วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นมองเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน AH-1S Cobra ที่ใช้ปฏิบัติการทางทะเลได้

Japan sets naval-friendly requirement in search to replace AH-1S Cobra fleet
Japan Ground Self-Defense Forces' AH-1S helicopter fires a TOW anti-tank missile during an exercise in its Higashi-Fuji training ground in Gotemba, west of Tokyo, on Aug. 19, 2014. (Kitamura Toshifumi/AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/digital-show-dailies/japan-aerospace/2018/11/29/japan-sets-naval-friendly-requirement-in-search-to-replace-ah-1s-cobra-fleet/

ญี่ปุ่นกำลังมองหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ที่สามารถใช้ปฏิบัติการจากเรือในทะเลได้ ตามที่กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) มีความต้องการเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell/Fuji Heavy Industries AH-1S Cobra ที่ใช้งานมานาน
เอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ที่ญี่ปุ่นออกมาก่อนหน้าในปี 2018 นี้มีความต้องการสำหรับ ฮ.โจมตีใหม่ที่เป็นใช้งานทางเรือและสามารถปฏิบัติการจาก "สนามบินส่วนหน้าหรือฐานในทะเล" ตามที่ พลโท George Trautman(เกษียณแล้ว) ที่ปรึกษาบริษัท Bell สหรัฐฯกล่าว

จากการพูดคุยกับ Defense News ในงานแสดงการบินนานาชาติ Japan International Aerospace Exhibition 2018 ณ กรุง Tokyo ระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา อดีตนักบินและผู้บัญชากองบินนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) กล่าวว่า
เอกสาร RFI ของญี่ปุ่นมีความต้องการราคาและข้อมูลสำหรับเฮลิคอปเตอร์จำนวน 30, 40 และ 50เครื่อง อดีตนักบินนาวิกโยธินสหรัฐฯเสริมว่าเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal) คาดว่าจะมีการออกในอีก 3-4เดือนข้างหน้า

นอกจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper ที่กำลังจะขออนุมัติความเป็นไปได้ในการขายจากรัฐบาลสหรัฐฯแก่ญี่ปุ่น 50เครื่อง ที่ Bell สหรัฐฯมีความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Fuji Heavy Industries(FHI ปัจจุบัน Subaru) ญี่ปุ่นมานานกว่า 65ปีในการเปิดสายการผลิต ฮ.ในญี่ปุ่นภายใต้สิทธิบัตร
โดย ฮ.โจมตี AH-1Z ได้ถูกออกแบบสำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้น สามารถนำมาปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga 2ลำ และเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo 2ลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ได้แล้ว

ผู้เข้าแข่งขันรายอื่นในยังประกอบด้วย บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นยังได้ร่วมกับ Sikorsky สหรัฐฯ(ปัจจุบันอยู่ในเครือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ) เสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-60J/UH-60JA Black Hawk รุ่นโจมตีติดคานอาวุธแบบปีกยืนข้างลำตัว
ซึ่งบริษัท MHI ญี่ปุ่นได้รับสิทธิบัตรจากบริษัท Sikorsky สหรัฐฯตั้งแต่ปี 1990s ในการเปิดสายการผลิต ฮ.ใช้งานทั่วไป UH-60J/JA และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60J/SH-60K Seahawk สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Forces)

บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้ยืนยันกับ Defense News ว่าตนไม่ได้เสนอเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger แก่ญี่ปุ่น แต่เสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป H145M พร้อมระบบอาวุธ HForce แทน(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/airbus-h145m-hforce.html)
โดยเฮลิคอปเตอร์ H145 ได้ถูกใช้งานในหน่วยการแพทย์ฉุกเฉินของญี่ปุ่นแล้ว บริษัท Airbus ยังได้ประกาศจะเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์บำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่องในโรงงานเฮลิคอปเตอร์ของตนที่มีที่ตั้งใน Kobe ญี่ปุ่นด้วย

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นไปได้รายอื่นยังรวมถึง บริษัท Leonardo อิตาลีที่น่าจะเสนอเฮลิคอปเตอร์โจมตี AW249 ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Agusta A129 Mangusta(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/leonardo-a129-mangusta-m345-het.html)
เช่นเดียวกับ บริษัท Boeing ที่น่าจะเสนอเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นมีเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64DJP รุ่นก่อนหน้าที่ผลิตในญี่ปุ่นภายใต้สิทธิบัตรโดยบริษัท FHI ญี่ปุ่นเช่นเดียวกับ ฮ.โจมตี AH-1S

อย่างไรก็ตามมี ฮ.โจมตี AH-64DJP จำนวนเพียง 13เครื่องเท่านั้นถูกผลิตเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น จากแผนเดิมที่จะมีการจัดหาจำนวน 62เครื่อง โดยสั่งจัดหาถูกระงับเนื่องจากเหตุผลด้านราคา
และเช่นเดียวกับกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(ROKA: Republic of Korea Army) ที่จัดหา ฮ.โจมตี AH-64E เข้าประจำการ มีรายงานว่าเกาหลีใต้และญี่ปุ่นไม่ประทับใจในประสิทธิภาพของ Radar ควบคุมการยิง Lockheed Martin/Northrop Grumman AN/APG-78 Longbow ที่ติดกับ ฮ.โจมตี Apache ของตนครับ