วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อิหร่านเปิดสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour

Iran announces mass production of Fakour air-to-air missile





Six Fakour missiles are seen during the ceremony announcing that the type has entered mass production. Source: Defapress.ir
http://www.janes.com/article/81942/iran-announces-mass-production-of-fakour-air-to-air-missile


Iranian F-14A Tomcats armed with multiple missiles including AIM-9 Sidewinder, AIM-7 Sparrow, AIM-54 Phoenix and MIM-23 Hawk, 1986.(wikipedia.org)

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วย Radar แบบ Fakour ขณะนี้ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากแล้ว ตามที่กองทัพอิหร่านประกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
พิธีเปิดสายการผลิตที่จัดขึ้นโดยเชิญรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Amir Hatami ร่วมงานได้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการประกาศดังกล่าว

ในพิธีมีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour อย่างน้อย 6นัดถูกจัดแสดง เช่นเดียวกับชิ้นส่วนด้านหน้าของจรวดอีก 5นัด
รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Hatami กล่าวว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour สามารถติดตั้งใช้งานได้กับอากาศยานหลายแบบ

เมื่อถูกเปิดตัวในชื่อ Fakour-90 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบนี้ได้ถูกกล่าวว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour ถูกพัฒนาสำหรับใช้งานกับเครื่องบินขับไล่ Grumman F-14 Tomcat กองทัพอากาศอิหร่าน(IRIAF: Islamic Republic of Iran Air Force)

สื่ออิหร่านรายงานว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour มีพิสัยการยิง 150km มีความเร็ว Mach 5 และมีระบบนำวิถีที่สามารถยิงถูกเป้าหมายได้อย่างอิสระจากระบบ Radar ของอากาศยานที่ทำการยิง
เป็นที่เชื่อว่า Fakour มีพื้นฐานการพัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล AIM-54 Phoenix สหรัฐฯซึ่งเป็นอาวุธเฉพาะของเครื่องบินขับไล่ F-14

กองทัพอากาศอิหร่านในฐานะประเทศเดียวที่สหรัฐฯส่งออกเครื่องบินขับไล่ F-14 ให้และเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่แบบนี้รายเดียวในปัจจุบัน
มีพยายามอย่างมากในการรักษาขีดความสามารถในการใช้งานเครื่องที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979

เคยมีการพบเห็นว่ากองทัพอากาศอิหร่านได้นำอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MIM-23 Hawk สหรัฐฯ และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27 รัสเซียมาติดตั้งใช้กับ F-14 ของตนแต่ประสบความสำเร็จไม่มากนัก
โดยอิหร่านมีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุง ปรับปรุง และผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่ขาดแคลนสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-14 ที่มีแผนจะยืดอายุการใช้งานประจำไปจนถึงปี 2030 ครับ