วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยมองจะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐาน MS20

10,000 Flight Hour of Saab Gripen C/D 701 Squadron, Wing 7, Royal Thai Air Force in exercise Pitch Black 2018 at Australia, 13 August 2018(https://www.facebook.com/RTAFpage)

Royal Thai Air Force Gripen C/D Fighter and SAAB 340 ERIEYE Airborne Early Warning and Control Fly Over Royal Thai Navy CVH-911 HTMS Chakri Naruebet and US Navy DDG-91 USS Pinckney the Arleigh Burke-class destroyer
during The 50th Anniversary of ASEAN's International Fleet Review 2017 at Pattaya, Chonburi Thailand 20 November 2017(https://www.facebook.com/RTAFpage)

UPDATE: RTAF seeks to upgrade Gripen combat aircraft to MS20 configuration
An RTAF Saab Gripen C on the tarmac at Surat Thani Airbase. The RTAF is looking to upgrade its fleet of 11 Gripen C/Ds to the MS20 configuration. Source: IHS Markit/Gabriel Dominguez
https://www.janes.com/article/84868/update-rtaf-seeks-to-upgrade-gripen-combat-aircraft-to-ms20-configuration

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) กำลังมองที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ทั้ง ๑๑เครื่องที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20
"เรากำลังวางแผนที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen ไปสู่มาตรฐาน MS20 เราได้เห็นขีดความสามารถของมาตรฐานปัจจุบันและมันทำทุกอย่างตามที่เราต้องการ" นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน๗ กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

อย่างไรก็ตามไม่มีการให้รายละเอียดใดออกมาว่ากองทัพอากาศไทยจะดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 เมื่อไร รวมถึงดูเหมือนว่าโครงการจะยังไม่ได้รับงบประมาณอย่างเต็มรูปแบบในขณะนี้ด้วย
แต่นี้เป็นการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากที่บริษัท Saab สวีเดนได้เปิดเผยถึงการเจรจาขั้นต้นในงานแสดงการบิน Singapore Airshow 2018 ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html)

ตามข้อมูลจาก Saab สวีเดน ความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการปรับปรุงชุดอุปกรณ์และชุดคำสั่งได้ถูกออกแบบเพื่อขยายขีดความสามารถของ Gripen เพื่อโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยระเบิดไม่นำวิถีและระเบิดนำวิถี Laser ให้ใช้งานได้เข้ากับระบบบรรทุกอาวุธอุปกรณ์ของเครื่อง
ขีดความสามารถการรบอากาศสู่อากาศของ Gripen ยังได้รับเพิ่มขยายด้วยการนำ Mode การทำงานใหม่ของ Radar มาใช้มาตรฐาน MS20 ซึ่งเสนอทางเลือกระบบหลีกเลี่ยงการชนพื้น(GCAS: Ground Collision Avoidance System)
จะเพิ่มเติมด้วยขีดความสามารถในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor

กองทัพอากาศไทยได้ประจำการระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการของสวีเดนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔(2011) เป็นเวลาไม่กี่เดือนหลังจากรับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D โครงการ Peace Suvarnabhumi ระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน ๖เครื่อง
ปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) กองทัพอากาศไทยได้รับมอบ Gripen C/D ในโครงการ Peace Suvarnabhumi ระยะที่๒ เป็นชุดที่สองและชุดสุดท้ายอีก ๖เครื่อง รวมทั้งสิ้น ๑๒เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ Gripen C 70108 ได้สูญเสียจากอุบัติเหตุตกขณะแสดงการบินในวันเด็กแห่งชาติปี ๒๕๖๐ ที่กองบิน๕๖ หาดใหญ่ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) โดยนักบินประจำเครื่องเสียชีวิต จากสาเหตุการหลงสภาพการบินชั่วขณะ(Spatial Disorientation) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย
ซึ่งกองทัพอากาศไทยยังคงมองหาแนวทางจะทดแทนเครื่องที่สูญเสีย อย่างไรก็ตามกำหนดเวลาสำหรับเรื่องดังกล่าวยังไม่ได้นับการประกาศ โดย Gripen C/D ได้ทำการบินครบ ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบินเมื่อมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ นับเป็นอากาศยานรบที่มีความพร้อมรบสูงสุดของไทย

ระบบป้องกันภัยทางอากาศบูรณาการของไทยประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D, เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน๑ บ.ค.๑ Saab 340B Erieye (AEW&C: Airborne Early Warning and Control) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ และสถานีบัญชาการและควบคุมภาคพื้นดินสนับสนุน
เครือข่ายทางยุทธวิธี(tactical datalinks) ได้เชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้ากับระบบอื่นในกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ทั้งเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย Saab สวีเดน

บริษัท Saab สวีเดนยังได้รับการสั่งจัดหาจากกองทัพอากาศไทยเพื่อการปรับปรุงระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบ Saab 9AIR C4I และได้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
การสร้างกองทัพอากาศที่ปฏิบัติการแบบศูนย์กลางเป็นเครือข่าย(network-centric) นี้ได้รับการดำเนินโดยภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในไทยร่วมกับ Saab สวีเดนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/saab.html)