Russian fighter jet crashes over Mediterranean Sea
Both pilots have died in the crash
http://tass.com/world/1002713
Key facts about Russia’s Su-30 multirole fighter jet
Su-30 is a Russian two-seat multipurpose heavy fighter jet developed in the late 1980s
http://tass.com/defense/1002739
https://twitter.com/MGhorab3/
กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงต่อสื่อเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM กองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) ประสบเหตุตกในทะเล Mediterranean ซีเรีย โดยนักบินประจำเครื่องทั้งสองนายเสียชีวิต
"เวลา 0945 ของวันที่ 3 พฤษภาคม เครื่องบินขับไล่ Su-30SM ได้ตกในทะเล Mediterranean ระหว่างการไต่ระดับเพดานบินระยะสั้นหลังจากบินขึ้นจากฐานทัพอากาศ Khmeimim ซีเรีย" กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าว
"ตามการรายงานจากที่เกิดเหตุ นักบินทั้งสองนายพยายามที่จะทำให้เครื่องอยู่ในการควบคุมจนถึงวาระสุดท้าย และนักบินประจำเครื่องทั้งสองนายเสียชีวิต ไม่มีการยิงใดๆที่ถูกตัวเครื่องเกิดขึ้นจากข้าศึก"
กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า จากข้อมูลเบื้องต้นสาเหตุการตกน่าจะเกิดการที่มีนกบินเข้าไปชนเครื่องยนต์ โดยอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสูญเสียเครื่องบินขับไล่ Su-30SM เครื่องแรกของกองทัพอากาศรัสเซีย
Sukhoi Su-30(NATO กำหนดรหัส Flanker-C) เป็นเครื่องบินขับไล่หนักพหุภารกิจสองที่นั่งเรียงกันที่ถูกพัฒนาโดยสำนักออกแบบ Sukhoi ในช่วงปลายปี 1980s โดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ฝึกสองที่นั่ง Su-27UB ซึ่งเป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว Sukhoi Su-27
Su-30 ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมกลุ่มปฏิบัติการรบของเครื่องบินขับไล่ Su-27 เพื่อบรรลุภารกิจการครองอากาศ, คุ้มกันกำลังภาคพื้นดินและสิ่งปลูกสร้างฝ่ายเดียวกัน, ทำลายกองกำลังโจมตีทางอากาศข้าศึก, ลาดตระเวนทางอากาศ และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินและทางทะเล
เมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ Su-27 รุ่นพื้นฐาน Su-30 สามารถรองรับการติดตั้งใช้ระบบอาวุธและอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่หลากหลายกว่า และมีระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศในตัวเครื่อง
เครื่องบินขับไล่ Su-30 เครื่องต้นแบบก่อนสายการผลิตได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม 1989 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียปี 1992 แต่มีการส่งมอบในขณะนั้นเพียง 3เครื่องเท่านั้น
ในรัสเซียเครื่องบินขับไล่ Su-30 มีสายการผลิตที่โรงงานอากาศยาน Irkutsk(บริษัท Irkut) ที่ Siberia ตะวันออก และโรงงานอากาศยาน Komsomolsk-on-Amur(KnAAZ) ภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย
และนอกประเทศที่โรงงานอากาศยานของ Hindustan Aeronautics Limited(HAL) ที่ Nasik อินเดียสำหรับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force)
ช่วงกลางปี 1990s Su-30 ได้ถูกนำระบบมาพัฒนาเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นส่งออก Su-30K โดยมีลูกค้าส่งออกรายแรกคือกองทัพอากาศอินเดียที่จัดหาเป็นเครื่องบินคั่นระยะชั่วคราวก่อนที่จะได้รับมอบ Su-30MKI
(Su-30K ที่เคยประจำการในกองทัพอินเดียได้ถูกส่งมอบคืนให้รัสเซีย โดยปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ Su-30K ส่วนหนึ่งได้ถูกส่งออกต่อให้กับแองโกลาและอิรัก)
นอกจากกองทัพอากาศอินเดียที่มีเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI ประจำการราว 200เครื่อง เครื่องบินขับไล่ Su-30MK รุ่นส่งออกของรัสเซียได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในการจัดหาจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น
จีน(Su-30MKK), เวียดนาม(Su-30MK2, Su-30MKV), เวเนซุเอลา(Su-30MKV), อินโดนีเซีย(Su-30MK, Su-30MK2), มาเลเซีย(Su-30MKM), ยูกันดา(Su-30MK2) และแอลจีเรีย(Su-30MKI2)
ในปี 2017 รัสเซียได้ลงนามสัญญาส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-30SM แก่เบลารุส วันที่ 21 มกราคม 2018 ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu
รัสเซียและพม่าได้บรรลุข้อตกลงสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay)(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30.html)
การส่งมอบ Su-30 ที่ได้รับการปรับปรุงแก่กองทัพอากาศรัสเซียและกองการบินกองทัพเรือรัสเซียได้เริ่มต้นในปี 2010 โดยมีเครื่องบินขับไล่ Su-30M2 และ Su-30SM ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วรวมมากกว่า 50เครื่องที่ถูกส่งมอบแล้ว
โดยคำสั่งของประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ที่ออกเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2018 เครื่องบินขับไล่ Su-30SM ได้รับการรับรองสำหรับการเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย Su-30SM ส่วนหนึ่งยังถูกขายให้คาซัคสถานด้วย
Su-30 เป็นเครื่องบินที่ได้รับการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ปกติและมีการจัดเตรียมพร้อมการบูรณาการระบบ การติดปีกทรงสี่เหลี่ยมคางหมูกลางลพตัวเครื่องทำการส่งพื้นที่สร้างแรงยกเป็นชิ้นเดียวกัน
เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบมีสันดาปท้าย AL-31F สองเครื่องถูกติดตั้งในส่วนกลางลำตัวด้านท้ายของเครื่อง Su-30 มีสองแพนหางแนวตั้ง และมีชุดล้อลงจอด 3ฐานล้อ ที่หัวเครื่อง 1ชุดล้อ และท้ายเครื่องคู่ 2ชุดล้อ
Su-30MK มีความยาวตัวเครื่อง 21.9m ปีกกว้าง 14.7m สูง 6.4m น้่ำหนักบินขึ้นสูงสุด 34.5tons น้ำหนักบรรทุกรบสูงสุด 8tons พิสัยทำการไกลสุดเมื่อไม่เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 3,000km ความเร็วสูงสุด 2 Mach เพดานบิน 17,300m นักบิน 2นาย
Su-30 มีตำบลอาวุธนอกลำตัว 12จุดแข็ง สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น จรวดและระเบิดได้หลายแบบ และติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัด ภายในตัวเครื่องครับ