Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Second Krabi class Offshore Patrol Vessel at 3rd Ship Technology for the Next Decade 3-4 March 2016 (My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html
Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, June 2018 (https://www.facebook.com/Ormdockyard/posts/1731901780227786)
ความคืบหน้าการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ช่วงในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ก็เห็นได้ชัดมากขึ้นว่า
การประกอบตัวเรือในส่วน Block ลำตัวเรือ(Hull)นั้นใกล้จะเป็นรูปร่างเรือที่สมบูรณ์แล้ว ยังเหลือในส่วน Block ตัวเรือที่เป็นดาดฟ้ายก(Superstructure) ที่เริ่มมีการประกอบไปบางส่วนแล้ว โดยในชุดภาพข้างต้นเป็น Block ที่๘
การก่อสร้าง ร.ล.ตรัง มีความรวดเร็วมากขึ้นจากประสบการณ์ในการสร้าง ร.ล.กระบี่ ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะมีการปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี ๒๕๖๑(2018) นี้ จากนั้นจะมีการติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ภายในเรือ
เช่น ปืนเรือ Leonardo OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed ทรง Stealth อิตาลี และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84 Harpoon Block II สหรัฐฯ เป็นต้น และคาดว่าเรือน่าจะเข้าประจำการได้ในราวปี๒๕๖๒ ถึงปี๒๕๖๓(2019-2020)
และ ร.ล.ตรัง จะถูกนำเข้าประจำการใน กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย ต่อไป เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมความมั่นคงและการต่อเรือภายในประเทศโดยการถ่ายทอด Technology จากต่างประเทศให้กับไทยครับ
Model of Marsun M36 Mk II Patrol Boat at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)
Royal Thai Navy's Keel laying ceremony new 2 Coastal Patrol Craft T.114-class (T.114 and T.115) from Marsun Thailand, 8 June 2018
ตามที่ได้รายงานกองทัพเรือไทยทำพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมา ประกอบด้วยเรือ ต.114 และเรือ ต.115 ตามโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ๒ลำใหม่ วงเงิน ๔๗๕ล้านบาท
ซึ่งเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 เป็นแบบเรือ M36 Mk II ซึ่งปรับปรุงจากแบบเรือ M36 คือเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 ที่ประกอบด้วยเรือ ต.111, ต.112 และ ต.113 ที่เป็นผลงานของบริษัท มาร์ซัน จำกัด(Marsun) ประเทศไทย
จะทำให้ในอนาคตอันใกล้ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ จะมีเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเพิ่มเติมจาก ชุดเรือ ต.81 ๓ลำ(ต.81, ต.82, ต.83), ชุดเรือ ต.91 ๙ลำ(ต.91, ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.91, ต.98, ต.99),
ชุด เรือ ต.991 ๓ลำ(ต.991, ต.992, ต.993), ชุดเรือ ต.994 ๓ลำ(ต.994, ต.995, ต.996) และชุดเรือ ต.111 ๓ลำ ถ้าตัดชุดเรือ ต.91 ที่มีอายุการใช้งานมานานจำเป็นต้องปลดประจำการในอนาคตแล้ว อาจจะต้องมีการจัดหาเรือ ตกฝ.เพิ่มอีกราว ๔ลำ
ซึ่งทั้งหมดเป็นเรือที่สร้างในประเทศไทย เป็นการสนับสนุนนโยบายการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือไทยและภาคอุตสาหกรรมความมั่งคงภายในประเทศไทยอย่างยั่งยืนครับ
Italian company DRASS Tecnologie Sottomarine was presented information of DG-160 Midget Submarine and Submarine Rescue System to Royal Thai Navy in 15-16 May 2018
การที่ บริษัท DRASS Tecnologie Sottomarine อิตาลี ได้เข้ามาบรรยายให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัทแก่กองทัพเรือไทยคือ เรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) DG-85 DG-120 และ DG-160 และระบบกู้ภัยเรือดำน้ำ(Submarine Rescue System) นั้น
ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่บริษัทจากประเทศต่างๆจะมาทำการเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ของตนให้กองทัพเรือไทยรับทราบเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาพิจารณาต่อไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากองทัพเรือไทยจะมีการเลือกจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แบบนั้นๆแต่อย่างใด
โดยในส่วนระบบกู้ภัยเรือดำน้ำนั้นก็ข้อมูลที่จำเป็นที่กองทัพเรือจะต้องศึกษาจากหลายๆแหล่งเพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะรับมอบเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีนที่จะเข้าประจำการต่อไปในอนาคต(ถ้าโครงการไม่มีปัญหาจนถูกยกเลิกไปเสียก่อน)
สำหรับเรือดำน้่ำขนาดเล็กนั้นทาง สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. กองทัพเรือไทย ก็มีโครงการอยู่ตามที่ได้รายงานไป แต่ที่ทราบมาคือโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก ของ สวพ.ทร. มีการส่งคนไปศึกษาที่สหราชอาณาจักร
แม้ว่าปัจจุบันกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) จะมีเฉพาะเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ประจำการก็ตาม แต่ทางอังกฤษก็มีองค์ความรู้ทางการพัฒนาเรือดำน้ำที่สั่งสมมานานอยู่มากตั้งแต่อดีต
ซึ่งในส่วนการบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำขนาดเล็ก DG-160 อิตาลี นั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาของกองทัพเรือไทยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นการรับทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ด้านเรือดำน้ำของไทยต่อไปในอนาคตครับ
AH-1F and AH-1F EDA of 3rd Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
ตามที่ พลตรี วีรยุทธ อินทร์วร ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก ศบบ. กล่าวเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑ว่า ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html)
กองทัพบกมีโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ขั้นต่ำจำนวน ๖เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra สหรัฐฯ ๗เครื่อง โดยจะมีการปลดประจำการ ฮ.จ.๑ AH-1F ๓เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
โครงการจัดหา ฮ.โจมตีใหม่นั้นก็ได้มีรายงานวิเคราะห์ไปก่อนหน้านี้แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html) ตัวเลือกในตลาดก็ไม่น่าจะหนีไปจากนี้นัก คาดว่าการศึกษาข้อมูลการพิจารณาแบบ ฮ.โจมตีต่างๆของ ศบบ.น่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป
โดยแบบตัวเลือกน่าจะมี Boeing AH-64E Apache สหรัฐฯ, Bell AH-1Z Viper สหรัฐฯ, Airbus Helicopters Tiger ฝรั่งเศส-เยอรมนี, TAI T129 ATAK ตุรกี, Mil Mi-28NE รัสเซีย, Kamov Ka-52 รัสเซีย และ CAIC Z-10 จีน โดยคาดว่าจะมีการเลือกแบบในราวปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามรายงานข่าวจากสื่อกระแสหลักที่นำเสนอโครงการจัดหา ฮ.โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทยนั้นกลับมีความคลาดเคลื่อนและข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปหลายประการ
เช่น เฮลิคอปเตอร์โจมตี Agusta A129 Mangusta ที่ปิดสายการผลิตไปจนอิตาลีเปิดโครงการ ฮ.โจมตีใหม่ Leonardo AW249 ทดแทนแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/leonardo-a129-mangusta-m345-het.html)
ซึ่งจริงๆควรน่าจะเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี Turkish Aerospace Industries(TAI) T-129 ATAK ตุรกีที่พัฒนาจาก A129 อิตาลี ซึ่งทางตุรกีได้เสนอให้กองทัพบกไทยมากกว่า(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)
การเสนอเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีนกลับกลายเป็นเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Z-11 หรือ ฮ.ลาดตระเวน/โจมตี Z-19 จีนซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์คนละประเภทกัน รวมถึงอยู่ดีๆก็มีการเสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Leonardo/AgustaWestland AW101 สหราชอาณาจักร-อิตาลี เป็นต้นครับ
(ทั้งนี้พอมาตรวจสอบที่มาของต้นทางข่าวดังกล่าว ก็พบว่ามาจากผู้สื่อข่าวสายทหารกลุ่มเดิมๆที่มีความคลาดเคลื่อนในการเสนอเนื้อหาข้อมูลอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง จนไม่มีความน่าเชื่อถือมาตลอดนับหลายสิบปี
แต่ก็เหมือนเดิมที่กองทัพบกและผู้เชี่ยวชาญทางทหารที่มีความรู้จริงคงจะทำอะไรไม่ได้กับสื่อที่ไม่มีความรับผิดชอบในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง จนสร้างความเสียหายให้กับทางราชการและสร้างความรู้ผิดๆให้ประชาชนมานับครั้งไม่ถ้วนครับ)
Elbit Systems Hermes 450 Unmanned Aerial Vehicles of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army was delivered since 2017(https://www.facebook.com/กองพันบินที่-๒๑-21st-Aviation-Battalion-860667027402830/)
http://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.htmlการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีระยะเวลาปฏิบัติการนาน(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Hermes 450 จากบริษัท Elbit Systems อิสราเอล ๔ระบบของกองทัพบกไทยนั้น ก็ได้มีการส่งมอบเสร็จสิ้นไปตั้งช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่ผ่านมาแล้ว
โดยหน่วยผู้ใช้งานคือ กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑(กองบินเบา หรือ กองบินปีกติดลำตัว เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ก็จะใช้ Hermes 450 UAV ควบคู่ไปกับอากาศยานไร้คนขับ Searcher Mk II จากบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอล ที่มีอยู่ ๔ระบบ
ซึ่งระบบ Hermes 450 UAV สามารถใช้ในได้ภารกิจการชี้เป้าหมาย, ข่าวกรอง,ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) และการทำแผนที่ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบและยาเสพติดตามแนวชายแดนมากครับ
(แต่ทว่าการเปิดเผยการมีอยู่ของระบบในช่วงนี้นั้นกลับถูกโจมตีเรื่อความคุ้มค่าว่าจะจบแบบเดียวกับเรือเหาะ รวมถูกโยงเข้าหาประเด็นการกู้ภัยที่ถ้ำหลวง เชียงราย โดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองและสื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณในการโจมตีกองทัพบก)
Royal Thai Air Force Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle Lead-In Fighter Trainer 401 Squadron, Wing 4 Takhli with AIM-9P Sidewinder, AGM-65 Maverick and Mk82 500lbs practice bomb, 11 June 2018
KAI T-50TH Flexible Weapon Capability and Equipment
มีภาพที่น่าสนใจระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตรวจเยี่ยมกองบิน๔ ตาคลี นครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
โดยมีภาพแสดงถึงเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ แสดงความพร้อมรบโดยติดตั้งอาวุธแบบต่างๆที่ตัวเครื่องนอกจากปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุนขนาด 20mm ความจุ ๒๐๕นัดภายในตัวเครื่อง
ที่เห็นได้จากภาพมีเช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9P Sidewinder, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick และลูกระเบิดอากาศฝึก Mk82 ขนาด 500lbs(เข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดฝึกที่ผลิตโดย กรมสรรพาวุธทหารอากาศ)
ระบบอาวุธในข้างต้นเช่น AIM-9P และลูกระเบิดฝึก/ลูกระเบิดทำลาย Mk82 เป็นอาวุธที่มีใช้กับ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่เคยประจำการในฝูงบิน๔๐๑ มาก่อนแล้ว เช่นเดียวกับ AGM-65 ที่มีใช้งานกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔
ความอ่อนตัวและความเข้ากันได้ของระบบอาวุธที่ บ.ขฝ.๒ T-50TH สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องบินขับไล่เครื่องบินโจมตีแบบอื่นๆที่มีประจำการของกองทัพอากาศไทยได้ เป็นไปตามนโยบาย Common Fleet เพื่อแบบอาวุธและยุโธปกรณ์ที่มีใช้งานในกองทัพลง
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T ที่ปัจจุบันมีใช้กับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D, บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU และ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F SUPER TIGRIS ในอนาคต(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-5st-super-tigris-iris-t.html) จะเป็นหนึ่งในนั้นครับ
Royal Thai Air Force's Ceremony of 30th Anniversary Peace Naresuan F-16A/B Fighting Falcon at Wing 1 Korat Nakhon Ratchasima, 13 June 2018
Royal Thai Air Force F-16A ADF Block 15 10209, F-16B Block 15 OCU 10301 and F-16AM EMLU 40313 in 30th Anniversary tails
30 ปี บ.ข.19/ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย ณ กองบิน 1 วันนี้...Photo Sompong Nondhasa.
Peace Naresuan The Story of F-16A/B in Thailand
Wing 4 RTAF Land of the King Cobra
เป็นเวลา ๓๐ปีแล้วที่เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช เป็นฝูงบินขับไล่ฝูงแรก นับแต่เครื่องชุดแรก ๖เครื่องส่งมอบถึงไทยเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑(1988)
ซึ่งเมื่อรวมเครื่องในโครงการ Peace Naresuan I ๑๒เครื่อง, Peace Naresuan II ๖เครื่อง และเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(Peace Carvin I) ๗เครื่อง รวม ๒๕เครื่อง ทำให้ฝูงบิน๑๐๓ เป็นฝูงบินขับไล่ที่มีจำนวนเครื่องบินขับไล่ F-16 มากที่สุดของกองทัพอากาศไทย
ทั้งนี้ บ.ข.๑๙ F-16A/B ที่ประจำการในสามฝูงบินของกองทัพอากาศไทยคือ ฝูงบิน๑๐๓, ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ F-16A/B ADF และฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี F-16AM/BM EMLU รวมมากกว่า ๕๐เครื่องจะยังคงเป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า ๑๕-๒๐ปี
แต่สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ นั้นปัจจุบันมีขีดความสามารถทางการรบที่เริ่มด้อยกว่าฝูงบินขับไล่อื่นทั้ง F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓, F-5ST Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี และ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานีแล้ว
การพิจารณาแนวทางปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ อาจจะเป็นสิ่งที่น่าจะจำเป็นถ้ามองถึงการใช้งานในระยะยาวเทียบกับภัยคุกคามในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ได้วิเคราะห์ไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16ab.html)
Thailand sets USD7 billion defence budget for 2019
http://www.janes.com/article/80722/thailand-sets-usd7-billion-defence-budget-for-2019
ตามที่เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยผ่านทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ได้อนุมัติงบประมาณกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เป็นวงเงิน ๒๒๗,๖๗๐ล้านบาท($7.1 billion) เพิ่มขึ้นจาก งป.กลาโหมปี ๒๕๖๑(2018) เพียง ๙,๑๖๐ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ๔.๒
ซึ่ง งป.กห.ปี๒๕๖๒ นั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ๗.๖ ของงบประมาณประจำปี๒๕๖๒ และคิดเป็นเพียงร้อยละ๑.๔ ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ(1.4% per GDP) เท่านั้น
ทั้งนี้งบประมาณกลาโหมของไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN จัดอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการเพิ่ม งป.กลาโหมในแต่ละปีที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างเล็กน้อยเพื่อสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้น
ขณะเดียวกันกองทัพไทยและกระทรวงกลาโหมได้การดำเนินโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในไทยทั้งงานวิจัยพัฒนาของไทยเองและจากความร่วมมือการถ่ายทอด Technology จากต่างประเทศมากขึ้น
นอกจากกองทัพเรือไทยที่มีโครงการต่อเรือภายในประเทศข้างต้นแล้ว ทั้งจีนและยูเครนก็ได้มีความร่วมมือกับไทยในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทางทหารเพื่อสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเองและความเป็นไปได้ในการเปิดสายการผลิตอาวุธในไทยด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/06/blog-post_18.html)
แต่ทว่าที่ผ่านมามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองที่มักใช้กลุ่มสื่อที่ไร้จรรยาบรรณคอยโจมตีกองทัพไทยตลอดเวลาว่าใช้งบประมาณกลาโหมมากมายเกินความจำเป็นสิ้นเปลืองภาษีประชาชน ซึ่งไม่ได้มีข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงเลย
อย่างไรก็ตามการพัฒนาทางอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทย ซึ่งมักจะมีผู้เข้าใจผิดหรือมีผู้ไม่หวังดีต่อชาติตั้งใจจะสร้างความเชื่อที่ผิดๆว่า กองทัพไทยและกระทรวงกลาโหมซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศราคาแพงอย่างเดียวทั้งๆที่อาวุธทุกอย่างสามารถจะทำเองในไทยได้ทั้งหมด
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไทยมีการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงในประเทศตามความสามารถพื้นฐานที่เป็นจริง โดยมีการออกแบบภายในประเทศหรือร่วมมือกับต่างประเทศจัดหาระบบอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องยนตร์ การถ่ายทอด Technology และสิทธิบัตรการผลิตในประเทศ
เพราะว่าการจะพัฒนาทุกอย่างในประเทศโดยเฉพาะระบบที่มีความซับซ้อนสูงทั้งรถถัง เรือรบ เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินสมัยใหม่นั้นไม่สามารถที่จะทำเองทั้งหมดโดยบริษัทหรือองค์กรเดียวได้ แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีการจัดหาระบบหลายๆส่วนจากต่างประเทศจนเป็นระบบนานาชาติ
โดยการจะลงทุนวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เองจะต้องใช้เวลาและเงินทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งถ้ามีโครงการจัดหาเพียงจำนวนไม่มากก็ไม่คุ้มที่จะลงทุนวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ด้อยสมรรถนะกว่าที่มีพร้อมขายในตลาด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากหลายประเทศที่มีนโยบายพึ่งพาตนเองล้วนๆโดยข้ามการมองขีดความสามารถที่แท้จริงของตนเอง จนทำให้ระบบอาวุธที่ตนสร้างขึ้นมาใช้เวลาพัฒนานานมากถึง ๒๐-๓๐ปี และกลายเป็นระบบที่ล้าสมัยไปแล้ว สุดท้ายก็ต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด
ดังนั้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเพื่อพึ่งพาตนเองในประเทศแม้จะเรื่องดีแต่ก็ต้องคำนึงศักยภาพความพร้อมที่เป็นไปได้จริงด้วย และต้องมีการวางแนวทางนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจนในระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมาไทยเราโดยมากก็ได้ดำเนินการมาได้ถูกทางแล้วครับ