วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยกำลังทำการเชื่อมโยงระบบอาวุธหลักเข้ากับเครือข่าย Link-T ที่พัฒนาในประเทศ

Thailand’s military is working to further link major weapon systems
A Royal Thai Air Force pilot steps inside the Gripen C before a flight from Surat Thani Air Force Base on Nov. 28, 2018. (Valerie Insinna/Staff)

A Saab 340 airborne early warning aircraft, left, and Gripen C fighter jet sit on the ramp at Surat Thani Air Force Base in Thailand on Nov. 28, 2018. (Valerie Insinna/Staff)
https://www.defensenews.com/air/2018/12/11/in-thailand-a-networked-air-force-is-the-goal/




คำว่า "กองทัพอากาศแบบศูนย์กลางเป็นเครือข่าย"(Network-Centric Air Force) เป็นคำจำกัดความของการจัดตั้งทั้งหมดของ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
กองบิน๗ เป็นที่ทราบว่าที่เป็นที่ตั้งของฝูงบิน๗๐๑ ที่ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D สวีเดนจำนวน ๑๑เครื่อง เป็นฝูงบินแรกของกองทัพอากาศไทย
แต่ผู้บังคับฝูงบิน๗๐๑ และนักบิน Gripen กองทัพอากาศไทยกล่าวว่า ระบบเครือข่ายทางยุทธวิธีที่กองทัพไทยพัฒนาในประเทศที่เรียกว่า Link-T เป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญในอนาคตของกองบิน

"การมีกองบินแบบเครือข่ายศูนย์กลางเป็นรูปแบบหนึ่งในการมองภาพรวมขนาดใหญ่(Big Picture)ของกองทัพอากาศไทย เราต้องเริ่มต้นจากแทบเกือบจะศูนย์ แน่นอนไม่ใช่จากศูนย์ แต่เราได้ทำบางสิ่งที่จะสามารถเข้าถึง(วิสัยทัศน์)นั้นได้"
นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน๗ กล่าว Link-T เป็นเครือข่ายทางยุทธวิธีที่พัฒนาโดยบริษัท Saab สวีเดนและบริหารด้วยกองทัพไทยและภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเอกชนไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/saab.html)
ทำให้เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน๑ บ.ค.๑ Saab 340B Erieye (AEW&C: Airborne Early Warning and Control) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ สามารถแบ่งปันข้อมูลภาพพื้นที่การรบร่วมกันได้ ตามที่ Saab กล่าว

ล่าสุดขณะนี้กองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) กำลังทำงานเพื่อขยายเครือข่าย Link-T เพื่อให้ทำให้ระบบอาวุธยุทโธปกรณ์หลักของกองทัพไทยสามารถปฏิบัติการร่วมกันได้มากขึ้น ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนั้นฟังดูเหมือนจะเป็นคุ้นเคยของผู้สังเกตการณ์ทางทหารของสหรัฐฯ
ผู้นำระดับสูงของกองทัพสหรัฐฯ เช่น ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) พลอากาศเอก Dave Goldfein และผู้บัญชาการปฏิบัติการทางเรือ(Chief of Naval Operations เทียบเท่าผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐฯ US Navy) พลเรือเอก John Richardson ได้รวบรวมแนวคิดว่า
สนามรบยุคอนาคตจำเป็นที่จะต้องให้ระบบต่างๆของแต่ละเหล่าทัพเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อการแบ่งบันข้อมูลร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ การที่กองทัพไทยกำลังทำงานเครือข่าย Link-T กับอากาศยาน, เรือ และระบบอาวุธอื่นๆของตนเอง(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-cd-ms20.html) แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่มีปัญหาที่เป็นเอกลักษณ์จำเพาะกับระบบของสหรัฐฯและ NATO

ไทยได้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN: Association of Southeast Asian Nations) ชาติมหาอำนาจที่เป็นพันธมิตรของไทยยังมีสหรัฐฯและจีน ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้มีการฝึกซ้อมรบร่วมกันหลายหลายการในปีนี้
เช่น การฝึกร่วมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2018 ที่ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๓ กรกฎาคม-๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ร่วมกับสหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
และการฝึกผสม Falcon Strike 2018 ระหว่างกองทัพอากาศไทยกับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) เมื่อวันที่ ๔-๒๑ กันยายน ๒๕๖๑ ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี

เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศต่างๆ นั่นจึงอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันหรือเป็นปฏิปักษ์กับแต่ละฝ่ายต่างๆในการปกป้องอธิปไตยของไทยและข้อมูลของไทยอันเป็นความสำคัญหลักของรัฐบาลไทย
"เรามุ่งไปที่การมีซึ่งความสามารถทางกลาโหมของตนเอง เราจึงต้องที่จะสามารถยืนอยู่บนเท้าของตนเองในการปกป้องประเทศ เครือข่าย Link-T นั้นทำให้เราสามารถใช้งานได้ทุกเวลาไม่ว่าจะในสถานการณ์หรือภัยคุกคามใด
Link-T เป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน เราสามารถเห็นได้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา เราสามารถเห็นกำลังฝ่ายมิตร เราสามารถเห็นศัตรูของเรา" นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ กล่าว

เส้นทางการพัฒนาระบบเครือข่าย Link-T ได้เริ่มต้นในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) ตามที่ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยท่านต่างๆนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เริ่มต้นนโยบายการทำให้กองทัพอากาศไทยเป็น Digital Air Force มากขึ้น
ด้วยการนำวิทยาการคอมพิวเตอร์มาใช้และการเข้าใจภาษาอังกฤษของกำลังพล ซึ่งเจ้าหน้าที่ในกองทัพอากาศไทยได้เห็นหลักพื้นฐานดังกล่าวว่าสื่อสิ่งพิมพ์ทางเทคนิคที่มาจากต่างประเทศและยุทธวิธีสามารถถูกเข้าใจได้โดยนักบินและช่างอากาศยาน
แนวคิด "กองทัพอากาศแบบศูนย์กลางเป็นเครือข่าย" ได้ถูกพัฒนาไปสู่การรวมเครือข่าย Link-T, บ.ข.๒๐ บ.ข.๒๐ Gripen C/D, บ.ค.๑ Saab 340B Erieye และการจัดการองค์กรที่หลากหลายและการสนับสนุนการซ่อมบำรุงที่จำเป็นในการดำรงการปฏิบัติการต่อไปได้

กองทัพอากาศไทยมีแผนที่จะเพิ่มเครือข่าย Link-T เข้ากับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ บ.ข.๑๘ข/ค Northorp F-5E/F Tiger II ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัย F-5ST Super Tigris(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
น.อ.ปรัชญา กล่าวว่ามีเครื่องบินขับไล่ F-5E/F Super Tigris บางเครื่องที่ได้รับการปรับปรุงดังกล่าวแล้ว แม้ว่าเขาจะไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามี บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F จำนวนกี่เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงแล้วก็ตาม โดยกองทัพอากาศไทยยังมีแผนที่จะเพิ่มเครือข่าย Link-T กับอากาศยานทางทหารอื่นๆ แต่เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก Lockheeed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทยนั้นจะไม่มีการใช้ Link-T แต่จะคงใช้เครือข่าย Link 16 มาตรฐาน NATO ต่อไป(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16ab.html)

น.อ.ปรัชญา ทิพยรัตน์ กล่าวว่านั่นเป็นเรื่องดีเพราะมันทำให้กองทัพอากาศไทยมีทางเลือกได้ว่าจะมีข้อมูลเท่าไรบ้างที่จะต้องการจะแบ่งปันหรือถูกป้องกันขึ้นอยู่กับแล้วแต่กรณี "เราไม่มีปัญหาที่จะทำงานกับเครือข่ายทั้งสอง Link เราเห็นว่ามันเป็นจุดแข็ง
เพราะถ้าเราต้องทำบางสิ่งกับของของเรา(โดยไม่มีพันธมิตรสนับสนุน) เราสามารถใช้ Link-T ไม่สำคัญว่าเมื่อไหร่ อย่างไร หรืออะไรก็ตาม เราสามารถใช้ระบบที่เราเป็นเจ้าของเอง และถ้าเราต้องเราต้องร่วมมือกับพันธมิตรเราก็มี(Data Link)อื่นคือ Link 16 สำหรับ F-16"
น.อ.ปรัชญา ไม่ได้ลงในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการที่นักบินกองทัพอากาศไทยจะปกป้องข้อมูลของตนเมื่อต้องดำเนินการฝึกร่วมกับจีน แต่ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเชื่อใจในพันธมิตร ขณะที่ต้องทราบข้อจำกัดว่าอะไรเป็นสิ่งที่สามารถจะแบ่งปันได้

"เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร เป็นเวลาสามปีมาแล้วที่เรา(กองทัพอากาศไทย) ได้ฝึกกับพวกเขา(กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน) แน่นอนมันเป็นการเปิดหูเปิดตาสำหรับเรา
เรารู้สึกได้ว่าเรามีสิทธิพิเศษ เพราะมีประเทศไม่มากนักในโลกนี้ที่จะมีโอกาสได้ทำการฝึกบินอากาศสู่อากาศกับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน เราเรียกรู้จากพวกเขามาก และเราหวังว่าพวกเขาจะเรียนรู้จากพวกเราเช่นกัน" นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ กล่าว
ในการฝึกผสม Falcon Strike 2015 ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๘ จีนได้นำเครื่องบินขับไล่ Shenyang J-11(Sukhoi Su-27SK รัสเซียสร้างในจีน) มาฝึกกับไทย ในปีต่อๆมาคือ Falcon Strike 2017 พ.ศ.๒๕๖๐ และ Falcon Strike 2018 จีนได้นำเครื่องบินขับไล่ Chengdu J-10A มาฝึกกับไทยครับ