วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

Boeing เปิดตัวต้นแบบเครื่องบินฝึกไอพ่นสำหรับโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ


New Boeing T-X Purpose-built for the USAF training mission and designed to evolve for future generations
Real Ready Right Choice for USAF training mission

TWO! Second aircraft for USAF ready for testing.
https://twitter.com/BoeingDefense

Boeing unveiled not one, but two production T-X aircraft in St. Louis. Boeings design takes advantage of the latest technologies, tools and manufacturing techniques.
It is an advanced aircraft designed to evolve as technologies, missions and training needs change. The design is more affordable and flexible than older, existing aircraft.

The Boeing T-X aircraft has one engine, twin tails, stadium seating and an advanced cockpit with embedded training.
The system also offers state-of-the-art ground-based training and a maintenance-friendly design for long-term supportability. This animation depicts two Boeing T-X aircraft in action.

Boeing Unveils T-X Advanced Trainer Aircraft
http://www.defensenews.com/articles/t-x-trainer-air-force-boeing

วันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมาบริษัท Boeing สหรัฐฯได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบใหม่ซึ่งพัฒนาร่วมกับบริษัท Saab สวีเดนสำหรับเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ
ในพิธีเปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่นเครื่องยนต์เดี่ยวสองแพนหางดิ่งนี้ทาง Boeing ยังได้เปิดเผยข้อมูลว่าได้กำลังสร้างเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบแล้ว 2เครื่องด้วย
"คุณสมบัติการออกแบบเครื่องบินฝึก T-X ของเรามีแพนหางดิ่งคู่ซึ่งเป็นการออกแบบสมัยใหม่ที่ทำให้มีความคล่องแคล่วทางการบินมากว่าเครื่องที่ใช้แพนหางดิ่งเดี่ยว ที่นั่งนักบินยกสูงเพื่อให้มุมมองด้านหลังของครูฝึกการบินที่ดีขึ้น และออกแบบให้เป็นมิตรต่อการบำรุงรักษา
ที่น่าประทับใจคือสิ่งที่คุณไม่สามารถมองเห็น สิ่งที่คุณไม่สามารถเห็นได้คือการออกแบบที่ก้าวหน้าและการผลิตที่กำลังเดินหน้าอยู่นี้" Darryl Davis ประธาน Boeing Phantom Works กล่าวในพิธีเปิดตัว

เครื่องบินฝึก T-X ของ Boeing-Saab ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric GE404 มีห้องนักบินแบบ Glass Cockpit และชุดคำสั่งแบบเปิดซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องบินฝึก T-X กับระบบการฝึกภาคพื้นดินได้
นาย Davis กล่าวว่าแม้ว่าจะได้มีการกำหนดความต้องการติดตั้งตำบลอาวุธใต้ปีกแต่เครื่องสามารถติดตำบลอาวุธใต้ปีกข้างละสองจุด และบริษัทยังสร้างพื้นที่ในตัวเครื่องให้รองรับการติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศด้วย
เครื่องต้นแบบเครื่องแรกที่จัดแสดงในพิธีเปิดตัวได้เริ่มทำการทดสอบภาคพื้นดินแล้วและจะทำการบินครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้ ส่วนเครื่องต้นแบบเครื่องที่สองจะเริ่มการทดสอบพิสูจน์โครงสร้างในไม่กี่วันที่จะถึงนี้ซึ่งจะเป็นการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างและความมั่นคงของเครื่อง
แม้ว่าทางกองทัพอากาศสหรัฐฯจะมีแรงจูงใจในองค์ประกอบประสิทธิภาพบางอย่างของเครื่อง เช่น สามารถรับแรง G และมุมปะทะ(Angle of Attack)สูงได้
นาย Davis อธิบายว่า Boeing-Saab ได้คัดเลือกอย่างใกล้ชิดตามข้อกำหนดความต้องการที่เป็นไปได้เพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง "เราจะไม่พูดถึงรายละเอียดของสิ่งที่เราสามารถทำนอกเหนือเกณฑ์ข้อกำหนดความต้องการ" เขากล่าว

บริษัทยังได้พึ่งพาเทคนิคการผลิตแบบใหม่จำนวนมากซึ่งไม่ได้เปิดเผยต่อสื่อ กระบวนการนี้ทำให้ Boeing สามารถประกอบอากาศยานได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ ความก้าวหน้าอื่นเช่นการปรับปรุงลดเวลาการสร้างฝาครอบห้องนักบินด้วยการเครื่องพิมพ์ Polymer สามมิติ
"ผมไม่ต้องการให้ความลับทั้งหมดเปิดเผยออกมาในการแข่งขันโครงการนี้ แต่เรากำลังจะสลายเส้นต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิต" นาย Davis กล่าว
นาย Davis ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงการทำงานร่วมกันระหว่าง Saab และ Boeing แต่กล่าวว่าได้มีการนำ Technology หลายอย่างจากเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และ Saab Gripen มาใช้
"มันมีหลายอย่างที่นำมาใช้ได้กับเครื่องนี้ รวมถึงการออกแบบและการผลิตบางส่วน พวกเขานำความเชี่ยวชาญจำนวนมหาศาล, รายละเอียดทางเทคนิค และการนำมาใช้จำนวนมากของระบบบางส่วนจาก Gripen" เขากล่าว
 Boeing ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำการผลิตเครื่องบินฝึกไอพ่นนี้ที่ไหน แต่จะเดินหน้าการทำงานโครงการนี้ต่อที่โรงงานอากาศยาน St.Louis ของตน ทั้งขั้นตอนวิศวกรรม การผลิต และการออกแบบ

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนต้องการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ 350เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปี โดยเอกสารขอข้อเสนอขั้นสุดท้ายจะมีกำหนดออกมาในปลายปีนี้และจะมีการเลือกแบบเครื่องในปี 2017
นอกจากเครื่องบินไอพ่นต้นแบบของ Boeing และ Saab ยังมีบริษัทอื่นที่ร่วมเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X เช่น Northrop Grumman สหรัฐฯที่สร้างเครื่องบินฝึกแบบใหม่ของตนเองเช่นกันตามที่มีภาพถ่ายเปิดเผยออกมาตามที่ได้เคยรายงานไป
Lockheed Martin และ Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี ที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A ที่พัฒนาจาก KAI T-50 ที่ประจำการในกองทัพอากาศเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อิรัก และล่าสุดกองทัพอากาศไทยกำลังสั่งจัดหา
ส่วน Raytheon สหรัฐฯ Leonardo อิตาลี และ CAE สหรัฐฯ ร่วมเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 ที่พัฒนามาจาก M-346 ซึ่งประจำการในกองทัพอากาศอิตาลี, อิสราเอล, และสิงคโปร์ครับ