China resumes production of Yuan-class submarines
Three Yuan-class submarines being fitted out at China's Wuchang Shipyard in Wuhan, central China. (Via top81.cn)
http://www.janes.com/article/66691/china-resumes-production-of-yuan-class-submarines
ชุดภาพที่เผยแพร่ใน Online Forums จีนเมื่อเดือนธันวาคม 2016 แสดงถึงเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าตามแบบชั้น Type 039B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ใหม่ 3ลำกำลังดำเนินการติดตั้งสร้างเหนือน้ำในอู่ต่อเรือ Wuchang ใน Wuhan ทางตอนกลางของจีน
จึงเป็นที่ชัดเจนว่าจีนได้กลับมาดำเนินการสร้างเรือดำน้ำชั้น Type 039B สำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)อีกครั้ง หลังจากที่หายไปจากการพบเห็นการสร้างเรือใหม่เป็นเวลาเกือบสามปี
ตามข้อมูลใน Internet Forums จีนระบุว่าเรือดำน้ำชั้น Type 039B ใหม่ 3ลำนี้ถูกปล่อยลงนำไปตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2016
ข้อมูลจาก Jane's Fighting Ships เรือดำน้ำชั้น Yuan รุ่นแรกคือ Type 039A ซึ่งเข้าประจำการในปี 2006 นั้นมีความยาว 77m กว้าง 8.4m ระวางขับน้ำบนผิวน้ำ 2,700tons ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 3,600tons
ระบบอาวุธท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm 6ท่อยิงสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำอย่าง YJ-82 และตอร์ปิโดหนักอย่าง Yu-6 ได้
แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันเป็นทางการแต่ข้อมูลหลายแหล่งเชื่อว่าเรือดำน้ำชั้น Yuan ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้าและ AIP(Air Independent Propulsion)
ซึ่งสมรรถนะของ AIP ไม่เป็นที่เปิดเผยแต่คาดว่าสามารถขยายระยะเวลาระหว่างที่เรือดำน้ำเดินเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อประจุ Battery จากหลายชั่วโมงเป็นหลายวัน ซึ่งจะช่วยลดสัญญาณเสียงจากเรือทำให้ถูกตรวจจับได้ยากขึ้น
ตัวเรือของเรือดำน้ำชั้น Yuan นี้ยังถูกหุ้มด้วยแผ่นยางลดการสะท้อนคลื่นเสียง(anechoic tiles) เพื่อลดการสะท้อนของสัญญาณ Ping ที่ส่งมาจาก Active Sonar เพื่อค้นหาเรือใต้น้ำด้วย
ไม่กี่ปีก่อนหน้านั้นมีการพบภาพว่าจีนได้สร้างเรือดำน้ำชั้น Type 039C รุ่นใหม่กว่าที่ตัวเรือมีจุดแตกต่างจากรุ่นก่อน เช่นหอเรือทรงใหม่ที่การออกแบบได้รับอิทธิพลเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Virginia สหรัฐฯ
แต่การจัดสร้างภาพที่ถูกต้องของจำนวนเรือดำน้ำที่จีนสร้างขึ้นมาสำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนเป็นสิ่งที่ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะจีนจัดกองกำลังเรือดำน้ำของตนเป็นกองเรือที่ชั้นมีความลับสูงมากกว่ากำลังทางเรือแบบอื่น
และการขาดหมายเลขเรือซึ่งจีนนำออกไปจากเรือดำน้ำของตนนานแล้ว ทำให้ภาพถ่ายเรือดำน้ำจีนจำนวนมากที่ไม่มีหมายเลขเรือบนตัวเรือนั้น ทำให้การตรวจสอบพิสูจน์ทราบและติดตามโครงการสร้างและจำหน่ายเรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายครับ
http://www.janes.com/article/66664/thailand-progresses-chinese-submarine-procurement
ตามความเข้าใจของ Jane's คาดว่ากองทัพเรือไทยจะสามารถยื่นข้อเสนอสำหรับการจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T จากจีนลำแรกจากสามลำได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
มีแหล่งข่าวยืนยันกับ Jane's ว่าภายใต้แผนการจัดหา ๑๑ปีที่กำลังได้ข้อสรุปโดยกองทัพเรือไทยแล้ว งบประมาณสำหรับการจัดหาเรือดำน้ำลำแรกนั้นได้ถูกบรรจุในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามที่เคยรายงานไปแล้ว
การสั่งจัดหาเรือดำน้ำอีกสองลำที่เหลือคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๕(2021-2022) โดยการชำระเงินให้กับจีนจะมีต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
วงเงินการจัดหาเรือดำน้ำลำแรกอยู่ที่ ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($377 million) โดยวงเงินรวมทั้งหมดของโครงการคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.12 billion)
ทำให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T นี้มีวงเงินงบประมาณจัดหาสูงที่สุดของกองทัพไทย นับตั้งแต่โครงการเครื่องขับไล่ Saab Gripen C/D ๑๒เครื่อง(Peace Suvarnabhumi) ที่กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาเป็นสองระยะในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) และ พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
จากข้อมูลจากบางแหล่งระบุว่าเรือดำน้ำแบบ S26T ที่ออกแบบมาสำหรับกองทัพเรือไทยนั้น มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039B ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนครับ