Royal Thai Air Force's Saab Gripen C 701st Squadron, Wing 7 with IRIS-T short-range air-to-air missiles and RB 15F anti-ship missiles(https://www.facebook.com/wing7RTAF/)
Will the Thai Air Force get more Gripen jets?
https://www.defensenews.com/global/asia-pacific/2018/11/28/will-the-thai-air-force-get-more-gripens/
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16BM EMLU(Enhance Mid-Life Upgrade) 403rd Squadron, Wing 4 with IRIS-T short-range air-to-air missiles(https://www.facebook.com/กองบิน-4-Land-Of-The-King-Cobra-768315146572715/)
ตามที่บริษัท Diehl Defence เยอรมนีได้ประชาสัมพันธ์ถึงความสำเร็จที่กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T ของตนเพิ่มเติมในงาน INDO DEFENCE 2018 ที่อินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html)
ที่สามารถใช้งานได้กับทั้งเครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทยทั้ง บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ที่ประจำการ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗, บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ และ บ.ข.๑๘ข/ค F-5ST SUPER TIGRIS ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑
ตามนโยบาย Common Fleet ที่จะลดแบบอาวุธลง ในการทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9 Sidewinder สหรัฐฯ ที่เป็นอาวุธหลักของเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศไทยมาตั้งแต่สมัย บ.ข.๑๗ F-86F Saber ที่ติด AIM-9B หรือที่กำหนดแบบว่า GAR-8 ในช่วงนั้น
นอกจากการมองที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/gripen-cd-ms20.html) กองทัพอากาศไทยยังต้องการที่จะจัดหาจัดหา Gripen เพิ่มเติม แต่ก็เป็นคำถามว่าเมื่อไรที่ได้รับงบประมาณในส่วนนี้
แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ทั้ง ๑๑เครื่องจะทำชั่วโมงบินเกิน ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบินไปแล้วนับเป็นอากาศยานรบที่พร้อมรบสูงสุดของไทย แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะดำรงทั้งการฝึกและบำรุงรักษาด้วยเครื่องจำนวนน้อยเช่นนี้ได้หลังการสูญเสีย Gripen C 70108 ในงานวันเด็ก พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
"ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน เรารู้ว่านี่เป็นเครื่องบินที่ดีมากๆ และเรารักที่จะได้เครื่องเพิ่ม ดังนั้นแน่นนอนเรากำลังมองที่จัดหาทดแทนสำหรับเครื่องที่ 12 ใหม่ มันขึ้นกับว่าเมื่อไร เราไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไรเราจะได้เครื่องใหม่เหล่านั้น" นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ รองผู้บังคับการกองบิน๗ กล่าว
น.อ.ปรัชญา ทิพยรัตน์ เสริมอีกว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะมีความจำเป็นทางงบประมาณในส่วนอื่นๆ(มีอากาศยานหลายแบบที่ต้องจัดหาทดแทนเครื่องเก่าที่ใช้มานาน) กองบิน๗ สุราษฎรธานี มีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาคใต้ของไทย แม้ว่าจะมี F-5E/F และ F-16A/B เป็นเครื่องบินขับไล่หลัก
โดย Gripen C/D เป็นเครื่องบินขับไล่ชั้นยอดที่ปฏิบัติภารกิจอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นเป็นหลัก และภารกิจรองเช่นการลาดตระเวนทางอากาศ ซึ่งการปรับปรุงด้วยมาตรฐาน MS20 จะเป็นการเพิ่มขีดสามารถเป็นอย่างมาก เช่นการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล MBDA Meteor
แต่กองทัพอากาศไทยไม่ต้องการนำ data link แบบ Link 16 ที่ใช้ในกลุ่ม NATO และชาติพันธมิตรเช่นเดียวกับ F-16AM/BM EMLU ใน Gripen โดยจะใช้ data link แบบ Link T ที่พัฒนาภายในไทยเองทำให้สามารถปกป้องความสามารถและข้อมูลภายในประเทศไทยด้วยตนเอง
Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 with AIM-9M Sidewinder short-range air-to-air missiles and ACMI pod(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
Royal Thai Air Force's Dornier Alpha Jet 231st Squadron, Wing 23 Udorn with AIM-9P Sidewinder short-range air-to-air missiles and LAU-68 7 tube 2.75"(70mm) Hydra 70 rocket launcher pod(https://www.facebook.com/people/พูนศักดิ์-คำภูธร/100002072946935)
ก็ไม่ทราบว่าในอนาคตนั้น เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ จะได้รับการปรับปรุงให้สามารถใช้ IRIS-T ได้หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นติด AIM-9P และ AIM-9L/AIM-9M ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศมาตรฐานที่เครื่องรองรับแต่แรก
ถ้า บ.ขฝ.๒ T-50TH มีการปรับปรุงให้รองรับหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS เหมือน F-16AM/BM ฝูง๔๐๓ ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้ IRIS-T ยิ่งขึ้น อาจจะรวมถึงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ ที่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ IRIS-T ได้หลังการปรับปรุงความทันสมัยด้วยหรือไม่
โดย IRIS-T นั้นมีพื้นฐานการออกแบบเพื่อทดแทน Sidewinder ทำให้มีมิติขนาดและน้ำหนักเท่ากันสามารถนำมาติดตั้งกับเครื่องที่มีรางอาวุธรองรับ AIM-9 ได้ทันที และสามารถใช้งานได้เมื่อมีการติดตั้งชุดคำสั่งใหม่และมีการทดสอบการใช้งานรองรับสำหรับอากาศยานรบมาตรฐาน NATO ครับ
Electro-Optical/Infrared sensor at nose of new two Airbus Helicopters H225M(EC725) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force in Hangar
ชุดภาพล่าสุดของเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ๒เครื่องของฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ในโรงเก็บอากาศยานนั้นเป็นการยืนยันการส่งมอบเครื่องในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๓
โดยกองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหา ฮ.๑๑ EC725 กับบริษัท Airbus Helicopters รวมแล้ว ๑๒เครื่อง โดยการส่งมอบในระยะที่๓ ล่าสุดนั้นทำให้จำนวนเครื่องที่ประจำการในฝูงบิน๒๐๓ รวมเป็น ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/ec725.html)
ฮ.๑๑ EC725 ชุดล่าสุด หมายเลขเครื่อง 20307 และ 20308 นี้ได้รับการติดตั้งกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR) ที่น่าจะเป็นแบบ Star SAFIRE III ของบริษัท FLIR Systems สหรัฐฯ ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจกู้ภัยช่วยเหลือประชาชนในเหตุภัยพิบัติต่างๆได้อย่างมากครับ
Thailand has shown interest in acquiring the aircraft, according to Czech Prime Minister Andrej Babis.
A prototype L-39NG was rolled out during a ceremony at Aero Vodochody’s production facility near Prague on 12 October.
สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กเข้าพบนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุม ASEM ที่ Brussels เบลเยียมเมื่อเดือนตุลาคม ระบุว่ากระทรวงกลาโหมไทยแสดงความสนใจจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา L-39NG โดยไม่ระบุจำนวน(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/l-39ng.html)
ก็เป็นที่ทราบว่ากองทัพอากาศไทยได้เลือก บ.ขฝ.๒ T-50TH สาธารณรัฐเกาหลี เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ เพื่อทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้าย
จึงมีข้อสงสัยว่ากองทัพอากาศไทยยังมีความสนใจ L-39NG จากเช็กจริงหรือไม่ในฐานะเครื่องบินฝึกไอพ่น ยิ่งไม่ต้องเทียบกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่เป็นเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงด้วยแล้ว L-39NG ดูจะเป็นเครื่องที่ไม่น่าจะมาทดแทนความต้องการเครื่องบินโจมตีสำหรับกองทัพอากาศไทยได้
ถ้าเปรียบเทียบในด้านบทบาทภารกิจโจมตีเบา บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A เป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงกว่า L-39NG ซึ่ง บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART เองถ้าติดระเบิด Mk82 ขนาด 500lbs ๔ลูกก็ถือว่ามีน้ำหนักบรรทุกมากแล้ว ต้องใช้ทางวิ่งขึ้นที่ยาวและขาดความคล่องตัวในการบินมาก
Alpha Jet ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น SNECMA Turbomeca Larzac สองเครื่องให้กำลังขับเครื่องละ 2,976lbf หรือรวม 5,952lbf ขณะที่ L-39NG ที่ติดตั้ง ย.Williams International FJ44-4M เดี่ยวให้กำลังขับเพียง 3,790lbs เท่านั้น
Alpha Jet ทำความเร็วได้สูงสุด 540knots อัตราไต่ระดับ 57m/s บรรทุกอาวุธและอุปกรณ์ได้รวม 5,500lbs ส่วน L-39NG ทำความเร็วได้สูงสุด 420knots อัตราไต่ระดับ 23m/s บรรทุกอาวุธและอุปกรณ์ได้รวม 2,600lbs จะเห็นว่า Alpha Jet สมรรถนะการรบเหนือกว่า L-39NG เกือบสองเท่า
หรือความสนใจของกระทรวงกลาโหมไทยจะเป็นของเหล่าทัพอื่น เช่น กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย แต่นั่นก็ไม่ชัดเจน เนื่องจากกองทัพเรือไทยไม่น่าจะมีงบประมาณมากพอที่จะให้ กบร.กลับมาปฏิบัติการด้วยอากาศยานรบปีกตรึงไอพ่นอีกครั้งหลังจากปลดเครื่องบินโจมตี บ.จต.๑ A-7E ไป
อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้ทราบข่าวที่ไม่มีการยืนยันมาเห็นว่าทางนายกฯเช็กเป็นฝ่ายที่เข้ามาหารือกับนายกฯไทยด้วยตนเอง ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐเช็กกำลังพยายามที่จะเปิดตลาด L-39NG รุ่นใหม่ของตนในกลุ่มประเทศลูกค้า L-39 เดิมให้ได้(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/l-39ng.html)
โดยนายกฯเช็กมีกำหนดที่จะเดินทางเยือนประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เพื่อหารือประเด็นที่สาธารณรัฐเช็กขาดดุลการค้ากับไทยค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีของไทยนายกรัฐมนตรีเช็กน่าจะขอให้ไทยซื้่อเครื่องบินของตนเพื่อแลกเปลี่ยนชดเชยการขาดดุลทางการค้าระหว่างกันครับ
Royal Thai Air Force Diamond DA42 kamphaengsaen Flying Training School at Hua Hin(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
Royal Thai Air Force Diamond DA42 604th Squadron, Wing 6 Don Muang
Royal Thai Air Force CT-4A Airtrainer serial 20-18, 604th Squadron, Wing 6 Don Muang decommissioned and transfered to be displayed at Royal Thai Air Force Museum in 30 August 2018.
พลอากาศเอก พงศธร ไชยเสน ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เป็นประธานในพิธีมอบเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๖ (CT-4A) หมายเลขกองทัพอากาศ ๒๐/๑๘ สังกัดฝูงบิน ๖๐๔ กองบิน ๖ ให้แก่ พลอากาศตรี นฤพล จักรกลม เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ
เพื่อนำเข้าตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ ภายหลังจากการทำการบิน เที่ยวบินสุดท้าย เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง
เครดิตภาพ Panurat Uthaichan
กองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้นจำนวน ๔เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ การฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น วงเงิน ๑๒๘,๗๐๐,๐๐๐บาท($3.9 million) จากบริษัท Diamond Aircraft Industries GmbH ออสเตรีย
เข้าใจว่าน่าเป็นการจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัด บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 ของโรงเรียนการบินกำแพงแสนสำหรับฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมที่จะเป็นนักบินลำเลียงขั้นต้น ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนการบินมี บ.ฝ.๒๐ DA42 ๘เครื่อง และฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖ ดอนเมืองมี DA42 ๖เครื่อง
ฝูงบิน๖๐๔ ยังมีโครงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกจำนวน ๘เครื่อง พร้อมเครื่องช่วยฝึกจำลอง อุปกรณ์ การฝึก และอื่นๆ วงเงิน ๑๓๖,๕๐๐,๐๐บาท($4.14 million) เข้าใจว่าน่าจะเพื่อทดแทน บ.ฝ.๑๖ CT-4A ที่เพิ่งปลดประจำการไป โดยยังไม่ยืนยันว่าอาจจะเป็นเครื่องบินฝึกใบพัด Diamond DA40
กองทัพอากาศไทยยังมีโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึกจำนวน ๖เครื่อง พร้อมเครื่องช่วยฝึกจำลอง อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ การฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น วงเงินราว ๑,๔๔๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($44 million) ซึ่งยังไม่ทราบข้อมูลว่าจะเป็น ฮ.แบบใด
ซึ่งเป็นเวลานานตั้งแต่ที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่๘ ฮ.๘ Bell 206B Jet Ranger ถูกปลดประจำการในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2006) กองทัพอากาศก็ไม่มีการจัดหา ฮ.ฝึกแบบใหม่มาใช้งานทดแทน โดยก่อนหน้าโรงเรียนการบินกำแพงแสนโอนการฝึกศิษย์การบิน ฮ.ไปให้กองบิน๒ในปีพ.ศ.๒๕๔๖(2003)
จะเห็นได้ว่าในขณะที่เครื่องบินฝึกแต่ละแบบของกองทัพอากาศไทยที่ประจำการในปัจจุบันกำลังจะหมดอายุการใช้งานลง การจัดหาอากาศยานฝึกใหม่สำหรับ รร.การบิน และการปรับภารกิจด้านการฝึกนักบินของฝูงบิน๖๐๔ จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและกำลังดำเนินไปในอนาคตครับ
Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel was exits from dry dock for Setting to work at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, November 2018
ร.ล.ตรัง ออกจาก อู่แห้ง อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เพื่อมาดำเนินการติดตั้งระบบต่างๆ หน้าท่า (Setting to work)
Clip: Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel on water filled in dry dock for floating testing at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, November 2018
ภาพวีดีโอมุมสูง ในวันที่ทดลองการลอยตัว ของเรือหลวงตรัง
ความคืบหน้าของโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่๒ เรือหลวงตรัง หลังจากที่ทางสีและนำน้ำเข้าอู่แห้งเพื่อตรวจสอบหาจุดรั่วและการลอยตัวไปแล้วนั้น เรือก็ได้จากอู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เพื่อการติดตั้งระบบต่างๆ(Setting to work) ซึ่งเข้าใจว่ายังไม่ใช่การทำการทดสอบระบบหน้าท่า(HAT: Harbour Acceptance Test) เพราะเรือยังต่อไม่เสร็จและยังต้องมีการทำงานเพิ่มเติมอีกหลายส่วนซึ่งต้องใช้เวลากว่าที่เรือจะเสร็จสมบูรณ์
โดยถึงขณะนี้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ตรัง ยังไม่ได้มีการทำสีหมายเลขเรือ(552) และป้ายชื่อเรือ ดังนั้นกำหนดการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการและตามมาด้วยพิธีขึ้นระวางประจำการยังคงไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้ครับ
ด้านความคืบหน้าในโครงการจัดหาของ กองเรือยามฝั่ง กยฝ.ตามที่ได้รายงานพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270-ต.274 จำนวน ๕ลำเมื่อวันที่๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/270-274.html)
ล่าสุดกองทัพเรือไทยได้ตั้งโครงการจ้างสร้างสำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งใหม่จำนวน ๒ลำ วงเงิน ๗๘๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($23.8 million) ตามแบบเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.๙๙๔ ของบริษัท Marsun ร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ ที่กองทัพเรือไทยสงวนสิทธิการเป็นเข้สของแบบเรือ
โดยมีผู้เข้าแข่งขัน ๕รายคือ ๑.บริษัท มาร์ซัน จำกัด ๒.บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ๓.บริษัท เอเชี่ยน มารีน จำกัด ๔.บริษัท อิตัลไทย จำกัด ๕.บริษัท ซีเครสท์ จำกัด ซึ่งทางอู่เรือ Marsun ยังกำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/114.html)
Model of Royal Thai Navy's T.994 class coastal patrol boat by Thai shipbuilding company's Marsun at 3rd Ship Technology for the Next Decade 3-4 March 2016 (My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.htmlด้านความคืบหน้าในโครงการจัดหาของ กองเรือยามฝั่ง กยฝ.ตามที่ได้รายงานพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270-ต.274 จำนวน ๕ลำเมื่อวันที่๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/270-274.html)
ล่าสุดกองทัพเรือไทยได้ตั้งโครงการจ้างสร้างสำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งใหม่จำนวน ๒ลำ วงเงิน ๗๘๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($23.8 million) ตามแบบเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.๙๙๔ ของบริษัท Marsun ร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ ที่กองทัพเรือไทยสงวนสิทธิการเป็นเข้สของแบบเรือ
โดยมีผู้เข้าแข่งขัน ๕รายคือ ๑.บริษัท มาร์ซัน จำกัด ๒.บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ๓.บริษัท เอเชี่ยน มารีน จำกัด ๔.บริษัท อิตัลไทย จำกัด ๕.บริษัท ซีเครสท์ จำกัด ซึ่งทางอู่เรือ Marsun ยังกำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/114.html)
CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)
สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เข้าร่วมประชุมทบทวนติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระดับ Project Management Review(PMR) ครั้งที่๓ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ณ เมือง Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) จีนผู้สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบ(SSK)แบบ S26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/s26t.html)
ก็เป็นความคืบหน้าล่าสุดของโครงการหลังจากพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' ณ อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
ตามที่ได้รายงานไปว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยที่ไม่ระบบุตัวตนเปิดเผยว่าว่าเรือดำน้ำ S26T ทั้ง ๓ลำจะมีคุณสมบัติการผสมผสานอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตก(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)
จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจากทั้งกองทัพเรือไทย และ China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีนแต่อย่างใดว่า การผสมผสานระบบตะวันตกและระบบจีนในเรือดำน้ำ S26T มีความเป็นไปได้จริงหรือไม่และเป็นในรูปแบบใด
รวมถึงมีข้อมูลบางกระแสมาว่ากองทัพเรือไทยมีแนวคิดที่สนใจทุ่นระเบิด Smart Sea Mine จากตะวันตกที่ปล่อยจากเรือดำน้ำได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าแนวทางการผสมระบบตะวันตกกับระบบจีนในเรือดำน้ำ S26T เช่นเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ที่เคยมีปัญหาที่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงระบบอาวุธและอุปกรณ์ตามมาตรฐานตะวันตกล้วนโดย Saab สวีเดนนั้น ความเป็นจริงเป็นอย่างไรกันแน่ครับ
Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was tested its product "AMV-420P" (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus) that Improved from All New Bulid 4x4 vehicle "HMV-420"(High Mobility Vehicle) by Royal Thai Armed Forces's feedback
ตามที่ บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย ได้นำรถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P มาทดสอบสมรรถนะ ณ สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก ให้เจ้าหน้าที่ ขส.ทบ. และกรมสรรพาวุธทหารบก สพ.ทบ.ชมนั้น
ก็เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-420 4x4 เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) (https://aagth1.blogspot.com/2018/09/hmv-420.html) โดยนำการประเมินค่าและความเห็นคำแนะนำจากกองทัพไทยมาปรับปรุงเป็น AMV-420P
การพัฒนาระบบอาวุธภายในประเทศไทยเองจะมีข้อดีที่สามารถรับทราบข้อมูลและแก้ไขข้อบกพร่องให้ตรงตามต้องการผู้ใช้งานจริงในไทยได้มากที่สุด ซึ่งบริษัทพนัสได้ลงทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ของตนเพื่อหวังจะได้รับเลือกจากเหล่าทัพต่างๆของไทยและส่งออกต่างประเทศได้ในอนาคตครับ