วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

KAI คัดกรองการปรับแต่งเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้ และ IF-X อินโดนีเซีย

ADEX 2017: KAI refining KFX configuration ahead of key milestones
While the baseline twin-engined configuration for the KFX has been decided upon, the final refinements are being made ahead of upcoming design reviews. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/74976/adex-2017-kai-refining-kfx-configuration-ahead-of-key-milestones



บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีกำลังอยู่ในอยู่กระบวนการกลั่นกรองการปรับแต่งขั้นสุดท้ายของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X(Korean Fighter Experimental) มุ่งหน้าสู่เป้าหมายหลักสำคัญจำนวนมากที่กำลังดำเนินในเดือนหน้าและปีหน้าที่จะถึง
ตามที่ Jane's ได้รับการบอกเล่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมาในงานแสดงการบินและยุทโธปกรณ์นานาชาติ Aerospace and Defence Exhibition 2017(ADEX 2017) ที่ Seoul ระหว่างวันที่ 17-22 ตุลาคม

เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโสพูดว่า ขณะที่การปรับแต่งพื้นฐานสองเครื่องยนต์ไอพ่นได้รับเลือกแล้ว การกลั่นกรองขั้นสุดท้ายกำลังมีขึ้นเพื่อมุ่งหน้าไปสู่แผนการทบทวนการออกแบบเบื้องต้น(PDR: Preliminary Design Review) ในกลางปีหน้า(2018)
"เรากำลังวางสัมผัสสุดท้ายของการปรับแต่งและวางแผนที่จะมี PDR ในเดือนมิถุนายน 2018" เจ้าหน้าที่ผู้ที่ร้องขอให้ไม่ต้องการจะเปิดเผยชื่อกล่าว ซึ่ง KF-X จะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F414 กำลังขับสูงสุด 22,000lbs สองเครื่อง

โดยเจ้าหน้าที่ได้เสริมว่า PDR ควรจะตามมาด้วยการทบทวนการออกแบบสำคัญ(CDR: Critical Design Review) ในเดือนกันยายน 2019 ตามมาด้วยการเปิดตัวเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในปี 2022 และนำเครื่องเข้าสู่การประจำการในกองทัพได้ในปี 2026
โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X ของเกาหลีใต้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดย สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) หน่วยงานด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2010

อินโดนีเซียได้เข้าร่วมโครงการ KF-X ในปี 2012 ซึ่งมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ครอบคลุมการพัฒนาร่วมกันของเครื่องบินขับไล่ที่ทางอินโดนีเซียเรียกว่า IF-X(Indonesian Fighter Experimental)
KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้นำโครงการวงเงิน $8 billion เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ Lockheed Martin สหรัฐฯ ร่วมด้วยอินโดนีเซียที่คาดว่าลงทุนในวงเงิน $1 billion เพื่อจัดหาเทคโนโลยีเครื่องบินขับไล่, องค์ความรู้ด้านเทคนิคการผลิต และทางเลือกในการจัดหาถึง 50เครื่องในภายหลัง

อินโดนีเซียยังควรจะได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกเครื่องบินขับไล่ได้ในอนาคต ซึ่งภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่มากกว่า 80นายเข้าร่วมงานในโครงการกับ KAI และ Lockheed Martin
แต่ทั้งนี้รูปแบบของเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้จำนวน 120เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ IF-X อินโดนีเซียจำนวน 80เครื่องจะมีความแตกต่างกัน

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X มีแผนจะมีความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ในปี 2023
แต่ข้อจำกัดด้านงบประมาณและความกังวลด้านความเสี่ยงทางเทคนิคทำให้ KAI ปรับเปลี่ยนแนวทางโครงการจากการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 ที่มีความซับซ้อนน้อยลง

อย่างที่เห็นได้จากแบบจำลองที่แสดงในงานว่าเครื่องบินขับไล่ KF-X Block I จะไม่มีการเคลือบสารที่ทำให้มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth Coating)ที่ผิวตัวเครื่อง และไม่มีห้องเก็บอาวุธภายในตัวเครื่อง ซึ่งจะมีการพัฒนาในรุ่น Block II
ซึ่งการออกแบบรูปทรงพื้นฐานของตัวอากาศยานได้มีการทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลม และการทดสอบพลศาสตร์การไหลของอากาศใน Computer แล้ว

สำนักงานเพื่อการพัฒนากลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) และบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีมีการพัฒนา AESA(Active Electronically Scanned Array) Radar ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากอิสราเอล
รวมถึงการพัฒนาระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track), กล้อง Electro-Optical และระบบสงคราม Electronic พร้อมระบบอาวุธที่เกาหลีใต้พัฒนาเองในประเทศด้วยครับ