราบเรือดำน้ำ และการพัฒนาการปฏิบัติการทางเรือร่วมระหว่างกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 
โดยมี พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ

สำหรับในการฝึก Guardian Sea 2016 ได้จัดตั้งหมวดเรือเฉพาะกิจฝึกปฏิบัติการระยะไกล (มวก.59.2) โดยมี พล.ร.ต. วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมวดเรือเฉพาะกิจ
ฝึกปฏิบัติการระยะไกล (ผบ.มวก.59.2) โดยมีกำลังในการฝึกฯ ประกอบด้วย
1. กำลังของกองทัพเรือไทย
1.1 เรือหลวงจักรีนฤเบศร
1.2 เรือหลวงตากสิน
1.3 เรือหลวงนเรศวร
1.4 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.1 (S-70B) จำนวน 3 เครื่อง

2. กำลังของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
2.1 เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ USS STETHEM DDG-63(Arleigh Burke -Class)
2.2 เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ USS San Francisco SSN-711 (Los Angeles -Class)
2.3 เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล พี - 8(P-8A Poseidon)
สำหรับการฝึกกองทัพเรือ ปี 2559 มอบหมายกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ (กรฝ.ทร.59) ทำการฝึก
ณ บริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยกองเรือฝึกฯ ทำการฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ และ การฝึกหมู่เรือให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย ทำการฝึกในทะเลพื้นที่อ่าวไทย และอันดามัน ระว่างวันที่
17 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2559
สำหรับกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2559 แบ่งการฝึกดังนี้
1. กองเรือฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ
1.1 การฝึกปฏิบัติการทางเรือในสาขาที่สำคัญ เป็นการฝึกประลองยุทธ์ในทะเลแบ่งเป็น 2 กองเรือ และกำลังของทัพเรือภาคที่ 1 - 3 ระหว่างวันที่ 17 - 22 พฤษภาคม 2558 ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย และอันดามัน
1.2 การฝึกผสม Guardian Sea 2016 เป็นการฝึกยุทธวิธีปราบเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2559 ในพื้นที่ทะเลอันดามัน โดยมีหัวข้อในการฝึก ประกอบด้วย
- ฝึกความคุ้นเคยกับเรือดำน้ำ
- ฝึกติดตาม และวิเคราะห์เป้าเรือดำน้ำ
- ฝึกการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าเรือดำน้ำ และขั้นต่อตีเรือดำน้ำ เป้าเรือดำน้ำ
- ฝึกสถานการณ์คุ้มกันระบบเรือ จากการโจมตีของเรือดำน้ำ
- การถ่ายรูปกระบวนเรือฝึกทางอากาศ
1.3 การฝึกร่วมกองทัพเรือ-กองทัพอากาศ (สนธิการฝึกกับ การฝึกแผนเฉลิมอากาศของ กองทัพอากาศ) ระหว่างวันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2559 ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตอนบน
2. การฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย
(การฝึกหมู่เรือให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย) ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม –2 มิถุนายน 2559 
โดยในวันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2559 นำกำลังทางเรือไปจัดตั้งหน่วยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย ณ เกาะเสม็ด ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ที่มา:ภาพ/จิรายุ หิรัญญะเวช ช่างภาพนิตยาสารท็อปกัน
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1181281628589858
https://th-th.facebook.com/prthainavy








SH-60B Royal Thai Navy carrying a Mark 46 lightweight torpedo(training torpedo)

การฝึกปราบเรือดำน้ำ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.1 (S–70 B) ในการทำลายเป้าเรือดำน้ำในเวลากลางคืน ในการฝึกผสม “Guardian Sea 2016
วานนี้(25 พฤษภาคม 2559 ) เวลา 20.00 น. หมวดเรือเฉพาะกิจฝึกปฏิบัติการระยะไกล (มวก.59.2) กองเรือฝึกกองทัพเรือ ประจำปี2559 
โดยมีพลเรือตรี วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมวดเรือเฉพาะกิจฝึกปฏิบัติการระยะไกล (ผบ.มวก.59.2) 
ทำการฝึกปราบเรือดำน้ำ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.1 (S–70 B) ในการทำลายเป้าเรือดำน้ำในเวลากลางคืน ในการฝึกผสม “Guardian Sea 2016”ระหว่างกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 
เพื่อทำการทดสอบขีดความสามารถขององควัตถุ องค์บุคคล และองค์ยุทธวิธี ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย 
ซึ่งการฝึกในครั้งนี้สมมุติสถานการณ์ว่าตรวจพบและพิสูจน์ทราบเป้าว่าเป็นเรือดำน้ำ ทาง ผู้บัญชาการสั่งการทางยุทธวิธี บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร(OTC.) สั่งการให้ทำการโจมตีเป้าเรือดำน้ำ 
โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.1 (S–70 B) ทำการติดตั้งตอร์ปิโด MK.46(ลูกฝึก) เพื่อใช้ในการทำลายเป้าเรือดำน้ำ 
ซึ่งในการฝึกครั้งนี้ใช้เวลาในการเตรียมการในการติดตั้งตอร์ปิโด MK.46 จนเครื่องขึ้นจากเรือหลวงจักรีนฤเบศร เพื่อเข้าทำการโจมตีเป้าเรือดำน้ำใช้เวลาเพียง 14.28 นาที
นับเป็นการฝึกความพร้อมอีกขั้นหนึ่งของทัพเรือในการปราบเรือดำน้ำในเวลากลางคืนและมีคลื่นลมแรง

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1181776695207018

https://th-th.facebook.com/prthainavy

USN, Royal Thai Navy conduct "most complex" anti-submarine exercise to date
The Royal Thai Navy's sole aircraft carrier HMTS Chakri Naruebet, seen here alongside in Sattahip naval base in 2013, is participating in Exercise 'Guardian Sea' with the US Navy from 23 to 27 May. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/60593/usn-royal-thai-navy-conduct-most-complex-anti-submarine-exercise-to-date

ด้านรายงานจาก Jane's เพิ่มเติมนั้นมีคำให้สัมภาษณ์จาก นาวาเอก H. B. le ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่7 (Destroyer Squadron 7) กองทัพเรือสหรัฐฯที่ได้แถลงในการฝึกทวิภาคีครั้งนี้ว่า
"การฝึก Guardian Sea ได้นำกองทัพเรือทั้งสองของเราสู่โอกาสและความท้าทายในการค้นหาและติดตามเรือดำน้ำ และสู่ขั้นตอนการฝึกที่เกี่ยวข้องในสงครามปราบเรือดำน้ำ
การฝึกในปีนี้จะเป็นการฝึกที่ซับซ้อนที่สุดในปัจจุบัน และเราจะมองไปข้างหน้าเพื่อทำงานร่วมกับกองทัพเรือไทยทั้งบนฝั่งและในทะเลเพื่อเพิ่มพูนทักษะและเสริมสร้างประสิทธิภาพในร่วมกันของเรา"
ซึ่งการฝึกร่วมทวิภาคีระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯครั้งนี้มีทั้งการฝึกภาคที่ตั้งบนฝั่งที่ประกอบด้วยการสัมมนาและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันของกองทัพเรือทั้งสองประเทศครับ

กองกำลังพลร่มรัสเซียจะจัดตั้งกองพันรถถังจำนวน6กองพันภายในสิ้นปี 2018

Russian Airborne Force to set up six tank battalions by end of 2018 — source
T-72B3 Tank
Dmitry Rogulin/TASS
Each large air assault unit will have a T-72B3 tank battalion by 2018
http://tass.ru/en/defense/877777

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองกำลังพลร่มกองทัพรัสเซีย(VDV) ได้ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว TASS ว่า กองพันรถถังจะถูกจัดตั้งขึ้นภายในหน่วยจู่โจมทางอากาศขนาดใหญ่ทั้ง 6หน่วยของกองกำลังพลร่มรัสเซียก่อนสิ้นปี 2018
"หน่วยจู่โจมทางอากาศขนาดใหญ่ของเราทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยสองกองพลและสี่กองพลน้อย จะเริ่มการจัดตั้งกองร้อยรถถังขึ้นภายในหน่วยในครึ่งหลังของปีนี้
เรากำลังมีแผนที่จะบรรลุงานนี้ภายในสิ้นปีเพื่อแปรสภาพกองร้อยรถถังเหล่านี้ให้เป็นกองพันรถถัง ดังนั้นแต่ละหน่วยจู่โจมทางอากาศขนาดใหญ่จะมีกองพันรถถังที่ประจำการด้วยรถถังหลัก T-72B3 ภายในปี 2018" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ TASS ยังไม่ได้รับข้อมูลอย่างเป็นทางการใดๆ ณ ขณะนี้

ก่อนหน้านี้ผู้บัญชาการกองกำลังพลร่มรัสเซีย พลเอก Vladimir Shamanov ได้เคยกล่าวว่าหน่วยพลร่มรัสเซียจะตั้งกองร้อยรถถัง 6กองร้อยในปี 2015
อย่างก็ตามแหล่งข่าวกล่าวว่าแผนการนี้ยังไม่ได้รับการตอบสนองเนื่องจากปัญหาวิกฤตด้านงบประมาณของรัสเซีย
"แผนนี้ได้มีการถูกปรับแต่งและเราจะเริ่มทำให้เป็นผลครึ่งหลังของปีนี้" แหล่งข่าวกล่าวกับ TASS ครับ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาพเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W กองทัพบกไทย

Unexpected C295W (Winglets) for Thailand spotted at Seville Airport today @alert5
https://twitter.com/ja_almarza/status/733714822064394240

ภาพนี้ถ่ายที่สนามบิน San Pablo ที่ Seville สเปน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอากาศยาน Airbus Defence and Space สเปน(EADS CASA เดิม)
จากภาพจะเห็นว่าเครื่องบินลำเลียง C-295W ที่มีปลายปีก Winglet ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2013 โดยมีกองทัพเรือเม็กซิโกเป็นลูกค้ารายแรกนี่ ทำสีเครื่องหมายของกองทัพบกไทยและทดสอบบินเรียบร้อยแล้ว
มีข้อมูลว่าการรับมอบเครื่องจะมีขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้ ราวเดือนกรกฎาคม โดยเข้าใจว่า บ.ล.๒๙๕ C-295W จำนวน ๑เครื่องนี้จะประจำการอยู่ใน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก กบบ.ขส.ทบ. ครับ
(มีรายงานข่าวในปีที่แล้วว่าโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง ๑เครื่องของกองทัพบกไทยตั้งวงเงินงบประมาณที่ ๑,๒๕๐ล้านบาท)

ข้อมูลจาก กองวิทยาการ กรมการขนส่งทหารบก
http://kvk94530.blogspot.com/2015/12/airbus-defence-spacee-c-295-w-295.html

Airbus Defence and Space C-295W (บ.ล.๒๙๕)
คุณลักษณะ และขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์
เป็นเครื่องบินลำเลียงมีระบบปรับความดันอากาศในห้องโดยสาร/บรรทุก ติดตั้งเก้าอี้แบบแถวเปล ๗๑ที่นั่ง พลร่ม ๕๐นาย น้ำหนักบรรทุกสูงสุด  8tons, เปลพยาบาล ๒๔เปล, แผ่นบรรทุกสัมภาระ 5 PALLET
เครื่องยนต์ GASTURBINE แบบ TURBO PROP ยี่ห้อ PRATT & WHITHEY รุ่น PW-127G กำลัง 2,645HP จำนวนสองเครื่องยนต์
ความเร็วเดินทาง 240Knots
พิสัยบิน 2,220nmi(น้ำหนักบรรทุก 3tons), 1,800nmi(น้ำหนักบรรทุก 5tons) , 735nmi (น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 8tons)
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 7,500liters
ความสิ้นเปลือง สป.๓ 762ลิตร/ชม.
สป.๓ ที่ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน JP-8 / JET A-1

ยูเครนวางแผนการตลาดส่งออกระบบเครื่องยนต์สำหรับรถถังหลัก

Ukraine markets MBT powerpack
The Oplot MBT, designed and built in Ukraine, is powered by the 6TD-2E engine developing 1,200 hp that provides a power-to-weight ratio of 23.5 hp/tonne. Source: Malyshev Plant

The latest 6TD six-cylinder diesel engine from the Malyshev Plant develops 1,500 hp. (Christopher F Foss)
http://www.janes.com/article/60525/ukraine-markets-mbt-powerpack

โรงงาน Malyshev รัฐวิสาหกิจในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัฐบาลยูเครน วางแผนการตลาดในการส่งออกเครื่องยนต์รถถังหลักรุ่นใหม่ 6TD-3 กำลัง 1,500HP ของตนสำหรับการปรับปรุงรถถังหลักที่มีใช้งานอยู่หรือติดตั้งกับรถถังประกอบใหม่ทั่วโลก
โรงงาน Malyshev มีประสบการณ์ในการผลิตรถถังหลักมาแล้วมากกว่า 20,000คัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ล่าสุดในตระกูลเครื่องยนต์ดีเซล 6TD แบบหล่อเย็นด้วยของเหลว หกลูกสูบ สองจังหวะ ใช้เชื้อเพลิงได้หลายประเภทแบบ supercharge นั้น
มีคุณสมบัติสำคัญคือหัวฉีดเชื้อเพลิงเผาไหม้โดยตรง, ระบบหล่อลื่นภายใน, ด้านบนของชุดเครื่องยนต์มีระบบหล่อเย็นแบบปลด, ระบบส่งกำลังปรับระดับขึ้น และระบบควบคุม Hydraulic และระบบหล่อลื่นชุดส่งกำลัง ตัวถังชิ้นส่วนเครื่องยนต์ยังประกอบด้วยระบบทำความสะอาดอากาศ, ช่องอากาศเข้า และท่อก๊าซ

ตามข้อมูลของโรงงาน Malyshev ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ 6TD สามารถทำให้รถถังสามารถปฏิบัติการได้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 55องศาเซลเซียโดยไม่สูญเสียกำลังเมื่อใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล
ระบบกรองอากาศแบบตัวกรองฝุ่นและตัวกรองแบบ cyclone อ้างว่าสามารถกรองอากาศที่จะเข้าเครื่องยนต์ได้ถึงร้อยละ99.8 ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ปฏิบัติการในพื้นที่ทะเลทราย ชุดอัดอากาศของเครื่องยนต์สามารถทำให้รถถังหลักลุยน้ำได้ลึก 1.8m โดยไม่ต้องเตรียมการ
และด้วยการออกแบบที่กะทัดรัดทำงานเข้ากับชุดเฟืองร่วมแกนด้านข้างสามารถใช้งานร่วมกับชุดส่งกำลังแบบกลับทางของบริษัทซึ่งอ้างว่าจะเพิ่มความเร็วในการเดินหน้าและถอยหลังได้ดียิ่งขึ้น ด้านบนของเครื่องยนต์ยังมีระบบป้องกันความร้อนเพื่อลดการแพร่สัญญาณจากท่อไอเสีย

บริษัทยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์ดีเซลตระกูล 3TD ซึ่งมีกำลังขับ 280-600HP และเครื่องยนต์ดีเซล 5TD กำลังขับ 700-1,050HP ที่ขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับรถถังหลัก โดยเลข 3,5,6 เป็นการกำหนดแบบตามจำนวนลูกสูบของเครื่องยนต์
บริษัทยังมีผลิตภัณฑ์ระบบหน่วยจ่ายกำลังเสริม APU ซึ่งเป็นระบบที่ติดตั้งกับรถถังหลักเป็นมาตรฐานที่สามารถทำให้เครื่องยนต์หลักสามารถดับเครื่องได้ขณะที่ยังคงใช้งานระบบที่ใช้ไฟฟ้าอื่นๆในตัวรถได้อยู่ครับ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๗

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.897550243701706.1073741837.500865796703488
https://www.facebook.com/ukroboronprom

ทั้งนี้มีข้อมูลอ้างอิงจากภาพในโรงงาน Malyshev ที่ยูเครนล่าสุดแสดงภาพรถถังหลัก Oplot ที่ประกอบจนเกือบเสร็จสมบูรณ์อย่างน้อยหนึ่งคัน โดยมีรายงานเพิ่มว่าตอนนี้ที่โรงงานกำลังผลิตชิ้นส่วนรถถังหลัก Oplot ถึงคันที่ ๒๔แล้วครับ
(ทั้งนี้จากรายงานที่ลงไปก่อนว่ามีการขนส่งรถถังหลัก Oplot ของกองทัพบกไทยชุดใหม่ ๑๐คันจากยูเครนมาไทยแล้วนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นความจริงหรือไม่ต้องรอการยืนยันข้อมูลก่อน จึงมีการแก้ไขใหม่ครับ)

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สวีเดนสั่งจัดหา Torpedo เบา Tp 47 จาก SAAB

Sweden orders new Tp 47 torpedo from Saab
The FMV has contracted Saab to develop a new lightweight torpedo, to be called Torpedo 47. Source: Saab
http://www.janes.com/article/60514/sweden-orders-new-tp-47-torpedo-from-saab

สำนักงานจัดหาอมภัณฑ์ความมั่นคงรัฐบาลสวีเดน(FMV)ได้ประกาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมว่า สวีเดนสั่งจัดหาการพัฒนาและผลิตระบบ Torpedo เบาจากบริษัท SAAB สัญญาวงเงิน 1.53 billion Swedish krona($184 million)
ระบบ Torpedo เบาใหม่ถูกเรียกว่า Torpedo 47 (Tp 47) ซึ่งจะถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรือสวีเดนแทน Torpedo 45 (Tp 45) ที่ใช้ประจำการอยู่ในปัจจุบัน
"Torpedo 47 จะมีประสิทธิภาพที่มากกว่า ทั้งความคงทนที่มากขึ้น มีระยะยิงไกลขึ้น และมีความเร็วสูงกว่า Torpedo 45 ที่ใช้งานอยู่ในตอนนี้" Mikael Ericsson หัวหน้าฝ่ายการรบใต้น้ำของ FMV กล่าว

ตามข้อมูลจาก FMV สวีเดน Torpedo เบาแบบ Tp 47 จะติดตั้งระบบค้นหาแบบ Passive และ Active พร้อมระบบสื่อสารด้วยเส้นลวดเช่นเดียวกับ Torpedo เบา Tp 45
FMV ยังให้ข้อมูลอีกว่า Tp 47 จะสามารถติดตั้งได้ทั้งเรือผิวน้ำ, เรือดำน้ำ และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ และสามารถใช้งานเขตน้ำตื้นซึ่งเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาของกองทัพเรือสวีเดนในการใช้งานในเขตทะเล Baltic ที่เป็นเขตน้ำตื้น
Torpedo เบา Tp 47 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 400mm เช่นเดียวกับ Tp 45 รุ่นก่อน ซึ่ง SAAB กล่าวว่าจะส่งมอบ Tp 47 ได้ในช่วงปี 2016-2024 ครับ

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รถถังหลัก VT4 MBT-3000 ในอนาคตของกองทัพบกไทย

NORINCO VT4 MBT-3000 Main Battle Tank(www.janes.com)

รถถังหลัก NORINCO VT4 (MBT-3000) กองทัพบกไทย 


VT4 MBT-3000 test in Pakistan(defence.pk)
คุณลักษณะเฉพาะ 

น้ำหนักพร้อมรบ: 52tons
พลประจำรถ: 3(ผู้บังคับการรถ, พลขับ, พลยิง)
อุณหภูมิใช้งาน: -25degree Celsius ถึง +55degree Celsius
อัตราส่วนแรงม้าต่อน้ำหนัก: น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23HP/ton
ความยาว(เมื่อปืนชี้ไปด้านหน้า): 10.1m
ความกว้าง(พร้อมแผ่นปิดสายพาน): 3.5m
ความสูง(ถึงด้านบนป้อมปืน): 2.4m


ความเร็วสูงสุดบนถนน: 70km/h
ความเร็วเฉลี่ยในภูมิประเทศ: 35-40km/h
อัตราเร่งจาก 0-32km/h: ๑๐-๑๒วินาที
ระยะปฏิบัติการ: 500km
ปีนที่ลาดชันได้สูงสุด: 60%
ปีนที่ลาดเอียงได้สูงสุด: 40%
ข้ามคูได้กว้าง: 2.7m
ข้ามเครื่องกีดขวางได้สูงสุด: 0.85m
ลุยน้ำลึก(มีการเตรียมการก่อน): 4-5m x 600mm

MBT-3000 test in Pakistan(defence.pk)

เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ดีเซลแบบ FW150 สี่จังหวะ ๑๒สูบ พร้อมเครื่องเพิ่มไอดี ระบายความร้อนด้วยน้ำ การควบคุมไฟฟ้า กำลัง 1,200HP ความเร็วรอบเครื่อง 2,200rpm
เครื่องเปลี่ยนความเร็ว: รุ่น Ch1000B Intergrated Transmission System


MBT-3000 test in Pakistan(defence.pk)


อาวุธ: ปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ 125mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ, ปืนกลร่วมแกน Type 86 ขนาด 7.62mm ๒,๕๐๐นัด, ปืนกลหนักต่อสู้อากาศยาน 12.7mm Remote Weapon Station
ระบบควบคุมการยิง: แบบ Hunter-Killer พร้อมระบบติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ, กล้องสร้างภาพความร้อน Gen II สำหรับ ผบ.รถ, พลขับ และพลยิง และระบบควบคุมอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง
ระบบรักษาการทรงตัวปืนใหญ่รถถัง: Stabilizer ควบคุมด้วยไฟฟ้าสองทิศทาง




กระสุนปืนใหญ่รถถัง: กระสุนแบบกึ่งแยกส่วนขนาด 125mm จำนวน ๓๘นัด มีกระสุนในเครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติ ๒๒นัด ความเร็วในการบรรจุกระสุน ๘นัดต่อนาที
ชนิดกระสุนปืนใหญ่รถถัง: กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งเองทรงตัวด้วยครีบหาง APFSDS, กระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง HEAT, กระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะ HESH และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง (9M119M Refleks NATO กำหนดรหัส AT-11 Sniper)
เครื่องยิงลูกระเบิดควัน: เครื่องยิงลูกระเบิดควัน 76mm ๘ท่อยิง และลูกระเบิดสังหาร ๔ท่อยิง

MBT-3000 test in Pakistan(defence.pk)

เกราะป้องกัน: เกราะวัสดุผสม Composite และเกราะปฏิกิริยา Reactive Armour
การป้องกันรอง: ระบบป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี แบบส่วนรวมและรายบุคคล, เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ, ถังดับเพลิง และเครื่องระงับการระเบิด
การป้องกันเชิงรุก: ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Laser, ระบบพิสูจน์ฝ่าย IFF
ระบบสื่อสาร: ระบบวิทยุไร้สาย VHF, ระบบติดต่อภายใน Intercom system แบบ Digital มีระบบรับข้อมูลข่าวสารของยานพาหนะ

หลังจากที่มีกระแสข่าวและข้อมูลมาต่อเนื่องในช่วง๑-๒ปีนี้จนถึงช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในที่สุดก็มีรายงานออกมาชัดเจนว่า
กองทัพบกไทยได้ลงนามจัดหาจัดหารถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 จาก NORINCO สาธารณรัฐประชนจีนจำนวน ๒๘คัน ไปตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนแล้ว
โดยจะเข้าประจำการแทนรถถังเบา M41A3 ที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ใน กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์
แหล่งข้อมูลที่พอจะน่าเชื่อถือได้เช่น TAF, สำนักข่าวไทย และ Facebook page Combat Zones นิตยสาร Battlefield Defense ของ บก.สมพงษ์ นนท์อาสา ซึ่งต่างเป็นผู้รายงานข่าวนี้เป็นกลุ่มแรกๆจะยังไม่มีข้อมูลชัดเจนมากพอในบางด้าน

ถึงแม้ว่ายังไม่ทราบแน่ชัดในขณะนี้ว่าโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ใหม่จำนวน ๒๘คันของกองทัพนี้มีวงเงินเท่าใด
ซึ่งมีข้อมูลจากบางสื่ออกมาก่อนหน้านี้ว่าสำหรับโครงการจัดหารถถังหลักใหม่จำนวนหนึ่งกองพันทหารม้ารถถังประมาณ ๕๐คัน ตั้งไว้ที่ ๘,๙๙๗,๔๕๐,๐๐๐บาท
ถ้าเป็นความจริงการจัดหา ถ.หลัก VT4 ครั้งนี้ไม่น่าจะใช้วงเงินถึง ๙,๐๐๐ล้านบาท เพราะจัดหาเพียง ๒๘คัน โดยเป็นการจัดหาในปีงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑(2016-2018)
ทั้งนี้ในช่วงที่รถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2014 มีรายงานเบื้องต้นว่าราคารถต่อคันอยู่ที่ $3 million
ต่อมาในโครงการจัดหารถถังหลักใหม่ของกองทัพบกเปรูที่จีนเสนอ ถ.หลัก MBT-3000 นั้นราคารถต่อคันได้เพิ่มเป็นที่คันละ $4 million
สำหรับข่าวรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ของกองทัพบกไทยเองนั้น บก.สมพงษ์ได้ให้ข้อมูลในช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่าทางรัสเซียเสนอรถถังหลัก T-90MS ราคาคันละ $7.5 million (ราคาพอๆกับรถถังหลักตะวันตก) ขณะที่จีนเสนอ VT4(MBT-3000) ที่คันละ $5.5 million
แต่ บก.สมพงษ์แจ้งข้อมูลล่าสุดว่าราคาอยู่ของรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ที่คันละ $4.9 million

Thailand to procure MBT-3000 tanks from China
http://www.janes.com/article/60340/thailand-to-procure-mbt-3000-tanks-from-china

ถ้าอ้างอิงข้อมูลจากรายงานของ Jane's ในข้างต้นที่มีเพิ่มเติมมาว่า อาจจะมีการส่งมอบรถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 ภายในก่อนสิ้นปี 2016 นี้ (ซึ่งส่วนตัวเข้าใจว่าอาจจะเป็นรถชุดก่อนสายการผลิต Pre-Production จำนวนไม่กี่คันสำหรับทดสอบที่ศูนย์การทหารม้า)
และจะทยอยส่งมอบรถชุดแรกจนครบภายในสองปีคือ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๑(2017-2018) และมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าวงเงินการจัดหาโครงการคาดว่าอยู่ที่ประมาณ $150 million หรือประมาณ ๕,๓๐๔ล้านบาท ซึ่งเป็นไปได้สำหรับรถ ๒๘คันตามราคาต่อคันในข้างต้น
คงจะแน่นอนด้วยว่าถ้ามีการรับมอบรถถังหลัก VT4 จนครบชุดแรกที่สั่งจัดหาและผ่านการทดสอบตรวจรับมอบรถจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว คงจะมีการสั่งจัดหารถเพิ่มเติมในปีงบประมาณถัดไปจนครบอย่างน้อยหนึ่งกองพัน ซึ่งกองทัพบกต้องการรถถังหลักเพิ่มราว ๑๕๐คันครับ

(อัตราการจัดกองพันทหารม้า(รถถัง) ตาม อจย.๑๗-๑๕ ประกอบด้วย
หนึ่งกองบังคับการกองพัน และกองร้อยกองบังคับการกองพันทหารม้า กับสามกองร้อยรถถัง

อัตราการจัด บก.พัน และร้อย.บก.พัน ตาม อจย.๑๗-๑๖ ประกอบด้วย
-บก.พัน
-ร้อย.บก.พัน ประกอบด้วย บก.ร้อย, ตอนธุรการและกำลังพล, ตอนการข่าว, ตอนยุทธการ, ตอนส่งกำลัง, ตอนสื่อสาร และตอนซ่อมบำรุง

อัตราการจัดกองร้อยรถถัง ตาม อจย.๑๗-๑๗ ประกอบด้วย
กองบังคับการกองร้อย ประกอบด้วย หมู่บริการ, หมู่ซ่อมบำรุง, หมู่น้ำมัน/กระสุน ,หมู่ส่งกำลัง กับสามหมวดรถถัง

หนึ่งหมวดรถถังจะมีรถถังหลักจำนวน ๕คัน โดยเป็นรถของผู้บังคับหมวด ๑คัน หนึ่งกองร้อยรถถังจะมีรถถังหลัก ๑๕คัน+รถถังของผู้บังคับกองร้อย ๑คันเป็น ๑๖คัน
สามกองร้อยรถถังมีรถถัง ๔๘คัน+รถถังของผู้บังคับกองพันอีก ๑คันเป็น ๔๙คัน ดังนั้นหนึ่งกองพันทหารม้ารถถังจะมีรถถังหลักประมาณ ๕๐คัน)

เรื่องเครื่องยนต์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีข้อสงสัย โดยทางสำนักข่าวไทยรายงานว่ารถถังหลัก VT4 ที่กองทัพบกสั่งจัดหาจะใช้เครื่องยนต์ Deutz เยอรมนีนั้น
ไปค้นใน Google เจอบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องยนต์รายนี้ของจีนมาหลายรายครับเช่น

SHANGHAI CLIENT DIESEL ENGINE CO.,LTD
http://www.client-engine.com/TANKS.html
http://www.client-engine.com/Chinese.html
http://www.client-engine.com/Germany.html
http://www.client-engine.com/Russia.html

บริษัท SCDE นี้จัดจำหน่ายและผลิตเครื่องยนต์สารพัดแบบ DEUTZ, MTU ฯลฯ ตั้งแต่รถยนต์ส่วนบุคคลจนถึงรถถังหลักทั้งของจีนเอง เยอรมนี และรัสเซีย
เท่าที่ทราบการทำงานของบริษัทผลิตอาวุธของจีนจะใช้วิธีจ้างบริษัทย่อยๆในเครือหรือที่เป็นพันธมิตรกัน ทำงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆแล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน
ซึ่งบริษัท Deutz เยอรมนีเองก็มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ Dalian ตั้งแต่ปี 2007 http://www.deutz.com/company/production_locations/dalian.en.html
ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่าบริษัท SCDE ที่ว่านี้ซึ่งผลิตเครื่องยนต์ของรถถังหลัก Type 99 กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนนี่เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ของรถถังหลัก VT4 MBT-3000 ให้ NORINCO ด้วยหรือไม่(สงสัยเรื่องความน่าเชื่อถือ)
และการสั่งจัดหาเครื่องยนต์ของ Deutz เยอรมนีจากบริษัทจีนมาติดตั้งให้รถถังไทย หรือจะมีสิทธิบัตรการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลรถถังหลัก Deutz ในจีนมาติดให้รถถังไทยจริงหรือไม่ด้วยนั้นไม่อาจทราบได้เลย

อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์ Deutz สำหรับรถรบทางทหารนั้นมักจะถูกใช้ในรถหุ้มเกราะสายพานหรือรถหุ้มเกราะล้อยางโดยยังไม่เคยมีข้อมูลเครื่องยนต์ขนาด 1,000HP ขึ้นไปสำหรับรถถังหลัก
ตัวอย่างเช่นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล 8x8 ZBL-09 หรือ Type 07P ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่มีการอ้างว่าใช้เครื่องยนต์ดีเซล Deutz BF6M1015C กำลัง 440HP
(รุ่นส่งออกของ ZBL-09 คือรถหุ้มเกราะล้อยาง VN1 8x8 ที่ส่งออกให้นาวิกโยธินกองทัพเรือเวเนซูเอลาเป็นลูกค้ารายแรก)
ส่วนรถถังหลัก Type 99 กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนนั้นมีการอ้างว่าใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 1,500HP ที่มีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ MTU 871 Ka-501 เยอรมนี
ทั้งนี้ทาง บก.สมพงษ์ได้ให้ข้อมูลว่าเครื่องยนต์ของรถถังหลัก VT4(MBT-3000) คือเครื่องยนต์ดีเซล VT/E1 กำลัง 1,200HP ของ NORINCO จีนเอง
ซึ่งมีข้อมูลบันทึกใน Army-Guide.com http://www.army-guide.com/eng/product5226.html
แต่ทั้งนี้เองแคร่รถฐานของรถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 นั้นพัฒนามาจากรถถังหลัก VT1A หรือ MBT-2000 รุ่นก่อนซึ่งมีพื้นฐานพัฒนามาจากรถถังหลัก Type 90-IIM อีกที
ขณะที่แคร่รถฐานของรถถังหลัก Type 99 จะเป็นอีกแบบที่พัฒนาเพิ่มเติมซึ่งมีจุดแตกต่างกันอยู่ในส่วนของการวางตำแหน่งเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง และท่อไอเสีย
ดังนั้นในกรณีที่ว่าเครื่องยนต์ของ ถ.หลัก VT4 นั้นจะเป็นเครื่องยนต์เยอรมันหรือเครื่องยนต์จีนที่ได้ Technology จากเยอรมนีก็ยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ครับ

PLA 125mm APFSDS round

Chinese 125mm APFSDS round for Export

9M119M 125mm Anti-Tank Guided Missile(wikipedia.org)

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง KOMBAT 125mm สำหรับรถถังหลัก Oplot กองทัพบกไทย ที่ทดสอบการยิงในไทย

ด้านระบบอาวุธในภาพรวมนั้นรถถังหลัก VT4(MBT-300) มีระบบอาวุธประจำรถหลักรูปแบบเดียวกับรถถังหลัก Oplot ที่กองทัพบกไทยจัดหามาประจำการก่อน
แต่ทั้งนี้มีการอ้างอิงว่าปืนใหญ่รถถังที่ติดตั้งกับ ถ.หลัก VT4 หรือ MBT-3000 นั้นเป็นแบบเดียวกับที่ติดตั้งกับรถถังหลัก Type 98/Type 99 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเอง
คือปืนใหญ่รถถัง ZPT-98 ขนาด 125mm/50caliber ซึ่งมักจะถูกอ้างว่า Technology ลำกล้องมาจากปืนใหญ่รถถัง Rheinmetall 120mm เยอรมนี
ทำให้ ปถ.ZPT98 จีนมีความเร็วต้นกระสุนสูงกว่า ระยะยิงไกลกว่า อำนาจการเจาะเกราะสูงกว่า และมีความแม่นยำกว่า เมื่อเทียบกับปืนใหญ่รถถัง 2A46 125mm/48caliber รัสเซียและ KBA-3 ยูเครนที่ติดตั้งกับ ถ.หลัก Oplot เมื่อใช้กระสุนแบบเดียวกัน
อย่างกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว APFSDS(Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) ขนาด 125mm ซึ่งจีนผลิตส่งออกให้ประเทศที่จัดรถถังของตนและสามารถใช้ร่วมกับกระสุนของรัสเซียอย่างที่ใช้กับรถถังหลัก T-72 ได้
รวมถึงการอ้างว่ารถถังหลัก VT4 นั้นสามารถทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M119M Refleks ระยะยิง 5,000m ซึ่งจีนได้สิทธิบัตรการผลิตในประเทศจากรัสเซียเช่นเดียวกับรถถังหลัก Type 99
นั่นอาจจะทำให้รถถังหลัก VT4 จะเป็นรถถังหลักแบบที่สองของกองทัพบกไทยที่ทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังจากปืนใหญ่รถถังได้เช่นเดียวกับรถถังหลัก Oplot ที่จัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง KOMBAT มาใช้งาน

อีกทั้งอ้างว่าระบบควบคุมการยิง(Fire Control System) และระบบอำนวยการสนามรบ(Battlefield Management System) ของรถถังหลัก VT4(MBT-300) ยังมีความก้าวหน้าทันสมัยกว่ารถถังหลัก Oplot มาก
จะเห็นได้จาก Video Clip ที่ลงในข้างต้นแสดงให้เห็นถึงสถานีพลขับ สถานีพลยิง และสถานี ผบ.รถ ภายในมีระบบแผงควบคุมต่างๆและจอแสดงผล Digital และกล้องมองภาพรอบตัวรถที่ทันสมัยกว่า ถ.หลัก Oplot
และระบบเกราะป้องกันของรถทั้งเกราะวัสดุผสม Composite และเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour)
รวมถึงระบบป้องกันเชิงรุก APS(Active Protection System) แบบ GL5 ที่เลือกติดตั้งได้(แต่ไม่มีข้อมูลมากนัก) และระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Laser (LWR: Laser Warning Receiver) ของ ถ.หลัก VT4 นั้น
ถูกอ้างว่าแม้จะลดระดับมาจาก ถ.หลัก Type 99A แต่ก็เหนือกว่า ถ.หลัก Oplot ที่ติดตั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA แบบ Nozh และระบบป้องกันเชิงรุก APS แบบ Varta ที่ประกอบด้วยระบบตรวจจับ Laser และระบบลวงสัญญาณ Infrared Jammer เป็นต้น

การที่จีนจะถ่ายทอด Technology บางรายการให้ไทยโดยรวมมือกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท.(DTI) ตามสัญญาการจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) นั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจครับ
เราคงไม่เรียกการถ่ายทอดขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงว่า Technology Transfer ได้ครับ เพราะนั่นเป็นสัญญาพื้นฐานของการจัดหายุทโธปกรณ์แทบจะทุกรายการตามปกติอยู่แล้ว
แต่ทั้งนี้สายการผลิตรถถังหลัก VT4 ของกองทัพบกไทยเองก็ยังคงทำการผลิตประกอบที่โรงงานของ NORINCO ในจีนครับ

Oplot-M test in Pakistan(defence.pk)

ขณะที่การทดสอบแข่งขันโครงการคัดเลือกรถถังหลักใหม่ของกองทัพบกปากีสถานที่ทดสอบในทะเลทรายนั้น
รถถังหลัก MBT-3000 จีนที่แข่งกับรถถังหลัก Oplot ยูเครนที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 6TD-3 ใหม่กำลัง 1,500HP ที่มีรายงานว่า ถ.หลัก Oplot มีคะแนนสูงกว่า ถ.หลัก MBT-3000
โดยรถถังทั้งสองแบบมีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์พอจะใช้งานอย่างหนักในเขตทะเลทราย
อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดจากการอ้างอิงของนิตยสาร  Kanwa Asian Defence (https://www.kanwa.com) นั้นระบุว่า
ดูเหมือนทางปากีสถานดูจะเอนเอียงไปทางรถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 ที่จีนให้สัญญาว่าจะไปปรับปรุงรถให้ตรงตามความต้องการของปากีสถาน
โดยจะใช้ Technology ล่าสุดจากรถถังหลัก Type 99A รุ่นล่าสุดที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนกับ MBT-3000(VT4) ของปากีสถานด้วยนั้น
จีนยังได้เสนอการถ่ายทอด Technology ในการเปิดสายการผลิตรถถังหลัก MBT-3000 หรือ VT4 ในปากีสถานด้วย(มักจะถูกอ้างในชื่อรถถังหลัก Al-Haider)
ซึ่งก็ได้เคยรายงานในบทความก่อนหน้านี้แล้วครับว่า โรงงาน Heavy Industries Taxila ปากีสถานได้ทำการประกอบสร้างรถถังหลักที่ได้สิทธิบัตรจากจีนในประเทศมาแล้วหลายรุ่น
เช่น รถถังหลัก Type 69-II, Type 85-IIAP และ Al-Khalid ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 6TD-2 กำลัง 1,200HP ยูเครนเช่นเดียวกับรถถังหลัก Oplot
นั่นทำให้ ถ.หลัก VT4(MBT-3000) จีนค่อนข้างจะได้เปรียบในโครงการจัดหารถถังหลักของกองทัพบกปากีสถานนี้มากอยู่บ้าง


VT2 Main Battle Tank(Type 96A export variant) NORINCO Armor Day 2014

Type 96 Main Battle Tank Sudanese Army(defence.pk)

สำหรับ NORINCO จีนแล้วได้วางตลาดผลิตภัณฑ์รถถังหลักของตนในปัจจุบันด้วยกันสามรุ่นครับ
คือรถถังหลัก VT2 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของรถถังหลัก Type 96A ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เป็นรถถังที่มี Technology พื้นฐานถูกสุดสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัด
โดยรถถังหลักรุ่นก่อนคือรถถังหลัก Type 96 ซึ่งเป็นรถถังหลักยุคที่2.5 ที่นอกจากจะประการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ยังส่งออกให้กองทัพบกซูดานอีกประเทศ
ซึ่งในสงครามซูดาน-ซูดานใต้ ที่สมรภูมิ Heglig ปี 2012 นั้นมีรายงานว่ากองทัพบกซูดานได้ใช้ ถ.หลัก Type 96 ของตนยิงทำลายรถถังหลัก T-72 ของซูดานใต้ได้ ๔คันโดยที่ไม่มีการสูญเสียรถถัง Type 96 แม้แต่คันเดียว

MBT-2000(VT1A) Main Battle Tank Myanmar Army(mmmilitary.blogspot.com)

VT1A(MBT-2000) of the Bangladesh Army(wikipedia.org)

รถถังหลัก VT1A หรือ MBT-2000 เป็นรถถังหลักที่ระดับ Technology ก้าวหน้าปานกลางซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าที่ส่งออกได้หลายประเทศแล้วเช่น
ในกลุ่มประเทศ ASEAN คือ กองทัพบกพม่า, กองทัพบกบังคลาเทศ, กองทัพบกศรีลังกา, กองทัพบกโมร็อกโก และกองทัพปากีสถานในชื่อ Al-Khalid ที่ผลิตในประเทศที่ตามที่กล่าวไปข้างต้นเป็นต้น

และรถถังหลัก VT4 หรือ MBT-3000 เป็นรถถังหลักสำหรับส่งออกรุ่นล่าสุดที่มีระดับ Technology สูงสุดและราคาแพงที่สุด
ด้าน DTI ไทยนั้นได้มีความร่วมมือการถ่ายทอด Technology ด้านความมั่นคงร่วมกับจีนมาอย่างต่อเนื่อง
เช่น โครงการจรวดเพื่อความมั่นคง เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี DTI-1G ขนาด 302mm เป็นต้น
ถ้าตามสัญญาการจัดหา ถ.หลัก VT4 มีเรื่องถ่ายทอด Technology จริงนั่นก็ควรจะเป็น Technology รถถังหลักล่าสุดของจีนครับ แต่จะเป็นในรูปแบบใดและมากแค่ไหนก็ยังไม่ทราบในตอนนี้่เช่นกัน

รถถังหลัก Oplot กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ กองทัพบกไทย

แต่อย่างไรก็ตามก็อาจจะเห็นได้ครับว่าขณะนี้กองทัพบกให้ความสำคัญสำหรับการจัดหารถถังหลักใหม่ในส่วน กองพันทหารม้ารถถังประจำกองพลทหารราบ
นอกจากรถถังหลัก Oplot ที่กำลังจัดหาเข้าประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ที่ขณะนี้ได้รับมอบรถแล้ว ๑๐คันนั้น
ก็มีความชัดเจนจากกองทัพบกว่าจะยังจัดหารถให้ครบจำนวนที่ตั้งโครงการไว้ต่อไปโดยขยายระยะเวลาส่งมอบรถของทางยูเครนเป็นปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ซึ่งก็ตามที่ได้รายงานภาพสายการผลิตและทดสอบรถถังจากยูเครนมาต่อเนื่องครับว่าตอนนี้มี ถ.หลัก Oplot ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วอย่างน้อย ๕คัน และมีชิ้นส่วนหลักอยู่ในสายการผลิตที่โรงงาน Malyshev ถึงคันที่๒๑
ยังมี พัน.ม.ถ.ประจำ พล.ร.อีกหลายกองพันที่ยังใช้ ถ.เบา M41A3 อยู่นอกจาก ม.พัน.๔ รอ. คือ กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓, กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ และกองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕
ไม่นับ กองพันทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖ ที่ใช้รถถังหลัก M48A5 เช่นเดียวกับ ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ. และกองพลทหารม้าที่๓ ที่มีอัตราจัดกองพันทหารม้ารถถังในหน่วยขึ้นตรงคือ กรมทหารม้าที่๖ และกรมทหารม้าที่๗ ด้วย
ตรงนี้ก็คงต้องมาดูกันต่อไปครับว่าหลังจากที่ ม.พัน.๔ รอ.เริ่มได้รับมอบ ถ.หลัก VT4 MBT-3000 แล้ว ม.พัน.ถ.อื่นๆจะมีโครงการจัดหารถถังใหม่อย่างไร
และเช่นกันกับโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ครับว่า โครงการจัดหารถถังหลัก VT4 MBT-3000 นี่จะมีผลประสิทธิภาพการใช้งานที่แท้จริงออกมาอย่างไร เมื่อรถคันแรกถูกนำเข้าประจำการเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เช่นเดียวกันครับ

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

DSME เกาหลีใต้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำ KSS-III ลำแรก

DSME lays keel for South Korea's first KSS-III submarine
Keel-laying ceremony of South Korea's first KSS-III submarine. Source: DSME
http://www.janes.com/article/60461/dsme-lays-keel-for-south-korea-s-first-kss-iii-submarine

บริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำแบบ KSS-III ลำแรกของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี
โดยพิธีวางกระดูกงูเรือจัดขึ้นที่อู่ต่อเรือ Okpo บนเกาะ Geoje ทางตอนใต้ของเมือง Busan เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยได้มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำ KSS-III เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014

DSME ได้รับสัญญาจากสำนักงานโครงการจัดหาความมั่นคง(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี ในการสร้างเรือดำน้ำ KSS-III สองลำแรกขนาด 3,000tons สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อปลายปี 2012
เรือดำน้ำ KSS-III เป็นเรือดำน้ำแบบแรกที่ออกแบบพัฒนาโดยเกาหลีใต้เองทั้งหมด และจะเป็นเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ประจำการในกองทัพเรือเกาหลีใต้ โดยเรือลำแรกของชั้นจะเข้าประจำการได้ในราวปี 2020
ตามข้อมูลของบริษัท เรือดำน้ำ KSS-III มีความยาวเรือ 83.5m มีความกว้างรวม 7.7m และสูง 14.7m มีความเร็วสูงสุดประมาณ 20knots พิสัยทำการ 10,000nmi และมีกำลังพลประจำเรือ 50นาย
เรือดำน้ำ KSS-III ติดตั้งระบบเสากล้อง Optronic ค้นหาแบบไม่เจาะลำตัวเรือ Series 30 ของ Sagem ซึ่งสามารถติดตั้งกล้อง Electro-Optical ได้สี่ระบบ และบรรทุกระบบสงคราม Electronic และสายอากาศ GPS
เรือดำน้ำ KSS-III ยังติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง VLS 6ท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดิน Cheon Ryong ระยะยิง 1,500km
ซึ่งเรือดำน้ำ KSS-III จะติดตั้งระบบควบคุมและยิงอาวุธจาก Babcock ซึ่งมีคุณสมบัติระบบตั้งโปรแกรมค่าการยิงแบบเดียวกับที่ใช้ในเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Astute กองทัพเรืออังกฤษ

ทั้งนี้ DSME มีกำหนดการส่งมอบเรือดำน้ำ KSS-III ลำที่สองในปี 2022 ซึ่งคาดว่ากองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีความต้องการเรือดำน้ำ KSS-III อย่างน้อย 9ลำขึ้นไป
ซึ่งนับจากเรือดำน้ำ KSS-I ชั้น Chang Bogo(Type 209/1200) และเรือดำน้ำ KSS-II ชั้น Son Won-il(Type 214) จนถึงเรือดำน้ำ KSS-III ล่าสุดนี้จะเป็นการเพิ่มนาวิกานุภาพด้านสงครามใต้น้ำของกองทัพเรือเกาหลีใต้ให้สูงยิ่งขึ้นครับ