วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ถ้าจำเป็น รถถังเบา M41A3 ยังสามารถทำอะไรให้ประจำการต่อไปได้บ้าง

เคยมีข้อสงสัยอยู่ครับว่า เครื่องยนต์ตระกูล 3TD ของยูเครนนั้นนอกจากยานเกราะล้อยางอย่าง BTR-3 แล้วสามารถติดตั้งใช้กับยานเกราะสายพานได้หรือไม่?
ข้อมูลที่ได้จากท่าน icy_cmu หลังจากที่ตั้งคำถามนี้ที่ TAF คือ
ยูเครนมีโครงการปรับปรุงรถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพล MT-LB และโครงการพัฒนารถรบทหารราบยุคอนาคต(FICV: Futurized Infantry Combat Vehicle) โดยใช้ ย.ตระกูล 3TD อยู่


3TD-4 2 stroke Diesel Engine
Rated output, hp: 600
Engine speed, rpm: 2500
Maximum torque, kg/m: 149
Specific fuel consumption, gr/hp-hr: 165
Dimensions, mm: Length 1182, Width 955, Height 581
Weight, kg: 800

http://andrei-bt.livejournal.com/58149.html
www.ste.com.ua/upload/pdf/Army.pdf

ถ้าไม่นับการติดปัญหาการสู้รบในภาคตะวันตกของยูเครนที่ Donetsk และ Luhansk ซึ่งบานปลายมากในตอนนี้แล้ว
โครงการรบรบทหารราบแบบสายพานของยูเครนดูน่าสนใจสำหรับกองทัพบก ถ้าจะเอามาแทน รสพ.เก่าที่จะต้องปลดในอนาคตทั้ง M113 และ Type 85
ยังคิดอยู่ว่า ย.3TD น่าจะนำมาใช้ปรับปรุง รสพ.หลายๆแบบของกองทัพบกถ้าจะใช้ต่อไปเหมือนอย่างที่ สพ.ทบ.และ ศอว.ศอพท. พัฒนา
และดัดแปลงซ่อมบำรุงระบบยานยนต์ในกองทัพมาแล้วหลายแบบ ตั้งแต่ V-100, Scorpion และอื่นๆเป็นต้น
ซึ่ง ย.3TD อาจจะนำมาใช้กับโครงการพัฒนารถเกราะล้อยางและรถหุ้มเกาะสายพานของไทยเองในอนาคตได้

หรือแม้แต่รถถังเบาที่ขนาดใกล้เคียงกับ M41A3 แต่สมรรถนะดีกว่าด้วย (หนักประมาณ 25-30ton ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105 หรือ 120mm ใช้ ย.3TD-4 600HP)
ซึ่งเราอาจจะสร้างรถต้นแบบสำหรับการวิจัยพัฒนาจากการดัดแปลง M41A3 ที่มีอยู่
เริ่มจากเปลี่ยนเครื่องยนต์เบนซิน Continental AOSI-894-5 6สูบ กำลัง 500HP เป็น ย.ดีเซล 3TD-4


รถต้นแบบเพื่อการวิจัยพัฒนาขั้นที่สองคือการสร้างป้อมปืนแบบใหม่สำหรับแทนป้อมปืนรุ่นเก่า
ซึ่งจะเป็นป้อมเชื่อมมุมลาดเอียงใช้เกราะวัสดุผสม Composite Armour หรือเสริมเกราะ ERA ติด ปถ.105mm-120mm พร้อมระบบควบคุมการยิง Digital แบบรถถังหลักยุคที่3
จากนั้นก็วิจัยถึงขั้นที่จะสร้างดัดแปลง M41A3 ที่มีอยู่เป็นรถถังเบาแบบใหม่ได้ทั้งคัน หรือสร้างรถถังแบบใหม่ได้ทั้งคัน

ซึ่งในกรณีที่กองทัพบกยังไม่สามารถจัดหารถถังหลักแบบใหม่ได้ ถ้าโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot อาจจะถูกยกเลิกไปนั้น
แนวคิดการนำรถถังเก่ามาดัดแปลงให้ทันสมัยขึ้นแล้วใช้งานต่อไปแบบกองทัพอิสราเอลอย่างเช่น ถ.Magach ที่ดัดแปลงจาก M48 และ M60 นั้นน่าสนใจมาก(ถ้าจำเป็นจริงๆ)
ส่วนตัวมองว่ารถถังขนาดไม่เกิน 35-45ตัน ดูจะเหมาะกับพื้นที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของไทยมากกว่ารถถังหลักที่มีน้ำหนักมากในปัจจุบันด้วย

แต่ก็อย่างที่ทราบว่าตอนนี้สถานการณ์ในยูเครนยังมีความไม่แน่นอนอยู่ที่จะกล่าวถึงการจัดหาอาวุธและความร่วมมือทาง Technology
ประกอบกับจากประสบการณ์ที่ผ่านมาๆ เรามักจะไม่มีแนวคิดที่จะวิจัยและพัฒนาสร้างรถรบสมรรถนะสูงเองในประเทศแบบเปิดสายการผลิตเพื่อเข้าประจำการจริงเป็นจำนวนมากสักเท่าไรด้วยครับ
(ส่วนใหญ่มีเพียงการวิจัยพัฒนารถต้นแบบขึ้นมาไม่กี่คันแล้วก็ปิดโครงการไป)
แน่นอนครับว่าการจัดซื้อรถถังจากประเทศที่มี Technologyสูงกว่า มีประสบการณ์ในการวิจัยพัฒนา และมีสายการผลิตรองรับมานานแล้ว
ย่อมประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้เวลาไม่นานมากนัก และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการวิจัยและพัฒนาเองมากๆ
แต่ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้หรอกครับ ยกเว้นว่าไม่คิดจะทำตั้งแต่แรกแล้ว