วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

อินโดนีเซียลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV ตุรกี

Indonesia signs contract to procure Anka UAVs




The TUSAŞ Anka unmanned aerial vehicle is designed as a medium-altitude long-endurance intelligence, surveillance, and reconnaissance platform. 
However, it can also integrate smart micro munitions such as the Roketsan MAM-L air-to-surface munition. (Janes/SAVUNMA.tr)

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่าตนอยู่ในกระบวนการการจัดหาอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude, Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Turkish Aerospace(TUSAŞ) Anka(Pheonix) ตุรกีจำนวน 12ระบบ 
ในการประกาศผ่านบัญชีสื่อสังคม Online ของตนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2023 กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวว่ากระบวนการจัดซื้อถูกทำเครื่องหมายโดยการลงนามสัญญาวงเงิน $300 million กับบริษัท Turkish Aerospace ตุรกี เสริมว่าสัญญาได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2023 

การประกาศซึ่งตอนนี้ได้ถูกลบไปแล้วเสริมว่า "สัญญาปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการมีผลใช้งาน" ที่กระทรวงการคลังอินโดนีเซีย "การส่งมอบหน่วยอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV จำนวน 12ระบบจะดำเนินการภายใน 32เดือนหลังจากสัญญามีผลบังคับใช้" แถลงการณ์กล่าว
แผนสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นไปได้ตอบสนองความต้องการที่มีมายาวนานของอินโดนีเซียสำหรับอากาศยานไร้คนขับ MALE UAV(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/elang-hitam-uav.html)

ตามข้อมูลของ Janes รัฐบาลอินโดนีเซียในนครหลวง Jakarta มีความพยายามที่จะจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน MALE UAV ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 สื่อตุรกีได้รายงานว่าอินโดนีเซียสั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV จำนวน 12ระบบ อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการจัดซื้อจัดจ้างของตน(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/uav.html

ตัวแทนของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ต่อ Janes ณ เวลาที่บทความนี้เผยแพร่ นอกเหนือจากการจัดหา Anka UAV และสิ่งอุปกรณ์หลัก กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์ของตนว่า สัญญายังครอบคลุมชิ้นส่วนประกอบเพิ่มเติม 
เช่น ระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงบูรณาการ(ILS: Integrated Logistic Support), อุปกรณ์สนับสนุนและทดสอบภาคพื้นดิน(GSTE: Ground Support and Test Equipment), เครื่องจำลองการบิน และสิ่งอำนวยความสะดวกโรงเก็บอากาศยาน

การฝึกเช่นเดียวกับช่วงระยะเวลารับประกัน 24เดือนหรือ 600ชั่วโมงบิน(ซึ่งอาจจะมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถึงก่อน) ยังถูกรวมในสัญญาด้วย แถลงการณ์เสริม 
อากาศยานไร้คนขับ Anka UAV ถูกออกแบบเป็นระบบข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) อย่างไรก็ตามเครื่องสามารถติดตั้งอาวุธนำวิถีขนาดเล็กอย่างเช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Roketsan MAM-L ได้ 

ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft อากาศยานไร้คนขับ Anka มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 1,700kg ทำความเร็วบินวนรอที่ 88knots ระยะเวลาบินได้นาน 30ชั่วโมง ที่เพดานบิน 30,000ft และระยะทำการ 135nmi ผ่านเครือข่าย datalink มีขีดความสามารถภาระบรรทุกที่ 350kg
อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่สองในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Anka UAV ตุรกี ต่อจากมาเลเซียที่ลงนามจัดหาจำนวน 3ระบบในเดือนพฤษภาคม 2023 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/anka-uav-3.html)