วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยได้รับงบประมาณสำหรับการศึกษาเพื่อสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กในประเทศ




British company BMT Defence Services Limited to be consult as supervisor for Naval Research & Development Office, Royal Thai Navy's Domestic Midget Submarine research and development programme.
company products include VIDAR-7 small submarine concept that designed to cover a multitude of covert roles and flexibly meet requirements within an increasingly challenging economic and operational climate.
http://www.bmtdsl.co.uk/bmt-design-portfolio/submarines/bmt-vidar-submarines/

Royal Thai Navy's Exibition 'NAVY RESEARCH 2018' in 17 July 2018




Royal Thai Navy's Naval Research & Development Office was approved budget about 193 million Baht($5.7 million) from Thai Goverment for Design Phase of Domestic Midget Submarine research and development programme.
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.2136715329906479

ในงานนาวีวิจัย 2018 กองทัพเรือไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ได้เปิดเผยว่า
คณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ได้อนุมัติงบประมาณราว ๑๙๓ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปี โดยโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย(Midget Submarine) ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ โดย สวพ.ทร. มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑.เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยยานใต้น้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ มาพัฒนาต่อยอด
๒.เพื่อสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ และการปฏิบัติการพิเศษ

ขอบเขตของการวิจัย กำหนดความต้องการทางยุทธการเบื้องต้น ดังนี้
คุณลักษณะทั่วไป
-ระวางขับน้ำ 150-300tons
-ระบบขับเคลื่อน
-ระบบควบคุมบังคับตามยุทธวิธีเรือดำน้ำ
-ระบบสื่อสาร ระบบตรวจจับ และระบบนำเรือผิวน้ำ และใต้น้ำ
-รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 350nmi

ขีดความสามารถทางยุทธการ
-การหาข่าว สอดแนม
-การสนับสนุนการฝึกปราบเรือดำน้ำ
-สนับสนุนชุดปฏิบัติการพิเศษได้ไม่น้อยกว่า ๗นาย
-ปฏิบัติการในระดับความลึกได้ถึง 80m
-รองรับลูกเรือไม่น้อยกว่า ๓นาย

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.บุคลากรได้รับองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการออกแบบการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กและงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงการป้องกันประเทศ 
เนื่องจากเทคโนโลยีเรือดำน้ำเป็นความลับและบางสถานการณ์ไม่สามารถจัดซื้อได้จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาสร้างองค์ความรู้นี้ขึ้นภายในประเทศเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งจะเป็นประโยชน์มีองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือต่อไป
๒.ได้แบบเรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับใช้สร้างต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อการวิจัยสำเร็จจะสามารถสร้างเรือดำน้ำในจำนวนเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้งาน
๓.ได้ต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่มีขีดความสามารถทางยุทธการ และคุณลักษณะเบื้องต้นตามที่กำหนด
๔.กองทัพเรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน ได้เริ่มต้นวางรากฐานการเสริมสร้างพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเรือดำน้ำ ยานปฏิบัติการใต้น้ำต่างๆ ซึ่งสามารถขยายผลไปสู่อุตสาหกรรมระดับประเทศได้ต่อไป

รายละเอียดการดำเนินการโครงการแบ่งกรอบระยะเวลาดังนี้
๑.ศึกษาออกแบบ สัมมนาดูงาน และพบที่ปรึกษา
   ๑.๑.อบรมหลักสูตรออกแบบเรือดำน้ำในต่างประเทศ ช่วงไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๑(Q1 2018), ไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๒(Q1 2019) และไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๓(Q1 2020)
   ๑.๒.สัมมนาดูงาน ช่วงไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๒(Q3 2019) และไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๓(Q3 2020)
   ๑.๓.พบที่ปรึกษา ช่วงไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q3 2018 - Q4 2021)
๒.คำนวนและออกแบบเบื้องต้น 
   ๒.๑.Conceptual Design ช่วงไตรมาสที่๒ พ.ศ.๒๕๖๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๒(Q2 2018 - Q4 2019)
   ๒.๒.Preliminaly Design ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๓(Q1-Q4 2020)
   ๒.๓.Basic & Detailed Design ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๓.จัดทำแผนการสร้างเรือ ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๔.จัดทำแผนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และประมาณราคาปี ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๕.ออกแบบเพื่อสร้าง(Design for Construction) ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๕(Q1-Q4 2022)  
๖.ดำเนินการสร้าง และจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ ช่วงไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๕ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๖(Q1 2022 - Q4 2023)
๗.ทดสอบ ทดลอง และฝึก ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๗(Q1-Q4 2024)

ทั้งนี้ พลเรือโท สมชาย ณ บางช้าง รองเสนาธิการทหารเรือ(ยก.) และประธานคณะทำงานบริหารโครงการ นำคณะทำงานบริหารโครงการและคณะวิจัยรวม ๑๗นาย 
เดินทางไปร่วมงาน Undersea Defence Technology Conference 2018 ณ Glasglow, Scotland สหราชอาณาจักร เมื่อ ๒๖-๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑(2018)
โดยก่อนหน้าคณะนักวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก จำนวน ๕นาย ได้เดินทางไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำเบื้องต้น(Submarine Design Course) ที่๊ University College London(UCL) สหราชอาณาจักร
และรวมประชุมกับที่ปรึกษาด้านการออกแบบจากบริษัท BMT Defence Services Limited สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๖ ตุลาคม-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

แม้ว่าปัจจุบันกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) เองจะมีประจำการเฉพาะเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เช่น เรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Astute แต่สหราชอาณาจักรก็เป็นประเทศที่มีการสั่งสมความรู้ด้านวิทยาการเรือดำน้ำมาต่อเนื่องตั้งแต่อดีต
โดยการศึกษาหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำ(Submarine Design) ในขั้นต้นเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะได้รับการคำปรึกษาทางการออกแบบเรือจากการถ่ายทอด Technology โดยบริษัทสร้างเรือดำน้ำของสหราชอาณาจักรต่อไป
ซึ่งแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ออกแบบมาจะต้องได้รับการผ่านการรับรองที่จัดทำโดยสมาคมจัดชั้นเรือของสหราชอาณาจักรก่อน ขั้นตอนการทำงานดังกล่าวนี้จะเป็นการยืนยันได้ว่าแบบเรือดำน้ำของไทยจะมีความน่าเชื่อถือสูง
BMT Defence Services เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของสหราชอาณาจักรที่มีประวัติมายาวนาน ที่เกี่ยวกับเรือดำน้ำก็เช่นการมีส่วนร่วมในโครงการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Astute และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Victoria(Upholder) กองทัพเรือแคนาดา(Royal Canadian Navy) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัท BMT คือแบบแผนเรือดำน้ำตระกูล VIDAR ที่มีแบบแผนเรือดำน้ำขนาดเล็ก VIDAR-7 ความยาว 46m ระวางขับน้ำที่ผิวน้ำ 700tons ระวางขับน้ำที่ใต้น้ำ 950tons พิสัยทำการ 4,000nmi  มีกำลังพลประจำเรือ 15นาย รองรับชุดปฏิบัติการพิเศษเพิ่มได้ ๖นาย รวม ๒๑นาย
เรือดำน้ำขนาดเล็กแบบ VIDAR-7 มีท่อ Torpedo จำนวน ๔ท่อยิง และ Payload Tube แบบปรับแต่งได้รองรับการปล่อยและรับกลับยานใต้น้ำส่งนักประดาน้ำ(SDV: Swimmer Delivery Vehicle) ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ(Royal Thai Navy SEAL)
อย่างไรก็ตามจากข้อกำหนดความต้องการในข้างต้น แบบแผนเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือไทยน่าจะมีขนาดเล็กกว่าเรือดำน้ำแบบ VIDAR-7 และมีสมรรถนะและการบรรทุกอุปกรณ์ กำลังพล อาวุธที่น้อยกว่า หรืออาจจะไม่ติดอาวุธเลย
เรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกที่ออกแบบและสร้างโดยกองทัพเรือไทยน่าจะเสร็จสิ้นโครงการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) รวมเป็นเวลา ๗ปีหลังเริ่มจัดตั้งโครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) คาดว่าค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดจะอยู่ที่ราว ๑พันล้านบาท($30 million)ครับ