BAE proposes UK government financing to Malaysia for Typhoon jet deal
FILE PHOTO: A member of staff works in the cockpit of an aircraft on the Eurofighter Typhoon production line at BAE systems Warton plant near Preston, northern England September 7, 2012. REUTERS/Phil Noble
FILE PHOTO: Four British Eurofighter Typhoons from the Royal Air Force arrive at Bodoe Main Air Station on the first day of the NATO Arctic Challenge Exercise, May 25, 2015. REUTERS/Thorbjoern Kjosvold/Norwegian Armed Forces/Handout/NTB Scanpix
https://uk.reuters.com/article/uk-bae-systems-malaysia/bae-proposes-uk-government-financing-to-malaysia-for-typhoon-jet-deal-idUKKBN1FX0E2
บริษัท BAE Systems จะเสนอการมอบเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรแก่มาเลเซียถ้าตัดสินใจเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon
เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่เดิมที่มีอยู่ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ตามที่ทางบริษัทกล่าว
เป็นเวลาหลายปีที่กองทัพอากาศมาเลเซียชั่งน้ำหนักตัดสินใจเลือกระหว่างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส หรือ Eurofighter Typhoon ผลิตโดย BAE Systems สหราชอาณาจักร
ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) จำนวน 18เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-28N รัสเซียที่จัดหาในปี 1995 ซึ่งปัจจุบันทั้ง 12เครื่องที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพถูกงดบิน
การแข่งขันที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึงมากกว่า $2 billion(1.44 billion British Pound) เป็นหนึ่งในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่รายการใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าการตัดสินใจในโครงการที่จะเลื่อนออกไปจากทั้งการเลือกใหญ่ของมาเลเซียที่กำลังมีขึ้น
และการที่กองทัพอากาศมาเลเซียให้ความสำคัญกับการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพื่อรับมือภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาค ASEAN(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html)
"เราได้ให้ข้อเสนอที่ต่อรองได้ มันเป็นราคาที่แข่งขันได้และเราได้เสนอเงินทุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ดังนั้นรัฐบาลมาเลเซียสามารถแบ่งจ่ายการชำระเงินกู้ในระยะยาวได้ เราสามารถให้การฝึก, การเป็นหุ้นส่วนของภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่น และงานอีกเป็นจำนวนมาก"
Alan Garwood ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาธุรกิจของ BAE Systems กล่าวในการให้สัมภาษณ์ที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย โดยเงินทุนจะถูกดำเนินการมอบผ่านทาง UK Export Finance สำนักงานสินเชื่อเพื่อการส่งออกของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
BAE Systems ซึ่งเป็นผู้นำในการรณรงค์การขายเครื่องบินขับไล่ Typhoon ในภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นเครื่องที่สร้างร่วมกัยโดย BAE Systems สหราชอาณาจักร, Leonardo อิตาลี และ Airbus เยอรมนี-สเปน
บริษัทได้มองการขับเคลื่อนทางการตลาดเพิ่มเติมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ด้วยการขายเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจของตนแก่มาเลเซีย โดยเชื่อว่าการตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่จะมีขึ้นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2018 นี้
"ผู้รู้สึกว่าที่นั่นต้องการที่จะมุ่งไปข้างหน้าในอีกไม่กี่หลายปีจากนี้ เราต้องการที่จะเห็นความคืบหน้าบางอย่างเกิดขึ้นในปีนี้หลังการเลือกตั้ง เพราะว่ามีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะมีการตัดสินเรื่องแบบนี้ก่อนหน้าเล็กน้อยในช่วงที่ดำรงตำแหน่งมากว่าที่จะเกิดขึ้นภายหลัง"
เราคิดว่ามันมีหน้าต่างของโอกาสที่นั่นตามสถานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น" John Brosnan ผู้อำนวยการการจัดการภาคมาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ BAE Systems กล่าว
สภาพเศรษฐกิจของมาเลเซียได้รับการฟื้นฟูในเวลาหลายปีหลังมานี้ จากที่ก่อนหน้าหลายปีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าและค่าเงิน Ringgit ที่เปลี่ยนแปลงที่มีผลจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง
BAE Systems สหราชอาณาจักรยังคงต้องแข่งขันกับ Dassault Aviation ฝรั่งเศส ซึ่งจนถึงล่าสุดนี้เครื่องบินขับไล่ Rafale ได้ถูกมองว่ามีความได้เปรียบนำหน้า Typhoon อยู่
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak กล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2017 ว่าข้อตกลงในการจัดหา Rafale ได้อย่ในประเด็นการหารือระหว่างที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Francois Hollande เดินทางเยือนกลุ่มชาติ ASEAN แต่มาเลเซีย "ยังไม่พร้อมที่จะตัดสินใจ"
ทั้งนี้บริษัท Dassault ฝรั่งเศสได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale 36เครื่องแก่กองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force) และทางบริษัทยังคงกำลังอยู่ในระหว่างการเจราจากับรัฐบาลอินเดียเพื่อการจัดหา Rafale เพิ่มเติมครับ