วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศลำใหม่ลงน้ำ DDG-179 Maya

Japan launches first Improved Atago-class destroyer


Japan launched on 30 July the first of two Improved Atago-class destroyers on order for the JMSDF. Source: Kosuke Takahashi
http://www.janes.com/article/82066/japan-launches-first-improved-atago-class-destroyer



วันที่ 30 กรกฎาคม 2018 ญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้นใหม่ลำแรกจากสองลำที่ได้รับการสั่งจัดหาจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ที่ปรับปรุงจากเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Atago
คือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-179 Maya ความยาวเรือ 170m ถูกปล่อยลงน้ำ ณ อู่เรือบริษัท Japan Marine United(JMU) ญี่ปุ่นใน Yokohama และคาดว่าจะเข้าประจำการได้เดือนมีนาคม 2020

DDG-179 Maya ซึ่งจะเป็นเรือพิฆาตลำที่7 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis สหรัฐฯ มีความยาวตัวเรือยาวกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago ที่ 5m
เรือพิฆาต DDG-179 Maya จะใช้ระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ซึ่งรองรับการใช้งาน Radar แบบ Lockheed Martin AN/SPY-1D

DDG-179 Maya ซึ่งมีราคาตามโครงการจัดหาเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี 27DDG ที่ 68 billion Yen($1.51 billion) จะถูกสร้างให้มีคุณสมบัติระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้เธอทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธที่ทำให้เรือที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้

กองกำลังป้องตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีแผนที่จะนำเรือพิฆาต Maya และเรือน้องสาวของเธอที่คาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2021 ซึ่งมีขีดความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยการติดตั้งระบบเช่นเดียวกัน
เพื่อใช้ในการต่อต้านภัยคุกคามที่ดียิ่งขึ้น เช่นที่ถูกวางไว้สำหรัยต่อต้านภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

เรือพิฆาต DDG-179 Maya มีระวางขับน้ำปกติที่ 8,200tons ซึ่งหนักกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago ราว 400tons ติดตั้งเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ General Electric LM2500
ในรูปแบบระบบขับเคลื่อนแบบ COGLAG(Combined Gas Turbine-Electric and Gas Turbine) เรือสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 30knots

เรือพิฆาต DDG-179 Maya ซึ่งมีกำลังพลประจำเรือราว 300นาย ยังติดตั้งระบบ Sonar ลากท้าย Multifunction Towed Array(MFTA) และมีขีดความสามารถสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare)
เรือพิฆาต DDG-179 Maya ยังมีขีดความสามารถในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศสกัดกั้นขีปนาวุธ SM-3 Block IIA (Standard Missile 3) ด้วย

โฆษกของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นใน Tokyo กล่าวกับ Jane's ว่า ถึงแม้ว่าเรือพิฆาต DDG-179 Maya นี้จะยังมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ SM-6(Standard Missile 6)
แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเธอจะได้รับการติดตั้ง SM-6 เป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ของเรือพิฆาตชั้นใหม่ทั้ง 2ลำหรือไม่ครับ