India seeks new naval fighter to replace rejected Tejas LCA
The Rafale is one of a number of options being presented to the Indian Navy as it looks to replace the rejected Tejas LCA as a carrier-borne combat aircraft.
The air force has already selected the French aircraft, but in a country where interoperability does not count for much, there is no indication that the navy will necessarily do the same. (French Navy)
http://www.janes.com/article/67252/india-seeks-new-naval-fighter-to-replace-rejected-tejas-lca
กองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่
หลังจากที่เครื่องบินขับไล่ Tejas LCA(Light Combat Aircraft) รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน(Tejas Navy/Naval LCA) ที่พัฒนาโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL)อินเดียถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีความเหมาะสมในการนำเข้าประจำการ
เอกสารขอข้อมูลที่ออกเมื่อวันที่ 17 มกราคมแต่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ครอบคลุมการจัดหาเครื่องขับไล่พหุภารกิจประจำเรื่องบรรทุกเครื่องบิน(MRCBF: Multi-Role Carrier Borne Fighters) จำนวน 57เครื่อง
สำหรับประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya(Admiral Gorshkov เดิม) และ INS Vikrant(ลำใหม่ที่อินเดียสร้างในประเทศ) ของกองทัพเรืออินเดีย
เพื่อทดแทนช่องว่างจากการยกเลิกการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Tejas LCA รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบินเมื่อเดือนธันวาคม 2016 เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงความต้องการปฏิบัติการที่จะนำเข้าประจำการ
ตามที่ระบุไว้ในเอกสาร อากาศยานที่ถูกเลือกต้องสามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืนในทุกสภาพกาลอากาศ และจะต้องเข้ากันได้กับระบบป้องกันภัยทางอากาศประจำเรือ, มีระบบอาวุธอากาศสู่พื้น
ทำการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้กันเองแบบ Buddy-Buddy ได้, สามารถลาดตระเวนทางอากาศได้, มีระบบสงคราม Electronic และภารกิจอื่นๆที่ไม่ได้ระบุ
การส่งมอบเครื่องแรกคาดว่าควรจะเป็นภายใน 3ปีหลังจากที่มีการลงนามสัญญาจัดหา และจะต้องส่งมอบเครื่องครบทั้งหมดภายใน 3ปีหลังจากปีที่ส่งมอบเครื่องแรก
การระบุค่ารายการภารกิจเฉพาะและสมรรถนะมีเช่น การตั้งค่าอาวุธปฏิบัติการที่เครื่องมีสมรรถนะการบินสูงสุด(OCC: Operational Clean Configuration) คือ
ปืนใหญ่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond visual-Range Air-to-Air Missile) 4นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบต่อตีได้ทุกมุม(All-Aspect Air-to-Air Missile) 2นัด
เอกสารขอข้อมูลยังรวมความเป็นไปได้ในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเป้าหมายภาคพื้นดิน, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น Radar เช่นเดียวกับระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูง และระเบิดธรรมดาจรวดธรรมดาด้วย
เอกสารขอข้อมูลระบุว่าอากาศยานจะเป็นแบบที่นั่งเดี่ยวหรือสองที่นั่งหรือมีทั้งสองรุ่น และจะมีหนึ่งเครื่องยนต์หรือสองเครื่องยนต์ก็ได้
สามารถปฏิบัติการได้จากเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-off But Arrested Recovery) หรือ CATOBAR(Catapult Take-off But Arrested Recovery) หรือได้ทั้งสองแบบ
มีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่มีหมวกนักบินแบบติดระบบแสดงผล (HMD: Helmet-Mounted Display)และจอแสดงผลขนาดใหญ่(large-area displays) มีหรือไม่มีระบบลงจอดอัตโนมัติ มีหรือไม่มี Radar แบบ AESA(Active Electronically Scanned Array)
ตามนโยบาย 'Make in India' ของรัฐบาลอินเดีย เอกสารขอข้อมูลยังขอให้ผู้ผลิตควรจะมีความประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์การผลิตอากาศยานในอินเดีย ซึ่งจะประจำการเสริมกับเครื่องบินขับไล่ MiG-29K/KUB(NATO กำหนดรหัส Fulcrum-D) รัสเซียที่มีประจำการในกองทัพเรืออินเดียแล้ว
อากาศยานที่คาดว่าจะนำเสนอในโครงการนี้มีเช่น Dassault Rafale M ฝรั่งเศสซึ่งกองทัพอากาศอินเดียได้เลือกจัดหา Rafale 36เครื่องไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากความต้องการของกองทัพเรืออินเดียไม่เหมือนกับกองทัพอากาศอินเดีย จึงไม่ได้มีความแน่นอนว่า Rafale M จะถูกเลือก รวมถึง SAAB Sea Gripen สวีเดนที่มีการเสนอให้อินเดียมาได้หลายปีแล้วครับ