วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Lockheed Martin ถอนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ LRASM ออกจากโครงการกองทัพเรือสหรัฐ

Lockheed Martin Drops LRASM Out of Littoral Combat Ship/Frigate Missile Competition
A July 2016 test of the LRASM from a MK-41 launcher on the Navy’s Self Defense Test Ship. Lockheed Martin Photo

Lockheed Martin artist’s conception of the Long Range Anti-Ship Missile (LRASM). Lockheed Martin Photo
https://news.usni.org/2017/05/24/lockheed-martin-drops-lrasm-frigate-missile-competition


บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯตัดสินใจที่จะถอนอาวุธปล่อยนำวิถี Long Range Anti-Ship Missile(LRASM) ออกจากการแข่งขันโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีเหนือขอบฟ้าของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) สำหรับเรือ Littoral Combat Ship(LCS) และเรือฟริเกต
ตามที่เจ้าหน้าที่บริษัทได้ยืนยันกับ USNI ที่ได้รับเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมว่า "หลังการพิจารณาที่ยาวนานและรอบคอบ Lockheed Martin ได้ตัดสินใจจะถอนตัวจากการแข่งขันโครงการ Over-the-Horizon Weapon System(OTH-WS) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
ตามที่ขณะนี้ขั้นตอนคัดเลือกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal)ได้เลยเวลาไป มันเป็นที่ชัดเจนว่าการเสนอของเราไม่ได้เป็นที่คุ้มค่าเต็มที่ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมต่อ RFP Lockheed Martin อาจจะทบทวนความต้องการใหม่ และประเมินว่าขีดความสามารถของเราจะดีตรงความต้องการของกองทัพเรือสหรัฐฯตามที่เราต้องการกับ RFP หรือไม่"

LRASM เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่พัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน AGM-158 Joint Air-to-Surface Standoff Missile(JASSM) ซึ่งได้ถูกพัฒนาในฐานะส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการเร่งด่วนของกองบัญชาการแปซิฟิกกองทัพสหรัฐฯ(USPACOM: United States Pacific Command)
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำร่อนที่จะใช้กับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet กองทัพเรือสหรัฐฯ และเครื่องบินทิ้งระเบิด Boeing B-1B Lancer กองทัพอากาศสหรัฐฯ
โดยที่มีการพัฒนาควบคู่ไปกับรุ่นยิงจากอากาศยาน Lockheed Martin ยังได้ใช้ทุนวิจัยและพัฒนาภายในสำหรับการพัฒนารุ่นยิงจากเรือผิวน้ำและรุ่นยิงจากเรือดำน้ำด้วย

ก่อนหน้าในเดือนพฤษภาคมนี้บริษัท Boeing สหรัฐฯได้ถอนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon ของตนออกจากการแข่งขันโครงการ OTH ไปแล้วเช่นเดียวกับ Lockheed Martin ทั้งสองบริษัทแสดงความกังวลว่ากองทัพเรือสหรัฐฯให้การพิจารณาที่น้อยมากในด้านขีดความสามารถทางเครือข่ายของระบบอาวุธ
"Lockheed Martin เชื่ออย่างหนักแน่นว่าเราได้เสนอคุณค่าที่สำคัญ ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯมีความคุ้นเคยกับโครงการ LRASM รุ่นยิงจากอากาศยานมาก่อน เราจะเดินหน้าการลงทุนของเราในการขยับขยายขีดความสามารถของ LRASM รุ่นยิงจากเรือผิวน้ำสำหรับการแข่งขันในอนาคต ที่ซึ่งความอยู่รอด, พิสัยยิงไกล, และการสังหารต่อเรือศัตรูที่มีขีดความสามารถสูงสุดเป็นความต้องการ
จากความสำเร็จล่าสุดในการสาธิตการยิงจากระบบท่อยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) การทดสอบยิงจากแท่นยิงแนวเฉียง(Topside Launcher) จะมีในฤดูร้อนสำหรับรุ่นที่ไม่ได้ยิงจาก VLS จะแสดงถึงความยืดหนุ่นและหลายหลายของ LRASM กับกองเรือผิวน้ำ"
Scott Callaway ผู้อำนวยการอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วต่ำกว่าเสียงขั้นก้าวหน้า แผนกอาวุธปล่อยนำวิถีและระบบควบคุมการยิง Lockheed Martin แถลงกับ USNI

การถอนตัวของ Lockheed Martin และ Boeing ทำให้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการ OTH เหลือเพียงรายเดียวคือทีมร่วมระหว่าง Kongsberg นอร์เวย์กับ Raytheon สหรัฐฯที่เสนออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Naval Strike Missile(NSM)
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM ได้มีการทดสอบยิงจากแท่นยิงแนวเฉียงบนเรือ LCS ชั้น Independence คือ LCS-4 USS Coronado ไปแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2015/10/lcs.html)
ทั้งนี้ทั้ง LRASM และ Harpoon ได้กำลังถูกนำไปพัฒนาเป็นรุ่นยิงจากอากาศยานตามคำสั่งของกองบัญชาการระบบอากาศนาวี(Naval Air Systems Command) ครับ